ค้าปลีกไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 24 Nov 2023 05:51:10 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 หาทราฟฟิกเพิ่ม! “Terminal 21 พระราม 3” ลงทุน 30 ล้านขยาย “ท่าเรือ” รับทัวร์นักท่องเที่ยว https://positioningmag.com/1453261 Fri, 24 Nov 2023 05:02:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1453261 ครบรอบ 1 ปี “Terminal 21 พระราม 3” ทราฟฟิกยังไม่เข้าเป้า LHMH ลงทุนเพิ่ม 30 ล้านบาท ขยาย “ท่าเรือ” ริมน้ำรับเรือทัวร์นักท่องเที่ยว พร้อมปรับร้านให้ตรงใจลูกค้าพื้นที่มากขึ้น

“สุวรรณา พุทธประสาท” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล เอช มอลล์ แอนด์ โฮเทล จำกัด (LHMH) อัปเดตข้อมูลศูนย์การค้า “Terminal 21 พระราม 3” สาขาล่าสุดที่เปิดตัวเมื่อเดือนตุลาคม 2565 หลังเปิดให้บริการครบ 1 ปี ขณะนี้ทราฟฟิกลูกค้าเข้าห้างฯ ยังอยู่ที่เฉลี่ยเกือบ 20,000 คนต่อวัน ซึ่งยังไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

ทั้งนี้ ในช่วงเปิดบริการศูนย์การค้านี้เคยตั้งเป้าหมายทราฟฟิกไว้ที่ 50,000 คนต่อวัน หรือ 3.5 ล้านคนต่อปี ทำให้ยังห่างเป้าอยู่อีกมาก

สำหรับโจทย์หลักที่บริษัทมองว่าทำให้ทราฟฟิกไม่เข้าเป้า คือ ขนส่งสาธารณะไม่สะดวก ลูกค้าส่วนใหญ่จะมาด้วยรถยนต์ส่วนตัว

ทำให้บริษัทจะหาทางเพิ่มทราฟฟิก ด้วยการลงทุนเพิ่ม 30 ล้านบาทเพื่อปรับปรุงบริเวณท่าเรือของศูนย์ฯ ให้ใหญ่ขึ้น สามารถรองรับเรือท่องเที่ยวขนาดใหญ่ได้ เพื่อดึงให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเสริมในศูนย์ฯ อีกส่วนหนึ่ง คาดจะก่อสร้างเสร็จพร้อมเปิดบริการเดือนธันวาคม 2566

Terminal21

สุวรรณากล่าวต่อว่า ขณะนี้เจรจาดีลทัวร์ทางเรือแล้ว 2 บริษัทที่จะนำนักท่องเที่ยวมาแวะท่องเที่ยวที่ Terminal 21 พระราม 3 คาดว่าจะได้ทราฟฟิกเพิ่มอีกวันละ 1,000 คน และจะมีการเจรจาเพิ่มอีกหลังจากนี้ โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมายจะเป็นกลุ่มเอเชีย เช่น เกาหลีใต้, ไต้หวัน, จีน, ฮ่องกง เป็นต้น

นอกจากนี้ จะมีการปรับเปลี่ยนร้านค้าภายในศูนย์ฯ ให้ตรงกับความต้องการผู้บริโภคในทำเลพระราม 3 ให้มากขึ้นด้วย เพื่อดึงให้ลูกค้าเลือกมาเดินในศูนย์ฯ

LHMH มีธุรกิจศูนย์การค้าภายใต้บริษัทคือ Terminal 21 ทั้งหมด 3 สาขา คือ สาขาอโศก, สาขาพระราม 3 และ สาขาพัทยา (*สาขาโคราช และแฟชั่นไอส์แลนด์ อยู่ภายใต้บริษัทย่อยอื่นในเครือแลนด์แอนด์เฮ้าส์) ซึ่งปีนี้ถือว่ายังเป็นปีที่ไม่ค่อยสดใสนักสำหรับศูนย์การค้าในเครือ LHMH

“ร้านค้าในห้างฯ เขาก็กระทบมาเยอะจากช่วงโควิด-19 ตอนนี้เราต้องดูแลให้เขาอยู่ได้ก่อนเราถึงจะไปปรับขึ้นค่าเช่าเขาได้ จากปกติเราขึ้นค่าเช่าได้ปีละ 5% แต่ปีนี้อาจจะยังขึ้นไม่ได้ หรือต้องปรับการคิดค่าเช่ามาเป็นการเก็บแบบ GP คิดตามที่ขายได้จริง” สุวรรณากล่าวถึงสถานการณ์ธุรกิจศูนย์การค้า

ส่วนการขยายสาขา Terminal 21 สาขาใหม่ๆ สุวรรณาเผยว่ายังมีแนวคิดที่จะขยายแต่จังหวะคงยังไม่ใช่ตอนนี้ เพราะต้องรอดูสภาวะเศรษฐกิจที่เหมาะสมก่อน

]]>
1453261
CPN ทุ่มงบ 200 ล้านจัดเทศกาล “ตรุษจีน” รับภาครัฐปลดล็อกเฟสแรก ดันทราฟฟิก 15-20% https://positioningmag.com/1316437 Tue, 26 Jan 2021 09:45:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1316437 CPN ปรับแผนอัดงบการตลาดเพิ่มเป็น 200 ล้านบาทไตรมาสแรก จัดเทศกาล “ตรุษจีน” เน้นช้อปปิ้ง-ถ่ายรูปเช็กอิน-เสริมดวง วางเป้าดันทราฟฟิกเข้าห้างฯ เพิ่ม 15-20% เผยทราฟฟิกปัจจุบันหลังภาครัฐปลดล็อกเฟสแรกเพิ่มขึ้นมาเป็น 60-75% แล้ว ประเมินตลอดปี 2564 ต้องดูเดือนต่อเดือน ปัจจัยที่ดีที่สุดที่คาดหวังคือ “วัคซีน” ได้ผล ซึ่งจะทำให้เปิดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ และทำให้ผู้บริโภคมั่นใจในการจับจ่าย

“ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) เปิดเผยแผนการตลาดไตรมาสแรกปี 2564 เตรียมงบ 200 ล้านบาทเพื่อจัดเทศกาล “ตรุษจีน” พ่วงเทศกาลวาเลนไทน์ และเริ่มต้อนรับเทศกาลซัมเมอร์

แคมเปญช่วงตรุษจีนนี้จะปูพรมในศูนย์การค้าเซ็นทรัล 33 แห่งทั่วประเทศ เน้นการตกแต่งภายในศูนย์ฯ ให้เป็น “แลนด์มาร์ก” จุดถ่ายรูปเช็กอิน กระตุ้นผู้บริโภคเดินห้างฯ พร้อมโปรโมชันมากมาย ลดสูงสุด 70% และจับมือ “หมอช้าง-ทศพร ศรีตุลา” จัดทำสติกเกอร์นำโชค Sticker of Luck Limited Edition แจกฟรีสำหรับลูกค้าที่ช้อปครบ 1,500 บาทขึ้นไป และลูกค้า Top Spenders 5 ท่านแรกที่ช้อปสูงสุดตลอดแคมเปญวันที่ 29 ม.ค. – 21 ก.พ. 64 จะได้สิทธิ์ปรึกษาดวงชะตากับหมอช้างแบบเอ็กซ์คลูซีฟ

บรรยากาศเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ในศูนย์การค้าเครือ CPN

โดยดร.ณัฐกิตติ์ย้ำว่า แคมเปญตรุษจีนปีนี้ยังจัดขึ้นภายใต้กฎระเบียบของภาครัฐ ซึ่งยังไม่อนุญาตให้จัดอีเวนต์ขนาดใหญ่ ทำให้เน้นเป็นจุดถ่ายรูป ไม่จัดใหญ่ แต่ไม่หายไป เพื่อให้ลูกค้ายังมาศูนย์ฯ ได้ตามปกติ

ทั้งนี้ CPN ตัดสินใจปรับเพิ่มงบการตลาดจาก 80 ล้านบาทเป็น 200 ล้านบาทหลังจากภาครัฐปลดล็อกเฟสแรก อนุญาตธุรกิจ 13 ประเภท เช่น ฟิตเนส สปา สถานเสริมความงาม กลับมาให้บริการได้ ซึ่งทำให้ลูกค้าอุ่นใจและมีกิจกรรมภายในศูนย์ฯ ได้มากขึ้น

ดังนั้น การกระตุ้นตลาดในช่วงเทศกาลตรุษจีน เชื่อว่าลูกค้าจะให้การตอบรับ เพราะเป็นเทศกาลที่คนไทยเชื้อสายจีนจะจับจ่ายซื้อของสดไหว้เจ้า ซื้อเสื้อผ้าใหม่ตามธรรมเนียม และพาครอบครัวรับประทานอาหารเพื่อฉลองปีใหม่จีน คาดว่าทราฟฟิกจะเพิ่มขึ้นอีก 15-20% ในช่วงเทศกาลนี้

 

ปลดล็อกเฟสแรก ทราฟฟิกดีขึ้น 10-15%

สำหรับศูนย์การค้าของ CPN ทั่วประเทศ ดร.ณัฐกิตติ์กล่าวว่า แต่ละศูนย์ฯ มีทราฟฟิกเพิ่มขึ้นทันที 10-15% หลังจากคลายล็อกเฟสแรก ทำให้ปัจจุบันสาขาส่วนใหญ่มีทราฟฟิกกลับมา 60-75% ของช่วงก่อนเกิดการระบาดของ COVID-19 แล้ว และมี 5 สาขาที่มีทราฟฟิกมากกว่า 75% ได้แก่ สาขาศาลายา หาดใหญ่ นครศรีธรรมราช อุบลราชธานี และเชียงราย

ส่วนสาขาที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เช่น เกาะสมุย พัทยา เชียงใหม่ เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัลวิลเลจ ทราฟฟิกยังอยู่ต่ำกว่า 50% แต่ยืนยันไม่ได้มีแผนปิดชั่วคราวสาขาใดๆ นอกจากที่ปิดอยู่แล้วเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 คือ สาขามหาชัยและระยอง (*เซ็นทรัล ป่าตอง ซึ่งมีข่าวปิดชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ.นี้ เป็นห้างสรรพสินค้าในส่วนของเซ็นทรัล รีเทล หรือ CRC)

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ก่อนเกิดการระบาด COVID-19 รอบใหม่ ศูนย์การค้า CPN ส่วนใหญ่เคยมีทราฟฟิกเฉลี่ย 80% ของทราฟฟิกเมื่อปี 2562 แล้ว โดยเฉพาะช่วงเดือนธันวาคม 2563 ที่คึกคักมากจากการประดับไฟเทศกาลคริสต์มาส-ปีใหม่ ยกตัวอย่าง เซ็นทรัลเวิลด์ เคยมีทราฟฟิกกลับขึ้นไปแตะ 1 แสนคนต่อวันในช่วงคริสต์มาส เกือบจะเท่ากับช่วงปกติในปี 2562 แต่ปัจจุบันกลับลงมาเหลือ 4-5 หมื่นคนต่อวันอีกครั้ง เนื่องจากการระบาดทำให้จัดอีเวนต์เพื่อดึงดูดลูกค้าไม่ได้

เซ็นทรัล ภูเก็ต ทราฟฟิกปัจจุบันอยู่ที่ 55-60% ยังมีคนท้องถิ่นเข้าศูนย์ฯ

อย่างไรก็ตาม ดร.ณัฐกิตติ์มองว่าการระบาดรอบใหม่ยังมีผลกระทบน้อยกว่ารอบแรก เพราะอย่างน้อยยังไม่มีคำสั่งปิดศูนย์ฯ ทั้งหมด และคนไทยเริ่มเคยชินมากขึ้น แต่หากจะให้กลับมาที่ตัวเลขเฉลี่ย 80% ต้องรอการปลดล็อกขั้นต่อไป คือ โรงเรียนเปิดเรียนตามปกติ (ทำให้ผู้ปกครองแวะศูนย์การค้าเมื่อออกจากบ้าน) ขยายเวลาปิดร้านอาหาร และสามารถจัดอีเวนต์สาธารณะได้

 

ปี 2564 ปรับแผนเดือนต่อเดือน

ด้านมุมมองต่อตลาดค้าปลีกตลอดปี 2564 ดร.ณัฐกิตติ์กล่าวว่า “ต้องดูกันเดือนต่อเดือน” เพราะมีความไม่แน่นอนสูงมากจากสถานการณ์การระบาด ไม่สามารถคาดเดาได้เลย แต่มีความหวังว่าจะดีกว่าปี 2563 เพราะมีวัคซีน COVID-19 ที่จะเริ่มฉีดในประเทศไทยลอตใหญ่ช่วงกลางปีนี้

“ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา” ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บมจ.เซ็นทรัลพัฒนา (CPN)

ปีนี้จึงเป็นปีที่ฝากความหวังไว้กับ “วัคซีน” ถ้าหากมีประสิทธิภาพดี ได้ผลจริง จะทำให้ภาครัฐผ่อนคลายการท่องเที่ยวได้ โดยเฉพาะการทำ Travel Bubble กับบางประเทศ การดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจะเป็นส่วนสำคัญในการฟื้นเศรษฐกิจไทย และจะทำให้ผู้บริโภคไทยมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยสูงขึ้น เพราะเห็นสัญญาณแสงสว่างปลายอุโมงค์แล้ว

ทั้งนี้ ผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่หยุดช้อปคือ Top Spenders ของ CPN 20 อันดับแรก ซึ่งดร.ณัฐกิตติ์ระบุว่า ใช้จ่ายมากกว่าเดิมหลายเท่าตัว เพราะไม่ได้ไปใช้จ่ายในต่างประเทศ รวมถึงลูกค้าระดับบนส่วนใหญ่ก็เช่นเดียวกัน สังเกตได้จากศูนย์ฯ ระดับลักชัวรีจะมีลูกค้าต่อคิวรอหน้าร้านสินค้าแบรนด์เนมเป็นประจำ

ช่วงเวลาระหว่างนี้ที่วัคซีน COVID-19 ยังไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือก้อย ดูเหมือน CPN จะต้องจับตลาดระดับบนไว้ให้มั่นก่อน!

]]>
1316437
ไวรัสฉุดรายได้ร้านสะดวกซื้อ CPALL เผย Q3/63 กำไรลดลง 28.8% งวด 9 เดือนกำไรวูบ 22.5% https://positioningmag.com/1305621 Thu, 12 Nov 2020 03:39:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1305621 รายได้ร้านสะดวกซื้อวูบตามพิษไวรัส  CPALL เผย Q3/63 กำไร 3.99 พันล้านบาท ลดลงกว่า 28.8% เทียบกับช่วงเดียวกันปีที่เเล้ว ส่วนงวด 9 เดือนกำไร 1.25 หมื่นล้านบาท ลดลง 22.5% ตั้งเป้าขยายสาขาให้ครบ 13,000 แห่งในปีหน้า เร่งนำกลยุทธ์ O2O ผสมออฟไลน์-ออนไลน์มาใช้ รับพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยน

เกรียงชัย บุญโพธิ์อภิชาติ Chief Financial Officer บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL เเจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่า ผลประกอบการงวดไตรมาส 3/63 มีกำไร 3,997.70 ล้านบาท หรือ 0.42 บาท/หุ้น ลดลง 28.8% จากงวดเดียวกันปีของ 2562 ที่มีกำไร 5,611.83 ล้านบาท หรือ 0.60 บาท/หุ้น

โดยในไตรมาส 3 ของปี 2563 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 135,500 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน คิดเป็น 3.8%

สาเหตุหลักๆ มาจากการปรับตัวลดลงของรายได้จากการขายและบริการของธุรกิจร้านสะดวกซื้อ จากผลกระทบต่อเนื่องจาก COVID-19 ส่งผลให้กำไรขั้นต้นจากการขายและบริการเท่ากับ 28,568 ล้านบาท ลดลง 7.9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังมีอยู่ ทำให้ไม่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามา

บริษัทชี้แจงอีกว่าผู้บริโภคมีความระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ส่วนหนึ่งจำกัดอยู่ในกลุ่มสินค้าจำเป็นเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบเชิงลบจากพายุฝนที่เกิดขึ้นทั่วประเทศในระหว่างไตรมาส ส่งผลให้จำนวนลูกค้าเข้าร้านลดลง ขณะที่รายได้จากการขายและบริการของธุรกิจค้าส่งแบบชำระเงินสดและบริการตนเองในประเทศ สามารถกลับมาเติบโตได้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงรายได้จากการขายของธุรกิจในต่างประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น

ผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนแรกปี 2563 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้รวมจำนวน 409,381 ล้านบาท ลดลง 3.2% จากช่วงเดียวกันของปืก่อน  ขณะที่กำไรสุทธิมีจำนวน 12,529.84 ล้านบาท หรือ 1.31 บาท/หุ้น ลดลง 22.5% จากงวดเดียวกันปีก่อนที่มีกำไร 16,175.63  ล้านบาท หรือ 1.72 บาท/หุ้น 

สำหรับเป้าหมายการขยายสาขา บริษัทได้กำหนดเป้าหมายใหม่ที่จะขยายสาขาให้ครบ 13,000 สาขา ภายในปี 2564

ช่วงไตรมาส 3 ปี 2563 ธุรกิจร้านสะดวกซื้อเปิดร้านสาขาใหม่รวมทั้งสิ้น 136 สาขาในทุกประเภท ทั้งร้านสาขาบริษัท ร้าน tore business partner (SBP) และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมาย มีอัตราเฉลี่ยคนเข้าต่อสาขาอยู่ที่ 917 คน โดยมียอดซื้อต่อบิล ประมาณ 75 บาท 

ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2563 บริษัทมีจำนวนร้านสาขาทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 12,225 สาขา เเบ่งเป็น

  • ร้านสาขาบริษัท 5,527 สาขา (คิดเป็น 45%)
  • ร้านเปิดใหม่สุทธิ 71 สาขาในไตรมาสนี้
  • ร้าน SBP และร้านค้าที่ได้รับสิทธิช่วงอาณาเขต 6,698 สาขา (คิดเป็น 55%)
  • ร้านเปิดใหม่สุทธิ 65 สาขา ในไตรมาสนี้

โดยร้านสาขาส่วนใหญ่ ยังเป็นร้านที่ตั้งเป็นเอกเทศ ซึ่งคิดเป็น 85% ของสาขาทั้งหมด และส่วนที่เหลือเป็นร้านในสถานีบริการน้ำมัน ปตท.

บริษัทวางแผนที่จะลงทุนเปิดร้านสาขาใหม่อีกประมาณ 700 สาขาในปี 2563 ส่วนงบลงทุนประมาณ 11,500 – 12,000 ล้านบาท จะเป็นการเปิดร้านสาขาใหม่ 3,800 – 4,000 ล้านบาท การปรับปรุงร้านเดิม 2,400 – 2,500 ล้านบาท ส่วนโครงการใหม่, บริษัทย่อย และศูนย์กระจายสินค้าจะอยู่ที่ 4,000 – 4,100 ล้านบาท ด้านสินทรัพย์ถาวร และระบบสารสนเทศ 1,300 – 1,400 ล้านบาท

ด้านผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ ในไตรมาส 3 ปี 2563 มีกำไรก่อนต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เท่ากับ 5,668 ล้านบาท ลดลง 26.2% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 3,842 ล้านบาท ลดลง 31.6% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ส่วนงวด 9 เดือนแรกของปี 2563 ในกลุ่มธุรกิจร้านสะดวกซื้อ มีรายได้รวมจำนวน 249,641 ล้านบาท ลดลง 7.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิมีจำนวน 13,172 ล้านบาท ลดลง 22.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับเข้าถึงผู้บริโภค จะเน้นใช้กลยุทธ์ O2O (Online to Offline) ผสมผสานธุรกิจจากออนไลน์เเละออฟไลน์ ตามพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค โดยจะส่งเสริมบริการเดลิเวอรี่เเละการช้อปปิ้งได้ 24 ชั่วโมง 

 

 

ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

]]>
1305621
ประวัติศาสตร์ 72 ปี ต้องจารึก ถึงเวลา “เครือเซ็นทรัล” พลิกโฉม “ธุรกิจค้าปลีก” จาก Family Business สู่ “บริษัทมหาชน” https://positioningmag.com/1240993 Wed, 31 Jul 2019 09:39:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1240993 วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม ที่ผ่านมาบริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน)” แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่า ได้อนุมัติการเพิกถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจของ “บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด” (Central Retail) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในสัดส่วน 53.83% โดยมีเป้าหมายเพื่อนำ Central Retail เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แทน

นี่ถือเป็นการแปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จนนำมาสู่การแถลงข่าวในวันนี้ (31 กรกฎาคม) ทศ จิราธิวัฒน์ประธานกรรมการบริหาร เซ็นทรัล รีเทล กล่าวว่า เครือเซ็นทรัลอยู่ในธุรกิจค้าปลีกมา 72 ปีแล้ว จากจุดเริ่มต้นห้องแถวที่ถนนเจริญกรุง

ก่อนจะขยับขยายและแตกแขนง จนวันนี้มีห้างสรรพสินค้าและร้านค้าภายใต้แบรนด์ค้าปลีก รวม 1,979 แห่ง ครอบคลุม 51 จังหวัดทั่วประเทศไทย และขยายทั้งในประเทศอิตาลีและเวียดนาม รวม 134 แห่ง (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2019)

ที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกบริหารแบบธุรกิจภายในครอบครัว นี่จึงถือเป็นก้าวสำคัญของการนำธุรกิจหลักไปเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งมีการเตรียมพร้อมและปรับโครงสร้างมา 3 ปีแล้ว

เครือเซ็นทรัลเชื่อว่าการนำ Central Retail เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสามารถพุ่งทะยานเหมือนหุ้นรุ่นพี่ที่เข้าไปก่อนหน้านี้ถึง 2 ตัว ทั้งบริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)” เข้าตลาดเมื่อ 29 ปีก่อน Market Cap หรือ มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด ได้เพิ่ม 29.1 เท่า จาก 1,600 ล้านบาท เป็น 26,575 ล้านบาท

และบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)” ที่เข้าต่อจากธุรกิจโรงแรม 5 ปี โดย Market Cap เพิ่มขึ้น 37.3 เท่า จาก 8,900 ล้านบาท เป็น 332,112 ล้านบาท ซึ่งตัวเลขที่เกิดขึ้นเป็นการยืนยันถึงประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เป็นอย่างดี

นอกเหนือจากประสบการณ์ที่ผ่านมา ความมั่นใจของเครือเซ็นทรัลมาจากตัวเลขต่างๆ ที่มีผลต่อธุรกิจค้าปลีกเป็นอย่างมาก ทั้งอัตรารายได้ของประชากรต่อคนที่คาดว่าจะเพิ่มจาก 505 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 15,500 บาท เป็น 685 ดอลลาร์สหรัฐ ราว 21,000 บาทภายในปี 2023

การขยายตัวของเมืองจากสัดส่วน 49.9% ในปี 2018 เป็น 53.6% ภายในปี 2023 ประชากรกว่า 40% อยู่ในวัยที่มีกำลังซื้อ ที่สำคัญจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ซึ่งเป็นอีกกลุ่มที่ใช้จ่ายสูงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 37 ล้านคนเป็น 52 ล้านคนในปี 2023 นอกจากนั้น กรุงเทพฯ ภูเก็ต และพัทยา ติดอันดับ 20 เมืองท่องเที่ยวของโลกด้วย

ญนน์ โภคทรัพย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เซ็นทรัลรีเทล กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ของเครือเซ็นทรัลเป็นความต้องการของบริษัทเองไม่ได้ถูกบังคับให้เปลี่ยนแรงกดดันจากดิจิทัล ดิสรัปชั่น” ซึ่งแท้จริง “พฤติกรรมของผู้บริโภค” ต่างหากที่เข้ามาดิสรัปต์ธุรกิจค้าปลีกตัวจริง

ตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมาเครือเซ็นทรัลมีการเตรียมตัวนำธุรกิจค้าปลีกเข้า IPO ในตลาดหลักทรัพย์ฯ มาโดยตลอด ทั้งการเพิ่มผู้บริหารระดับสูงที่เป็นชาวต่างชาติ หรือแยกธุรกิจออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มแฟชั่น ได้แก่ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, Central Marketing Group (CMG) และ รีนาเชนเต (Rinascente)
  • กลุ่มฮาร์ดไลน์ ได้แก่ ไทวัสดุ, เพาเวอร์บายเหงียนคิมร้านขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในเวียดนาม
  • กลุ่มฟู้ด ได้แก่ ท็อปส์ แบ่งเป็น ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ เดลี่, ท็อปส์ พลาซ่า, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์, แฟมิลี่มาร์ท บิ๊กซี และลานชี มาร์ทในเวียดนาม

ขณะเดียวกันก็ได้รุกเข้าหาพฤติกรรมผู้บริโภค โดยเปลี่ยนจากหน้าร้านที่เป็นออฟไลน์เข้าสู่โลกออนไลน์ เพื่อเติมเต็มการเป็น Omnichannel โดยใช้ศักยภาพในการนำเสนอสินค้าและบริการสำหรับเฉพาะบุคคลแบบ Personalization

โดยได้จากการวิเคราะห์ฐานข้อมูลลูกค้าที่มีกว่า 27 ล้านรายทั่วโลก ร่วมกับการใช้เทคโนโลยี Machine Learning การพัฒนาบริการใหม่ๆ รวมทั้งระบบการจ่ายเงินออนไลน์ในทุกรูปแบบ

การเข้า IPO มาจาก 3 เป้าเหตุผลหลัก 1. การเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ สร้างความน่าเชื่อถือกับบริษัทต่างชาติ เพราะสามารถตรวจสอบได้ 2. ดึงดูดผู้มีความสามารถจากประเทศต่างๆ และ 3. การหาเงินทุนสำหรับขยายธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม รายละเอียดนอกเหนือจากนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะขณะนี้อยู่ในระหว่างการยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทหุ้น (แบบ Filing) ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยจะดำเนินให้แล้วเสร็จภายในปีนี้

ทั้งนี้การยื่น Filing ไม่มีผลต่อการทำธุรกิจปัจจุบันซึ่งแต่ละปีมีการลงทุนปีละ 4 – 5 หมื่นล้านอยู่แล้ว ซึ่งตลอด 3 ปีมานี้รายได้เติบโต 8%

สำหรับในปี 2018 มีรายได้ 240,297 ล้านบาท แบ่งเป็นกลุ่มอาหาร 43% กลุ่มแฟชั่น 35% ที่เหลือ 22% กลุ่มฮาร์ดไลน์ เมื่อแยกแต่ละประเทศรายได้จากเวียดนามมีสัดส่วน 14% ส่วนอิตาลี 8.5%

]]>
1240993
“แม็คโคร” เอาด้วย “ดิจิทัล สโตร์” เจอแน่สาขาแรกที่ลาดกระบัง ไตรมาส 3 นี้ https://positioningmag.com/1224457 Wed, 10 Apr 2019 13:27:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1224457 การเติบโตของโลกดิจิทัล เป็นผลทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคต้องเปลี่ยนไป สิ่งที่ตามมาคือธุรกิจจำต้องปรับตัว อยู่นิ่งๆ ทำแบบเดิมๆ ไม่ได้อีกแล้ว หนึ่งในความน่าสนใจของการปรับตัวคือค้าปลีกที่ว่ากันว่า เป็นผู้ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเติบโตของ e-Commerce จนต้องหนึไปลุยออนไลน์ด้วย

อีกวิธีหนึ่งคือการปรับเปลี่ยนฟอร์แมตสาขา เติมเทคโนโลยีเข้าไปให้ไฮเทคมากขึ้นซึ่งวิธีนี้ แม็คโครห้างค้าปลีกค้าส่งอายุ 30 ปี และมีฐานลูกค้ากว่า 3 ล้านคน กำลังจะหยิบเอามาใช้ โดยเตรียมเปิดแม็คโคร ดิจิทัล สโตร์แห่งแรกที่ลาดกระบัง เห็นแน่ๆ ไตรมาส 3 นี้ สาขานี้จะเป็นฟู้ดเซอร์วิสฟอร์แมตที่เน้นขายสินค้าให้กับกลุ่มโฮเรก้าและร้านอาหาร สาขานี้มีพื้นที่ราว 2,500 ตารางเมตร ใช้งบลงทุนราว 250 ล้านบาท มากกว่าการลงทุนปรกติ 30 ล้านบาท

สิ่งที่จะได้เห็นจาก “ดิจิทัล สโตร์เริ่มต้นตั้งแต่ทางเข้า จะมีจอทัชสกรีนให้ลูกค้าได้ค้นหาโปรโมชั่น ต่อไปแม็คโครบอกว่าอาจจะไม่ต้องพิมพ์โปรชัวร์แจกตามบ้าน ลดต้นทุนได้มากกว่า รวมไปถึงอนาคตจะสามารถออกโปรโมชั่นเฉพาะบุคคลได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีป้ายราคาที่ปรับเป็นจอ LCE ไม่ต้องปรินต์ไปเปลี่ยนเหมือนเดิม

ที่มาของรูป : Facebook แม็คโคร คู่คิดธุรกิจคุณ

แต่ไฮไลต์อยู่ที่การคิดราคาถึงรถเข็น โดยแม็คโครบอกว่าลูกค้าที่มาฟู้ดเซอร์วิส มักจะซื้อของเยอะราว 2 รถเข็น การไปต่อคิวคิดเงินที่แคชเชียร์ทีเดียวอาจจะนานเกินไป วิธีใหม่นี้เมื่อมาแคชเชียร์ก็จ่ายเงินเลย และยังเตรียมเพิ่มช่องทางจ่ายเงินอื่นๆ อีกเช่น E-Wallet และ QR Code อีกหนึ่งวิธีที่อาจจะเห็นในสาขาใหม่ คือสินค้าไม่เยอะอาจจะสามารถคิดเงินเองได้เลย แต่วิธีนี้ต้องรอดูความพร้อมก่อน

5,800 ล้านบาท งบลงทุนในปี 2019

สำหรับภาพรวมงบลงทุนของแม็คโครในปี 2019 วางงบไว้ทั้งหมด 5,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 3,300 ล้านบาท หลักๆ 3,100 ล้านจะถูกใช้สำหรับลงทุนในประเทศไทย ทั้งรีโนเวตสาขาเดิม และเปิดสาขาใหม่ 7-8 สาขาหลักๆ จะเปิดฟู้ดเซอร์วิส อีกส่วนหนึ่งจะยกเครื่องระบบหลังบ้าน เพื่อเตรียมรับความพร้อมในอนาคค

ปัจจุบันแม็คโครมีสาขาในเมืองไทยทั้งหมด 129 สาขา ใน 6 ฟอร์แมต แบ่งเป็นสาขาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 33 สาขา และสาขาในต่างจังหวัด จำนวน 96 สาขา โดยมีพื้นที่การขายรวมประมาณ 747,802 ตารางเมตร ได้แก่

1. ศูนย์จำหน่ายสินค้าแม็คโคร จำนวน 79 สาขา แต่ละสาขามีพื้นที่ขายโดยเฉลี่ยประมาณ 5,500 – 12,000 ตารางเมตร จับกลุ่มกลุ่มผู้ประกอบการร้านโชห่วยและร้านค้าปลีกรายย่อย

ที่มาของรูป : Facebook แม็คโคร คู่คิดธุรกิจคุณ

2. แม็คโครฟู้ดเซอร์วิส จำนวน 25 สาขา มีพื้นที่ขายโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 1,000 – 5,000 ตารางเมตร จับกลุ่มกลุ่มโฮเรก้าโดยเฉพาะ เช่น อาหารสด และอาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง เครื่องครัว อุปกรณ์ในการเตรียมอาหาร และของใช้ที่จำเป็นสำหรับธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม

3. อีโค พลัส จำนวน 13 สาขา พื้นที่เฉลี่ย 7,000 ตารางเมตร กลุ่มลูกค้ามีทั้งโฮเรก้า และผู้ค้าปลีกรายย่อย โดยรูปแบบสาขานี้จะมีพื้นที่อาหารสดให้กับกลุ่มโฮเรก้าเพิ่มขึ้น เน้นเปิดในทำเลพื้นที่ที่มีธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารและจัดเลี้ยงจำนวนมาก และมีศักยภาพในการเติบโต เช่น สาขาพัทยา ภูเก็ต และเชียงใหม่ (หางดง) เป็นต้น

4. แม็คโครฟู้ดช้อป 5 สาขา มีพื้นที่ขายโดยเฉลี่ย600 – 800 ตารางเมตร จับกลุ่มโฮเรก้าในพื้นที่สามารถซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้นโดยไม่ต้องเดินทางไกล เพราะเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าอาหารสด อาหารแช่แข็งขนาดเล็กแต่ครบวงจร

5. ร้านสยามโฟรเซ่น จำนวน 7 สาขา ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งและอาหารแห้งที่เกี่ยวเนื่องกับการประกอบธุรกิจบริการด้านอาหารให้แก่กลุ่มโฮเรก้าเป็นหลัก มีพื้นที่การขายเฉลี่ย 80-260 ตารางเมตร

สุชาดา อิทธิจารุกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจสยามแม็คโคร กล่าวว่า

ปี 2018 แม็คโครเติบโต 3.3% มีรายได้รวม 1.9 แสนล้าน รายได้เฉพาะการขาย 1.88 แสนล้าน สำหรับปี 2019 ตั้งเป้าเติบโตตาม GDP ของประเทศ ส่วนความท้าทายก็คงเจอการแข่งขันตามปรกติ ซึ่งแม็คโครผ่านวิกฤตต้มยํากุ้งมาได้ ก็ไม่มีอะไรหนักหนาสาหัสแล้ว

อีก 5 ปีรายได้จากต่างประเทศต้องเพิ่มเป็น 20%

อีกหนึ่งเป้าหมายที่แม่ทัพแม็คโครวางไว้ คือ การขยับรายได้จากต่างประเทศซึ่งวันนี้ขยายไป 9 ประเทศ ผ่าน 2 รูปแบบ ได้แก่ การเปิดสโตร์กับกลุ่มธุรกิจฟู้ดเซอร์วิส ซึ่งเป็นการขายสินค้าให้กับผู้ประกอบการโดยตรง ปัจุบันมีสัดส่วนราว 4% ต้องการเพิ่มเป็น 20%

เป้าหมายดังกล่าวสะท้อนจากเม็ดเงินลงทุนที่วางไว้สำหรับต่างประเทศ 2,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ใช้ราว 750 ล้านบาทเท่านั้น หลักๆ จะขยายสาขาไปอีก 2 ประเทศ ได้แก่ จีน ลงทุนเอง 100% เบื้องต้นจับเฉพาะมณฑลกวางโจวก่อน ด้วยมีประชากรหลัก 100 ล้านคน จึงมีร้านอาหารเยอะเหมาะกับฟอร์แมตฟู้ดเซอร์วิส คาดเปิด 2 สาขา อีกประเทศคือ เมียนมา ลงทุนเอง 100% เช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดจะได้เห็น 1 สาขา

ที่มาของรูป : Facebook แม็คโคร คู่คิดธุรกิจคุณ

ก่อนหน้านี้แม็คโครได้ลุยเปิดสาขาในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2017 โดยเริ่มที่อินเดียปัจจุบันมี 3 สาขาอยู่ในกรุงนิวเดลีทั้งหมด อีกประเทศคือกัมพูชา 3 สาขาในกรุงพนมเปญและเสียมเรียบ

โดยการไปแต่ละประเทศต้องศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ดี อย่างอินเดีย แม้จะเป็นประเทศขนาดใหญ่มีประชากร 1,300 ล้านคน แต่ไม่เหมาะกับการเปิดฟอร์แมตขนาดใหญ่ เพราะคนอินเดียไม่ชอบเดินทางไกล จึงต้องเปิดสาขาขนาด 2,000 ตารางเมตรแทน อีกอย่างแม้อยู้ในเมืองหลวงเหมือนกัน แต่รูปแบบร้านก็ทำเหมือนกันไม่ได้ เพราะแต่ละพื้นที่มีความต้องการไม่เหมือนกัน

สำหรับกลยุทธ์การขยายสาขานั้นสุชาดาบอกว่า ปีแรกควรจะเปิดสัก 2 สาขา เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค และปรับเปลี่ยนไปตามนั้น ปีที่ 2 ยังไม่ควรขยาย ค่อยมาเพิ่มสาขาในปีที่ 3 จะเพิ่ม 3-4 สาขาก็ว่าไป โดยแต่ละสาขาตั้งเป้าคืนทุน 3 ปี

วิธีการขยายสาขาแบบนี้แม็คโครเรียนรู้จากกลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม อย่างแต่ก่อนเมื่อ 30 ปีที่แล้วมีการมองว่าเมืองไทยเหมาะที่จะเปิดแค่ 9 แห่งเท่านั้น แต่ดูวันนี้มี 100 กว่าสาขาเข้าไปแล้ว ที่เป็นอย่างนั้นเพราะช่วงแรกต้องทำให้คนรู้จักก่อน เมื่อคนติดการขยายสาขาจะไม่เป็นปัญหาเลย

]]>
1224457
กำลังซื้อไม่มา! “ค้าปลีกไทย” ปี 62 ส่อซึมยาว ชง 8 มาตรการกระตุ้น https://positioningmag.com/1213430 Mon, 11 Feb 2019 23:07:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1213430 ท่ามกลางความท้าทายทั้งสภาวะเศรษฐกิจ และช่องทางขายผ่านออนไลน์ มาดูกันว่าค้าปลีกของไทยปี 2562 จะเป็นอย่างไร? เมื่อสมาคมผู้ค้าปลีกไทยได้ประเมินไว้ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2561 เติบโตราว  4.0-4.2% แต่พบว่าภาคค้าปลีกเติบโตเพียง 3.1% จากการชะลอตัวช่วงไตรมาสที่ 3-4 ขณะที่การค้าปลีกค้าส่งมีสัดส่วนจีดีพี ด้านการผลิต 16.1% เป็นอันดับ 2 รองลงมาจากภาคอุตสาหกรรม

การขยายตัวของภาคค้าปลีกค้าส่ง จึงมีความสำคัญต่อการจ้างงานที่คิดเป็น 16% ของการจ้างงานทั้งประเทศ ช่วง 20 ปีที่ผ่านมาภาคค้าปลีกลงทุนต่อเนื่อง พบว่า ปี 2559-2561 กลุ่มโมเดิร์น เชน สโตร์ ลงทุนรวม 130,200 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 43,400 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานกว่า 210,000 คนต่อปี และการจ้างงานทางอ้อมอีกกว่า 150,000 คน

วรวุฒิ อุ่นใจ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า แนวโน้มค้าปลีกไทยเติบโตต่ำมาอย่างต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2557 และมีทิศทาง “ทรงตัว” ในปีนี้  หากเป็นเช่นสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้ค้าปลีกไม่สามารถรักษาระดับการลงทุนเหมือนที่ผ่านมา

โดยเป็นผลมาจากตัวแปรเศรษฐกิจปี 2562 ที่พบว่าตัวเลขจีพีพี ปี 2562 ทุกสถาบันต่างเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวในแบบชะลอจากปีก่อน นอกจากนี้ยังมีความไม่ชัดเจนของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นรายได้หลักของกลุ่มคนฐานรากกลุ่มใหญ่ของประเทศ จากการคาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรโภคภัณฑ์อาจไม่เพิ่มขึ้นตามทิศทางตลาดโลก แต่อาจมีเพียงข้าวที่ทำรายได้ได้ดีในระดับหนึ่ง

อีกปัจจัยสำคัญ คือ เสถียรภาพทางการเมืองหลังเลือกตั้ง ธุรกิจค้าปลีกคงต้องเฝ้าติดตาม บรรยากาศโดยภาพรวม ซึ่งจะส่งผลเกี่ยวข้องโดยตรงกับการตัดสินใจเดินหน้าการค้าและการลงทุนในปีต่อๆ ไป

กำลังซื้อ “ซึม-ทรง” ค้าปลีกเสี่ยง”

โดยรวมแล้วอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยปี 2562 ต้องเผชิญกับกลุ่มฐานผู้บริโภคกลางลงล่าง “ซึม” กลุ่มฐานผู้บริโภคกลางขึ้นบน “ทรง” และทั้งภาคค้าปลีกยังคงต้อง “เสี่ยง” กับความไม่ชัดเจนและความไม่แน่นอน

การคาดการณ์สถานการณ์ค้าปลีกครึ่งปีแรก 2562

อุตสาหกรรมภาคค้าปลีกคงหวังไม่ได้กับ “มาตรการ อั่งเปาช่วยชาติ” ที่จะช่วยกระตุ้นการบริโภคซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะมีการจับจ่ายกว่าแสนล้าน โดยมีผู้บริโภคเข้าร่วมโครงการกว่า 6 ล้านคน แต่ข้อมูลล่าสุดมีผู้เข้าร่วมลงทะเบียนเพียงหลักหมื่นคน ทำให้การจับจ่ายเหลือเพียงประมาณหมื่นล้านบาท เมื่อรวมถึงการเลือกตั้งที่จะมีเงินสะพัดราว 50,000 ล้านบาท ทำให้ครึ่งปีแรกจะมีเงินสะพัดเพียงประมาณ 60,000 ล้านบาท ถือว่าอยู่ค่อนข้างน้อย ดังนั้นภาพรวมค้าปลีกครึ่งปีแรก คงจะไม่เห็นการเติบโตภาคค้าปลีกเพิ่มขึ้นแต่อย่างไร

สำหรับสถานการณ์ครึ่งปีหลัง หากภาครัฐเร่งให้มีการประมูลโครงสร้างพื้นฐานให้ได้ภายในไตรมาสแรก ผลจากการลงทุนนี้จะส่งผลต่อการเติบโตแก่ภาคค้าปลีกในปลายไตรมาส 3 ต่อต้นไตรมาส 4 แต่หากไม่เป็นตามระยะเวลาดังกล่าว ครึ่งปีหลังก็คงจะ “ซึม ถึง ทรุด” ในบางกลุ่มประเภทธุรกิจเซ็กเมนต์

โดยรวมดัชนีค้าปลีกปี 2562 อาจจะทรงตัวหรืออาจจะต่ำกว่าเดิมเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2561 คาดว่า การเติบโตน่าจะอยู่ราว 3.0-3.1% แต่ซึ่งก็ยังต่ำกว่าจีดีพีประเทศ ที่คาดการณ์ว่าน่าจะเติบโตราว 3.5-4.0%

ชง 8 ข้อเสนอกระตุ้นค้าปลีก

ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย เสนอ 8 มาตรการ ต่อภาครัฐบาลเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง ดังนี้

1. รัฐบาลควรให้ความสำคัญต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งอย่างจริงจัง เนื่องจากภาคค้าปลีกเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีการจ้างงานอันดับ 1 ของการจ้างงานนอกภาคเกษตร ขณะเดียวกันภาคการบริโภคค้าปลีกค้าส่ง มีสัดส่วนกว่า 55% ของมูลค่าการบริโภคภาคเอกชน

2. เพื่อแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษีที่ถูกบิดเบือน รัฐบาลควรศึกษาและพิจารณาเรื่องการลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์หรูอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกลุ่มแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องหนัง และนาฬิกาชั้นนำ (Luxury Brand) เพื่อกระตุ้นยอดจับจ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในเมืองให้เพิ่มขึ้น

3. สร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคภายในประเทศและผู้บริโภคที่เป็นนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ โดยให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ประกาศจัดงาน “Thailand Brand Sale” ระยะเวลา 3 เดือน ช่วงโลว์ซีซันของการท่องเที่ยว หรือช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม ลดภาษีนำเข้าสินค้าแบรนด์หรูในกลุ่มแฟชั่น เครื่องสำอาง เครื่องหนัง และนาฬิกา ชั้นนำ (Luxury Brand) เพื่อกระตุ้นยอดจับจ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เพิ่มขึ้น และกระตุ้นการจับจ่ายผู้บริโภคที่ยังมีกำลังซื้ออยู่ให้กลับคืนมา

4. ภาครัฐต้องไม่ปิดกั้นผู้ประกอบการรายอื่นๆ ให้เข้ามาดำเนินธุรกิจร้านค้าปลอดภาษีในสนามบิน และพื้นที่ค้าปลีกนอกสนามบิน เพื่อเปิดแข่งขันเสรีในทุกภาคส่วนในประเทศไทย เพื่อรัฐจะสามารถสร้างรายได้มากขึ้น

5. ปัจจุบันกลุ่มค้าปลีกมีความต้องการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพนักงานรายชั่วโมงที่ไม่สามารถจ้างงานได้เพียงพอ ขณะเดียวกันยังมีกลุ่มที่ขาดรายได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มบุคคลหลังเกษียณ ที่ไม่มีรายได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้ไม่สามารถทำงานได้เต็มเวลา 8 ชั่วโมง จึงเหมาะสมที่จะจ้างกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นรายชั่วโมง ภาครัฐจะต้องกำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบประกาศค่าจ้างขั้นต่ำเป็นรายชั่วโมง เพื่อให้สามารถจ้างงานบุคคลกลุ่มดังกล่าวได้

6. นโยบายการจ้างงานผู้สูงอายุ ขอให้พิจารณาปรับเพิ่มอัตราค่าจ้างผู้สูงอายุที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษี ปัจจุบันกำหนดไว้ที่ 15,000 บาท เสนอให้พิจารณากรณีค่าจ้างสูงกว่า 15,000 บาท ให้สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุดที่ 15,000 บาท เพราะปัจจุบันหากค่าจ้างสูงกว่า 15,000 บาท จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้เลย และสามารถจ้างงานเป็นรายชั่วโมงตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง ตามข้อ 5

7. ภาครัฐต้องสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่ง ตลอดจนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและธุรกิจบริการให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาระบบทวิภาคี โดยชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการ และอาจให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การลดหย่อนภาษีหรือสิทธิพิเศษอื่นๆ อีกทั้งภาครัฐจะต้องมีมาตรการสนับสนุนการนำคุณวุฒิวิชาชีพมาเป็นมาตรฐานการจ้างงานโดยเริ่มที่การจ้างงานภาครัฐก่อน

8. รัฐต้องมีมาตรการส่งเสริมการค้าชายแดนอย่างชัดเจน โดยพิจารณาผ่อนผันการเปิดด่านต่างๆ การเพิ่มจำนวนด่าน และอำนวยความสะดวก รวมทั้งพิจารณาให้มี VAT Refund for Tourist ในกรณีนักท่องเที่ยวเพื่อนบ้านเดินทางเข้ามาในประเทศไทยโดยใช้เส้นทางบก

]]> 1213430