ทีวีดิจิทัลคืนช่อง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 01 Oct 2019 06:52:59 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ยุติ 2 ช่องทีวีดิจิทัล! “ช่อง 3” เดินหน้าชิงบัลลังก์รายการข่าว ปรับผังเฟสแรกประกาศยึดเรตติ้งเบอร์ 1 ยกแผงทั้งสถานี https://positioningmag.com/1248094 Mon, 30 Sep 2019 12:26:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248094 หลังเที่ยงคืนวันนี้ (30 ..) ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง ของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ถึงคิวยุติออกอากาศ จากการคืนใบอนุญาตกับ กสทช. ประกาศพร้อมกลับมาโฟกัสคอนเทนต์ช่อง 3” ประเดิมปรับผังรายการข่าวใหม่ กับเป้าหมายเรตติ้งเบอร์ 1” ทั้งสถานี  

อริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังยุติออกอากาศทีวีดิจิทัล 2 ช่อง จะกลับมามุ่งบริหารรายการบนช่อง 3 หรือ ช่อง 33 เพียงช่องเดียวให้แข็งแกร่ง โดยเฟสแรกได้ปรับโฉม “รายการข่าว” ทุกรายการ เดือนต.ค.นี้เริ่มที่ 3 รายการ คือ เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ และ ข่าว 3 มิติ และจะปรับโฉมครบทุกรายการข่าวที่มีจำนวน 11 รายการในไตรมาส 4 ปีนี้

อริยะ พนมยงค์

นอกจากนี้มีอีก 2 รายการกลุ่มข่าวจากช่อง 28 คือ โหนกระแส และ ข่าวนอกลู่ ย้ายมาออกอากาศที่ช่อง 3 ส่วนรายการประเภทอื่นๆ กลุ่มวาไรตี้และละคร จะปรับผังช่วงต้นปี 2563

ปัจจุบันเรตติ้งรายการข่าวช่อง 3 “ส่วนใหญ่” เป็นที่หนึ่งเกือบทุกรายการ อาทิ เรื่องเล่าหน้าหนึ่ง เที่ยงวันทันเหตุการณ์ เรื่องเด่นเย็นนี้ เป็นต้น เป้าหมายหลังจากปรับโฉมรายการข่าวใหม่ในปีนี้ คือการผลักดันให้ช่อง 3 เป็นผู้นำเรตติ้งรายการข่าวทั้งสถานีในทุกช่วงเวลา โดยเฉลี่ยเรตติ้งจะต้องอยู่ระดับ 1.5 – 2

“น่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ไตรมาส กับเป้าหมายการขึ้นมาครองเรตติ้งข่าวเบอร์ 1 ทั้งสถานี ทั้งการนำเสนอบนจอทีวีและบนออนไลน์ ปัจจุบันเพจข่าวช่อง 3 ทุกรายการ บน Facebook มีผู้ติดตามกว่า 14 ล้านคนแล้ว”

ชูจุดขายทัพผู้ประกาศ 50 คน

การปรับโฉมรายการข่าวใหม่ วาง Positioning ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์ของผู้ชม “ช่อง 3” ด้วยแนวคิด “ข่าวจริง ทันเหตุการณ์ พึ่งพาได้” ซึ่งก็มาจากการเป็น “สื่อหลัก” ที่ต้องทำหน้าที่นำเสนอข่าวจริงที่มีความน่าเชื่อถือ มีทีมงานลงพื้นที่รายงานข่าวในสถานการณ์สำคัญ และเป็นสื่อที่พึ่งพาได้

กลยุทธ์การนำเสนอคอนเทนต์ข่าว โฟกัสข่าว 3 ประเภทที่อยู่ในความสนใจของฐานผู้ชม “ช่อง 3” คือ ข่าวสังคม อาชญากรรม และข่าวบันเทิง ซึ่งมีฐานผู้ชมมากที่สุด

“จุดแข็งของข่าวช่อง 3 คือการมีผู้ประกาศที่เป็นที่รู้จักถึง 50 คน นอกจากเป็นผู้ประกาศข่าว จะทำหน้าที่ช่วยเหลือสังคมและผู้ชมเมื่อเกิดเหตุการณ์เดือดร้อน”

ดันรายได้ข่าวสัดส่วน 10%

ที่ผ่านมา ช่อง 3 ถือเป็นผู้ครองบัลลังก์รายการข่าว รายได้จากรายการข่าวเคยขึ้นไปสูงสุดที่สัดส่วน 10% ของรายได้ ปัจจุบันลดลงมาเป็นตัวเลขหลักเดียว จากคู่แข่งขันที่เพิ่มขึ้น เป้าหมายการปรับโฉมรายการข่าวครั้งนี้ ก็เพื่อผลักดันรายได้จากรายการข่าวให้กลับไปมีสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 10% เหมือนเดิม เป้าหมายแรกต้องทำเรตติ้งให้ขยับขึ้นก่อน จากนั้นจึงเป็นโอกาสของการปรับขึ้นราคาโฆษณา

ปัจจุบันรายได้หลักของช่อง 3 มาจากรายการละคร 80% ที่เหลือเป็นวาไรตี้ และข่าว นอกจากผลักดันรายการข่าวให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว จะหาโอกาสสร้างรายได้จากธุรกิจใหม่ๆ เช่น ออนไลน์ การขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ต่างประเทศ ให้มีสัดส่วน 10% ของรายได้ในอนาคต

สำหรับสถานการณ์การแข่งขันธุรกิจทีวีดิจิทัลหลังจาก 7 ช่องคืนใบอนุญาต ยุติออกอากาศ มองว่าการแข่งขันยังคงเหมือนเดิม โดยอยู่ที่ 10 อันดับเรตติ้งแรก ซึ่งเป็นกลุ่มที่จะแข่งขันช่วงชิงเม็ดเงินโฆษณาทีวี.

]]>
1248094
2 ช่องสุดท้ายบีอีซี “ลาจอ” กสทช. สรุป 5 ปี “ทีวีดิจิทัล” ปิดฉาก 9 ช่อง “เลิกจ้าง” กระทบคนสื่อ-ครอบครัวเกือบ 15,000 คน https://positioningmag.com/1247989 Mon, 30 Sep 2019 00:59:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247989 ปิดฉากลาจอทีวีดิจิทัลคืนใบอนุญาตตามมาตรา 44 กันครบทั้ง 7 ช่องหลังเที่ยงคืนวันนี้ (30 ..) “2 ช่องอำลาส่งท้าย เป็นคิวของกลุ่มบีอีซีช่อง 3 Family” และช่อง 3 SD” หากย้อนกลับไปนับตั้งแต่เริ่มต้นทีวีดิจิทัลปี 2557 มีผู้ประกอบการพ่ายสมรภูมิทีวีดิจิทัลรวม 9 ช่อง จาก 24 ช่องที่เปิดประมูลและเกือบทั้งหมด ขาดทุน

เส้นทาง “ทีวีดิจิทัล” กว่า 5 ปี นับจากเริ่มออกอากาศครั้งแรกในเดือน เม.ย. 2557 มาถึงวันที่รัฐdddเปิดทาง “คืนใบอนุญาต” ก่อนจบอายุใบอนุญาต 15 ปี ในปี 2572 ถึงวันนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” หนัก และนั่นเป็นสาเหตุให้ 7 ช่อง ที่ประกอบไปด้วย สปริงนิวส์ 19, สปริง 26, ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, MCOT Family 14, ช่อง 3 Family และช่อง 3 SD ขอคืนใบอนุญาต ตามคำสั่ง คสช. มาตรา 44 เพื่อรับเงินชดเชย จากการใช้ใบอนุญาตไม่ครบตามอายุ

ก่อนหน้าในปี 2558 เพียง 1 ปี ในยุคทีวีดิจิทัล 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” ของ พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ “เจ๊ติ๋ม ทีวีพูล” ได้บอกคืนใบอนุญาตเป็นรายแรก ปัจจุบันยังมีคดีฟ้องร้อง กสทช. ที่ศาลปกครอง สรุปช่วง 5 ปีแรก มีทีวีดิจิทัลปิดตัวรวม 9 ช่อง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

ช่องเยอะ-เทคโนโลยีดิสรัปชั่น

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หากย้อนกลับไปดูสถานการณ์ “ทีวีดิจิทัล” ก็ต้องยอมรับว่ามีช่องที่เปิดประมูล “จำนวนมาก” เพราะเพิ่มขึ้นจากยุคแอนะล็อก 6 เท่าตัว ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาทีวีไม่ได้เพิ่มขึ้น

สิ่งสำคัญที่หลายอุตสาหกรรมก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างจากทีวีดิจิทัล คือ “เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น” ทำให้มีดิจิทัลแพลตฟอร์มใหม่ๆ มาเป็นตัวเลือกเสพสื่อและคอนเทนต์ เห็นได้จากแนวโน้มการใช้งานดาต้าในฝั่งโทรคมนาคมที่เพิ่มขึ้นทุกปี

พบว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 7% นับตั้งแต่ปี 2557 ที่เริ่มต้นออกอากาศทีวีดิจิทัล ตัวเลขผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถืออยู่ที่ 53.7 ล้านราย ปี 2562 อยู่ที่ 75.9 ล้านราย เช่นเดียวกับปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ต หรือดาต้าผ่านมือถือ จากปี 2557 อยู่ที่ 4.9 แสน terabyte ปี 2561 เพิ่มเป็น 5.8 ล้าน terabyte หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่า

บริการผ่านออนไลน์ที่เติบโตสูงคือ OTT (Over The Top) ทั้งโซเชียล มีเดีย, วิดีโอ สตรีมมิ่ง, Massaging ปี 2561 Facebook มี 61 ล้านบัญชี ใช้งาน 655 ล้านครั้งต่อเดือน, YouTube 60 ล้านบัญชี ใช้งาน 409 ล้านครั้งต่อเดือน และ Line 55 ล้านบัญชี ใช้งาน 126 ล้านครั้งต่อเดือน

“ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมสื่อเป็นเรื่องของเทคโนโลยีดิสรัปชั่น การเกิดขึ้นของ 3G 4G และปีหน้าจะมี 5G วันนี้ทั้งเฟซบุ๊กไลฟ์ ยูทูบไลฟ์ ดูได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของสื่อทีวี หากสื่อไม่มีการปรับตัว อนาคตข้างหน้าจะอยู่ยาก”

“เลิกจ้าง” กระทบเกือบ 1.5 หมื่นคน

สถานการณ์ทีวีดิจิทัลตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งการแข่งขันจากจำนวนช่องที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบจากเทคโนโลยีดิสรัปชั่น จะเห็นได้ว่าการเติบโตของสื่ออยู่ในฝั่ง “ออนไลน์” เป็นหลัก สะท้อนจากเม็ดเงินโฆษณาสื่อออนไลน์เติบโตทุกปี ปี 2562 คาดการณ์กันที่มูลค่า 20,000 ล้านบาท ส่วนโฆษณาทีวีดิจิทัลปีนี้ สมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย (MAAT) ประเมินมูลค่าอยู่ที่ 64,680 ล้านบาท ติดลบ 2%

นับตั้งแต่ทีวีดิจิทัลเริ่มต้นในปี 2557 เม็ดเงินโฆษณาก็ไม่ได้เติบโตจากยุคแอนะล็อก เพียงแต่เม็ดเงินก้อนเดิม ย้ายจากช่องฟรีทีวีเดิมไปยังทีวีดิจิทัลช่องใหม่ และมีส่วนที่ไหลไปยังสื่อออนไลน์ด้วยเช่นกัน ขณะที่ทีวีดิจิทัลเป็นสื่อที่ลงทุนสูง เมื่อรายได้ไม่คุ้มต้นทุน ตลอดช่วง 5 ปีนี้ จึงเห็นหลายช่องทยอย “ลดต้นทุน” ด้วยการ “เลิกจ้าง” พนักงานมาต่อเนื่อง และสุดท้ายมาจบลงที่การคืนใบอนุญาตของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล

จากการรวบรวมตัวเลขของสำนักงาน กสทช. ฐากร บอกว่า ทีวีดิจิทัลส่วนใหญ่ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” นับตั้งแต่ 2 ช่อง “ไทยทีวีและโลก้า” ปิดตัวในปี 2558 และมีการเลิกจ้างพนักงานทั้งหมด พบว่าแต่ละสถานีจะมีพนักงาน ช่องละ 200 คน มีพนักงานประจำราว 30 – 40% ที่เหลือเป็นการจ้างผลิตหรือเอาท์ซอร์ส

การปิดตัวของทีวีดิจิทัล 9 ช่อง ทั้ง “ไทยทีวีและโลก้า” และ 7 ช่องคืนใบอนุญาต มีพนักงาน “ทางตรง” ที่เป็นพนักงานประจำและส่วนที่เอาต์ซอร์ส ทั้งผู้ผลิตรายการอิสระ ธุรกิจตัดต่อ ผู้ผลิตโฆษณา ได้รับผลกระทบจากการ “เลิกจ้าง” จำนวน 3,472 คน อีกทั้งยังมีผลกระทบทางอ้อม” จากครอบครัวคนที่ถูกเลิกจ้างอีก จำนวน 11,458 คน รวมผู้ที่ได้รับผลกระทบ 14,930 คน

โดยทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต กสทช.จ่ายเงินชดเชยให้จำนวน 2,933 ล้านบาท ในจำนวนผู้ประกอบการนำไปจ่ายเป็นเงินเยียวยาเลิกจ้างพนักงานตามกฎหมายแรงงานและบวกเพิ่มให้ รวม 1,400 ล้านบาท แต่ก็บพบว่ากลุ่มที่เป็นลูกจ้างเอาต์ซอร์ส ได้รับผลกระทบเพราะไม่ได้อยู่ภายใต้กฎหมายแรงงาน เมื่อมีการยกเลิกประกอบกิจการจึงไม่ได้รับสิทธิการจ่ายเงินค่าเลิกจ้าง ซึ่งมีการส่งเรื่องร้องเรียนมาที่ กสทช.จำนวนมาก

“วันที่ 30 ก.ย. นี้ หลังเที่ยงคืน ทีวีดิจิทัล 2 ช่องสุดท้าย คือ ช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD จะยุติออกอากาศ ครบทั้ง 7 ช่องที่คืนใบอนุญาต หลังจากนี้จะเหลือทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 15 ช่อง และทีวีบริการสาธารณะอีก 4 ช่อง ที่ต้องขอให้ทุกช่องโชคดีในการทำทีวีดิจิทัลต่อไป”

2 ช่องกลุ่มบีอีซี “ลาจอ”

วันนี้ (30 ก.ย.) หลังเที่ยง เป็นคิวของทีวีดิจิทัล 2 ช่องของกลุ่มบีอีซี หรือช่อง 3 ที่จะยุติออกอากาศ คือช่อง 3 Family และ ช่อง 3 SD

สำหรับ ช่อง 3 Family ประมูลมาด้วยมูลค่า 666 ล้านบาท ในกลุ่มเด็ก เยาวชนและครอบครัว ออกอากาศหมายเลข 13 ช่วงแรกเน้นซื้อรายการลิขสิทธิ์มาออกอากาศ ทั้งซีรีส์ต่างประเทศ การ์ตูนเด็ก และละครรีรันช่อง 3 จากนั้นเริ่มผลิตรายการข่าว วาไรตี้ รายการการแข่งขันกีฬาถ่ายทอดสด และปล่อยเช่าเวลา แต่ด้วยการแข่งขันสูงและข้อจำกัดการลงโฆษณาของรายการเด็ก ทำให้รายได้โฆษณา แต่ละปีอยู่หลักร้อยล้านบาทเท่านั้น ตลอดช่วง 5 ปีทำรายได้รวม 636 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.083 ในปี 2558 และต่ำสุด 0.012 ปี 2557

ส่วนช่อง 3 SD ประเภทช่องวาไรตี้ SD หมายเลข 28 ประมูลมาด้วยมูลค่า 2,275 ล้านบาท ช่วงเริ่มต้นใช้คอนเทนต์รีรันจากช่อง 3 หลังจากนั้นเติมรายการข่าวและวาไรตี้ เข้ามาในผัง แต่รายการที่ทำเรตติ้งได้ดี คือ ละครรีรัน ช่อง 3 ทำให้เรตติ้งขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็น ตลอด 5 ปี ทำรายได้รวม 1,930 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.279 ในปี 2560 และต่ำสุด 0.011 ปี 2557


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1247989
วันสุดท้าย! MCOT Family “ลาจอ” ย้อนดูผลงาน 5 ปีทีวีดิจิทัลรายได้รั้งท้าย “อสมท” ย้ำไม่มีเลิกจ้าง https://positioningmag.com/1246418 Sun, 15 Sep 2019 06:05:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246418 เที่ยงคืนวันนี้ (15 ..) ถึงคิว ช่อง 14  MCOT Family “ลาจอ” นับเป็นช่องที่ 5 จากจำนวน 7 ช่องที่ขอคืนใบอนุญาต ผลงาน 5 ปีทีวีดิจิทัลช่องเด็กทำรายได้ต่ำสุดในบรรดาช่องทีวีดิจิทัล รวม 157 ล้านบาท ขอคืนใบอนุญาตได้เงินชดเชย 163 ล้านบาท

จากข้อมูลของสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. จัดทำหนังสือ 5 ปี บนเส้นทางทีวีดิจิทัล : บทเรียนและการเปลี่ยนแปลง สรุปอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลตลอดช่วง 5 ปี (2557 – 2561) ตั้งแต่เริ่มประมูลถึงวันคืนใบอนุญาตก่อนจบสัญญา 15 ปี ในปี 2572

1 ใน 7 ช่องที่ขอคืนใบอนุญาต มีกำหนดยุติออกอากาศเที่ยงคืนวันที่ 15 ก.ย. 2562 หรือ เข้าสู่วันที่ 16 ก.ย. 2562 คือ ช่อง 14 MCOT Family ของ บมจ.อสมท

โดย อสมท เป็นรัฐวิสาหกิจในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้าร่วมประมูลทีวีดิจิทัลในปลายปี 2556 ถือเป็นกลุ่มผู้ประกอบการรายฟรีทีวีรายเดิม ที่ประมูลใบอนุญาตเพิ่มอีก 1 ช่องใหม่ ในหมวดเด็ก เยาวชน และครอบครัว ด้วยมูลค่า 660 ล้านบาท ช่วงเริ่มต้นทีวีดิจิทัล ใช้ชื่อ MCOT Kids & Family หมายเลข 14 จากนั้นเดือนมิ.ย. 2557 เปลี่ยนมาเป็นชื่อ MCOT Family

ในยุคแอนะล็อก ช่อง 9 อสมท มีรายการสำหรับเด็กที่ได้รับความนิยมสูงอยู่แล้ว โดยเฉพาะรายการ ช่อง 9 การ์ตูน จึงประมูลช่องเด็กเพื่อต่อยอดคอนเทนต์ที่แข็งแกร่ง แต่การทำทีวีดิจิทัลช่องเด็ก มีข้อจำกัดเรื่องเงื่อนไขเนื้อหารายการ ที่ต้องเป็นรายการที่เหมาะสมกับเด็ก เยาวชน และครอบครัว และโฆษณาที่เหมาะสมกับผู้ชม ช่อง MCOT Family จึงลำบากในการเดินหน้าธุรกิจ

ตลอดช่วง 5 ทีวีดิจิทัล MCOT Family เป็นช่องที่ทำรายได้ “น้อยที่สุด” ในบรรดาช่องทีวีดิจิทัลทั้งหมด โดยปีแรก 2557 มีรายได้ 6 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 24 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 29 ล้านบาท ปี 2560 รายได้  50 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 48 ล้านบาท รวม 5 ปี รายได้ อยู่ที่ 157 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.029 ในปี 2561 และต่ำสุด 0.006 ปี 2557 จึงอยู่ในอันดับท้ายตาราง การคืนใบอนุญาต MCOT Family ได้รับเงินชดเชย จาก กสทช. รวม 163 ล้านบาท

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากยุติช่อง 14 MCOT Family อสมท ยังสนับสนุนส่งเสริมเยาวชน สังคมและครอบครัวตามภารกิจ ของ อสมท ผ่านสื่อต่างๆ ในเครือ

สำหรับการบริหารจัดการบุคลากรของช่อง 14 MCOT Family หลังยุติการออกอากาศ อสมท ไม่มีนโยบายเลิกจ้างบุคลากร ช่อง 14 MCOT Family โดยใช้วิธีโยกย้ายบุคลากรทั้งหมดของช่อง 14 MCOT Family ไปยังหน่วยธุรกิจและหน่วยหารายได้แทน ส่วนบุคลากรภายนอกยังคงดูแลพิธีกร ผู้ดำเนินรายการตามสัญญาที่ได้จัดทำไว้

ส่วนรายการพันธมิตรและคู่สัญญาที่ดำเนินงานร่วมกับช่อง 14 MCOT Family ส่วนใหญ่ได้สิ้นสุดสัญญาลงเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2562 ซึ่งเป็นปกติของการปรับผังรายการในทุก 6 เดือน และไม่ได้ต่อสัญญาใหม่ จากการบอกคืนใบอนุญาตตั้งแต่ 10 พ.ค. 2562.

]]>
1246418
ลาจออีกช่อง เที่ยงคืน 31 ส.ค. นี้! 5 ปี “วอยซ์ทีวี” โชว์รายได้ 384 ล้านบาท เรตติ้งรั้งท้าย มุ่งหน้าออนไลน์-ทีวีดาวเทียม https://positioningmag.com/1244675 Sat, 31 Aug 2019 05:45:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1244675 “วอยซ์ทีวี” เป็น 1 ใน 7 ช่องทีวีดิจิทัลที่ขอคืนใบอนุญาตและมีกำหนด “ลาจอ” หลังเที่ยงคืน 31 ส.ค. นี้ ย้อนดู 5 ปี ทีวีของตระกูล “ชินวัตร” โชว์รายได้ 384 ล้านบาท จากนี้ไปกลับสู่แพลตฟอร์ม “ทีวีดาวเทียม” และสื่อออนไลน์

จากข้อมูลของสำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. ซึ่งจัดทำหนังสือ 5 ปี บนเส้นทางทีวีดิจิทัล : บทเรียนและการเปลี่ยนแปลง

สรุปข้อมูล “วอยซ์ทีวี” ว่าเริ่มต้นออกอากาศครั้งแรกผ่านโครงข่ายดาวเทียมไทยคม ตั้งแต่ปี 2552 จากนั้นประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล ช่องข่าว มาด้วยมูลค่า 1,338 ล้านบาท เริ่มออกอากาช่องวอยซ์ทีวี หมายเลข 21 ในปี 2557 เนื้อหารายการหลักของช่องมีความชัดเจน เน้นข่าวการเมืองและรายการวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์การเมือง

ด้านรายได้ ปี 2557 อยู่ที่ 72 ล้านบาท ปี 2558 รายได้ 108 ล้านบาท ปี 2559 รายได้ 106 ล้านบาท ปี 2560 รายได้ 62 ล้านบาท และปี 2561 รายได้ 36 ล้านบาท รวม 5 ปี (2557 – 2561) ทำรายได้รวม 384 ล้านบาท

ส่วนอันดับความนิยม (เรตติ้ง) ปี 2557 วอยซ์ทีวี อยู่ในอันดับ 28 ท้ายสุดของตาราง เช่นเดียวกับปี 2558 มาในปี 2561 ช่วงสถานการณ์การเมืองเริ่มเข้มข้น จากการเตรียมเลือกตั้งในปี 2562 ทำให้เรตติ้งช่องวอยซ์ เริ่มได้รับความนิยมสูงขึ้นเช่นกัน โดยเรตติ้งเดือน ธ.ค. 2561 ขยับมาอยู่ที่อันดับ 18 แต่เรตติ้งเฉลี่ยปี 2561 อยู่อันดับ 20

คำสั่ง คสช. มาตรา 44 เปิดโอกาสให้ “ทีวีดิจิทัล” คืนใบอนุญาตและได้รับเงินชดเชย เนื่องจากใช้ใบอนุญาตไม่ครบอายุสัญญา 15 ปี โดย วอยซ์ทีวี ได้รับเงินชดเชย 378 ล้านบาท

ทิศทางของ วอยซ์ทีวี หลังคืนช่องทีวีดิจิทัล ยังคงทำช่องทีวีต่อไป โดยจะออกอากาศทีวีดาวเทียม และช่องทางออนไลน์ทุกแพลตฟอร์มทั้ง เว็บไซต์ voicetv รวมทั้งโซเชียล มีเดีย เฟซบุ๊ก ยูทูบ ไลน์ อินสตาแกรมและทวิตเตอร์.

]]>
1244675
3 ช่องทีวีดิจิทัล “ลาจอ” กสทช. จ่ายเยียวยา “พันล้าน” ส่อง 10 อันดับเรตติ้งใหม่ https://positioningmag.com/1242689 Fri, 16 Aug 2019 08:18:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242689 การคืนช่องทีวีดิจิทัลตามมาตรา 44 ที่ดำเนินการมา 3 เดือน เดินทางมากระบวนการสุดท้ายการยุติออกอากาศ และจ่ายเงินเยียวยาให้กับ 3 ช่องแรกไปแล้วในวันนี้ (16 .. 2562) รวมมูลค่า 1,020 ล้านบาท  

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า วันนี้สำนักงาน กสทช.จ่ายเงินเยียวยาให้กับทีวีดิจิทัล 3 ช่อง คือ สปริงนิวส์, สปริง 26 และไบรท์ทีวี ที่ยื่นขอคืนใบอนุญาตล็อตแรก รวมเป็นเงินค่าชดเชยที่จ่ายให้กับ 3 ช่อง จำนวน 1,020 ล้านบาท

ช่องแรก สปริง 26 จะได้รับเงินชดเชย 341 ล้านบาท ช่องที่ 2 สปริงนิวส์ ได้รับเงินชดเชย 405 ล้านบาท และช่องที่ 3 ไบรท์ทีวี ได้เงินค่าชดเชย 273 ล้านบาท ซึ่งทั้ง 3 ช่อง ได้ยุติออกอากาศไปแล้วในเช้านี้ เวลา 00.01 น.

ในการจ่ายเงินชดเชยทั้ง 3 ช่อง สำนักงาน กสทช.ได้จ่ายเงินให้กองทัพบกเพื่อชำระค่าเช่าใช้โครงข่ายฯ ช่องสปริง 26 และ ไบรท์ ทีวี รวม 158 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าโครงข่ายช่อง สปริง 26 จำนวน 70 ล้านบาท และ ไบรท์ทีวี 87 ล้านบาท และจ่ายเงินให้กับธนาคารกสิกรไทยตามหนังสือโอนสิทธิของช่อง สปริง 26 จำนวน 250 ล้านบาท ตามจำนวนที่ค้างชำระอยู่ด้วย

การจ่ายเงินชดเชยให้ทีวีดิจิทัล หลังจากยุติออกอากาศทันที เพื่อให้ผู้ประกอบการนำเงินไปจ่ายชดเชยการเลิกจ้างพนักงานทันทีเช่นกัน

สำหรับช่องที่คืนใบอนุญาตทีวิดิจิทัลอีก 4 ช่องที่เหลือ คือ วอยซ์ ทีวี, ช่อง MCOT Family), ช่อง 3SD และช่อง 3 Family จะดำเนินเหมือน 3 ช่องแรก โดยจะยุติออกอากาศช่องสุดท้ายในวันที่ 1 ต.ค. 2562

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสื่ออยู่ในสถานการณ์ “เทคโนโลยี ดิสรัปชั่น” จึงคาดการณ์ยากว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้ ที่จะเข้าสู่ยุค 5G ดังนั้นทีวีดิจิทัลทั้ง 15 ช่องที่เหลืออยู่ ต้องปรับตัวและเดินหน้าต่อไป

“มาถึงวันนี้ไม่มีมาตรา 44 อีกแล้ว และก็ไม่สามารถคืนช่องรับเงินชดเชยได้อีก สิ่งที่ กสทช. ทำได้ในการช่วยเหลือหากเกิดวิกฤติตอนนี้ก็ยังไม่ได้ศึกษา แต่ขอให้ไม่มีวิกฤติ และทั้ง 15 ช่องโชคดี” 

เปิด 10 อันดับเรตติ้งใหม่ทีวีดิจิทัล

การยุติออกอากาศทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่อง ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดผู้ชมราว 8% และเม็ดเงินโฆษณาเดือนละ 120 ล้านบาท หรือราว 500 ล้านบาท นับจากยุติออกอากาศถึงสิ้นปีนี้ หลังจากทั้ง 7 ช่องลาจอ ผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณาจะไหลไปยังแพลตฟอร์มออนไลน์และทีวีดิจิทัลที่มีฐานผู้ชมใกล้เคียงกันแทน

ภวัต เรืองเดชวรชัย ผู้อำนวยการธุรกิจสายงานการวางแผน และกลยุทธ์สื่อโฆษณา บริษัท มีเดีย อิเทลลิเจนซ์ จำกัด หรือ MI และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มีเดีย อินไซต์ จำกัด วิเคราะห์การย้ายฐานผู้ชมของทั้ง 7 ช่องว่า การยุติช่องเด็กของช่อง 3 Family คาดว่าผู้ชมจะย้ายไปที่ช่อง 3 ส่วนช่อง MCOT 14 Family ก็จะย้ายไปที่ MCOT HD แทนเพราะเป็นฐานผู้ชมเดียวกัน

ส่วนการยุติดช่องข่าว ผู้ชมช่องสปริงนิวส์ จะย้ายไป เนชั่นทีวี ส่วนไบรท์ทีวีและวอยซ์ทีวี จะย้ายไปไทยรัฐทีวี

ขณะที่การยุติช่องวาไรตี้ ช่องสปริง 26 ผู้ชมจะย้ายไปที่ช่อง MCOT HD เนชั่นทีวี และอมรินทร์ทีวี ส่วนช่อง 3SD จะย้ายไปที่ช่อง 3 แทน

หากประเมิน 10 อันดับเรตติ้งทีวีดิจิทัลใหม่ หลังจากทั้ง 7 ช่องยุติออกอากาศแล้ว อันดับ 1 ยังเป็นช่อง 7 ตามด้วย ช่อง 3 โมโน 29 เวิร์คพอยท์ ช่องวัน ไทยรัฐทีวี อมรินทร์ทีวี ช่อง 8 เนชั่นทีวี MCOT HD

 

]]>
1242689
ปิดฉาก “7 ช่อง” ทีวีดิจิทัล บนเส้นทางวิบาก ย้อนดูผลงาน 5 ปี “เรตติ้ง” ดิ่ง ขาดทุนอ่วม https://positioningmag.com/1242207 Wed, 14 Aug 2019 23:01:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1242207 ธุรกิจฟรีทีวีก่อนยุคทีวีดิจิทัลความมั่งคั่งของช่อง 3” และช่อง 7” กับตัวเลขกำไรปีละกว่า 5,000 ล้าน กลายเป็นต้นแบบที่ผู้ประกอบการสื่อและรายใหม่อยากเดินตาม หวังเข้ามาแบ่งเม็ดเงินโฆษณาทีวีปีละ 70,000 ล้าน ที่ขณะนั้นยังมีแนวโน้มเติบโต  

เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดประมูลทีวีดิจิทัล ในวันที่ 26 – 27 ธ.ค. 2556 ด้วยจำนวน 24 ช่อง อายุใบอนุญาต 15 ปี เริ่มปี 2557 จบในปี 2572 และตลอด 15 ปีก่อนสิ้นสุดใบอนุญาต ย้ำว่าจะไม่มีการประมูลอีก

การประมูลใบอนุญาต “ทีวีดิจิทัล” จึงเรียกความสนใจจากผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งฟรีทีวี “รายเก่า” ที่ต้องเข้าสู่สนามใหม่ “ผู้ผลิตคอนเทนต์” และ “ช่องทีวีดาวเทียม” ที่ต้องการเป็นเจ้าของสถานีฟรีทีวี กลุ่มสื่อดั้งเดิม “หนังสือพิมพ์” ที่เห็นแนวโน้มขาลงของสื่อเก่าวางเป้าหมายสร้างอาณาจักรสื่อทีวี รวมทั้ง “ผู้เล่นรายใหม่” ที่มองเป็นโอกาสทางธุรกิจ การประมูลทีวีดิจิทัลจึงกลายเป็น “ธุรกิจแห่งความหวัง” ของอุตสาหกรรมสื่อ

ส่งให้การแข่งเคาะราคาประมูล จากมูลค่าราคาขั้นต่ำใบอนุญาต 24 ช่อง ที่ กสทช. กำหนดไว้ 15,190 ล้านบาท มูลค่าประมูลวิ่งไปจบที่ 50,862 ล้านบาท

ผู้กำชัยชนะประมูล “ทีวีดิจิทัล” ในปี 2556 เลี้ยงฉลองความสำเร็จกับความหวังเป็นเจ้าของ “ธุรกิจทำเงิน” แต่เวลาผ่านไปเพียง 1 ปี ของยุคทีวีดิจิทัล ที่เริ่มออนแอร์พร้อมกันในวันที่ 25 เม.ย. 2557 มี “2 ช่อง” คือ ไทยทีวีและโลก้า ของ “เจ๊ติ๋ม-พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย” บอกคืนใบอนุญาตเดินออกจากตลาดกับตัวเลข “ขาดทุน” 700 ล้านบาท

ช่องเยอะ-เจอ “ดิจิทัล ดิสรัปชั่น”  

เป็นยอมรับกันทั้งในฝั่งผู้ประกอบการทีวีและเลขาธิการกสทช. “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” ที่บอกว่าจำนวนทีวีดิจิทัล 24 ช่อง ที่เปิดประมูล “มากเกินไป” เพราะเพิ่มขึ้นจากยุคแอนะล็อก 6 เท่าตัว หากคิดบนพื้นฐานที่ว่าเม็ดเงินโฆษณาทีวีมี 70,000 ล้านบาท ผู้ประกอบการ 24 ช่อง น่าจะแบ่งกันและอยู่รอดได้

แต่ต้องกลับไปดูอีกว่า “มูลค่าจริง” ของโฆษณาทีวีมีเท่าไหร่ เพราะการสำรวจวัดจาก Rate Card หรือ ราคาเสนอขาย แต่การซื้อขายกันมี “ส่วนลด” ทุกช่อง “มีเดีย เอเยนซี” ก็ประเมินว่าเม็ดเงินโฆษณาทีวีต่อปีไม่น่าจะเกิน 40,000 ล้านบาท  

ที่วิเคราะห์เช่นนั้นเพราะดูได้จากรายได้ ช่อง 3 และ ช่อง 7 ที่เป็นผู้นำในตลาด ย้อนไปปี 2556 BEC หรือช่อง 3 ทำรายได้สูงสุดที่ 15,127 ล้านบาท กำไร 5,589 ล้านบาท ส่วน ช่อง 7 รายได้ 10,312 ล้านบาท กำไร 5,231 ล้านบาท ปี 2556 อสมท มีรายได้ทีวี 3,821 ล้านบาท ส่วนช่อง 5 น่าจะอยู่ในอัตราเดียวกัน เม็ดเงินโฆษณาทีวีที่ 40,000 ล้านบาท จึงเป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงจริง

อย่างไรก็ต้องไม่ลืมว่า “ความสามารถ” ด้านความคิดสร้างสรรค์และผลิตคอนเทนต์ของแต่ละช่องไม่เท่ากัน “ช่อง 3 และช่อง 7” อยู่ในตลาดมากว่า 40 ปี ไม่ได้กำไรตั้งแต่วันแรก ทุกคนรู้ดีว่า “ทีวี” คือธุรกิจ “เผาเงิน” ต้นทุนผลิตรายการทีวี เมื่อถึงเวลาออนแอร์ ไม่มีโฆษณา นั่นคือเม็ดเงินลงทุนที่หายไป โดยไม่มีรายได้กลับมา

อีกทั้งการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัลในปี 2557 เป็นจังหวะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยี (Digital Disruption) การขยายตัวของสื่อออนไลน์ OTT และการเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างประเทศ ยูทูบ เฟซบุ๊ก  ไลน์ทีวี ที่เข้ามาแย่งเวลาผู้ชมทีวี โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เติบโตมากับสื่อออนไลน์ ล้วนเป็นปัจจัยที่กระทบธุรกิจทีวีดิจิทัล

7 ช่อง” ไม่ไปต่อ ขอหยุดเลือด

ตลอดเวลา 5 ปี ของเส้นทาง “ทีวีดิจิทัล” ธุรกิจที่เป็นความหวังของคนในอุตสาหกรรมทีวี จึงกลายเป็นเส้นทางวิบาก แม้แต่ผู้นำเรตติ้ง 2 ช่องตั้งแต่ยุคแอนะล็อก บัลลังก์ยังสะเทือน “รายได้และเรตติ้ง” ลดลงต่อเนื่องตลอด 5 ปีนี้ ไม่ต่างจาก “รายใหม่” ที่เข้ามาด้วยความหวังปั้นธุรกิจดาวรุ่ง ก็ต้องยอมพ่ายแพ้ขอออกจากตลาด เพื่อ “หยุดเลือด”

เมื่อมีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ที่ออกมาเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2562 แก้ปัญหาทีวีดิจิทัลเปิดทางให้คืนใบอนุญาตก่อนสิ้นสุดสัญญาในปี 2572 พร้อมรับเงินชดเชย จึงมี “7 ช่อง” ขอออกจากตลาดไม่ไปต่อ คือ สปริงส์นิว 19, สปริง 26 (NOW 26), ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, MCOT Family (อสมท), ช่อง 3 SD (ช่อง 28) และ ช่อง 3 Family (ช่อง 13)

หลังจากยุติออกอากาศตามกำหนดตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. – ต.ค. 2562 ทั้ง 7 ช่องจะได้รับเงินชดเชย จากกสทช. เนื่องจากใช้ใบอนุญาตไม่ครบ 15 ปี เม็ดเงินที่กสทช. ชดเชย ทั้ง 7 รวมอยู่ที่ 2,932.65 ล้านบาท โดยทั้ง 7 ช่อง ประมูลทีวีดิจิทัลมาด้วยมูลค่ารวม 9,755 ล้านบาท

นั่นเท่ากับต้นทุนค่าใบอนุญาตที่ต้องจ่ายตลอด 5 ปีกว่ารวมมูลค่า 6,822.35 ล้านบาท หากรวมค่าลงทุนคอนเทนต์ การบริหารธุรกิจรายปี และค่าจ้างบุคลากร สถานีทีวีละ 100 – 200 คน นับรวมเม็ดเงินที่ลงทุนไปแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท ถือเป็นตัวเลข “ขาดทุน” ที่ทีวีดิจิทัล ต้องเผชิญตลอดช่วงที่ทำธุรกิจ

เม็ดเงินโฆษณาช่องข่าว-เด็ก “ต่ำสุด”  

การลงทุนทั้งค่าใบอนุญาตที่ใช้ไป 5 ปีกว่าและต้นทุนการทำธุรกิจหลัก 10,000 ล้านบาท ของ 7 ช่องทีวีดิจิทัล ที่ขอถอนตัว สาเหตุที่ตัดสินใจเช่นนั้น คงสะท้อนได้จากเรตติ้งช่องที่ส่วนใหญ่อยู่ท้ายตาราง และ “รายได้” ตลอดช่วง 5 ปี ของแต่ละช่อง ที่ยัง “ขาดทุน” หนัก และมองไม่เห็นโอกาสจากการแข่งขันในอีก 10 ปีข้างหน้าว่าจะฟื้นตัวได้หรือไม่

จากข้อมูลของ สำนักนโยบายและวิชาการกระจายเสียงและโทรทัศน์  สำนักงาน กสทช. ซึ่งจัดทำหนังสือ  5 ปี บนเส้นทางทีวีดิจิทัล : บทเรียนและการเปลี่ยนแปลง ได้บอกเล่าเรื่องราวอุตสาหกรรมโฆษณา ความเป็นมาของทีวีดิจิทัล รวมทั้งผลประกอบการของแต่ละช่อง

เริ่มจากตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาทีวีของ “นีลเส็น” ในยุคทีวีดิจิทัล ปี 2557 มีมูลค่า 73,042 ล้านบาท ปี 2558 มูลค่า 78,343 ล้านบาท ปี 2559 มูลค่า 67,545 ล้านบาท ปี 2560 มูลค่า 62,873 ล้านบาท และปี 2561 มูลค่า 67,947 ล้านบาท จะเห็นได้ว่าช่วง 5 ปีที่ผ่านมามูลค่าไม่ได้ “เพิ่มขึ้น” อีกทั้งมีแนวโน้มลดลง

มาดูเม็ดเงินโฆษณาที่กระจายไป “ช่องข่าว” ที่มีจำนวน 7 ช่อง มีสัดส่วนเพียง 3 – 4% ของโฆษณาทีวีดิจิทัล เท่านั้น ปี 2557 มีมูลค่า 2,420 ล้านบาท สัดส่วน 3.31% ปี 2558 มูลค่า 3,555 ล้านบาท สัดส่วน 4.54% ปี 2559 มูลค่า 2,766 ล้านบาท สัดส่วน 4.10% ปี 2560 มูลค่า 2,560 ล้านบาท สัดส่วน 4.07% ปี 2561 มูลค่า 2,592 ล้านบาท สัดส่วน 3.82%

ขณะที่มูลค่าโฆษณา ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว มีสัดส่วนไม่ถึง 1% เริ่มจากปี 2557 อยู่ที่ 537 ล้านบาท สัดส่วน 0.74% ปี 2558 มูลค่า 749 ล้านบาท สัดส่วน 0.96% ปี 2559 มูลค่า 523 ล้านบาท สัดส่วน 0.77%  ปี 2560 มูลค่า 388 ล้านบาท สัดส่วน 0.62% และปี 2561 มูลค่า 623 ล้านบาท สัดส่วน 0.92%

ทั้งช่องข่าวและช่องเด็ก เป็นหมวดหมู่ที่มีเม็ดเงินโฆษณา “น้อยที่สุด” เมื่อเทียบกับหมวดหมู่อื่น เพราะเรตติ้งต่ำกว่าช่องวาไรตี้ จึงเป็นปัจจัยให้ ช่องข่าวและช่องเด็ก ขอคืนใบอนุญาตมากกว่าหมวดหมู่อื่น

ย้อนดูผลงาน “7 ช่อง” รายได้ต่ำ-เรตติ้งดิ่ง

ทีวีดิจิทัล 7 ช่องที่ขอคืนใบอนุญาติ จะเริ่ม “ยุติออกอากาศ” ตั้งแต่เที่ยงคืนวันที่ 15 ส.ค. นี้ หรือเมื่อก้าวเข้าสู่วันที่ 16 ส.ค. 2562 เวลา 0.01 น. มี 3 ช่อง คือ สปริงนิวส์ 19, สปริง 26 และไบรท์ทีวี จากนั้น วันที่ 1 ก.ย. 2562 เวลา 0.01 น. วอยซ์ทีวี ตามด้วย วันที่ 16 ก.ย. 2562 เวลา 0.01 น. ช่อง MCOT Family และสุดท้ายวันที่ 1 ต.ค. 2562 เวลา 0.01 น. ช่อง 3 SD และ ช่อง 3 Family ตามดูผลงานทีวีดิจิทัล 7 ช่อง ตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมากันอีกครั้ง

สปริงนิวส์ เริ่มออกอากาศครั้งแรกผ่านโครงข่ายดาวเทียม ปี 2553 หลังประมูลทีวีดิจิทัล “ช่องข่าว” มาด้วยราคา 1,318 ล้านบาท เริ่มออกอากาศ ช่องสปริงนิวส์ 19 วันที่ 25 เม.ย. 2557 การออกอากาศตลอด 5 ปี สปริงส์นิวส์ ทำรายได้รวม 919 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.018 ในปี 2557 และต่ำสุด 0.020 ปี 2561

สปริง 26 เริ่มออกอากาศผ่านโครงข่ายดาวเทียม ชื่อช่อง “กรุงเทพธุรกิจทีวี” ในปี 2555 เป็นสื่อทีวีในเครือเนชั่น คอนเซ็ปต์ช่องข่าวเศรษฐกิจและธุรกิจ ต้นแบบจากช่อง CBNC ชนะประมูลทีวีดิจิทัล ช่องวาไรตี้ SD มาด้วยมูลค่า  2,200 ล้านบาท เริ่มต้นยุคทีวีดิจิทัลในปี 2557 ภายใต้ชื่อ NOW 26 หลังจากกลุ่มทุนใหม่ “นิวส์ เน็ตเวิร์ค คอร์ปอเรชั่น” เข้ามาบริหารเครือเนชั่น ในเดือนก.พ. 2561 ได้เปลี่ยนชื่อช่องใหม่เป็น SPRING 26 เมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2562 ตลอด 5 ปี ทำรายได้รวม 1,188  ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.175 ในปี 2561 และต่ำสุด 0.026 ปี 2558

ไบรท์ทีวี ดำเนินการโดย บริษัท 3 เอ.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่เคยผลิตรายการข่าวให้กับ ช่อง 5 มาก่อน และได้เข้าประมูลใบอนุญาตทีวีดิจิทัล “ช่องข่าว” มาด้วยมูลค่า 1,298 ล้านบาท นอกจากรายการข่าว ไบรท์ทีวี ยังใส่คอนเทนต์บันเทิง ละครพื้นบ้าน และซีรีส์อินเดีย ที่สร้างกระแสฮิตในปี 2560 ตลอด 5 ปีทำรายได้รวม 798 ล้านบาท อันดับเรตติ้งดีที่สุด 20 ในปี 2561

วอยซ์ทีวี เริ่มออกอากาศครั้งแรกผ่านโครงข่ายดาวเทียมในปี 2552 จากนั้นร่วมประมูลทีวีดิจิทัล ช่องข่าว มาด้วยมูลค่า 1,338 ล้านบาท วอยซ์ทีวี เป็นธุรกิจสื่อของครอบครัว “ชินวัตร” มีความชัดเจนในการนำเสนอข่าวการเมืองและรายการวิพากษ์วิจารณ์สถานการณ์ต่างๆ และมีรายการประเภทวาไรตี้ สารคดีท่องเที่ยว ซีรีส์ต่างประเทศ เช่นกัน ตลอด 5 ปีทำรายได้รวม 384 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.031 ในปี 2561 และต่ำสุด 0.004 ปี 2557

MCOT Family เป็น 1 ใน 2 ช่องทีวีดิจิทัลที่ อสมท เข้าร่วมประมูล ช่องเด็ก เยาวชน และครอบครัว มาด้วยมูลค่า 660 ล้านบาท ถือเป็นช่องใหม่ที่ อสมท พัฒนาขึ้นเดิมชื่อ MCOT Kids & Family หมายเลข 14 จากนั้นเดือน มิ.ย. 2557 เปลี่ยนมาเป็นชื่อ MCOT Family การเป็นช่องเด็ก ถือว่ามีข้อจำกัดในการหารายได้โฆษณา อสมท จึงประสบปัญหาในการทำช่อง MCOT Family

ปี 2560 ได้ปรับรูปแบบเป็นช่องขายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน จากกลุ่ม SMEs เพื่อสร้างโอกาสหารายได้มากขึ้น แต่ก็เป็นช่องที่ทำรายได้น้อยที่สุดของทีวีดิจิทัลทั้งหมด ตลอด 5 ปี ทำรายได้รวม 157 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.029 ในปี 2561 และต่ำสุด 0.006 ปี 2557

ช่อง 3 SD เป็นช่องใหม่ของกลุ่มบีอีซี หรือ ช่อง 3 ประเภทช่องวาไรตี้ SD หมายเลข 28 ประมูลมาด้วยมูลค่า  2,275 ล้านบาท ช่วงเริ่มต้นใช้คอนเทนต์ รีรัน จากช่อง 3 หลังจากนั้นเติมรายการข่าวและวาไรตี้ เข้ามาในผัง แต่รายการที่ทำเรตติ้งได้ดี คือ ละครรีรัน ช่อง 3 ทำให้เรตติ้งขึ้นมาอยู่ในกลุ่มท็อปเท็น ตลอด 5 ปี ทำรายได้รวม 1,930 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.279 ในปี 2560 และต่ำสุด 0.011 ปี 2557

ช่อง 3 Family เป็นอีกช่องทีวีดิจิทัลของช่อง 3 ที่ประมูลมาด้วยมูลค่า 666 ล้านบาท ในกลุ่มเด็ก เยาวชน และครอบครัว ออกอากาศหมายเลข 13 ช่วงแรกเน้นซื้อรายการลิขสิทธิ์มาออกอากาศ ทั้งซีรีส์ต่างประเทศ การ์ตูนเด็ก และละครรีรันช่อง 3 จากนั้นเริ่มผลิตรายการข่าว วาไรตี้ รายการการแข่งขันกีฬาถ่ายทอดสด และปล่อยเช่าเวลา แต่ด้วยการแข่งขันสูงและข้อจำกัดการลงโฆษณาของรายการเด็ก ทำให้รายได้โฆษณา แต่ละปีอยู่หลักร้อยล้านบาทเท่านั้น ตลอดช่วง 5 ปีทำรายได้รวม 636 ล้านบาท เรตติ้งดีที่สุด 0.083 ในปี 2558 และต่ำสุด 0.012 ปี 2557

การเลือกออกจากสมรภูมิการแข่งขัน “ทีวีดิจิทัล” ของ 7 ช่อง เพราะมองไม่เห็นโอกาสที่จะทำรายได้ในแต่ละปีได้มากกว่าเม็ดเงินที่ต้องลงทุน ส่วนผู้ที่ยังอยู่ในสนามแข่งขันวันนี้ก็ยัง “เหนื่อย” ต่อไป.

]]>
1242207
เปิดรายได้ “ทีวีดิจิทัล” ปี 2561 ยัง “ขาดทุนอ่วม” นับถอยหลัง 7 ช่องลาจอ https://positioningmag.com/1239213 Mon, 15 Jul 2019 12:18:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1239213 นับจากเริ่มต้นออนแอร์วันที่ 25 เม.. 2557 ของทีวีดิจิทัล 24 ช่อง กับเม็ดเงินประมูล 50,862 ล้านบาท ถือครองใบอนุญาต 15 ปี จบในวันที่ 24 เม.. 2572 ผ่านปีแรกลาจอ 2 ช่อง (ไทยทีวีและโลก้า) จากนั้นอีก 5 ปีต่อมา “7 ช่องขอปิดฉากธุรกิจนี้ ช่องที่เหลือส่วนใหญ่ยังบาดเจ็บ กับตัวเลขขาดทุนสะสมนับหมื่นล้านบาท

อุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลที่เริ่มต้นในปี 2557 กับความหวังของผู้ประกอบการที่ต้องการเข้ามากอบโกยเม็ดเงินโฆษณาทีวีปีละ 60,000 – 70,000 ล้านบาท โดยยึดโมเดลช่องที่ประสบความสำเร็จยุคแอนะล็อก “ช่อง 3 และ ช่อง 7” ที่ทำกำไรระดับ 5,000 ล้านบาทต่อปี เป็นเป้าหมาย

แต่สถานการณ์จริงไม่เป็นเช่นนั้น นับตั้งแต่ปีแรกของการออกอากาศ ด้วยจำนวนช่องธุรกิจที่เพิ่มขึ้น 6 เท่าตัว ผู้ชมกระจายตัวในทีวีดิจิทัลช่องใหม่ รวมทั้งสื่อออนไลน์ โซเชียล มีเดีย เข้ามาแย่งเวลาผู้ชม จากประชากรไทยเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ทำให้ “เรตติ้ง” ทีวีลดลงต่อเนื่อง

แม้กระทั่งช่องผู้นำยุคฟรีทีวีเดิม อย่าง ช่อง 3 และช่อง 7 เม็ดเงินโฆษณาก็ลดลงเช่นกัน ขณะที่การลงทุนทีวีดิจิทัล แต่ละช่องอยู่ที่หลักร้อยถึงพันล้านบาทต่อปี สิ่งที่ตามมาคือ ภาวะ “ขาดทุน” อย่างหนักของทีวีดิจิทัล “ส่วนใหญ่” ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา

เปิดรายได้ทีวีดิจิทัลปี 2561 มีช่องโชว์กำไร

สำหรับผลประกอบการ “ทีวีดิจิทัล” 22 ช่อง ล่าสุดที่แจ้งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2561 “ส่วนใหญ่” ยังขาดทุน แต่ก็มีช่องทำ “กำไร” เช่นกัน

ช่อง 7 HD เป็นช่องผู้นำเรตติ้งตั้งแต่ยุคแอนะล็อก มาในยุคทีวีดิจิทัล แม้ยังกำไรแต่ตัวเลขก็ลดลงเช่นกัน ปี 2557  รายได้ 10,428 ล้านบาท กำไร 5,510 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 5,750 ล้านบาท กำไร 1,633 ล้านบาท

เวิร์คพอยท์ ช่วงเริ่มต้นปี 2557 ขาดทุน แต่เริ่มทำกำไรตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมาจากรายการแนววาไรตี้ เกมโชว์ที่ถนัด รายได้ปี 2560 ทำสถิตินิวไฮ ที่ 3,877 ล้านบาท กำไร 904 ล้านบาท จากรายการเรตติ้งฮิต The Mask Singer และ I Can See Your Voice แม้จะแผ่วลงในปีถัดมา แต่ปี 2561 เวิร์คพอยท์ยังทำรายได้ 3,640 ล้านบาท กำไร 345 ล้านบาท

โมโน 29 แม้เริ่มต้นด้วยภาวะ “ขาดทุน” 3 ปีแรก แต่ 2 ปีต่อมา ช่องโมโน ที่ใช้ซีรีส์ ภาพยนตร์ต่างประเทศเป็นคอนเทนต์ชูโรง พลิกมาทำกำไรตั้งแต่ปี 2560 ด้วย รายได้ 1,582 ล้านบาท กำไร 90 ล้านบาท และ ปี 2561 รายได้ 3,806 ล้านบาท กำไร 32 ล้านบาท

ช่อง 8 ของอาร์เอส ในส่วนธุรกิจทีวีดิจิทัล ภายใต้ อาร์.เอส.เทเลวิชั่น ช่วง 4 ปีแรก (2557 – 2560) มีผลประกอบการ “ขาดทุน” เช่นกัน แต่บริษัทแม่ “อาร์เอส” ที่เปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากสื่อเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์ (MPC) ทำกำไรมาต่อเนื่อง ล่าสุดปี 2561 ช่อง 8 โชว์รายได้ 1,441 ล้านบาท กำไร 158 ล้านบาท

กลุ่ม “ขาดทุน” ตัวเลขกระเตื้อง

ช่วง 5 ที่ผ่านมา ทีวีดิจิทัล “ส่วนใหญ่” ยังอยู่ในภาวะ “ขาดทุน” แต่บางช่องเริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้น โดยช่องที่ยังมีอัตราขาดทุนสูง คือ “พีพีทีวี” ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ จากการลงทุนคอนเทนต์พรีเมี่ยม ระดับ “เวิลด์ คลาส” ทั้งลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลพรีเมียร์ลีกอังกฤษ ฟอร์แมทคอนเทนต์ต่างประเทศ

ตั้งแต่ปี 2557 พีพีทีวี ขาดทุนระดับพันล้านบาท มาต่อเนื่อง 5 ปี ปี 2560 รายได้ 317 ล้านบาท ขาดทุน 2,028 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 495 ล้านบาท ขาดทุน 1,837 ล้านบาท

ไทยรัฐทีวี ก็เช่นกันช่วง 5 ปีนี้ ขาดทุนเกือบพันล้านบาทต่อปี แต่เห็นสัญญาบวก “รายได้” ขยับขึ้นเช่นกัน ปี 2560  รายได้ 740 ล้านบาท ขาดทุน 927 ล้านบาท ส่วนปี 2561 รายได้ 1,099 ล้านบาท ขาดทุน 554 ล้านบาท

อมรินทร์ทีวี ที่เผชิญปัญหาขาดทุนตั้งแต่ปี 2557 ทำให้ต้องปรับโครงสร้างธุรกิจ ดึงทุนใหญ่ “ไทยเบฟ” เข้ามาร่วมถือหุ้น 47% ด้วยเม็ดเงินลงทุน 850 ล้านบาท ช่วงปลายปี 2559 เพื่อลดภาระต้นทุนดอกเบี้ย โดยภาพรวมธุรกิจอมรินทร์ กลับมาโชว์ตัวเลข “กำไร” แล้วในปี 2561

แต่ทีวีดิจิทัล ยังคงมีตัวเลข “ขาดทุน” แต่ปรับตัวดีขึ้นมาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดย ปี 2560 รายได้ 525 ล้านบาท  ขาดทุน 345 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 964 ล้านบาท ขาดทุน 32 ล้านบาท

ส่วน 2 ช่องทีวีดิจิทัล ของ “อากู๋ ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม” มีตัวเลขขาดทุนลดลงเช่นกัน โดย ช่อง ONE 31 ภายใต้ บริษัท วัน สามสิบเอ็ด จำกัด ปี 2561 รายได้ 2,033 ล้านบาท ขาดทุน 9.3 ล้านบาท

ขณะที่ GMM25 ภายใต้บริษัท จีเอ็มเอ็ม แชนแนล จำกัด ปี 2561 รายได้ 1,714 ล้านบาท ขาดทุน 413 ล้านบาท

เช่นเดียวกับทีวีดิจิทัลของเครือซีพี แม้ 5 ปีแรกยังขาดทุน แต่รายได้ขยับขึ้นและขาดทุนลดลงต่อเนื่อง ช่อง True4U ปี 2560 รายได้ 794 ล้านบาท ขาดทุน 328 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 831 ล้านบาท ขาดทุน 317  ล้านบาท

สำหรับ TNN ปี 2560 รายได้ 395 ล้านบาท ขาดทุน 125 ล้านบาท ปี 2561 รายได้ 841 ล้านบาท ขาดทุน 43 ล้านบาท

เนชั่นทีวี ซึ่งขาดทุนมาตั้งแต่ปี 2557 รายงานรายได้ ปี 2561 อยู่ที่ 185 ล้านบาท ขาดทุน 8.2 ล้านบาท ถือเป็นตัวเลขขาดทุนต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี ขณะที่ ปี 2560 รายได้ 260 ล้านบาท ขาดทุน 727 ล้านบาท

NEW18 ประสบปัญหาขาดทุนตลอด 5 ปีเช่นกัน ขณะที่รายได้ยังเพิ่มขึ้นไม่มากนัก ปี 2560 รายได้ 124 ล้านบาท ขาดทุน 461 ล้านบาท ส่วนปี 2561 รายได้ 117 ล้านบาท ขาดทุน 401 ล้านบาท

7 ช่อง” เตรียมลาจอ “ขาดทุน” 5 ปี

ภาวะขาดทุนต่อเนื่อง 5 ปี และยังไม่เห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น จึงมี 7 ช่อง” ขอคืนใบอนุญาต ออกจากตลาด หลังจากมีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมาแก้ปัญหา “ฐากร ตัณฑสิทธิ์” เลขาธิการ กสทช. บอกว่า ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล “ขาดทุน” ไปแล้วกว่า 10,000 ล้านบาท

โดยทีวีดิจิทัลทั้ง 7 ช่อง ที่คืนใบอนุญาตจะได้รับเงินชดเชยรวม 3,000 ล้านบาท โดยทั้ง 7 ช่องที่เตรียมลาจอ คือ สปริง 26 (NOW26), สปริงนิวส์ 19, ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี, ช่อง 14 MCOT Family, ช่อง 3SD และช่อง 13 Family จะทยอยยุติออกอากาศตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. – 1 ต.ค. 2562  

สำหรับผลประกอบการของกลุ่มบีอีซี เวิลด์ ปี 2561 ช่อง 3 แอนะล็อก (ออกอากาศคู่ขนาน ทีวีดิจิทัล ช่อง 3 HD) ในนาม บริษัท บางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด แสดงรายได้ 5,559 ล้านบาท ขาดทุน 969 ล้านบาท ส่วน บริษัท บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 3 ช่อง คือ ช่อง 3 HD, ช่อง 3 SD และช่อง 3 Family ปี 2561 แสดง รายได้ 2,572 ล้านบาท กำไร 111 ล้านบาท

ขณะที่ผลประกอบการโดยรวม บีอีซี เวิลด์ ปี 2561 ที่แจ้งตลาด มีรายได้ 10,504 ล้านบาท ขาดทุน 330 ล้านบาท ภาวะขาดทุนดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุให้ บีอีซี ขอคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล 2 ช่อง เพื่อกลับมาสร้างความแข็งแกร่งให้ช่อง 3 HD กลับมาทำกำไรอีกครั้ง

อสมท เจ้าของใบอนุญาต ทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ ช่อง MCOT 30 และช่อง 14 MCOT Family ประสบปัญหา “ขาดทุน” ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา ปี 2560 รายได้ 2,728 ล้านบาท ขาดทุน 2,541 ล้านบาท ส่วนปี 2561  รายได้ 2,102 ล้านบาท ขาดทุน 373 ล้านบาท อสมท จึงขอคืนใบอนุญาต ช่อง 14 MCOT Family

สปริง 26 หรือเดิมคือ NOW 26 ประสบปัญหาขาดทุนตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจทีวีดิจิทัลเช่นกัน และตัดสินใจคืนช่องในท้ายที่สุด โดยปี 2561 รายได้ 224 ล้านบาท ขาดทุน 178 ล้านบาท

ส่วน วอยซ์ทีวี ปี 2561 รายได้ 121 ล้านบาท ขาดทุน 352 ล้านบาท ไบรท์ทีวี ปี 2561 รายได้ 391 ล้านบาท  ขาดทุน 15 ล้านบาท และ สปริงนิวส์ 19 ปี 2561 รายได้ 239 ล้านบาท ขาดทุน 16 ล้านบาท

7 ช่องคืนใบอนุญาตเลิกจ้างกว่า 500 คน

การประกาศคืนใบอนุญาตของ ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง ที่จะทยอย “จอดำ” ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. – 1 ต.ค.นี้ สิ่งที่ตามมาก็คือการ “เลิกจ้าง” พนักงาน

ประเมินกันว่า ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง จะมีการเลิกจ้างพนักงานราว 500 คน ประกอบไปด้วย 2 ช่องเด็ก คือ ช่อง 3 family และ MCOT Family รวม 100 คน

ส่วน 3 ช่องข่าว คือ ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี และสปริงนิวส์ รวม 250 คน เนื่องจากทยอยลดคนไปก่อนหน้านี้แล้ว ช่องสปริงนิวส์ 19 ได้ย้ายบุคลากรไปยังช่องสปริง 26 (NOW 26) ช่องวอยซ์ทีวีย้ายไปทำทีวีดาวเทียมและสื่อออนไลน์ ไบรท์ทีวี ยังคงมีบางส่วนทำสื่อออนไลน์ ขณะที่ 2 ช่อง วาไรตี้ SD คือ ช่อง 3 SD และ สปริง 26 รวม 150 คน

กรณีคืนช่อง 3 SD และช่อง 13 Family ของบีอีซี เริ่มทยอยเลิกจ้างพนักงานแล้ว โดยเฉพาะทีมข่าว ที่มีการลดจำนวนคนในแต่ละโต๊ะข่าวลงจำนวนมาก ประเมินกันว่าอาจจะมีการเลิกจ้างราว 200 คน

สถานการณ์เลิกจ้างบุคลากรในสื่อทีวีดิจิทัล จากภาวะขาดทุน นับตั้งแต่เริ่มต้นออกอากาศปี 2557 มาถึงการคืนใบอนุญาตปี 2562 มีคนสื่อถูกเลิกจ้างกว่า 1,000 คน ทั้งช่องที่ยังอยู่และช่องที่คืนใบอนุญาต สำหรับช่องที่ยังประกอบกิจการอยู่ก็ยังคง “รัดเข็มขัด” กันต่อไปในภาวะที่ธุรกิจยังไม่กำไร

ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1239213
2 ช่องแรกจอดำคืนไลเซ่นส์ “สปริงนิวส์19 – สปริง26” รับเงินชดเชย 1,175 ล้านบาท https://positioningmag.com/1233831 Mon, 10 Jun 2019 14:54:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1233831 สรุปทีวีดิจิทัล 2 ช่องแรก “สปริงนิวส์ 19 และ สปริง 26” รับเงินชดเชย คืนช่องรวม 1,175 ล้านบาท ชงบอร์ด กสทช. จอดำ เที่ยงคืน 15 ส.ค. นี้

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า วันนี้ (10 มิ.ย.) คณะอนุกรรมการเยียวยาแก้ปัญหาทีวีดิจิทัล ได้พิจารณาเอกสารงบการเงินและแผนเยียวยาผู้บริโภคทีวีดิจิทัล ที่แจ้งคืนใบอนุญาต 2 ช่องแรก คือ ช่องสปริงนิวส์ 19 และช่องสปริง 26 (NOW26) โดยสรุปจ่ายค่าชดเชยทั้ง 2 ช่อง รวม 1,175 ล้านบาท

ช่องสปริงส์นิวส์ 19 ประมูลใบอนุญาตช่องข่าวมูลค่า 1,318 ล้านบาท จ่ายค่าใบอนุญาต 4 งวด จำนวน 878 ล้านบาท ได้รับเงินชดเชย 567 ล้านบาท หักค่าใช้จ่ายเงินค่าโครงข่าย Mux 27 ล้านบาท และค่าโครงข่าย Must Carry (ส่งสัญญาณดาวเทียม) 35.4 ล้านบาท ที่รัฐจ่ายสนับสนุน โดยมีกำไรสุทธิในปี 2562 จำนวน 4.4 ล้านบาท สรุปจ่ายเงินชดเชยราว 500 ล้านบาท

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

ช่องสปริง 26 (NOW26) ประมูลใบอนุญาตช่องวาไรตี้ มูลค่า 2,200 ล้านบาท จ่ายค่าใบอนุญาต 3 งวด จำนวน 1,472 ล้านบาท ได้รับเงินชดเชย 890 ล้านบาท โดยต้องหักค่าใบอนุญาตงวด 4 ที่ค้างอยู่ จำนวน 201 ล้านบาท ภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 14 ล้านบาท หักค่าโครงข่าย MUX 26 ล้านบาท และค่าโครงข่าย Must Carry ที่รัฐจ่ายเงินสนับสนุน 33 ล้านบาท ผลประกอบการขาดทุน ดังนั้นเหลือเงินชดเชย 675 ล้านบาท

สำหรับแผนเยียวยาพนักงานช่องสปริงนิวส์ จะจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานและจ่ายเพิ่มพิเศษอีก 1 เดือน ทั้งนี้ สมาพันธ์แรงงานสื่อสารมวลชนได้ทำหนังสือถึง กสทช.ขอให้ผู้คืนใบอนุญาตชดเชยกรณีเลิกจ้างเพิ่มพิเศษ 3 เดือน กสทช.จึงขอให้สปริงนิวส์กลับไปพิจารณาการจ่ายเงินเยียวพนักงานใหม่

ในวันที่ 25 มิ.ย. นี้ เตรียมเสนอที่ประชุมบอร์ด กสทช. ให้กำหนดวันยุติออกอากาศทีวีออกอากาศช่องสปริงนิวส์ 19 และสปริง 26 ในวันที่ 15 ส.ค. 2562 หลังเที่ยงคืน หรือ “จอดำ” ในวันที่ 16 ส.ค. 2562 เวลา 00.01 น.

source

]]>
1233831
สปริงนิวส์ “จอดำ” ช่องแรก ส.ค.นี้ ให้ทีวีดิจิทัล “ทุกช่อง” รับแบงก์การันตีคืน https://positioningmag.com/1232037 Wed, 29 May 2019 08:23:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232037 มีความคืบหน้าการคืนใบอนุญาตทีวีดิจิทัล” 7 ช่องที่แจ้งหนังสือไว้กับ กสทช. เมื่อวันที่ 10 .. 2562 โดยมีเวลา 60 วันในการส่งเอกสารงบการเงินเพื่อให้ คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาขั้นตอนเยียวยาผู้บริโภคและพนักงานสปริงนิวส์เป็นช่องแรก ที่ส่งแผนและเข้าสู่กระบวนการจอดำในเดือน ..นี้

ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจากทีวีดิจิทัล 7 ช่อง คือ ช่อง 13, ช่อง 28, MCOT Family, สปริงนิวส์ 19, สปริง 26, วอยซ์ทีวีและไบรท์ทีวี ได้แจ้งคืนใบอนุญาตกับ กสทช. ล่าสุด “สปริงนิวส์” ช่อง 19 เป็นรายแรกที่ส่งเอกสารงบการเงิน, แผนเยียวยาผู้บริโภค และแผนเยียวยาพนักงาน เข้ามาให้คณะอนุกรรมการฯ พิจารณา

โดย สปริงนิวส์ ได้แจ้งแผนเยียวยาพนักงานที่ต้องถูกเลิกจ้างจากการคืนใบอนุญาต โดยจ่ายเงินชดเชยเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และบวกเพิ่มอีก 1 เดือน โดยไม่ได้ระบุถึงจำนวนพนักงานที่จะถูกเลิกจ้าง

ฐากร ตัณฑสิทธิ์

ขั้นตอนการพิจารณาหลังจากนี้ สำนักงาน กสทช.จะส่งเอกสารของสปริงนิวส์ให้คณะอนุกรรมการเยียวยาพิจารณาในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ รวมทั้งคณะกรรมการ กสทช. เพื่อพิจารณาอนุมัติแผนเยียวยาผู้บริโภค คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในสิ้นเดือน มิ.ย.นี้ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการเยียวยาผู้บริโภค คือการแจ้งเป็นตัววิ่งที่หน้าจอสปริงนิวส์ว่าจะยุติให้บริการ โดยน่าจะใช้เวลาแจ้ง 30 วัน คือจบในสิ้นเดือน ก.ค. ดังนั้น สปริงนิวส์ จะยุติให้บริการเป็นช่องแรก ในเดือน ส.ค. 2562 และรับเงินชดเชยการคืนช่อง  

แต่ระหว่างนี้หากทีวีดิจิทัลช่องที่ขอคืนใบอนุญาตรายอื่นๆ ส่งเอกสารเข้ามาเพิ่มเติม สำนักงานจะบรรจุวาระ เพื่อพิจารณาพร้อมกับช่องสปริงนิวส์ ในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ เช่นกัน และอาจมีช่องที่ยุติให้บริการเพิ่มเติม

ออกประกาศฯ คืนแบงก์การันตี “ทุกช่อง”

วันนี้ (29 พ.ค.) สำนักงาน กสทช.ได้ออกประกาศ หลักเกณฑ์คืนหนังสือค้ำประกันการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นไปตาม คำสั่ง คสช. มาตรา 44 แก้ปัญหาทีวีดิจิทัล โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ

  1. ให้ทีวีดิจิทัล “ทุกช่อง” ส่งหนังสือต่อสำนักงาน กสทช. เพื่อขอคืนหนังสือค้ำประกัน (แบงก์การันตี) งวดที่ 5 และ 6 ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. 2562 เป็นต้นไป  โดย กสทช.จะพิจารณาคืนให้ภายใน 7 วัน ซึ่งเป็นไปตาม มาตรา 44 ที่สนับสนุนเงินค่าประมูลใบอนุญาตงวดที่ 5 และ 6
  2. สำหรับทีวีดิจิทัลช่องที่จ่ายเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 4 แล้ว โดยไม่ได้ใช้สิทธิพักชำระหนี้ ตามมาตรา 44 เมื่อปี 2561 ซึ่งมีเพียง 3 ช่อง คือ ช่อง 7, เวิร์คพอยท์ทีวีและสปริงนิวส์ 19 ทั้ง 3 ช่องนี้ ให้ส่งหนังสือแจ้งขอคืนแบงก์การันตี งวดที่ 4 พร้อมงวดที่ 5 และ 6 ได้ทันที
  3. ทีวีดิจิทัลอีก 19 ช่อง ที่ใช้สิทธิพักชำระจ่ายเงินค่าใบอนุญาตงวดที่ 4 ในกลุ่มที่ “ไม่ได้คืนใบอนุญาต” ให้นำเงินงวดที่ 4 มาจ่ายให้ กสทช.ภายในวันที่ 8 ส.ค. 2562 แต่หากยังไม่สามารถจ่ายเงินได้ ให้จ่ายดอกเบี้ยอัตรา 7.5% ต่อปี ได้ถึงวันที่ 23 พ.ค. 2564 ซึ่งเป็นไปตามสิทธิการพักจ่ายค่าใบอนุญาตตามมาตรา 44 ปี 2561 กำหนดระยะเวลาไว้ 3 ปี หลังครบกำหนดพักชำระหนี้และจ่ายเงินงวดที่ 4 ให้ กสทช.แล้ว จะคืนแบงก์การันตี
  4. ส่วนทีวีดิจิทัลช่องที่ “คืนใบอนุญาต” หลัง กสทช.อนุมัติแผนเยียวยาผู้บริโภค และยุติการให้บริการแล้ว จะได้รับเงินค่าชดเชยคืนช่องจาก กสทช. โดยจะหักกลบลบหนี้ งวดที่ 4 ก่อนจะคืนเงินชดเชยส่วนที่เหลือ และแบงก์การันตีงวดที่ 4 ภายใน 15 วัน
  5. ทั้งนี้ มีผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล 4 บริษัท 7 ช่อง คือ ไทยรัฐทีวี, โมโน, อสมท 2 ช่อง และ บีอีซี 3 ช่อง ที่วางหนังสือค้ำประกันค่าใบอนุญาตรวม 3 งวดไว้ในแบงก์การันตีใบเดียว ในกลุ่มนี้ให้นำแบงก์การันตีค่าใบอนุญาตเฉพาะงวดที่ 4 มาเปลี่ยน เพื่อลดวงเงินงวดที่ 5 และ 6 ที่จะได้รับคืน
]]>
1232037