ซิตี้แบงก์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 14 Jan 2024 13:24:15 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Citi ประกาศปลดพนักงานกว่า 20,000 ราย หลังผลประกอบการออกมาแย่สุดในรอบ 15 ปี https://positioningmag.com/1458707 Sun, 14 Jan 2024 09:06:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1458707 ซิตี้ (Citi) สถาบันการเงินรายใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา ได้ประกาศปลดพนักงานจำนวน 20,000 ราย หรือคิดเป็น 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด ซึ่งแผนการดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในปี 2026 หลังจากที่ผลประกอบการในไตรมาสล่าสุดออกมาย่ำแย่สุดในรอบ 15 ปี 

Citi สถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ประกาศปลดพนักงานจำนวน 20,000 ราย หรือคิดเป็น 10% ของจำนวนพนักงานทั้งหมด และการปลดพนักงานครั้งนี้จะช่วยทำให้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้มากถึง 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐในระยะยาว

แผนการปลดพนักงานของ Citi จำนวน 20,000 ราย ตามหลังมาจากกระบวนการปรับโครงสร้างในรอบ 20 ปี โดยมีการทยอยปลดผู้บริหาร เพื่อลดความซับซ้อนขององค์กร และยังรวมถึงแผนล่าสุดในการนำธุรกิจในประเทศเม็กซิโกเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะทำให้พนักงานนั้นลดลงอีก 40,000 คน ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินรายนี้จะมีพนักงานเหลือ 180,000 ราย โดยแผนการดังกล่าวนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2026

ตัวแทนของ Citi ได้กล่าวกับ CNN ว่า แผนการปลดพนักงานนั้นเกิดขึ้นกับธุรกิจของ Citi ที่มีอยู่ทั่วโลก แต่ปฏิเสธที่จะแจกแจงตัวเลขตามทวีปต่างๆ ซึ่งสถาบันการเงินรายดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่าย 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเกิดจากกระบวนการปลดพนักงานในช่วง 2 ปีหลังจากนี้

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ Citi ต้องออกมาปลดพนักงานชุดใหญ่ เนื่องจากผลประกอบการของสถาบันการเงินรายนี้ในไตรมาส 4 ของปี 2023 ขาดทุนถึง 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการตั้งสำรองในส่วนต่างๆ ซึ่งตัวเลขดังกล่าวยังเป็นผลประกอบการที่แย่สุดในรอบ 15 ปีของสถาบันการเงินรายนี้

Jane Fraser ซึ่งเป็น CEO ของ Citi ได้ออกมากล่าวว่า ผลประกอบการในไตรมาส 4 ถือว่า “ผิดหวังมากที่สุด”

ในช่วงที่ผ่านมา CEO หญิงของ Citi พยายามแก้ไขปัญหาด้านกฎระเบียบที่หน่วยงานกำกับดูแลในสหรัฐอเมริกาได้สั่งให้สถาบันการเงินรายนี้ต้องแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการด้านความเสี่ยง การจัดการด้านข้อมูล ไปจนถึงการควบคุมภายในสถาบันการเงิน

ไม่เพียงแค่การแก้ปัญหาภายในองค์กรเท่านั้น แต่ราคาหุ้นของ Citi เมื่อเทียบกับสถาบันการเงินรายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ราคาหุ้นของ Citi ได้ปรับตัวลดลงสวนทางกับคู่แข่งรายอื่นที่มีราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ทำให้ CEO รายดังกล่าวต้องสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนด้วย

สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้ CEO ของ Citi ต้องปรับโครงสร้างไม่ใช่แค่การปลดพนักงานเท่านั้น แต่ยังมีการขายธุรกิจในต่างประเทศออกไปเพื่อลดความเสี่ยง หรือแม้แต่การฟื้นฟูงบการเงินซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินรายใหญ่อันดับ 3 ของสหรัฐฯ กลับมาแข็งแกร่งอีกครั้ง

ที่มา – CBS News, CNN, Yahoo Finance

]]>
1458707
“ซิตี้แบงก์” ขายธุรกิจรายย่อย 13 ประเทศ “ไทย” โดนด้วย! เตรียมถอนตัวจากตลาด https://positioningmag.com/1327892 Fri, 16 Apr 2021 04:12:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1327892 “ซิตี้กรุ๊ป” ประกาศขายกิจการลูกค้ารายย่อยใน 13 ประเทศทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออก จากแรงกดดันของนักลงทุนที่ต้องการให้ธนาคารลดต้นทุน โดยหนึ่งในประเทศที่อยู่ในรายชื่อตัดขายคือประเทศ “ไทย” ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อ เงินฝากจะถูกขายออกทั้งหมด และซิตี้จะหันไปเน้นธุรกิจบริหารความมั่งคั่งแทน

The Financial Times รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 เม.ย. 2021 ถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวของ “ซิตี้กรุ๊ป” โดยเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นหลังซีอีโอคนใหม่ “เจน เฟรเซอร์” เข้ารับตำแหน่งได้กว่า 1 เดือน เฟรเซอร์เข้าประชุมร่วมกับนักลงทุนรายใหญ่ของธนาคารหลายครั้งก่อนจะเกิดการตัดสินใจครั้งนี้ขึ้น

“แม้ว่าธุรกิจใน 13 ประเทศเหล่านี้ต่างทำได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ตลาดไม่สามารถขยายตัวได้อย่างที่เราต้องการเพื่อจะแข่งขันต่อ” เฟรเซอร์กล่าว “ฉันวางนโยบายอย่างชัดเจนถึงการให้ความสำคัญสูงสุดของเรา นั่นคือการให้ผลตอบแทนกับนักลงทุน”

ซิตี้กรุ๊ป เป็นธนาคารสัญชาติอเมริกันที่ขยายตัวไปยังลูกค้ารายย่อยต่างประเทศได้มากที่สุด หากเปรียบเทียบกับธนาคารอเมริกันอื่นๆ

13 ประเทศเหล่านี้จะถูกตัดขายกิจการรายย่อยออกไป ได้แก่ ออสเตรเลีย บาห์เรน เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม โปแลนด์ และรัสเซีย

(Photo : Shutterstock)

ซิตี้กรุ๊ปประกาศด้วยว่า ธนาคารจะหันไปมุ่งเน้นธุรกิจบริหารจัดการความมั่งคั่งแทน โดยมีศูนย์กลางการดำเนินกิจการเพียง 4 แห่ง คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง UAE และลอนดอน (อังกฤษ)

“เราได้ตัดสินใจว่า เราจะเสี่ยงทุ่มลงทุนในธุรกิจความมั่งคั่ง” เฟรเซอร์กล่าว

ทั้งนี้ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของ 13 ประเทศที่ซิตี้จะออกจากตลาด ทำรายได้รวมกันอยู่ที่ 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสัดส่วนที่ไม่สูงมากหากเทียบกับรายได้รวมทั้งเครือปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 7.43 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยปีก่อนซิตี้กรุ๊ปมีผลขาดทุน

ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของธนาคารซิตี้แบงก์ในไทยนั้น มีบริการประกอบด้วย บัตรเครดิต สินเชื่อ และเงินฝาก สำหรับธุรกิจบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ เมื่อปี 2561 ซิตี้แบงก์เคยรับซื้อพอร์ตบัตรเครดิตกว่า 1 แสนรายมาจากธนาคารทิสโก้ โดยธนาคารทิสโก้เองก็รับซื้อจากสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดมาเมื่อปี 2559 แต่ตัดสินใจขายให้ซิตี้แบงก์เพราะมองว่าไม่ใช่ความถนัดของธนาคาร

ไมค์ มาโย นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก Wells Fargo สนับสนุนการตัดสินใจครั้งนี้ของซิตี้กรุ๊ป โดยมองว่าเป็นการพัฒนาที่ชัดเจนที่สุดของธนาคารในรอบทศวรรษ

เขายังให้ความเห็นด้วยว่า เฟรเซอร์ตัดสินใจขายกิจการภายในระยะเวลาแค่ 46 วันหลังรับตำแหน่ง นั่นทำให้เห็นสัญญาณว่าธนาคารกำลังรับมือกับปัญหาด้วยความรู้สึกของ “ความฉุกเฉิน”

Source

]]>
1327892
“ซิตี้แบงก์” หั่นจีดีพีไทย -6.8% ตลาดหุ้นครึ่งปีหลังยังผันผวน เเนะกระจายลงทุนตลาด EM-เอเชีย https://positioningmag.com/1288781 Tue, 21 Jul 2020 13:42:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1288781 ซิตี้แบงก์ประเมินเศรษฐกิจโลกปีนี้ ติดลบ 3.5% ก่อนจะฟื้นเป็นบวก 5.5% ในปีหน้า ฝั่งสหรัฐฯ เเละยุโรปยังทรุดยาว โซนเอเชียจะฟื้นก่อนตามเศรษฐกิจจีน ปรับลดตัวเลขจีดีพีไทย ปี 2563 ติดลบ 6.8% หวังจะกลับมาเป็นบวก 3.5% ได้ในปีหน้า จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ มองทิศทางตลาดหุ้นครึ่งปีหลังยังผันผวนแต่น้อยลง เเนะลงทุนหุ้นวัฏจักรกลุ่มสุขภาพเทคโนโลยีและทองคำ เน้นกระจายการลงทุนในสินทรัพย์ที่หลากหลาย

บุญนิเศรษฐ์ ธัญวรอนันต์ ที่ปรึกษาทางการลงทุน ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า จากปัจจัยแนวโน้มความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลก ทั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ความไม่แน่นอนด้านภูมิศาสตร์การเมืองที่ยังคงตึงเครียด สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯจีน รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจที่ผันผวน

โดยคาดการณ์เศรษฐกิจทั่วโลกในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 ว่าจะติดลบ 3.5% ก่อนที่ตลาดโลกจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว 5.5% ในปี 2564 ในขณะที่ระดับอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.8% และเพิ่มขึ้นเป็น 2.4% ในปี 2564 พร้อมปรับลดตัวเลขจีดีพีของไทยปีนี้ลง จากเดิมคาดว่าจะอยู่ที่ -3.5% เป็น -6.8% และจะกลับมาบวก 3.5% ในปีหน้า เนื่องจากนโยบายการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ภาคการบริโภคจะช่วยหนุนเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้

ในส่วนของจีดีพีสหรัฐฯ คาดว่าจะหดตัว -3.3% ซึ่งตอนนี้เริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกของการฟื้นตัวจากตัวเลขอัตราการว่างงานที่ลดลง และตัวเลขยอดค้าปลีกเดือนพ..ที่เพิ่มขึ้น ส่วนตัวเลขจีดีพีของยุโรปคาดว่าจะอยู่ที่ -6.7% จากมาตรการข้อจำกัดต่างๆ โดยแนวโน้มการฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังอาจจะต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี กว่าจีดีพีจะกลับไปสู่ระดับเดิมเทียบเท่าช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 ทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินและมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับต่ำกว่า 0% ต่อเนื่อง 

ขณะที่เอเชียคาดว่าจะขยายตัว 0.5% โดยเฉพาะจีนอาจโตแตะ 2.4% เพราะมีกำลังซื้อในประเทศสูงเเละมีกิจกรรมทางธุรกิจหลังควบคุมการเเพร่ระบาดได้

Photo : Shutterstock

ไตรมาส 1 น่าจะเป็นจุดต่ำสุดของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ เเละช่วงไตรมาส 2 ส่วนใหญ่ยังคงเห็นการถดถอยอยู่ ก่อนที่จะมีการค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มกลับมามีการฟื้นตัวใหม่อีกครั้ง แนวโน้มจะเป็นการฟื้นตัวแบบไม่เท่ากันในแต่ละภูมิภาค

โดยคาดว่ากลุ่มตลาดเกิดใหม่” (Emerging Market) จะชะลอตัวลงเล็กน้อย -1.5% และคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวขึ้น 6.4% ในปี 2564 ในทางกลับกันตลาดพัฒนาแล้วมีแนวโน้มการเติบโตชะลอตัว -5% ทำให้การลงทุนมีความความท้าทายสูง ถึงแม้ว่าตลาดทุนทั่วโลกกลับตัวบวก 40.6% จากจุดต่ำสุดในเดือนมีนาคมเเล้ว แต่ก็ยังติดลบ 4% เมื่อเทียบกับต้นปี (ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 .. – 23 มิ. 63)

ด้านน้ำมัน ยังคงเป็นที่น่าจับตา โดยน้ำมันดิบยังมีอุปสงค์สวนทางกับอุปทานจึงคาดว่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์และน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 42 และ 38 ดอลลาร์สหรัฐต่อบารร์เรลตามลำดับ

ทองคำ ยังเป็นที่ต้องการของตลาด มองดอกเบี้ยที่ต่ำมาก และการทำ QE ของแต่ละประเทศใหญ่ๆ ทำให้เกิดภาวะเม็ดเงินล้นระบบ นักลงทุนสนใจลงทุนในทองคำมากขึ้น “เป็นเทรนด์ขาขึ้น” โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,600 -1,800 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และมีแนวโน้มว่ามูลค่าเฉลี่ยจะขยับขึ้นในระดับประมาณ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ในปี 2564

ส่วนประเด็นค่าเงินต้องจับตาเป็นพิเศษเพราะยังคงมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้คาดยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในระยะกลางถึงระยะยาว จากปัจจัยการขยายงบดุลของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เพื่อตอบสนองสภาพคล่องต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนกรอบความเคลื่อนไหวเงินบาทไทยคาดว่าจะอยู่ระหว่าง 31.0 – 31.3 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% จนถึงต้นปี 2564

Photo : Freepik

สำหรับการลงทุน เเนะให้เน้นไปที่กลุ่มตลาดเกิดใหม่ภูมิภาคเอเชีย และกระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ที่หลากหลาย โดยแบ่งเป็น 4 ธีม ดังนี้ 

  • ลงทุนกระจายความเสี่ยงลดความผันผวน
  • ลงทุนบริษัทที่มีการเติบโตที่ดี
  • ลงทุนในตราสารหนี้ที่ยังคงให้ดอกเบี้ยที่ดี
  • ลงทุนในสิ่งที่ปลอดภัย

โดยเเนะนำให้ลงทุนใน กลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยี สุขภาพ กลุ่มโทรคมนาคม และเทคโนโลยีดิจิทัลไลเซชั่น (Digitalization) รวมถึงพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา สกุลเงินเยน เเละการลงทุนในทองคำ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงปลอดภัยและมีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งจะสามารถช่วยเสริมความมั่นคงให้กับพอร์ตโฟลิโอการลงทุน โดยต้องเฝ้าติดตามประเด็นสำคัญของสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาผลประโยชน์ในระยะยาว และลดความเสี่ยงจากการลงทุนท่ามกลางสภาวะผันผวน

 

]]>
1288781
“ซิตี้แบงก์” ยกเครื่อง Mobile Banking จุดพลุฝั่งบัตรเครดิต รูดปรื๊ดผ่าน App https://positioningmag.com/1195942 Tue, 06 Nov 2018 11:00:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1195942 Thanatkit

เมื่อ “Mobile Banking” เป็นอาวุธสำคัญสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยที่ใช้สู้ศึก และด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มคุ้นชินกับการใช้บริการ ดังนั้น สเต็ปต่อไปจึงต้องพัฒนาแอปพลิเคชั่นให้ดึงดูดให้คนยังใช้งานต่อไป ไม่หนีไปหาธนาคารอื่นๆ ซึ่งตอนนี้สิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุดคือ “ง่าย เร็ว และปลอดภัย”

ทั้ง 3 ข้อกลายเป็นใจความหลักที่ “ธนาคารซิตี้แบงก์” ใช้ยกเครื่อง Mobile Banking ใหญ่ครั้งที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อมาจากเวอร์ชั่นแรกที่เปิดตัวในปี 2016 โดยไม่ได้ระบุว่า ใช้เงินไปเท่าไหร่ในครั้งนี้ ด้วย “ซิตี้โมบายล์แอปพลิเคชัน” ถูกพัฒนาให้เป็นเวอร์ชั่นเดียวกันทั่วโลก จึงถือเป็นงบลงทุนในภาพรวม

หลักๆ แล้ว UI (User Interface) หรือหน้าจอของผู้ใช้จะเหมือนกันในทุกประเทศ ยกเว้นฟีเจอร์ต่างๆ ที่แต่ละประเทศจะปรับเปลี่ยนกันเอง อย่างของในเมืองไทย ซิตี้แบงก์จะเริ่มจากฝั่งผู้ใช้งานบัตรเครดิตก่อน

เนื่องจากช่วงต้นปีที่ผ่านมาซิตี้แบงก์ได้รับโอน “ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลและธุรกิจบัตรเครดิต” จากธนาคารทิสโก้จำกัด (มหาชน) ด้วยมูลค่า 6,900 ล้านบาท ทำให้มีฐานผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอีกราว 100,000 ราย

ฟีเจอร์ที่มีใน Mobile Banking เวอร์ชั่นใหม่ อาทิ การทำรายการเปลี่ยนวงเงินบัตรเครดิตให้เป็นเงินก้อนโอนเข้าบัญชี หรือเปลี่ยนยอดใช้บัตรโดยทำการแบ่งชำระยอดเป็นรายเดือน การระงับการใช้บัตรชั่วคราว และเปิดใช้งานได้ทันทีที่ต้องการ หรือการเปลี่ยนรหัสเอทีเอ็มผ่านทางโทรศัพท์มือถือ

ส่วนฟีเจอร์ที่มีเฉพาะเมืองไทยคือการสแกนและจ่ายด้วยบัตรเครดิต (Scan and Pay) ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ การจ่ายผ่าน QR Code ซึ่งจะต่างจากบริการที่มีอยู่ในวันนี้ที่การจ่ายจะหักจากบัญชีผู้ใช้งานโดยตรง แต่ครั้งนี้จะหักผ่านบัตรเครดิต

ปัจจุบันร้านค้าที่รองรับจึงยังมีไม่มากนัก หลักๆ จะอยู่ในกรุงเทพฯ เช่นเดอะมอลล์ตลาดนัดรถไฟ หรือตลาด อ... เป็นต้น โดยบริการนี้ของซิตี้แบงก์ถือเป็นรายแรกของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ได้รับอนุญาต เปิดให้ใช้งานจากธนาคารแห่งประเทศไทย

นายประทีป คามัคค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายดิจิทัลแบงกิ้ง ธนาคารซิตี้แบงก์

ประทีป คามัคค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายดิจิทัลแบงกิ้ง ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า

“Mobile Banking เวอร์ชั่นก่อนหน้านี้จะรวมเอาฟีเจอร์ทั้งในฝั่งของผู้ใช้รายย่อยและบัตรเครดิตมาไว้รวมกัน แต่เราพบว่า บางฟีเจอร์ก็ไม่จำเป็นกับผู้ใช้บัตรเครดิต จึงได้พัฒนาใหม่โดยแยกออกจากกันให้ชัดเจน เพื่อให้ลูกค้าใช้งานได้ง่ายและใช้เวลาในการทำธุรกรรมให้น้อยที่สุด ส่วนของผู้ใช้รายย่อย ก็จะพัฒนาเป็นเฟสต่อไป คาดว่าจะเปิดตัวได้ไม่เกินเมษายนปีหน้า”

ปัจจุบันซิตี้แบงก์มีฐานลูกค้าบัตรเครดิตทั้งหมด 1 ล้านราย ใช้งาน Mobile Banking 50% เฉลี่ย 2-3 ครั้งต่อเดือน หลังจากยกเครื่องแล้วต้องการให้ใช้งานทั้ง 100% ภายใน 1-2 ปีนี้ และเพิ่มการใช้งานเฉลี่ยต่อเดือนอีก 1 เท่าตัว

อย่างไรก็ตาม ปีนี้ซิตี้แบงก์มีการลงทุนที่มากกว่าปกติทุกปี ไม่ใช่แค่การซื้อพอร์ตบัตรเครดิตแต่ในฝั่งของการตลาดก็ใช้เงินมากกว่าที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ตั้งให้ สู่ขวัญ บูลกุล” มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของ ซิตี้โกลด์ ซึ่งเป็นบริการการบริหารความมั่งคั่ง

ตามต่อด้วยการใช้เงินกว่า 100 ล้านบาท เปิดตัวบัตรเครดิตซิตี้ พรีเมียร์” เน้นเจาะกลุ่มผู้ที่ชอบการช้อปปิ้งและท่องเที่ยว โดยได้ชมพู่อารยา เอ ฮาร์เก็ต” มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ ซึ่งซิตี้แบงก์ช่วยให้ยอดสมัครบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น 25% ในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์

นอกจากนี้เป็นสปอนเซอร์หลักของ MICHELIN Guide Thailand และ บุกเข้าไปในฝั่งแฟชั่นด้วยการจับมือกับ VATANIKA แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดังของไทย ทำคอลเลกชั่นพิเศษโดยใช้รับแรงบันดาลใจมาจากลวดลายบนหน้าบัตรเครดิตซิตี้ พรีเมียร์ ซึ่งจัดแสดงในงาน แอล แฟชั่น วีค 2018 อีกด้วย.

]]>
1195942
“ซิตี้แบงก์” ทุ่ม 100 ล้าน ส่ง “บัตรเครดิตซิตี้ พรีเมียร์” ลุยตลาด แก้เกมหลังหลุดบัตร Co-Brand กับค่ายเดอะมอลล์ https://positioningmag.com/1187330 Tue, 11 Sep 2018 23:00:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1187330 ถือเป็นการแก้เกมของธนาคารซิตี้แบงก์ จากหลุดจากการเป็นพันธมิตรกลุ่มเดอะมอลล์ออกบัตรเครดิตร่วม (Co-Brand) ในชื่อบัตรเครดิตซิตี้เอ็ม วีซ่า (Citi M Visa) มานานถึง 10 ปี

แต่แล้วไม่กี่เดือนที่ผ่านมา กลุ่มเดอะมอลล์หันไปออกบัตรเครดิตร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ ในเบื้องต้นมีสัญญา 5 ปีขึ้นมาแทนที่

ธนาคารซิตี้แบงก์จึงตัดสินใจส่งบัตรเครดิตซิตี้ พรีเมียร์ลงสู่ตลาด

เข้ามาเสียบแทน โดยจะเชิญลูกค้าเดิมที่มีฐานลูกค้าราว 400,000 – 500,000 ใบ ส่วนใหญ่จะเป็นวัยทำงานและชาวต่างชาติ ให้เข้ามาเป็นบัตรใบใหม่ทั้งหมด ส่วนใครที่ไม่อยากย้ายก็ใช้ใบเดิมต่อได้

บัตรเครดิตซิตี้ พรีเมียร์ได้เปิดตัวในประเทศไทยเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ต่อจากประเทศสหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อีกทั้งยังถือเป็นประเทศแรกในเอเชีย แปซิฟิก

ซานดีพ บาตระ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย มองว่าตลาดบัครเครดิตในเมืองไทยยังมีการเติบโตต่อเนื่องในปี 2018 คาดว่าจำนวนบัตรจะเติบโต 6% จากปัจจุบันที่มีบัตรเครดิตในตลาดทั้งหมด 21 ล้านใบ ส่วนการใช้จ่ายมีการเติบโตขึ้น 11%

หมวดที่คนไทยใช้จ่ายผ่านบัครเดรดิตมากที่สุดคือกลุ่มของไลฟ์สไตล์ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือการช้อปปิ้ง ที่ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรเติบโตขึ้น

โดยคนไทยเที่ยวเฉลี่ย 6.6 ทริปต่อคนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มากกว่าค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ราว 4.6 ทริป พร้อมกันนี้ยังใช้จ่ายกับการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 51% เมื่อเทียบกับปีต่อปี สูงกว่านักท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิกที่เติบโต 46% และมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วโลกที่ใช้เงินเพิ่มขึ้นเพียง 36%

ด้านช้อปปิ้งคนไทยชอบสินค้าและแบรนด์ที่หลากหลายซึ่งมักจะซื้อทั้งในร้านดิ้วตี้ฟรีและห้างสรรพสินค้าทั้งขนาดกลางและขนาดใหญ่

ดังนั้นบัตรซิตี้พรีเมียร์จึงเข้ามาเพื่อจับกลุ่มคนที่ชื่นชอบทั้งการช้อปปิ้งและท่องเที่ยว ที่มีเงินเดือนตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไปโดยเฉพาะ โดยเพิ่มแรงจูงใจให้มากขึ้น ด้วยการเติมสิทธิประโยชน์ทั้งในร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลอดภาษีทั่วโลก สิทธิ์ในการเข้าห้องรับรองพิเศษในสนามบิน และวงเงินป้องกันอุบัติเหตุ เป็นต้น

การทำบัตรเครดิต Co- Brand ถือเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความสำเร็จในเมืองไทย แต่ในแง่ของการช้อปปิ้ง ลูกค้าไม่ได้ยึดติดที่จะไปห้างใดห้างหนึ่ง การทำ Co- Brand เฉพาะห้าง จะเป็นการตัดทางเลือกของลูกค้าและยังทำให้บัตรของซิตี้แบงก์ ไม่มีโอกาสที่จะถูกหยิบมาใช้ ซึ่งพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้ต้องการไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรสินค้าที่ไหนก็ได้ และไม่จำเป็นว่าจะเป็นร้านออฟไลน์หรือออนไลน์

เพื่อให้บัตรเป็นที่รู้จักมากขึ้น ซิตี้แบงก์ถึงขนาดยอมทุ่มเม็ดเงินการตลาดกว่า 100 ล้านบาท มากที่สุดในรอบ 3 ปีนับตั้งแต่เปิดตัวบัตรเครดิต ซิตี้ เพรสทีจ ในสื่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยดึงชมพู่อารยา เอ ฮาร์เก็ตต์ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เนื่องจากเห็นว่า ชมพู่มีบุคลิกที่เหมาะกับบัตร จากคาแร็กเตอร์ที่ชื่นชอบการช้อปปิ้งและท่องเที่ยว โดยมีสัญญา 1 ปี

ตั้งเป้าเมื่อถึงสิ้นปีบัตรซิตี้ พรีเมียร์จะมีจำนวนบัตรรายใหม่ทั้งหมดมากกว่า 120,000 ใบ และมียอดใช้จ่ายเฉลี่ย 25,000 บาท/ใบ/เดือน

ปัจจุบันที่ซิตี้แบงก์มีฐานลูกค้าบัตรเครดิตมากกว่า 1 ล้านใบ มียอดแอคทีฟ 90% และมี NPL น้อยกว่าภาพรวมตลาด 50%.

]]>
1187330