ตลาดทาวน์โฮม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 24 Jan 2024 09:55:57 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “เฟรเซอร์ส” ปี 2567 “คลังสินค้า” ยังเป็นขาขึ้น ด้านธุรกิจที่อยู่อาศัยงดเปิด “ทาวน์โฮม” เหตุลูกค้ากู้ไม่ผ่าน https://positioningmag.com/1460024 Wed, 24 Jan 2024 05:56:49 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460024
  • แผนธุรกิจ “เฟรเซอร์ส” ปี 2567 ยังคงรักษาสมดุลพอร์ตกลุ่มที่อยู่อาศัยเพื่อขายกับกลุ่มสร้างรายได้ประจำ ชี้เทรนด์​ “คลังสินค้า” ยังเป็นธุรกิจขาขึ้น เตรียมลงทุนอีก 4,000 ล้านบาท
  • ขณะที่ธุรกิจ “ที่อยู่อาศัย” ยังอึมครึม งดเปิดตัว “ทาวน์โฮม” หลังแบงก์เข้มหนัก ลูกค้ากู้ไม่ผ่าน เทน้ำหนักเปิดใหม่ให้กับ “บ้านเดี่ยว” ทดแทน
  • “วู้ดดี้-ธนพล ศิริธนชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นำทีมผู้บริหารเปิดทิศทางธุรกิจของเฟรเซอร์สในรอบปีบัญชี ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567 มองปีนี้โลกยังมีความท้าทายทางเศรษฐกิจสูงที่ต้องฝ่าไป

    สรุปผลงานของรอบปี ตุลาคม 2565 – กันยายน 2566 ก่อนว่า เฟรเซอร์สทำรายได้รวมจากทุกกลุ่มธุรกิจไป 16,809 ล้านบาท เติบโต 2.1% YoY กำไรสุทธิ 1,852 ล้านบาท

    สินทรัพย์การลงทุนภายในบริษัทยังรักษาสมดุลพอร์ตไว้ที่ 40:60 คือเป็นสินทรัพย์กลุ่มธุรกิจที่อยู่อาศัยเพื่อสร้างรายได้จากการขาย 40% ขณะที่อีก 60% มาจากสินทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ประจำ (recurring income) ได้แก่ โรงงานและคลังสินค้า รีเทล อาคารสำนักงาน และโรงแรม

    เฟรเซอร์ส
    (จากซ้าย) “สมบูรณ์ วศินชัชวาล” รักษาการซีอีโอ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม, “ธนพล ศิริธนชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), “พีระพัฒน์ ศรีสุคนธ์” รักษาการซีอีโอ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเตรียล

    ธนพลมองภาพพื้นฐานการจัดสมดุลพอร์ตของบริษัทแบบนี้ว่า ถือว่าเป็นพื้นฐานที่ดีเพราะช่วยสร้างกระแสเงินสดเข้าบริษัทได้สม่ำเสมอ และพร้อมรับมือกับทุกวงจรอสังหาริมทรัพย์ที่มีขึ้นและลงสลับกันไปในแต่ละธุรกิจ

     

    วงจรอสังหาฯ “คลังสินค้า” รุ่งสุด

    ซีอีโอเฟรเซอร์สให้ความเห็นว่า ปีนี้ตลาดที่ยังคงมาแรงคือกลุ่ม “คลังสินค้า” ธุรกิจยังเติบโตจากนโยบาย China+1 กระจายฐานผลิตออกต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์และส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องที่ยังคงทยอยเข้ามาลงทุนในไทย

    อีกหนึ่งกลุ่มที่น่าจะเข้าวงจรฟื้นตัวคือ “โรงแรม” เพราะการท่องเที่ยวเป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทยและภาครัฐให้การสนับสนุน

    เฟรเซอร์ส
    วงจรนาฬิกาอสังหาฯ เมืองไทย (ข้อมูลจาก เฟรเซอร์ส)

    ส่วนธุรกิจที่อยู่ในช่วงที่ท้าทายคือ “อาคารสำนักงาน” ยังเป็นขาลงเพราะตลาดมีซัพพลายเติมเข้ามาต่อเนื่อง ในอีก 3 ปีข้างหน้าคาดว่าจะมีอาคารสำนักงานเข้าตลาดอีกปีละ 5 แสนตร.ม. แต่ตลาดไทยมีดีมานด์ดูดซับได้เพียงปีละ 2.5 แสนตร.ม. ทำให้ตลาดนี้จะท้าทายมาก อัตราการเช่าอาจต่ำลง ขึ้นอยู่กับผู้ให้เช่าจะสามารถรักษาฐานผู้เช่าเดิมได้ดีแค่ไหน

    รวมถึงกลุ่มธุรกิจ “รีเทล” ก็กำลังเคลื่อนเป็นขาลงด้วยซัพพลายศูนย์การค้าที่เติมเข้าตลาดสูงขึ้นเช่นกัน

    ที่น่าสนใจคือกลุ่ม “ที่อยู่อาศัย” ดูเหมือนจะเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเภทสินค้า “บ้านเดี่ยว” ที่ธนพลเห็นว่าขึ้นสู่จุดพีคเรียบร้อยแล้ว เนื่องด้วยดีมานด์ในตลาดสูง แต่ซัพพลายเข้าตลาดสูงยิ่งกว่า จนทำให้หลังจากนี้อาจจะเริ่มค่อยๆ เข้าสู่ช่วงขาลงเพราะซัพพลายล้นตลาด ตรงข้ามกับ “ทาวน์โฮม” ที่น่าจะถึงจุดต่ำสุดแล้ว หลายบริษัทหยุดหรือลดการพัฒนาทาวน์โฮม จนทำให้ซัพพลายน้อยลง ต่อจากนี้อาจได้เห็นตลาดฟื้นตัว แต่ต้องขึ้นอยู่กับการผ่อนปรนความเข้มงวดให้กู้สินเชื่อบ้านของแบงก์ในสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน

    “โกลเด้นทาวน์ ศรีนครินทร์-สุขุมวิท” ตัวอย่างโครงการทาวน์โฮมภายใต้บริษัทเฟรเซอร์ส

     

    ลงทุน “คลังสินค้า” เพิ่มอีก 4,000 ล้านบาท

    “พีระพัฒน์ ศรีสุคนธ์” รักษาการซีอีโอ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ อินดัสเตรียล เปิดเผยส่วนธุรกิจโรงงานและคลังสินค้าว่า ปัจจุบันบริษัทมีพื้นที่ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) รวม 3.5 ล้านตร.ม. ทั้งพื้นที่ในไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม และมีอัตราการเช่าที่ 86.5%

    ตลาดคลังสินค้าของเฟรเซอร์สมีผู้เช่าหลักมาจาก 4 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ โลจิสติกส์ โมเดิร์นเทรด ยานยนต์ และอิเล็กทรอนิกส์ และผู้เช่าส่วนใหญ่เป็นสัญชาติญี่ปุ่น ไทย และยุโรป

    จากโอกาสในการเติบโตของคลังสินค้า ปีนี้เฟรเซอร์สจะมีใช้งบลงทุนอีก 4,000 ล้านบาท เพื่อลงทุนขยายพื้นที่จัดการเพิ่มอีก 1.5 แสนตร.ม. และตั้งเป้าเพิ่มอัตราการเช่าขึ้นเป็น 87% สร้างรายได้ให้บริษัทแม่ 6,000 ล้านบาท

     

    ที่อยู่อาศัยงดเปิด “ทาวน์โฮม” ก่อน

    ด้านธุรกิจที่อยู่อาศัย “สมบูรณ์ วศินชัชวาล” รักษาการซีอีโอ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮม เปิดข้อมูลรอบปีบัญชีก่อนว่าบริษัทมีการเปิดตัว 8 โครงการ มูลค่ารวม 15,000 ล้านบาท ทำยอดขายไปได้ 24,926 ล้านบาท โต 4.4% YoY อย่างไรก็ตาม รับรู้รายได้ที่ 11,004 ล้านบาท ลดลง -5% YoY

    ส่วนรอบปีบัญชีนี้ ตั้งเป้าเปิดตัว 7 โครงการ มูลค่ารวม 11,600 ล้านบาท เป้ายอดขาย 23,750 ล้านบาท ลดเป้าลง -5% YoY และวางเป้ารับรู้รายได้ 13,003 ล้านบาท เติบโต +18% YoY

    ปีนี้เฟรเซอร์สฯ โฮมมีการลดการเปิดตัวใหม่ลง และในกลุ่มโครงการที่จะเปิดใหม่ประกอบด้วย

    • บ้านเดี่ยวระดับลักชัวรี ราคา 15-40 ล้านบาท 2 โครงการ แบรนด์ “เดอะ แกรนด์” ทำเลแจ้งวัฒนะ-เมืองทอง และ ปิ่นเกล้า-วงแหวนกาญจนาฯ
    • บ้านเดี่ยว ราคา 7-15 ล้านบาท 3 โครงการ แบรนด์ “แกรนดิโอ” ทำเลแจ้งวัฒนะ-เมืองทอง และ เกษตร-นวมินทร์ และแบรนด์ “เพรสทีจ” สาทร
    • บ้านแฝด 1 โครงการ แบรนด์​ “นีโอ​ โฮม” ทำเลจังหวัดระยอง
    • คอนโดมิเนียม 1 โครงการ “โคลส รัชดา 7” ด้านหลังเดอะสตรีท รัชดา เป็นคอนโดฯ โลว์ไรส์ขนาดเล็ก (*เลื่อนเปิดตัวมาจากปีก่อนหน้า)

    ในปีนี้เฟรเซอร์สเลี่ยง ‘ไม่เปิดตัวในตลาดทาวน์โฮมเลย’ โดยสมบูรณ์ให้ความเห็นว่าเป็นเพราะตลาดทาวน์โฮมกลุ่มราคา 3-5 ล้านบาทที่เฟรเซอร์สพัฒนานั้นมีดีมานด์ก็จริง แต่ลูกค้ากู้ไม่ผ่านสูงเกิน 30% เนื่องจากแบงก์เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อบ้าน และอัตราดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นในปีที่ผ่านมายิ่งมีผลต่อกำลังการผ่อนของลูกค้ามาก

    สมบูรณ์กล่าวว่า ปัจจุบันเฟรเซอร์สมีสต็อกสร้างเสร็จในมือประมาณ 3,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นทาวน์โฮม โดยหลายโครงการยังยืนราคาเก่าไม่ปรับขึ้นตามราคาตลาด เพราะบริษัทต้องการระบายสต็อกเพื่อปิดโครงการ

    ส่วนวงจรอสังหาฯ ที่ซีอีโอเฟรเซอร์สมองว่าทาวน์โฮมถึงจุดต่ำสุดแล้ว และควรจะเป็นขาขึ้นได้แล้วนั้น ขอรอดูสัญญาณว่ากลับมาแล้วจริงๆ ก่อนดีกว่าเพราะสุดท้ายตลาดนี้ต้องขึ้นอยู่กับการปล่อยสินเชื่อจากแบงก์เป็นหลัก

    ]]>
    1460024
    ทาวน์เฮาส์ “บ้านกลางเมือง” ปรับทำเลใหม่ หาแลนด์แบงก์ที่กลับมาอยู่ “กลางเมือง” จริงๆ https://positioningmag.com/1406682 Thu, 03 Nov 2022 11:22:23 +0000 https://positioningmag.com/?p=1406682 ทาวน์เฮาส์ “บ้านกลางเมือง” จากค่าย “เอพี” ฉลองครบรอบ 20 ปี ปรับกลยุทธ์ครั้งใหม่ เปลี่ยนวิธีหาแลนด์แบงก์มาอยู่ “กลางเมือง” สมชื่อ เจาะตลาดไลฟ์สไตล์คนเมืองแต่ไม่ต้องการอยู่บนคอนโดฯ พร้อมสร้างความแข็งแกร่งให้แบรนด์ เลือก “ก้อง-สหรัถ สังคปรีชา” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก ทุ่มงบมิวสิกมาร์เก็ตติ้งมูลค่า 20 ล้านบาท

    “บ้านกลางเมือง” เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่อยู่อาศัยที่ยืนยงในตลาด หลังเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2545 จนถึงปัจจุบัน เอพี ไทยแลนด์ ก็ยังคงเปิดโครงการภายใต้แบรนด์นี้มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเอกลักษณ์แบรนด์คือเป็น ทาวน์โฮม 3 ชั้น ทำเลในเมือง ส่วนรูปลักษณ์การออกแบบก็ปรับไปตามยุคสมัย จากเดิมเป็นทาวน์โฮมสไตล์คลาสสิก-ยุโรเปียน มาสู่สไตล์โมเดิร์นทาวน์โฮม

    หลังอยู่ในตลาดมา 20 ปี แบรนด์บ้านกลางเมืองมีการแตกเซ็กเมนต์ออกมาเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

    • บ้านกลางเมือง ทาวน์โฮม 3 ชั้น หน้ากว้าง 5-8 เมตร ราคา 4-8 ล้านบาท
    • บ้านกลางเมือง THE EDITION บ้านแฝด 3 ชั้น หน้ากว้าง 11 เมตร ราคา 8-14 ล้านบาท
    • บ้านกลางเมือง คลาสเซ่ ทาวน์โฮม 3-3.5 ชั้น หน้ากว้าง 6-8 เมตร ราคา 15-25 ล้านบาท

    แม้ว่าแบรนด์จะแข็งแกร่ง โดยเอพีระบุว่าบ้านกลางเมืองถือเป็นผู้นำในตลาดทาวน์โฮม 3 ชั้น แต่ก็ต้องมีการปรับตัวให้ยึดหัวหาดได้ต่อเนื่อง

    “เมธา รักธรรม” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าทาวน์โฮม บมจ.เอพี (ไทยแลนด์)

    เรามีโอกาสได้คุยกับ “เมธา รักธรรม” รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจกลุ่มสินค้าทาวน์โฮม บมจ.เอพี ไทยแลนด์ เกี่ยวกับการปรับกลยุทธ์ใหม่ของแบรนด์บ้านกลางเมืองที่เริ่มขึ้นแล้ว และจะมีต่อเนื่องในปีหน้า ดังนี้

    1.ทำเลที่จะกลับสู่ “กลางเมือง” จริงๆ

    ปีนี้เอพีมีการจัดซื้อที่ดินของกลุ่มบ้านกลางเมืองให้เหมาะกับแบรนด์มากขึ้น กล่าวคือมีการจัดให้ บ้านกลางเมือง คลาสเซ่ ต้องเป็นทาวน์โฮมที่อยู่ในเขตซีบีดี ขณะที่ บ้านกลางเมือง THE EDITION จะอยู่ในเขตรอบๆ ซีบีดี และ บ้านกลางเมือง ดั้งเดิมจะต้องยังอยู่ในเมือง ไม่ไกลห่างออกไปในเขตชานเมือง

    “เรามามองผู้ซื้อของแบรนด์นี้ เขาเลือกอยู่ทาวน์โฮมบ้านกลางเมืองเพราะเขายังต้องการจะอยู่ในเมือง แต่ไม่ต้องการอยู่คอนโดฯ ทำให้การที่เราเคยเลือกทำเลทำโครงการไปในเขตชานเมืองนั้นจะไม่ตอบโจทย์” เมธากล่าว “เมื่อก่อนเราอาจจะดูจากรถไฟฟ้าเป็นหลัก คือหาที่ดินที่เกาะแนวรถไฟฟ้า แต่ปัจจุบันรถไฟฟ้าขยายไปไกลมาก ยกตัวอย่างสายสีม่วงไปสิ้นสุดที่บางใหญ่ ซึ่งจริงๆ เป็นชานเมืองแล้ว ดังนั้น อาจจะไม่ใช่ทำเลของบ้านกลางเมือง”

    บ้านกลางเมือง
    แบรนด์บ้านกลางเมืองทั้ง 3 เซ็กเมนต์

    2.โครงการแบบมิกซ์โปรดักส์ และการหลุดกรอบ ‘3 ชั้น‘

    อีกหนึ่งสิ่งที่จะได้เห็นมากขึ้นกับแบรนด์นี้ คือการทำโครงการแบบมิกซ์โปรดักส์ มีหลายแบบบ้านในโครงการเดียว เช่น มีทั้งทาวน์โฮมและบ้านแฝด

    รวมถึงปีหน้าอาจจะได้เห็น “บ้านแฝด 2 ชั้นในทำเลกลางเมือง” ด้วย จากเดิมโปรดักส์นี้จะอยู่กับแบรนด์ “แกรนด์ พลีโน่” ในเครือเอพี แต่เมธามองว่าการแบ่งแบรนด์ตามลักษณะสินค้า คือ พลีโน่/แกรนด์ พลีโน่ เป็นที่อยู่ 2 ชั้น และบ้านกลางเมืองต้องเป็น 3 ชั้น เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นกับยุคนี้แล้ว

    3.ยืดหยุ่นกับผู้ซื้อ มีสารพัดแบบบ้าน และเลือกได้เอง

    เมธากล่าวว่า ปีนี้คือปีที่บ้านกลางเมืองมีแบบบ้านรวมมากที่สุดที่เคยทำมา คือมีถึง 10 แบบด้วยกัน (รวม 3 เซ็กเมนต์) เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลง มีสไตล์หลากหลายมากขึ้น

    ปี 2566 ก็จะมีซีรีส์ใหม่ออกมาเพิ่มอีก โดยเป็นทาวน์โฮม 3 ชั้นที่ยก Living Area พื้นที่ห้องนั่งเล่น ห้องทานอาหาร ขึ้นไปไว้ชั้น 2 แทนที่จะอยู่ชั้นล่างอย่างเคย ส่วนชั้น 3 สามารถปรับได้ตามใจว่าจะเป็นมาสเตอร์เบดรูมขนาดใหญ่หรือแบ่งเป็น 2 ห้องนอน ขณะที่ชั้นล่าง ก็เลือกสั่งกั้นห้องได้ว่าต้องการให้เป็นห้องทำงาน หรือห้องนอนผู้สูงอายุ หรือปรับแต่งตามใจชอบ ถือเป็นซีรีส์ที่มีความยืดหยุ่นให้ลูกค้าเลือก จะได้เห็นครั้งแรกในทำเลสุขุมวิท 101

    4.แบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรก “ก้อง-สหรัถ”

    2 ทศวรรษที่ผ่านมา บ้านกลางเมืองไม่เคยมีแบรนด์แอมบาสเดอร์ แต่ปีนี้เป็นปีแรกที่เกิดขึ้นเพราะวิธีคิดด้านการตลาดที่เปลี่ยนไป จากเดิมคิดเฉพาะโปรโมชันแคมเปญตามรอบ แต่ขณะนี้ต้องแข่งกันด้วย “แบรนดิ้ง” แม้ว่าบ้านกลางเมืองยังขายได้วันนี้ แต่ต้องสร้างความแข็งแกร่งเพื่ออนาคต

    เป็นที่มาของความร่วมมือกับแกรมมี่และ “ก้อง-สหรัถ สังคปรีชา” เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรกในฐานะ “ตำนาน” ของวงการ พร้อมสร้างมิวสิกมาร์เก็ตติ้ง นำเพลงดังมาเรียบเรียงใหม่สำหรับบ้านกลางเมืองโดยเฉพาะ เช่น สุดๆ ไปเลย, เธอสวย, ลึกสุดใจ แพ็กเกจสัญญาระยะ 1 ปี เอพีทุ่มทุนไป 20 ล้านบาท ปั้นให้แบรนด์ยังครองใจผู้บริโภค

    บ้านกลางเมือง ก้อง สหรัถ
    “ก้อง-สหรัถ สังคปรีชา” แบรนด์แอมบาสเดอร์คนแรกของบ้านกลางเมือง

    สำหรับแบรนด์บ้านกลางเมืองปี 2565 มีการระดมเปิดโครงการไปถึง 29 โครงการ มูลค่ารวม 26,600 ล้านบาท มากที่สุดที่เอพีเคยเปิดในปีเดียว และปี 2566 จะได้เห็นโครงการใหม่ๆ ในแบรนด์นี้อีกหลายทำเล โดยเฉพาะ “บ้านกลางเมือง คลาสเซ่” ที่จะเปิดอย่างน้อย 1-2 โครงการ หลังจากบ้านกลางเมือง คลาสเซ่ สุขุมวิท 77 ที่เปิดตัวปีนี้ทำยอดขายได้ดี สะท้อนดีมานด์ผู้บริโภคเซ็กเมนต์บนมีความต้องการทาวน์โฮมกลางเมืองสูง

    ]]>
    1406682
    เจาะใจ Gen Y จุดเปลี่ยนอสังหาฯ จริงมั้ย ? Gen Y เมินคอนโดฯ เทใจให้ทาวน์โฮม  https://positioningmag.com/1156424 Fri, 09 Feb 2018 10:51:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1156424 TerraBKK เผยพฤติกรรมคน Gen Y ที่เข้าใช้งานเว็บไซต์ค้นหาบ้านกว่า 51% ค้นหาทาวน์โฮมราคา 1.5-3 ล้านบาท  ปี 61 ตลาดทาวน์โฮมมาแรง 

    สุมิตรา วงภักดี กรรมการผู้จัดการ เว็บไซต์ TerraBKK.com เปิดเผยภายในงานสัมมนา “ไขรหัสลับคน Gen Y” จุดเปลี่ยนอสังหาฯ 4.0” จัดโดยเว็บไซต์ TerraBKK.com ว่า จากผลสำรวจพฤติกรรมคน Gen Y และพฤติกรรมการค้นหาบ้านของผู้ใช้งานเว็บไซต์ TerraBKK.com พบว่า

    • กลุ่ม Gen Y ที่ค้นหาข้อมูลบ้านมือสองและโครงการใหม่ กว่า 51% ค้นหาทาวน์โฮม ราคา1.5-3 ล้านบาท นิยมทำเลสมุทรปราการ /ลาดพร้าว-บางกะปิ / แจ้งวัฒนะ-ดอนเมือง
    • รองลงมาเป็น บ้านเดี่ยว 34% ราคา 3-6.5 ล้านบาท ทำเลจตุจักร-ประชาชื่น /ตากสิน-ธนบุรี / แจ้งวัฒนะ-ดอนเมือง
    สุมิตรา วงภักดี

    จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้ประเมินได้ว่า ในปีนี้ตลาดทาวน์โฮม ราคา 1.2-2.3 ล้านบาท จะได้รับความนิยมจากคน Gen Y มากกว่าคอนโดมิเนียมในระดับราคาเดียวกัน

    เนื่องจากคน Gen Y ส่วนใหญ่ต้องการที่อยู่อาศัยที่มีพื้นที่ส่วนตัวและไม่จำเป็นต้องอยู่ในเมือง แต่ยังสามารถเดินทางเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองได้อย่างสะดวก

    ส่งผลให้ปีนี้ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายบริษัท ปรับกลยุทธ์ วางแผนพัฒนาโครงการทาวน์โฮม บริเวณเมืองรอบนอกมากขึ้น และคาดว่า ปีนี้ตลาดทาวน์โฮมจะครองส่วนแบ่งตลาดสัดส่วนราว 30%

    นอกจากทำเลแล้ว การปรับสินค้าให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย การสร้างแบรนด์ให้มีเอกลักษณ์ แตกต่าง และเป็นที่จดจำ คือเรื่องที่ผู้พัฒนาอสังหาฯ รายเล็กและรายใหญ่ ไม่ควรมองข้าม และต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

    บ้านเดี่ยวมาแรง 

    ดร. วสุพล ตรีโสภากุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยู รีเสิร์ช จำกัด กล่าวว่า ผลสำรวจพฤติกรรมและไลฟ์สไตล์คน Gen Y อายุระหว่าง 25-37 ปี จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คนที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล พบว่า

    • คน GenY กว่า 54% ยังไม่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัยในเร็วๆ นี้ เนื่องจากคนกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ระหว่าง 18,000-35,000 บาทต่อเดือน และยังไม่มีเงินเก็บที่เพียงพอ เพราะปัจจุบันมีภาระหนี้จากบัตรเครดิต ผ่อนรถยนต์แต่ละเดือนอยู่ในระดับสูง
    • 46% มีความคิดเรื่องการซื้อที่อยู่อาศัยภายใน 3 ปี
    • 57% อยากซื้อบ้านเดี่ยว, ต้องการซื้อทาวน์โฮม 48.7%, คอนโดมิเนียม 30.7% และบ้านแฝด 15.8%

    กลุ่มคน GenY แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 

    1. Smart Choice : วางแผนการเงินเพื่อสร้างครอบครัวใหม่ ชื่นชอบเทคโนโลยี
    2. Peace in Mind : กังวลเรื่องในอนาคต เอกลักษณ์ส่วนตัวเป็นสิ่งสำคัญ
    3. WE Oriented : คำนึงถึงภาพลักษณ์ทางสังคม และคนในครอบครัว
    4. Quality Seekers : ความมั่งคั่งเป็นเป้าหมายในชีวิต ใส่ใจในทุกรายละเอียด

    กลุ่ม Smart Choice มีแนวโน้มในการซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 3 ปีข้างหน้ามากที่สุด เพราะต้องการมีที่อยู่อาศัยของตัวเอง เพื่อแยกครอบครัว และวางแผนมีลูกในอนาคต

    ประเภทที่สนใจซื้อ 3 อันดับแรก ได้แก่ บ้านเดี่ยว 40%, ทาวน์โฮม 26% และคอนโดฯ 17% และตั้งงบประมาณในการซื้อที่อยู่อาศัย 3 อันดับแรก ได้แก่ 1-2 ล้านบาท อยู่ที่ 40%, 2-3 ล้านบาท อยู่ที่ 30% และ 3-5 ล้านบาท อยู่ที่ 20% 

    Brand มีผลต่อ GenY

    ผลสำรวจยังพบว่า Gen Y ส่วนใหญ่กว่า 95% เห็นว่าแบรนด์มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย โดย 3 อันดับแรกที่ผู้ตอบแบบสอบถามคิดว่าเป็นแบรนด์ที่ตอบโจทย์คน GenY มากที่สุด ได้แก่ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, พฤกษา และ แสนสิริ

    สื่อไหนโดน

    สำหรับสื่อที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของคน Gen Y 5 อันดับแรก ได้แก่ คำแนะนำจากคนใกล้ชิด 27%, สื่อออนไลน์ 19%, สื่อออฟไลน์ 18%, สื่อจากผู้พัฒนาอสังหาฯ 15% และโฆษณาทางโทรทัศน์ 11%

    แบงก์เผย GenY กินตลาด 35%

    จามรี เกษตระกูล รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ  SCB กล่าวว่า เทรนด์ของลูกค้า Gen Y เริ่มเข้ามาในตลาดมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลของธนาคารพบว่า มีลูกค้า Gen Y ถึง 35% และเติบโตขึ้นเกือบ30% จากปีที่ผ่านมาที่อยู่ที่ 20%

    คนกลุ่มที่มีพฤติกรรมในการใช้สื่อออนไลน์มาก ดังนั้นผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีการปรับตัว ด้วยการหันมาใช้สื่อออนไลน์ในการเข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้น ถ้ามีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยก็จะช่วยทำให้ปรับตัวได้เร็ว โดยผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหญ่จะมีวิธีการทำตลาดก่อนพัฒนาโครงการต่างกัน

    รายย่อยอาจจะมีต้นทุนการดำเนินการที่ต่ำกว่าและยังไม่พร้อมกับการใช้ Big Dataถึง77% ซึ่งค่อนข้างมีความเสี่ยง ในขณะที่ผู้ประกอบการรายใหญ่จะมีต้นทุนในการดำเนินงานที่สูงกว่า มีการเก็บข้อมูลลูกค้าเป็นDatabase มีความได้เปรียบมาก โดยจากข้อมูลครึ่งปีแรก2560 พบว่า รายใหญ่มีส่วนแบ่งตลาดถึง 78% ส่วนรายย่อยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 22%เท่านั้น

    GenY เลือกนานแต่ตัดสินใจเร็ว

    ภัทรีดา ภัทรธราดล ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ภัทรีดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด  บอกว่า Gen Y ที่นิยมค้นหาข้อมูลทางออนไลน์มาก แม้จะใช้ระยะเวลาในการเลือกช้า แต่ตัดสินใจที่เร็วมาก จึงมีการพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของลูกค้าและเน้นการสร้างแบรนด์ เพื่อสร้างความจดจำผ่านสื่อ Facebook มากขึ้น

    พฤติกรรมกลุ่ม Gen Y “ช้า แต่เร็ว” จึงต้องพัฒนาสินค้าตรงกับความต้องการ ตอบสนองให้ตรงจุด เมื่อกลุ่มนี้ตัดสินใจแล้ว ต้องตอบสนองให้เร็ว และกลุ่มนี้ยังให้ความสำคัญกับเรื่องของดีไซน์ด้วย

    สัมมา คีตสิน นักเศรษฐศาสตร์อสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า กลุ่ม Gen Y ในแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน เพราะฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน สำหรับประเทศไทยต้องแบ่งเป็นGen Y

    • Gen Y ที่มีสถานะทางการเงินดี สืบทอดมาจากรุ่นพ่อแม่
    • Gen Y ชนชั้นกลาง-ล่าง อาจมีสถานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนัก ซึ่งอาจจะมีภาระหนี้สินทั้งจากการบริโภคและการกู้ยืมเพื่อการศึกษา

    ดังนั้นทั้ง 2 กลุ่มจะมีศักยภาพในการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่ต่างกัน ขณะเดียวกันGen Y หากแบ่งตามอายุ ก็จะมีระดับอายุตั้งแต่ 28-35 ปี และ 20-27 ปี ซึ่งมีความพร้อมในการซื้อที่อยู่อาศัยไม่เท่ากัน โดยกลุ่มอายุ28-35 ปี จะมีความพร้อมที่มากกว่า

    สนับสนุนข่าวโดย : manager.co.th/ibizchannel

    ]]>
    1156424