ชาเขียว – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 31 Mar 2023 09:31:14 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อ่านเกม “บุญรอด x OR” เข้าสมรภูมิ “ชา-กาแฟ RTD” ทำไมต้องจับมือกัน? ชนแบรนด์กับใคร? https://positioningmag.com/1425834 Fri, 31 Mar 2023 09:25:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1425834 หลังประกาศการจับมือตั้งแต่ปี 2565 ในที่สุดบริษัทร่วมทุนระหว่าง “บุญรอด” กับ “OR ได้ฤกษ์เปิดตัวสองผลิตภัณฑ์แรก คือ “ชาเขียว Haru Cold Brew และ “กาแฟ Café Amazon ทั้งหมดอยู่ในเซ็กเมนต์เครื่องดื่มพร้อมดื่ม (RTD) ระดับ “พรีเมียม” พร้อมท้าชนในตลาดโมเดิร์นเทรดทั่วประเทศ คำถามคือ งานนี้ทำไมยักษ์ใหญ่จึงต้องจับมือกันเพื่อเข้าตลาด และต้องแข่งขันกับใครบ้าง

บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด เป็นหนึ่งในยักษ์ตลาดเครื่องดื่มไทย ในเครือมีผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ เฉพาะตลาด ‘นอน-แอลฯ’ มีจำหน่ายน้ำดื่มตราสิงห์ น้ำแร่ตราเพอร์ร่าและฟิจิ โซดาสิงห์ และสิงห์เลมอนโซดา

ขณะที่ บมจ.ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก หรือ OR ก็เป็นยักษ์น้ำมันที่แตกไลน์มาพัฒนาร้านกาแฟผ่านแบรนด์ Café Amazon จนเป็นเจ้าตลาด ขายได้ปีละกว่า 300 ล้านแก้ว

แต่เหตุที่เลือกจับมือกัน เพราะต่างมีเป้าหมายการขยายธุรกิจที่เล็งเห็นแล้วว่า “ไปด้วยกัน ไปได้เร็วกว่า”

“ดิษทัต ปันยารชุน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR กล่าวว่า บริษัทมีวิสัยทัศน์ที่จะขยายไลน์พัฒนาสินค้าประเภท FMCG ที่ลงขายในรีเทลให้มากขึ้น ขณะที่ “ภูริต ภิรมย์ภักดี” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด กำลังหาโอกาสขยายไลน์สินค้าประเภท “กาแฟ” ที่บริษัทไม่เคยผลิตมาก่อน

บุญรอด OR
(ซ้าย) “ภูริต ภิรมย์ภักดี” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด และ (ขวา) “ดิษทัต ปันยารชุน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR

ด้วยสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นจากการเป็นคู่ค้าซื้อน้ำมันกันมา ทำให้มีโอกาสพูดคุยและนำมาสู่การร่วมลงทุน เพราะเห็นจุดแข็งของอีกฝ่ายที่ช่วยเติมเต็มกันได้

โดยจุดแข็งของบุญรอดคือการมีเครือข่ายจัดจำหน่ายสินค้า FMCG พร้อมทั่วประเทศ ช่วยเป็นสปริงบอร์ดให้ OR เข้าตลาดรีเทลได้ทันที

ขณะที่จุดแข็งของ OR คือความเชี่ยวชาญด้านเมล็ดกาแฟ มีแหล่งจัดซื้อและมีโรงคั่วของตัวเอง ที่สำคัญมี ‘economy of scale’ เพราะจัดซื้อร่วมกับร้านกาแฟ ซึ่งทำให้บุญรอดมีแต้มต่อเรื่องต้นทุนทันทีเช่นกัน

หลังจากซุ่มพัฒนาโปรดักส์กันมา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 บริษัทร่วมทุน ‘บริษัท ดริ๊งค์ เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด’ จึงเริ่มเปิดตัวสินค้า 2 ตัวแรกของบริษัทคือ “ชาเขียวพร้อมดื่ม Haru Cold Brew” และ “กาแฟพร้อมดื่ม Café Amazon” ลุยชิงส่วนแบ่งตลาด

 

ชาเขียว Haru สู้ด้วยสไตล์ “มินิมอล”

สำหรับตลาด “ชาพร้อมดื่ม” นั้น ข้อมูลจากนีลเส็นระบุว่าเมื่อปี 2565 มีมูลค่าตลาดกว่า 13,000 ล้านบาท เติบโต 22% จากปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยทำให้ตลาดโตหลักๆ มาจากการฟื้นตัวหลังโควิด-19 คลี่คลาย

ขณะที่การลงตลาดชาพร้อมดื่มของ JV ดริ๊งค์ เอนเตอร์ไพรส์ จะลุยตลาด “พรีเมียม” เป็นหลัก ด้วยราคาขวดละ 30 บาท

ชาเขียว ฮารุ โคลด์ บริว
ชาเขียว ฮารุ โคลด์ บริว ออกจำหน่าย 2 รสชาติ คือ Mild Sweet (หวานน้อย) และ Natural (ไม่หวาน)

“ธิติพร ธรรมาภิมุขกุล” ซีเอ็มโอของ บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดชาพร้อมดื่มในกลุ่มพรีเมียมนั้นมีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 10-20% ของตลาดรวม และมีผู้เล่นหลัก 3 ราย คือ โออิชิ, อิชิตัน และ ฟูจิ นอกจากนั้นเป็นรายเล็ก เช่น อิโตเอ็น

ดังนั้น เมื่อจะสู้กับรายหลักที่อยู่มาก่อน ธิติพรกล่าวว่า ชาเขียว Haru Cold Brew มีการวางตำแหน่งทางการตลาดให้ฉีกออกจากคู่แข่งหลายด้าน เริ่มจากรูปลักษณ์ที่เป็น “Modern Japanese” เป็นญี่ปุ่นสมัยใหม่ มินิมอล ซึ่งสอดคล้องกับภาพจำความเป็นญี่ปุ่นของคนรุ่นใหม่ที่เป็นเป้าหมายของแบรนด์ และฉีกจากคู่แข่งที่เน้นความเป็นญี่ปุ่นดั้งเดิม ไปจนถึงสูตรการผลิตที่เป็นชาเขียว “สกัดเย็น” เจ้าเดียวในตลาดขณะนี้ ให้รสชาติที่นุ่มนวลกว่า ใช้ปริมาณใบชาต่อมิลลิลิตรมากกว่า

แม้จะเสียเปรียบที่ต้องปั้นแบรนด์ใหม่ให้ติดหูติดปาก แต่ด้วยงบการตลาดและแผนปูพรมทั้งออนไลน์, สื่อนอกบ้าน (OOH), สื่อ ณ จุดขาย เชื่อว่าจะได้ผลตอบรับที่ดีได้

ธิติพรเล่าย้อนความเป็นมาด้วยว่า ที่จริงค่ายสิงห์เคยชิมลางตลาดชาพร้อมดื่มมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ขณะนั้นตลาดยังเป็นศึกช้างชนช้างของโออิชิกับอิชิตัน สาดโปรโมชันกันหนัก ทำให้ความพยายามผลักดันตลาดชาพรีเมียมของบุญรอดยังไม่ได้ผล การเปิดแบรนด์ Haru Cold Brew ครั้งนี้จึงถือเป็นการ ‘กลับมา’ ลุยตลาดชาพร้อมดื่มอีกครั้ง

 

กาแฟ RTD พรีเมียมยังโตได้อีกเยอะ

ฟากตลาดกาแฟพร้อมดื่มก็น่าสนใจเช่นกัน “สุชาติ ระมาศ” ผู้อำนวยการใหญ่ OR ฉายภาพ อัตราการบริโภคกาแฟของคนไทยปัจจุบันอยู่ที่ 1.5-1.6 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งถ้าเทียบกับคนญี่ปุ่นที่บริโภคกาแฟ 3 กิโลกรัมต่อคนต่อปี แปลว่าการดื่มกาแฟของคนไทยยังเติบโตได้อีกมาก

ส่วนหนึ่งที่จะทำให้โตได้คือ “เพิ่มโอกาสการดื่ม” ของคนรักกาแฟ โดยสุชาติมองว่า คนหนุ่มสาวยุคนี้ที่ดื่มกาแฟสดมักจะใส่ใจเรื่องคุณภาพกาแฟมาก ทำให้ในช่วงที่ร้านกาแฟสดปิดซึ่งมักจะเป็นช่วงค่ำๆ ไปจนถึงกลางดึก หรือหากเป็นวันที่เร่งรีบมาก มีงานติดพัน ร้านกาแฟสดจะเสียโอกาสการขาย และลูกค้าก็ไม่มีตัวเลือกกาแฟดีๆ ในการดื่มทดแทน

Cafe Amazon
กาแฟพร้อมดื่ม Cafe Amazon มีทั้งหมด 3 รสชาติ คือ Espresso, Latte และ Black

นั่นเป็นช่องว่างของตลาด เพราะตลาดกาแฟพร้อมดื่ม RTD ที่มีมูลค่าตลาดใหญ่ถึง 30,000 ล้านบาท มีเพียง 400-500 ล้านบาทเท่านั้นที่เป็นของกาแฟ RTD พรีเมียม สุชาติกล่าวว่า ถ้าเทียบกับในญี่ปุ่นแล้ว ในร้านสะดวกซื้อจะเรียงรายไปด้วยกาแฟพรีเมียมบนชั้นวาง แต่ตลาดไทยยังมีน้อยมาก เท่าที่เห็นก็เช่น เนสกาแฟ, บอส คอฟฟี่, ทรู คอฟฟี่ เป็นต้น

โอกาสของ Café Amazon แบบขวดจึงเปิดกว้าง ด้วยแบรนด์ที่แข็งแรงจากร้านกาแฟ เชื่อว่าผู้บริโภคจะตอบรับดี และเป็นไปได้ที่จะขึ้น Top 3 กาแฟ RTD กลุ่มพรีเมียมได้ตั้งแต่ปีแรก!

 

เป้าหมาย 1,000 ล้านภายใน 1-2 ปี

ธิติพรและสุชาติสรุปร่วมกันว่า เป้าหมายของดริ๊งค์ เอนเตอร์ไพรส์จากนี้ ปีแรกต้องการทำยอดขายกาแฟ Café Amazon แตะ 8 ล้านขวด และชาเขียว Haru Cold Brew แตะ 10 ล้านขวด

ส่วนเป้าหมายยอดขายใน 1-2 ปีนี้ ต้องการไปถึง 1,000 ล้านบาทต่อปีให้ได้ ขณะที่การออกสินค้าใหม่ๆ ก็จะมีเพิ่มเติมอีกแน่นอน โดยทั้งสองฝ่ายจะมองหาโอกาสและนำมาตัดสินใจร่วมกัน ด้วยเป้าหมายคือผลักดัน “ดริ๊งค์ เอนเตอร์ไพรส์” ให้เป็นรายใหญ่ของตลาดเครื่องดื่ม

]]>
1425834
“โออิชิ” คัมแบ็ก! กำไรเกือบเท่าปี 19 เร่งขยายพอร์ตทั้ง “ชาเขียว-ร้านอาหาร” https://positioningmag.com/1416428 Tue, 24 Jan 2023 07:12:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1416428 หลังจากสถานการณ์ของ COVID-19 เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น ผู้บริโภคออกมาใช้ชีวิตปกติ ส่งผลให้หลายธุรกิจเริ่มฟื้นตัว รายได้เริ่มกลับมาเติบโต บางแห่งรายได้เริ่มกลับมาเท่าปี 2019 หรือช่วงก่อนที่เกิด COVID-19 โดยที่ “โออิชิ กรุ๊ป” มีผลกำไรกลับมาเท่าปี 2019 แล้วเช่นกัน ในช่วงปีที่ผ่านมามีการเปิดตัวแบรนด์ใหม่ๆ และขยายพอร์ตให้ครบทุกเซ็กเมนต์

“ชาเขียว” ต้องจับทุกเซ็กเมนต์ ดันน้ำตาล 0%

ชาเขียวเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นหัวใจสำคัญของโออิชิ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาตลาดมีการหดตัวไปบ้าง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งยังมีเครื่องดื่มอื่นๆ เข้ามาแย่งแชร์ แย่งความสนใจจากผู้บริโภคไปได้ แต่ในปี 2022 ตลาดเริ่มกลับมาสัญญาณบวกมากขึ้น มีการเติบโต 22% มีมูลค่าตลาดกว่า 13,228 ล้านบาท

สาเหตุที่ตลาดมีการเติบโตมากขึ้น เนื่องจากในตลาดมีการออกนวัตกรรมใหม่ๆ เซ็กเมนต์ใหม่ๆ อย่างชาเขียวระดับพรีเมียม ชาเขียวน้ำตาล 0% และมีทำกิจกรรมการตลาดต่อเนื่องทั้งปี ไม่ใช่จำกัดอยู่แค่ช่วงฤดูร้อน

รวมไปถึงการเปิดเมือง เปิดเศรษฐกิจ คลายล็อกดาวน์ ผู้บริโภคเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น หลายบริษัทให้พนักงานกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ เป็นการกระตุ้นการบริโภคมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโออิชิได้พยายามเปิดเซ็กเมนต์ใหม่ตามเทรนด์ผู้บริโภค อย่าง “ชาพรีเมียม” ภายใต้แบรนด์โออิชิ โกลด์ จับเทรนด์ผู้บริโภคที่ทานหวานน้อยลง และต้องการเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น รวมไปถึงเซ็กเมนต์อื่นๆ เพื่อจับผู้บริโภคระดับแมส อย่างชาผสมวุ้นมะพร้าว ชาผสมโซดา และในปีที่ผ่านมาก็ได้เปิดเซ็กเมนต์ “ชาน้ำตาล 0%” เพื่อรับกับเทรนด์ผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพมากขึ้นโดยเป็นการต่อยอดจากชารสชาติดั้งเดิมที่เป็นรสชาติขายดี

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

“ในปีที่ผ่านมาตลาดโตขึ้นจากปีก่อนๆ ส่วนหนึ่งเราพบว่ามีผู้บริโภคที่เปลี่ยนจากดื่มน้ำเปล่า น้ำอัดลมมาดื่มชาเขียวมากขึ้น และโออิชิได้เปิดเซ็กเมนต์ใหม่น้ำตาล 0% ยิ่งช่วยทำให้ตลาดเติบโต โออิชิยังคงครองแชมป์เจ้าตลาดชาพร้อมดื่มหลังกวาดส่วนแบ่งตลาด 48% (ที่มา : NielsenIQ (ประเทศไทย) ตั้งแต่เดือนตุลาคม – กันยายน 2565) จากที่ 5-6 ปีก่อนเรามีส่วนแบ่งการตลาด 43%”

ในปี 2566 โออิชิได้เตรียม 4 กลยุทธ์หลักดังนี้

1) สื่อสารประโยชน์ของชาเขียว สร้างการรับรู้คุณประโยชน์ของคาเทชินที่มีในชาเขียวโออิชิทุกขวด เนื่องด้วยใบชานั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพสูง มีสารคาเทชิน โดยเฉพาะยอดอ่อนใบชา 3 ใบ จากข้อมูลในหลายๆ งานวิจัยพบว่า คาเทชินทำหน้าที่ป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งสารอนุมูลอิสระนี้เป็นสาเหตุของการเสื่อมเสียต่างๆ และเป็นต้นเหตุของความเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามอายุที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความสดชื่น

2) ขยายฐานกลุ่มวัยรุ่น เพิ่มมูลค่าให้กับบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างความผูกพันกับกลุ่มวัยรุ่น

3) ขยายเซ็กเมนต์น้ำตาล 0% สร้างการเติบโตให้กับสินค้ากลุ่มน้ำตาล 0% เพื่อตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรักสุขภาพ เช่น โออชิ ฮันนี่ เลมอน น้ำตาล 0% ที่ได้รับการตอบรับดีมากจากผู้บริโภคหลังจากเปิดตัวไปในปีก่อน รวมถึง โออิชิ โกลด์ ก็ยังคงตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่รักสุขภาพ ผลิตจากใบชานำเข้าจากไร่ชามัตสึดะ ประเทศญี่ปุ่น ที่ได้รางวัล The Emperor’s Cup ชารางวัลจักรพรรดิญี่ปุ่นปี 2015 และรางวัลต่าง ๆ มากมาย

4) ขยายตลาดส่งออก โดยเพิ่มความแข็งแกร่งในตลาดหลัก คือ กัมพูชา ลาว และพม่า ตลอดจนสร้างโอกาสการเติบโตในตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศอาเซียน

แตกไลน์ร้านไม่ใช่บุฟเฟต์

ร้านอาหารก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่โออิชิมีมูฟเมนต์ค่อนข้างสูง ในช่วงปี 2565 ได้เปิดแบรนด์ใหม่ถึง 2 ร้าน ได้แก่ “โออิชิ บิซโทโระ” ร้านอาหารญี่ปุ่นจานด่วน และ “ชาบู บาย โออิชิ” ร้านชาบู ชาบูในรูปแบบอะลาคาร์ท รวมถึงมีการรีโนเวต “โออิชิ แกรนด์” โฉมใหม่ที่สายามพารากอน

เหตุผลที่โออิชิเปิดแบรนด์ใหม่เยอะมากขึ้น เพื่อเป็นการบาลานซ์พอร์ตร้านอาหารที่ไม่ใช่บุฟเฟต์ จะสังเกตว่าร้านอาหารในเครือโออิชิแม้จะมีครอบคลุมเกือบทุกเซ็กเมนต์แล้ว แต่ส่วนใหญ่จะเป็นในรูปแบบบุฟเฟต์ จนหลายคนมองว่าเป็นเจ้าพ่อร้านบุฟเฟต์ ทั้งโออิชิบุฟเฟต์, ชาบูชิ, โออิชิ แกรนด์ และโออิชิ อีทเทอเรียม

การมีร้านอาหารที่เป็นอาลาคาร์ท จะช่วยทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ครอบคลุมมากขึ้น หลากหลายขึ้น อีกทั้งยังขยายสาขาออกมานอกศูนย์การค้ามากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงถ้าเกิดสถานการณ์ล็อกดาวน์ และยังสามารถเปิดให้บริการได้เต็มที่ด้วย นอกเหนือจากเวลาทำการของศูนย์การค้า

“ในส่วนของธุรกิจร้านอาหารปีที่แล้วเปิดสาขาเพิ่ม 20 ร้าน มีแบรนด์ใหม่ 2 แบรนด์ โออิชิ บิซโทโระ และชาบู บาย โออิชิ เพื่อต้องการบาลานซ์พอร์ตที่ไม่ใช่มีแค่บุฟเฟต์ ในปีนี้ก็จะขยายสาขามากขึ้น ปรับโมเดลหลายอย่าง มีโมเดลไลท์ขึ้น อาจจะไซส์เล็กลง ไม่ต้องเข้าหัวเมืองใหญ่ เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น”

ในปีนี้โออิชิเตรียมขยายสาขาในเครือรวมทั้งหมด 30 สาขา จากแต่เดิมขยายสาขาเฉลี่ยปีละ 12-15 สาขา เนื่องจากบางร้านมีไซส์เล็กลง ทำให้ขยายสาขาได้เร็วขึ้น มีโมเดลที่หลากหลายขึ้น ไปในจังหวัดรองมากขึ้น

ส่วนโออิชิ บิซโทโระจะเป็นแบรนด์แรกในเครือที่จะเริ่มนำร่องในการขายแฟรนไชส์ ด้วยตัวร้านเป็นประเภทร้านอาหารญี่ปุ่นที่เน้นเมนูเข้าถึงง่าย ราคาย่อมเยา ทำให้ขยายสาขาได้ง่าย

ด้านธุรกิจอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมทาน ในช่วงก่อนและหลังสถานการณ์แพร่ระบาด อาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงพร้อมทาน ได้เข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของผู้คนมากขึ้น เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้มีคุณภาพ มีความสะดวกในการบริโภค และมีความหลากหลายของประเภทอาหาร บริษัทฯ จึงเดินหน้าพัฒนานวัตกรรมสินค้าอาหารสำเร็จรูปฯ โดยชูจุดแข็งด้านรสชาติ คุณค่าโภชนาการ และคุณภาพ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของฐานตลาดผู้บริโภคและยอดขาย ประกอบกับการพัฒนาสินค้าทั้งกลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่ๆ ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และปรับเปลี่ยนตามกระแสความต้องการของผู้บริโภค เช่น กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำจิ้มและซอสปรุงรส (รวมทั้งน้ำซุปสุกี้ยากี้เข้มข้น), กลุ่มอาหารพร้อมทาน (ข้าวกล่องพร้อมรับประทาน) และกลุ่มหมูปรุงรส (หมูสับผสมข้าวโพดปรุงรส – แช่แข็ง)

กำไรกลับมาเกือบเท่าปี 2019

ด้านผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565 (1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2565) บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สามารถสร้างการเติบโตของธุรกิจให้กลับมาแข็งแรงได้ มีรายได้จากการขายทั้งสิ้นจำนวน 12,696 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 2,878 ล้านบาท เติบโต 29.3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

แบ่งเป็นรายได้จากธุรกิจเครื่องดื่มจำนวน 7,292 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,042 ล้านบาท เติบโต 16.7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และรายได้จากธุรกิจอาหารจำนวน 5,404 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 1,836 ล้านบาท เติบโต 51.5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ในส่วนของกำไรสุทธิรวมของบริษัทฯ คิดเป็นจำนวน 1,199 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 654 ล้านบาท เติบโต 120% จากปีที่ผ่านมา มาจากการเติบโตของธุรกิจเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้นมากเป็นหลัก และจากการฟื้นตัวของธุรกิจอาหารที่ทำให้มีผู้บริโภคกลับมาใช้บริการที่ร้านมากขึ้น

นงนุชเผยว่าผลประกอบการในปีที่ผ่านมาเริ่มกลับมาฟื้นตัว มีผลกำไรเกือบเท่าปี 2019 หรือในช่วงก่อนที่มี COVID-19 ที่ตอนนั้นมียอดขาย 13,631 ล้านบาท และกำไร 1,251 ล้านบาท

]]>
1416428
“โลตัส”เอาใจลูกค้า Jungle Café พาเที่ยวบุกถิ่นชาเขียว “อูจิมัทฉะ” ถึงญี่ปุ่น ควงคู่ศิลปิน SLAPKISS แบบฟินๆ https://positioningmag.com/1391326 Fri, 08 Jul 2022 03:00:29 +0000 https://positioningmag.com/?p=1391326

ถ้าพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวในดวงใจของคนไทย หนึ่งในนั้นต้องมีลิสต์ของประเทศญี่ปุ่นอยู่อย่างแน่นอน นอกจากวัฒนธรรมเรื่องอาหารการกิน แหล่งท่องเที่ยว ช้อปปิ้งมากมายแล้ว ยังมีวัฒนธรรมการดื่ม “ชาเขียว” ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกชาเขียวที่ดีที่สุดในโลกเลยก็ว่าได้

เพื่อต้อนรับการเปิดการเดินทาง เปิดประเทศฟื้นฟูการท่องเที่ยวทั่วโลก “โลตัส” จึงไม่พลาดที่จะมอบประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟแก่ลูกค้า งานนี้ได้จับมือกับ Jungle Café (จังเกิ้ล คาเฟ่) เตรียมพาลูกค้าบุกตะลุยถึงญี่ปุ่นแบบฟรีๆ แถมยังได้ฟินไปกับวง SLAPKISS ศิลปินรุ่นใหม่ที่มีผลงานพิเศษร่วมกับ Jungle Café ในเพลงกาแฟแก้วโปรด ซึ่งจะร่วมเดินทางไปด้วย

เปิดตัวแคมเปญ “ลุ้นฟิน บินไปญี่ปุ่นฟรี!กับศิลปิน SLAPKISS” เอาใจลูกค้า Jungle Café โดยเฉพาะพาบุกแหล่งวัตถุดิบสุดพรีเมียม ไปเยือนถิ่นปลูกชาเขียวอูจิที่ดีที่สุดในโลกและชิมชาอร่อยๆ จากแหล่งกำเนิดอีกด้วยพร้อมท่องเที่ยวแบบฟินๆ 4 วันเต็ม กับเส้นทาง “เกียวโต-อูจิ-โอซาก้า”

สามารถร่วมสนุกได้ โดยสมาชิกมายโลตัสที่มียอดซื้อเมนูชาเขียว “อูจิมัทฉะ” สูงสุดจำนวน 3 ท่าน จะได้ร่วมทริปบินไปญี่ปุ่นฟรี! พร้อมแพคเกจทัวร์ ที่พัก และอาหาร นอกจากนั้นยังมีรางวัลพิเศษ Premium Uji Set พร้อมรูปถ่ายและลายเซ็นจาก SLAPKISS อีก 15 รางวัล งานนี้บอกได้คำเดียวว่ายิ่งซื้อมาก ยิ่งมีสิทธิ์มาก ร่วมสนุกสะสมยอดซื้อได้ตั้งแต่วันนี้– 14 สิงหาคม 2565

วรวรรณ เพียรลิขิตวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารฝ่ายการตลาด โลตัส กล่าวว่า

“โลตัส ได้เปิดตัว Jungle Café ในร้านโลตัส โก เฟรช เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าสำหรับเครื่องดื่มชา กาแฟ จากวัตถุดิบคุณภาพสูง เสิร์ฟพร้อมความสะดวก โดยในปัจจุบันเรามี Jungle Café ใน             โลตัส โก เฟรช มากกว่า 1,800 สาขาทั่วประเทศ เพื่อเป็นการฉลองการเปิดตัวเมนูใหม่ชาเขียว “อูจิมัทฉะ”   เครื่องดื่มมัทฉะคุณภาพดีในราคาที่เอื้อมถึงจากวัตถุดิบสุดพรีเมียมที่ส่งตรงจากเมืองอูจิ เกียวโต ซึ่งเป็นแหล่งผลิตชาอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นเราจึงได้จัดแคมเปญพิเศษ “ลุ้นฟิน บินไปญี่ปุ่นฟรี! กับศิลปิน SLAPKISS” เพื่อขอบคุณลูกค้าที่ให้การตอบรับเป็นอย่างดี

แคมเปญนี้เป็นการฉลองสำหรับเมนูชาเขียวอูจิมัทฉะ เป็นเมนูที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ใน Jungle Café โดยเป็นชาเขียวมัทฉะเกรดพรีเมียม รสฝาดน้อย ดื่มง่าย คุณภาพเยี่ยม ที่ใช้วัตถุดิบจากเมืองอูจิ แหล่งผลิตชาที่ดีที่สุดในญี่ปุ่น ในราคาที่สุดแสนจะเอื้อมถึงได้ เริ่มต้นเพียงแก้วละ 40บาทเท่านั้น

โดยอูจิมัทฉะ เป็นผงชาที่ผลิตจากใบเทนฉะที่ได้รับการปลูกแบบคลุมแสงนานกว่า 20 วัน และคัดสรรยอดใบชาที่ดีที่สุดเพื่อเข้าสู่กระบวนการนึ่ง โม่ บด จนออกมาเป็นผงชาที่มีสีสวยและคุณภาพดีในเมนูชาเขียวอูจิมัทฉะของแบรนด์ Jungle Café

ลูกค้าที่สนใจ สามารถร่วมสนุกในกิจกรรมได้ดังนี้

  1. สำหรับลูกค้าที่ยังไม่เป็นสมาชิกมายโลตัส สามารถสมัครได้ทางแอพพลิเคชัน Lotus’s
  2. สั่งเมนูชาเขียว“อูจิมัทฉะ” (เมนูใดก็ได้ ร้อน เย็น ปั่น หรือซื้อผงชาเขียวอูจิมัทฉะ) ใน Jungle Café พร้อมแจ้งเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ลงทะเบียนสมาชิกมายโลตัสแก่พนักงานทุกครั้งที่สั่งซื้อ
  3. เก็บสะสมยอดซื้อเครื่องดื่มเมนูชาเขียวอูจิมัทฉะ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม 2565
  4. สามารถติดตามรายชื่อ Top Spender ได้ทางเฟซบุ๊ก Lotus’s – โลตัส ทุกวันอังคาร เวลา 16.00 น.
  5. ประกาศรายชื่อผู้โชคดีทางเฟซบุ๊ก Lotus’s – โลตัส ในวันที่ 19 สิงหาคม 2565 โดยผู้โชคดีจะได้ร่วมทริปเดินทางไปญี่ปุ่นในวันที่ 11 – 14 กันยายน 2565

* เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง https://corporate.lotuss.com/news/lotuss-express/141/

 

]]>
1391326
“โออิชิ โกลด์ วาโคฉะ” ชาหมักเกรดพรีเมี่ยมช่วยเบิร์นไขมัน เคล็ดลับสุขภาพดีสไตล์ญี่ปุ่น! https://positioningmag.com/1349084 Sat, 04 Sep 2021 02:00:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349084

เทรนด์ในการดูแลสุขภาพในประเทศไทยยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยิ่งเป็นตัวเร่งให้คนไทยหันมาสนใจสุขภาพตัวเองมากขึ้นเช่นกัน ซึ่งนำไปสู่การสรรหาสิ่งที่มีประโยชน์และเคล็ดลับในการช่วยดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น


เคล็ดลับสุขภาพดีของคนญี่ปุ่น

หนึ่งในนั้นก็คือการดื่มชาที่มีส่วนช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงได้เป็นอย่างดี เรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมอันโดดเด่นของคนญี่ปุ่นที่มีการดื่มชาเพื่อสุขภาพมาเป็นเวลานานเพราะอุดมไปด้วยคุณประโยชน์มากมาย ถือได้ว่าเป็นตัวช่วยเสริมประสาทสัมผัสต่างๆ ได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียว โดยเฉพาะ “ชาเขียว” เนื่องจากมีกระบวนการที่พิถีพิถันอย่างมาก ตั้งแต่การปลูกชา คัดเลือกใบชา ไปจนถึงการชงชา เป็นอีกหนึ่งสุนทรียศาสตร์ที่หาเทียบได้ยาก จึงเป็นที่มาของวิถีชีวิตคนญี่ปุ่นที่ดื่มชาเพื่อสุขภาพในทุกๆวัน 


“โออิชิ โกลด์” อิมพอร์ท “วาโคฉะ” ครั้งแรกในไทย!

ต้องยอมรับว่าในยุค New Normal นี้ วิถีการใช้ชีวิตของคนมีการเปลี่ยนไปตามสถานการณ์อยู่เสมอ แบรนด์ “โออิชิ” จึงตอบโจทย์เทรนสุขภาพด้วยการอิมพอร์ทชาญี่ปุ่นชั้นดีบรรจุขวด พร้อมเสิร์ฟให้ผู้บริโภคภายใต้แบรนด์ “โออิชิ โกลด์” เป็นซีรีส์สำหรับชาพรีเมียมเพื่อตอบโจทย์เทรนสุขภาพในยุคนี้ คัดสรรเฉพาะยอดอ่อนใบชาแท้นำเข้า 100% จากไร่ชาระดับรางวัลจักรพรรดิ The Emperor’s Cup จากประเทศญี่ปุ่น เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคสายชาญี่ปุ่นที่แท้จริง

ล่าสุดโออิชิ โกลด์ได้เปิดตัว “โออิชิ โกลด์ วาโคฉะ” เข้ามาเติมพอร์ตชาพรีเมียมเพื่อสุขภาพ ชาวาโคฉะเป็นชาหมักญี่ปุ่นที่ผ่านกระบวนการหมักอย่างสมบูรณ์ตามธรรมชาติ คัดสรรจากยอดอ่อนใบชาวาโคฉะพันธ์ุที่หายาก เก็บเกี่ยวได้เฉพาะฤดู ให้รสชาติเข้ม นุ่มลึก และชุ่มคอ พร้อมกลิ่นหอมใบชาญี่ปุ่นอันเป็นเอกลักษณ์

นอกจากช่วยให้รู้สึกสดชื่นแล้ว ยังอัดแน่นด้วยคุณประโยชน์อีกเพียบ เรียกว่า “สายเฮลตี้” ไม่ควรพลาด เพราะชาวาโคฉะมีสาร “ทีเอฟลาวิน” เป็นสารธรรมชาติที่มีเฉพาะในชาวาโคฉะ ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมันได้อย่างดี แถมยังมีไฟเบอร์ 6,000 มก. ช่วยกระตุ้นการขับถ่าย สามารถดื่มคู่กับมื้ออร่อยได้อย่างไร้กังวล หรือจะจิบระหว่างวันก็ได้ สมกับฉายา “ชาสายเบิร์น (ไขมัน)”

อีกหนึ่งความพิเศษของโออิชิ โกลด์ วาโคฉะก็คือ โออิชิ โกลด์เป็นเจ้าแรกที่นำชาวาโคฉะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ให้คนไทยได้ลิ้มรสชาพรีเมียมสไตล์ญี่ปุ่น 100% อีกทั้งยังดีต่อสุขภาพอีกด้วย ตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดชาพรีเมียมพร้อมดื่มในไทยอย่างต่อเนื่อง

โออิชิ โกลด์ วาโคฉะ มาพร้อม 2 สูตร สูตรเลมอนดีไลท์ รสเปรี้ยวตัดกับความเข้มของชาในแบบลงตัว หวานน้อย แคลอรี่ต่ำ และสูตรไม่มีน้ำตาลได้ความเข้มของชาแบบเต็มๆ ไม่มีน้ำตาล แคลอรี่ต่ำ เอาใจสายเฮลท์ตี้สุดๆ ขนาด 400 มล. ราคา 30 บาท

ดึง “ก้อย-นัตตี้-ดรีม” ขึ้นแท่นพรีเซ็นเตอร์สุดปัง

ในเรื่องการทำการตลาด “โออิชิ โกลด์ วาโคฉะ” ได้ดึง 3 สาวยูทูบเบอร์เพื่อนซี้สุดปัง “ก้อย-นัตตี้-ดรีม” ตัวแทนคนยุคใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพ และรูปร่าง มานั่งแท่นพรีเซนเตอร์ พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “Enjoy Meal” เอาใจสายกินแต่ฟินกับทุกมื้อได้แบบไร้กังวล

ก้อย-นัตตี้-ดรีม เป็น 3 สาวเพื่อนซี้ที่ทำคอนเทนต์ลงในช่อง YouTube ที่ชื่อว่า GoyNattyDream Channel ปัจจุบันมีผู้ติดตามกว่า 1.09 ล้านราย

ถ้าหากใครสนใจลิ้มลองรสชาติชาเขียวระดับพรีเมียมแบบญี่ปุ่น 100% แถมยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยชั้นดีในการช่วยเบิร์นไขมัน สามารถหาซื้อ “โออิชิ โกลด์ วาโคฉะ” ได้ที่ 7-Eleven ทุกสาขา และผ่านแอป 7-Delivery

]]>
1349084
ชาวชิซึโอกะ ส่งมอบ “โฮจิฉะ ไมลด์ลี่ สวีท” พร้อมกำลังใจเคียงข้างคนไทย https://positioningmag.com/1346426 Thu, 12 Aug 2021 14:22:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1346426 “กัมบัตเตะเนะ…สู้ๆ นะ” ข้อความจากใจจากเกษตรกรผู้ปลูกชาชาวชิซึโอกะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งใจส่งถึงคนไทย ผ่านชาชิซึโอกะ รสชาติใหม่ “โฮจิฉะ ไมลด์ลี่ สวีท” ชาเขียวคั่วดั้งเดิมแบบฉบับญี่ปุ่นแท้ๆ  รสชาติกลมกล่อม กลิ่นหอมกรุ่นของใบชาที่ผ่านการคั่วไฟ ด้วยความร้อนและระยะเวลาอันเป็นสูตรลับเฉพาะของชิซึโอกะ จนได้ความหอมที่เป็นเอกลักษณ์ พร้อมส่งมอบสำหรับคนไทย เพื่อเป็นกำลังใจในการยืนหยัดต่อสู้กับสถานการณ์ความยากลำบากในปัจจุบัน ให้ผ่านพ้นไปให้ได้

ตัน ภาสกรนที  กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติที่ชาวเมืองชิซึโอกะไว้วางใจให้อิชิตันเป็นพันธมิตรของเมืองอย่างเป็นทางการ ด้วยการมอบชาคุณภาพดีที่เป็นวิถีชีวิต เป็นจิตวิญญาณของเมืองเพื่อส่งมอบให้กับผู้บริโภค เกษตรกรชิซึโอกะมีประวัติศาสตร์กว่า  400 ปี ในการปลูกชาบนพื้นที่ที่อุดมไปด้วยคุณภาพอากาศ ดิน และน้ำที่ละลายจากหิมะบนภูเขาไฟฟูจิ จึงบริสุทธิ์อุดมด้วยแร่ธาตุ เป็นพื้นที่ธรรมชาติที่เหมาะเจาะที่สุดในการปลูกชาจนได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองหลวงแห่งชาของประเทศญี่ปุ่น เมืองชิซึโอกะเองก็เพิ่งผ่านพ้นวิกฤตดินถล่มครั้งใหญ่ แต่ก็ยังมีน้ำใจส่งกำลังใจถึงคนไทยที่กำลังเผชิญกับความท้าทายด้านสุขภาพในขณะนี้ ทำให้มิตรภาพระหว่างไทยและชิซึโอกะแน่นแฟ้นมากขึ้น”

“โฮจิฉะ ไมลด์ลี่ สวีท” ผลิตจากใบชาคุณภาพที่ผ่านการคั่วจนหอมตามกรรมวิธีดั้งเดิมจนมีสีน้ำตาลทอง มีกลิ่นหอมคั่วอันเป็นเอกลักษณ์ มาพร้อมสูตรหวานน้อยกลมกล่อม  ปริมาณกาเฟอีนต่ำ (Low caffeine) จึงดื่มได้บ่อยเท่าที่ต้องการ ให้ประโยชน์ต่อร่างกายด้วยคาเทชินซึ่งเป็นองค์ประกอบในสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อสุขภาพไว้ครบถ้วน เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่จำเป็นต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ

ท่ามกลางสถานการณ์ที่ท้าทายนี้ ตลาดชาพรีเมี่ยมก็ยังสามารถเติบโตได้ และชาชิซึโอกะ ยังสามารถรักษาส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับหนึ่ง 22.70% จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในคุณภาพ และมองหาสินค้าสุขภาพเพื่อดูแลร่างกาย  ในปีนี้ชาชิซึโอกะตั้งเป้าหมายยอดขายที่ 245 ล้านบาท จากการวางแผนการสื่อสารผ่านสื่อช่องทางโซเชียลมีเดียให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายโดยตรง และเพิ่มจุดจำหน่ายสินค้าให้สะดวกต่อการซื้อสินค้าในยุคที่ต้องรักษาระยะห่างด้วยตู้บริการ 7-Eleven Vending Machine เป็นต้น

“ชาชิซึโอกะ” ชาเขียวชั้นดี จากความตั้งใจของชาวชิซึโอกะได้รับการสนับสนุนโดยสมาคมผู้ส่งออกชา จังหวัดชิซึโอกะอย่างเป็นทางการ เป็นเครื่องดื่มแรกและเครื่องดื่มเดียวที่ได้รับตราสัญลักษณ์ประจำเมือง (Fujipi)  ปัจุบัน ชาชิซึโอกะมีทั้งหมด 5 รสชาติ ในขนาด 440 มล. ราคาขวดละ 30 บาท วางจำหน่ายทางร้านสะดวกซื้อและร้านค้าชั้นนำทั่วประเทศ หรือสามารถสั่งยกลังไว้ผ่อนคลายที่บ้านช่วงเวลา Work From Home ในราคาสุดพิเศษ และส่งฟรีถึงบ้านแบบไม่ต้องเสี่ยงได้ที่ www.ichitanoneshop.com พร้อมเติมเต็มกำลังใจและความคิดถึงกันด้วยเรื่องราวส่งตรงจากเมืองชิซึโอกะ ที่ www.facebook.com/shizuokath

]]>
1346426
“โออิชิ กรุ๊ป” ปี 63 รุ่นฝ่า COVID-19 กำไร 1,066 ล้าน ลดลง 13.3% ปันผล 1.45 บาท https://positioningmag.com/1319582 Wed, 17 Feb 2021 05:01:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319582 บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดผลประกอบการปี 2563 ปีที่มีการเปลี่ยนแปลง และความตึงเครียดสูงจากวิกฤต COVID-19 มีรายได้ และกำไรลดลง แต่ยังจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง

สำหรับผลประกอบการปีงบประมาณ 2563 (ต.ค. 2562 – ก.ย. 2563)

  • มีรายได้รวม 11,007 ล้านบาท ลดลง 19.2% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
  • กำไรสุทธิ 1,066 ล้านบาท ลดลง 13.3% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
  • ประกาศจ่ายเงินปันผลที่ 1.45 บาทต่อหุ้นจากผลประกอบการปี 2563

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านเศรษฐกิจ และสังคมโดยรวม อีกทั้งยังสร้างความท้าทายใหม่ๆ ให้กับทุกธุรกิจและทุกภาคส่วน บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวเช่นกัน บริษัทฯ จึงได้มีการปรับกลยุทธ์และแผนงานต่างๆ เพื่อเร่งสร้างรายได้ให้กลับมาให้มากที่สุด และในขณะเดียวกันก็ประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ พร้อมควบคุมการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโดยรวมที่ยังไม่ดีขึ้นประกอบกับผู้บริโภคมีกำลังซื้อที่ลดลง

ชาเขียวยังเบอร์ 1

ธุรกิจเครื่องดื่มชาเขียวโออิชิยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดได้สูงถึง 48% (ข้อมูล 12 เดือนล่าสุด สิ้นสุด ณ เดือน ก.ย. 2563 จาก บริษัท เดอะนีลเส็น คอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด) โดยทิ้งห่างคู่แข่งอย่างชัดเจน และครองตำแหน่งผู้นำตลาดชาเขียวพร้อมดื่มอย่างต่อเนื่อง

เจษฎากร โคชส์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม เปิดเผยว่า

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ประกอบกับการชะลอตัวของตลาดชาพร้อมดื่มภายในประเทศที่ปรับตัวลดลง 9.1% (ข้อมูล 12 เดือนล่าสุด สิ้นสุด ณ เดือน ก.ย. 2563 จาก บริษัท เดอะนีลเส็นคอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด) ส่งผลกระทบต่อยอดขายของธุรกิจเครื่องดื่มบ้าง แต่บริษัทยังสามารถประคองสถานการณ์ และสร้างผลกำไรที่เติบโตได้ จากการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่มชาเขียวที่ดีต่อสุขภาพ เช่น โออิชิ โกลด์ เกียวคุโระ, โออิชิ พลัส ซี ชาเขียวผสมวุ้นมะพร้าวโดยพลัสประโยชน์จากวิตามินซี 200%

ประกอบกับทำการตลาดและกิจกรรมส่งเสริมการขายรูปแบบใหม่ๆ การกระจายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ ได้ครอบคลุมมากขึ้น การบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเดินหน้าขยายตลาดส่งออก โดยเข้าไปเปิดตลาดใหม่ในประเทศเมียนมา ทำกิจกรรมการตลาดในเขตพื้นที่แถบชายแดน ส่งผลให้ยอดขายในเมียนมาเติบโตต่อเนื่อง ส่วนในประเทศกัมพูชาและลาวยังคงรักษาตำแหน่งยอดขายอันดับหนึ่งไว้ได้อย่างเหนียวแน่น”

ธุรกิจอาหาร ลุยเปิดโมเดลใหม่

ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจร้านอาหาร เผยว่า

“ในปี 2563 เราเน้นปรับตัวรับมือกับผลกระทบจาก COVID-19 และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง และซับซ้อนมากขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยี และดิจิทัลมาต่อยอดสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ในร้านอาหารญี่ปุ่นโออิชิ พร้อมพัฒนาช่องทางขาย-เดลิเวอรี่ (Delivery) และซื้อกลับบ้าน (Take Away) มากขึ้น”

มีการปรับรูปแบบร้านให้เหมาะสม และเข้ากับสภาพแวดล้อมทางการตลาดในปัจจุบัน เน้นเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมและรวดเร็ว โดยการขยายธุรกิจ และเปิดตัวร้านอาหารรูปแบบใหม่ เช่น

  • โออิชิ ทู โก (OISHI to Go)
  • โออิชิ ฟู้ด ทรัค (OISHI Food Truck)

  • โออิชิ ราเมน X คาคาชิ บริการ 24 ชั่วโมง เป็นร้านอาหารประเภทไฮบริดสาขาแรกที่ เดอะ สตรีท รัชดา อีกทั้งมีการเฉพาะที่
  • โออิชิ คิทเช่น พัฒนาสูตรอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ นำเสนอเมนูแบบเอ็กซ์คลูซีฟ สามารถสั่งผ่านบริการจัดส่งอาหารโออิชิ เดลิเวอรี่ หรือแอปพลิเคชันฟู้ด เดลิเวอรี่

sakae oishi ซาคาเอะ

  • ซาคาเอะ (SAKAE : The Signature Taste of Shabu Shabu and Sukiyaki) ต่อยอดสู่ตลาดพรีเมียม ชาบูเมนู a-la-cart ให้บริการในรูปแบบหม้อเดี่ยวส่วนตัว เพื่อสร้างความแตกต่าง และคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคจับกลุ่มเป้าหมายระดับบนและกลางเป็นหลัก

อาหารพร้อมทานเติบโตรับเทรนด์

ด้านธุรกิจอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมทาน เมขลา เนติโพธิ์ รองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่า

“สถานการณ์การแพร่ระบาดและการปิดเมือง กลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการบริโภคและการเติบโตของตลาดอาหารสำเร็จรูป แช่เย็นและแช่แข็ง เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีคุณภาพ สะดวกในการบริโภค และมีความหลากหลาย เป็นตัวเลือกที่ปลอดภัยในช่วงเวลานี้ เราจึงเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุงและพร้อมทาน ภายใต้ตราสินค้า “โออิชิ อีทโตะ” (OISHI EATO) โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพ เช่น โออิชิ อีทโตะ แซนด์วิชผสมธัญพืชไส้อกไก่สลัดไข่ – เวย์โปรตีน พร้อมเร่งขยายช่องทางใหม่ๆ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น

ตั้งแต่การวางจำหน่ายสินค้าในห้างที่ให้บริการค้าปลีกและค้าส่ง การจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของห้างต่างๆ เช่น Tops online, TESCO Lotus online และเครื่อง Vending Machine อีกทั้งมีการสร้างสรรค์หีบห่อบรรจุภัณฑ์ให้โดดเด่นและแตกต่าง นอกจากนั้นยังพัฒนาสินค้ากลุ่มใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์กลุ่มเดิม เช่น สินค้ากลุ่มซอสและเครื่องปรุงรส”

แม้ผลประกอบการรายได้ และกำไรจะลดลง แต่โออิชิยังคงจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่องที่ 1.45 บาท ในปี 2563 เป็นปีแห่งการต่อสู้ของผู้ประกอบการจริงๆ

]]>
1319582
“อิชิตัน” ฝ่ามรสุมชาเขียว ขอบุก Non-Tea หวังใช้ “น้ำวิตามิน” กอบกู้กำไร https://positioningmag.com/1299142 Mon, 28 Sep 2020 16:26:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1299142 ภาพของอิชิตันจะไม่ได้ติดอยู่แค่ชาเขียวอีกต่อไป เพราะเบนเข็มมาบุกตลาดใหม่ที่เป็น Non-Tea น้ำผสมวิตามิน ตามเทรนด์ของผู้บริโภค หวังสร้างเครื่องดื่มให้แอคทีฟได้ตลอดทั้งปี ไม่จำกัดแค่หน้าร้อน

ชาเขียวไม่โต ต้องกระจายความเสี่ยง

ถ้าย้อนกลับไปในราวๆ 10 ปีที่แล้ว จะเห็นว่าตลาดชาเขียวเป็นอะไรที่สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในไทย นอกจากจะมีการเติบโตสูงตลอดทุกปี ทำให้มีมูลค่าตลาดพุ่งถึง 10,000 ล้านบาทได้ มีผู้เล่นลงมาในตลาดมากมาย อีกทั้งสร้างกระแสชาเขียวฟีเวอร์ไปทุกสินค้า แม้แต่ผ้าอนามัยยังเป็นกลิ่นชาเขียว

แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดชาเขียวต้องเจอกับความท้าทายบทใหญ่ ไม่ว่าจะเรื่องของพฤติกรรมผู้บริโภค เทรนด์เรื่องสุขภาพ และสิ่งที่สร้างจุดเปลี่ยนที่สุดคือ “ภาษีน้ำตาล” ที่ทำเอาผู้ประกอบการต้องกุมขมับ เพราะทำให้สินค้ามีต้นทุนสูงขึ้น และได้กำไรน้อยลง

ผู้เล่นในตลาดรายใหญ่อย่าง “อิชิตัน” และ “โออิชิ” ก็มีขยายไปกลุ่มใหม่อย่างชาเขียวกลุ่มพรีเมียม เพราะตลาดมีการเติบโต เป็นเทรนด์ของผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพมากขึ้น

ในปีนี้ด้วยวิกฤตการณ์ไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดการตระหนักรู้ในเรื่องสุขภาพมากขึ้น สิ่งที่ต้องเจอคือธุรกิจได้รับผลกระทบ ตลาดมีมูลค่าลดลง แต่ก็ยังมีโอกาสจากสินค้าในการดูแลสุขภาพ

ทำให้ตลาดน้ำดื่มในช่วง 8 เดือนแรกของปีหดตัว 6.3% มีมูลค่า 18,956 ล้านบาท ถ้าแบ่งตามเซ็กเมนต์ กลุ่มน้ำแร่ตกลงถึง 24.2% มีมูลค่า 2,381 ล้านบาท ตลาดที่เป็นดาวรุ่งก็คือ น้ำดื่มผสมวิตามิน มีการเติบโตถึง 75.1% มีมูลค่า 1,203 ล้านบาท มีการคาดการณ์ว่าในปีนี้น้ำวิตามินจะมีมูลค่า 2,000 ล้าน เติบโต 87.6% จากที่ปีก่อนมีมูลค่า 1,066 ล้านบาท

ในปีนี้ “อิชิตัน” จึงขอบุกตลาด Non-Tea อย่างจริงจัง เพื่อกระจายความเสี่ยงจากตลาดชาเขียว และยังได้จับเทรนด์ผู้บริโภค โดยได้ออกสินค้าในกลุ่ม “น้ำวิตามิน” เป็นผู้เล่นแบรนด์ที่ 3 ในตลาดต่อจาก “ยันฮี วิตามินวอเตอร์” และ “วิตอะเดย์”

เมื่อกลางปีอิชิตันได้นำร่องส่งสินค้าใหม่ “อิชิตัน น้ำด่าง 8.5 ผสมวิตามินบีรวม” (ICHITAN PH PLUS 8.5) มาแล้ว และล่าสุดได้ส่งอีก 1 รายการ “อิชิตัน วิตามิน วอเตอร์ ซี พลัส อี” (ICHITAN Vitamin Water C Plus E) เพื่อขยายเซ็กเมนต์ในกลุ่มวิตามินซี

โอกาสทองของตลาดน้ำวิตามิน

“ถ้าพึ่งโปรดักต์ชาเขียวอย่างเดียวคงไม่รอด ถ้าปตท.มีแต่น้ำมัน หรืออาร์เอสมีแต่เพลงก็ไม่ได้แล้วในยุคนี้”

เป็นคำอธิบายของ “ตัน อิชิตัน” หรือ ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กับการบุกตลาดใหม่ในครั้งนี้ มองว่าตลาดชามีการขึ้นๆ ลงๆ มาตลอด แต่ตอนนี้คนดูแลเรื่องสุขภาพมากขึ้น จึงเป้นโอกาสที่ดีในการบุกตลาดน้ำวิตามิน

“ตลาดชาเขียวตกลงมาติดต่อกัน 4-5 ปีแล้ว มีการขึ้นๆ ลงๆ อยู่ตลอด ทำให้ต้องมีสินค้า Non-Tea ตอนนี้เหมือนทุกอย่างฟ้าประทานมาให้ COVID-19 มาพอดี และคนไทยเชื่อเรื่องวิตามินซีช่วยเรื่องแก้หวัด จะเห็นว่าทุกบริษัทที่มีสินค้าจะของขาดตลาดหมด เป็นโอกาสทอง 10 ปีมีครั้งเดียว”

ตันบอกว่าครั้งนี้จะเหมือนการทำตลาดชาเขียวเมื่อ 10 ปีก่อน แม้จะเป็นตลาดใหม่ แต่เป็นการเข้าไปแย่งตลาดอื่นๆ ตอนนั้นชาเขียวก็ได้ส่วนแบ่งจากตลาดอื่นๆ จนทำให้ตลาดขึ้นเป็นหมื่นล้าน ในครั้งนี้มองว่าน้ำวิตามินจะได้จากตลาดน้ำดื่ม และน้ำแร่ อยากให้คนดื่มแทนน้ำได้เลย

ยิ่งผลิตมาก ยิ่งคุ้ม

นอกจากอิชิตันจะเจอกับสภาวะตลาดที่ไม่เติบโต อีกทั้งยังเจอกับการเก็บ “ภาษีน้ำตาล” ที่สร้างจุดพีคที่สำคัญ เป็นการฉุดกำไร และยอดขายหล่นฮวบ ตันบอกว่าบริษัทเคยมีกำไรสูงสุดที่ 800 ล้านบาท แต่เจอกับวิกฤตต่างๆ ทำให้กำไรในปี 2018 ลดลงเหลือเพียง 42 ล้านบาทเท่านั้น

เมื่อยอดขายลดลง ทำให้อิชิตันต้องลดกำลังการผลิตลง ซึ่งโดยรวมมีไลน์การผลิตทั้งหมด 7 ไลน์ด้วยกัน กำลังการผลิต 1,500 ล้านขวด/ปี ต้องมีการลดกำลังการผลิตลงเรื่อยๆ จนเหลือราวๆ 40-45% เท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือต้องรับภาระในการจ่ายค่าเสื่อมให้กับเครื่องจักร

วิธีคิดของตันคือยิ่งผลิตเยอะ ยิ่งคุ้ม ยิ่งกำไรเยอะ ถ้าเดินหน้ากำลังการผลิตได้เต็มที่ ก็สามารถขายได้เต็มที่ ตันบอกว่าอีก 2 แบรนด์ในตลาดเจอกับปัญหาผลิตสินค้าไม่ทันเหมือนกัน ซึ่งอิชิตันมีกำลังการผลิตที่มากกว่า ทำให้ได้เปรียบกว่า

อิชิตันจึงผลิตทั้งขนาด 550 มิลลิลิตร ราคา 20 บาท และขนาด 350 มิลลิลิตร ราคา 10 บาท เพื่อให้ได้ปริมาณมากๆ ต้นทุนยิ่งต่ำลง ไม่ต้องแบกภาระค่าเสื่อมแบบเปล่าๆ ด้วย

“ตอนนี้กำลังผลิตเรามีเยอะ ถ้าขายดีจะเอาไลน์การผลิตที่มีเหลือมาผลิต ตอนนี้มีเพียง 40-45% เรามีโปรดักต์ทั้งน้ำวิตามินบี วิตามินซี และวิตามินแบบช็อต ถ้าผลิตมาก ต้นทุนต่ำมาก ปกติจ่ายค่าเสื่อมอยู่แล้ว ยิ่งมีไซส์ 10 บาท ทำให้มีกำไร เพราะโครงสร้างของการทำโรงงานเป็นแบบนี้”

ให้ Non-Tea แอคทีฟหน้าฝน-หน้าหนาว

อย่างที่ทราบกันดีว่าตลาดชาเขียว หรือตลาดเครื่องดื่มจะแอคทีฟมากที่สุด หรือขายดีที่สุดในช่วงฤดูร้อน เพราะผู้บริโภคกระหายน้ำ อยากได้เครื่องดื่มที่เติมความสดชื่น ทำให้ช่วงหน้าร้อนเป็นสมรภูมิเด็ดในการงัดโปรโมชันออกมาเพื่อจูงใจผู้บริโภคในการกระตุ้นยอดขาย

จึงเป็นธรรมดาของตลาดเครื่องดื่มที่จะมียอดขายสูงๆ ในช่วง 2 ไตรมาสแรก และพอเข้าฤดูฝนก็เริ่มหดตัวลง

แต่เมื่อเป็นเครื่องดื่มน้ำวิตามินต่างๆ มองว่าจะเข้ามาอุดช่องว่าเรื่องฤดูกาลไปได้ เพราะสามารถดื่มได้ตลอดเพื่อสุขภาพ ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องดื่มเพื่อดับกระหาย อิชิตันจึงหวังให้ชาเขียวแอคทีฟตลาดในช่วงหน้าร้อน และให้น้ำวิตามินมาช่วยเติมพอร์ตในช่วงหน้าฝน และหน้าหนาว

น้ำวิตามิน ขอ 400 ล้านบาท

ตันหมายมั่นปั้นมือกับสินค้ากลุ่มน้ำวิตามินมาก โดยมั่นใจว่าถ้าเดินหน้ากำลังการผลิตสูงสุด และขายได้ตามเป้า ก็สามารถขึ้นเป็นเบอร์ 1 ได้

“ปีหน้าจะเป็นปีทองของอิชิตัน มีทุกไซส์ทุกเซ็กเมนต์ ชาเขียวจะต้อง Low Sugar สินค้า Non-Tea จะต้องไม่มีน้ำตาล และมีราคาได้เปรียบ ทั้ง 10 บาท และ 20 บาท ส่วนเบอร์ 1 และ เบอร์ 2 ในตลาดยังคงมีปัญหาเรื่องกำลังการผลิต วิตอะเดย์มีจุดเด่นที่ฝาใหญ่ จะมีโรงงานผลิตได้แค่ 3 แห่งเท่านั้น ส่วนยันฮีฯ มีจุดเด่นที่ฝาเป็นที่คล้องได้ จะผลิตที่อื่นไม่ได้ ทำให้จุดอ่อนกับจุดแข็งเป็นเรื่องเดียวกัน”

สำหรับกลุ่ม Non-Tea มีการตั้งเป้ารายได้ในปีนี้ที่ 400 ล้านบาท แบ่งเป็นน้ำวิตามินบี 200 ล้านบาท น้ำวิตามินซี 150 ล้านบาท และวิตามินแบบช็อตอีก 50 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7% ของรายได้รวมอิชิตัน ที่คาดการณ์ว่าจะมีรายได้ 5,600 ล้านบาท มีกำไร 500 ล้านบาท

ในปีหน้ากลุ่มน้ำวิตามินจะมีรายได้ 1,200 ล้านบาท จะเป็นสัดส่วน 19% ของทั้งพอร์ต และคาดว่าอีก 3 ปีจะมีสัดส่วนถึง 30-40% ตอนนี้กลุ่มชาเขียวยังคงเป็นกลุ่มใหญ่ มีรายได้สัดส่วน 50%

จะเห็นได้ว่าการบุกตลาดใหม่ของอิชิตันจะช่วยสร้างสีสันให้ตลาดน้ำดื่มไม่น้อย ต้องจับตาดูว่า ต่อไปอิชิตันจะงัดไม้เด็ดอะไรออกมาในตลาด และมีสินค้ากลุ่มไหนออกมาอีก

]]>
1299142
“อิชิตัน” ปิดงบปี 62 รายได้รวม 5,300 ล้าน กำไรพุ่ง 829.4% https://positioningmag.com/1265988 Wed, 26 Feb 2020 15:37:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1265988 อิชิตันเปิดผลประกอบการปี 2562 รายได้รวมอยู่ที่ 5,334.2 ล้านบาท ด้านกำไร 407.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 829.4% ที่ประชุมบอร์ดไฟเขียวจ่ายเงินปันผลตอบแทนผู้ถือหุ้นอัตรา 0.35 บาทต่อหุ้น กำหนดจ่าย 21 พฤษภาคม 63

ผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 407.5 ล้านบาท มีการเติบโตถึง 829.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 43.8 ล้านบาท มีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 18.6% อัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ 7.6% ส่วนรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า 2.5% เนื่องจากตลาดในประเทศเติบโตดี 9.8% ส่วนตลาดส่งออกลดลง (12.7)% เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว

ปัจจัยที่ทำให้อิชิตันได้ในปีที่ผ่านมา มีทั้งการใช้งบประมาณรัดกุม เน้นเจาะกลุ่มเป้าหมาย จะเห็นว่าอิชิตันไม่ได้ออกแคมเปญใหญ่ในช่วงหน้าร้อนที่เป็นฤดูการขาย แต่เน้นเป็นแคมเปญย่อยๆ จับกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มเล็กๆ โดยตรง รวมถึงการบริหารต้นทุนการขาย และต้นทุนการจัดจำหน่ายที่ลดลง การออกรสชาติใหม่

ภาพรวมตลาดชาพร้อมดื่มในประเทศไทยมีมูลค่าตลาด 12,320 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% ในเชิงมูลค่า และเพิ่มขึ้น 2% ในเชิงปริมาณ กลุ่มชาเขียวระดับพรีเมียมยังมีการเติบโตได้ดี เป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์ดาวรุ่งมีการเติบโต 21.8% ตอบรับกับเทรนด์การดูแลสุขภาพ โดยที่อิชิตันส่งแบรนด์ “ชิซึโอกะ” ลงตลาด ปัจจุบันมีมาร์เก็ตแชร์อยู่ที่ 31.1%ซึ่งตลาดชาเขียวพรีเมียมมีสัดส่วน 11.2% ของตลาดชาเขียวรวม

ทั้งนี้มีการอนุมัติการจ่ายปันผลเป็นเงินสด จากผลการดำเนินงานประจำปี 2562 ในอัตราหุ้นละ 0.35 บาท โดยจ่ายจากกำไรสุทธิและกำไรสะสม (ส่วนที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ผู้ได้รับเงินปันผลไม่ได้รับเครดิตภาษี) กำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) วันที่ 7 พฤษภาคม 2563 วันที่จ่ายปันผลวันที่ 21 พฤษภาคม 2563

]]>
1265988
กางแผน “โออิชิ กรุ๊ป” 2020 : เครื่องดื่ม อาหาร RTE ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภค https://positioningmag.com/1261940 Sun, 26 Jan 2020 17:51:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261940 โออิชิ กรุ๊ปเปิดกลยุทธ์ปี 2020 บุกตลาดทั้งธุรกิจเครื่องดื่ม อาหาร และแพ็กเกจจิ้งฟู้ด เดินหน้าด้วยนวัตกรรม แตกไลน์สินค้าพรีเมียม ต้องเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้บริโภคในชีวิตประจำวัน ดันแพ็กเกจจิ้งฟู้ดเป็นธุรกิจหลักขาที่ 3 สร้างการเติบโต

เดินเกมหลักด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ

ต้องบอกว่าการทำธุรกิจในยุคนี้ หลายแบรนด์ต่างให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ กันทั้งสิ้น เพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคต่างมองหาสิ่งใหม่ๆ ที่จะมาเติมเต็มการใช้ชีวิตให้ดีมากยิ่งขึ้น แม้แต่ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่มเองต่างต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มัดใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา

ในปี 2019 ที่ผ่านมา “โออิชิ กรุ๊ป” ได้ครบรอบ 20 ปีพอดิบพอดี ในอดีตมีเพียง 2 ธุรกิจหลักเท่านั้น ได้แก่ ธุรกิจเครื่องดื่ม นั่นก็คือชาเขียว และธุรกิจอาหาร เป็นตระกูลร้านอาหารญี่ปุ่น แต่ในช่วงปีที่ผานมาได้ปัดฝุ่นกลุ่ม “อาหารพร้อมทาน” หรือแพ็กเกจจิ้งฟู้ดให้เป็นอีก 1 ธุรกิจหลัก รีแบรนด์ในชื่อ “โออิชิ อีทโตะ” รับเทรนด์ผู้บริโภคยุคอิ่มสะดวก

ในช่วงหลายปีที่ผานมาโออิชิ กรุ๊ปได้จับเทรนด์ของผู้บริโภคมาพัฒนาสินค้า และบริการอยู่ตลอด ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์ผู้สูงอายุ เทรนด์ดูแลสุขภาพ เทรนด์เรื่องความสะดวกสบาย หรือแม้แต่ทุกวันนี้ต้องเป็นเทรนด์เรื่องสิ่งแวดล้อม

เพราะฉะนั้นหัวใจหลักของการพัฒนาสินค้า และบริการจึงอยู่ที่นวัตกรรมใหม่ๆ ที่ต้องแตกต่างจากในตลาด และแตกต่างจากเดิม เทรนด์ดูแลสุขภาพมาแรง ต้องมีสินค้าที่ทานแล้วบำรุงร่างกายจริงๆ อย่างที่ล่าสุดได้เปิดตัว “โออิชิ โกลด์” เป็นไลน์เครื่องดื่มชาเขียวระดับพรีเมียม ซึ่งตลาดนี้มีการเติบโตสูง รับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่ดูแลสุขภาพ ทานน้ำตาลน้อยลง

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บอกว่า

“ปัจจุบันต้องยอมรับว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การดำเนินธุรกิจถูก Disrupt จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านสุขภาพ ความสะดวกสบาย ความพรีเมียม ทั้งยังตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงเป็นความท้าทายของ โออิชิ กรุ๊ป ในฐานะผู้นำด้านธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น ที่จะต้องก้าวตามให้ทัน พร้อมพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ให้สอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค”

“เครื่องดื่ม”  ขยายฐานผู้ดื่ม รุกพรีเมียม – เพิ่มส่งออก

สำหรับธุรกิจใหญ่อย่างเครื่องดื่มนั้น แม้ภาพรวมตลาดชาเขียวเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น และโออิชิยังครองตลาดเป็นเบอร์ 1 อย่างต่อเนื่อง แต่โจทย์หลักของปีนี้ก็คือต้องเป็นหนึ่งอย่างยั่งยืนให้ได้

เจษฎากร โคชส์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

ตลาดชาเขียวพร้อมดื่มเริ่มพลิกฟื้นหลังจากได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีสรรพสามิต แต่อย่างไรก็ตาม การบริโภคยังไม่กลับสู่ระดับเดิมเมื่อเทียบกับปี 2560 ดังนั้นกลยุทธ์ในการกระตุ้นการบริโภคด้วย 3 กลยุทธ์หลักดังนี้

  1. ขยายฐานผู้ดื่ม โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างฐานผู้บริโภคใหม่เจาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น โดยใช้แพลตฟอร์มเกมผ่านแคมเปญ OISHI x ROV ซึ่งได้ทำให้ฐานผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายในช่วงอายุ 13-24 ปี เพิ่มขึ้น
  2. ขยายฐานพรีเมียม ตอบโจทย์เทรนด์สุขภาพ และผู้บริโภคที่เห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าจากธรรมชาติพร้อมยอมจ่ายเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด เปิดตัว “โออิชิ โกลด์ เกียวคุโระ” ชาเขียวที่ได้รับการยกย่องจากชาวญี่ปุ่นว่าเป็นหนึ่งในชาที่หายาก และให้รสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ ทำจากยอดอ่อนใบชาแท้นำเข้าจากไร่ชารางวัลจักรพรรดิ ประเทศญี่ปุ่น
  3. ขยายตลาดส่งออก จากเดิมส่งออกเพียง 13 ประเทศ ปัจจุบันสามารถขยายการส่งออก 33 ประเทศทั่วโลก โดยสร้างความแข็งแกร่งในตลาดหลักคือกัมพูชาและลาว รวมถึงสร้างความเป็นผู้นำในตลาดเกิดใหม่ ขยายตลาดในกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักและขายในระดับภูมิภาคด้วย

“ร้านอาหาร” เติมแบรนด์ใหม่ เสริมแกร่งพอร์ต

ในส่วนของธุรกิจร้านอาหาร ยังคงตอกย้ำจุดยืน “เจ้าตำรับอาหารญี่ปุ่น” (King of Japanese Food) ในปีนี้ยังคงขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง และเปิดแบรนด์ใหม่ที่จะเข้ามาเติมพอรืตให้แข็งแกร่งมากขึ้น

ไพศาล อ่าวสถาพร รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหาร บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เผยว่า

สำหรับ 4 กลยุทธ์หลักของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น โออิชิ ประกอบด้วย

  1. Growth Engine : สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ ผ่านผลิตภัณฑ์ และเมนูใหม่ๆ การสร้างสรรค์แคมเปญการตลาดที่ น่าสนใจ และการขยายสาขาต่อเนื่อง เพื่อเข้าถึงและขยายฐานกลุ่มผู้บริโภคให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาช่องทางการสั่งซื้อออนไลน์ (เพิ่มเติมจากการสั่งซื้อผ่านทางโทร. 1773) ผ่านแพลตฟอร์มของตัวเอง ซึ่งได้แก่ oishidelivery.com และ Food Delivery อย่าง GrabFood, LINE MAN และ foodpanda
  2. Re-engineering Brand’s Business Model : ปรับภาพลักษณ์แบรนด์ร้านอาหารญี่ปุ่นให้มีความทันสมัย เช่น รูปแบบโมเดลธุรกิจใหม่ ชาบูชิ “บริการ 24 ชั่วโมง” รับวิถีคนเมือง “สังคมคนนอนดึก”
  3. Reinvented Customers Experience : สร้างประสบการณ์ให้ผู้บริโภคผ่านสินค้า และบริการใหม่ๆ
  4. Spin-off Brands : พัฒนาและเปิดตัวแบรนด์ใหม่ ทั้งร้านอาหาร และร้านขนมหวานสไตล์ญี่ปุ่น ได้แก่ โฮว ยู (HOU YUU), ซากาเอะ (SAKAE) จับกลุ่มลูกค้าระดับบน และ โอโยกิ (OYOKI) ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ ซึ่งเป็นแบรนด์ร้านขนมหวานแบรนด์แรกของโออิชิ

Diversify สู่อาหารพร้อมทาน รีแบรนด์สู่ “โออิชิ อีทโตะ”

เทรนด์อาหารสำเร็จรูปมาแรงและโตต่อเนื่อง ในปี 2019 ที่ผ่านมาตลาดมีมูลค่า 40,000 ล้านบาท เติบโต 7-8% เป็นอาหารที่อยู่ในตู้เย็น กับอาหารแช่แข็ง หรือเรียกว่า RTE (Ready to Eat)

เมขลา เนติโพธิ์ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจอาหารสำเร็จรูป บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เล่าว่า

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตลาดอาหารอาหารสำเร็จรูปพร้อมปรุง พร้อมทาน ได้เข้ามามีบทบาทกับวิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ของคนในชุมชนเมืองมากขึ้น เนื่องจากสินค้าในกลุ่มนี้มีคุณภาพ มีความสะดวกในการบริโภค และมีความหลากหลายของประเภทอาหาร”

ในปี 2019 โออิชิจึงทำการรีแบรนด์กลุ่มอาหารพร้อมทานอยู่ภายใต้แบรนด์ “โออิชิ อีทโตะ” ทั้งหมด เพื่อทำการตลาด และการสื่อสารที่ง่าย และเป็นการใช้จุดแข็งของแบรนด์โออชิในการทำตลาดด้วย

“เรามองเห็นโอกาสในตลาดมากมาย มองว่าเป็นโอกาสที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่รู้ว่าโออิชิมีอาหารพร้อมทาน ตอนนี้อาจจะยังไม่ชัดเจนมาก แต่ต้องทำให้เติบโตเรื่อยๆ ให้อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคทั้งวันตั้งแต่อาหารเช้า กลางวัน เย็น และอาหารว่างให้ได้ การมีอีกหนึ่งธุรกิจจะช่วยสร้างคความแข็งแรงมากขึ้น เราสามารถรู้ข้อมูลว่าลูกค้ามีความชอบอะไร แล้วมาพัฒนาเป็นสินค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ”

สำหรับผลประกอบการของ “โออิชิ กรุ๊ป” รอบปีงบประมาณ 2562 (ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2561 ถึง 30 ก.ย. 2562) โดยมียอดรายได้รวม 13,631 ล้านบาท เติบโต 8.2% และผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,229 ล้านบาท

  • ธุรกิจเครื่องดื่ม 6,501 ล้านบาท เติบโต 8.6%
  • ธุรกิจอาหาร 7,130 ล้านบาท เติบโต 7.9%
  • กำไรสุทธิรวมของบริษัท 1,229 ล้านบาท เติบโต 21.9%
  • กำไรจากธุรกิจเครื่องดื่ม 869 ล้านบาท เติบโต 12.6%
  • กำไรจากธุรกิจอาหาร 360 ล้านบาท เติบโต 52.4%

อ่านเพิ่มเติม เปิดผลประกอบการ “โออิชิ กรุ๊ป” ปี 62 ฟาด 13,000 ล้าน จ่ายปันผลสูงสุดเป็นประวัติการณ์!

]]>
1261940
เปิดผลประกอบการ “โออิชิ กรุ๊ป” ปี 62 ฟาด 13,000 ล้าน จ่ายปันผลสูงสุดเป็นประวัติการณ์! https://positioningmag.com/1258730 Fri, 27 Dec 2019 05:45:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258730 “โออิชิ กรุ๊ป” เปิดผลประกอบการรอบปีงบประมาณ 2562 (ตั้งแต่ 1 ต.ค 2561 ถึง 30 ก.ย. 2562) โดยมียอดรายได้รวม 13,631 ล้านบาท และผลกำไรสุทธิอยู่ที่ 1,229 ล้านบาท

อาหารโตก้าวกระโดด 52.4%

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงภาพรวมผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ประจำปีงบประมาณ 2562 (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2562) ว่า

บริษัทมีรายได้รวม 13,631 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยแบ่งเป็น

  • ธุรกิจเครื่องดื่ม 6,501 ล้านบาท เติบโต 8.6%
  • ธุรกิจอาหาร 7,130 ล้านบาท เติบโต 7.9%
  • กำไรสุทธิรวมของบริษัท 1,229 ล้านบาท เติบโต 21.9%
  • กำไรจากธุรกิจเครื่องดื่ม 869 ล้านบาท เติบโต 12.6%
  • กำไรจากธุรกิจอาหาร 360 ล้านบาท เติบโต 52.4%

ยืนหนึ่งตลาดชาพร้อมดื่ม

ภาพรวมธุรกิจเครื่องดื่ม มูลค่าตลาดชาพร้อมดื่มในช่วงปีงบประมาณ 2562 มีการเติบโต 2.2% (ข้อมูล : บริษัท เดอะนีลเส็นคอมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด เดือน ต.ค. 61 – ก.ย. 62) ขณะที่รายได้ของธุรกิจเครื่องดื่มเติบโตมากกว่าการเติบโตของตลาดชาพร้อมดื่มโดยรวม จากการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ และยังครองส่วนแบ่งการตลาดที่ 44.6% รวมถึงมีสัดส่วนรายได้จากตลาดต่างประเทศที่ 15% ทั้งนี้

ในส่วนธุรกิจอาหารก็เติบโตทั้งรายได้และกำไร โดยปัจจัยสนับสนุนมาจากการเปิดสาขาใหม่ และการเติบโตของยอดขายของสาขาเดิม รวมทั้งมีการเน้นประสิทธิภาพของการจัดการร้าน ในปีที่ผ่านมาร้านอาหารมีสาขาเพิ่มขึ้นสุทธิ 14 สาขา โดยส่วนมากเป็นสาขาของร้านชาบูชิ ร้านคาคาชิ และร้านโออิชิ อีทเทอเรียม ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนสาขาร้านอาหารรวม 266 สาขา

จ่ายเงินปันผลสูงสุดเป็นประวัติการณ์

จากผลปรักอบการที่มีการเติบโตทั้งรายได้ และกำไร ทำให้โออิชิเตรียมจ่ายเงินปันผลในช่วงต้นปี 2563 ตอบแทนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ในอัตราหุ้นละ 4 บาท ซึ่งนับเป็นการจ่ายปันผลสูงสุดเป็นประวัติการณ์ของทางบริษัท

]]>
1258730