ตลาดมือถือ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 31 Jan 2022 13:12:58 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Google ทุ่มพันล้านเหรียญในโทรคมนาคมเบอร์ 2 อินเดีย บุกทำตลาดสมาร์ทโฟนราคาถูก https://positioningmag.com/1372468 Mon, 31 Jan 2022 12:01:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372468 บริษัทเทคยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง Google ปูเเผนทุ่มทุนกว่า 1,000 ล้านเหรียญใน ‘Bharti Airtel’ โทรคมนาคมเบอร์ 2 ของอินเดีย หวังลดต้นทุนของสมาร์ทโฟนในตลาดที่ใหญ่เเละเติบโตเร็วที่สุดเเห่งหนึ่งของโลก

Google ระบุในแถลงการณ์ว่าจะมีการลงทุน 700 ล้านเหรียญสหรัฐ ใน Bharti Airtel และเข้าซื้อหุ้น 1.28% นอกจากนี้ บริษัทจะใช้เงินเพิ่มเติมอีกราว 300 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับข้อตกลงทางการค้าที่จะเกิดขึ้นต่อไปจากนี้

ตามรายงานของ Bharti Airtel บอกถึงเป้าหมายของจับมือกับพันธมิตรอย่าง Google ว่า จะเป็นการทำงานร่วมกับผู้ผลิตอุปกรณ์ “เพื่อขจัดอุปสรรคในการเป็นเจ้าของสมาร์ทโฟนในช่วงราคาต่างๆ” โดยคาดว่าจะมีการทำงานร่วมกันบน 5G และบริการคลาวด์ในประเทศ

ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการอนุมัติด้านกฎระเบียบ โดยนับเป็นความเคลื่อนไหวล่าสุดของ Google ที่พยายามจะเข้าสู่ตลาดเทคโนโลยีขนาดใหญ่ ตามเเผนที่ต้องการขยายธุรกิจไปทั่วโลก

อินเดีย เป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองของโลก เเละมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ราว 750 ล้านคน เเละยังมีอีกหลายร้อยล้านคนที่ยังไม่ได้เข้าถึงออนไลน์เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาล

นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลอินเดียยังแตกต่างจากจีน โดยมีการต้อนรับการลงทุนจากบิ๊กเทคโนโลยีของสหรัฐฯ มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Google, Amazon, Netflix และอื่นๆ ซึ่งก็มีการลงทุนไปแล้วหลายพันล้านดอลลาร์ เพื่อขยายการดำเนินงานในตลาดอินเดีย

โดยเมื่อ 2 ปีก่อน Google ก็ได้ทุ่มเงินลงทุนในอินเดียไปกว่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ กับ ‘Jio Platforms’ ซึ่งเป็นคู่แข่งของ Airtel หนึ่งในอาณาจักรเทคโนโลยีของมหาเศรษฐี Mukesh Ambani ซึ่งมีข้อตกลงที่ดึงดูดให้บริษัทต่างๆ มาร่วมพัฒนา ‘สมาร์ทโฟนราคาถูก’ สำหรับตลาดท้องถิ่น โดย Google เเละ ‘Jio’ ได้เปิดตัวสมาร์ทโฟน 4G ราคาประหยัดเครื่องแรกไปเมื่อปลายปีที่แล้ว

Sundar Pichai ซีอีโอของ Alphabet บริษัทเเม่ของ Google เรียกการลงทุนใน Airtel ว่าเป็น “ความต่อเนื่อง” ของความพยายามในการเพิ่มการเข้าถึงสมาร์ทโฟน เเละการปรับปรุงการเชื่อมต่อเพื่อรองรับรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ พร้อมช่วยเหลือบริษัทต่างๆ ในการพัฒนาเเละเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล

 

ที่มา : CNN 

 

]]>
1372468
IDC มอง ‘ตลาดสมาร์ทโฟน’ 2021 ส่งมอบเพิ่ม 7.4% ผู้บริโภคซื้อเพื่ออัพเกรด ใช้ 5G มากขึ้น https://positioningmag.com/1349493 Tue, 31 Aug 2021 12:40:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349493 IDC ประเมินภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกในปี 2021 เเม้มีปัญหาเรื่องซัพพลายเชน เเต่มีเเนวโน้มดีขึ้น ด้วยอานิสงส์เทคโนโลยี 5G ขายดีในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ผู้บริโภคยังอยากอัพเกรดเป็นระดับพรีเมียมมากขึ้น

บริษัทวิจัยตลาด International Data Corporation (IDC) เผยรายงานประเมินธุรกิจสมาร์ทโฟน ในปี 2021 โดยคาดว่า

การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลก ตลอดปีนี้ จะเพิ่มขึ้นราว 7.4% คิดเป็นส่งจำนวน 1.37 พันล้านเครื่อง และคาดว่าจะเติบโต 3.4% ในปี 2022-23

โดยการเติบโต 7.4% นั้น มาจากการเติบโตอย่างเเข็งเเกร่งของสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ที่เพิ่มขึ้นถึง 13.8% สองเท่าของ Android ซึ่งอยู่ที่ 6.2% 

ขณะที่ ตลาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปตะวันตก เติบโตได้ในระดับช่วงก่อนโควิด (ปี 2019) เเต่ตลาดเกิดใหม่อย่าง อินเดีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง เเละแอฟริกา กลับมีการเติบโตที่สูงมาก

บรรดาแบรนด์ชั้นนำต่างๆ มีการรับมือในการจัดการซัพพลายเชนได้ดีขึ้น หลังปีที่ผ่านมาต้องเผลิญสารพัดปัญหาจากวิกฤตโรคระบาด ทำให้ไทม์ไลน์การเปิดตัวสินค้าบางอย่างต้องถูกเลื่อนออกไป ซึ่งมีปีนี้ หลายเเบรนด์กลับมาเดินหน้าผลิตสินค้าตามเเผนต่อไป

ส่วนการกระจายวัคซีนที่ได้ผลดีในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคในช่วงไตรมาสล่าสุด มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง

Photo : International Data Corporation (IDC)

นอกจากนี้ การมาของเทคโนโลยี 5G’ ก็ช่วยผลักดันการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนปีนี้ได้เป็นอย่างดี เหล่าผู้ผลิตเเละผู้จัดจำหน่ายต่างมุ่งไปที่การขายสมาร์ทโฟน 5G ที่มีราคาเฉลี่ยต่ออุปกรณ์ (ASP) สูงกว่าอุปกรณ์ 4G รุ่นเก่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2020 อยู่ที่ 634 ดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนราคาของสมาร์ทโฟน 4G ก็มีการลดราคาลงครั้งใหญ่เหลือราว 206 ดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงเกือบ 30% จากปีที่แล้ว (277 ดอลลาร์สหรัฐ)

IDC ประเมินว่า การจัดส่งสมาร์ทโฟน  5G ทั่วโลก จะอยู่ที่ราว 570 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 123% จากปีที่เเล้ว โดยประเทศจีน ยังผู้นำตลาดต่อไปด้วยส่วนแบ่งตลาด 5G ทั่วโลกถึง 47.1% ตามมาด้วยสหรัฐฯ 16% อินเดีย 6.1% และญี่ปุ่น 4.1%

ทั้งนี้ คาดว่า ภายในสิ้นปี 2021 อุปกรณ์ 5G จะขึ้นครองส่วนเเบ่งสมาร์ทโฟนใหม่ในตลาดถึง 54.1% 

ด้านความสนใจของผู้บริโภค เเม้จะเผชิญกับระบาดใหญ่และไวรัสโควิดกลายพันธุ์  เหล่าผู้บริโภคยังคงมีความต้องการจะอัพเกรดเป็นสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม (ราคาตั้งเเต่ 1,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) มากขึ้นในปีนี้ เเละมีเเนวโน้มว่าผู้ซื้อจะเปลี่ยนอุปกรณ์ไปเป็นรุ่น 5G ที่มีราคาแพงกว่าเครื่องเดิมที่มีอยู่

 

ที่มา : IDC 

 

]]>
1349493
กลับมาทวงบัลลังก์! Samsung แซง Huawei ขึ้นเป็นมือถือขายดีอันดับ 1 ของโลกอีกครั้ง https://positioningmag.com/1303761 Fri, 30 Oct 2020 05:57:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303761 Samsung กลับมาทวงแชมป์มือถือขายดีอันดับ 1 ของโลกอีกครั้งในไตรมาส 3 ปี 2020 หลังจากเสียบัลลังก์ให้ Huawei เป็นการชั่วคราวเมื่อไตรมาส 2 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ Xiaomi ยังแซง Apple ขึ้นมาอยู่อันดับ 3 แต่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะ iPhone 12 ขยับมาเปิดตัวไตรมาส 4 แทน ทำให้ Apple ไม่มียอดขายแรงๆ จากสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ดังเช่นเคย

สำนักข่าว The Verge รวบรวมข้อมูลจากบริษัทสำรวจตลาด 3 แห่ง ทั้ง IDC, Counterpoint และ Canalys พบว่า Samsung แบรนด์สมาร์ทโฟนเกาหลีกลับมาทวงคืนบัลลังก์ยอดขายอันดับ 1 อีกครั้งในไตรมาส 3 ปี 2020 โดยวัดจากจำนวนเครื่องที่ส่งมอบ หลังจากไตรมาสที่ 2 นั้นเคยถูก Huawei แซงหน้าขึ้นไปยึดแชมป์

ย้อนกลับไปเมื่อช่วงไตรมาส 2 เป็นช่วงที่โรคระบาด COVID-19 ยังเล่นงานตลาดมือถือทั่วโลก ยกเว้นตลาดจีนที่เริ่มฟื้นตัวก่อนใคร ทำให้แบรนด์ Huawei ซึ่งมีตลาดหลักคือตลาดจีนได้รับอานิสงส์ ทำยอดขายในจีนดีขึ้น 12% เทียบปีต่อปี แต่เมื่อตลาดทั่วโลกเริ่มฟื้นตัวตามในไตรมาส 3 ทำให้ Samsung กลับมาแข่งขันได้อีกครั้งหนึ่ง

5 อันดับสมาร์ทโฟนขายดีที่สุดในโลก ไตรมาส 3 ปี 2020 (อ้างอิง IDC)

1.Samsung ยอดขาย 80.4 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 22.7%
2.Huawei ยอดขาย 51.9 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 14.7%
3.Xiaomi ยอดขาย 46.5 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 13.1%
4.Apple ยอดขาย 41.6 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 11.8%
5.Vivo ยอดขาย 31.5 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 8.9%

สมาร์ทโฟน Vivo X50 Pro 5G : แบรนด์ Vivo เป็นหนึ่งในเครือ BBK Electronics บริษัทที่กำลังทำยอดขายเติบโตผ่านการแตกสารพัดแบรนด์มือถือในเครือ

สำหรับอันดับ 5 แต่ละสำนักสำรวจระบุไม่ตรงกัน เนื่องจาก Vivo และ Oppo ทำยอดขายได้ใกล้เคียงกันมาก อย่างไรก็ตาม อันดับที่ 5-7 แน่ชัดว่าตกเป็นของแบรนด์ Vivo, Oppo และ Realme ซึ่งทั้งหมดอยู่ภายใต้เครือบริษัทเดียวกันคือ BBK Electronics จากประเทศจีน และถ้าหากรวมยอดขายของสามแบรนด์นี้ในไตรมาส 3 มือถือของ BBK จะมียอดขายแซง Huawei ขึ้นไปอยู่อันดับ 2

IDC ยังรายงานด้วยว่า ไตรมาส 3 ปีนี้พบการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของตลาดประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะ “อินเดีย” ซึ่งเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ของธุรกิจสมาร์ทโฟน นอกจากนี้ ประเทศอย่างบราซิล อินโดนีเซีย และรัสเซีย ก็เห็นดีมานด์ที่ดีขึ้นมาก

สวนทางกับตลาดประเทศพัฒนาแล้ว เช่น จีน ยุโรปตะวันตก และทวีปอเมริกาเหนือ ตลาดหดตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2019 ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดจาก Apple เลื่อนการออก iPhone รุ่นใหม่จากไตรมาส 3 ไปเป็นไตรมาส 4 ทำให้ยอดขายในแถบนี้หดตัวลง และเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ Xiaomi ขึ้นไปครองอันดับ 3 ได้อย่างที่เห็น

Source: The Verge, Businesswire

]]>
1303761
สัญญาณอิ่มตัวมาแล้ว! ตลาดมือถือไทยไตรมาสแรกเริ่มโตอืด แต่รายได้ 3 ค่าย AIS-True-Dtac รวมกัน เกือบแสนล้าน กำไรถ้วนหน้า https://positioningmag.com/1229654 Mon, 13 May 2019 23:05:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1229654 ผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2562 ของ 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือของไทยที่ทยอยแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ พบว่ารายได้เฉพาะบริการธุรกิจมือถือเอไอเอส มีรายได้รวมมากที่สุด 33,555 ล้านบาท โตขึ้น 1.1% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่ได้รายได้ 31,208 ล้านบาท จากจำนวนลูกค้าในระบบทั้งหมด 41.49 ล้านราย มีจำนวนลูกค้าเพิ่มขึ้น 321,500 ราย 

ค่ายทรู มีรายได้จากการให้บริการมือถือรองลงมาเป็นอันดับ 2 ด้วยรายได้รวม 19,103 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.6% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีรายได้ได้อยู่ที่ 17,756 ล้านบาท โดยที่กลุ่มทรูมีจำนวนลูกค้ามือถือในระบบทั้งหมด สิ้นไตรมาส 1 อยู่ที่ 29.6 ล้านราย เพิ่มขึ้น 338,000 ราย  

ส่วนดีแทค อยู่ในอันดับ 3 มีรายได้จากบริการมือถืออยู่ที่ 15,124 ล้านบาท ลดลง 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีรายได้อยู่ที่ 16,041 ล้านบาท จากจำนวนลูกค้าทั้งหมด 20.72 ล้านราย มียอดลูกค้าลดลงไป 476,000 ราย 

แต่เมื่อเทียบรายได้ต่อเลขหมายของทั้ง 3 ค่ายแล้ว เอไอเอสเป็นรายที่มีรายได้ต่อเลขหมายสูงสุดที่ 253 บาท ดีแทคอยู่ในอันดับ 2 ที่ 242 บาทต่อเลขหมาย และทรูอยู่ในอันดับ 3 มีรายได้ 205 บาทต่อเลขหมาย  

เมื่อเทียบอัตราการเติบโตตลาดรวมของธุรกิจมือถือของไทยในไตรมาสแรกนี้ กับการเติบโตทั้งปีของปี 2561 จะพบว่ามีการเติบโตในอัตราใกล้เคียงกัน โดยในปี 2561 ค่ายทรูโต 7.3% เอไอเอส 1.3% และดีแทคติดลบ 2.8% ทำให้เห็นว่า อัตราการเติบโตของตลาดมือถือในไทยกำลังจะเข้าสู่จุดอิ่มตัว ที่จะต้องขยายต่อยอดบริการอื่นๆ บนโครงข่ายแทน

ตลาดบรอดแบนด์แข่งกันแรงจัด เอไอเอสโต 27% แต่ทรูลด 2.3% 

สำหรับธุรกิจบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต ที่มีเพียงทรูและเอไอเอสให้บริการอยู่เพียง 2 รายเท่านั้น ในไตรมาสแรกปีนี้ พบว่า เอไอเอสมียอดรายได้เติบโตสูงถึง 27% โดยมีรายได้รวมจากธุรกิจนี้อยู่ที่ 1,288 ล้านบาท เพิ่มจาก 1,013 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปี 2561 เอไอเอสมียอดผู้ใช้บริการรวมอยู่ที่ 795,000 ราย เพิ่มขึ้น 64,500 ราย มีรายได้ 563 บาทต่อลูกค้า 1 ราย ทั้งนี้เอไอเอสตั้งเป้าจะมีลูกค้าบรอดแบนด์ทั้งปี อยู่ที่ 1 ล้านราย

ส่วนทรูที่เป็นเจ้าตลาดในธุรกิจนี้มาอย่างยาวนาน เป็นไตรมาสแรกที่มีรายได้ลดลง 2.3% โดยมีรายได้รวมบริการนี้อยู่ที่ 6,186 ล้านบาท จากไตรมาสแรกของปี 2561 มียอดรายได้รวมอยู่ที่ 6,329 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ทรูมียอดลูกค้ารวมถึง 3.5 ล้านราย และมีตัวเลขยอดลูกค้าเพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ 55,000 ราย โดยเป็นยอดลูกค้าติดตั้งใหม่ที่น้อยกว่าเอไอเอส แต่ยังมี ARPU สูงกว่าเอไอเอส อยู่ที่ 587 บาทต่อลูกค้า 1 ราย  

สาเหตุที่รายได้จากธุรกิจบรอดแบนด์ของทรูลดลงเป็นครั้งแรก เพราะสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรง นอกจากเอไอเอสแล้ว ก็ยังมี 3BB ของกลุ่มจัสมิน ที่เป็นอีกหนึ่งรายใหญ่ในตลาดเข้าไปแข่งกันในทุกที่  

โดยที่ทรูออนไลน์ระบุว่า ในไตรมาสต่อไป ได้มุ่งเน้นเพิ่มฐานลูกค้าคุณภาพสูง และทำแพ็กเกจร่วมกับ TrueID TV OTT box เพื่อผลักดันยอดเติบโตต่อไป  

รายได้รวม 3 ค่ายไตรมาสแรก เกือบแสนล้าน กำไรถ้วนหน้า

ในส่วนของรายได้รวมของ 3 ค่ายยักษ์ใหญ่นี้ ในไตรมาสแรก ทั้ง 3 ค่ายทำรายได้รวมกันถึง 95,439 ล้านบาท เป็นกำไรรวมกัน 10,522 ล้านบาท 

เอไอเอส มีรายได้มากที่สุด จากบริษัทมือถือ บรอดแบนด์ และรายได้เสริมจากเครือข่าย โดยมีรายได้รวมทั้บริษัทอยู่ที่ 43,824 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 40,933 ล้านบาท และมีกำไร 7,615 ล้านบาท แต่เป็นอัตราลดลง 5.3% จากไตรมาสแรกปีที่แล้วที่มีกำไรอยู่ที่ 8,037 ล้านบาท  

ค่ายทรู ที่มีธุรกิจตั้งแต่มือถือ บรอดแบนด์ ทีวี เพย์ทีวี และธุรกิจออนไลน์ มีรายได้รวม 32,955 ล้านบาท ลดลง 0.4% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ที่มีรายได้ 33,087 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากนโยบายการลดการทำโปรโมชั่น subsidy อุปกรณ์มือถือ และมีรายงานกำไรอยู่ที่ 1,509 ล้านบาท จากปีที่แล้วขาดทุนอยู่ที่ 673 ล้านบาท ทั้งนี้ตัวเลขกำไรของทรูยังไม่รวมผลการเพิ่มมูลค่าของกองทุน Digital Infrastructure Fund ที่จะทำให้มีสัดส่วนกำไรลดลง 

ดีแทค เบอร์ 3 ของตลาด ที่มุ่งเน้นการให้บริการเครือข่ายมือถืออย่างเดียว มีรายได้รวม 19,660 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.1% เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีรายได้รวม 19,255 ล้านบาท และยังสามารถทำกำไรได้ที่ 1,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.1% จาก 1,314 ล้านบาทในปีก่อนหน้า  

อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 ค่ายเพิ่งแจ้ง กสทช.ขอเข้าโครงการเลื่อนการชำระเงินประมูลคลื่น 900 MHz ตามคำสั่ง คสช.4/2562 และแจ้งความประสงค์เบื้องต้นให้ความสนใจเข้าประมูลคลื่น 700 MHz ที่นำมาจากกิจการทีวีดิจิทัลเพื่อมาให้กลุ่มโทรคมนาคมประมูลไปให้บริการ 5G.

]]>
1229654