ดนตรี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 12 Mar 2023 12:24:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลับมาในรอบ 35 ปี! “แผ่นเสียง” ขายดีแซงหน้า “ซีดี” ในสหรัฐฯ หวนคืนความฮิตในหมู่ Gen Z https://positioningmag.com/1422874 Sat, 11 Mar 2023 12:20:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1422874 โลกอนาล็อกกลายเป็นเสน่ห์ใหม่ เมื่อยอดขาย “แผ่นเสียง” ในสหรัฐฯ สูงขึ้นแซงหน้า “ซีดี” ในปี 2022 แม้ว่ารายได้จากสตรีมมิ่งยังคงมีสัดส่วนสูงสุด แต่ยอดขายสินค้าจับต้องได้เริ่มเห็นการหวนคืนสู่ความนิยมได้อย่างชัดเจน โดยแผ่นเสียงไวนิลที่ขายดีที่สุด 3 อันดับแรกมาจากศิลปินอย่าง Taylor Swift, Harry Styles และ Olivia Rodrigo

สมาคมอุตสาหกรรมการบันทึกเสียงแห่งสหรัฐอเมริกา (RIAA) รายงานรายได้ประจำปี 2022 ของอุตสาหกรรม และพบสถิติใหม่ในรอบกว่า 3 ทศวรรษ เพราะแผ่นเสียงไวนิลทำยอดขายได้มากกว่าแผ่นซีดี

เมื่อปี 2022 แผ่นเสียงทำยอดขายรวม 41 ล้านชิ้น เทียบกับแผ่นซีดีที่ทำยอดขาย 33 ล้านชิ้น ถือเป็นการ “หวนคืนกลับมาอย่างชัดเจน” ของกลุ่มสินค้าทางดนตรีที่จับต้องได้

แผ่นเสียงไวนิลคิดเป็นสัดส่วน 70% ของยอดขายสินค้าดนตรีที่จับต้องได้เมื่อปีก่อน โดยทำรายได้ให้วงการถึง 1,200 ล้านเหรียญ (ประมาณ 41,700 ล้านบาท)

ตั้งแต่ปี 1987 เป็นต้นมา แผ่นเสียงไม่ใช่สินค้านำในตลาดดนตรีอีกต่อไป หลังจากแผ่นซีดีหรือ ‘compact disc’ ปฏิวัติวงการและเข้ามาแทนที่ในสังคมอเมริกัน ในยุคต่อมา ทั้งซีดีและแผ่นเสียงต่างต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงอีกครั้งเพราะแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งดนตรี ก่อนที่จะหวนคืนกลับมาอย่างน่าแปลกใจเมื่อไม่กี่ปีมานี้

มีหลายปัจจัยที่ทำให้ “แผ่นเสียง” คืนกลับสู่ความนิยม ส่วนหนึ่งมาจากคน Gen Z และ Gen Y ที่กลับมาให้ความสนใจแผ่นเสียง ตามรายงานของ Luminate เมื่อปี 2022 พบว่าผู้ฟังดนตรี Gen Z ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะซื้อแผ่นเสียงมากกว่าคนเจนเนอเรชันอื่นๆ ถึง 25%

อีกส่วนหนึ่งต้องขอบคุณช่วงที่เกิดโรคระบาด เพราะทำให้คนอเมริกันเริ่มมองหางานอดิเรกใหม่ๆ ที่ทำได้ที่บ้าน Jason McGuire ผู้จัดการทั่วไปของค่ายเพลง Stones Throw เคยให้สัมภาษณ์กับ Los Angeles Times ไว้เมื่อเดือนมกราคมปีก่อนว่า หลายคนติดอยู่ที่บ้าน ไปไหนไม่ได้ ทำให้พวกเขาเริ่มเปลี่ยนการใช้เงินมาลงทุนกับพื้นที่ในบ้าน และส่วนหนึ่งนั้นก็ลงไปกับการทำห้องฟังเพลงคุณภาพสูง ซึ่งทำให้เครื่องเล่นแผ่นเสียงกลับมามีบทบาทอีกครั้ง จากนั้นเทรนด์ก็ยังคงแรงต่อเนื่องแม้จะพ้นช่วงโรคระบาดมาแล้ว

แผ่นเสียง
อัลบัม Midnights ของ Taylor Swift ทำยอดขายแผ่นเสียงได้สูงที่สุดในปี 2022

แม้ว่าแผ่นเสียงจะกลับมาฮิต แต่แน่นอนว่ารายได้ส่วนใหญ่ 84% ก็ยังมาจากการสตรีมมิ่ง ตามข้อมูลของ RIAA แต่เทรนด์ยอดขายแผ่นเสียงไวนิลก็ยังพุ่งขึ้นอยู่

สำหรับศิลปินที่เป็นผู้นำตลาดแผ่นเสียงเมื่อปี 2022 ได้แก่ Taylor Swift, Harry Styles และ Olivia Rodrigo ซึ่งเป็น 3 อันดับแรกศิลปินที่ขายแผ่นเสียงได้มากที่สุด ตามข้อมูลจาก Luminate อย่างไรก็ตาม ในกลุ่ม Top 10 ศิลปินที่ขายแผ่นเสียงได้มากที่สุดยังคงมีชื่อศิลปินร็อคคลาสสิคติดอันดับอยู่ เช่น The Beatles หรือ Fleetwood Mac

Luminate ยังรายงานด้วยว่า เมื่อเดือนตุลาคมปี 2022 Taylor Swift เปิดขาย “Midnights” อัลบัมใหม่ของเธอโดยออกมาหลายเวอร์ชัน ทำให้เธอขายแผ่นบันทึกเสียงรวมทุกรูปแบบได้ 1.58 ล้านชิ้น ภายในเวลาเพียงสัปดาห์เดียว และถือเป็นการขายอัลบัมในช่วงเปิดตัวได้สูงที่สุดในรอบ 7 ปี

Source

]]>
1422874
ดนตรีเยียวยาทุกสิ่ง! ยอดขายกีตาร์ ‘Fender’ พุ่งกระฉูดหลังคนหาอะไรทำช่วง COVID-19 https://positioningmag.com/1307075 Sun, 22 Nov 2020 12:55:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1307075 หากพูดถึงของฟุ่มเฟือยหรือของที่ไม่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่าง ‘กีตาร์’ หลายคนคงต้องคิดว่า COVID-19 ต้องเล่นงานธุรกิจเหล่านั้นเป็นแน่ แต่ในความเป็นจริงแล้วกลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง หรือไม่ก็เฉพาะกับ ‘Fender Musical Instruments Corp.’ หรือ ‘เฟนเดอร์’ แบรนด์ผู้ผลิตกีตาร์ในตำนานที่ถือกำเนิดตั้งแต่ปี 1938

Andy Mooney ซีอีโอของ Fender

ตั้งแต่เกิดการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ 90% ของร้านค้าตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกต้องปิดเช่นเดียวกับศูนย์กระจายสินค้าของผู้ขายออนไลน์หลายแห่ง รวมถึงโรงงานผลิตของ Fender ในโคโรนา แคลิฟอร์เนีย, เอนเซนาดา เม็กซิโก และสำนักงานใหญ่ในสกอตส์เดล รัฐแอริโซนาที่ต้องปิดตัวลง ส่งผลให้บริษัทต้องลดเงินเดือนพนักงานกว่า 2,000 คนถึง 50% เพื่อรัดเข็มขัด

Andy Mooney ซีอีโอของ Fender กล่าวว่า ในช่วง COVID-19 รายได้ของ Fender สร้างสถิติใหม่โดยทำได้ถึง 700 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตเกือบ 17% จากที่แล้ว ซึ่งการเติบโตดังกล่าวเกิดจากช่วงกักตัวที่ทำประชาชนไม่สามารถใช้ชีวิตนอกบ้านได้ ซึ่งกลายเป็นโชคดีของ Fender ที่เมื่อปี 2017 บริษัทนั้นได้สร้างแพลตฟอร์ม ‘Fender Play’ ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์สำหรับการเรียนกีตาร์, เบสและอูคูเลเล่ เนื่องจาก 45% ของยอดขายสินค้ามาจากผู้เล่นครั้งแรก

ส่งผลให้ในช่วงกักตัวมีผู้ลงชื่อเข้าใช้ Fender Play กว่าครึ่งล้านคนในสัปดาห์แรก และมีผู้ติดตามประมาณ 930,000 คนภายในเดือนมิถุนายน บริษัทรายงานว่าเกือบ 20% ของผู้เข้าใช้รายใหม่อายุต่ำกว่า 24 ปีและ 70% อายุต่ำกว่า 45 ปี ผู้ใช้หญิงคิดเป็น 45% ขณะที่มือใหม่ที่เข้ามาใช้งานเพิ่มขึ้น 30% ก่อนการระบาด

ในขณะเดียวกัน Fender ก็เห็นยอดขายของ Stratocasters, Telecasters, Jazzmasters, Precision Basses และกีตาร์ไฟฟ้ารุ่นสัญลักษณ์อื่น ๆ พุ่งสูงขึ้นพร้อมกับยอดสั่งซื้อกีตาร์โปร่ง, อูคูเลเล่, ลำโพง, อุปกรณ์บันทึกเสียงในบ้าน และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยสินค้าที่ราคาต่ำกว่า 500 เหรียญเติบโตขึ้น 92% ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคม-กลางเดือนตุลาคม ส่วนใหญ่เป็นกีตาร์โปร่งที่ผู้เริ่มต้นซื้อทางออนไลน์ ผู้เล่นที่มีประสบการณ์มากขึ้นจะเลือกซื้อกีต้าร์ไฟฟ้าราคาแพงกว่าตั้งแต่ 700 เหรียญไปจนถึง 3,300 เหรียญ

และเมื่อ Fender เปิดโรงงานอีกครั้งในเดือนเมษายนที่ผ่านมา บริษัทได้ว่าจ้างคนงานที่ถูกเลิกจ้างและเพิ่มการเปลี่ยนแปลงพิเศษเพื่อให้ทันกับความต้องการ นอกจากนี้ยังมีสินค้าคงคลังที่เพียงพอเพื่อรองรับการขายออนไลน์ที่ท่วมท้นซึ่ง Fender ได้เปิดอีคอมเมิร์ซของตัวเองตั้งแต่ปี 2015 โดยปัจจุบันคิดเป็น 70% ของยอดขายทั้งหมด

“เครื่องดนตรีสำหรับมือใหม่บางรุ่นมีการเติบโตถึง 3 หลัก และสถานการณ์ COVID-19 ได้ตอกย้ำความสำคัญของผู้เล่นมือใหม่”

Source

]]>
1307075
Warner Music เดินหน้า “ไอพีโอ” หลัง “สตรีมมิ่ง” เป็นขุมทองใหม่แห่งวงการดนตรี https://positioningmag.com/1281016 Thu, 28 May 2020 09:42:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281016 ค่ายเพลง Warner Music Group ต้นสังกัดศิลปินดังอย่าง Ed Sheeran เดินหน้าเปิดไอพีโอ ระดมทุนจากตลาดหุ้น โหนกระแสสตรีมมิ่งมาแรง ตีมูลค่าบริษัทสูงถึง 1.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม COVID-19 คือปัจจัยลบ ทำให้ปีนี้รายได้อาจหดตัวลงหลังคอนเสิร์ตถูกยกเลิกทั่วโลก

ค่ายเพลง Warner Music Group บริษัทต้นสังกัดของศิลปินระดับโลก เช่น Ed Sheeran, Cardi B, Led Zeppelin ฯลฯ ประกาศเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2020 ว่า บริษัทจะเดินหน้าเข้าไอพีโอในตลาดหุ้น NASDAQ โดยประเมินมูลค่าบริษัทไว้สูงถึง 1.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2011 บริษัทนี้ถูกเข้าซื้อกิจการโดย Access Industries บรรษัทขนาดใหญ่ภายใต้การนำของ Len Blavatnik มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ซึ่งในขณะนั้น อุตสาหกรรมดนตรีอยู่ในห้วงวิกฤตทั่วโลกจากการรุกรานของโลกอินเทอร์เน็ต

 

View this post on Instagram

 

A post shared by Cardi B (@iamcardib) on

สำหรับแผนไอพีโอของ Warner Music Group จะเปิดขายหุ้นทั้งหมด 70 ล้านหุ้น คิดเป็น 13.7% ของจำนวนหุ้นสามัญ ในราคาระหว่าง 23-26 เหรียญต่อหุ้น สะท้อนการประเมินมูลค่าบริษัทไว้ที่ 1.17-1.33 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

หุ้นที่จะจำหน่ายเป็นสัดส่วนหุ้นของ Access Industries ทั้งหมด และบริษัทดังกล่าวจะเป็นผู้รับรายได้จากการขายหุ้น รวมถึงยังคงอำนาจการออกเสียงในฐานะเจ้าของ 99% ของ Warner Music Group (บริษัทมีการถือหุ้นทางอ้อมด้วย)

 

ธุรกิจดนตรีกลับมาผงาด

การขายหุ้น Warner Music Group เพื่อทำกำไรการลงทุนของบริษัทแม่ ฉายภาพการฟื้นคืนชีพของธุรกิจดนตรีหลังจากอุตสาหกรรมนี้ค่อยๆ ทรุดตัวลงตั้งแต่ปี 2001 เมื่อแผ่นซีดีเข้ามาดิสรัปต์ ตามด้วยการมาของอินเทอร์เน็ต ทำให้ยอดขายเทปและแผ่นเพลงแบบออฟไลน์ลดลงต่อเนื่อง

แต่วงการดนตรีฟื้นตัวเมื่อบริการ “สตรีมมิ่ง” ดนตรีได้รับความนิยม ทำให้นักลงทุนกลับมาอีกครั้ง ยกตัวอย่างเช่น เมื่อปีที่แล้ว Tencent Holdings จากจีนเข้าลงทุนสัดส่วนหุ้น 10% ใน Universal Music Group ในราคาที่สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทตีมูลค่า Universal Music Group ไว้สูงกว่า 3.3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะที่ สมาพันธ์อุตสาหกรรมการบันทึกเสียงสากล (IFPI) ประเมินว่าวงการนี้ฟื้นตัวอย่างเต็มที่ เพราะเมื่อปี 2019 อุตสาหกรรมดนตรีทั่วโลกทำรายได้รวมกันกว่า 2.02 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเมื่อปี 2014 ที่วงการเพลงทำรายได้ไป 1.4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และโตขึ้นจากปี 2019 ที่ 6.3%

สตรีมมิ่ง : ขุมทองใหม่ฟื้นคืนชีพให้กับค่ายเพลง

ปัจจุบัน 80% ของบริษัทเพลงอเมริกันเห็นว่าบริการสตรีมมิ่งเป็นแหล่งรายได้หลัก เทียบกับเมื่อทศวรรษที่แล้ว แทบไม่มีค่ายเพลงไหนนับธุรกิจสตรีมมิ่งเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้ของตัวเองเลย (ในประเทศไทย GMM Music รายงานว่ารายได้จากดิจิทัลคิดเป็น 28% ของรายได้รวมเมื่อปีก่อน) แพลตฟอร์มนี้กลายเป็น ‘ขุมทองใหม่’ ให้กับบริษัทบันทึกเสียงและผู้จัดจำหน่ายจากการเก็บค่าลิขสิทธิ์เพลง อย่างไรก็ตาม มีข้อท้วงติงจากศิลปินจำนวนมากที่มองว่าส่วนแบ่งค่าลิขสิทธิ์จากบริษัทสตรีมมิ่งตกมาถึงตนเพียงหยิบมือ

Warner Music Group ก็เช่นกัน เมื่อรอบปีบัญชีที่แล้ว (สิ้นสุดกันยายน 2019) บริษัทนี้ทำรายได้จากบริการสตรีมมิ่งไป 4.5 พันล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นจากรอบปีบัญชีปี 2015 ที่มีรายได้สตรีมมิ่ง 3 พันล้านเหรียญ

อย่างไรก็ตาม โรคระบาด COVID-19 กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงของวงการดนตรี ทำให้ Warner Music Group เลื่อนการเปิดไอพีโอมาจากเดิมที่จะเข้าเทรดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และความเสี่ยงนี้ได้ถูกระบุลงไปในรายงานการเปิดขายหุ้น

Goldman Sachs รายงานเมื่อเดือนเมษายนด้วยว่า โรคระบาดจะฉุดรายได้ของค่ายเพลงทั่วโลกลง 25% ปีนี้ เนื่องจากไม่สามารถจัดการแสดงสดได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารายได้จะฟื้นตัวกลับมาในปีหน้า

Source

]]>
1281016
New Normal วงการเพลง “แสตมป์” นำร่องจัดคอนเสิร์ตผ่าน Zoom บัตรเกลี้ยงภายใน 18 ชม. https://positioningmag.com/1277166 Thu, 07 May 2020 09:58:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277166 ตั้งแต่เริ่มใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมงดการจัดกิจกรรมขนาดใหญ่ ทำให้วงการดนตรีเหงาหงอยไปถนัดตา แต่ล่าสุด “แสตมป์-อภิวัชร” ศิลปินดังและเจ้าของค่ายเพลง 123Records ออกไอเดียทดลองจัดคอนเสิร์ตเสมือนจริงบนโลกออนไลน์ แม้จะไม่ได้เจอตัวจริงแต่บัตร 1,000 ใบก็ขายเกลี้ยงภายใน 18 ชั่วโมง

แสตมป์-อภิวัชร เอื้อถาวรสุข ประกาศจัดคอนเสิร์ต “Stamp แอบดู Birthday Live” เนื่องในโอกาสฉลองวันเกิดครบรอบ 38 ปีของเจ้าตัว แต่เนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้งานครั้งนี้เลือกจัดเป็นคอนเสิร์ตเสมือนจริง (Virtual Concert) บนโลกออนไลน์แทน โดยเปิดขายบัตรทั้งหมด 1,000 ใบ ราคาใบละ 380 บาท

ที่ผ่านมา ศิลปินดนตรีหลายท่านจัด Live คอนเสิร์ตจากบ้านหรือสตูดิโอให้ชมกันฟรีๆ มากขึ้น หลังจากคอนเสิร์ตและงานจ้างตามอีเวนต์หรือผับบาร์ถูกยกเลิกหรือเลื่อนออกไปตามมาตรการภาครัฐ แต่คอนเสิร์ตที่กำลังจะเกิดขึ้นของแสตมป์-อภิวัชร น่าจะเป็นงานแรกๆ ในไทยที่จัดแบบออนไลน์โดยมีค่าเข้าชม

ปกติแล้วสเน่ห์ของคอนเสิร์ตคือความ “สด” และการได้สัมผัส “ประสบการณ์จริง” ทั้งศิลปินตัวจริงบนเวที ดนตรีสด แสงสีเสียงเอฟเฟกต์ระหว่างการแสดง การสื่อสารระหว่างกันของผู้แสดงกับคนดู รวมถึงบรรยากาศของสถานที่และผู้ชมรอบตัว ทั้งหมดทำให้การไปคอนเสิร์ตเป็นความทรงจำที่แฟนๆ ยอมจ่าย น่าสนใจว่าคอนเสิร์ตเสมือนจริงจะเก็บเสน่ห์เหล่านี้ไว้ได้มากแค่ไหน

แม้ว่าจะยังไม่แน่ใจถึงประสบการณ์ที่จะเกิดขึ้น แต่บัตร 1,000 ใบของคอนเสิร์ต “Stamp แอบดู Birthday Live” ก็ขายเกลี้ยงภายใน 18 ชั่วโมงหลังเปิดขายวันที่ 5 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยวันงานจะจัดขึ้นจริงวันที่ 13 พฤษภาคม 2563 เวลา 19.00 น. ถ่ายทอดผ่านแอปพลิเคชัน Zoom และคาดว่าจะถ่ายทอดการแสดงดนตรีกันเต็มอิ่มเป็นเวลา 2 ชั่วโมง

แฟนๆ ที่จองบัตรทันจะได้รับลิงก์และรหัสเฉพาะบุคคลสำหรับเข้าชมคอนเสิร์ตผ่านทางอีเมลที่ลงทะเบียนไว้ และประตูเข้าฮอลล์จะเปิดก่อนแสดงจริง 1 ชั่วโมงในวันงาน ส่วนท่านใดที่จองทันแต่ไม่ว่างมาชมในเวลาดังกล่าว ระบบจะมีการบันทึกเทปและสามารถนำรหัสเข้ามาชมย้อนหลังได้ด้วย

หนทางหนีตายของวงการเพลง

วงการบันเทิงทั้งศิลปิน ค่ายเพลงต่างๆ ล้วนได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ ไม่ว่าจะเป็นการปิดสถานบันเทิง งดงานอีเวนต์ ทำให้รายได้ในส่วนนี้หายไปทันที และมีการคาดการณ์ว่างานอีเวนต์ไม่น่าจะกลับมาฟื้นตัวได้ในเร็ววัน อย่างเร็วต้องช่วงปลายไตรมาส 3 ของปี หรือไม่ก็เริ่มจัดงานได้อีกทีช่วงต้นปีหน้า

เพราะฉะนั้นคนในวงการเพลงต้องทำการปรับตัว และปรับกลยุทธ์เพื่อให้อยู่รอดในยุคของ COVID-19 ไม่ว่าจะจัดอีเวนต์ออนไลน์ หรือสร้างคอนเทนต์เพื่อเอ็นเกจกับแฟนๆ อยู่ตลอด

การที่แสตมป์จัดคอนเสิร์ตบนช่องทางออนไลน์เรียกว่าเป็นกรณีศึกษารายแรกๆ ที่ได้นำร่องจัดคอนเสิร์ตแบบเสียค่าตั๋ว เชื่อว่าในอนาคตจะต้องมีศิลปิน หรือค่ายเพลงอื่นๆ ทีต้องขยับมาทำคอนเสิร์ตออนไลน์กันมากขึ้น ราคาบัตรอาจจะไม่ถึงหลักหลายพันเหมือนกันงานคอนเสิร์ตจริงๆ แต่ก็ยังทำให้แฟนๆ ได้ติดตามศิลปินได้ และยังเป็นการหารายได้อีกทางหนึ่งในช่วงนี้อีกด้วย

แจ้งเกิดออแกไนซ์ออนไลน์

งานคอนเสิร์ตแต่ละครั้งย่อมมีโปรโมเตอร์ในการจัดคอนเสิร์ต แต่เมื่ออีเวนต์บนโลกออฟไลน์ต้องหยุด เป็นหนทางที่จะแจ้งเกิดโปรโมเตอร์ หรือออแกไนซ์ออนไลน์อย่างเต็มตัวอย่างแน่นอน

คอนเสิร์ตของแสตมป์ในครั้งนี้ได้ดำเนินการโดย GOFISH LIVE เรียกว่าเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวพร้อมกับงานนี้เลยก็ว่าได้ ได้วางโมเดลธุรกิจ “รับออกแบบ Virtual Event & Live Event Streaming” เรียกว่าเกิดมาพร้อมยุค COVID-19

ภายในเว็บไซต์ได้ระบุขอบเขตงาน ได้แก่

1. คิดและออกแบบการนำเสนอของ Live Event Streaming
2. คิดและออกแบบ graphic และ motion ใน Live Event Streaming
3. จัดทำ artwork ในการโปรโมตทุกช่องทาง
4. จัดทำ rerun video หลังจบ Live Event Streaming

เป็นเรื่องที่น่าคิดเหมือนกันว่า แม้หลายๆ ธุรกิจจะต้องหยุดนิ่ง แต่กลับมาหลายธุรกิจที่พร้อมจะเกิดในช่วงวิกฤต ต้องติดตามชมกันว่าบรรยากาศคอนเสิร์ตเสมือนจริงจาก แสตมป์-อภิวัชร จะเป็นอย่างไร!

]]>
1277166
ก้าวทันดิจิทัล! Radiohead เปิด “ห้องสมุดออนไลน์” คลังสะสมผลงานเพลง-อีพีหาฟังยาก https://positioningmag.com/1261467 Tue, 21 Jan 2020 17:40:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1261467 ก้าวทันยุคดิจิทัลจริงๆ เมื่อวงดังระดับตำนานจากเกาะอังกฤษ “Radiohead” เปิดตัว “ห้องสมุดสาธารณะทางออนไลน์” ให้เเฟนเพลงเข้าถึงคลังข้อมูล อัลบั้ม มิวสิควิดีโอ ไลฟ์การแสดง บริการสตรีมมิ่ง รวมไปถึงปล่อยเพลงหายาก เเถมช่วงเเรกสมาชิกในวงยังจะผลัดกันมาทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์เองด้วย…

ยิ่งเก่ายิ่งหาฟังยาก…Radiohead Public Library จะมาเพื่อเเก้ไขปัญหานี้เพราะทางเว็บไซต์จะมีคลังข้อมูลเเบบถาวร รวมทุกอัลบั้ม ทุกมิวสิควิดีโอ การแสดงสด ทั้งคอนเสิร์ตเเละทีวี งานศิลปะ จดหมายข่าว แทร็ก B-Sides
เเละให้เเฟนคลับได้สั่งสินค้าเกี่ยวกับวงเเบบพิเศษทางออนไลน์ด้วย

โดยยังได้อัปโหลดเพลงที่ไม่สามารถใช้งานได้ก่อนหน้านี้ในบริการสตรีมมิ่ง รวมถึงการปล่อยเพลงหายากอย่าง ‘Drill’ อีพีเดบิวต์ในปี 1992, เพลง ‘I Want None of This’ จากอัลบั้มรวมฮิตเพื่อการกุศล ‘Help!: A Day in the Life’ ในปี 2005 และ ‘TKOL RMX 8’ รีมิกซ์อีพีในปี 2011

ห้องสมุดออนไลน์ของ Radiohead ยังเปิดให้ผู้เข้าชมสามารถทำบัตรสมาชิกห้องสมุด Radiohead ของตัวเอง
เเละดาวน์โหลดเก็บไว้เป็นที่ระลึกได้ (ไม่ได้ขอข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ด้วย)

พิเศษยิ่งไปอีก เมื่อสมาชิกวงทุกคน ทั้ง Colin เเละ Jonny Greenwood, Ed O’Brien, Philip Selway
เเละ Thom Yorke จะผลัดกันมาทำหน้าที่ “บรรณารักษ์” ของห้องสมุดออนไลน์ คนละ 1 วัน จนถึงวันที่ 24 มกราคมนี้ เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่คัดสรรผ่านโซเชียลมีเดียของวง โดยเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา Colin ก็ได้มาลงรายการเพลงที่ตัวเองรวบรวมไว้ พร้อมด้วยความเห็น รูปภาพ และบัตรห้องสมุดของเขาด้วย

เเฟน ๆ ไปเยี่ยมชมห้องสมุดสาธารณะออนไลน์ของวง Radiohead กันเลยที่นี่ https://radiohead.com/library/

ที่มา : theverge

]]>
1261467
เเฟนคลับส่งพลังโซเชียล 10 ศิลปิน K-pop ที่มีคนพูดถึงบนทวิตเตอร์มากที่สุดปี 2019 https://positioningmag.com/1260562 Wed, 15 Jan 2020 08:30:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1260562 โลกทวิตเตอร์กำลังขับเคลื่อนด้วยพลังเเฟนคลับ ด้วยบทสนทนาเกี่ยวกับ K-pop ครองสถิติใหม่ทั่วโลกกว่า 6.1 พันล้านทวีตในปี 2019 เพิ่มขึ้นถึง 15% จากปี 2018 เเละประเทศไทยก็ครองเเชมป์ทวีตถึงวงการเพลงเกาหลีมากที่สุดในโลก 

โดยเเอคเคาท์ของกลุ่มศิลปินมากความสามารถอย่าง BTS (@bts_twt) ครองตำแหน่ง ‘Golden Tweet’ ที่มีผู้กล่าวถึงบนทวิตเตอร์ถึงมากที่สุดในปีที่ผ่านมา พร้อมสร้างกระเเสที่โด่งดังไปทั่วโลก

วงการ K-pop เริ่มได้รับความนิยมในเกาหลีใต้ตั้งเเต่ 25 ปีที่เเล้ว เเละไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ฮอตฮิตเเบบฉุดไม่อยู่ ไม่เพียงเเต่ในเอเชียเท่านั้นเเต่ยังขยายไปทั่วโลก จากปัจจัยหลายอย่างทั้งสื่อสังคมโซเชียล กระเเสดนตรีป็อป เเละความนิยมของศิลปินทั้งหลาย

เเละนี่คือ 10 ประเทศที่ทวีตเกี่ยวกับ K-pop มากที่สุดในปี 2019 โดยประเทศไทยครองเเชมป์อย่างลอยลำ ตามมาด้วยเจ้าถิ่นอย่างเกาหลีใต้ เเละอินโดนีเซีย สหรัฐฯ ฟิลิปปินส์ ตามลำดับ

ต่อมาเป็น 10 อันดับแอคเคาท์ศิลปิน K-Pop ที่มีคนพูดถึงมากที่สุดปี 2019 หนุ่มๆ BTS ขวัญใจยังคงครองตำแหน่งแชมป์ตามความคาดหมาย ตามมาด้วย EXO และ GOT7 , MONSTA X, BLACKPINK, Seventeen, แบคฮยอน EXO, NCT 127, TOMORROW x TOGETHER และ แบมแบม GOT7

ส่วน 10 เเอคเคาท์ศิลปิน K-Pop ที่เติบโตเเละมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด ปี 2019 ได้เเก่ 4 สาวจากวง Blackpink ที่มีศิลปินสาวไทย “ลิซ่า ลลิษา มโนบาล” เป็นหนึ่งในสมาชิก ตามมาด้วยการรวมตัวของศิลปินหนุ่มเเห่งค่าย SM อย่าง SuperM เเละกลุ่มศิลปินรุ่นน้องอย่าง TXT, Stray Kids, WayV, Ateez, X1, Itzy, AB6IX และ (G)I-dle

ด้วยพลังเเห่งเทพมักเน่ของ “จองกุก BTS” ที่เต้นเพลง “Bad Guy” ของ Billie Eilish กลายเป็นโพสต์ที่ถูกรีทวีตมากที่สุดในปี 2019 โดยคลิปดังกล่าวได้กลายเป็น “Golden Tweet” ที่มียอดรีทวิตแล้วประมาณ 1.1ล้านทวีต เเละกดชื่นชอบกว่า 2.4 ล้านครั้ง มียอดวิวกว่า 28.4 ล้านครั้ง

ในปี 2019 ทวิตเตอร์มีความพยายามที่จะสร้างปฏิสัมพันธ์กับเหล่าแฟนคลับ K-pop ซึ่งเป็นฐานผู้ใช้จำนวนมหาศาลโดยพวกเขาได้สร้างสถิติใหม่ด้วยแฮชแท็ก #TwitterBestFandom ซึ่งถูกใช้ทวีตในช่วงที่มีการโหวตรางวัลประจำปี Soompi Awards ครั้งที่ 14 โดยมีผู้ใช้ทวีตไปกว่า 60 ล้านครั้งภายใน 24 ชั่วโมง ขณะที่ SuperM เป็นกลุ่มศิลปินที่การถ่ายทอดสดบน Twitter Blueroom และมีผู้ชมมากที่สุดในปี 2019 โดยมีผู้ชมมากกว่า 2 ล้านคน

เพื่อสร้างสีสันให้เเก่วงการ K-pop ให้เชื่อมกับสังคมออนไลน์มากขึ้นยิ่งไปอีก ทางทวิตเตอร์มีเเผนสร้างคอนเทนต์คุณภาพด้วยการเป็นพันธมิตรกับอีเวนต์ K-Pop ต่าง ๆ เช่น Soompi Awards, KCON และ MAMA พร้อมกับเหล่าศิลปินมากมาย เพื่อช่วยขยายอิทธิพลของวงการนี้ไปทั่วโลกต่อไปด้วย

#KpopTwitter #ThisHappened

]]>
1260562
No Music No Life ปิดตำนาน King Solomon ผู้ก่อตั้ง Tower Records https://positioningmag.com/1160771 Fri, 09 Mar 2018 00:15:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1160771 (ภาพจาก Rolling Stone)

ค่ำคืนของวันประกาศผลออสการ์ ที่คนส่วนใหญ่ต่างจดจ้องไปกับผลว่าภาพยนตร์เรื่องไหน หรือดาราคนใดจะคว้ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ไปได้ แต่พื้นที่สื่อส่วนหนึ่งกลับพร้อมใจกันรายงานข่าวการเสียชีวิตของ Russ Solomon ชายชราวัย 92 ปี ที่เสียชีวิตหน้าจอโทรทัศน์ด้วยอาการหัวใจวายขณะที่กำลังดื่มวิสกี้พร้อมกับชมการประกาศผลรางวัลออสการ์

Russ Solomon ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับออสการ์แม้แต่น้อย แต่เหตุผลที่สื่อส่วนใหญ่ต่างพร้อมใจกันลงข่าว เพราะเขาคือบุคคลในตำนานแห่งวงการเพลงระดับโลก กับการสร้างอาณาจักรที่เป็นจักรวาลของศิลปินและคนฟังเพลงในชื่อ Tower Records ตัวแทนจำหน่ายแผ่นเสียง ซีดี และคาสเซตต์ ที่ครั้งหนึ่งเคยยิ่งใหญ่สามารถสร้างรายได้สูงถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

Solomon ในวัยรุ่น ความมุ่งมั่นของเขาไม่ได้อยู่ที่ดนตรีแม้แต่น้อย เขาสนใจและศึกษาอย่างจริงจังในเรื่องการถ่ายภาพ แม้กระทั่งตอนที่เข้าร่วมกับกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เขายังคาดหวังในตำแหน่งช่างภาพประจำกองทัพ แต่เขากลับได้ไปทำงานในส่วนของช่างเทคนิคเรดาร์แทน

ภาพจาก Rolling Stone

ในปี 1960 ด้วยเงินที่ยืมมาจากพ่อของเขาจำนวน 5000 เหรียญสหรัฐ  Solomon ได้ก่อตั้ง Tower Records ขึ้นในบ้านเกิดของเขาที่ซาคราเมนโต แคลิฟอร์เนีย ถึงแม้จะเป็นรายขายแผ่นเสียง แต่ Solomon ก็ได้ทำสิ่งที่แตกต่าง ด้วยการนำโมเดลซูเปอร์มาร์เก็ตมาปรับใช้ โดยรวบรวมดนตรีทุกรูปแบบมาไว้ด้วยกัน และจัดวางสินค้าบนเชลฟ์ และขยายเวลาปิดร้านถึงเที่ยงคืน เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงดนตรีให้ได้มากที่สุด และที่สำคัญ คือ พนักงานที่เป็นคนรักดนตรี การมาที่ Tower Records จึงเหมือนกับเป็นการมาเจอเพื่อนที่ชื่นชอบในสิ่งเดียวกัน

และนี่กลายเป็นกุญแจที่เปิดประตูสู่ความสำเร็จ และ Tower Records ก็กลายเป็นอาณาจักรที่ทรงอำนาจ พร้อมขยายสาขาไปทั่วสหรัฐอเมริกา รวมถึงสาขาในซานฟรานซิสโก ซึ่งได้รับการจดบันทึกว่าเป็นร้านขายแผ่นเสียงที่ใหญ่ที่สุดด้วยพื้นที่ 6000 ตารางฟุต ก่อนจะเปิดสาขาแรกในต่างประเทศเมื่อปี 1980 ที่ลอนดอน ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด Tower Records มีสาขาทั่วโลก 271 สาขา และรายได้สูงสุดอยู่ที่ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิตอล พฤติกรรมการฟังเพลงเปลี่ยน จากแผ่นเสียง คาสเซตต์ และซีดี กลายเป็นรูปแบบของไฟล์ที่สามารถดาวน์โหลดลงอุปกรณ์ จนในที่สุด Tower Records ก็ไม่สามารถปรับตัวไปกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการเพลงได้ ก่อนที่จะเริ่มล้มละลายในปี 2004 และปิดตัวในปี 2006

หลังธุรกิจได้ปิดตัวลง Solomon หันกลับมาหาการถ่ายภาพ อีกหนึ่งสิ่งที่เขาชื่นชอบ แต่ทิ้งมันไปนับตั้งแต่ไฮสคูลอีกครั้ง เขาได้ร่วมกับเมืองซาคราเมนโต้ในการจัดงานแสดงภาพถ่ายที่บอกเล่าถึงผู้คนที่เป็นตำนานของเมือง และยังสะสมงานศิลปะจำนวนมากในบ้านขนาด 2 ห้องนอน แต่มีพื้นที่มากถึง 4,000 ตารางฟุตนั่นเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้านเป็นผนังโล่งๆ ไว้สำหรับจัดแสดงงานศิลปะก่อนที่เขาจะจากไปอย่างสงบในบ้านหลังนี้.

]]>
1160771
หมดยุคมิวสิกเฟสติวัลแบบเดิม ยุคนี้ต้องมี วิดีโอเกม หนัง ถึงจะเอาอยู่ https://positioningmag.com/1153236 Thu, 11 Jan 2018 00:15:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153236 แกนหลักจัดงานนี้คือ เมลาณี ตันติวานิช เอ็กเซ็กคิวทีฟ โปรดิวเซอร์บริษัทดรอปโซน เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด 

เมลาณี เปิดเผยว่า จากแนวโน้มงานเทศกาลดนตรี หรือมิวสิกเฟสติวัลแนวอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เฉลี่ยเติบโตถึง 60% และไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพ จึงรวมกลุ่มกับเพื่อนที่เป็นโปรดิวเซอร์ และทำงานทางด้านหนังเพลง วิดีโอเกม ทั้งต่างชาติและไทย  จัดมิวสิกเฟสติวัลแนวใหม่ ที่คนมาร่วมงานจะได้ประสบการณ์ใหม่ไม่ใช่ด้านเพลงอย่างเดียว เช่น คนมาร่วมงานได้เล่นเกมเป็นหนึ่งในตัวละครวิดีโอเกม มีเพลงป็นอาวุธ โดยฉากเสมือนในหนัง Sci-fi

ทีมงานที่มีผลงานระดับโลกเช่น Switch Audiovisuals เบื้องหลัง Sonor Barcelona ร่วมกับ Ledscontrol ผู้สร้างเวที Garuda ของ DWP และคลับดังอย่าง Zouk สิงคโปร์ Space และ Amnesia ที่อีบีซา ในสเปน และยังมีผู้ร่วมสร้าง Tomorrowland และ Primavera Sound

งานนี้ไม่ใช่จัดแค่ปีเดียว แต่วางแผนจัดต่อเนื่อง 5 ปี ปี 2561-2565 ใช้งบปีแรก 100 ล้านบาท พอมีสปอนเซอร์แล้ว คาดไม่ขาดทุน และตั้งเป้าปี 2 ขึ้นไป มีรายได้เพิ่มเท่าตัว 

เมลาณีกล่าว 

5 ปีนี้มีความหมาย เพราะธุรกิจมิวสิกเฟสติวัลต้องมีความต่อเนื่อง โดยปีแรกหวังผลเรื่องการสร้างมิวสิกเฟสติวัลแนวนี้ให้เป็นที่รู้จัก มีกลุ่มเป้าหมายเป็นทั้งที่เป็นคอเกม ชอบหนัง ทั้งไทยและต่างชาติ และจะมีแผนไปจัดในต่างประเทศด้วย

งานนี้บัตรราคาเริ่มต้น 3,500 บาท จัดขึ้น 2-3 มีนาคมนี้ ที่วันเดอร์เวิร์ล เอ็กซ์ตรีม ปาร์ค ถนนรามอินทรา คาดมีผู้ร่วมงาน 20,000 คน สำหรับสปอนเซอร์รายใหญ่ขณะนี้ คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไทยแอร์เอเชีย ทรูวิขั่นส์ ธนาคารกรุงเทพ

เมลาณี เพิ่งจบด้านฟิล์ม จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย เป็นบุตรสาวของ วิเชฐ ตันติวานิช อดีตรองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาองค์กรธุรกิจใหญ่หลายแห่งรวมทั้งบริษัทไทยเบฟเวอเรจ โดย วิเชฐ บอกว่าได้คำแนะนำว่าการทำงานนี้อาจเจอเรื่องไม่คาดมาก่อน ก็ให้ค่อยๆ แก้ปัญหา โดยส่วนตัวก็ช่วยให้คำปรึกษาบ้าง ในส่วนสปอนเซอร์ก็ยังต้องหาเพิ่มเติม

**หมดยุคมหกรรมดนตรีแบบเดิม 

... รุจยาภา อาภากร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายปฏิบัติการ บริษัทเฟรชแอร์ เฟสติวัล กล่าวว่า ถึงเวลาของเจนเนอเรชั่นใหม่ ไอเดียใหม่ ที่ตนเองและคุณวินิจอาจไม่เคยคิดมาก่อน และสมัยนี้ One Time Event ก็จบแล้ว งานมหกรรมดนตรีต้องต่อเนื่องหลายปี ในแบบที่มีเนื้อหาใหม่และต้องออกนอกประเทศ

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่ช่วยทำให้รู้ได้ว่าผู้บริโภคต้องการอะไร ต้องใช้เพื่อหาข้อมูลได้ถูกต้อง

วินิจ เลิศรัตนชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรชแอร์ เฟสติวัล ผู้ร่วมจัดงานนี้ เปิดเผยว่า มิวสิกเฟสติวัลแบบเดิมหมดยุค เพราะผู้ชมไม่ว่าวัยใด กลุ่มเป้าหมายใด ก็ต้องการคอนเทนต์ใหม่จากในงาน ไม่ใช่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกปี เพราะยุคนี้เปลี่ยนไปมาก คนมีไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่คนสนใจ อย่างเฟรชแอร์ก็ไม่จัดมานาน 4-5 ปีแล้ว ส่วนงานนี้ของดรอปโซน เฟรชแอร์ร่วมช่วยทางด้านการจัดการอีเวนต์ในประเทศ เช่น โลจิสติกส์ สถานที่ เป็นต้น.

]]>
1153236