ตลาดความงาม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Oct 2020 14:46:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มองตลาดบิวตี้ไทย ผ่านมุม Yves Rocher รีเเบรนด์ใหม่รอบ 60 ปี สู่ “สวยรักษ์โลก” ยุคดิจิทัล https://positioningmag.com/1300040 Wed, 07 Oct 2020 11:09:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300040 “ตลาดความงาม” ในไทยยัง “เหนื่อยหนัก” จากเดิมเป็นตลาดที่เเข็งเเกร่งเเห่งหนึ่งในโลกเเละเอเชีย มูลค่าตลาดรวมของธุรกิจความงามและเครื่องสำอางในไทยอยู่ที่ 7.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี มีการเติบโตต่อเนื่องราว 7-8% เเต่ว่าปีนี้กลับได้รับผลกระทบมากที่สุดในรอบทศวรรษ จากการเเพร่ระบาดของ COVID-19

วันนี้ Positioning ฉายภาพตลาดบิวตี้เมืองไทย ผ่านมุมมองของ Yves Rocher (อีฟ โรเช่) เเบรนด์อันดับ 1 จากฝรั่งเศสที่อยู่ยาวนานกว่า 60 ปี เข้ามาตีตลาดไทยกว่า 23 ปี เเล้ว เเละกำลังมีการเคลื่อนไหวเเบบยกเครื่องใหม่ ด้วยการ “รีแบรนดิ้งและทรานส์ฟอร์ม ครั้งใหญ่ คว้าโอกาสเทรนด์ “สวยรักษ์โลก” ให้คนไทยได้รู้จักความเป็น
เเบรนด์วีเเกน 100% ไปพร้อมๆ กับการขยายฐานลูกค้าไปสู่ “คนรุ่นใหม่” ผ่านเเพลตฟอร์มดิจิทัล

ตลาดความงามไทย ปีนี้ “ไม่โต” 

Yves Rocher เป็นเเบรนด์ที่ทำตลาดทั้งระดับเเมสเเละเฉพาะกลุ่ม มีสาขาทั้งเเบบเคาน์เตอร์เเละสเเตนด์อโลน มีไลน์สินค้าทั้งกลุ่มสกินเเคร์, กลุ่ม Hair Hygiene ดูเเลเส้นผม, เครื่องสำอาง (เมคอัพ) เเละน้ำหอม ซึ่งการที่มีสาขากว่า 120 เเห่งในไทยนั้น ก็ได้รับผลกระทบหนัก เมื่อต้องปิดชั่วคราวในช่วงล็อกดาวน์ 

วิลาสินี ภาณุรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาด อีฟ โรเช่ (ประเทศไทย) เล่าว่า ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคมที่ผ่านมา กลุ่มสินค้าที่ “ติดลบ” มากที่สุดคือ เครื่องสำอาง ที่ยอดขายลดลงไปถึง 40% เเละในตลาดโลกก็ติดลบ 30% จากปกติที่กลุ่มเมคอัพจะโตทุกปีราว 9-10% ส่วน น้ำหอม ยอดขายลดลง 10% เพราะลูกค้ามองว่าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยในช่วงที่ไม่ได้ออกจากบ้าน

“เคาน์เตอร์เเบรนด์ ก็ได้รับผลกระทบเหมือนลักชัวรีเเบรนด์ เพราะพึ่งพาลูกค้าหลักเป็นนักท่องเที่ยว ของเราบางสาขาที่อิงลูกค้าต่างชาติอย่าง เซ็นทรัลเวิลด์เเละไอคอนสยาม ก็จะโดนผลกระทบเยอะ”

เมื่อก่อนคนซื้อลิปสติกตามอารมณ์ เเต่ตอนนี้คิดเยอะขึ้น ลูกค้าถามตัวเองมากขึ้นว่า จำเป็นต้องใช้หรือไม่ กลายเป็นซื้อตามเหตุผลมากขึ้น

ส่วนตลาดที่เติบโตขึ้นเเบบไม่คาดคิดเลยคือ กลุ่มสินค้า Hair Hygiene เพราะที่ผ่านมาอยู่ในจุด “อิ่มตัว” ไปเเล้ว บางปีโตเเค่ 1-2% หรือติดลบด้วยซ้ำไป เเต่พอมี COVID-19 เข้ามา สินค้ากลุ่มนี้กลับเป็นสิ่งที่ลูกค้ามองว่าจำเป็นเพราะต้องการดูเเลรักษาความสะอาดร่างกายมากขึ้น โดยตลาดรวมของ Hair Hygiene โตขึ้นมากถึง 9-10%

หลังจากที่ Yves Rocher เริ่มบุกตลาดดูเเลเส้นผมมาตั้งเเต่ปีที่เเล้ว บวกกับอานิสงส์โรคระบาด ก็ถือว่าเป็นกลุ่มสินค้าที่ “โตเร็วที่สุด” ของเเบรนด์ประมาณ 54%

ตอนนี้ถ้าพูดถึงสินค้าของ Yves Rocher ส่วนที่เป็นกลุ่มเเฮร์ ตอนนี้ดังที่สุดเเล้ว รวมถึงสินค้าประเภทครีม
อาบน้ำเเละการทำความสะอาด ก็มีเเนวโน้มการเติบโตที่ดีมาก ดีมานด์เยอะ เเละมองว่าจะเป็นไปเรื่อยๆ เเม้จะผ่านวิกฤต COVID-19 ไปเเล้วก็ตาม

ส่วน “สกินเเคร์” ซึ่งเป็นสินค้าหลักของ Yves Rocher ได้รับผลกระทบพอสมควร ติดลบไป 30% เเต่ไม่ได้ลดลงด้วยเหตุผลเดียวกับเมคอัพเเละน้ำหอม เนื่องจากลดลงเพราะผู้คนไม่ได้ออกไปช้อปปิ้ง “มีดีมานด์อยู่เเต่ไม่มีโอกาสซื้อ” เเม้จะมีช่องทางขายออนไลน์ เเต่ยอดขายก็ไม่เท่าในร้านที่ลูกค้าอาจจะหยิบซื้อสินค้าอื่นๆ เพิ่มโดยไม่ได้ตั้งใจ

กลุ่มสกินเเคร์ ติดลบในช่วงล็อกดาวน์ เเต่เป็นกลุ่มที่กลับมาฟื้นตัวเร็วที่สุด คาดว่าสิ้นปีนี้น่าจะกลับมาเป็นบวก เพราะพอเปิดสาขาได้เเล้ว คนก็เเห่มาซื้อเหมือนเดิม ยิ่งเมื่อคนต้องใส่หน้ากากกันอยู่ การซื้อเมคอัพก็ยังน้อยลง เเต่มาให้ความสำคัญกับการบำรุงผิวมากขึ้น

ผู้บริหาร Yves Rocher คาดว่าทั้งปี 2020 ตลาดบิวตี้ไทยโดยรวมน่าจะติดลบหรือทรงตัว ดีที่สุดคือบวก 1-2% กลุ่มเครื่องสำอางยังไม่น่าจะกลับมา เพราะเมื่อกลุ่มลิปสติกร่วง กลุ่มอื่นก็ร่วง คนจะเน้นไปที่การเเต่งตามากกว่า เเต่เป็นสัดส่วนที่น้อยกว่ากลุ่มอื่น โดยทุกบริษัทความงามตอนนี้ กำลังหานวัตกรรมเครื่องสำอางใหม่ๆ ที่เข้ากับ New Normal ทาเเล้วไม่เลอะหน้ากาก เเต่ตอนนี้ยังไม่มีวางขาย จึงมองว่าตลาดความงามทั้งปีนี้น่าจะติดลบ

ส่วนปีหน้ายังมองด้วยความหวัง เเม้จะยังคาดเดายากเเต่ตลาดนี้อย่างไรผู้หญิงก็ไม่หยุดสวย ต้องกลับมาเเน่นอน เเต่รูปแบบอาจจะเปลี่ยนแปลงไป

เมื่อคนไทยเดินห้างลดลง หลังคลายล็อกดาวน์มาราว 3 เดือนกว่า พบว่า ทราฟฟิกของลูกค้าที่กลับมาช้อปปิ้งที่ห้างสรรพสินค้ามีเเค่ 50% ยังไม่รวมส่วนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป จึงเป็นจุดที่ฉุดให้ตลาดบิวตี้ยังฟื้นตัวยาก เพราะยังพึ่งพาตลาดออฟไลน์เยอะ เพราะบางสินค้าจุดขายมันอยู่ที่การได้ลองไม่ว่าออนไลน์จะโตขนาดไหน ณ ขณะนี้

“Yves Rocher จะเริ่มปรับตามพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป เมื่อคนปรับจากซื้อโดยใช้อารมณ์ เป็นใช้เหตุผลมากขึ้น หน้าที่ของเเบรนด์ จึงกลายเป็นการหาเหตุผลให้ลูกค้าว่าทำไมต้องซื้อสิ่งนี้

โดยช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2020 นี้ Yves Rocher มีเเผนจะผลักดันกลุ่มที่เติบโตไวอย่างHair Hygiene” ให้มากยิ่งขึ้นไปอีก เเละจะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมา พร้อมโปรโมตเรื่องการดูเเลความสะอาดไม่ให้กระเเสหายไป เเละจะเน้นไปที่การบุกตลาดสกินเเคร์ ตามเเนวโน้มตลาดที่ฟื้นตัว

รักษ์โลก…ให้คนรู้ Yves Rocher ขอรีเเบรนด์ใหญ่ รอบ 60 ปี 

อีกเทรนด์ที่น่าสนใจคือ ตอนนี้ลูกค้าเริ่มใส่ใจว่าอะไรอยู่ในขวด มาจากไหน อะไรบ้าง ทำให้ต้องซื้อเเบรนด์ที่เชื่อใจได้ เป็นโอกาสของเเบรนด์ Yves Rocher ที่จะชูจุดเเข็งของเเบรนด์ที่มีความเป็นมากว่า 60 ปี เป็นแบรนด์ความงามอันดับ 1 จากฝรั่งเศสเเละมีชื่อเสียงในยุโรป มาเจาะใจตลาดคนไทยให้รู้จักกันมากขึ้น

เเม้ Yves Rocher จะเปิดในไทยมากว่า 23 ปีเเล้วเเต่ก็ยังไม่เเมสมากนัก ถึงคราวที่เเบรนด์จะรีแบรนดิ้งและทรานส์ฟอร์ม ครั้งใหญ่ ปรับตัว ปรับภาพลักษณ์ให้ทันสมัย ดึงดูดและสร้างการรับรู้ของคนรุ่นใหม่ยุคดิจิทัลมากขึ้น

เดิมที Yves Rocher มุ่งเน้นตลาดไปยังลูกค้า Loyalty ที่ใช้แบรนด์ต่อเนื่อง โดยกลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ 300,000 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 39 ปี เเต่การรีเเบรนด์ครั้งนี้ จะขยายกลุ่มลูกค้าไปยังวัยทำงานรุ่นใหม่ ที่มีอายุเฉลี่ยที่ประมาณ 25-31 ปี ซึ่งมีเเนวโน้มมาใช้สินค้ามากขึ้น หลังเเบรนด์เริ่มบุกทำการตลาดออนไลน์อย่างจริงจัง

“Yves Rocher เป็นเเบรนด์วีเเกน 100% เป็นเรื่องราวของเเบรนด์ที่อยากให้คนรับรู้เเละเข้าถึงมากขึ้น ตอกย้ำจุดยืนแบรนด์รักษ์โลก โดยมีการปฏิรูปการออกแบบบรรจุภัณฑ์ตามแนวคิด Eco Design มานานหลายปีมาแล้ว ตอนนี้เราจึงผลิตขวดพลาสติกที่ใช้รีไซเคิลต่อได้ 100% ทำให้ลดการใช้พลาสติกไปได้ถึง 35 ตันต่อปี 

ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2020 เป็นต้นไป ขวดที่ผลิตออกมาจากโรงงานของ Yves Rocher จะเป็นพลาสติกรีไซเคิลที่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ 100% ซึ่งกำลังจะทยอยวางจำหน่ายที่หน้าร้านมากขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มทุกชั้นในทุกไลน์ผลิตภัณฑ์ โดยที่ผ่านมา Yves Rocher ผลิตขวดพลาสติกมากถึง 135 ล้านขวดต่อปี

นอกจากนี้ การรีเเบรนด์ของ Yves Rocher จะครอบคลุมไปถึงการปรับ Mood & Tone ของผลิตภัณฑ์และภาพลักษณ์โฆษณาต่างๆ ให้มีสีสันสดใสขึ้น เเต่ยังคงเน้นความเป็นธรรมชาติ ป่าเเละมหาสมุทร ที่ได้แรงบันดาลใจจากบ้านเกิดของแบรนด์ ที่เมืองลา กาซิลี แคว้นบริตทานี ฝรั่งเศส เป็นการแสดงความหมายของ ธรรมชาติแบบโมเดิร์นขึ้น และมีความแอคทีฟ เพื่อสื่อถึงความเป็น “ Activistมากยิ่งขึ้น

“เราลดการใช้สารต่างๆ ในสูตรผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ลด Carbon Footprint จากโรงงานผลิตให้มากขึ้นทุกปี ที่ทำได้ก็เพราะ Yves Rocher ไม่มีตัวกลางในสายการผลิต เราปลูกเอง วิจัยเอง ผลิตเอง”

สำหรับเเคมเปญ ‘สวยโลกไม่เสีย’ จะมีการต่อยอดไปในปีต่อๆ ไป อย่าง การเปิดบริการ “รีฟิล” เติมสินค้าที่ร้านให้ใช้บรรจุภัณฑ์ให้ใช้ซ้ำได้ การใช้ Cardboard Box รุ่นใหม่ ที่เป็น Recycle Paper ซึ่งมาจาก Sustainability Forest รวมถึงป้ายต่างๆ ในร้านที่จะเอาพลาสติกออกทั้งหมด เป็นต้น

ลดสาขา มุ่งทำตลาดดิจิทัล 

ผู้บริหาร Yves Rocher ย้ำว่า การรีแบรนด์ครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การเปลี่ยนโลโก้หรือเปลี่ยนแพ็กเกจจิ้ง แต่เป็นการเปลี่ยนทั้งแนวคิดและแนวทางการทำธุรกิจ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคดิจิทัล

โดยช่วงต้นปีมีการเปลี่ยน “ทีมงานใหม่” เเทบจะยกชุด เพื่อปรับรูปแบบขึ้นมาสื่อสารบนออนไลน์มากขึ้น ขยายทีมงาน โดยเฉพาะในสายงาน Digital Marketing ที่เป็น คนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า ตามกลยุทธ์บุกตลาดดิจิทัลจริงจัง

ทั้งนี้ การนำผลิตภัณฑ์ในพอร์ตของ Yves Rocher ทำตลาดชิงรุกในช่องทางขายใน E-Marketplace อย่าง Lazada (60%) Shopee (33%) และ Konvy (7%) ทำให้แบรนด์มีอัตราการเติบโตยอดขายในช่องทางออนไลน์สูงถึง 357%

เเผนต่อไปหลักๆ คือ Digitalized Omni-Channel เชื่อมโยงออฟไลน์-ออนไลน์ ที่ได้เริ่มทำมาตั้งแต่หลัง COVID-19 เช่น โปรแกรมที่กำลังจะเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายนนี้ อย่างการขายด้วยรูปแบบโซเชียลเซลลิ่ง (Social Selling) ที่จะสามารถเพิ่มรายได้เสริมจากการแชร์ข้อมูลสินค้าไปบน Social Media Platform
ของสมาชิก

ขณะที่กลยุทธ์ด้านสาขานั้น ปัจจุบันมีหน้าร้านราว 120 สาขา แต่ในปีนี้จะปรับลดเหลือ 88 สาขา โดยเลือกปิดสาขาที่ทำเลไม่ตรงกับตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ โดยบริษัทวางเป้ารายได้เติบโตคงที่เท่าปี 2019 อยู่ที่ประมาณ 900 ล้านบาท ซึ่งถือว่าน่าพอใจเเล้วในสถานการณ์นี้

“เราตั้งเป้าจะเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่อีกราว 1 เเสนคน ก่อนสิ้นปี 2020 ด้วยกลยุทธ์ Omni-Channel และ CRM หวังว่าจะเพิ่มฐานลูกค้าในกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ได้มากขึ้น ช่วยผลักดันฐานรายได้ เเละหวังว่ายอดขายเติบโตเท่าตัวได้ภายใน 3 ปี คาดว่ายอดขายปี 2021 จะโตขึ้น 7% โดยแบ่งเป็นตลาดออนไลน์ 40% ตลาดออฟไลน์ 60%” 

นอกจากนี้ แบรนด์ยังเตรียมทำการตลาดผ่าน “พรีเซ็นเตอร์ใหม่” เพิ่มอีกถึง 2 คนในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในแบรนด์ ทั้งในแง่ของการพรีเซนต์สินค้าและการทำกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย 

ผู้บริหาร Yves Rocher ปิดท้ายด้วยมองความท้าทายในตลาดไทยว่า หลักๆ เป็นเรื่องการสร้างการรับรู้เเละการทำให้รู้จักของเรื่องราวเเบรนด์ให้มากขึ้น ส่วนความสามารถในการเเข่งขันนั้นมองว่า “สู้ได้สบาย”

โดยการที่ผู้คนเริ่มหันมาใส่ใจความสะอาด สุขภาพเเละสิ่งเเวดล้อมมากขึ้น รวมถึงเทรนด์ผู้บริโภคที่ “ยอมจ่ายเพื่อเเบรนด์ที่เป็นมิตรกับโลก” ซึ่งจะอยู่ต่อไปในอนาคต นับเป็น “โอกาสทอง” ของ Yves Rocher ที่มีจุดเเข็งเป็นแบรนด์ความงามที่แสดงจุดยืนอย่างเป็นรูปธรรมในฐานะของแบรนด์รักษ์โลกมายาวนาน 60 ปี เเละมีราคาที่เข้าถึงได้อยู่เเล้ว ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ คือ “ให้คนรู้จักความเป็น Yves Rocher มากขึ้น” นั่นเอง 

 

 

]]>
1300040
จับตา New Normal วงการความงาม “ลอรีอัล” รุกเทรนด์ใหม่ Beauty Behind Mask https://positioningmag.com/1278749 Fri, 15 May 2020 12:20:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1278749 ธุรกิจความงามได้รับผลกระทบไม่น้อยจาก COVID-19 เเต่ดูจะมี “ความหวัง” ที่จะกลับมาฟื้นอีกครั้ง มากกว่าธุรกิจที่กำลังทรุดหนักอย่างภาคท่องเที่ยวหรือการบิน เพราะความงามล้วนเป็นสิ่งใกล้ตัวผู้คนมากกว่า มีผลต่อการใช้ชีวิตเเละจิตใจ

ในเมืองไทย เราเริ่มสวมใส่หน้ากากอนามัยกันมาตั้งเเต่ช่วงปัญหาฝุ่น PM 2.5 เเละกลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในช่วงการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เเม้การเเต่งหน้าภายใต้หน้ากากจะดูยุ่งยากขึ้น เเต่เราก็ยังเเต่งหน้ากันอยู่ ก็เพราะเป็นเรื่องของ “ความมั่นใจ” นั่นเอง

สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ก่อให้เกิด New Normal ของวงการความงามที่เหล่าเเบรนด์ต่างๆ ต้องปรับตัวให้ทัน นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองวีถีชีวิตใหม่ของผู้คน

“อินเนส คาลไดรา” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด ให้ความเห็นถึงประเด็น New Normal อุตสาหกรรมความงามเเละกลยุทธ์ฝ่าวิกฤต COVID-19 ที่เธอยอมรับว่าหนักหนาสาหัสที่สุดในชีวิตการทำงาน 19 ปีของเธอเลยทีเดียว

ความงามเเบบใหม่ : New Beauty Behind Mask 

เเม่ทัพใหญ่เเห่งลอรีอัล (ประเทศไทย) มองโอกาสการเจาะตลาดความงามที่เปลี่ยนเเปลงในมุมที่น่าสนใจว่า การที่ผู้คนต้องต้องใส่หน้ากากในที่สาธารณะทำให้เกิด New Normal เป็นรูปแบบความงามใหม่ อาจเรียกได้ว่า “New Beauty Behind Mask” หรือความงามใหม่ภายใต้หน้ากาก ซึ่งคนจะหันมาให้ความสำคัญกับการดูเเลความสะอาดของผิวพรรณ บำรุงผิวมากขึ้นเพราะความเสี่ยงจากแบคทีเรียสะสมกระทบผิวหน้า

โดยในตอนนี้ กลุ่มสินค้าที่ตกแต่งดวงตาอย่างพวกอายไลเนอร์ มาสคาร่า กำลังมาแรง ลอรีอัลกำลังวางเเผนที่จะคิดค้น “ลิปสติกแบบใหม่” รวมถึงกลุ่มสินค้าเมคอัพดวงตาเเละคิ้ว เเละเน้นพัฒนาสินค้าดูแลเเละทำความสะอาดผิวภายใต้การสวมหน้ากาก

อินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด

เธอเชื่อว่าความงาม ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนให้ความสนใจ เพราะความงามไม่ใช่เเค่เรื่องภายนอกเท่านั้น เเต่เครื่องสำอางมีผลต่อจิตใจ ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้เเต่ละบุคคล ถึงเเม้จะไม่ได้เดินทางไปข้างนอกหรือพบเจอผู้คน เราก็ยังเเต่งหน้าเพื่อความสบายใจ คนที่ต้อง Work from Home เมื่อมีประชุมออนไลน์ ก็ยังต้องการความดูดีอยู่

“ความสวยไม่เพียงทำให้ผู้บริโภครู้สึกดี เเต่ยังเปลี่ยนอารมณ์ของผู้คนได้ด้วย ยิ่งในช่วงเกิดโรคระบาด คนต้องการกำลังใจ ดังนั้นสินค้าความงามจึงมีบทบาทพิเศษ มากกว่าการตกเเต่งใบหน้า เเต่เป็นการการมองเห็นคุณค่าในตัวเองหรือ Self Esteem ด้วย”

เหล่านี้เป็นเหตุผลหลักๆ ที่ธุรกิจความงามจะฟื้นกลับมาได้ หากปรับตัวให้ทันเเละเหมาะสม เเม้ต้องเจอวิกฤตหนักเเค่ไหนก็ตาม

สำหรับภาพรวมตลาดความงามไทยที่มีมูลค่ากว่า 2 เเสนล้านบาท อินเนส ประเมินว่าธุรกิจความงามจะได้รับผลกระทบจาก COVID-19 อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยในเดือน เม.ย. ตลาดยังอยู่ใน “แดนลบ” เพราะสถานการณ์ยังไม่เอื้อกับการขายสินค้า เช่นกลุ่มสินค้ากันเเดด ก็จะไม่เติบโต เเม้จะเป็นหน้าร้อนเเต่คนต้องอยู่บ้าน เเละธุรกิจกลุ่มเส้นผมของลอรีอัล อย่างเเบรนด์ L’Oréal Professionnel เเละ KERASTASE ที่เคยเติบโต 2.5% ในปีนี้ก็มีแนวโน้มว่าจะเติบโตต่ำกว่าเดิม

โดยผลประกอบการของ “ลอรีอัล กรุ๊ป” ประจำไตรมาส 1 ปี 2020 ยอดขายทั่วโลกลดลง 4.8% สวนทางกับยอดขายตลอดปี 2019 ที่เติบโตถึง 8% ทุบสถิติในรอบทศวรรษ เรียกได้ว่ากำลังไปได้สวย เเต่มาสะดุดมรสุม COVID-19 นั่นเอง

ซาลอนฟื้นง่าย คนโหยหาร้านทำผม

แผนการตลาดระยะสั้นที่ลอรีอัลกำลังดำเนินการอยู่ขณะนี้ คือมาตรการช่วยเหลือ “ร้านซาลอน” หรือร้านทำผม หลังต้องปิดทำการในช่วงมาตรการล็อกดาวน์ เเละเพิ่งจะได้กลับมาเปิดร้านได้ เเต่ยังคงจำกัดบริการเเค่ตัด-สระ-ไดร์

โดยลอรีอัลมีเครือข่ายผู้ประกอบการร้านซาลอนทั่วประเทศราว 1,200 ราย จากภาพรวมธุรกิจร้านซาลอนในไทยมีประมาณ 1.2 แสนร้าน มูลค่าตลาดราว 6 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่รายได้ 70% ของร้านมาจากการทำสีผม ดัดผม ซึ่งตอนนี้ยังให้บริการไม่ได้

สำหรับโปรแกรม Salon Solidarity Program จะช่วยให้ช่างทำผมได้พัฒนาตัวเองทั้งเรื่องของทักษะทางวิชาชีพ มีการจัดสอนเทคนิคผ่านช่องทางไลฟ์สตรีมมิ่ง ส่งเสริมความปลอดภัยทางสุขภาพที่เพิมเติมขึ้นมาในช่วงนี้ รวมทั้งเสริม Digital Skill การตลาดออนไลน์ของร้านตัดผมเพื่อช่วยผลักดันธุรกิจ

โดยเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาทางลอรีอัลได้ “พักชำระหนี้” ให้กับร้านค้าในเครือข่าย รวมถึงเป็นตัวกลางติดต่อแอปพลิเคชัน “จองคิว” เพื่อทำให้ร้านทำผมสามารถจัดคิวลูกค้าได้เหมาะสมตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

“ในฐานะที่ลอรีอัลเป็นบริษัทใหญ่ที่มีอายุกว่า 110 ปี มีผลิตภัณฑ์เเรกเป็น “น้ำยาเปลี่ยนสีผม” ดังนั้นจึงต้องเข้ามาช่วยเหลือพาร์ตเนอร์ของเราเหล่าร้านซาลอน ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็กที่ต้องขาดรายได้ ต้องช่วยให้เขาสามารถอยู่รอดไปได้เพราะมีผู้คนอยู่ในอุตสาหกรรมนี้ถึง 5 เเสนคน มีผู้เกี่ยวข้องกว่า 2 ล้านคน ซึ่งมีผลอย่างมากต่อระบบเศรษฐกิจ”

ภาพเปรียบเทียบการจัดอบรมช่างผมของลอรีอัลในสมัยก่อน ปี 1952 เเละการสอน E-Training ในปี 2020 ที่มีการเเพร่ระบาดของ COVID-19

จากผลสำรวจของลอรีอัล ที่สอบถามความเห็นผู้บริโภคชาวไทย 1,060 คน ระหว่างวันที่ 3 เม.ย. – 4 พ.ค. พบว่า กว่า 85% ของผู้ตอบแบบสำรวจรู้สึกถึงความจำเป็นในการใช้บริการทำผมที่ร้านในช่วงล็อกดาวน์ตามด้วย 70% รู้สึกว่าการไม่สามารถรับบริการจากช่างผมได้ ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะและความมั่นใจของตนเอง เเละกว่า 40% ของผู้ชายรู้สึกว่าการไม่สามารถรับบริการจากช่างผม กระทบความมั่นใจและสุขภาวะตนเอง

ส่วนบริการที่ต้องการมากที่สุด 38% คือทำสีและไฮไลต์ ตามด้วย 27% อยากดัดผม หลังร้านเปิดเต็มรูปแบบ

โดย 41% รู้สึกมั่นใจที่จะได้ใช้บริการตัดผม เสริมสวยอีกครั้ง และ 78% อยากกลับไปใช้บริการซาลอนในสัปดาห์แรกที่เปิด เเละ 44% จะไปใช้บริการทันทีที่ร้านเปิดบริการเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ผู้บริโภค 2 ใน 3 เชื่อว่าร้านจะปฏิบัติตามมาตรการรัฐอย่างถูกต้อง เช่น รักษาระยะห่าง สร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภค

“ในช่วงกักตัว จะเห็นว่าบัตตาเลี่ยนตัดผม ขายดีในออนไลน์ เพราะคนจำเป็นต้องตัดผมเองที่บ้าน เเต่มองว่าจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะไม่ว่าอย่างไรผู้คนยังเชื่อใจที่จะตัดผมกับช่างผมมืออาชีพมากกว่า”

โดยผู้บริหารลอรีอัล เชื่อว่าเมื่อร้านซาลอนกลับมาเปิดได้เต็มรูปแบบ จะมีลูกค้ามาใช้บริการทำสีผม ดัดผมหรือตัดผมทรงใหม่อย่างเนืองเเน่น เพราะคนมีความอึดอัดเเละรอมานาน ดังนั้นร้านซาลอนเองก็ต้องปรับตัวเเละหาวิธีรองรับเรื่องความปลอดภัยให้ลูกค้าอย่างดีที่สุด

อยากอยู่รอด ต้องปรับตัวเร็ว 

ดังที่เกริ่นไว้ข้างต้นว่าวิกฤต COVID-19 ครั้งนี้เป็นงานหินที่หนักสุดในชีวิตการทำงาน 19 ปีของ “อินเนส คาลไดรา” ก่อนเข้ามานั่งเเท่นนำทัพลอรีอัล ประเทศไทยได้ 2 ปี เธอเคยผ่านวิกฤตมาหลายครั้ง อย่างวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ ช่วงปี 2007-2008 เเต่ครั้งนั้นเป็นผลกระทบด้านการเงินมากกว่าที่จะกระทบผู้บริโภคทั่วไปอย่าง COVID-19

เธอมองว่าธุรกิจความงามในช่วงนี้ “จะทำแบบเดิมไม่ได้ ต้องมีการปรับเเผนเเละดูสถานการณ์สัปดาห์ต่อสัปดาห์มาตรการรัฐก็เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง”

โดยลอรีอัล มีการปรับตัวในวิกฤติครั้งนี้ ทั้งในแง่ยอดขายและการทำงานภายในองค์กร เช่น เริ่มจากการทำงาน Work from Home และปรับการดำเนินงานตามความต้องการของคู่ค้า อย่างการเพิ่มช่องทางจัดจำหน่าย E-Commerce ทีมฝ่ายขายที่เคยต้องไปเยี่ยมลูกค้า ก็เปลี่ยนเป็น E-Visit มีการทำ E-Training เป็นต้น

“ธุรกิจมี 2 ทางเลือกไม่ตายก็ต้องอยู่รอด ซึ่งผู้ที่อยู่รอดต้องปรับตัวให้เร็วที่สุด นี่คือสิ่งที่ทำให้ลอรีอัลยังคงเป็นผู้นำความงามโลกเรื่อยมา”

]]>
1278749
ส่องเทรนด์ตลาดความงามเอเชีย 2020 โอกาสเครื่องสำอางผู้ชาย-ลุคธรรมชาติมาเเรง  https://positioningmag.com/1258620 Thu, 26 Dec 2019 07:38:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258620 พฤติกรรมผู้บริโภคชาวเอเชียได้เปลี่ยนไป จากแต่ก่อนคำว่า “ความสุข” ผู้คนมักให้ความสำคัญกับการมีเงินที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันสิ่งที่พวกเขามองหาเเละให้ความสำคัญคือ “การมีสุขภาพที่ดี”

ขณะเดียวกันธุรกิจความงามก็ไม่ได้มุ่งไปที่กลุ่มลูกค้าเฉพาะผู้หญิงอีกต่อไป เมื่อยุคนี้มีลูกค้าผู้ชายที่ใส่ใจภาพลักษณ์เเละดูเเลตัวเอง เพิ่มขึ้นจำนวนมาก จึงเป็นโอกาสดีสำหรับแบรนด์ในการขยายไลน์ผลิตภัณฑ์ “สำหรับผู้ชาย” เเละผลิตภัณฑ์ความงามแบบ Personalization หรือ Customization ก็กำลังจะมาแรงในปี 2020

จากรายงาน Beauty Trends in Asia ของ Kantar บริษัทด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดกล่าวถึงสิ่งที่จะขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดความงามในเอเชียของปีหน้าว่า ความเป็นธรรมชาติที่ช่วยให้ผู้บริโภคมีสุขภาพผิวที่ดี เครื่องสำอางในลุคธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ความงามสำหรับผู้ชาย มียอดขายผลิตภัณฑ์ด้านความงามเพิ่มขึ้นถึง 8% ระหว่างปี 2017 – 2018 เทียบกับผลิตภัณฑ์ FMCG ที่เพิ่มขึ้นเพียง 4% สินค้า Personal Care ในเอเชียยังคงแซงหน้าตลาด FMCG ทั้งหมด

เทรนด์ตลาดความงามเอเชีย 

Derma-care

ผลิตภัณฑ์ Derma-care ได้รับความนิยมมากขึ้น แบรนด์ผลิตภัณฑ์ Derma-care รุกตลาดเกาหลีเกือบ 45% จากเดิม 25% ในปี 2017 ถือเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย ส่วนอันดับ 2 คือไต้หวันที่ 40% เพิ่มขึ้นจาก 37.6 ในปี 2017

ผลิตภัณฑ์ Derma-care มีความสามารถในการให้ประสิทธิภาพระดับสูงสำหรับการรักษาปัญหาผิวที่เฉพาะเจาะจง เช่น ผิวหนังอักเสบ แต่ก็ถูกนำมาใช้มากขึ้นในการแก้ปัญหาผิวทั่วไปสำหรับผิวบอบบางและการป้องกันมลพิษ มีการออกผลิตภัณฑ์ Derma-care ใหม่เพิ่มขึ้น จากเดิมตลาดเป้าหมายเป็นเพียงแค่กลุ่ม Niche แต่ทุกวันนี้การค้าปลีกและช่องทางการจัดจำหน่ายสมัยใหม่ ได้ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ Derma-care ได้จำหน่ายนอกร้านขายยา

Natural Beauty

“ผิวโกลสุขภาพดี” เป็นลุคที่ต้องการมากที่สุดสำหรับชาวเอเชีย ความชุ่มชื่นคือความจำเป็นสำหรับลุคนี้ ทำให้ยอดขายเซรั่มที่มอบความชุ่มชื่นอย่างเข้มข้นเพิ่มขึ้น สูงถึง 61% จาก 58% ในปี 2017 ถือเป็นตัวเลขสูงที่สุดในเอเชีย  ขณะที่จีนเพิ่มขึ้นจาก 18% ในปี 2017 เป็นเกือบ 26% 

ในวันนี้ ลุคที่ “เป็นธรรมชาติ” ต้องใช้เครื่องสำอางที่ช่วยมอบความโปร่งแสง ได้แก่ รองพื้นแบบน้ำ บีบีครีม ไพรเมอร์ และคอนซีลเลอร์ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก

โดย Kantar คาดว่าเครื่องสำอางที่ให้คุณประโยชน์ด้านการดูแลผิวจะมีการเติบโตในอนาคต ซึ่งผลิตภัณฑ์ “Crossover” ระหว่างผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและเครื่องสำอางได้มีการวางจำหน่ายแล้ว อย่างเช่น ครีมโทนเนอร์ที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใสขึ้นทันที การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไว้ใกล้กับผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในจีน แม้พวกเขารู้ว่าเม็ดสีในเครื่องสำอางอาจเป็นอันตราย

Men-only

จำนวนผู้ชายที่ใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งเอเชีย โดยเฉพาะจากจีน เกาหลีใต้ และไทย พวกเขาเพิ่มการซื้อผลิตภัณฑ์ในหมวดอื่นๆ เพราะขั้นตอนการบำรุงผิวมีหลายขั้นตอนยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนมากก็ยังไม่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ และกลุ่มนี้ยังเติบโตช้ากว่าผลิตภัณฑ์บำรุงผิวแบบ Unisex

ผู้ชายในช่วงอายุ 20 ปี มักจะซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิว Men-only แต่เมื่อพวกเขาอายุมากขึ้นก็จะเริ่มใช้ผลิตภัณฑ์อะไรก็ได้ ดังนั้นมีโอกาสเติบโตอย่างมากสำหรับแบรนด์ที่จะปรับเปลี่ยนการใช้ผลิตภัณฑ์ Unisex ไปเป็น Men-only เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ชายเหล่านี้ “Lapsing” เมื่อเขามีอายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผลิตภัณฑ์ควบคุมความมันต่อต้านริ้วรอย ไวท์เทนนิ่ง และกันแดด

 

Customization

ผู้บริโภคในเอเชียเชื่อว่าหากผลิตภัณฑ์ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับเขาโดยเฉพาะ จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นและยังทำให้เขารู้สึกพิเศษ “Customization” ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็งทั้งในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวและเครื่องสำอาง การวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีช่วยให้สามารถวิเคราะห์สภาพผิวและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มอบประโยชน์เฉพาะสำหรับผิวแต่ละบุคคลได้ เครื่องสำอางที่สามารถปรับสีและเนื้อสัมผัสได้ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน

กลยุทธ์ชนะใจผู้บริโภคยุคใหม่ในเอเชีย 

จากแนวโน้มตลาดความงามเเละสุขภาพดังกล่าว สรุปได้เป็น 5 กลยุทธ์ให้ธุรกิจต่างๆ นำไปประยุกต์ใช้เพื่อเจาะตลาดกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ในเอเชียได้ ดังนี้ 

  • มีความเป็นธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบโจทย์การบำรุงผิวที่ล้ำลึก และมอบคุณค่าทาง Health และ Wellness
  • พัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ เข้าใจไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป “ใช้ง่าย” และ “รวดเร็ว” คือสิ่งที่คนเอเชียกำลังมองหา
  • มอบประสบการณ์ใหม่ด้วยผลิตภัณฑ์ Cross-over ลุคแบบธรรมชาติต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้นที่ผนวกเครื่องสำอางเข้ากับผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
  • ให้ผู้บริโภครู้สึก Exclusive ผู้บริโภคในทุกวันนี้ไม่ได้ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาสำหรับทุก พวกเขาต้องการสิ่งที่เหมาะกับเขาโดยเฉพาะ หรือต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความเป็น Personalization
  • มอบคุณประโยชน์ที่ผู้บริโภคชายกำลังมองหา พวกเขาแสวงหาประสิทธิภาพที่มีความล้ำลึกยิ่งขึ้น ต่อต้านริ้วรอยและไวท์เทนนิ่ง คือสิ่งที่ควรค่าแก่การผสนผสาน

เจาะตลาดความงามในไทยอย่างไร? 

ชีวานนท์ ปิยะพิทักษ์สกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ประเทศไทยและมาเลเซีย แนะนำกลยุทธ์ในการชนะตลาดความงามในไทยโดยแบรนด์ต้องคำนึงถึง 2 มุมหลัก คือ ผลิตภัณฑ์และการสื่อสาร โดยผลิตภัณฑ์จะต้องเชื่อมโยงกับคำว่า Health และ Wellness โดยผสานความเป็นธรรมชาติเข้าไป 

“สำหรับคำว่า ความเป็นธรรมชาติ ของคนไทยไม่ใช่แค่เรื่องของส่วนประกอบจากธรรมชาติ แต่ยังคำนึงถึงความมีประสิทธิภาพที่ล้ำลึกและมีสารปรุงแต่งน้อยที่สุด ผลิตภัณฑ์ยังต้อง ‘More Customized’ ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะเจาะจงยิ่งขึ้น เช่น ป้องกันปัญหามลพิษฝุ่น PM 2.5 ที่มีต่อผิวตอบโจทย์ความต้องการถึงระดับตัวบุคคล ” 

สำหรับการสื่อสารต้องมุ่งเน้นไปที่ ‘Holistic Health Benefits’ คือการสื่อสารให้เห็นคุณประโยชน์ต่อสุขภาพแบบองค์รวม ตอบโจทย์ความต้องการทางด้าน Functional และ Emotional เพื่อสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก ดังนั้นแบรนด์ต้องเข้าใจ Insight ผู้บริโภค และกำหนดกลยุทธ์โดยมี Customer Centric เพื่อเติมเต็มความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป

 

 

]]>
1258620
JSL ลุยตลาดความงาม เปิดแบรนด์ Ali ลดความเสี่ยงธุรกิจมีเดีย https://positioningmag.com/1253054 Sat, 09 Nov 2019 16:05:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253054 ภาพ : facebook.com/pg/alinaturalliving

JSL ผันตัวเป็นแม่ค้า ลุยคอนซูเมอร์โปรดักต์ ผุดแบรนด์Ali” จับทางสินค้าเพื่อสุขภาพ วางแผนใน 3 ปี ชูเป็นธุรกิจหลัก หลังธุรกิจมีเดียนิ่ง ปีนี้มองทำรายได้เท่าปีก่อน 500 ล้านบาท

รติวัลคุ์ ธนาธรรมโรจน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันธุรกิจมีเดียไม่โตแต่ก็ไม่ได้ตก ตลาดนิ่งเพราะสภาพเศรษฐกิจ และลูกค้าเองก็ระวังในการใช้เงิน ทางบริษัทจึงมุ่งหาธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาเสริมเพื่อลดความเสี่ยง และสร้างการเติบโต

ล่าสุดเทรนด์สุขภาพกำลังมาแรง จึงลงทุนทำธุรกิจใหม่ในกลุ่มสินค้าเพื่อสุขภาพที่ใช้ในชีวตประจำวัน ปีนี้มีแผน 3 โครงการคือ คือ 1. ร่วมทุนกับทางพสุธารา ฟาร์มเลม่อน และพืชสมุนไพรเมืองหนาว จ.ราชบุรี จัดตั้งบริษัท อัลลี เนเชอรัล จำกัด ทุนจดทะเบียน 5 ล้านบาท เจเอสแอลถือหุ้น 51% พสุธาราถือหุ้น 49% ทำธุรกิจสุขภาพและความงาม ภายใต้แบรนด์อัลลี (Ali) ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติด้านการดูแลผิวพรรณ และในครัวเรือน อาทิ สบู่รังไหมสด สบู่ผักเบี้ยใหญ่ สบู่โกนหนวด แชมพูสระผม ผลิตภัณฑ์ล้างจาน สเปรย์กันยุงโรสแมรี เป็นต้น

กลยุทธ์ทางการตลาด ต้องการสร้างภาพจำ คือ toxin-free solutions for unban lifestyle สร้างพันธมิตรหลากหลายธุรกิจ สร้างประสบการณ์ร่วมระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ ให้ความรู้ จัดเวิร์กชอป ขยายสู่ผู้แทนจัดจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ และ OEM ให้ธุรกิจโรงแรมสปา หรือโรงพยาบาลที่ต้องการสินค้าปลอดสารเคมี และมุ่งจำหน่ายไปที่ อีคอมเมิร์ซ โดยมีหน้าร้านที่ ศูนย์การค้ามิกซ์ จตุจักร เพื่อจับกลุ่มนักท่องเที่ยว สิ้นปีนี้มองว่าจำรายได้ราว 2-3 ล้านบาท ปีต่อไปน่าจะมีรายได้ที่ 5% ของรายได้รวมบริษัท

2. ขยายธุรกิจสู่เรื่องของอาหารและการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ภายใต้ชื่อ Sukina ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มให้ความรู้เรื่องอาหารบำบัดโรคที่ถูกต้อง 3.ร่วมทุนกันพาร์ทเนอร์ นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพเข้ามาขายในไทย ซึ่งอยู่ขั้นตอนการเจรจา

ธุรกิจคอนซูเมอร์โปรดักต์จะเป็นธุรกิจใหม่ที่ทางบริษัทมองว่าหากทำได้ดี ในอีก 3 ปีข้างหน้าอาจจะกลายมาเป็นธุรกิจหลักแทนที่ธุรกิจมีเดียได้ ซึ่งตอนนี้ขอโฟกัสที่ 3 โปรเจกต์ก่อน อนาคตอาจมีการต่อยอดธุรกิจนี้ในรูปแบบคอนเทนต์ต่อไป ขณะที่ธุรกิจมีเดียยังคงให้ความสำคัญอยู่ แต่จะมุ่งเป็นเรื่องของการรับจ้างผลิตเป็นหลัก เพื่อลดความเสี่ยง

ธุรกิจมีเดีย ปัจจุบันแบ่งออกเป็น (1. รายการที่เป็นเจ้าของเอง คือ เจาะใจ ออกอากาศทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์, เปอร์สเปกทีฟ ออกอากาศทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ และยุทธการขยับเหงือก 5.0 ออกอากาศทางช่องวัน 31 (2. รับจ้างผลิต 2 รายการ คือ กิ๊กดู๋ สงครามเพลง และ ตามสัญญา ออกอากาศทางช่อง PPTV ทั้งสองรายการ (3. ผลิตละคร/ซีรีส์ ปีหน้าจะมี 2 เรื่อง คือ หว่ออ้ายหนี่ ทางช่อง PPTV และรักแรกพบ ทางช่องวัน

ภาพรวมรายได้ของบริษัทฯ ปีนี้คาดว่าจะปิดที่ 500 ล้านบาทเท่าปีก่อน เกิด จากการปรับองค์กรณ์ภายใน กลยุทธ๋และแผนการดำเนินงาน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจ และการที่ลูกค้าประหยัดงบการใช้สื่อโฆษณาก็มีส่วน ขณะที่สัดส่วนรายได้หลักกว่า 60% มาจากรายการทีวี/รับจ้างผลิต และอีก 30% มาจาก อีเว้นท์ โฆษณาทีวี และแคมเปญ สุดท้ายอีก 10% มาจาออนไลน์และอื่นๆ รวมกัน.

Source

]]>
1253054
อ่านแผน ลอรีอัล ทำไม? ต้องมุ่งสู่ Beauty Tech ชิงตลาดความงาม 2 แสนล้าน https://positioningmag.com/1223103 Tue, 02 Apr 2019 23:58:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1223103 แบรนด์เบอร์หนึ่งธุรกิจความงามระดับโลก “ลอรีอัล” จากฝรั่งเศส อายุกว่า 100 ปี มีพอร์ตโฟลิโอแบรนด์ความงามในมือ 36 แบรนด์ มุ่งสู่วิชั่น Beauty Tech ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลคิดค้นนวัตกรรมและสร้างประสบการณ์ผู้บริโภคสัมผัสแบรนด์ เพิ่มโอกาสเข้าถึงสินค้าและนำไปสู่การตัดสินใจซื้อ

ความมุ่งมั่นบุกเบิก Beauty Tech สะท้อนได้จากการลงทุนของลอรีอัลที่ปกติทุกปี “ลอรีอัล” จะประกาศการลงทุนใหม่ ด้วยการซื้อ “แบรนด์” ธุรกิจความงามที่มีอยู่ในตลาดเข้ามาเสริมพอร์ตโฟลิโอเพื่อผลักดันการเติบโต แต่ปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีแรกที่ลอรีอัลไม่ใช้เงินซื้อแบรนด์ใหม่ แต่ซื้อบริษัทเทคโนโลยี ModiFace (โมดิเฟส) จากแคนาดา ซึ่งเป็นธุรกิจเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนและปัญญาประดิษฐ์ (Augmented Reality & Artificial Intelligence) เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำด้าน Beauty Tech

หลังจากซื้อธุรกิจ โมดิเฟส ในเดือนมีนาคม 2561 ต่อมาเดือนสิงหาคม 2561 ลอรีอัลได้ประกาศความร่วมมือกับ “เฟซบุ๊ก” โดยใช้โมดิเฟส สร้างประสบการณ์เทคโนโลยี AR แบบใหม่ผ่านเฟซบุ๊กคาเมร่า (Facebook Camera) เพื่อให้ผู้บริโภคได้ทดลองผลิตภัณฑ์เมคอัพจากแบรนด์ต่างๆ ของลอรีอัล ซึ่งถือเป็นช่องทางใหม่ทำให้ผู้บริโภคสามารถรับประสบการณ์เสมือนทดลองผลิตภัณฑ์จริงและมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์ต่างๆ ของลอรีอัลได้เสมือนจริง

ไทยลุย Beauty Tech

ปัจจุบันไทยเป็นประเทศที่ตลาดความงามใหญ่ที่สุดในอาเซียน ปี 2561 เติบโต 7.31% มีมูลค่ากว่า 1.92 แสนล้านบาท โดยเติบโตต่อเนื่องที่ราว 7% มากว่า 5 ปี สำหรับ “ลอรีอัล ประเทศไทย” เป็นสาขาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุดได้แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการคนใหม่ เพื่อดูแลตลาดไทย

อินเนส คาลไดรา

อินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ด้านความงามได้กลายเป็นสินค้าที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคมากที่สุดประเภทหนึ่งบนช่องทางออนไลน์ โดยแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นปัจจัยเร่งสำคัญช่วยสร้างการเติบโตและเทคโนโลยีด้านข้อมูลใหม่ๆ ขณะที่ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ได้เปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ ให้กับผู้บริโภค พูดได้ว่าวันนี้ผลิตภัณฑ์ด้านความงามกำลังก้าวเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ

จากเทรนด์ผู้บริโภคและการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีดังกล่าว “ลอรีอัล” จึงมุ่งขับเคลื่อนบริษัทให้ก้าวสู่การเป็นผู้บุกเบิกและผู้นำระดับโลกด้าน Beauty Tech

ชู 2 เทคโนโลยีเจาะตลาด

โดย ลอรีอัล ประเทศไทย ได้เริ่มนำร่อง Beauty Tech ด้วย 2 เทคโนโลยี เริ่มด้วย นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ EFFACLAR SPOTSCAN จาก ลา โรช-โพเซย์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กล้องมือถือสแกนใบหน้าผู้บริโภค จากนั้นจะช่วยวินิจฉัยปัญหาสิวพร้อมกับคำแนะนำการดูแลผิวรายบุคคล รวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์จาก ลา โรช-โพเซย์ ซึ่งผู้บริโภคสามารถกดซื้อผ่านแอปพลิเคชั่นได้ทันที โดย EFFACLAR SPOTSCAN จะเริ่มให้บริการวิเคราะห์ปัญหาผิวกับผู้บริโภคไทยในเดือนเมษายนนี้

การนำนวัตกรรมดังกล่าวเข้ามาให้บริการในไทย เพราะเห็นว่าผู้บริโภคในประเทศไทยเพียง 10% เท่านั้นที่เข้าถึงการรักษาโดยแพทย์ผิวหนัง จึงมีโอกาสที่ผู้บริโภคไทยจะใช้นวัตกรรมจากลอรีอัลในการดูแลผิวและแก้ปัญหาสิว

อีกเทคโนโลยี คือ ModiFace โดยร่วมมือกับพันธมิตร “วัตสัน” ในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่อย่าง ColorMe แอปพลิเคชั่นการทดลองแต่งหน้าเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยี ModiFace ของลอรีอัล เปิดโอกาสให้ลูกค้าได้ลองผลิตภัณฑ์แต่งหน้าเสมือนจริงกว่า 300 รายการ ตั้งแต่รองพื้นไปจนถึงลิปสติก โดยผู้บริโภคไทยสามารถใช้ ColorMe ผ่านแอปพลิเคชั่นของวัตสันได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้ โดยแบรนด์เครื่องสำอางที่จะมีให้บริการบนแอปพลิเคชั่นคือ ลอรีอัล ปารีส และ เมย์เบลลีน นิวยอร์ก

จากสถิติข้อมูลในต่างประเทศของลอรีอัล พบว่าผู้บริโภคที่ “ไม่มี” ประสบการณ์ทดลองเครื่องสำอางไม่ว่าจะเป็นการทดลองจริงหรือการทดลองเสมือนผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ส่งผลให้แบรนด์ต่างๆ มีโอกาสที่จะสูญเสียลูกค้าในกลุ่มนี้ 5-10% ดังนั้นการมีช่องทางให้ผู้บริโภคได้มีประสบการณ์ในการทดลองสินค้า ก็มีโอกาสจะได้ลูกค้าเพิ่มขึ้นเช่นกัน

ในแต่ละปี ลอรีอัล ทั้งระดับโลกและไทย จะมีการลงทุนด้านดิจิทัลสัดส่วน 30% ของงบลงทุน ไม่เพียงแต่ด้านสื่อสารและโฆษณาผ่านช่องทางดิจิทัล แต่ยังรวมถึงการลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและเพิ่มโอกาสการเติบโตตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งปีที่ผ่านมายอดขายของลอรีอัล ทั่วโลกมาจากช่องทางอีคอมเมิร์ซ 11% เติบโต 40%     

“การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลในอุตสาหกรรมความงาม ถือเป็นปัจจัยบวก เพราะดิจิทัลกลายเป็นหนึ่งในช่องทางสำคัญที่ช่วยเพิ่มการเติบโตให้ตลาด ลอรีอัลกำลังก้าวสู่ Beauty Tech พอร์ตผลิตภัณฑ์ความงามระดับไอคอนจำนวนมาก”

 

]]>
1223103
มนต์ความงามเริ่มเจือจาง “สเนลไวท์” ยอดขายตกครั้งแรกในรอบ 6 ปี เตรียมร่ายมนต์ 3 บท “โชห่วย-สินค้าใหม่-ฟิลิปปินส์” พลิกฟื้น https://positioningmag.com/1218045 Tue, 05 Mar 2019 23:07:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218045 ผู้หญิงไทยไม่หยุดสวย ตลาดความงามไม่หยุดโตแม้คำพูดนี้จะยังคงใช้ได้ในทุกวันนี้ แต่มนต์เสน่ห์กลับเริ่มเจือจาง ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตลาดสกินแคร์เติบโตเป็นตัวเลข 2 หลักมาตลอด หากปีที่ผ่านมากลับลดลงเหลือ 4-5% ยูโรมอนิเตอร์ประเมินมีมูลค่าราว 70,000 ล้านบาท

ถึงตลาดจะเติบโตลดลงแต่สำหรับสเนลไวท์แล้ว ยอดขายหายไปมากกว่านั้น จากตัวเลขผลประกอบการที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุ ยอดขายปี 2018 ลดลง 25.37% จาก 1,674.44 ล้านบาท เป็น 1,249.63 ล้านบาท เช่นเดียวกับกำไรสุทธิลดลง 47.45% จาก 351.06 ล้านบาท เป็น 184.49 ล้านบาท

ศึกใน ศึกนอก

สถานการณ์ของสเนลไวท์ไม่สู้ดีทั้งในและนอกประเทศ โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศคิดเป็นสัดส่วนหลัก 75.32% มีรายได้ 982.18 ล้านบาท ลดลง 16.69 ล้านบาท สาเหตุหลักมาจากการที่มีการปิดตลาดใหม่ดอนเมืองและตลาดห้วยขวาง ซึ่งเป็นตลาดค้าส่งที่ใหญ่สุดในเมืองไทยตั้งแต่เดือนเมษายนส่งผลกระทบโดยตรงกับบรรดาร้านในต่างจังหวัดที่เข้ามาซื้อไปขายต่อ ทำให้ช่องทางเทรดดิชั่นนัลเทรด (Traditional Trade) ยอดขายหายไปกว่า 40% และยังโดนข่าวเรื่องเมจิกสกินมากระทบความน่าเชื่อถือ

นอกจากนั้นการขายในประเทศไม่ได้มีเพียงคนไทยที่มาซื้อ รายได้หลักทางหนึ่งมาจากบรรดานักท่องเที่ยว โดยเฉพาะชาวจีน” ซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลัก “จีน” ที่ครองยอดขายถึง 95% -98% ได้หายไป รวมถึงการแข็งค่าเงินหยวนขึ้น 10% กำลังซื้อจึงไม่มากเหมือนเช่นเคย

การหายไปของลูกค้าชาวจีนส่งผลกระทบต่อยอดขายในต่างประเทศลดวูบอย่างหนักถึง 46.03% จาก 495.53 ล้านบาท เหลือ 267.45 ล้านบาท นอกจากกำลังเจอปัญหาชะลอการส่งสินค้าหลังได้รับใบอนุญาตต้องปรับรูปแบบบรรจุภัณฑ์ อีกทั้งยังเจอการเปลี่ยนแปลงเรื่องกฎเกณฑ์การนำเข้า

สราวุฒิ พรพัฒนารักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดู เดย์ ดรีม จำกัด (มหาชน) หรือ DDD เจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวสเนลไวท์ ยอมรับว่า ยอดขายที่ลดลงไปนั้นถือเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีนับตั้งแต่ทำตลาดมา

ปีที่แล้วเจอปัญหารอบด้าน แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ปลุกให้เราต้องลุกมาแก้ไขให้ถูกจุด เนื่องจากที่ผ่านมาไม่เคยรู้เลยมีปัญหาอะไร เพราะยอดขายเติบโตมาโดยตลอด ถือเป็นบทเรียนที่ได้เรียนรู้

กลายเป็นที่มาของการร่ายมนต์ 3 บท เพื่อหวังพลิกฟื้นธุรกิจโชห่วยสินค้าใหม่ฟิลิปปินส์วางเป้ากลับมาโต 15% หรือคิดเป็นรายได้ 1,450 ล้านบาท

บุกตลาดโชห่วย

สเนลไวท์วาง Positioning เป็นพรีเมียมแมสวางขายกระปุกละ 800 – 900 บาท ที่ผ่านมาเน้นบุกโมเดิร์นเทรด (Modern Trade) จนสามารถขยายครอบคลุม 85% จากจำนวนทั้งหมด 15,000 ร้านค้า โดยที่ผ่านมายังไม่ได้ให้ความสำคัญกับช่องทางเทรดดิชันนัล  (Traditional Trade) หรือร้านโชห่วยที่อยู่ในต่างจังหวัดมากนัก ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงช่องทางเทรดดิชันนัลหรือร้านโชห่วยที่อยู่ในต่างจังหวัดกลับเป็นพี่ใหญ่ในตลาด ครองสัดส่วนราว 60% ด้วยมีร้านค้ารวมกันกว่า 4 แสนร้านค้า

เมื่อนักท่องเที่ยวจีนไม่มา ส่งผลให้ยอดขายผ่านโมเดิร์นเทรดซึ่งเป็นข่องทางหลักจึงหายไปด้วย ทำให้ “สราวุฒิ” จึงต้องลดความเสี่ยง ด้วยการหันมามุ่งปลุกปั้นการขายช่องทาง “เทรดดิชันนัล” ร้านโชห่วยต่างๆ เพิ่ม เพื่อขยายไปยังลูกค้าคนไทยที่เป็นกลุ่ม “แมส” แทน

ด้วยการวางแผนขยายการขายผ่านร้านค้าจาก 2% หรือ 5,000 ร้านค้า เป็น 5% ของจำนวนร้านค้าทั้งหมดภายในปีนี้ โดยเน้นเจาะภาคอีสานและภาคเหนือ นอกจากนี้ยังเตรียมทำ Shop in Shop คือมุมขายสินค้าในร้านโชห่วยขนาดใหญ่ในทำเลที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เบื้องต้นเตรียมทำ 10 จังหวัด

พร้อมกับเตรียมปรับการทำตลาดใหม่ เริ่มจากบรรจุภัณฑ์ที่จะใส่ “คุณสมบัติ ของสินค้าให้ชัดเจน จากเดิมเป็นสไตล์มินิมอล ภาษาอังกฤษล้วน บางครั้งมีภาษาเกาหลี จึงทำให้สู้คู่แข่งไม่ได้ โดยจะวางขายในราคา 39 บาท เพราะผู้บริโภคไทยยอมจ่ายมากขึ้นแล้ว

ด้านโปรโมชั่นก็จะเปลี่ยนจากที่เคยให้ส่วนลด หรือแถมสินค้าของแบรนด์ชิ้นเล็ก แต่ตลาดโชห่วยซับซ้อนมากกว่านั้น เมื่อดูจากแบรนด์ที่เคยทำแล้วประสบคามสำเร็จ จะใช้วิธีขายครีมแถมน้ำตาล น้ำยาปรับผ้านุ่ม หรือเครื่องดื่ม จะเห็นผลกว่า ผู้ซื้อก็สามารถนำไปขายต่อได้ สเนลไวท์ก็จะทำอย่างนั้นบ้าง

เดิมเราใช้เกมตลาดเดียวกับโมเดิร์นเทรดแล้วคิดว่าจะได้ผลเหมือนกันหมดทั่วประเทศ แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ มีความซับซ้อนมากกว่านั้น เราเลยต้องปรับ

เพิ่มแบรนด์ใหม่อีก 2 แบรนด์

ปัจจุบันภายใต้แบรนด์สเนลไวท์ มีสินค้าทั้งหมด 20 โปรดักต์ 41 SKU หลักๆ อยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ปีที่ผ่านมาได้มีการซื้อแบรนด์ใหม่ในเดือนมิถุนายน ตั้งใจปั้นเป็น Fighting Brand ชื่อ “Prettii Face” ปัจจุบันมีโปรดักต์ 1 ชนิดเป็นมาส์ก โคลนวางขายราคา 699 บาท ปีนี้เตรียมออกสินค้าใหม่เจาะร้านสะดวกซื้อโดยเฉพาะ

อีกแบรนด์คือ “Oxe Cure” ซื้อมาเช่นเดียวกัน มี 6 โปรดักต์ 12 SKU หลักๆ ถูกขายในร้านสุขภาพและความงาม และร้านขายยา เตรียมเพิ่มสินค้าไปขายในร้านสะดวกซื้อ

ในปี 2019 สราวุฒิบอกว่าจะเพิ่มแบรนด์ใหม่ใน Brand Portfolio อีก 2 แบรนด์ ประเดิมด้วยแบรนด์ “SoS” (เอะสึ โอ เอะสึ)

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า ชูผลิตที่ญี่ปุ่น ตั้งใจนำเข้ามาชนกับฮาดะลาโบะ ส่วนอีกแบรนด์จะใช้วิธีซื้อ โดยสนใจในกลุ่มร้านที่ให้บริการเรื่องความงาม เพราะสามารถต่อยอดสินค้าได้ คาดจะซื้อกิจการที่ใหญ่ขึ้นตั้งแต่ 200 ล้านบาทขึ้นไป เงินทุนยังมีอยู่จากการ IPO 1,600 ล้านบาท และเงินลงทุนระยะสั้น 2,600 ล้านบาท

ขณะเดียวกันเกมสื่อสารก็จะเปลี่ยนไป ก่อนหน้านี้การเปิดตัวสินค้าใหม่ของสเนลไวท์ จะต้องมาพร้อมกับพรีเซ็นเตอร์ แต่ตอนนี้ผู้บริโภคทั่วไปเริ่มรับรู้หมดแล้ว การออกสินค้าใหม่จึงอาจจะไม่มีพรีเซ็นเตอร์ จะหันไปทุ่มกับโปรโมชั่นแทน แต่ก็จะใช้เงินในจำนวนที่ลดลง โดยปีที่ผ่านมาใช้เงินกับค่าโฆษณาและส่งเสริมการขายไปถึง 455.66 ล้านบาท

ฟิลิปปินส์ความหวังใหม่ตลาดต่างประเทศ

สุดท้ายความหวังใหม่จากตลาดต่างประเทศอยู่ที่ฟิลิปปินส์ซึ่งได้บุกเข้าไปตั้งแต่เดือนกันยายนสราวุฒิอธิบายว่า เหตุที่บุกฟิลิปปินส์เพราะมีประชากรจำนวนมากถึง 100 ล้านคน แต่ตลาดสกินแคร์ยังมีมูลค่าเพียง 32,000 ล้านบาท ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากแต่สินค้าในตลาดยังมีไม่เยอะมาก นับแต่ที่เข้าไปทำยอดขายทะลุเป้าเกือบทุกเดือน บางเดือนที่ไม่ถึงเพราะกำลังผลิตไม่พอ สินค้ายอดนิยมเป็นสบู่ก้อน

ปีนี้จะลุยทำตลาดเต็มที่ทั้งสินค้าและการตลาด ตั้งเป้ายอดขาย 100 ล้านบาท ส่วนประเทศจีนคาดหวังรักษายอดขายให้คงเดิม เตรียมเพิ่มตัวแทนจำหน่ายอีก 1-2 ราย จากเดิมที่มีรายเดียว ส่วนฮ่องกงก็ตั้งเป้ารักษาฐานเดิม โดยได้ศึกษาตลาดใหม่ๆ ที่อาจจะขยายไปด้วย ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย ไต้หวัน

อย่างไรก็ตามโชห่วยสินค้าใหม่ฟิลิปปินส์ไม่ได้ถูกมองเข้ามาช่วยในปีนี้เท่านั้น แต่สเนลไวท์วางแผนระยะยาว 5 ปี ถึงปี 2023 โดยตั้งเป้ารายได้ 3,000 ล้านบาท เมื่อถึงวันนั้นต้องการเพิ่มจำนวนร้านโชห่วยเป็น 30% หรือ 100,000 ร้านค้า และมีส่วนแบ่งตลาด 5% โดยตั้งใจเข้ามาสู้กับการ์นิเย่ ซึ่งเป็นเจ้าตลาด มีส่วนแบ่ง 28% ครอบคลุมร้านโชห่วย 72%

นอกจากนี้ตั้งเป้าขึ้นมาเป็นเบอร์ 3 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าซึ่งปัจจุบัน 3 รายที่ครองอยู่ได้แก่ ลอรีอัล พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล และไบเออร์สด๊อรฟ โดยสเนลไวท์ตั้งเป้ามีส่วนแบ่งเป็น 12% จากปัจจุบันที่มี 4.3%

]]>
1218045
คนไทยขอสวยไว้ก่อน! ตลาดความงามทะลุ 5.7 หมื่นล้าน โต 3.8%  https://positioningmag.com/1167025 Mon, 23 Apr 2018 09:58:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1167025 ตลาดความงามของไทยยังคงเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าภาพรวมของสินค้า FMCG หรือสินค้าอุปโภคและบริโภคจะเติบโตติดลบ 0.4% ในรอบ 10 ปี แต่ไม่มีผลต่อตลาดสินค้าความงามและเครื่องสำอาง ที่บริษัท กันตาร์ เวิร์ลดพาแนล (ไทยแลนด์ได้ประเมินไว้ว่าตลาดเครื่องสำอางและความงามไทย ปี 2017 มีมูลค่า 57,000 ล้านบาท 

3 ผลิตภัณฑ์ที่ผลักดันตลาดเมคอัพ เติบโต

ส่วนใหญ่เป็นสินค้าต้องใช้เป็นประจำ

  • ลิปสติก เติบโต 32%
  • ดินสอเขียนคิ้ว เติบโต 39%
  • รองพื้น เติบโต 3%

ยอดผู้ซื้อเดิม 74% ผู้ซื้อใหม่ 4%

ทั้งนี้เป็นการเติบโตของผู้ซื้อปัจจุบัน 74% ผู้ซื้อใหม่ 4% โดยยังคงเป็นเขตหัวเมืองเป็นหลัก ซึ่งการเติบโตมาจากการตอบสนองด้านอารมณ์ ที่สามารถเพิ่มความั่นใจให้ตัวเอง

สินค้ากลุ่มเมคอัพของไทย ยังมีช่องว่างให้เติบโตเมื่อเทียบกับเกาหลี

  • เกาหลี สินค้าความงามเข้าถึงผู้ใช้ 85%
  • ไทย : สินค้าความงามเข้าถึงผู้ใช้ 48%

คนไทยแต่งหน้า 2.5 สเต็ป

คนไทยยังแต่งหน้า 2.5 สเต็ปเท่านั้น ในขณะที่จีน 3 สเต็ป และเกาหลีไปถึง 7 สเต็ปแล้วมีความซับซ้อนกว่าคนไทย.

]]>
1167025