ตลาดแรงงาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 06 Jan 2025 11:37:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิด ’10 อาชีพมาแรง’ ที่ไม่ตกยุคและตลาดต้องการตัวเป็นอย่างมาก https://positioningmag.com/1505503 Mon, 06 Jan 2025 09:24:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1505503 ยุคนี้เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายและเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการเข้ามาดิสรัปต์ของเทคโนโลยีในหลากหลายวงการ ไม่เว้นกระทั่ง ‘โลกของการทำงาน’ อย่างที่จะเห็นได้ว่า ทักษะและความรู้ด้านเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับการทำงานไม่น้อย รวมถึงเปลี่ยนภูมิทัศน์ของตลาดแรงงาน จากอาชีพที่เคยโดดเด่นเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ตอนนี้อาจจะไม่ใช่เช่นนั้นอีกต่อไป 

 

บทความนี้เราจึงอยากพาไปดูว่า จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ส่งผลให้สายงานอาชีพใดมาแรง กลายเป็น ‘อาชีพแห่งอนาคต’ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานบ้าง

 

10 อาชีพมาแรงในอนาคต ประกอบด้วย 

 

1.Software Developer

 

เมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น แน่นอนว่า Software Developer จึงเป็นอาชีพที่ตลาดต้องการเป็นอันดับต้น ๆ เพราะธุรกิจหรือองค์กรส่วนใหญ่จำเป็นต้องมีเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของตัวเอง เพื่อเป็นช่องทางสื่อสาร ตลอดจนเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะถูกนำมาใช้สร้างความสะดวกสบายให้กับลูกค้าของตนเอง 

 

สำหรับทักษะที่อาชีพนี้ต้องมีติดตัวไว้ อย่างเช่น Coding Language, Machine Learning, Analytical Skills และ Mathematics และ Statics เมื่อทำงานไปสักระยะ Software Developer อาจต่อยอดไปสู่สายงานอย่าง Programmer Analysts ได้เช่นกัน

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 25,000-140,000 บาท/เดือน

 

2.AI & Machine Learning Engineer

 

หากพูดถึงโลกอนาคต ณ เวลานี้คงหนีไม้พ้นเรื่องของ AI ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และเป็นผลให้ AI Engineer และ Machine Learning Engineer เป็นอาชีพมาแรงที่ตลาดแรงงานในอนาคตต้องการตัวสูง โดยอาชีพนี้ จะอาศัยความเชี่ยวชาญในการด้านการผลิตและการเรียนรู้เครื่องจักรกล เพื่อเป็นการร่วมกันผลิตผลงานโดยมนุษย์และ A​I ให้ออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ขณะที่ทักษะที่อาชีพนี้จำเป็นต้องมี เช่น Coding และ Computer Skill, Marketing Skill, Machine Learning หรือ Mathematics และ Statics ฯลฯ ส่วนเส้นทางการต่อยอดในสายอาชีพนั้น สามารถเติบโตไปสู่การเป็น Machine Learning Engineer หรือ Data Engineer ได้ในอนาคต

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 60,000-80,000 บาท/เดือน

 

3.Data Analysts

 

ยุคปัจจุบัน เป็นโลกของ Big Data ที่เป็นตัวขับเคลื่อนให้การทำการตลาด หรือการทำธุรกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยวางแผนในการดำเนินด้านกลยุทธ์ได้อย่างแม่นยำและชนะคู่แข่ง จึงไม่น่าแปลกใจที่อาชีพ Data Analysts จะเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน

 

สำหรับหน้าที่ของ Data Analyst คือต้องวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็น Insights เพื่อตอบรับเรื่องของการวางกลยุทธ์ วิเคราะห์เรื่องยอดขาย ผสานกับการดูแลเรื่องต้นทุนในธุรกิจของบริษัท รวมไปถึงรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่มี เพื่อนำมาใช้ส่งเสริมการทำงานของฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดการธุรกิจ หรือแผนกที่เกี่ยวข้องกับซัพพลายเออร์ 

 

ทักษะของสายอาชีพนี้ที่ต้องมี ได้แก่ Mathematics และ สถิติ, Analytical Skill, Communication Skill, Storytelling, Microsoft Excel และ SQL รวมไปถึงการเข้าใจเรื่องของกระบวนการธุรกิจ ในอนาคตหากอยากเติบโตสายอาชีพนี้ก็สามารถพัฒนาไปยังตำแหน่ง Business Development หรือ Static Analysis ได้เช่นกัน

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 40,000-80,000 บาท/เดือน

 

4.Data Scientists

 

อีกหนึ่งอาชีพที่มาแรง ได้แก่ Data Scientists ที่มองเผิน ๆ อาจคล้ายกับ Data Analyst แต่ความจริงมีความแตกต่างกันอยู่ โดย Data Scientists จะเปรียบเหมือน ‘นักวิทยาศาสตร์ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล’ ก่อนจะนำข้อมูลไปสรุปผลออกมาเป็นรายงานที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปต่อยอดในส่วนต่าง ๆ ของธุรกิจ ทั้งการทำตลาด หรือการวางแผนธุรกิจ

 

หลัก ๆ อาชีพนี้จะทำหน้าที่ 2 ส่วน คือ การวิเคราะห์ผสานโมเดลการทำนายผล และวิเคราะห์เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนให้คำปรึกษาและข้อมูลที่แม่นยำแก่ทุกฝ่ายสำหรับนำไปต่อยอดในการกระตุ้นยอดขาย หรือสร้างแคมเปญโปรโมตสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่าเม็ดเงินที่ลงทุนไปมากที่สุด

 

ทักษะที่ Data Scientists ต้องมีคือ Mathematics และ Statics, Machine Learning, Software Engineering, Data Analysis, Data Visualizations รวมไปถึงการเข้าใจด้านการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น ส่วนการต่อยอดในอาชีพสามารถพัฒนาไปยังอาชีพ Data Engineer หรือ Programmer 

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 35,000-80,000 บาท/เดือน

 

5.Digital Marketing

 

อาชีพ Digital Marketing เข้ามาบทบาทมากในทำการตลาดในโลกยุคดิจิทัล โดยผู้ที่ทำอาชีพนี้ จะต้องมีความรู้ด้าน Digital Marketing รวมไปถึงสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นได้ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดหรือโปรโมตธุรกิจให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านช่องทางต่าง ๆ ได้มากขึ้น อีกทั้งยังต้องทำหน้าที่ในการคิดคอนเทนต์ หรือเนื้อหาต่าง ๆ ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีให้ลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัลต่าง ๆ ได้ด้วย

 

อาชีพนี้ จึงต้องมีทักษะ เช่น Marketing Skill, Technical Skill, Creative Data Analytic Skill, Digital Presentation Skill, Content Creator Skill, E-Commerce, SEO/SEM, Graphic Designer รวมไปถึงความรู้ในการใช้ Tools หรือเครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อโปรโมตและดึงข้อมูลด้านการตลาดออนไลน์ เป็นต้น

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 30,000-80,000 บาท/เดือน

 

6.Digital Marketing Analyst

 

Digital Marketing Analyst จะเป็นอาชีพที่ผสมผสานระหว่าง Data Analyst และ Digital Marketing เข้าไว้ด้วยกัน โดยหน้าที่หลักคือ จะต้องหาข้อมูล Insight เกี่ยวกับตัวผู้บริโภคและลูกค้าของธุรกิจ รวมถึงทำรีเสิร์ชเกี่ยวกับเทรนด์การตลาดในธุรกิจที่ดูแล และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์ ก่อนการทำการตลาดออนไลน์ และทำหน้าที่เสนอแผนงานให้ฝ่าย Sales & Marketing หรือ ฝ่าย Business Development ของบริษัทเพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น

 

สำหรับทักษะที่ Digital Marketing Analyst ควรมี ได้แก่ Data Analytical Skill, Data Visualization, Marketing Skill, Communication Skill, Presentation Skill ตลอดจนการใช้ ​Tools ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Marketing

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 50,000-80,000 บาท/เดือน

 

7.Business Operations

 

อาชีพ Business Operations จะเน้นการสื่อสารและพัฒนาภายในองค์กรเป็นหลัก โดยจะทำหน้าที่ในการดูแลระบบการทำงานภายในองค์กร คอยจัดการขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างราบรื่นมีประสิทธิภาพมากที่สุด และป้องกันการเกิดปัญหาภายในองค์กรให้น้อยที่สุด เพราะหากภายในบริษัทมีระบบรากฐานที่ดี ก็จะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้อาชีพนี้มาแรง เป็นที่ต้องการของตลาด

 

ผู้ที่ต้องการก้าวสู่สายอาชีพนี้ ต้องมีทักษะ เช่น Business Development, Project Management, Communication Skill หรือ Presentation Skill ฯลฯ และในอนาคต Business Operations ยังสามารถต่อยอดด้านอาชีพไปเป็น Project Manager และ Business Development ได้ด้วย

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 30,000-50,000 บาท/เดือน

 

8.Organization Development

 

แม้ AI จะเข้ามามีบทบาทในโลกการทำงานมากขึ้น แต่เรื่องของการบริหารมนุษย์นั้น ยังไงมนุษย์ด้วยกันเองก็สามารถทำหน้าที่ได้ดีกว่า AI แน่นอน ดังนั้นสายงานด้าน Organization Development จึงไม่มีทางตกเทรนด์ และเป็นอาชีพที่ต้องการในอนาคตต่อไป

 

สำหรับทักษะที่จำเป็นต้องมีหากอยากจะอยู่ในสายอาชีพนี้ ก็คือ Human Resources, Project Management, Communication Skill, Training Skill หรือ Business Development ฯลฯ

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 40,000-60,000 บาท/เดือน

 

9.Cybersecurity

 

ยุคนี้โลกของเราไม่เพียงต้องเจอการระบาดของโรคภัยแล้ว แต่ยังต้องเผชิญกับการระบาดของมิจฉาชีพออนไลน์หรือแก๊งคอลเซ็นเตอร์อีกด้วย Cybersecurity จึงเป็นอีกอาชีพที่มาแรง แถมในตอนนี้ยังขาดแคลนในตลาดแรงงานทั่วโลกอีกด้วย 

 

โดยทักษะที่จำเป็นที่ต้องมีสำหรับอาชีพ Cybersecurity ได้แก่ ทักษะ Programming หรือ Coding ความรู้ด้านระบบอินเทอร์เน็ต วิศวกรคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านซอฟต์แวร์และการใช้เครื่องมือ Cybersecurity ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ฯลฯ

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 60,000-100,000/เดือน 

 

10.Content Creator

 

Content Creator เป็น ‘อาชีพมาแรงแห่งยุค’ เพราะจะเห็นได้ว่า เป็นอาชีพที่คนต้องการทำและมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากมายในปัจจุบัน ทั้งคนที่ทำอาชีพนี้กันอย่างจริงจัง หรือทำเป็นอาชีพเสริม ซึ่งหากทำแล้วปัง ก็สามารถหารายได้แบบเป็นกอบเป็นกำได้ไม่ยาก

 

สำหรับทักษะหลัก ๆ ที่ Content Creatorจำเป็นต้องมี ได้แก่ Writing Skill, Copywriting Skill, การพูด, การดำเนินรายการ, การทำกราฟิก, การตัดต่อวิดีโอ, Motion Effect, Marketing Skill, Communication Skill ฯลฯ ซึ่งอาชีพนี้สามารถต่อยอดหรือเติบโตไปเป็น Content Manager, Content Marketing หรือ Creative Director ได้ในอนาคต

 

ฐานเงินเดือนโดยประมาณ : 25,000-50,000 บาท/เดือน

 

ที่มา : Jobsb

 

]]>
1505503
บริษัทเทคโนโลยีปลดพนักงานมีจำนวนลดลงแล้ว แต่ยังไม่กลับมาจ้างงานมากเท่าเดิม แม้ AI จะกำลังบูมก็ตาม https://positioningmag.com/1441462 Fri, 18 Aug 2023 01:49:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1441462 บทวิเคราะห์ของ Jefferies วาณิชธนกิจในสหรัฐอเมริกา ที่ได้อ้างอิงข้อมูลจากแพลตฟอร์มหางานในสหรัฐอเมริกา ชี้ว่า สถานการณ์ของบริษัทเทคโนโลยีที่ได้มีมาตรการปลดพนักงานจำนวนมาก จากปัญหาสภาวะเศรษฐกิจนั้นล่าสุดมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัดแล้ว แต่ตัวเลขตำแหน่งการจ้างงานกลับมายังไม่เท่าเดิม

บทวิเคราะห์จาก Jefferies ได้อ้างอิงข้อมูลจาก TrueUp ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับหางาน นั้นล่าสุดเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีการปลดพนักงานจำนวน 14,700 ตำแหน่ง ขณะที่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 14,600 ตำแหน่ง ขณะเดียวกันคาดการณ์ว่าตัวเลขในการปลดพนักงานในเดือนสิงหาคมจะเหลือแค่ 5,600 ตำแหน่งเท่านั้น

สำหรับการปลดพนักงานในช่วงที่ผ่านมานั้นหลายบริษัทเทคโนโลยีได้ชี้ว่าสาเหตุสำคัญมาจากยอดขายบริษัทลดลง ต้นทุนของบริษัทเพิ่มสูงขึ้นจากสภาวะเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ยังรวมถึงจากความมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ลดลงจากความกังวลว่าเศรษฐกิจจะเข้าสู่สภาวะถดถอย

จำนวนการปลดพนักงานของบริษัทเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมานั้น บริษัทที่ปลดพนักงานจำนวนมากสุดคือ Accenture บริษัทที่ปรึกษาด้านไอทีที่ 19,000 ราย รองลงมาคือ Amazon ที่ 18,000 ราย และ Google ที่ 12,000 ราย หรือแม้แต่ Meta รวมถึงผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือย่าง Vodafone ที่ปลดพนักงานไปมากถึง 11,000 ราย

ซึ่งการปลดพนักงานเหล่านี้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นมีจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 รายเลยทีเดียว

ข้อมูลจาก TrueUp

ขณะที่ตำแหน่งการจ้างงานนั้นข้อมูลล่าสุดในวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมาอยู่ที่ 176,819 ตำแหน่ง กำลังฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในเดือนมีนาคมซึ่งมีตำแหน่งงานเปิดราวๆ 163,014 ตำแหน่งเท่านั้น อย่างไรก็ดีตำแหน่งงานที่เปิดล่าสุดยังต่ำว่าจุดสูงสุดที่ตำแหน่งงานเปิดมากถึง 63% จากจุดสูงสุด

อย่างไรก็ดีตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครในเวลานี้กลับไม่ได้เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าจะมีเทคโนโลยี AI โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามาของ ChatGPT ที่ทำให้บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งต้องรีบพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าว

Brent Thill นักวิเคราะห์ของ Jefferies ยังได้กล่าวว่าในบทวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงของแรงงานที่มีทักษะต่ำกว่าจะถูกบีบจากการเข้ามาของ AI ยิ่งทำให้แรงงานเหล่านี้จะต้องเพิ่มหรือเสริมทักษะสำหรับโอกาสในการหางานใหม่หลังจากนี้

]]>
1441462
McKinsey ชี้ 4 สายงานมีความเสี่ยงจากการเข้ามาของ AI แต่มองว่าอัตราว่างงานจะไม่เพิ่มขึ้นสูงถึง 50% https://positioningmag.com/1439357 Mon, 31 Jul 2023 05:26:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439357 รายงานของ McKinsey Global Institute ได้ชี้ถึงความเสี่ยงของ 4 สายงานที่อาจได้รับผลกระทบจากการเข้ามาของ AI รวมถึงระบบอัตโนมัติ อย่างไรก็ดีรายงานดังกล่าวชี้ว่าถ้าหากมองจากอดีตแล้วอัตราว่างงานกลับไม่เคยเพิ่มขึ้นสูงถึง 50% ด้วยซ้ำ และมองว่าเรื่องนี้เป็นความท้าทายครั้งใหม่เหมือนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

McKinsey Global Institute ได้ออกรายงานเกี่ยวกับผลกระทบของตลาดแรงงานจากการเข้ามาของ AI ในสหรัฐอเมริกา โดยรายงานดังกล่าวชี้ว่าอาชีพหลายสายอาจพบกับความเสี่ยงของตำแหน่งงานภายในปี 2030 นอกจากนี้ยังคาดว่าแรงงาน 12 ล้านคนอาจได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย

รายงานดังกล่าวชี้ว่า 4 สายอาชีพที่มีความเสี่ยงได้แก่ สายงานด้าน Office Support สายงานด้าน Customer Service และ Sales สายงานด้าน Food Services รวมถึงสายงานที่เกี่ยวกับภาคการผลิต โดยคาดว่าจะมีการจ้างงานในสายอาชีพดังกล่าวลดลง 75% ภายในปี 2030

เหตุผลที่รายงานดังกล่าวได้ชี้คือ งาน 4 กลุ่มเหล่านี้ระบบอัตโนมัติ (Automation) สามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีการเก็บข้อมูล ความแม่นยำที่สูงกว่า นอกจากนี้ในรายงานยังตั้งข้อสังเกตว่าแชทบอท AI ที่ได้รับการปรับแต่งมาแล้วอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการบทบาทการบริการลูกค้าหลังจากนี้

ขณะเดียวกันแรงงานที่มีรายได้ต่ำเองก็มีความเสี่ยงกับการเข้ามาของ AI ด้วยเช่นกัน รายงานดังกล่าวชี้ว่ากลุ่มแรงงานเหล่านี้มีแนวโน้มจะต้องเปลี่ยนสายอาชีพเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

ในรายงานยังประเมินว่าระบบ Automation อาจเข้ามาแทนที่งานคิดเป็น 21.5% ของชั่วโมงทำงานในระบบเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ภายในปี 2030 แต่การประเมินล่าสุดคาดว่าอาจสูงมากถึง 29.5% แล้ว

การเข้ามาของ AI ยังเป็นประโยชน์ต่อสายงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สายงานที่ใช้วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ สายงานด้านกฎหมาย สายงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงสายงานด้านธุรกิจ ในรายงานดังกล่าวยังชี้ถึงความต้องการอาชีพที่มีค่าจ้างสูงในอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยี รวมถึงด้านการขนส่งนั้นมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมากในอนาคต

นอกจากนี้รายงานของ McKinsey Global Institute ได้ชี้ถึงประวัติศาสตร์ในอดีตว่าในช่วงเวลาหนึ่งคนงานส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ เกี่ยวข้องกับการเกษตร แต่หลายปีต่อมามีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้มีคนทำงานในโรงงานมากขึ้น แต่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ไม่ได้จบลงด้วยอัตราการว่างงาน 50% รายงานยังชี้ว่าการเข้ามาของ AI ถือเป็นความท้าทายครั้งใหม่

แม้ว่ารายงานดังกล่าวจะเกี่ยวกับตลาดแรงงานในสหรัฐอเมริกา แต่ตลาดแรงงานในประเทศไทยถือว่าเป็นตลาดแรงงานที่คล้ายคลึงกับสหรัฐฯ ในบางส่วน ซึ่งในอนาคตถือเป็นความท้าทายเช่นกัน

]]>
1439357
ตลาดแรงงานสหรัฐฯ แข่งเดือด! ‘Amazon’ อัดเงินเดือนเพิ่ม ‘เท่าตัว’ หวังดึงดูดคนเข้าบริษัท https://positioningmag.com/1373159 Tue, 08 Feb 2022 06:18:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373159 Amazon (อเมซอน) บริษัทค้าปลีกออนไลน์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ กำลังเพิ่มฐานเงินเดือนสูงสุดสำหรับพนักงานในองค์กรจาก 160,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เป็น 350,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี เนื่องจากตลาดแรงงานในปัจจุบันมีการแข่งขันสูง บริษัทจึงต้องปรับฐานเงินเดือนเพื่อดึงดูด

Amazon เปิดเผยว่า บริษัทเตรียมปรับฐานเงินเดือนพนักงานออฟฟิศใหม่สูงสุดที่ 350,000 ดอลลาร์สหรัฐ จากเพดานเดิมที่ 160,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มกว่าเท่าตัวเลยทีเดียว โดยฐานเงินเดือนดังกล่าว ไม่ใช่ค่าตอบแทนทั้งหมด ของบริษัท ซึ่งยังไม่รวม โบนัส นอกเหนือจากการขึ้นค่าจ้างพื้นฐานแล้ว Amazon ยังจะเพิ่มค่าตอบแทนโดยรวมสำหรับงานส่วนใหญ่ทั่วโลกอีกด้วย

“ปีที่ผ่านมาได้เห็นตลาดแรงงานที่มีการแข่งขันสูง ดังนั้น เพื่อที่จะคงความสามารถในการแข่งขัน เราจำเป็นต้องดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถระดับสูงไว้ เราจึงตัดสินใจที่จะเพิ่มจำนวนแรงงานของเราให้มากขึ้นอย่างมีความหมาย รวมถึงเพิ่มระดับค่าตอบแทนมากกว่าที่เราทำในปีปกติ” โฆษกของ Amazon กล่าว

จากรายงานของ Business Insider ที่อ้างถึงการสำรวจภายใน Amazon พบว่า การเปลี่ยนแปลงขององค์กรเกิดขึ้นเมื่อพนักงานของ Amazon เริ่มลาออกมาขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากพวกเขามองว่า Amazon ให้ค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าตลาด ทำให้ค่าจ้างพื้นฐานได้ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักสำหรับพนักงานที่ต้องการลาออกจากบริษัท

ยิ่งเมื่อการระบาดของ COVID-19 ทำให้คนงานมีอำนาจในการเรียกร้องผลประโยชน์และการจ่ายเงินที่ดีขึ้น บริษัทจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงต้องเสนอการทำงานที่ยืดหยุ่นมากขึ้นเพื่อดึงดูด เช่น การจ้างงานทางไกลหรือการทำงานแบบ Hybrid นั่นทำให้ Amazon และบริษัทเทคโนโลยีอื่น ๆ ยอมรับว่าการไม่เสนอผลประโยชน์เหล่านั้นอาจส่งผลเสียต่อความสามารถในการดึงดูดหรือรักษาผู้มีความสามารถไว้

ทั้งนี้ Amazon นั้นไม่ได้ติดอันดับ 1 ใน 7 ของผู้จ้างงานแรงงานด้านวิศวกรรมในปีที่แล้ว ตามข้อมูลของ Levels.fyi ซึ่งติดตามการจ่ายเงินในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีพบว่า ตำแหน่งวิศวกรระดับบนสุดของ Roblox สามารถทำเงินได้มากกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่วิศวกรใน Facebook สามารถทำเงินได้มากกว่า 900,000 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวนับรวมค่าตอบแทนทุกรูปแบบ ไม่ใช่แค่เพียงฐานเงินเดือน

Source

]]>
1373159
Call Center สายงานเนื้อหอมแห่งปี! โตสวนกระแส สอบรับธุรกิจดิจิทัลโตพุ่ง https://positioningmag.com/1348774 Sun, 12 Sep 2021 13:51:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348774 แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย ชี้ความต้องการแรงงานกลุ่มบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ (Call Center) โตต่อเนื่อง สอดรับเทรนด์ธุรกิจเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร, ธุรกิจดิจิทัลและอีคอมเมิร์ซโตสวนกระแสก้าวสู่ยุค Next Normal

สายงานโคสวนกระแสโควิด!

ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติโควิด-19 ความต้องการแรงงานในกลุ่มบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ หรือ Call Center มีการเติบโตต่อเนื่อง 3-4 ปีต่อกัน

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย สำรวจทิศทางตลาดงานในปัจจุบันพบว่ากลุ่มงานบริการลูกค้าทางโทรศัพท์มีความต้องการสูง ปัจจัยหนุนด้านพฤติกรรมผู้บริโภคเน้นความสะดวกสบาย และความรวดเร็วตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ทั้งทางโทรศัพท์ และทางแชท นับเป็นตลาดงานที่เนื้อหอมแห่งปี พร้อมระบุเป็นโอกาสทองของนักศึกษาจบใหม่ รวมถึงกลุ่มคนทำงานที่ต้องการความยืดหยุ่นสูงทั้งแบบรายวันและรายเดือน

สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยว่า

“ทิศทางที่ต้องจับตาแรงงานกลุ่มบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ หรือ Call Center ซึ่งพบว่างานกลุ่มนี้ในปัจจุบันมีความต้องการสูง ด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการใช้บริการตามไลฟ์สไตล์ของคนในปัจจุบันซึ่งนิยมสื่อสารทั้งทางโทรศัพท์และทางแชท แต่จำนวนผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมนี้ก็ยังน้อยกว่าที่ตลาดต้องการในปัจจุบัน เนื่องจากการเลือกสรรและอัตราการหมุนเวียนที่สูง

ส่งผลให้ตลาดงานในสายบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ทั้งตำแหน่ง Call Center (Inbound & Outbound), Customer Service, Customer Support, Telesales, Collector และ Call Agent เป็นตลาดงานที่มีศักยภาพซึ่งมีการเติบโต 3-4 ปีต่อเนื่องกัน รวมทั้งยังมีเม็ดเงินการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจบริการทางโทรศัพท์อย่างต่อเนื่องอีกด้วย”

โอกาสทองของเด็กจบใหม่

นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสทองสำหรับนักศึกษาจบใหม่ รวมถึงกลุ่มคนหางานที่ต้องการตอบโจทย์ตามไลฟ์สไตล์ของตัวเอง เพราะลักษณะงานมีความยืดหยุ่นสูงทั้งแบบรายวัน และรายเดือน สำหรับภาพรวมความต้องการแรงงานกลุ่มบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ หรือ Call Center นับว่ามีความต้องการในตลาดสูง หากเทียบกับกลุ่มงานอื่นๆ ในขณะนี้

ซึ่งลักษณะการจ้างงานในกลุ่มนี้จะมีทั้งแบบประจำและสัญญาจ้างโดยมีทั้งแบบระยะสั้น 3-6 เดือน หรือสัญญาจ้างระยะยาวแบบปีต่อปี เป็นต้น

Photo : Shutterstock

ปัจจุบัน การสรรหาบุคลากรในกลุ่มนี้ในปัจจุบันมีกระบวนการคัดสรรที่เข้มข้นมากขึ้น แปรผันตามโจทย์ต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงพฤติกรรมของลูกค้าที่ต้องเตรียมพร้อมรับมือในสถานการณ์ที่หลากหลาย

ทักษะสำคัญของคนทำงานในสายงานนี้ต้องเป็นผู้ที่ มีการสื่อสารที่ดี, เป็นผู้ฟังที่ดี, มีทัศนคติเชิงบวกและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ ยิ่งหากมีความสามารถทางด้านพิมพ์ดีดและทักษะด้านภาษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาที่สอง และสาม จะเป็นข้อได้เปรียบเพิ่มเติม เนื่องจากสิ่งนี้จะช่วยให้พนักงานสามารถทำตามข้อกำหนดที่หลากหลาย และดูแลลูกค้าได้มากขึ้น

การรับมือกับภาวะขาดแคลนแรงงานในกลุ่มนี้ จึงต้องมีการทำความเข้าใจตลาดงาน-ตลาดคน โดยเฉพาะสถานการณ์ในปัจจุบันเพื่อให้เข้าใจมุมมองรอบด้านสู่การวางแผนกำลังคนได้อย่างเหมาะสม ด้านแรงงานหากเปิดรับโอกาสและแสวงหาประสบการณ์ เรียนรู้ รวมถึงการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอก็จะทำให้ก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานได้ แม้ต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ การรับมือกับความเปลี่ยนแปลงด้วยการเตรียมพร้อมจะทำให้นานาองค์กรและแรงงานสามารถก้าวผ่านในทุกปัญหาและประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

]]>
1348774
ผ่าตลาดแรงงานครึ่งปีแรก “ท่องเที่ยว-โรงแรม-การบิน” ยังเคว้งอีกยาว “อาหาร” ยังต้องการสูง https://positioningmag.com/1344486 Thu, 12 Aug 2021 14:12:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1344486 ผ่าตลาดแรงงานในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 คนไทยยังมีความต้องการสมัครงานสูง การแข่งขันสูงขึ้น กลุ่มอาหาร ยานยนต์ และบริการ ยังมีความต้องการสูงที่สุด ส่วนกลุ่ม “ท่องเที่ยว-โรงแรม-การบิน” ยังเคว้งอีกยาว หลายองค์กรเริ่มเปิดรับการทำงานแบบ Work from Home มากขึ้น

โลกการทำงานในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน โดยมีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดทำให้เกิดนวัตกรรม เกิดอาชีพใหม่ๆ ตลอดจนปัญหาระบบการศึกษาที่ไม่สามารถผลิตคนได้ตอบโจทย์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานเป็นวงกว้าง

แสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการของจ๊อบไทย (JobThai) เปิดเผยถึงข้อมูลการหางาน สมัครงาน จากการรวบรวมข้อมูลในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 พร้อมวิเคราะห์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบกับตลาดแรงงานไทย พบว่า ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2564 มีผู้ต้องการหางาน สมัครงาน เพิ่มขึ้นกว่าปี 2563

Photo : Shuttetstock
  • มีผู้ใช้งานสะสมมากกว่า 13 ล้านคน เติบโตขึ้น 17%
  • มีการสมัครงาน 9.6 ล้านครั้ง เติบโตขึ้น 8%
  • องค์กรมีการเปิดรับพนักงานรวมทั้งหมด 772,145 อัตรา เพิ่มขึ้น 13.70%
  • ในช่วงที่ผ่านมาหลายองค์กรมีการเปิดรับบุคลากรโดยสามารถทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) หรือทำงานทางไกล (Remote Working) 11,036 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3-4 ปี 2563 18.70%
  • องค์กรยังเปลี่ยนมาสัมภาษณ์งานทางออนไลน์มากถึง 78,101 อัตรา เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3-4 ปี 2563 ถึง 208.10%

สำหรับข้อมูลความต้องการแรงงาน และความต้องการของผู้สมัครงานทั่วประเทศ ในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายน 2564 มีดังนี้

5 ประเภทธุรกิจมีความต้องการแรงงานมากที่สุด

  1. ธุรกิจอาหาร เครื่องดื่ม 66,977 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเครื่องดื่มในประเทศไทย และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, บริษัท ไทย อกริ ฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตอาหาร เครื่องดื่ม อาหารสำเร็จรูป อาทิ อาหารกระป๋อง และอาหารแช่แข็งเพื่อการส่งออก, บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์โคคา-โคล่า และผลิตภัณฑ์อื่นๆ

2. ธุรกิจยานยนต์/ชิ้นส่วนยานยนต์ 57,390 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท ท็อปเบส์ท จำกัด ผู้ผลิตชิ้นส่วนโครงสร้าง ตัวถัง ประกอบรถโดยสาร และตัวถังรถบรรทุก และจัดจำหน่ายรถโดยสารและรถบรรรทุกเพื่อการพาณิชย์, MAXXIS INTERNATIONAL (THAILAND) CO.,LTD. ผู้ผลิตและจำหน่ายยางรถยนต์, บริษัท สยามกลการอุตสาหกรรม จำกัด ผู้นำเข้า จัดจำหน่ายและบริการซ่อม และอะไหล่ รถ Forklift ในแบรนด์ของ Unicarrier ประเทศไทย

3. ธุรกิจบริการ 51,822 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท เอ็มโอแค็ป จำกัด ซึ่งทำธุรกิจด้าน Outsourcing Contact Center, บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) ธุรกิจด้าน Customer Service Management, Thailand YellowPages ผู้บุกเบิกธุรกิจการให้บริการค้นหาข้อมูล รายชื่อ และหมายเลขโทรศัพท์ขององค์กรธุรกิจ การค้นหาสินค้า และบริการต่างๆ เป็นรายแรกของประเทศไทย

4. ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง – รับเหมาก่อสร้าง 50,132 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัทดูโฮม จำกัด (มหาชน) ผู้จำหน่ายวัสดุก่อสร้างครบวงจร, บริษัท เจ ดับบลิว เอส คอนสตรัคชั่น จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจด้านรับเหมาก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีก่อสร้างชั้นสูง, บริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จำกัด แหล่งรวมสินค้า และวัสดุอุปกรณ์เพื่อการตกแต่งซ่อมแซมที่อยู่อาศัยอย่างครบวงจร

5. ธุรกิจขายปลีก 47,956 อัตรา

องค์กรที่มีความต้องการแรงงานมากในธุรกิจนี้ เช่น บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด หรือโลตัส ประเทศไทย, บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค, วัตสัน ประเทศไทย ร้านเพื่อสุขภาพ และความงาม

5 สายงานที่มีการเปิดรับมากที่สุด

สายงานที่มีการเปิดรับมากที่สุด ได้แก่

  1. งานขาย 158,753 อัตรา
  2. งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 89,279 อัตรา
  3. งานช่างเทคนิค/อิเล็กทรอนิกส์ 83,440 อัตรา
  4. งานธุรการ/จัดซื้อ 43,574 อัตรา
  5. งานวิศวกร 40,697 อัตรา
Photo : Shutterstock

5 สายงานไอทีที่มีการเปิดรับมากที่สุด

  1. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 12,296 อัตรา

ทำหน้าที่พัฒนาระบบซอฟต์แวร์รวมถึงดูแลระบบ ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

ทักษะที่จำเป็น : ทักษะการเขียนโปรแกรมและความรู้ด้านภาษาคอมพิวเตอร์ โดยมีความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาที่นิยมใช้ เช่น JavaScript, C#, Python และ PHP

2. ไอทีแอดมิน/เน็ตเวิร์กแอดมิน (IT Admin/Network Admin) 5,629 อัตรา

ทำหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบเน็ตเวิร์ก ทั้งด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้พนักงานแผนกต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างราบรื่น

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ความสามารถในเรื่องของระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ และระบบเน็ตเวิร์ก

3. เทคนิคซัพพอร์ต (Technical Support/Help Desk) 3,598 อัตรา

ทำหน้าที่ดูแลการใช้งานโปรแกรมและอุปกรณ์ต่างๆ ของพนักงานภายในบริษัท และช่วยเหลือให้คำแนะนำเรื่องการใช้โปรแกรมกับลูกค้าหากเกิดปัญหาขึ้น

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ความสามารถในเรื่องการใช้งานและแก้ปัญหาโปรแกรมต่าง ๆ

Bearded IT Technician in Glasses with Laptop Computer and Black Male Engineer Colleague are Using Laptop in Data Center while Working Next to Server Racks. Running Diagnostics or Doing Maintenance Work

4. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering) 2,354 อัตรา

ทำหน้าที่ออกแบบและพัฒนาระบบและสถาปัตยกรรมทางด้านคอมพิวเตอร์ครอบคลุมทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของระบบ

ทักษะที่จำเป็น : มีความรู้ด้านระบบ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และการออกแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

5. นักทดสอบซอฟต์แวร์ (Software Tester) 1,961 อัตรา

ทำหน้าที่ทดสอบซอฟต์แวร์เพื่อค้นหาข้อผิดพลาด ตรวจสอบคุณภาพของระบบซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้คนใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะที่จำเป็น : ความรู้พื้นฐานทางด้าน Software Testing, การวิเคราะห์ ออกแบบการ Test

นอกจากสายงานที่กล่าวไปข้างต้นแล้วยังมีอาชีพงานไอทีที่น่าจับตามองอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น วิศวกรความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security), นักพัฒนาบล็อกเชน (Blockchain Developer), นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist), นักพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence Engineer)

กระทบการจ้างงานนักศึกษาจบใหม่

ในแต่ละปีจะมีนักศึกษาจบใหม่เข้ามาในตลาดแรงงาน ซึ่งในปีนี้นักศึกษาจบใหม่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากโควิด-19 โดยในจ๊อบไทยมีบัญชีผู้ใช้งานที่เป็นนักศึกษาจบใหม่ 178,399 คน คิดเป็น 17.14% ของจำนวนผู้สมัครงานทั้งหมดในแพลตฟอร์ม ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้

  • สายงานที่เปิดรับนักศึกษาจบใหม่มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.งานขาย 35,031 อัตรา 2.งานช่างเทคนิค/อิเล็กทรอนิกส์ 14,074 อัตรา 3.งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 11,332 อัตรา 4.งานบริการ 8,777 อัตรา และ 5.งานวิศวกร 7,677 อัตรา
  • สายงานที่มีนักศึกษาจบใหม่สมัครมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1.งานธุรการ/จัดซื้อ 60,780 คน 2.งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 47,137 คน 3.งานขาย 36,980 คน 4.งานวิศวกร 30,565 คน และ 5.งานขนส่ง-คลังสินค้า 28,344 คน

นักศึกษาจบใหม่ท่องเที่ยว / โรงแรม / การบินเคว้ง

ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม หรือการบิน ได้รับผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรง ทำให้องค์กรต่างๆ ไม่มีการจ้างงานในสายนี้เพิ่มมากนัก นักศึกษาจบใหม่ในสาขานี้จึงได้รับผลกระทบไปด้วย

โดยข้อมูลจาก กลุ่มบนเฟซบุ๊ก “JobThai Official Group เพื่อการหางาน หาคน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการทำงาน” ซึ่งมีสมาชิกภายในกลุ่มกว่า 200,000 คน พบว่าประเด็นในการพูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาของเด็กจบใหม่ในสาขาดังกล่าว มีดังนี้

  • การหางานด้านท่องเที่ยว โรงแรมยาก ทำให้ว่างงานนานขึ้น
  • คนที่ทำงานด้านท่องเที่ยว โรงแรม เช่น ไกด์ พนักงานในโรงแรม พนักงานบริษัททัวร์ ถูกลดเงินเดือน ให้ลาไม่รับค่าจ้าง ตลอดจนถูกปลด เนื่องจากบริษัทต้องหยุดดำเนินกิจการชั่วคราวหรือถาวร
  • ต้องหางานข้ามสายซึ่งต้องแข่งขันกับคนที่จบมาตรงสาย

ด้านข้อมูลในจ๊อบไทยพบว่า 5 สายงานที่นักศึกษาจบใหม่ด้านท่องเที่ยว/โรงแรมสมัครมากที่สุด ได้แก่ 1.งานธุรการ/จัดซื้อ 11,590 ครั้ง 2.งานบริการ 5,998 ครั้ง 3.งานขาย 5,682 ครั้ง 4.งานบุคคล/ฝึกอบรม 3,127 ครั้ง และ 5.งานการตลาด 2,633 ครั้ง

ในสถานการณ์นี้ปฏิเสธไม่ได้ว่านักศึกษาจบใหม่ในธุรกิจท่องเที่ยว/โรงแรม/การบิน ต้องเพิ่มโอกาสในการหางานจนกว่าสถานการณ์เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวไทยจะฟื้นตัว โดยต้องนำทักษะที่มีไปต่อยอดใช้กับสายงานอื่น (Transferable Skills) อย่างคนที่มีทักษะความสามารถทางภาษาอาจมองหาโอกาสในสายงานดูแลลูกค้าหรือบริการในธุรกิจอื่น ๆ  ที่ไม่ได้รับผลกระทบมาก หรือ งาน Account Executive ในเอเจนซี่ ซึ่งเป็นการใช้จุดแข็งทางด้านภาษาและการสื่อสารที่มีอยู่แล้ว และเพิ่มคอร์สเรียนเกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ รวมทั้งการใช้ Social Media ก็จะทำให้โปรไฟล์เข้าตา HR มากขึ้นได้ หรืออาชีพเสริมอื่น ๆ เช่น ติวเตอร์สอนภาษา เนื่องจากช่วงนี้นักเรียนต้องเรียนออนไลน์ก็อาจเป็นโอกาสในการทำงานของเราได้

]]>
1344486
มองตลาดแรงงานไทย แข่งดุอัตรา 1 : 100 แถม ‘ต่างชาติทักษะสูง’ จ่อแย่งงาน https://positioningmag.com/1325506 Mon, 29 Mar 2021 15:08:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325506 ปกติแล้วอัตราการว่างงานไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1% แต่เพราะวิกฤต COVID-19 ทำให้อัตราว่างงานพุ่งสูงถึง 2% โดยภาพรวมตลาดประกาศงานในไทยช่วงเดือนมกราคมหายไป 35.6% ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคมหายไป 37.9% เมื่อเทียบกับเวลาเดียวกันของปี 2019 โดย ‘จ๊อบส์ ดีบี’ (JobsDB) ก็ได้ออกมาเปิดข้อมูลการประเมินแนวโน้มทิศทางตลาดแรงงานหลังวิกฤต COVID-19 ว่าจะฟื้นมากน้อยแค่ไหนไปดูกัน

ไตรมาสแรกส่งสัญญาณบวก

หลังจากที่ถูกพิษ COVID-19 ถล่มเศรษฐกิจซึ่งแน่นอนว่ากระทบกับภาพรวมการจ้างงานอย่างเลี่ยงไม่ได้ แต่ในที่สุดก็เริ่มเห็นสัญญาณบวก โดย พรลัดดา เดชรัตน์วิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 สามารถเติบโต 24.65% เมื่อเทียบกับจุดต่ำสุดในเดือนธันวาคมที่การระบาดระลอก 2 ขณะที่ตลาดงานครึ่งปีแรกคาดว่าจะเติบโตได้ 5% ในกลางปี 2564 แต่จะกลับไปฟื้นตัวเท่ากับก่อนวิกฤตการณ์ COVID–19 อาจต้องรอถึงต้นปี 2565 หากไม่มีการระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้น

กลุ่มสายงานที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด ได้แก่
  • สายงานขาย บริการลูกค้า และพัฒนาธุรกิจ (16.0%)
  • สายงานไอที (14.7%)
  • สายงานวิศวกรรม (9.8%)
กลุ่มสายงานที่มีจำนวนประกาศงานเติบโตขึ้นมากที่สุด ได้แก่
  • สายงานการตลาดและประชาสัมพันธ์ (29.7%)
  • สายงานขนส่ง (24.7%)
  • สายงานการผลิต (20.8%)

ด้านกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราการฟื้นตัวสูงสุด ได้แก่
  • กลุ่มธุรกิจประกันภัย (42.9%)
  • กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (41.9%)
  • กลุ่มธุรกิจการผลิต (37.7%)

“กลุ่มงานขายและการผลิตแสดงให้เห็นถึงสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนสายงานไอทียังคงมีความต้องการสูงต่อเนื่อง ด้านสายงานขนส่งได้รับแรงผลักดันจากพฤติกรรมช้อปออนไลน์ ที่น่าห่วงคือ สายงานภาคท่องเที่ยว, โรงแรมยังติดลบ -20% เทียบไตรมาส 1 ปี 64 กับครึ่งปีหลังปี 63”

ตลาดฟื้นแต่ยังแข่งสูง

ในแต่ละเดือนพบว่ามีใบสมัครงานกว่า 1 ล้านใบต่อเดือน เติบโต 20% โดยอัตราการแข่งขันในการหางานของคนไทยมีอัตราส่วนที่ 1 ต่อ 100 ใบสมัคร โดยส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่เพียงในกลุ่มงานที่เงินเดือนไม่เกิน 30,000 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไทยหางานมากขึ้นการแข่งขันยิ่งสูง

คนไทยอยากออก ต่างชาติอยากเข้า

จากแบบสำรวจ “ถอดรหัสลับ จับทิศทางความต้องการคนทำงานยุคใหม่” (Global Talent Survey) ฉบับที่ 1 ที่จ๊อบส์ ดีบีร่วมมือกับบริษัท บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) และ เดอะ เน็ตเวิร์ก (The Network) พบว่า กว่า 57% ของคนทำงานทั่วโลกยินดีที่จะทำงานให้กับบริษัต่างประเทศ และ 50% ของคนไทยยินดีที่จะทำงานในต่างประเทศเช่นกัน โดยไทยถูกจัดอยู่ในอันดับ 35 จากประเทศทั่วโลกที่คนทำงานต่างชาติสนใจอยากเข้ามาทำงาน ขยับขึ้นมาจากอันดับ 43 และ 39 ในปี 2014 และ 2018

จากปี 2018 ที่แรงงานต่างชาติที่ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมาที่ใช้แรงงาน แต่ปี 2020 กลับเป็นชาวต่างชาติที่มีทักษะสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากเติบโตของบริษัทในประเทศที่ขยายมาสู่ประเทศไทย ซึ่งงานต่างชาติจะเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น ได้แก่ งานข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร โปรแกรมเมอร์ นักพัฒนา งานที่พักโรงแรม และบริการด้านอาหาร งานวิทยาศาสตร์ การบริหารและการบริการ

สำหรับแรงงานต่างชาติที่สนใจอยากมาทำงานในประเทศไทย ได้แก่ 1. สิงคโปร์ 2. มาเลเซีย 3. จีน 4. อินโดนีเซีย 5. รัสเซีย ส่วน 3 อันดับประเทศที่คนไทยอยากไปทำงานด้วยมากที่สุด ได้แก่ 1. ออสเตรเลีย 2. ญี่ปุ่น 3. สิงคโปร์

นอกจากนี้ ยังมีพฤติกรรมหันมาทำงานแบบ เวอร์ชวล (Virtual Talent Pool) มากขึ้นในทุกสายงาน โดยเฉพาะกลุ่มเทคโนโลยี ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพที่จะมาเป็นกุญแจสู่ความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้กับกลุ่มธุรกิจที่จะหาคนทำงานที่ตรงตามความต้องการจากต่างประเทศ โดยไม่ต้องโยกย้ายถิ่นฐาน

“ต่างชาติพร้อมที่จะเข้ามาเพราะบริษัทต่างชาติเริ่มขยายเข้ามาในไทย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศที่ต่างชาติชอบ ทั้งอาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ขณะที่เด็กไทยรุ่นใหม่ก็พร้อมจะไปทำงานที่ต่างประเทศเพื่อความก้าวหน้า ต้องการเงินเดือนสูง แต่อนาคตก็มีโอกาสกลับมาทำงานในไทย”

ทักษะใหม่ที่มาพร้อม COVID-19

นอกจากนี้ ยังพบว่า มีสายงานใหม่ ๆ เกิดขึ้นจากอุปสงค์ในประเทศที่เปลี่ยนไปหลังวิกฤตการณ์ COVID-19 อาทิ นักพัฒนาเอไอ, ที่ปรึกษาด้านบล็อกเชนและสกุลเงินดิจิทัล, ผู้เชี่ยวชาญ Business Transformation รวมถึง Growth Officer

เด็กจบใหม่ไม่ตรงสายงาน

ปัญหาความต้องการจ้างงานที่ไม่สอดคล้องกับภาคการศึกษาที่ผลิตบุคลากรสู่ตลาดยังคงเป็นปัญหาใหญ่ โดยจะเห็นว่ากลุ่มไอทีสามารถผลิตออกมาได้น้อยกว่าความต้องการ ขณะที่กลุ่มของมาร์เก็ตติ้งหรือนิเทศศาสตร์กลับผลิตออกมาได้มากกว่าความต้องการ ขณะที่ปัจจุบัน ภายใน 1-2 ปีเท่านั้นที่เทรนด์การทำงานปรับเปลี่ยน เริ่มเห็นตำแหน่งงานใหม่ ๆ ขณะที่การเรียนมหาวิทยาลัยใช้เวลา 4 ปี ดังนั้นจะเห็นว่าปัญหานี้กำลังใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ

“ตลาดไทยมีความต้องการแรงงานทักษะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ 70% ของแรงงานอยู่ในกลุ่มทักษะปานกลาง-ต่ำ และไม่มีการเปลี่ยนเเปลงในระยะเวลาหลายสิบปี ขณะที่ต่างชาติก็พร้อมเข้ามาแย่งงานคนไทย นี่จึงเป็นอีกโจทย์ที่ต้องเร่งแก้ในตลาดแรงงานไทย”

]]>
1325506
ประเมินวิกฤตแรงงานส่อสัญญาณเปราะบาง เสี่ยงทุบสถิติตกงาน 8-13% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ https://positioningmag.com/1277672 Sun, 24 May 2020 13:04:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277672 เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในสภาวะวิกฤตที่ยังไม่รู้จุดจบแน่ชัด จากผลของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบในเกือบทุกสาขาธุรกิจ โดยมีความรุนแรงเป็นพิเศษในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยว

แรงงานเปราะบางก่อน COVID-19

วิกฤตดังกล่าวเป็นความเสี่ยงต่อตลาดแรงงานซึ่งมีสัญญาณความอ่อนแอมาตั้งแต่ในช่วงก่อนหน้า โดยกลุ่มแรงงานที่มีความเสี่ยงสูงคือกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระ และลูกจ้าง SMEs ซึ่งถือเป็นคนส่วนมากถึง 62% ของกำลังแรงงานไทย และมีความอ่อนไหวสูงต่อสภาวะเศรษฐกิจ

EIC พบว่า ตลาดแรงงานของไทยมีหลายสัญญาณของความอ่อนแอตั้งแต่ในช่วงก่อนเข้าสู่ภาวะวิกฤติ COVID-19 ดังนี้

1. จำนวนผู้มีงานทำลดลง

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนผู้มีงานทำของไทยมีแนวโน้มลดลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยจำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยในปี 2019 อยู่ที่ 37.6 ล้านคน ลดลงไป 4.8 แสนคนเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในปี 2014 ทั้งนี้สาเหตุมาจากทั้งปัจจัยเชิงวัฏจักร คือ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งทำให้ความต้องการแรงงานมีน้อยลง และปัจจัยเชิงโครงสร้าง

โดยเฉพาะการออกจากกำลังแรงงานของกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก 5.4 เป็น 6.8 ล้านคนในช่วงเดียวกัน ทั้งนี้จำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปีนี้ยังอยู่ในแนวโน้มขาลง โดยมีจำนวนอยู่ที่ 37.4 ล้านคน ลดลง -0.8%YOY ซึ่งนับเป็นการหดตัวต่อเนื่อง 4 ไตรมาสติดต่อกัน

2. จำนวนชั่วโมงการทำงานลดลง

จำนวนชั่วโมงการทำงานเฉลี่ยของแรงงานไทยในปี 2019 อยู่ที่ 42.7 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 44.1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในปี 2014 สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของกลุ่มคนทำงานล่วงเวลา (แรงงานที่ทำงานตั้งแต่ 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป) เป็นสำคัญ โดยคนกลุ่มนี้มีจำนวนลดลงจาก 9.7 เหลือ 6.8 ล้านคน หรือหายไปถึง 2.9 ล้านคนในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้แนวโน้มการลดลงของจำนวนชั่วโมงการทำงานยังคงมีให้เห็นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ สะท้อนจากจำนวนของคนทำงานล่วงเวลาที่ยังคงหดตัว -7.6%YOY

3. จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น

จำนวนผู้ว่างงานรวมเฉลี่ยในไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ประมาณ 4 แสนคน เพิ่มขึ้น 14.8%YOY นับเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดต่อกัน นอกจากนี้ จากข้อมูลผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ของสำนักงานประกันสังคมล่าสุดพบว่า ในไตรมาสแรกของปี 2020 จำนวนผู้ประกันตนที่ว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ 1.6 แสนคน เพิ่มขึ้น 4.5%YOY โดยอัตราการว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอดตั้งแต่หลังช่วงวิกฤติการเงินโลกปี 2008-2009

Photo : Shutterstock

ลูกจ้างธุรกิจท่องเที่ยวอ่วมหนักสุด

จากตลาดแรงงานที่มีความอ่อนแออยู่ก่อนหน้า ประกอบกับหลายปัจจัยลบที่เข้ามากระทบพร้อมๆ กัน ทั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 การหดตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาภัยแล้ง วิกฤตครั้งนี้จึงมีแนวโน้มส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อแรงงานในหลายอุตสาหกรรม

โดยกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดคงหนีไม่พ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรม ร้านอาหาร บันเทิง และค้าส่งค้าปลีก เพราะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลโดยตรงจากการหายไปของนักท่องเที่ยว และมาตรการ lockdown ขณะที่กลุ่มธุรกิจอื่นๆ ก็จะได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน ในทั้งทางตรงและทางอ้อมจากภาวะถดถอยของเศรษฐกิจที่มีความรุนแรง และมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า (u-shaped recovery)

ในส่วนของแรงงานในภาคเกษตรจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่รุนแรงมากในปีนี้เป็นสำคัญ และยังอาจรวมถึงผลกระทบทางอ้อมจากกำลังซื้อที่หดตัวอีกด้วย ทำให้ความสามารถในการดูดซับแรงงานที่ตกงานจากภาคอื่นๆ มีค่อนข้างจำกัดในวิกฤติครั้งนี้

ทั้งนี้ EIC มองว่า ลักษณะการจ้างงานจะเป็นอีกปัจจัยสำคัญต่อความเสี่ยงด้านรายได้และความมั่นคงของการทำงาน โดยกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระและลูกจ้าง SMEs ซึ่งมีจำนวนรวมกันสูงถึง 23.4 ล้านคน คิดเป็น 62.2% ของการจ้างงานรวมและมักจะมีความอ่อนไหวต่อสภาวะเศรษฐกิจ ถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงโดยเปรียบเทียบในทุกๆ สาขาธุรกิจ

เมื่อพิจารณาประกอบกันทั้งในด้านสาขาธุรกิจและลักษณะการจ้างงาน จะพบว่า แรงงานกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่สุด
จะเป็นกลุ่มลูกจ้างชั่วคราว ผู้ประกอบอาชีพอิสระและลูกจ้าง SMEs ที่ทำงานในธุรกิจการท่องเที่ยว ซึ่งมีจำนวนรวมกันถึง 6.5 ล้านคน หรือคิดเป็น 17.3% ของจำนวนการจ้างงานรวม รองลงมาเป็นกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจท่องเที่ยว

(Photo by Allison Joyce/Getty Images)

และกลุ่มที่มีลักษณะการจ้างงานเดียวกันในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบรองลงไป คือ ภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และก่อสร้าง ทั้งนี้ลูกจ้างในธุรกิจขนาดใหญ่และภาครัฐมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงที่น้อยกว่า อย่างไรก็ดี แรงงานในส่วนนี้ถือเป็นส่วนน้อยของการจ้างงานรวม

อัตราว่างงานทุบสถิติ 8-13%

จากระดับความเสี่ยงดังกล่าว EIC ประเมินว่า จำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มขึ้นสูงถึงราว 3-5 ล้านคน ซึ่งจะคิดเป็นอัตรา
การว่างงานประมาณ 8%-13% ของกำลังแรงงานรวมปัจจุบัน ถือเป็นระดับที่สูงที่สุดตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลมาในปี 1985

โดยจะสูงกว่าสถิติอัตราการว่างงานสูงสุดเดิมที่ 5.9% ในปี 1987 ทิ้งห่างอัตราการว่างงานในวิกฤติต้มยำกุ้งที่ 3.4% ในปี 1998 และในวิกฤติการเงินโลกปี 2008-09 ที่ 1.5% ในปี 2009

สาเหตุที่การว่างงานในครั้งนี้มีแนวโน้มที่จะสูงกว่าในอดีต เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อภาคธุรกิจ และครัวเรือนที่มีความเปราะบางสะสมตั้งแต่ในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับมีมาตรการ lockdown ซึ่งจำเป็นต่อการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค แต่ส่งผลให้เกิดการหยุดชะงักฉับพลันของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (sudden stop) อีกทั้งภาคเกษตรที่เคยเป็นแหล่งดูดซับแรงงานก็มีแนวโน้มที่จะมีข้อจำกัดในการทำหน้าที่นั้นในครั้งนี้จากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง

ทั้งนี้ EIC มองว่า จะมีแรงงานอีกจำนวนมากที่แม้จะไม่ตกงาน แต่จำนวนชั่วโมงทำงานและรายได้จะลดลงอย่างมากหรือกระทั่งไม่มีรายได้เลยในบางช่วง และหากผลกระทบลากยาวไปจนถึงครึ่งปีหลังหรือนานกว่านั้น จำนวนผู้ว่างงานจะเพิ่มสูงขึ้นได้มากกว่าที่ประเมินไว้ข้างต้นจากกิจการที่จะมีการปิดตัวลงมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจเสี่ยงที่มีสภาพคล่องไม่เพียงพอ

หลังล็อกดาวน์ จะค่อยๆ ฟื้น

EIC มองว่า หลังผ่านพ้นมาตรการ lockdown สถานการณ์ในตลาดแรงงานจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่การฟื้นตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ ตามเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวแบบ U-shaped และผลจาก COVID-19 ที่จะยังมีอยู่ต่อเศรษฐกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนตราบใดที่ยังไม่มียารักษาและวัคซีน โดยคาดว่าภาคธุรกิจน่าจะยังระมัดระวังในการใช้จ่ายและการจ้างงานจากความไม่แน่นอนที่ยังสูงในสถานการณ์ดังกล่าว

การสูญเสียรายได้-ตกงานของแรงงานจะนำไปสู่ความเดือดร้อนของครัวเรือนจำนวนมากจากกันชนทางการเงินที่มีไม่มาก จากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนปี 2019 พบว่า ครัวเรือนไทยที่พึ่งพารายได้จากการทำงานเป็นลูกจ้างอย่างเดียวมีจำนวน 7.9 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นประมาณ 36.2% ของจำนวนครัวเรือนทั้งหมด ซึ่งในกลุ่มนี้มีจำนวนถึง 5.2 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็น 65.5% ของครัวเรือนกลุ่มดังกล่าวที่มีมูลค่าสินทรัพย์ทางการเงินครอบคลุมรายจ่ายได้ไม่เกิน 3 เดือน

และหากเป็นครัวเรือนที่ได้รับค่าจ้างน้อยกว่า 3 หมื่นบาทต่อเดือน จะมีครัวเรือนจำนวนถึง 4.3 ล้านจากทั้งหมด 5.8 ล้านครัวเรือน หรือคิดเป็นสัดส่วนถึง 72.9% ที่มีสินทรัพย์ทางการเงินไม่เพียงพอสำหรับการใช้จ่าย 3 เดือน ซึ่งจะส่งผลให้ครัวเรือนเหล่านี้อาจต้องปรับตัวโดยการลดการบริโภคลงอย่างมาก ตลอดจนขายหรือจำนองสินทรัพย์ที่มี ไปจนถึงการก่อหนี้เพื่อนำมาใช้จ่ายอันจะเป็นการสร้างความเปราะบางเพิ่มเติมในระยะต่อไป

]]>
1277672
เมษาพาเศร้า! ตำแหน่งงานใหม่ลด 37% พนักงานพาร์ตไทม์-เงินเดือนต่ำ กระทบหนักสุด https://positioningmag.com/1276688 Mon, 04 May 2020 09:07:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1276688 SCB EIC สำรวจข้อมูลจากเว็บไซต์ประกาศรับสมัครงาน JobsDB ณ วันที่ 24 เมษายน 2563 พบมีจำนวนประกาศรับสมัครงานเพียง 9,200 ตำแหน่ง ลดลง 37.4% จากวันที่ 21 มีนาคม 2563 (ก่อนการประกาศปิดศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ 1 วัน) สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 มีผลต่อตลาดแรงงาน โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

ตำแหน่งงานพาร์ตไทม์กระทบหนัก

หากแบ่งการสำรวจตามประเภทการจ้างงาน คือ พนักงานประจำ กับ พนักงานพาร์ตไทม์ พบว่าตำแหน่งงานของพนักงานพาร์ตไทม์ที่รับสมัครใหม่ลดน้อยลงมากกว่าตำแหน่งของพนักงานประจำ โดยตำแหน่งพาร์ตไทม์ที่รับสมัครใหม่ลดลงไปถึง 55.4% หรือมากกว่าครึ่งหนึ่ง และลดมากกว่าค่าเฉลี่ย 37.4% ดังกล่าวข้างต้น (ทั้งนี้ ตำแหน่งงานพาร์ตไทม์คิดเป็นเพียง 0.8% ของตำแหน่งงานทั้งหมดใน JobsDB)

ยิ่งเงินเดือนต่ำยิ่งรับสมัครน้อยลงมาก

ถ้าแบ่งการสำรวจตามอัตราเงินเดือน พบว่า ยิ่งอัตราเงินเดือนอยู่ในระดับต่ำจะยิ่งมีประกาศรับสมัครงานลดลงมาก กลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด คือกลุ่มอัตราเงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ตำแหน่งรับสมัครงานลดลงไป 50.9% และกลุ่มอัตราเงินเดือน 15,000-30,000 บาท ตำแหน่งรับสมัครงานลดลง 44.1% ส่วนกลุ่มที่กระทบน้อยที่สุดคือตำแหน่งที่มีอัตราเงินเดือนมากกว่า 100,000 บาท จำนวนตำแหน่งงานรับสมัครลดลง 26.8%

SCB EIC วิเคราะห์ว่า เนื่องจากกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว ค้าปลีก-ค้าส่ง เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบสูงจากไวรัสระบาด และธุรกิจเหล่านี้มีการจ้างงานพนักงานในระดับเงินเดือนไม่สูงจำนวนมาก ทำให้กลุ่มนี้เป็นผู้ได้รับผลกระทบ

ท่องเที่ยว-ยานยนต์อ่วมสุด

ถัดมาเป็นการประเมินจากภาคธุรกิจที่รับสมัครงานน้อยลงหนักที่สุด โดย SCB EIC ระบุว่างานในสาขาธุรกิจต่างๆ ส่วนใหญ่ลดการรับสมัครงานใหม่ลงเกิน 20% ยกเว้นองค์กรภาครัฐ/องค์กรอิสระที่ยังมีการประกาศรับเพิ่มขึ้น 25%

10 ภาคธุรกิจที่รับสมัครงานลดลงมากที่สุด ณ เดือนเมษายน’63

  1. ธุรกิจท่องเที่ยว -63.0%
  2. ผลิตรถยนต์ -58.9%
  3. ค้าส่ง-ค้าปลีก -48.0%
  4. ธุรกิจบริการด้านสุขภาพ -42.3%
  5. ก่อสร้าง -42.1%
  6. อสังหาริมทรัพย์ -40.0%
  7. โทรคมนาคม -39.9%
  8. อาหารและเครื่องดื่ม -30.5%
  9. อิเล็กทรอนิกส์ -24.7%
  10. ธุรกิจไอที -23.8%

SCB EIC สรุปภาวะการจ้างงานใหม่ที่ลดลงอย่างรุนแรงภายในเวลาอันสั้นเพียง 1 เดือน ถือเป็นสัญญาณสะท้อนภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ และยังประเมินด้วยว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะฟื้นตัวช้า ทำให้ตลาดแรงงานน่าจะยังซบเซาต่อไปอีกระยะหนึ่ง สำหรับแรงงานที่ว่างงานขณะนี้และบัณฑิตจบใหม่จะกระทบมากที่สุด และการปรับขึ้นเงินเดือนระยะต่อไปจะมีข้อจำกัด

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ Positioning รายงานข้อมูลตำแหน่งงานรับสมัครใหม่จาก JobThai อีกหนึ่งเว็บไซต์ประกาศรับสมัครงาน โดยเป็นข้อมูลเดือนมีนาคม 2563 พบว่าตำแหน่งงานใหม่ลดลงเกือบ 10% จากเดือนก่อนหน้า แสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ตลาดแรงงานเริ่มซบเซาตั้งแต่เดือนมีนาคมและเข้าสู่วิกฤตในเดือนเมษายน เป็นไปตามภาวะโรคระบาดซึ่งเดือนเมษายนเป็นช่วงที่เริ่มประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศแล้ว

]]>
1276688
ไม่รับเพิ่ม! บริษัทเบรก “รับสมัครงาน” จับตาสายก่อสร้าง-การเงิน ตำแหน่งงานลดฮวบ https://positioningmag.com/1274025 Fri, 17 Apr 2020 11:41:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1274025 ข่าวคราวการพักงานและเลย์ออฟมีมาเป็นระยะตั้งแต่เกิดวิกฤตโรคระบาดไวรัส COVID-19 การ “รับสมัครงาน” ใหม่ก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน โดยข้อมูลจาก JobThai ซึ่งมีผู้ใช้งานเดือนละ 1.7 ล้านคน พบว่าเดือนมีนาคม 2563 การประกาศรับสมัครงานลดลงไป 9.96% (MoM) อย่างไรก็ตาม บางกลุ่มอาชีพยังเป็นดาวเด่นในช่วงนี้ เช่น สายงานไอที ซึ่งมีการรับสมัครงานเพิ่มขึ้นสวนทางตลาดแรงงาน (อ่านอินโฟกราฟิกได้ด้านล่างบทความ)

Positioning สอบถามข้อมูลจาก JobThai เว็บไซต์ประกาศรับสมัครงาน ถึงสถานการณ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2563 พบว่า การประกาศรับสมัครงานของบริษัท/องค์กรต่างๆ ในเดือนมีนาคม 2563 ลดลง

โดยการ “รับสมัครงาน” ใน JobThai ตั้งแต่ต้นปี 2563 หาก เทียบการเติบโตจากเดือนก่อนหน้า (MoM) เดือนมกราคมมีตำแหน่งงานที่รับสมัครเพิ่มขึ้น 8.7% จากเดือนธันวาคม 2562 ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ มีการรับสมัครงานเพิ่มขึ้น 4.6% จากเดือนก่อนหน้า แต่เมื่อถึงเดือนมีนาคม มีการรับสมัครงานลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -9.96% สอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ทำให้ธุรกิจหลายอุตสาหกรรมหยุดชะงัก

อย่างไรก็ตาม หาก เทียบการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า (YoY) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีการรับสมัครงานลดลงที่ -10.63% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน และเดือนมีนาคม 2563 มีการรับสมัครงานลดลงที่ -19.10%

เมื่อมองภาพรวมทั้งการเติบโตแบบ MoM และ YoY อาจจะสรุปได้ว่า ปีนี้ตลาดแรงงานหดตัวลงจากปีก่อนอยู่แล้ว แต่กำลังกลับมาอยู่ในเทรนด์ฟื้นตัว ก่อนที่จะถูกพิษเศรษฐกิจ COVID-19 ทำให้สะดุดลง

รับสมัครงาน

ฟาก “ผู้สมัครงาน” ใน JobThai หากวัดแบบ MoM พบว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีการสมัครงาน 1.297 ล้านครั้ง ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -11.96% ส่วนเดือนมีนาคม 2563 มีการสมัครงานลดลงอีกที่ -3.68% เหลือจำนวนการสมัครงานอยู่ที่ 1.25 ล้านครั้ง

แต่ถ้าหากเปรียบเทียบแบบ YoY พบมีการสมัครงานสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนอย่างมาก โดยเดือนกุมภาพันธ์ 2563 มีการเติบโตจากปีก่อนถึง 36.68% และเดือนมีนาคมเติบโต 30.58%

 

สายไอทียังรุ่ง ขณะที่ก่อสร้าง-การเงิน-ท่องเที่ยวทรุด

มาดู Top 5 สายงานรุ่งและร่วงในช่วง COVID-19 กันบ้าง โดยเป็นการเติบโตของตำแหน่งการรับสมัครงานในช่วงไตรมาส 1/63 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

Top 5 อาชีพที่รับสมัครงานเพิ่มขึ้นสูงสุด

1) โรงงาน: งานผลิต ควบคุมคุณภาพ +308%
2) สื่อมวลชน: นักข่าว คอนเทนต์ออนไลน์ +164%
3) สายงานออกแบบ UX/UI +114%
4) Data Scientist นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล +86%
5) ออกแบบ กราฟิก ช่างภาพ +64%

ทั้งนี้ สายงานไอที เป็นสายงานที่มาแรงแม้จะมีการระบาดของ COVID-19 โดยนอกจากอาชีพดังกล่าวข้างต้น ยังมีงานเกี่ยวกับแอปพลิเคชันที่รับสมัครเพิ่มขึ้น 56% งานวิศวกรคอมพิวเตอร์ เพิ่มขึ้น 54% และงาน Tester เพิ่มขึ้น 33%

Top 5 อาชีพที่รับสมัครงานน้อยลงมากที่สุด

1) ก่อสร้าง: โยธา สถาปัตย์ -94%
2) การเงิน ธนาคาร -87%
3) ท่องเที่ยว: ล่าม ไกด์ เอเจนซี่ทัวร์ -62%
4) ผู้บริหาร ผู้จัดการ -39%
5) ทรัพยากรบุคคล -39%

 

องค์กรคัดประวัติสมัครงานรอสถานการณ์ดีขึ้น

“แสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์” ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการ JobThai ให้ความเห็นว่า งานที่เปิดรับสมัครช่วงนี้สะท้อนให้เห็นว่าบางอุตสาหกรรมยังดำเนินงานอยู่และต้องการคนเพิ่ม เช่น ค้าปลีก ซึ่งต้องการพนักงานมาเสริมในส่วนจัดเรียงสินค้า บรรจุสินค้า และเดลิเวอรี รวมถึงโรงงานอาหารและเครื่องดื่ม ที่ยังต้องการคนอยู่

นอกจากนี้ การปรับตัวมาขายสินค้าและโฆษณาออนไลน์มากขึ้น ทำให้อาชีพที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลมีความต้องการ เช่น นักออกแบบ UX/UI ที่จะช่วยปรับให้การใช้งานบนเว็บไซต์/แอปฯ ต่างๆ น่าใช้มากขึ้น หรือผู้ผลิตคอนเทนต์/กราฟิกออนไลน์ ก็เป็นที่ต้องการตัวมากขึ้น เมื่อคนหันมาเสพสื่อออนไลน์สูงขึ้นระหว่างอยู่บ้าน

นักออกแบบ UX/UI เว็บไซต์และแอปพลิเคชัน เป็นหนึ่งในอาชีพมาแรงแม้จะอยู่ในสถานการณ์ COVID-19

ส่วนสายอาชีพที่ลดการรับสมัครงานก็เป็นไปตามสภาวะในตลาด อุตสาหกรรมที่ชะลอตัวส่วนใหญ่คือภาคก่อสร้าง การเงิน ท่องเที่ยว จนถึงภาคบริการ เช่น ฟิตเนส สปา ต่างลดการรับคน ขณะที่ตำแหน่งงานระดับบริหารก็ลดลงเช่นกันเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าองค์กรจะลดการรับคนไปตลอด เพราะพบว่าหลายองค์กรที่ยังไม่พร้อมรับพนักงานเข้าทำงานในตอนนี้ ก็ยังคงคัดประวัติสมัครงานไว้ก่อนเพื่อรอเรียกสัมภาษณ์งานเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ส่วนองค์กรที่พร้อมรับเข้าทำงานได้ทันที บางแห่งมีการปรับรูปแบบการสัมภาษณ์งานและทำงานมาบนระบบออนไลน์แทน

ดังนั้น ผู้สมัครงานควรจะต้องเตรียมพร้อมเรียนรู้เครื่องมือในการสัมภาษณ์งานและทำงานออนไลน์ เพื่อโอกาสที่มากกว่าในการได้งานในระยะนี้

]]>
1274025