งบสื่อโฆษณา – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 14 Aug 2024 10:28:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 MI ประเมิน “เม็ดเงินโฆษณา” 2567 โตต่ำ 3.3% สื่อเก่า “ทีวี” ยังสาหัส – แบรนด์หันใช้ “อินฟลูฯ” เพิ่มเท่าตัว https://positioningmag.com/1486284 Wed, 14 Aug 2024 10:22:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1486284
  • MI GROUP เปิดข้อมูล “เม็ดเงินโฆษณา” ช่วง 7 เดือนแรกมีการใช้จ่ายกว่า 49,400 ล้านบาท เติบโต 4.9% เซอร์ไพรส์ “โอลิมปิก 2024” ช่วยดันเกินคาด
  • คาดการณ์ทั้งปี 2567 เม็ดเงินโฆษณาน่าจะอยู่ที่ 87,600 ล้านบาท เติบโต 3.3% อย่างไรก็ตาม ปัจจัยใหม่ “ถอดนายกฯ” อาจสะเทือนจนทำให้เม็ดเงินโฆษณาถึง “ติดลบ”
  • ช่องทางสื่อ “ทีวี” ยังหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่งบสื่อดิจิทัลทุ่มไปกับ “อินฟลูเอนเซอร์” เป็นเท่าตัว เน้นการตัดสินใจเป็นยอดขายทันทีมากกว่าการรับรู้แบรนด์
  • “ภวัต เรืองเดชวรชัย” ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์กรุ๊ป จำกัด (MI GROUP) อัปเดตสถานการณ์ในอุตสาหกรรมโฆษณาของปีนี้ พบว่า “เม็ดเงินโฆษณา” ช่วง 7 เดือนแรกปี 2567 มีการใช้จ่ายราว 49,400 ล้านบาท เติบโต 4.9% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

    ช่วงที่ผ่านมามีเซอร์ไพรส์เล็กๆ จากการถ่ายทอดสด “โอลิมปิก 2024” ที่มีผู้ชมให้ความสนใจเกินคาด และทำให้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดเช่นกัน โดยแต่เดิมคาดจะมีเม็ดเงินโฆษณาในการถ่ายทอดสดโอลิมปิกประมาณ 300 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากสปอนเซอร์รายใหญ่ แต่หลังจากเรตติ้งผู้ชมกีฬาดีกว่าคาด ทำให้เม็ดเงินเข้ามารวมกว่า 500 ล้านบาท ขายโฆษณาได้เกิน 80% ของแพ็กเกจที่ตั้งไว้ ถือเป็นยอดขายเกินความคาดหมายท่ามกลางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยดีนัก

    โฆษณา
    เม็ดเงินโฆษณา 7 เดือนแรกปี 2567

    อย่างไรก็ตาม หลังแม่เหล็กใหญ่อย่างโอลิมปิกจบลง เชื่อว่าในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีนี้น่าจะกลับสู่สถานการณ์ซบเซาอีกครั้ง จากสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อตกต่ำทำให้แบรนด์ต่างๆ จำกัดงบโฆษณาค่อนข้างมาก

    MI GROUP คาดว่ารวมทั้งปี 2567 น่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาอยู่ที่ 87,600 ล้านบาท เติบโต 3.3% จากปีก่อน แม้จะเติบโตขึ้นบ้าง แต่ถือว่ายังไม่ฟื้นกลับไปเท่ากับช่วงก่อนโควิด-19 ซึ่งเม็ดเงินโฆษณาเคยวิ่งอยู่ในระดับ 90,200 ล้านบาทเมื่อปี 2562

    คาดการณ์เม็ดเงินโฆษณารวมทั้งปี 2567 โดย MI GROUP (*เป็นฉากทัศน์เดิมก่อนมีการถอดถอนนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน)

    “กำลังซื้อแย่มากทุกหมวดสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้า High-Involvement เช่น รถยนต์ มอเตอร์ไซค์ หรือสินค้า Low-Involvement เช่น สบู่ แชมพู ต่างซบเซาหมด” ภวัตกล่าว “มีเพียง 3 หมวดสินค้าที่ถือว่ายังใช้งบโฆษณาสูงกว่าตลาด ได้แก่ สกินแคร์ รถยนต์ และ เครื่องดื่ม”

    ภวัตกล่าวด้วยว่า ปัจจัยบวกอย่างหนึ่งที่อาจจะช่วยกู้สถานการณ์ได้บ้างคือโครงการ “ดิจิทัล วอลเล็ต” ของรัฐบาล ซึ่งคาดว่าน่าจะเริ่มให้ประชาชนได้ใช้จ่ายจริงในเดือนธันวาคมนี้ ทำให้ 1 เดือนสุดท้ายของปีอาจจะเห็นการโฆษณาที่คึกคักขึ้นได้

    อย่างไรก็ตาม ล่าสุดมีตัวแปรสำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ ศาลรัฐธรรมนูญมีการตัดสินคดีถอดถอน “เศรษฐา ทวีสิน” ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งภวัตคาดการณ์ไว้ว่า ในกรณีเลวร้ายที่สุด (Worst Case) อาจจะเกิดสุญญากาศทางการเมืองไปอีก 2-3 เดือน ทำให้การขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐหยุดชะงัก และกระทบต่อการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณา จนอาจจะทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาในปี 2567 เข้าขั้นติดลบในที่สุด โดยคาดจะติดลบ -0.2%

    เม็ดเงินโฆษณาอาจ “ติดลบ” หากเกิดสุญญากาศยาวนานหลังศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้เศรษฐา ทวีสินพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

     

    “ทีวี” ยังสาหัส – “OOH” โตพุ่ง

    ด้านช่องทางการลงสื่อโฆษณาปี 2567 สัดส่วนเม็ดเงินคาดว่าจะแบ่งเป็น

    • 40.5% โทรทัศน์
    • 36.0% ช่องทางดิจิทัล
    • 15.2% สื่อนอกบ้าน (OOH)
    • 3.5% วิทยุ
    • 2.4% โรงภาพยนตร์
    • 2.4% หนังสือพิมพ์และนิตยสาร
    ช่องทางลงโฆษณา สัดส่วนของทีวีลดลงต่อเนื่อง ขณะที่สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

    “เม็ดเงินโฆษณา” ที่ลงในช่องทาง “โทรทัศน์” นั้นลดสัดส่วนลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2559 จากความนิยมการเสพสื่อของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ส่วนช่องทางที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเข้ามาแทนที่สื่อดั้งเดิมทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร คือ สื่อดิจิทัล

    ภวัตกล่าวด้วยว่า ลักษณะการลงโฆษณาในโทรทัศน์ปัจจุบันสินค้าจะไม่เลือกกระจายลงทุกช่องอีกต่อไปแล้ว แต่จะมีการเลือกมาอย่างมาก 5 ช่องที่มีกลุ่มเป้าหมายผู้ชมตรงกับตัวสินค้ามากที่สุดเท่านั้น

    รวมถึงราคาแม้เรตการ์ดจะยังไม่ปรับลง คือ ช่วงไพรม์ไทม์ของโทรทัศน์เวลา 18:00-22:30 น. ซึ่งเป็นช่วงละคร จะยังตั้งเรตการ์ดที่นาทีละ 400,000 บาท แต่ในการดีลจริงจะต้องจัดโปรโมชันเพื่อจูงใจลูกค้า เช่น ซื้อช่วงละครแถมช่วงข่าวเช้า เป็นต้น เห็นได้ว่าสื่อทีวีต้องปรับตัวสูงมากในสถานการณ์นี้เพราะเม็ดเงินโฆษณามีน้อยลง แต่จำนวนช่องมีมาก และยังต้องแข่งกับช่องทางออนไลน์อีกด้วย

    ทั้งนี้ อีกหนึ่งช่องทางที่กลับมาเติบโตได้ดีคือ “สื่อนอกบ้าน” หรือ Out of Home (OOH) หลังจากหดตัวไปในช่วงโควิด-19 ปัจจุบันกลับมาโตพุ่งเพราะผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตนอกบ้านกันอย่างเต็มที่ และถือเป็นช่องทางหนึ่งเดียวที่สื่อดิจิทัลไม่สามารถดิสรัปต์ได้

     

    “เน้นทำยอดทันที” ทำให้ “อินฟลูเอนเซอร์” โตเท่าตัว

    ด้านกลุ่มสื่อดิจิทัลเองก็มีความเปลี่ยนแปลงสูงมาก โดยภวัตเปิดข้อมูลคาดการณ์ของปีนี้ การยิงโฆษณาหรือบูสต์โพสต์ใน “Meta” (Facebook และ Instagram) รวมถึง “YouTube” จะลดลง แต่ที่มาแรงแทนที่คือ “TikTok” ตามเทรนด์คนไทยหันมาใช้กันมากขึ้นทั้งชมคอนเทนต์และช้อปปิ้งในตัว

    อีกช่องทางหนึ่งที่มาแรงมากคือ “อินฟลูเอนเซอร์” ซึ่งปีนี้เม็ดเงินที่ซื้อทำคอนเทนต์โฆษณากับอินฟลูฯ น่าจะพุ่ง ‘เท่าตัว’ เป็น 8,000 ล้านบาท ไม่รวมการทำ Affiliate Marketing หรือ ‘ติดตะกร้า’ ของอินฟลูฯ ซึ่งยังไม่สามารถเก็บสถิติได้ว่าสร้างเม็ดเงินจากค่าคอมมิชชันอีกเท่าไหร่

    (Photo : Shutterstock)

    “ตอนนี้บัดเจ็ทโฆษณาดิจิทัลในแต่ละแคมเปญ จาก 100% ถูกแบ่งให้ช่องทางซื้ออินฟลูเอนเซอร์แล้วประมาณ 25-30% มากน้อยแล้วแต่ประเภทสินค้า แต่ภาพรวมคือสัดส่วนขึ้นมาเยอะมากๆ ประมาณเท่าตัวจากในอดีต” ภวัตกล่าว

    สาเหตุคือปีนี้เศรษฐกิจซบเซาทำให้แบรนด์มุ่งเน้นใช้เม็ดเงินโฆษณาเพื่อ “เปลี่ยนเป็นยอดขายทันที” มากกว่าสร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ซึ่งอินฟลูเอนเซอร์สามารถเติมเต็มความต้องการนี้ได้ เพราะผู้บริโภคคล้อยตามได้ง่าย และอินฟลูฯ สามารถลงลิงก์ช่องทางตามไปซื้อสินค้าทำให้ลูกค้าตามมาซื้อได้ทันที

    โดยเฉพาะกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ระดับ “ไมโคร” และ “นาโน” ถือว่าได้อานิสงส์จากสถานการณ์นี้อย่างมาก เพราะอินฟลูฯ ระดับนี้ให้ความรู้สึกเป็นเพื่อนหรือคนรู้จักบอกต่อสินค้า น่าเชื่อถือกว่าว่าเป็นผู้ใช้จริง สร้างแรงจูงใจในการซื้อตามได้ง่าย

    ]]>
    1486284
    เม็ดเงิน “โฆษณา” ปี’66 ไม่โตตามคาด “MI GROUP” ประเมินปีนี้ฟื้นแค่ 4.4% https://positioningmag.com/1448599 Thu, 19 Oct 2023 02:14:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448599 MI GROUP อัปเดตเม็ดเงิน “โฆษณา” ปี 2566 ช่วง 9 เดือนแรกยังโตต่ำเพียง 2.57% คาดตลอดปีนี้โตได้เพียง 4.4% จบที่เกือบ 8.5 หมื่นล้านบาท จากปัจจัยเศรษฐกิจการเมืองสงครามทำตลาดไม่สดใส

    ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือ MI GROUP เปิดข้อมูลการใช้เม็ดเงิน “โฆษณา” รอบ 9 เดือนแรก ปี 2566 มีการลงโฆษณารวม 61,848 ล้านบาท เติบโตเพียง 2.57% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

    ภวัตมองว่า เหตุที่การลงโฆษณาปีนี้ไม่สดใสนักเพราะปัจจัยรุมเร้าหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจที่ยังซบเซา ประชาชนกำลังซื้อต่ำจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น

    รวมถึงปัจจัยด้านการเมือง หลังเลือกตั้งแล้วยังใช้เวลานานในการจัดตั้งรัฐบาล ความไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงกลางปีทำให้แบรนด์ชะลอการทำการตลาด และล่าสุดยังมีปัจจัยเรื่องสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์เข้ามาทำให้มู้ดของผู้บริโภคยังเป็นเชิงลบ

    ปีนี้จึงมีเฉพาะกลุ่มสินค้าไฮเอนด์ที่ยังสดใส เพราะกลุ่มผู้มีกำลังซื้อสูง Top 5% ของประเทศได้รับผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ มีการใช้จ่ายตามปกติหรือบางสินค้ามีการใช้มากกว่าปกติด้วย

    โฆษณา
    เม็ดเงินโฆษณารอบ 9 เดือนแรก ปี 2566

    จากการลงโฆษณารอบ 9 เดือนแรกที่เติบโตต่ำ MI GROUP จึงประเมินว่า ทั้งปี 2566 นี้น่าจะมีเม็ดเงิน “โฆษณา” สะพัด 84,549 ล้านบาท เติบโต 4.4% จากปีก่อน โดยเชื่อว่าไตรมาสสุดท้ายของปีน่าจะกระเตื้องขึ้นเพราะเป็นฤดูท่องเที่ยวและเทศกาลสำคัญต่างๆ ที่จะดึงเม็ดเงินและกำลังซื้อได้

    อย่างไรก็ตาม การเติบโตเพียง 4.4% ก็ถือว่าต่ำกว่าที่วงการโฆษณาเคยคาดการณ์กันไว้ว่าปี 2566 จะเป็นปีที่ตลาดฟื้นตัว 5-7%

    โฆษณา
    เม็ดเงินโฆษณาคาดการณ์ ปี 2566

    สำหรับประเภทโฆษณาที่เติบโตและหดตัวก็ยังเป็นไปตามเทรนด์ตลาด โดยกลุ่มโฆษณาโทรทัศน์และสื่อสิ่งพิมพ์ยังหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง แทนที่ด้วยโฆษณาดิจิทัลทางอินเทอร์เน็ตที่เติบโตขึ้นมา และกลุ่มโฆษณาสื่อนอกบ้าน (OOH) ที่ปีนี้น่าจะขึ้นมาใช้เม็ดเงินกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 14.3% ของตลาดโฆษณาทั้งหมด

    วงการโฆษณาในช่วงก่อนโควิด-19 เคยมีเม็ดเงินสะพัด 9 หมื่นล้านบาทในปี 2562 อย่างไรก็ตาม เทรนด์การใช้เงินในวงการโฆษณานั้นภวัตมองว่า “คงจะไม่ได้เห็นกลับไปแตะ 1 แสนล้านบาทได้อีกแล้ว” เพราะสื่อที่เคยดึงดูดเม็ดเงินโฆษณาก้อนใหญ่หลักหลายแสนบาทต่อการลงโฆษณา 1 ครั้งอย่างโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์นั้นไม่สามารถดึงดูดได้มากเท่าในอดีตอีกแล้ว

    ]]>
    1448599
    เม็ดเงินโฆษณา 2 เดือนแรกยังซึม! รอดู “เลือกตั้ง” จุดเปลี่ยนสำคัญ https://positioningmag.com/1421265 Tue, 28 Feb 2023 11:03:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1421265 ซึมต่อเนื่องตั้งแต่ช่วง Q4/2022 จนถึงช่วง 2 เดือนแรกของปี 2023 สำหรับ เม็ดเงินโฆษณา อย่างไรก็ตาม ทาง MI GROUP ยังมองว่าภาพรวมทั้งปียัง เติบโตได้ เพราะยังพอมีปัจจัยบวก แต่ที่น่าจับตาที่สุดคือ สถานการณ์การ เลือกตั้ง ที่ค่อนข้างจะแน่ชัดแล้วว่าจะเกิดขึ้นช่วงพฤษภาคมนี้

    มองตามสถานการณ์ตลาด +5%

    ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด หรือเอ็มไอ กรุ๊ป กล่าวว่า สถานการณ์ของเม็ดเงินโฆษณาในช่วง 2 เดือนแรกถือว่า ซึมตามคาด โดยเดือนมกราคมติดลบ -10% เนื่องจากผลมาจากปัจจัยลบต่อเนื่องจาก Q4 ปีที่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น GDP โตต่ำกว่าคาด ของแพง ค่าครองชีพสูง หนี้ครัวเรือนสูง ทำให้อุปสงค์ต่ำ

    อย่างไรก็ตาม ในมุมนักการตลาดก็เห็นปัจจัยบวก โดยเฉพาะ นักท่องเที่ยว ที่คาดว่าภายในสิ้นปีน่าจะมีมากถึง 30 ล้านคน ผู้บริโภคไม่กลัวโควิดแล้ว และอีกปัจจัยสำคัญคือ การเลือกตั้งมีความชัดเจน ทำให้นักการเมืองเริ่มออกมาทำกิจกรรมหาเสียง ซึ่งส่วนนี้ก็จะส่งผลบวกทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเศรษฐกิจ ดังนั้น ในปีนี้คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาน่าจะเติบโตได้ราว 5% หรือประมาณ 85,790 ล้านบาท

    เลือกตั้งช่วยทางอ้อมมากกว่า

    ภวัต อธิบายว่า การเติบโต 5% ที่ประเมิน ถือเป็นการประเมินตามสถานการณ์ที่เห็นตอนนี้ แต่จะเติบโตมากหรือน้อยกว่านี้ ต้องรอดู หลังเลือกตั้ง ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรตามมาหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การมาของการเลือกตั้งจะหนุนเงินสะพัดถึง หมื่นล้านบาท ในช่วงเมษายน-พฤษภาคม แต่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับเม็ดเงินโฆษณา จะเป็นผลทางอ้อมที่มาจากกิจกรรมลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัครและพรรคการเมือง ซึ่งจะมีผลต่อ กำลังซื้อของผู้บริโภค แบรนด์ที่เป็นสินค้าพื้นฐานก็จะได้ประโยชน์ตรงนี้

    ในส่วนของเม็ดเงินที่จะใช้กับสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ คาดว่ามี ไม่ถึงร้อยล้าน เนื่องจากแลนด์สเคปของการหาเสียงเปลี่ยนไป นักการเมืองไม่ต้องการสร้างอแวร์เนส แต่ต้องการ สร้างคอนเทนต์ บนโลกออนไลน์ ซึ่งถ้าคอนเทนต์ดีก็จะเกิดการแชร์ ถือว่าได้หน้าสื่อฟรี ดังนั้น การหาเสียงช่วงเลือกตั้ง โซเชียลมีเดียจะเป็นสมรภูมิหลัก

    “เม็ดเงินหมื่นล้านอาจเข้าสื่ออาจจะมีไม่ถึงร้อยล้านด้วยซ้ำ เพราะในช่วง 2-3 ปีมานี้แลนด์สเคปเปลี่ยน แค่มีคอนเทนต์ที่แรงจะได้สื่อฟรี แถมสามารถกระจายตัวไปอยู่ในสื่อทีวีได้ด้วย เช่น การดีเบต มันชิ่งไปชิ่งมาโดยมีคอนเทนต์เป็นตัวหลัก ดังนั้น ออนไลน์จะเป็นสมรภูมิหลักแน่นอนในช่วงเลือกตั้ง จากในอดีตที่เม็ดเงินจะไหลไปที่หนังสือพิมพ์และทีวี”

    สินเชื่อส่วนบุคคลไม่ใช้เงินร้อนแรงอีกต่อไป

    ขณะที่หมวดสินเชื่อโดยเฉพาะ สินเชื่อส่วนบุคคล ที่คึกคักมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ปีนี้คาดว่าน่าจะคึกคักน้อยลง จากภาวะหนี้ครัวเรือนของไทยที่พุ่งสูงแตะ 90% ของ GDP อันเป็นผลมาจากหนี้ส่วนบุคคลที่เต็มวงเงิน ความสามารถในการชำระหนี้ต่ำ ซึ่งนำไปสู่หนี้เสียของสินเชื่อส่วนบุคคล (NPL) ที่สูงขึ้นแตะ 4.4% ในปีที่ผ่านมา

    “เขาไม่รู้จะใช้เงินทำตลาดไปทำไม เพราะตอนนี้คนที่ต้องการกู้แทบไม่มีแล้ว คนที่กู้ก็กู้เต็มวงเงินไปหมดแล้ว”

    สำหรับ 5 อุตสาหกรรมที่คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาจะคึกคักในปีนี้ ได้แก่

    • หมวดยานยนต์ จักรยานยนต์ โดยเฉพาะ ยานยนต์พาณิชย์, ยานยนต์พลังงานสะอาด (EV, HEV, PHEV) คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 5,800 ล้านบาท
    • หมวดงานอีเวนต์กิจกรรม คอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,000 ล้านบาท จากปีที่ผ่านมาใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท
    • E-Commerce โดยเฉพาะ Market Place, เดินทาง&ท่องเที่ยว, รถยนต์มือสอง, ประกัน, ดีลและส่วนลดพิเศษ คาดเม็ดเงินปีนี้มากกว่า 1,800 ล้านบาท
    • อาหาร เครื่องดื่ม และบริการ โดยเฉพาะกลุ่มเพื่อสุขภาพและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,800 ล้านบาท
    • ผลิตภัณฑ์ในหมวดความสวยและความงาม คาดเม็ดเงินรวมปีนี้มากกว่า 9,300 ล้านบาท

    “ปีนี้มีปัจจัยบวกคือ ท่องเที่ยว เลือกตั้ง และคนที่ออกมาใช้ชีวิตมากขึ้น ส่วนการมาของซีเกมส์ เรามองว่าไม่มีนัยเลย คนสนใจแต่ดราม่า แต่การแข่งขันไม่น่าสนใจ ส่วนช่วงหน้าร้อนที่ปกติจะเป็นช่วงที่คึกคักของตลาด ปีนี้ก็มองว่าคงจะคึกคักเหมือนเดิมไม่ได้คึกคักเป็นพิเศษ”

    ]]>
    1421265
    เจาะลึกเม็ดเงินโฆษณาหลังมี ‘วัคซีน’ สื่อไหนฟื้น สื่อไหนยังน่าห่วง https://positioningmag.com/1323826 Wed, 17 Mar 2021 13:24:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1323826 ในปี 2020 ที่มีวิกฤตการระบาดของ COVID-19 ทำให้หลากอุตสาหกรรมต้องชะงักการใช้เงิน ส่งผลให้ ‘เม็ดเงินโฆษณา’ ติดลบไปถึง -18.3% แต่ในปี 2021 ที่ได้ ‘วัคซีน’ มาจุดประกายความหวัง มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ ก็ได้ออกมาคาดการณ์ถึงแนวโน้มเม็ดเงินโฆษณาในปีนี้ รวมถึงเจาะลึกปัจจัยบวกและปัจจัยลบต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

    ปีนี้บวกแต่ต้องรอ 3 ปีฟื้นถึงจุดเดิม

    ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด กล่าวว่า หลังผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤต COVID-19 ที่ทำให้เม็ดเงินโฆษณาติดลบไปถึง -18.3% มีมูลค่า 73,720 ล้านบาท แต่ในปี 2021 เริ่มเห็นสัญญาณต่าง ๆ ที่ดีขึ้น อาทิ การกระจายวัคซีนให้กับประชาชนที่แม้จะต้องใช้เวลานานกว่า 1 ปีก็ตาม โดยคาดว่าเม็ดเงินโฆษณาปี 2021 เติบโตอย่างน้อย 5-10% มีมูลค่า 79,600 ล้านบาท คาดว่าไตรมาส 3-4 จะเป็นช่วงที่มีเม็ดเงินมากที่สุด

    อย่างไรก็ตาม การที่เม็ดเงินโฆษณาจะกลับไปเท่ากับปี 2019 หรือแตะ 90,000 ล้านบาทนั้นอาจต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี เนื่องจาก ‘ท่องเที่ยว’ ยังไม่ฟื้นเร็ว ๆ นี้ รวมถึงอัตราการว่างงานที่สูง และกำลังซื้อที่หายไป นอกจากนี้ยังมี ‘การเมือง’ ที่เป็นปัจจัยรองลงมาอีก และการจะไปถึงระดับ 1 แสนล้านบาทอาจไม่ได้เห็นอีกแล้ว

    “โควิดระลอกสองทำตลาดช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ติดลบ -7.8% แต่มีสัญญาณการทำแคมเปญทางการตลาดที่ดีในช่วงเดือนมีนาคมเชื่อว่าจบเดือนจะมีแคมเปญราว 1,300 แคมเปญเติบโต 7% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แม้ว่าจะมีการระบาดที่บางแคอีกครั้งก็ตาม แต่ประชาชนไม่ตื่นตระหนกเหมือน 2 ครั้งก่อน”

    รถยนต์ น้ำดื่ม อาหารเสริม โทรคมนาคม อีคอมเมิร์ซ ดันเม็ดเงิน

    กลุ่มยานยนต์ประเภทรถยนต์ : กลุ่มตลาดรถยนต์จะกลับมาใช้เม็ดเงินอีกครั้งจากที่ตกไปมากกว่า 20% เนื่องจากมี ‘ผู้เล่นรายใหม่จากจีน’ รวมถึงกระแสรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นตัวผลักดันให้เม็ดเงินโฆษณาในกลุ่มนี้กลับมาคึกคักในปีนี้ คาดว่าจะเติบโต 15% มีเม็ดเงิน 6,000 ล้านบาท

    เครื่องดื่มฟังก์ชันนอลดริ้งก์ : เครื่องดื่มฟังก์ชันนอลดริ้งก์ อาทิ น้ำดื่มผสมวิตามินเป็นกลุ่มที่เติบโตตั้งแต่ปีที่ผ่านมาเพราะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันมีคู่แข่งเข้ามาต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมี ‘กัญชง’ ที่จะเข้ามากระตุ้นตลาดอีก

    อาหารเสริมสุขภาพและความงาม : การเติบโตในกลุ่มอาหารเสริมเป็นกลุ่มที่ได้รับความนิยม อีกทั้งยังใช้เม็ดเงินโฆษณาทางทีวีโดยเฉพาะตลาดโฮมช้อปปิ้งในอัตราสูง

    สื่อสารโทรคมนาคมและอุปกรณ์สื่อสาร : เนื่องจากการมาของ 5G อย่างเต็มรูปแบบ เชื่อว่าจะทำให้ตลาดคึกคัก คาดว่าเติบโต 10% คิดเป็นเม็ดเงิน 4,500 ล้านบาท

    อีมาร์เก็ตเพลส : อีคอมเมิร์ซที่กลายเป็นพฤติกรรมการช้อปปิ้งของคนไทยไปแล้ว ดังนั้นผู้เล่นในตลาดอย่าง Shopee, Lazada, JD Central จะยังคงโหมทำตลาดต่อเนื่อง

    ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการ บริษัท มีเดีย อินเทลลิเจนซ์ จํากัด

    ทีวี ออนไลน์ Out Of Home ยังใหญ่สุด

    ในส่วนของประเภทสื่อที่ใหญ่สุด ได้แก่

    ทีวี คาดว่ามีสัดส่วน 50.3% มีมูลค่า 40,000 ล้านบาท (-14%)

    ออนไลน์ มีสัดส่วน 31.3% มีมูลค่า 21,767 ล้านบาท (+25.5%)

    Out Of Home มีสัดส่วน 10% มูลค่า 9,883 ล้านบาท (+4%)

    “ปีที่ผ่านมาสื่อนอกบ้านได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ แต่ปีนี้สถานการณ์ดีขึ้นจึงปรับตัวดีขึ้น ส่วนตลาดออนไลน์การใช้งานอินฟลูเอนเซอร์เติบโตมากที่สุด โดยเป็นเทรนด์ที่คาดว่าจะยิ่งเติบโตต่อเนื่อง แต่เม็ดเงินคงไปเทียบกับแพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Google ไม่ได้”

    ที่น่าสนใจคือ ทีวี เนื่องจากช่องดิจิทัลทีวีเกิดใหม่ อาทิ ช่อง Work point, Mono29 และ One 31 ที่เรตติ้งดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้เม็ดเงินไหลจากช่องหลักอย่างช่อง 3, ช่อง 7 ไปมากขึ้น เติบโตถึง 21% นอกจากนี้ ที่น่าจับตาคือ การกลับมาของ ‘สรยุทธ สุทัศนะจินดา’ ที่กระแสของมวลชนเป็นบวก เชื่อว่าเหล่ามาร์เก็ตเตอร์ก็มองบวก แต่โลกของมีเดียที่เปลี่ยนไปก็ต้องดูว่าจะสามารถดึงคนกลับมาได้มากน้อยแค่ไหน อย่างไรก็ตาม คงไม่มีแรงกระเพื่อมถึงขนาดดึงเม็ดเงินมาลงทีวีเพิ่มขึ้น แต่อาจจะมีผลต่อรายการข่าวทีวีที่ทำให้แข่งขันกันมากขึ้น

    โรงหนังน่าห่วง ส่วนคลับเฮาส์ยังไม่กระทบตลาด

    ต้องยอมรับว่ากระแส ‘คลับเฮาส์’ ในไทยมาแรงมาก แต่ยังไม่มีผลกระทบกับอุตสาหกรรมโฆษณา เพราะออดิโอแชทยังไม่สอดคล้องกับพฤติกรรมโดยรวมไทย แค่ตอบโจทย์แค่กลุ่มคนย่อย ๆ ซึ่งถ้าเทียบกับ ‘พอดแคสต์’ นั้นตอบโจทย์มากกว่า ขณะที่สื่อ ‘วิทยุ’ กลายเป็นเซ็กเมนต์มีเดีย คือ ใช้ได้ผลกับผู้บริโภคบางกลุ่มที่ยังฟัง

    อย่างไรก็ตาม ‘โรงภาพยนตร์’ ถือเป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วง เพราะปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคเลือกดูหนังก็คือ ‘หน้าหนัง’ ถ้าหนังดีก็ดึงคนกลับไปได้ แต่ปัจจุบันกำลังซื้อก็ไม่ดี รวมถึงการมาของแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่เริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคทำให้ชินกับการอยู่บ้าน ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์คงไม่ฟื้นแล้ว

    สุดท้าย คงไม่สามารถระบุได้ว่าแบรนด์ใช้สื่อไหนมากที่สุด เพราะไม่เน้นสื่อไหนพิเศษขอแค่ดึงไปสู่ ‘ยอดขาย’ มากกว่าสื่อที่นำไปสู่การสร้างแบรนด์หรืออแวร์เนส และคงไม่สามารถระบุได้ว่าสื่อไหนจะสามารถนำไปสู่ยอดขายได้ดีที่สุด เพราะแต่ละแพลตฟอร์มมีความสามารถต่างกันและแต่ละสื่อก็สามารถนำเสนอได้หลากหลายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

    ]]>
    1323826
    จับกระเเส “ด้อมศิลปิน” เเฟนคลับเปย์หนัก เตรียมเท “ป้าย HBD” ตามสถานีรถไฟฟ้า https://positioningmag.com/1302178 Mon, 19 Oct 2020 10:44:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1302178 อย่างที่ทราบกันดีว่า เเฟนคลับศิลปินเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูงเป็นผู้บริโภคที่มีความหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเเค่ในวัยรุ่นวัยเรียนเท่านั้น เเต่ยังครอบคลุมไปยังผู้คนทุกเจเนอเรชั่น หลากอาชีพ หลายรสนิยม

    กลุ่มเเฟนคลับในไทยนั้น ช่วงเเรกๆ คนมักจะคิดถึงเเฟนคลับผู้ชื่นชอบศิลปินหรือไอดอลเกาหลีเป็นหลัก เเต่ทุกวันนี้ได้ขยายไปยังกลุ่มเเฟนคลับศิลปินจีน ญี่ปุ่น อาเซียน ศิลปินฝั่งตะวันตก เเละศิลปินไทยเองก็เริ่มมีกลุ่มผู้สนับสนุนที่เหนียวเเน่นเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

    โดยแต่ศิลปินนั้นก็จะมีการตั้งชื่อกลุ่มแฟนคลับหรือที่เรียกกันว่า ด้อม ย่อมาจาก แฟนด้อม (Fandom) เป็นชื่อเฉพาะที่เเตกต่างกันไป เพื่อการสื่อสารเเละรวมกลุ่มเป็นหนึ่งเดียวกัน

    ลงลึกไปกว่านั้นในด้อมต่างๆ ก็จะมีกลุ่มที่เรียกว่าบ้านเบสเป็นศัพท์ในทวิตเตอร์ หมายถึงกลุ่มเเฟนคลับที่รวมตัวกันขึ้นมาของศิลปินนั้นๆ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม เผยเเพร่ผลงาน รูปถ่าย-คลิปวิดีโอ ขายของที่ระลึก เเปลซับไตเติล ฯลฯ

    โดยบ้านเบส จะเป็นเเกนนำในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เวลาศิลปินมีผลงานใหม่ ก็จะมีการเปิดโดเนท” (Donate) ให้เเฟนคลับร่วมบริจาคซื้ออัลบั้ม โดเนทขึ้นป้ายบิลบอร์ดตามสถานีรถไฟฟ้า หรือร่วมกันโหวตรางวัลต่างๆ ไปจนถึงรวมเงินกันไปทำบุญ ทำกิจกรรมเพื่อสังคม 

    หากติดตามวงการนี้สักพัก จะเห็นว่าเเต่ละครั้งที่มีการเปิดโดเนท เเต่ละด้อมจะสามารถระดมทุน” ได้ยอดเงินบริจาคที่สูงมาก ตั้งเเต่ “หลักหมื่นยันหลักล้าน” ในเวลาที่รวดเร็ว” เรียกได้ว่าเปิดโดเนทไม่กี่ชั่วโมง ก็ทะลุหลักเเสนบาทไปเเล้วในด้อมใหญ่ๆ ที่มีเเฟนคลับจำนวนมาก

    ล่าสุดกับกระเเสใหม่ เมื่อกลุ่มเเฟนคลับศิลปินได้เเสดงถึงพลังเปย์หนักมากอีกครั้ง เเต่ครั้งนี้เป็นการเปย์เพื่อสนับสนุนการเคลื่อนไหวการชุมนุมที่กำลังเกิดขึ้นในไทย อยู่ ณ ขณะนี้

    จากการสังเกตพบว่า การระดมทุนเมื่อช่วงวันที่ 16-17 ตุลาคม ของเหล่าด้อมต่างๆ ในเวลาเพียง 2 วันสามารถดันยอดบริจาครวมกันได้ถึง 2.7 ล้านบาท

    หนึ่งในเเฟนคลับที่ร่วมบริจาคบอกกับ Positioning ว่า…นี่เป็นเพียงการโดเนทเเบบชิลๆกันเท่านั้น พร้อมให้เหตุผลถึงยอดบริจาคที่มักจะระดุมทุนได้เยอะว่า ผู้คนที่เป็นสมาชิกในเเต่ละด้อมนั้น มีฐานะทางการเงินเเละอาชีพที่หลากหลายมาก อยู่ในทุกเเวดวงของธุรกิจไทย เรียกได้ว่าทุกอาชีพต้องเป็นเเฟนคลับ บางคนมีกำลังทรัพย์ก็บริจาคเยอะ คนมีน้อยก็บริจาคน้อยตามกำลัง เป็นการร่วมใจกันจากการสื่อสารผ่านโซเชียล

    “ตามปกติด้อมที่อยู่ในวัยทำงาน จะเน้นทุ่มบริจาคมากกว่า เพราะไม่ค่อยมีเวลา ส่วนเเฟนคลับวัยเรียนจะเชี่ยวชาญด้านการใช้โซเชียลมีเดีย เช่นการปั่นยอดวิว การกระจายข่าว” 

    จากสถานการณ์การชุมนุม ที่มีการปิดให้บริการชั่วคราวของสถานีรถไฟฟ้าในไทยทั้ง BTS เเละ MRT ซึ่งทางบริษัท ชี้เเจงว่าเป็นมาตรการป้องกันความปลอดภัยและกฏหมายที่บังคับใช้นั้น ทำให้เกิด “กระแสทางลบ” ตามมา เมื่อด้อมศิลปินต่างๆ รวมตัวกันเพื่อ ต่อต้านการซื้อสื่อโฆษณาในสถานี เเม้จะเป็นโปรเจกต์ที่เหล่าเเฟนคลับทำกันมาช้านานก็ตาม

    สำหรับตลาดป้ายศิลปินนั้น เติบโตต่อเนื่องทุกปี เเม้ในยามเศรษฐกิจไม่ดี กำลังซื้อของเหล่าเเฟนคลับก็ไม่มีลดลงเลยในวิกฤต COVID-19

    ก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร BMN บริษัทผู้พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ใน MRT บอกกับ Positioning ว่า บริษัทมีการตั้งทีมงานเพื่อดูเเลลูกค้ากลุ่มนี้โดยเฉพาะ เพราะต้องการเข้าใจถึงสิ่งที่เเฟนคลับตั้งใจเเละอยากจะสื่อสารออกไป โดยความต้องการที่ลูกค้าขอมาในช่วงนี้ ส่วนใหญ่อยากให้เปิดพื้นที่จัด Meet and Greet เเละกิจกรรมเเบบเอ็กซ์คูลซีฟ เอาโปสเตอร์มาตกเเต่งได้ในช็อป ฯลฯ

    ตัวอย่างป้ายอวยพรศิลปิน ในสถานีรถไฟฟ้า MRT

    เเม้ช่วงวิกฤต COVID-19 เศรษฐกิจจะค่อนข้างฝืดเคือง เเต่ป้าย MRT ของเเฟนคลับไม่ได้รับผลกระทบ เเละไม่ลดลงเลย

    เมื่อมองจากสัดส่วนรายได้ พบว่า รายได้รวมจากป้าย HBD ศิลปินจากกลุ่มเเฟนคลับถือเป็นส่วนเล็กๆ ของสื่อโฆษณาทั้งหมดของ BMN คิดเป็นเเค่ 2 – 3% เพราะส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์สินค้าถึง 97%

    ถึงจะน้อยเเต่เราไม่ละทิ้ง เราจะดูเเลกับลูกค้ากลุ่มเเฟนคลับเป็นพิเศษ เพราะต้องทำความเข้าใจพวกเขาด้วย ด้วยการที่เขาทำด้วยความชื่นชอบ เราจึงไม่ได้มองว่าต้องเอากำไรมากหรือเป็นการค้าจ๋าขนาดนั้น รวมถึงเป็นการสร้างสีสันเเละความหลากหลายให้สถานีด้วย คนเเวะมาถ่ายรูป ก็เป็นการเพิ่มทราฟฟิกเเละการจับจ่ายใช้สอยไปในตัว ผู้บริหาร BMN ให้สัมภาษณ์ เมื่อช่วงต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา 

    อ่านต่อ : เศรษฐกิจฝืด เเต่เเฟนคลับยัง “จ่ายหนัก” ป้ายศิลปินใน MRT เติบโต ขยายเรทราคา-ปรับไซส์ตามงบ

    ด้านความคิดเห็นของกลุ่มเเฟนคลับต่อกรณีนี้ พบว่า มีการเสนอให้นำโปรเจกต์ศิลปินต่างๆ ย้ายไปซื้อสื่อโฆษณาในขนส่งมวลชนท้องถิ่นมากขึ้น เช่น บิลบอร์ดรถสองเเถว รถเเดง ป้ายในเรือ หรือป้ายในย่านชุมชนต่างๆ เเทน

    ในการทำป้าย HBD ศิลปินต้องใช้เงินตั้งเเต่ “หลักพันปลายๆ ไปจนถึงหลักเเสน” โดยค่าใช้จ่ายของการติดตั้งป้ายนั้น รวมค่าพื้นที่มีเดีย สถานี ภาษีมูลค่าเพิ่มและระยะเวลาที่ต้องการติดตั้งไปด้วย ส่วนใหญ่จะจองขึ้นป้าย 15 วัน – 1 เดือน เป็นธีมอวยพรวันเกิด เเสดงความยินดีในโอกาสพิเศษ ออกเพลง-ละคร หรือออกอัลบั้มใหม่

    สำหรับภาพรวมสื่ออุตสาหกรรมโฆษณาในเมืองไทย ในช่วง 7 เดือนเเรกของปี 2563 ตัวเลขเม็ดเงินสื่อโฆษณาที่เป็นตัวสะท้อนตลาดได้ดี ติดลบไปกว่า 20% เเละคาดว่าทั้งปีนี้ เงินโฆษณาจะสะพัดอยู่ที่ 7.1 หมื่นล้าน เเตะจุด “New Low” ต่ำสุดรอบ 20 ปี ใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง

    โดยสื่อทีวีและสื่อนอกบ้าน ที่เคยมีเม็ดเงินมากที่สุดยัง “ติดลบหนัก” ส่วนดาวรุ่งอย่างสื่อดิจิทัลที่เคยเติบโต 20-30% ต่อเนื่องมาทุกปี ต้องสะดุดเเละอาจเติบโตได้เพียง 0.5% เท่านั้น

    เห็นได้ชัดว่า เเม้ “ป้าย HBD ศิลปิน” จะไม่ใช่รายได้หลักๆ ของโฆษณาในสถานีรถไฟฟ้า เเต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดทิศทางการบริหาร ต้องจับตาดูว่ากระเเส #เเบน นี้ จะต่อเนื่องไปยาวหรือไม่ เเละมีเอฟเฟกต์ต่อไปอย่างไรบ้าง

     

     

     

     

     

    ]]>
    1302178
    คลายล็อกแล้วแต่งบโฆษณายังไม่ฟื้น! เดือนมิ.ย. -24% ภาพรวมครึ่งปีแรกหดตัว -13% https://positioningmag.com/1288199 Sun, 19 Jul 2020 14:37:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288199 เอจีบี นีลเส็น ประเทศไทย เปิดเผยมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 หดตัวลง -13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วโดยมูลค่าอยู่ที่ 51,213 ล้านบาท เฉพาะเดือนมิถุนายน -24%

    สื่อในร้านค้า/โรงหนังอ่วมสุด

    ภาพรวมการใช้งบโฆษณาครึ่งปีแรกยังติดลบหนัก ขณะที่ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในเดือนมิถุนายนยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 โดยลดลง –24% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แม้จะมีการคลายล็อกกิจการต่างๆ แล้ว แต่ยังไม่มีสัญญาณกลับมาเป็นบวก

    “สื่อทีวี” ยังคงเป็นสื่อที่มีสัดส่วนของการใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดอยู่ที่ 57% มีมูลค่า 29,193 ล้านบาท ลดลง 15% แต่ถ้าเฉพาะเดือนมิถุนายนลดลง 27%

    โดยที่สื่อ In-Store หรือสื่อในร้านค้า และสื่อในโรงภาพยนตร์เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบหนักสุด ติดลบมากกว่า 40% สื่อ In-Store ในครึ่งปีแรกมีมูลค่า 309 ล้านบาท ลดลง 40% แต่ถ้าเฉพาะเดือนมิถุนายนลดลงถึง 71%

    ส่วนสื่อในโรงภาพยนตร์ครึ่งปีแรกมีมูลค่า 1,674 ล้านบาท ลดลง 55% เฉพาะในเดือนมิถุนายนมีการลดลงถึง 60%

    “สื่อดิจิทัล” หรือสื่อออนไลน์เป็นกลุ่มเดียวที่มีการเติบโต ในครึ่งปีแรกมีมูลค่า 11,093 ล้านบาท เติบโต 23% เฉพาะเดือนมิถุนายนมีมูลค่า 1,849 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23%

    อาหาร และเครื่องดื่มใช้งบลดลงมากที่สุด

    ในปี 2020 นี้ภาพรวมอุตสาหกรรมหลักใช้เม็ดเงินโฆษณาลดลงจากปีที่แล้ว โดย 4 กลุ่มหลักได้แก่

    • กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (Food&Beverage) มูลค่า 7,153 ล้านบาท ลดลง -22%
    • กลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและเครื่องสำอาง (Personal Care & Cosmetic) มูลค่า 6,669 ล้านบาท ลดลง -10%
    • กลุ่ม Media & Marketing มูลค่า 6,240 ล้านบาท ลดลง -2%
    • กลุ่มยานยนต์ (Automotive) มูลค่า 3,081 ล้านบาท ลดลง -32%

    ขณะที่กลุ่มยา (Pharmaceuticals) มูลค่า2,797 ล้านบาท และ กลุ่มสินค้าครัวเรือนในบ้าน (Household products) มูลค่า 1,865 ล้านบาท ใช้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +22% และ +3% ตามลำดับ

    ยูนิลีเวอร์ใช้งบโฆษณาเยอะสุด 

    ในส่วนของบริษัทที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดของเดือนมกราคมถึงมิถุนายนปี 2020 โดย 3 ลำดับแรกได้แก่

    UNILEVER มูลค่า 1,738 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +17%

    โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาคือครีดนวดผมสูตรเซรั่ม เพียง 29 บาท ทางสื่อทีวีมูลค่า 13 ล้านบาท รองลงมาคือซันซิล บรีส เอกเซล ช่วยขจัดคราบ และแบคทีเรียทางสื่อทีวีมูลค่า 10 ล้านบาท

    TV DIRECT มูลค่า 1,271 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว +48%

    โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คือ เครื่องบดสับปั่น ซื้อ 1 แถม 1 ทางสื่อทีวีมูลค่า 41 ล้านบาท รองลงมาคือ SKG ลำโพงกระเป๋าลาก ทางสื่อทีวีมูลค่า 37 ล้านบาท

    LIFESTAR มูลค่า 1,122 ล้านบาท แม้จะใช้งบลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว -17% แต่ก็ยังครองอันดับ 3 ในการใช้งบโฆษณาสูงที่สุดในครึ่งปีแรก

    โดยแคมเปญที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาสูงสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาคือ ลดกระหน่ำกลางปี คอร์ดี้ ทิเบตแอนด์ภูฏาน เซต 3 ขวด ทางสื่อทีวีมูลค่า 21 ล้านบาท รองลงมาคือคอร์ดี้ ทิเบตแอนด์ภูฏาน ซื้อ 1 แถม 1 ทางสื่อทีวีมูลค่า 16 ล้านบาท

    ]]>
    1288199
    แบรนด์ใหญ่หั่นงบ โฆษณาทรุดต่อเนื่องสองปีซ้อน ออนไลน์แซง นสพ.แล้ว สื่อโซเชียล สะกดคนช้อปออนไลน์ ยูทูปกระตุ้นช้อปต่อหัวสูงกว่าเฟซบุ๊ก https://positioningmag.com/1149897 Tue, 12 Dec 2017 11:29:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1149897 ภาพรวมธุรกิจ “สื่อโฆษณา” ยังเผชิญภาวะ “หดตัว” ต่อเนื่องติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยปีนี้ 2560 คาดว่ามูลค่าตลาดจะลดลงเหลือ 91,195 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน (2559) ถึง 6.5%

    หลังจากเคยทำสถิติสูงสุดเมื่อ 2 ปีก่อน ที่มูลค่าเม็ดเงินโฆษณาในตลาดทะลุ 108,350 ล้านบาท เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี แต่หลังจากเศรษฐกิจ กำลังซื้อที่อยู่ในภาวะถดถอย ทำให้บรรดาผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภคยักษ์ใหญ่ต่าง “หั่นงบโฆษณา” ลงเกือบยกแผง

    บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด หรือ เคดับบลิวพี/KWP ยกตัวอย่าง แบรนด์ต่างๆ ที่ใช้เม็ดเงินโฆษณาในปี 2558 พบว่า ยูนิลีเวอร์หั่นงบโฆษณาเหลือ 4,497 ล้านบาท จากปี 2558 อยู่ที่ 7,566 ล้านบาท

    ไบเออร์สด๊อรฟ 1,587 ล้านบาท จาก 2,578 ล้านบาท โตโยต้า 2,324 ล้านบาท จาก 2,972 ล้านบาท และโคคา-โคล่า 1,481 ล้านบาท จาก 1,603 ล้านบาท โดยมีเพียง 2 ค่ายที่ยังใช้จ่ายเพิ่ม คือ พร็อคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล (พีแอน์จี) ใช้จ่าย 1,828 ล้านบาท จาก 1,657 ล้านบาท และเอไอเอส 1,874 ล้านบาท จาก 1,738 ล้านบาท

    ท่ามกลางสถานการณ์ธุรกิจที่ใช้จ่ายเงินซื้อสื่อโฆษณาน้อยลง แต่กับช่องทาง สื่อดิจิทัล กลับมาแรงแซงทุกสื่อมากขึ้นเรื่อยๆ “กันตาร์” ได้หยิบยกข้อมูลจาก “กรุ๊ปเอ็ม” ระบุการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัล ในปี 2560 คาดว่าจะอยู่ที่ 11,780 ล้านบาท เติบโตจากปีก่อนที่การซื้อสื่อโฆษณาดิจิทัลต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท

    เม็ดเงินโฆษณาออนไลน์แซงหนังสือพิมพ์แล้ว 

    ปี 2560 นับเป็นครั้งแรกที่การซื้อสื่อโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ “ขึ้นมาเป็นอันดับ 2” เบียดแซงหนังสือพิมพ์ นับตั้งแต่ออนไลน์บูมในช่วงปี 2553 ส่วนแนวโน้มปีหน้าคาดว่าการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณายังแรง และมูลค่าจะขยับไปแตะ 15,475 ล้านบาท

    เมื่อดูสัดส่วนการใช้จ่ายเงินซื้อสื่อแต่ละช่องทาง เป็นดังนี้ 

    ปี 2560 ทีวีมีสัดส่วน 56.6% สื่อดิจิทัล 12.9% สื่อนอกบ้าน 12.2% หนังสือพิมพ์ 9.8% จากปี 2559 ทีวีมีสัดส่วน 57.5% หนังสือพิมพ์ 12.3% สื่อดิจิทัล 10.8% สื่อนอกบ้าน 9.7% แนวโน้มปี 2561 คาดว่าสัดส่วนทีวีจะเพิ่มเป็น 57.4% สื่อดิจิทัล 12% สื่อนอกบ้าน 15.3% และหนังสือพิมพ์ 7.6%

    “ทีวียังมีอิทธิพลต่อคนจำนวนมาก โดยเฉพาะการสร้างการรับรู้ของแบรนด์ แต่ปีนี้สื่อดิจิทัลมาแรง เพราะเทรนด์ของผู้บริโภคมีอัตราการใช้มือถือเพิ่มขึ้นเป็น 70% จากปีก่อน 56% ส่งผลให้ประชากรมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 75 จุดจาก 59 จุด นั่นหมายความว่า 1 จุด เท่ากับการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 2 แสนครัวเรือน” อิษณาติ วุฒิธนากุล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์) จำกัด (KWP) บอก

    ในปี 2560 ปัจจัยที่ทรงอิทธิพลให้แบรนด์คอนซูเมอร์ใช้จ่ายเงินซื้อโฆษณาผ่านดิจิทัลโตต่อเนื่อง มีดังนี้

    • การใช้โซเชียลมีเดียมีมากถึง 44%
    • วิดีโอ ไวรัล เกม มาแรง สัดส่วน 15%
    • อินเทอร์เน็ตสัดส่วน 12%
    • การค้นหาข้อมูลหรือเสิร์ชเอ็นจิ้น สัดส่วน 8%

    ใช้เฟซบุ๊กลดลง 3 ปีแล้ว

    นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคใช้อินเทอร์เน็ตนอกบ้านเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ปี 2560 เฉลี่ย 2.5 ชั่วโมงต่อวัน จากปีก่อน 2.2 ชั่วโมงต่อวัน แม้ว่าแนวโน้มการเข้าใช้งาน Facebook จะลดลงต่อเนื่อง 3 ปี มาอยู่ที่ 22.3 นาทีต่อครั้ง จากปี 2559 อยู่ที่ 23.5 นาทีต่อครั้ง และปี 2557 อยู่ที่ 29.9 นาทีต่อครั้ง

    เมื่อเจาะลึกลงไปถึง “พฤติกรรมการใช้สื่ออนไลน์” ของผู้บริโภค พบว่า การแชทออนไลน์ มาเป็นที่ 1 ตามด้วยการค้นหาข้อมูลออนไลน์ รับชมวิดีโอ อัพโหลดรูปภาพ เป็นต้น แต่ “เม็ดเงินโฆษณา” ที่ไปโตกลับอยู่ในหมวด “การช้อปปิ้งออนไลน์” โดยผู้บริโภคมีการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ณ กันยายน 2560 อัตราการใช้จ่ายเฉลี่ย 4,399.8 บาท จากช่วงเดียวกันปีก่อนเฉลี่ย 1,972.4 บาท

    ซื้อสินค้าผ่านโซเชียลแรงกว่าแพลตฟอร์มออนไลน์ค้าปลีก

    การซื้อสินค้าออนไลน์ กลับเกิดขึ้นในร้านค้าโซเชียลเซลเลอร์อย่าง Facebook และ Instagram รวมถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Lazada มากกว่าที่จะซื้อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของแบรนด์ค้าปลีกยักษ์ใหญ่ อย่าง เทสโก้ โลตัส เซเว่น อีเลฟเว่น

    นอกจากนี้ ผู้ที่คลั่งไคล้การเล่น Facebbok จะมีการซื้อ “สินค้าเป็นจำนวนมาก” สูงถึง 20% และซื้อเป็น 2 เท่าของคนที่เล่นปกติ ดังนั้นผู้ที่เล่น Facebook มากๆ จึงได้เห็นโฆษณามาถึง 30% เทียบกับคนเล่นน้อยๆ จะเห็นโฆษณาเด้งขึ้นมาเพียง 15% เท่านั้น

    “พฤติกรรมผู้บริโภคมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตนานขึ้น เมื่อเจาะลึกคนที่ใช้เวลาบน  Facebook จะพบว่าการจับจ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคจะสูงขึ้นตามลำดับ

    • คนที่ใช้เวลาน้อยกว่า 10 นาทีต่อวัน จะใช้จ่ายเฉลี่ย 19,925 บาทต่อคนต่อปี
    • คนที่ใช้เวลาบน Facebook นานกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน จะใช้จ่ายเฉลี่ยสูงถึง 26,107 บาทต่อคนต่อปี
    • ยิ่งกว่านั้นคนที่เล่น Facebook ทุกวันยังมีโอกาสกลับมาซื้อสินค้าผ่านออนไลน์มากกว่าลูกค้าทั่วไป 62%

    ปัจจัยเหล่านี้ผู้ประกอบการคอนซูเมอร์ต้องดูว่าจะเลือกใช้จ่ายเงินโฆษณาไปยังสื่อดิจิทัลประเภทใด เพื่อให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย เพราะการใช้สื่อดิจิทัลต่างๆ ไม่ได้หมายความว่าทุกสื่อจะทำให้เกิดการซื้อ”

    YouTube กระตุ้นให้ควักกระเป๋าช้อปออนไลน์มากกว่าเฟซบุ๊ก 

    นอกจากนี้ ยังพบว่า Youtube เป็นอีกสื่อดิจิทัลหนึ่งที่มีอทิธิพลต่อการการตัดสินใจ “ซื้อสินค้า” ของผู้บริโภค โดยเฉพาะคนที่ดูยูทูปมากๆ จะใช้จ่ายเฉลี่ยกว่า 440.6 บาทต่อคน สูงกว่า Facebook ที่ใช้จ่ายเฉลี่ย 259 บาทต่อคน ความน่าสนใจประเด็นนี้ จะเห็นว่าแบรนด์ใหญ่ๆ มักจะทำตลาดผ่านยูทูปกันจำนวนมาก ขณะที่แบรนด์ขนาดเล็กจะทำตลาดผ่าน Facebook

    อย่างไรก็ตาม แม้ภาพรวมเม็ดเงินในตลาดโฆษณาจะลดลง แต่ปี 2560 คาดว่าตลาดจะฟื้นตัวกลับมาเป็นบวก 2% จากปัจจัยหนี้ครัวเรือนที่ลดลง ทำให้ผู้บริโภคมีเงินจับจ่ายใช้สอย และแบรนด์คอนซูเมอร์จะเริ่มกลับมาใช้จ่ายดังเดิม.

    ]]>
    1149897
    คอนเฟิร์ม ! เม็ดเงินโฆษณาดิจิทัล ปี 60 ทะลุ 1.2 หมื่นล้าน โต 29% เน็ตไอดอล-อินฟลูเอนเซอร์ มาแรงแซง เสิร์ช-ครีเอทีฟ แล้ว https://positioningmag.com/1140183 Mon, 18 Sep 2017 13:35:44 +0000 http://positioningmag.com/?p=1140183 ผ่านไปแล้วครึ่งทาง สำหรับเม็ดเงินโฆษณา “สื่อดิจิทัล” ที่ทำไปได้ 6,086 ล้านบาท คาดว่าปีนี้จะปิดตัวเลขได้ถึง 1.2 หมื่นล้านบาท โทรคมนาคม-ยานยนต์ เทงบ 3 พันล้าน แบงก์-ประกันภัย อัดงบสู้ศึกออนไลน์ FMCG ฟุบ 

    สมาคมโฆษณาดิจิทัล (ประเทศไทย) หรือ Digital Advertising Association (Thailand) (DAAT) ร่วมกับ กันตาร์ ทีเอ็นเอส (ไทยแลนด์) เปิดเผยตัวเลขมูลค่าเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลของปี 2560 ในงานสัมมนาประจำปีของสมาคมฯ หรือ DAAT DAY Digital 4.0 เมื่อวันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยการเก็บข้อมูลจาก 22 มีเดียเอเยนซี่ชั้นนำของประเทศไทย พบว่าครึ่งปีแรกมีการใช้จ่ายงบโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลอยู่ที่ 6,086 ล้านบาท และตัวเลขคาดการณ์ ณ สิ้นปี 2560 น่าจะสูงถึง 12,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 29% เมื่อเทียบกับปี 2559

    ทั้งนี้ เป็นผลจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของสื่อดิจิทัลที่แปรผันตามพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่เติบโตสูงเช่นกัน

    โทรคมนาคม-ยานยนต์ สะพัด 2.6 พันล้าน

    อุตสาหกรรมที่มีเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลสูงเป็น 2 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มสินค้าประเภทโทรคมนาคมและการสื่อสารและกลุ่มยานยนต์

    สำหรับกลุ่มสินค้าประเภทโทรคมนาคมและการสื่อสารมีการลงโฆษณาดิจิทัลมากที่สุด มีการคาดการณ์ว่าภายในสิ้นปี 2560 จะมีเม็ดเงินสะพัดถึง 1,300 ล้านบาท

    การเติบโตอย่างต่อเนื่องของกลุ่มสินค้านี้ เป็นผลจากพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี และจำนวนผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศไทย รวมถึงการแข่งขันอย่างเข้มข้นของค่ายโทรศัพท์ต่างๆ ที่หันมาสื่อสารกับผู้บริโภคบนช่องทางดิจิทัลมากขึ้น   

    กลุ่มยานยนต์ในอันดับที่สอง มีการใช้งบประมาณโฆษณาทางดิจิทัลราวๆ 1,280 ล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงถึง 72% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากการเน้นกระตุ้นยอดขายของค่ายรถผ่านทางสื่อดิจิทัลแล้ว สื่อดิจิทัลเองได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการหาข้อมูลและเชื่อมต่อกับแบรนด์ เนื่องจากยานยนต์จัดเป็นหมวดสินค้าที่ผู้บริโภคจำเป็นต้องมีข้อมูลที่มากพอในการพิจารณาก่อนตัดสินใจซื้อ (High Involvement Category)

    FMCG ใช้ลด

    กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคแม้โดยรวมจะยังคงมีงบโฆษณาสื่อดิจิทัลที่เพิ่มสูงขึ้นในภาพรวม แต่การลดลงของกลุ่มผลิตภัณฑ์ประทินผิวและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เป็นที่คาดเดาได้ว่าเป็นผลจากการลดค่าใช้จ่ายด้านสื่อโฆษณาตามสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

    แบงก์–ประกันภัย ทุ่มออนไลน์ แข่งเดือด

    กลุ่มสินค้าอื่นๆ ที่มีอัตราการเติบโตของงบโฆษณาทางด้านดิจิทัลที่น่าจับตามองคือ กลุ่มสินค้าประเภทบัตรเครดิตและเดบิต กลุ่มประกันภัย ซึ่งโดยทั่วไปเป็นกลุ่มสินค้าที่มีการแข่งขันสูง ทั้งยังได้รับอิทธิพลจากการออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภคที่นิยมหันมาใช้ Online/Mobile Banking กันมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการตลาดที่เน้นการเติบโตของยอดขาย เช่น Lead generation ของกลุ่มธนาคาร

    เฟซบุ๊ก-ยูทิวบ์-แบนเนอร์ ยังครองแชมป์

    3 แพลตฟอร์มหลักที่ยังคงครองแชมป์งบโฆษณาสูงสุด ได้แก่ Facebook, YouTube และสื่อโฆษณาแบนเนอร์ (Display) โดยงบโฆษณาบนแพลตฟอร์มเหล่านี้รวมกันแล้วสูงถึง 50% ของงบโฆษณาดิจิทัลทั้งหมด

    เป็นที่น่าสังเกตว่า Facebook และ YouTube ซึ่งเป็นช่องทางหลักที่แบรนด์ต่างๆ เลือกใช้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเฉพาะ Facebook ที่สูงขึ้นกว่า 26% จากปีที่ผ่านมา แต่ในส่วนของสื่อโฆษณาแบนเนอร์ (Display) นั้นพบว่ามีอัตราการเติบโตที่ลดลงเล็กน้อย เป็นผลจากแพลตฟอร์มระดับโลกมีการออกผลิตภัณฑ์ทางด้านสื่อใหม่ๆ และการวัดผลที่ชัดเจนมากกว่า รวมถึงความนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปชื่นชอบรูปแบบของโฆษณาเคลื่อนไหว แบบวิดีโอหรือ GIF

    เน็ตไอดอล-อินฟลูเอนเซอร์ มาแรงแซง Search และ Creative

    ในขณะเดียวกัน โซเชียลมีเดียมีงบโฆษณาตามขึ้นมาเป็นอันดับ 4 เนื่องจากได้รับความนิยมจากแบรนด์ผ่านการโฆษณาเชิญชวนและการรีวิวสินค้าของผู้นำในโลกโซเชียล (Influencer) และเน็ตไอดอลต่างๆ ทำให้ ณ เวลานี้โซเชียลกลายเป็นที่สนใจของนักการตลาดมากกว่า Search และ Creative

    การเติบโตของเม็ดเงินมูลค่าโฆษณาดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง น่าจะทำให้เรามีโอกาสได้เห็นวงการสื่อโฆษณาดิจิทัลของประเทศไทยมีความตื่นตัวมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาด้านความรู้ ความเข้าใจของเอเยนซี่และแบรนด์ในการใช้สื่อให้เข้าถึงเป้าหมายได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงการใช้เทคโนโลยีด้าน data management เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการตลาด

    ]]>
    1140183
    มายด์แชร์ คาดเม็ดเงินโฆษณาปี 60 ทะลุ 1.2 แสนล้าน โต 12% https://positioningmag.com/1114588 Wed, 25 Jan 2017 16:00:31 +0000 http://positioningmag.com/?p=1114588 มายด์แชร์ เอเยนซี่เครือข่ายด้านการตลาดและการสื่อสาร ได้คาดการณ์ว่าเม็ดเงินโฆษณาในปี 2560 จะมีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปี 2559 (เม็ดเงินโฆษณา 107 แสนล้านบาท) และเทียบเท่าปี 2558 หรือมีมูลค่า 1.2 แสนล้านบาท

    1_adver

    เนื่องจากสินค้าและบริการที่ชะลอการใช้งบโฆษณาในช่วงไตรมาสสุดท้าย เริ่มกลับมาใช้เงินโฆษณาตั้งแต่ช่วงปลายปี ทั้งรถยนต์ สื่อสารโทรคมนาคม

    ดิจิทัลทีวี-ออนไลน์ยังเป็นแพลตฟอร์มที่สำคัญ

    ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ ระบุว่า ดิจิทัลทีวีและสื่อออนไลน์ยังคงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญ

    ในส่วนของดิจิทัลทีวีนั้นมีผู้ชมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในขณะที่อนาล็อกทีวี (free to air ช่อง 3,5,7,9) ยอดผู้ชมลดลงต่อเนื่อง เมื่อดูจากยอดคนดูทีวี 33 ล้านคน/วัน จะเห็นได้ว่า ในปี 2016 คนดูทีวีอนาล็อก (free to air) ลดลงมา 27 ล้านคน/วัน ในขณะที่ดิจิทัลทีวี ยอดคนดูเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 24 ล้านคน/วัน ถือว่าใกล้เคียงกันมาก

    2_adver

    นอกจากนี้ ตัวเลขในการใช้เวลาในการรับชมทีวีต่อวันของผู้ชมในเดือนมกราคม ปี 2017 พบว่า จากยอดเฉลี่ย 2.30 ชั่วโมง/ วัน/คน มีการใช้ไปกับดิจิทัลทีวี 1.10 ชั่วโมง/วัน/คน ใช้ไปกับช่องอนาล็อกเดิม 0.56 ชั่วโมง/วัน/คน

    3_adver

    สื่อออนไลน์แตะ 1 หมื่นล้าน ปี 60

    สำหรับสื่อออนไลน์ (สมาคมดิจิตอล – หรือ DAAT) ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2560 จะมีเม็ดเงินรวม 10,533 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% จากปี 2559 ที่มียอดโฆษณาออนไลน์ 9,150 ล้านบาท เป็นผลมาจากการที่แบรนด์สินค้าและบริการให้ความสำคัญกับสื่อโฆษณาออนไลน์เพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะมีสัดส่วน 25% ของการใช้งบโฆษณาทั้งหมด

    4_adver

    สื่อวิทยุ-สิ่งพิมพ์ยังหนัก

    ในขณะที่สื่อวิทยุและสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นสื่อที่ต้องปรับตัวอย่างหนัก ในขณะที่สื่อนอกบ้านยังมีพื่นที่ให้พัฒนาไปได้อีกมาก

    เทรนด์แรงปี 60

    ผู้บริโภคมีความเป็นปัจเจกมากขึ้น นั้นหมายความว่าผู้บริโภคเลือกที่จะรับคอนเทนต์ที่ตรงความต้องการของตนมากว่าที่รับคอนเทนต์สำหรับแมสทั่วๆ ไป (The Audience of the Individual)

    โลกทั้งใบอยู่ที่ปลายนิ้ว เทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลด้วยความรวดเร็วและเชื่อมโยง (The World on the Fingertips)

    นักการตลาดต้องสร้างเนื้อหาที่สำคัญอย่างแท้จริงเพื่อให้ได้รับส่วนร่วมและความไว้วางใจจากผู้บริโภค (Content with a purpose)

    การเกิดขึ้นของเจเนอเรชั่นที่ใช้เวลาอยู่บนหน้าจอมือถืออย่างเดียว (Progression to Mobile Only Consumers)

    การใช้เทคโนโลยีสร้างประสบการณ์ร่วมให้กับผู้บริโภค เช่น AR หรือ VR แบรนด์ต้องพิจารณาในเรื่องนี้เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขัน (Wearable revolution)

    ท้ายที่สุดแล้วแบรนด์ต้องปรับตัวและการสื่อสารการตลาดให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อความอยู่รอดในยุคที่สื่อทุกอย่างมีความเชื่อมโยงกัน

    เผยในวันนี้ถึงความท้าทายที่แบรนด์ยังคงเผชิญในโลกที่สื่อกระจายตัวข้ามแพลตฟอร์มและหน้าจอไปมา (fragmentation) และการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคที่ใช้เวลาในความสนใจของพวกเขาบนมือถือ

    ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์
    ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์

    word_icon

    ปัทมวรรณ สถาพร กรรมการผู้จัดการ มายด์แชร์ กล่าวว่า

    ผู้บริโภคมีข้อมูลอยู่ในมือทุกที่และตลอดเวลา แต่ขึ้นอยู่ว่าผู้บริโภคจะเลือกรับข้อมูลนั้นมากหรือน้อยขนาดไหน นักการตลาดจึงควรพิจารณาว่าในโลกดิจิทัลและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าในยุคนี้ เราจะใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มีอยู่อย่างเรียลไทม์อย่างไร เพื่อให้เกิดความได้เปรียบต่อคู่แข่งขัน

    word_icon2

    ]]>
    1114588
    GroupM คาดเม็ดเงินโฆษณาปี 2560 ทั่วโลกแตะ 5.47 แสนล้านดอลลาร์ https://positioningmag.com/1110138 Wed, 07 Dec 2016 04:01:15 +0000 http://positioningmag.com/?p=1110138 • การชะลอตัวของ GDP ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ บีบให้นักโฆษณาต้องทำงานมากขึ้นด้วยงบฯที่จำกัด



    • นักโฆษณาชะลอการใช้งบฯ หลังโดนัลด์ ทรัมป์ คว้าชัยเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ รวมถึงความไม่แน่นอนหลังอังกฤษลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป



    • ตลาดที่เติบโตเร็วและสื่อดิจิทัล ยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตอันดับต้นๆ

    ]]>
  • การชะลอตัวของ GDP ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ บีบให้นักโฆษณาต้องทำงานมากขึ้นด้วยงบฯ ที่จำกัด
  • นักโฆษณาชะลอการใช้งบฯ หลังโดนัลด์ ทรัมป์ คว้าชัยเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ รวมถึงความไม่แน่นอนหลังอังกฤษลงประชามติถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป
  • ตลาดที่เติบโตเร็วและสื่อดิจิทัลยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตอันดับต้นๆ
  • GroupM กลุ่มการลงทุนด้านสื่อชั้นนำของโลกในเครือ WPP ยืนยันการคาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาทั่วโลกประจำปี 2559 พร้อมเปิดเผยตัวเลขคาดการณ์ใหม่สำหรับปี 2560 

    โดยปัจจัยทางเศรษฐกิจทั้งหลายทั่วโลกส่งผลให้เป็นอีกหนึ่งปีที่เม็ดเงินโฆษณาเติบโตไม่มากนัก ขณะที่แบรนด์ต่างๆ ยังคงได้รับแรงกดดันในการทำผลงานท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเติบโต และแม้ว่ามีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นสืบเนื่องจากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และการลงประชามติของสหราชอาณาจักรว่าด้วยการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป แต่งบประมาณด้านการโฆษณายังไม่ได้รับผลกระทบ 

    โดยจีนและกลุ่ม โลกใหม่ ชาติอื่นๆ ยังคงมีส่วนสนับสนุนการเติบโตทั่วโลกเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็เริ่มไม่เติบโตอย่างฟู่ฟ่าตามแนวโน้มดุลยภาพใหม่ ส่วนแวดวงโฆษณาดิจิทัลนั้นยังคงเป็นธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากการเติบโตนี้

    2_group_m

    เม็ดเงินโฆษณาปี 2560 คาดว่าจะอยู่ที่ 5.47 แสนล้านดอลลาร์ (เพิ่มขึ้น 4.4%) โดยคาดว่าโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลจะมีสัดส่วนแตะ 33% ส่วนปี 2559 นั้น สื่อดิจิทัลคว้างบประมาณมาได้ 72 เซนต์ต่อทุก 1 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับโฆษณาใหม่ ขณะที่สื่อทีวีคว้าไป 21 เซนต์ สำหรับปี 2560 คาดว่าสื่อดิจิทัลจะคว้างบฯไปได้ 77 เซนต์ต่อ 1 ดอลลาร์ ส่วนสื่อทีวีคาดว่าลดลงเหลือ 17 เซนต์ ทั้งนี้ สหรัฐฯ และจีนคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของการเติบโตสุทธิทั้งหมดในปี 2559 และ 2560 โดยจีนกลับมาขึ้นนำสหรัฐฯ อีกครั้งอย่างฉิวเฉียด

    1_group_m_new2

    ด้วยงบโฆษณาที่เติบโตส่งท้ายปี GroupM China จึงได้ปรับคาดการณ์ปี 2559 เป็น +7.8% เพิ่มขึ้นจาก +6.6% ที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ งบโฆษณาสินค้าอุปโภคบริโภค FMCG ขยายตัว 4.6% ในไตรมาสสองเทียบรายปี เพิ่มขึ้นอย่างมากจากที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.0% การขยายตัวของเขตเมืองและความเชื่อมั่นอันแข็งแกร่งในกลุ่มผู้บริโภคนั้น ได้ช่วยหนุนให้มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่จีนไม่น่าจะรักษาการขยายตัวในอัตราเลขสองหลักได้เหมือนกับในช่วงก่อนหน้านี้อีก โดยหลังพ้นช่วงเติบโตสูงสุดแล้ว GroupM คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาดิจิทัลในจีนจะขยายตัว 29.5% ในปี 2559 จากนั้นจะชะลอตัวลงเหลือ 21.5% ในปีถัดไป

    สหรัฐฯ ยังคงเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโต GroupM ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ปี 2559 เล็กน้อย จากเดิม 3.1% เป็น 3.2% และยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เม็ดเงินโฆษณาสื่อทีวีจากเดิม 3.4% เป็น 4.1% เท่ากับอัตราการเติบโตในปีที่มีการเลือกตั้งก่อนหน้านี้ (2555 และ 2557) ส่วนเม็ดเงินโฆษณาช่วงเลือกตั้งที่คึกคักน้อยลงในปีนี้ ถูกชดเชยด้วยงบโฆษณาช่วงกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน โดยได้มีการโยกงบประมาณบางส่วนจากสื่อดิจิทัลไปยังสื่อทีวี โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจเภสัชภัณฑ์และสินค้าประเภท CPG ขณะที่ปี 2560 นั้น ทาง GroupM ได้ปรับลดคาดการณ์เหลือ 2.6% เนื่องจาก GDP โลกและสหรัฐฯ อ่อนแรงลง ประกอบกับความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งยังไม่ส่งผลกระทบต่องบประมาณโฆษณา

    ผลการลงประชามติของสหราชอาณาจักรได้ส่งผลกระทบต่อตลาดการเงิน แต่นับจนถึงวันนี้ยังไม่กระทบแวดวงโฆษณา GroupM ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์สำหรับอังกฤษเป็น 7% ต่อปี โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากสื่อดิจิทัล หรือคิดเป็นการลงทุนเพิ่มถึง 3.0 พันล้านดอลลาร์ในช่วงสองปี 2559-2560 เทียบกับ 3.3 พันล้านดอลลาร์จากประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปรวมกัน

    ในส่วนของประเทศกลุ่ม BRICS ทาง GroupM มองว่าบราซิลกำลังฟื้นตัวจากภาวะถดถอย หลังจากที่ได้เก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการจัดมหกรรมโอลิมปิก โดยได้มีการโฆษณาผ่านสื่อดิจิทัลมากขึ้น ส่วนใหญ่ผ่านแพลตฟอร์มมือถือ ซึ่งนับตั้งแต่ต้นปี จำนวนผู้ใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ได้เติบโตถึง 22% แตะ 74 ล้านคนแล้ว สำหรับปี 2560 คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาจะขยายตัวราว 2% มากพอที่จะหนุนให้บราซิลขึ้นแท่นตลาดโฆษณาที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 5 ของโลก (สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร บราซิล เยอรมนี)

    ปัจจุบัน อินเดียยังคงเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในบรรดา 10 ตลาดโฆษณาที่มีมูลค่าเกิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ สำหรับปี 2559 นั้นคาดว่าจะขยายตัว 13.8% และขยายตัว 12.5% ในปี 2560 โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ ความต้องการในเขตเมืองที่ยังเพิ่มขึ้น รวมถึงแรงกระเพื่อมจากการปฏิรูปที่สำคัญๆ

    รัสเซียยังคงฟื้นตัวอย่างรวดเร็วต่อเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาสแรกส่งผลให้มีการปรับเพิ่มคาดการณ์ปี 2559 เป็น 9.5% โดยได้รับแรงขับเคลื่อนหลักจากความต้องการโฆษณาผ่านทีวีในไตรมาสสี่ และการเติบโตในการทำโฆษณาผ่านเสิร์ชเอ็นจินขณะที่ความต้องการโฆษณาผ่านเสิร์ชเอ็นจินกว่าครึ่งหนึ่งนั้นมาจากธุรกิจขนาดย่อมที่ไม่มีงบมากพอสำหรับสื่ออื่น ความต้องการจากนักโฆษณารายใหญ่ก็แข็งแกร่งเช่นกัน สำหรับปี 2560 นั้นคาดว่าจะเติบโต 10% ด้วยแรงขับเคลื่อนจากสื่อทีวีและอินเทอร์เน็ต

    ทั้งนี้ GroupM คาดการณ์แนวโน้มดังกล่าวโดยอาศัยทรัพยากรของ WPP ที่มีอยู่ทั่วโลก ทั้งในด้านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ วิจัยตลาด และการสื่อสารพิเศษ พร้อมเผยแพร่การคาดการณ์เหล่านี้ในรายงาน This Year, Next Year  โดยอดัม สมิธ ผู้อำนวยการฝ่าย Futures ของ GroupM “ตลอดเวลาที่ผ่านมา เม็ดเงินโฆษณาได้เติบโตตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวคงที่ในระดับต่ำเป็นเวลานานมาตั้งแต่ปี 2553 แต่การคาดการณ์ใหม่เหล่านี้ได้เน้นย้ำให้เห็นว่า การโฆษณาในยุคของเรานั้นเป็นเรื่องของโครงสร้างไม่ใช่วงจรขึ้นลง โดยผ่านไป 20 ปีตั้งแต่ที่อินเทอร์เน็ตได้กลายเป็นสื่อโฆษณาที่วัดผลได้ สื่อดิจิทัลก็ยังคงเป็นกลไกขับเคลื่อนการเติบโตของสื่อโฆษณา และยังเป็นเครื่องมือสำคัญของวงการการตลาดทั้งหมดด้วย” คุณสมิธกล่าว “สิ่งนี้ช่วยเพิ่มตัวเลือก โอกาส ตลอดจนความเสี่ยง ขณะที่ความเป็นอิสระและความมุ่งมั่นทุ่มเทมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับนักโฆษณาสมัยนี้

    ]]>
    1110138