ธนาคารอินโดนีเซีย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 20 Feb 2021 06:10:19 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘Shopee’ รุกธุรกิจ ‘เเบงก์’ เข้าซื้อธนาคาร Bank BKE ในอินโดนีเซีย ปรับเป็น Digital Banking  https://positioningmag.com/1320256 Fri, 19 Feb 2021 10:22:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320256 มูฟใหม่ของบรรดาบริษัทเทคโนโลยี ขยับเข้าหาธุรกิจเเบงก์ล่าสุด ‘Shopee’  อีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ในเครือ Sea Group เข้าซื้อกิจการธนาคารท้องถิ่นในอินโดนีเซียอย่าง Kesejahteraan Ekonomi หรือ Bank BKE วางเป้าหมายเปลี่ยนให้เป็นธนาคารดิจิทัล

หลังมีกระเเสข่าวมาตั้งเเต่ต้นปี ตอนนี้ก็ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานกำกับดูแลบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย (OJK) เป็นที่เรียบร้อย

Bank BKE เป็นธนาคารท้องถิ่นที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1992 มีเป้าหมายหลักในการสนับสนุนด้านสวัสดิการของข้าราชการ

รายงานระบุว่า Shopee มีแผนจะปรับปรุงให้ Bank BKE เป็นธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีบริหารทางการเงินที่ทันสมัยเชื่อมต่อกับอีคอมเมิร์ซ

โดยหน่วยงานกำกับฯ จะเร่งจัดทำข้อบังคับเเละเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ ธนาคารดิจิทัลใหม่ ซึ่งคาดว่าจะออกมาได้ในช่วงกลางปี ​​2021 เเละ Bank BKE อาจจะต้องเตรียมเงินทุนไว้ราว 3 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 6.4 พันล้านบาท)

สำหรับดีลนี้ Sea Group จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธนาคารเต็มรูปแบบ หลังเข้าซื้อกิจการจากผู้ถือหุ้นเดิมอย่าง PT Danadipa Artha Indonesia และ PT Koin Investama Nusantara ผ่านทางบริษัทในเครือของ Turbo Cash Hongkong

การเข้าซื้อกิจการ Bank BKE ในครั้งนี้ เป็นความเคลื่อนไหวใหม่ของ Sea Group ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องการคว้าส่วนแบ่งในธุรกิจ Digital Banking ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

คาดว่าจะเป็นการเเข่งขันกับซูเปอร์เเอปฯ อย่าง Gojek ที่เข้าถือหุ้น 22% ใน Jago ธนาคารดิจิทัลรายใหญ่ของอินโดนีเซีย

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ กำลังรุกเข้าซื้อธุรกิจธนาคารในอาเซียนมากขึ้น ท่ามกลางการดิ้นรนของเเบงก์ดั้งเดิมที่พยายามจะเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Digital Banking 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงปลายเดือน ธ.. 2020 ที่ผ่านมา Sea Group เพิ่งได้รับการจดทะเบียนอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัล (Digital Banking Licenses) จากธนาคารกลางของสิงคโปร์ เพื่อให้สามารถเปิดบริการด้านการเงินได้อย่างเต็มที่ พร้อมกับอีก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Grab-Singtel , Ant Group และ และ Greenland Financial Holdings ของจีน

 

ที่มา : Reuters , techinasia 

 

 

]]>
1320256
KBank สยายปีกอาเซียน บุก “อินโดฯ-เมียนมา” ลุยซื้อหุ้นเเบงก์เเมสเปี้ยน 40% เอแบงก์ 35% https://positioningmag.com/1273584 Wed, 15 Apr 2020 10:21:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1273584 KBank บุกหนักตลาดอาเซียน ลุยตลาดอินโดฯ เข้าถือหุ้นในธนาคาร “แมสเปี้ยน” เต็มเพดาน 40% ปั้นธุรกรรมดิจิทัล เจาะลูกค้าท้องถิ่น ฟาก “เมียนมา” ไม่น้อยหน้า เตรียมถือหุ้น​ “เอแบงก์” 35% หลัง​ได้ไฟเขียวลงทุนในธนาคาร​พาณิชย์เมียนมาเป็น​รายแรก

มองตลาดอินโดฯ สดใส ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น

ภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย และประธานกรรมการ บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด (KVision) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2563 บริษัท กสิกร วิชั่น ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นธนาคารแมสเปี้ยน (PT Bank Maspion Indonesia Tbk) ประเทศอินโดนีเซีย ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นรวมเป็น 40% ซึ่งเป็นสัดส่วนสูงสุดที่สำนักงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของอินโดนีเซีย (Otoritas Jasa Keuangan หรือ OJK) อนุญาตภายใต้กฎการถือครองหุ้นธนาคารในอินโดนีเซียโดยผู้ถือหุ้นที่เป็นธนาคารพาณิชย์ โดยเป็นการเพิ่มสัดส่วนจากที่ธนาคารกสิกรไทยมีอยู่เดิม 9.99% ตั้งแต่ปี 2560

“การเพิ่มสัดส่วนถือหุ้นในธนาคารแมสเปี้ยน ถือเป็นทางเลือกของการเข้าไปลงทุนที่คุ้มค่า ต่างจากการที่ต้องเข้าไปลงทุนเองใหม่ทั้งหมด แม้ธนาคารแมสเปี้ยนยังเป็นธนาคารขนาดเล็ก แต่มีเครือข่ายสาขาครอบคลุมครบทุกเมืองสำคัญ พร้อมเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่แข็งแกร่งสามารถต่อยอดความสัมพันธ์ของธุรกิจหลากหลายในทุกกลุ่มลูกค้า”

ทั้งนี้ ธนาคารกสิกรไทยได้เข้าไปศึกษาและร่วมทำงานกับทีมงานของธนาคารแมสเปี้ยนเป็นเวลากว่า 2 ปี ทำให้เห็นถึงโอกาสทางธุรกิจที่มากมายในอินโดนีเซีย

“อินโดนีเซีย เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่ยังเติบโตและมีอนาคตสดใสในอาเซียน ที่สามารถใช้ความเชี่ยวชาญทางผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคาร รวมถึงจะใช้รูปแบบการทำธุรกิจที่เป็น Asset-Light และการลงทุนพัฒนาดิจิทัล แบงกิ้ง ตามแนวโน้มพฤติกรรมของลูกค้าในอินโดนีเซียที่จะทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัลมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเป็นการร่วมกันผนึกกำลังครั้งสำคัญ เพื่อนำจุดแข็งของสองธนาคารไปต่อยอดพัฒนาบริการของธนาคารพาณิชย์ในอินโดนีเซีย

โดย KBank จะใช้กลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการตามกลุ่มลูกค้า ดังต่อไปนี้

กลุ่มธุรกิจบรรษัทขนาดใหญ่

สนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยและต่างชาติที่ลงทุนในอินโดนีเซียรวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย ด้วยผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งสินเชื่อและบริการการจัดการทางการเงิน รวมทั้งพัฒนาช่องทางอินเทอร์เนท แบงกิ้งและผลิตภัณฑ์ Payroll เพื่อเพิ่มความสะดวกและหลากหลายในการใช้บริการของลูกค้าผ่านช่องทางดิจิทัล

กลุ่มลูกค้า SMEs

มุ่งเน้นการให้สินเชื่อให้กับกลุ่มลูกค้าขนาดกลางและย่อมโดยใช้ Data Lending และ Formula Lending Model เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งขยายธุรกิจร้านค้ารับบัตร (Acquiring Business) เพื่อรองรับการชำระเงินแบบ Non-Cash Payment

กลุ่มลูกค้าบุคคล

นำนวัตกรรมมาปรับปรุงระบบโมบายแบงกิ้งที่มีให้ดียิ่งขึ้น และผลักดันสินเชื่อมีหลักประกัน เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล รวมถึงพัฒนา Data Analytic Lending Platform โดยใช้ Data จากธุรกิจร้านค้ารับบัตร

“การเข้าถือหุ้นในธนาคารแมสเปี้ยนเพิ่มในครั้งนี้ ได้รับการอนุมัติจากธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติจากสำนักงานกำกับดูแลธุรกิจการเงินของอินโดนีเซีย (OJK) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในกลางปีนี้”

ทั้งนี้ การลงทุนในธนาคารแมสเปี้ยน ธนาคารกสิกรไทยดำเนินการผ่าน บริษัท กสิกร วิชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลงทุน (Investment Holding Company) ที่ธนาคารกสิกรไทยถือครองหุ้น 100% ในลักษณะเดียวกับการเข้าไปลงทุนในธนาคารเอแบงก์ของเมียนมา โดยจะใช้เงินลงทุนรวมไม่เกิน 130 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โอกาสทอง “เมียนมา” เข้าถือหุ้น​ “เอแบงก์” 35%

ธนาคารกสิกรไทยอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (Ayeyarwaddy Farmers Development Bank – A bank) ซึ่งธนาคารกสิกรไทย เป็นธนาคารต่างชาติรายแรกที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าไปลงทุนในธนาคารพาณิชย์ของเมียนมา

“การร่วมลงทุนในธนาคารกับเอแบงก์ในครั้งนี้ เป็นรูปแบบการเข้าไปดำเนินธุรกิจในประเทศเมียนมาที่ใช้เงินลงทุนที่น้อยและมีประสิทธิผลกว่าการเข้าไปดำเนินธุรกิจในรูปแบบสาขาต่างประเทศและธนาคารท้องถิ่น โดยการเข้าไปร่วมลงทุนในเอแบงก์สามารถดำเนินธุรกิจได้ทันที”

ทั้งนี้ เอแบงก์ ปัจจุบันมีสินทรัพย์ 314 พันล้านจ๊าด หรือ 6.4 พันล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 40 พันล้านจ๊าด หรือ 820 ล้านบาท ก่อตั้งเมื่อปี 2557

โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญของกสิกรไทยในเมียนมา คือการขยายธุรกิจธนาคารดิจิทัล ที่มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนของการพัฒนาโมบายล์แอปพลิเคชัน เพื่อครอบคลุมลูกค้าส่วนบุคคลทั่วประเทศ ซึ่งยังมีสัดส่วนในการเข้าถึงธนาคารค่อนข้างต่ำ รวมถึงธุรกิจรับชำระเงิน เพื่อตอบโจทย์การชำระสินค้าและบริการ ซึ่งจะช่วยลดภาระในการใช้และบริหารเงินสดในประเทศ

นอกจากนี้ยังจะมุ่งเน้นสร้างช่องทางของธนาคาร เพื่อให้ลูกค้าส่วนบุคคลสามารถเข้าถึงและทำธุรกรรมได้ ผ่านช่องทางธนาคารตัวแทน (Agent Banking) และการขยายจำนวนเครื่อง ATM ในเมียนมา

ฟากฝั่ง “ธนาคารไทยพาณิชย์” หรือ SCB ก็เพิ่งประกาศบุกเมียนมาเต็มสูบเช่นกัน หลังรับอนุมัติจัดตั้ง “ธนาคารลูก” อย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

อ่านเพิ่มเติม : SCB บุกตลาด “เมียนมา” เต็มสูบ จัดตั้งธนาคารลูก วางเป้ายอดสินเชื่อเเตะ 7 พันล้านใน 5 ปี

]]>
1273584
“ธนาคารกรุงเทพ” จ่อฮุบ Permata ธนาคารอินโดฯ 90% หรือมูลค่ากว่า 6.9 หมื่นล้าน https://positioningmag.com/1256728 Thu, 12 Dec 2019 07:41:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256728 ภาพจาก : ธนาคารกรุงเทพ

ชัดเจนว่าธนาคารกรุงเทพกำลังสนใจขยายตลาดอาเซียน เพราะล่าสุดธนาคารใหญ่ของไทยปรากฏในรายชื่อผู้ร่วมประมูลธนาคารอินโดนีเซีย “Permata” พบธนาคารกรุงเทพหวังฮุบหุ้นธนาคาร Permata สัดส่วน 90% คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 69,439 ล้านบาท

จุดเด่นของ Permata คือดีกรีการเป็นธนาคารในเครือ Standard Chartered Plc ซึ่งคาดว่าผู้ชนะการประมูลจะถูกประกาศชื่อในสัปดาห์กลางเดือนธันวาคมนี้

สิ่งที่เกิดขึ้นคือธนาคารกรุงเทพไม่ใช่รายเดียวที่สนใจซื้อหุ้นธนาคารอินโดนีเซีย เพราะ SMFG หรือ Sumitomo Mitsui Financial Group Inc. ก็ยื่นข้อเสนอประมูลเช่นกัน จุดนี้เป็นปัจจัยที่อาจทำให้การเจรจาซื้อขายหุ้นยืดออกไป ขณะเดียวกันก็ตอกย้ำว่าตลาดการเงินอินโดนีเซียนั้นหอมหวานในสายตายักษ์ใหญ่การเงินไทยและญี่ปุ่น

อินโดฯเนื้อหอม

เหตุผลที่ทำให้ธนาคารกรุงเทพและ SMFG มองอินโดนีเซียเป็นตลาดใหม่ในภูมิภาค คือแนวโน้มเศรษฐกิจแดนอิเหนาที่อาจขยายตัวสุดขีดในปีหน้า เมื่อเทียบกับประเทศไทย อัตราดอกเบี้ยในแดนสยามถือว่ายังคงอยู่ในระดับต่ำเตี้ยเรี่ยดิน สวนทางกับอินโดนีเซียที่คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 5% ในปี 2563

ตัวเลขนี้สะท้อนศักยภาพที่ธนาคารกรุงเทพจะเติบโตได้มากขึ้น ส่งให้หุ้นของธนาคาร Permata เพิ่มขึ้นมากถึง 4% ตามมูลค่าหุ้นในตลาดจาการ์ตา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กลายเป็นตัวเลขที่สูงกว่าดัชนีมาตรฐานหรือ benchmark ของประเทศ

อย่างไรก็ตาม หุ้นของธนาคารกรุงเทพกลับร่วงกราว ทำสถิติลดลง 5.3% ร่วงหนักที่สุดนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2561 หรือช่วงมากกว่า 1 ปีที่่ผ่านมา

หวั่นกระทบเงินปันผล

หากธนาคารกรุงเทพชนะการประมูลนี้ นักลงทุนหวั่นใจว่าจะกระทบกับการจ่ายเงินปันผลของธนาคาร เบื้องต้นนักวิเคราะห์ของ Citigroup ย้ำว่าทั้งหมดนี้เป็นปฏิกิริยาเชิงลบที่จะเกิดขึ้นหากดีลนี้บรรลุผล

อีกเหตุผลที่ทำให้นักลงทุนไม่เชื่อมั่นในดีลนี้ คือแม้ธนาคารกรุงเทพจะมีเงินทุนเพียงพอในการบุกตลาดอินโดนีเซีย แต่ก็ถือเป็นเรื่องยากที่จะบริหารธนาคารขนาดกลาง ในตลาดที่ธนาคาร Top 4 ของประเทศครองส่วนแบ่งไว้ได้เกือบหมด

แถมที่ผ่านมา Standard Chartered ก็ประกาศขาย Permata เพราะต้องการลดต้นทุน ซึ่งการขายหุ้นธนาคาร Permata จะช่วยเพิ่มเงินสดสำหรับการซื้อคืนหุ้น แปลได้อีกนัยว่า Standard Chartered ก็ไม่อาจทำเงินจากตลาดอินโดนีเซียได้เป็นกอบเป็นกำ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในตลาด

ทั้งหมดนี้ ตัวแทนของธนาคารกรุงเทพ, ธนาคาร Permata และ SMFG ล้วนปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมกับข่าวลือที่ออกมา.

Source

]]>
1256728