ธนาคารแห่งประเทศไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Feb 2024 14:25:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แบงก์ชาติยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ขณะที่นักวิเคราะห์เปลี่ยนมุมมอง อาจได้เห็นลดดอกไวสุดเดือนเมษายน https://positioningmag.com/1461855 Wed, 07 Feb 2024 12:49:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461855 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% อย่างไรก็ดีสำหรับมุมมองของนักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินจากต่างประเทศมองว่าอาจมีการปรับลดดอกเบี้ยนโยบายไวที่สุดในช่วงเดือนเมษายน

กนง. ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 2.5% โดยให้เหตุผลถึงการคงดอกเบี้ยว่าเศรษฐกิจไทยจากการบริโภคที่ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง และมองว่าอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่ง กนง. มองว่าเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนในระยะยาว

มติการประชุมครั้งนี้อยู่ที่ 5 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ 2 เสียงให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% และมติดังกล่าวถือว่าเป็นมติเสียงแตกนับตั้งแต่รอบการประชุมในเดือนสิงหาคมปี 2022 เป็นต้นมา

ผลสำรวจของนักเศรษฐศาสตร์ของ Bloomberg นั้น 24 รายมองตรงกันว่าจะคงดอกเบี้ย ขณะที่สำนักข่าว Reuters ได้สำรวจนักเศรษฐศาสตร์ 27 รายก็มีมติเอกฉันท์มองว่าคงดอกเบี้ยเช่นกัน

เศรษฐกิจไทยในปลายปี 2023 ทาง กนง. มองว่าเติบโตชะลอลงกว่าคาดเป็นผลจากการส่งออกสินค้าและการผลิตที่ฟื้นตัวช้าตามภาวะการค้าโลกและสินค้าคงคลังที่อยู่ในระดับสูง การเปลี่ยนพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ทำให้รายรับต่อคนน้อยกว่าในอดีต และการลงทุนภาครัฐที่ลดลงในช่วงที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีล่าช้า

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2024 นี้ กนง. มองว่ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากภาคการส่งออกและการผลิต เนื่องจากอุปสงค์โลกและเศรษฐกิจจีนฟื้นตัวช้า รวมถึงปัจจัยเชิงโครงสร้างกระทบการขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวมากกว่าที่ประเมินไว้ แต่อุปสงค์ในประเทศยังขยายตัวต่อเนื่องและเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจ

ในส่วนของอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ กนง. มองว่ามีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำใกล้เคียง 1% ก่อนที่จะทยอยเพิ่มขึ้นในปีหน้าขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มทรงตัวใกล้เคียงเดิม อย่างไรก็ดียังต้องติดตามความขัดแย้งในตะวันออกกลางที่อาจส่งผลต่อราคาพลังงาน ผลกระทบต่อราคาสินค้าเกษตรจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ

มุมมองสถาบันการเงินจากต่างประเทศได้ให้มุมมองก่อนมติการประชุมออกมา Citi มองว่าน่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 รอบ รอบแรกในเดือนเมษายน และรอบเดือนมิถุนายน ทางด้านของ J.P. Morgan ได้ให้มุมมองว่าไทยอาจมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2024

ส่วนทางด้านของ UOB สถาบันการเงินจากสิงคโปร์ และ SCB EIC ให้มุมมองสวนทางเหล่าสถาบันการเงินข้างต้นโดยมองว่า กนง. จะมีมติคงดอกเบี้ยที่ 2.5% จนถึงปลายปี 2024

ทางด้านบทวิเคราะห์ของ Bank of America ที่ออกหลังจากมติการประชุมวันนี้ มองว่ามติที่ไม่เอกฉันท์ 5:2 เป็นโอกาสที่จะทำให้ กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ 2 ครั้งในปีนี้ คาดว่าจะอยู่ในเดือนมิถุนายน แต่ก็มองว่ารอบการประชุมในเดือนเมษายนนั้นมีโอกาสเป็นไปได้เช่นกัน ถ้าหากตัวเลขทางเศรษฐกิจไทยแย่กว่าที่คาด โดยความเสี่ยงที่สถาบันการเงินรายนี้มองไว้คือมาตรการดิจิทัลวอลเล็ตไม่สามารถออกมาได้ รวมถึงนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ

]]>
1461855
ดอกเบี้ยนโยบายไทยสูงสุดในรอบ 10 ปีแล้ว หลัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ล่าสุดอยู่ที่ 2.5% https://positioningmag.com/1445736 Wed, 27 Sep 2023 07:46:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445736 ดอกเบี้ยนโยบายไทยสูงสุดในรอบ 10 ปีแล้ว หลัง กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ล่าสุดอยู่ที่ 2.5% ขณะเดียวกันก็ยังมีการปรับตัวเลขเป้าหมายของ GDP ไทย ซึ่งปีนี้คาดว่าจะเติบโตต่ำกว่า 3% แล้ว 

กนง. ได้ประกาศขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% โดยให้เหตุผลถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องนั้นสอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ทำให้ล่าสุดอัตราดอกเบี้ยไทยอยู่ที่ 2.5% และเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงสุดในรอบ 10 ปี

โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่ 2.5% นี้ต้องย้อนไปถึงปี 2013 และไทยไม่เคยมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าตัวเลขดังกล่าวเลยหลังจากปีดังกล่าว ก่อนที่จะ กนง. จะทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคมปี 2022 ที่ผ่านมา

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์หลากหลายสถาบันการเงินนั้นต่างให้มุมมองทั้งมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้แบบเสียงแตก ต่างกับหลายครั้งก่อนหน้านี้ โดยผลสำรวจของ Bloomberg นั้นนักเศรษฐศาสตร์ 11 คนคาดว่าจะมีการคงอัตราดอกเบี้ย แต่ 10 คนมองว่าจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย

ผลการประชุม กนง. เศรษฐกิจไทยในภาพรวมอยู่ในทิศทางฟื้นตัว แม้จะขยายตัวชะลอลงในปีนี้จากอุปสงค์ต่างประเทศ โดยอัตราการขยายตัวในปี 2567 จะเพิ่มสูงขึ้นจากทั้งอุปสงค์ในประเทศและต่างประเทศ ด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2567

ในการประชุม กนง. ยังมีการปรับคาดการณ์ GDP ไทยในปีนี้เติบโต 2.8% และปี 2024 ที่ 4.4% (ดูได้จากรูปด้านล่าง) ปัจจัยสำคัญมากจากการบริโภคภาคเอกชนในปีนี้ ขณะที่ในปีหน้าได้ปัจจัยมาจากอุปสงค์ในประเทศ ภายใต้บริบทที่ภาคการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง และภาคการส่งออกสินค้ากลับมาขยายตัว รวมถึงนโยบายภาครัฐ

ขณะที่ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อนั้น กนง. คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 1.6% ในปีนี้ และ 2.6% ในปีหน้า แต่มองความเสี่ยงถึงผลกระทบจากเอลนีโญ รวมถึงผลกระทบของนโยบายภาครัฐ

อย่างไรก็ดี ในการประชุมครั้งนี้ กนง. มีมุมมองว่าการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าจะพิจารณาให้เหมาะสมกับแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ท่ีอาจได้รับแรงส่งเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐ

บทวิเคราะห์ของ Citi ที่วิเคราะห์เศรษฐกิจไทยเมื่อวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา มองว่าอัตราดอกเบี้ยของไทยจะมีระดับสูงสุดที่ 2.50% โดยอ้างอิงการประชุมของ กนง. ในรอบที่ผ่านมา และจะมีการคงอัตราดอกเบี้ยจนถึงปี 2025 และไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงเร็วๆ นี้

ทางด้าน Goldman Sachs ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในอาเซียน โดยมองว่า กนง. จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.5% ยาวไปถึงปี 2025 จากเดิมที่คาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในไตรมาส 3 ของปี 2024 โดยให้เหตุผลจากการคงดอกเบี้ยเป็นระยะยาวของธนาคารกลางสหรัฐฯ

Note: เพิ่มบทวิเคราะห์จาก Goldman Sachs และอัพเดตมุมมองจาก Citi

]]>
1445736
แบงก์ชาติเร่งผลักดันใช้เงินหยวน ริงกิต รูเปียห์ ในการทำธุรกิจ เพื่อลดความผันผวนของค่าเงินบาท https://positioningmag.com/1440149 Tue, 08 Aug 2023 06:02:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1440149 ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยใช้สกุลเงิน หยวน ริงกิต รูเปียห์ หรือสกุลเงินอื่นในทวีปเอเชียในการทำธุรกิจเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะลดความผันผวนของค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ

สำนักข่าว Bloomberg ได้สัมภาษณ์พิเศษ อลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยแผนการล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทยคือต้องการที่จะลดความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่งมาตรการที่จะผลักดันคือการใช้สกุลเงินต่างประเทศให้กับผู้ประกอบการไทย

สกุลเงินที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยจะผลักดันก็คือ เงินหยวนของจีน และริงกิตมาเลเซีย รูเปียห์ของอินโดนีเซีย รวมถึงสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคนี้ ซึ่งทางฝ่ายไทยกำลังดำเนินการพูดคุยกับธนาคารกลางจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย เพื่อที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่จะทำให้สามารถรับชำระเงินสกุลดังกล่าวได้

ข้อมูลในปี 2022 ที่ผ่านมา สกุลเงินต่างประเทศที่ใช้ในการค้ามากสุดคือดอลลาร์สหรัฐ 79.6% ขณะที่สกุลเงินอื่นๆ นั้นแทบไม่ถึง 5% ด้วยซ้ำ จึงเป็นอีกเหตุผลทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการผลักดัน

มาตรการที่จะผลักดันของธนาคารแห่งประเทศไทยหลังจากนี้ไม่ว่าจะเป็น

  • หารือกับธนาคารกลางจีนเพื่อผ่อนปรนกฎการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและเพิ่มสภาพคล่องเงินหยวน
  • เรียกร้องให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยลดต้นทุนการทำธุรกรรมเงินหยวน
  • จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ผู้ประกอบธุรกิจรู้จักการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้ารวมถึงการลงทุน
  • ขยายวงเงินการทำธุรกรรมท่ีไม่ต้องแสดงเอกสาร สำหรับสกุลเงินริงกิตมาเลเซีย รูเปียห์ของอินโดนีเซีย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องผลักดันมาตรการดังกล่าวออกมาคือความผันผวนของค่าเงินบาทไทยถือว่าติดอันดับต้นๆ ของภูมิภาคนี้ ซึ่งปัจจัยทางเศรษฐกิจของไทยนั้นทำให้ค่าเงินผันผวน ไม่ว่าจะเป็นดุลบัญชีเดินสะพัด นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทย ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หรือแม้แต่ในไทย รวมถึงปัจจัยทางการเมืองของไทยด้วยในช่วงที่ผ่านมา

มาตรการดังกล่าวของธนาคารแห่งประเทศไทยได้พยายามผลักดันมาตั้งแต่ปี 2011 แต่ประสบปัญหาไม่ว่าจะเป็นสภาพคล่องของสกุลเงินท้องถิ่น ค่าทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงที่สูง และยังรวมถึงหลายฝ่ายไม่ทราบว่าสามารถใช้สกุลเงินต่างประเทศใช้จ่ายได้

ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า ต้องการให้เงินบาทเคลื่อนไหวตามกลไกตลาด และตามปัจจัยพื้นฐาน และธนาคารแห่งประเทศไทยจะแทรกแซงค่าเงินบาทต่อเมื่อมีการเคลื่อนไหวที่มากเกินไป หรือความเคลื่อนไหวที่ขัดกับปัจจัยพื้นฐาน แต่วิธีที่ดีที่สุดของภาคธุรกิจคือเตรียมพร้อมรับมือกับความผันผวน

]]>
1440149
สรุป 6 ข้อ ดราม่า “ธนบัตรที่ระลึก” ไม่มี EURion แต่ปลอมแปลงยาก ใส่ตู้อัตโนมัติไม่ได้ https://positioningmag.com/1311496 Mon, 21 Dec 2020 16:36:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1311496 ตามที่มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับธนบัตรที่ระลึกเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 นั้น นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการสายออกบัตรธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอชี้แจงดังนี้

1. ไม่มี EURion (ยูไรอัน) แต่ปลอมแปลงไม่ง่าย

EURion เป็นหนึ่งในรูปแบบของการป้องกันการคัดลอกจากเครื่องถ่ายเอกสาร หรือการสแกน แต่ไม่ใช่รูปแบบที่จำเป็นหรือสำคัญที่สุดสำหรับการป้องกันการผลิตเพื่อปลอมแปลง ซึ่งหลายประเทศทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และยุโรปก็ไม่ได้นำ EURion มาใช้ แต่เน้นที่การให้มีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลง เพื่อให้ประชาชนสังเกตได้ง่าย และมิจฉาชีพทำปลอมแปลงให้เหมือนของจริงได้ยาก

สำหรับธนบัตรที่ระลึกที่ผลิตในครั้งนี้ไม่ได้นำ EURion มาใช้เช่นเดียวกับธนบัตรที่ระลึกส่วนใหญ่ในอดีต แต่มีลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงในหลายจุด และยังคงนำเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงตามมาตรฐานขั้นสูงมาใช้เหมือนธนบัตรหมุนเวียน และธนบัตรที่ระลึกทุกรุ่นที่ผ่านมา

หากมีการปลอมธนบัตรโดยการสแกนและพิมพ์ขึ้นมา กระดาษและหมึกที่ใช้ ตลอดจนลายน้ำนั้นจะไม่มีทางทำให้เหมือนธนบัตรจริงได้ ประชาชนสามารถสังเกตความแตกต่างได้ทันทีว่าเป็นธนบัตรปลอมด้วยการ “สัมผัส ยกส่อง พลิกเอียง” ซึ่งสามารถตรวจง่าย ๆ ด้วยตนเอง ดังนี้

  • สัมผัสความนูนของการพิมพ์บอกชนิดราคาที่มุมธนบัตรและคำว่ารัฐบาลไทย
  • ยกส่องลายน้ำที่อยู่ในเนื้อกระดาษธนบัตรชนิดราคา 100 บาท จะมองเห็นพระบรมสาทิสลักษณ์ และธนบัตรชนิดราคา 1000 บาทจะเห็นลายน้ำอักษรพระปรมาภิไธย ว.ป.ร.
  • พลิกเอียงเห็นแถบสีม่วงแดง ที่ด้านหน้าของธนบัตรชนิดราคา 100 บาท สามารถเลื่อนขึ้นลงและเปลี่ยนสลับเป็นสีเขียว รวมทั้งภายในลายดอกพิกุลของธนบัตรชนิดราคา 1000 บาท มีรูปวงกลมเคลื่อนไหวได้รอบทิศทางและเปลี่ยนสลับจากสีทองเป็นสีเขียว

2. แม้ไม่มี EURion แต่ใช้แลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศได้

ธนบัตรทุกฉบับที่ออกโดย ธปท. สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงสามารถใช้ธนบัตรที่ระลึกทำธุรกรรมต่าง ๆ ในประเทศได้เหมือนธนบัตรทั่วไป รวมถึงการแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศด้วย โดยในช่วงแรก ร้านค้ารวมถึงผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินอาจยังไม่คุ้นเคยเนื่องจากเป็นธนบัตรรูปแบบใหม่ แต่ต่อมาก็มีการประกาศว่ารับชำระด้วยธนบัตรที่ระลึกดังกล่าวแล้ว

สำหรับการแลกเปลี่ยนธนบัตรเงินบาทในต่างประเทศนั้น เงินบาทไม่ใช่สกุลเงินสากล ไม่ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศอยู่แล้ว ธนาคารหรือผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนเงินในต่างประเทศอาจจะรับ หรือไม่รับแลกธนบัตรใดๆ ก็ได้ ไม่เกี่ยวกับการมีหรือไม่มี EURion แต่ขึ้นอยู่กับว่ามีความต้องการทั้งด้านซื้อและขายจากลูกค้ามากพอที่จะเกิดธุรกรรมแลกเปลี่ยนเงิน

3. ใช้เงินทุนสำรองฯ หนุนหลังครบถ้วน 100%

การออกใช้ธนบัตรของ ธปท. ไทยทุกชนิดราคา ทั้งธนบัตรหมุนเวียนปกติ และธนบัตรที่ระลึกเป็นไปตามกฎหมายเงินตรา มีทุนสำรองเงินตราหนุนหลังครบถ้วน 100% ปัจจุบันธนบัตรหมุนเวียนรวมธนบัตรที่ระลึกทั้งหมด มีมูลค่าประมาณ 2 ล้านล้านบาท

ขณะที่ธนบัตรที่ระลึกในครั้งนี้ มีมูลค่ารวม 1.2 หมื่นล้านบาท หรือประมาณ 0.6% ของปริมาณธนบัตรหมุนเวียนทั้งหมด ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบปริมาณธนบัตรออกใช้ รวมถึงทุนสำรองเงินตรา ได้จากรายงานฐานะการเงินประจำสัปดาห์ของ ธปท.

4. ไม่นับเป็นการทำ QE (Quantitative Easing) ของ ธปท.

การออกธนบัตรหมุนเวียนรวมทั้งธนบัตรที่ระลึกเป็นการทำหน้าที่ของ ธปท.ในการบริหารจัดการธนบัตรให้มีเพียงพอกับความต้องการของประชาชน สำหรับใช้ชำระค่าสินค้า และบริการในระบบเศรษฐกิจ (รวมทั้งเก็บเป็นเงินออมหรือเก็บเป็นที่ระลึก)

ปริมาณธนบัตรที่หมุนเวียนในระบบถูกกำหนดด้วยความต้องการของประชาชนและธุรกิจเป็นสำคัญ เช่น ช่วงเทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์ ที่ประชาชนมีความต้องการจับจ่ายใช้เงินสดมาก ธปท.ก็ต้องออกใช้ธนบัตรมากขึ้น และเมื่อเทศกาลผ่านไป ความต้องการเงินสดของประชาชนลดลง ธปท.ก็ถอนเงินสดออกจากระบบ

ส่วนการทำ QE ในต่างประเทศนั้น เป็นการอัดฉีดสภาพคล่องของธนาคารกลาง เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจผ่านบัญชีของสถาบันการเงิน ไม่เกี่ยวข้องกับการนำธนบัตรออกใช้แต่อย่างใด

5. ใส่ในตู้ ATM เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย

ปกติการออกธนบัตรที่ระลึกที่ผ่านมามักจะมีจำนวนจำกัดประมาณ 10 – 20 ล้านฉบับ นับเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับธนบัตรหมุนเวียนปกติชนิดราคา 100 บาท ที่มีจำนวนประมาณ 1,700 ล้านฉบับ และชนิดราคา 1,000 บาท ที่มีจำนวนประมาณ 1,600 ล้านฉบับ การนำธนบัตรที่ระลึกใส่ในตู้ ATM มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนสามารถเข้าถึงธนบัตรที่ระลึกได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปเข้าแถวเพื่อขอแลกที่สาขาธนาคารพาณิชย์

6. ใช้กับเครื่องฝากเงินอัตโนมัติไม่ได้

การที่ธนบัตรที่ระลึกใช้กับเครื่องฝากเงินอัตโนมัติไม่ได้ เพราะต้องมีการแก้ไขโปรแกรมที่เครื่องฝากเงินอัตโนมัติทั่วประเทศ ซึ่งปริมาณธนบัตรที่ระลึกมีน้อยกว่า 1.2% ของธนบัตรที่หมุนเวียนอยู่ในระบบทั้งหมด ดังนั้น หากประชาชนต้องการแลกเปลี่ยนธนบัตรที่ระลึกเป็นธนบัตรหมุนเวียนปกติ สามารถติดต่อขอแลกได้ที่สาขาธนาคารพาณิชย์ทุกแห่ง ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

]]>
1311496
ผู้ว่าฯ ธปท. มองไทยคุม COVID-19 กรณีทหารอียิปต์ได้ พร้อมอัดมาตรการเพิ่ม หากระบาดรอบ 2 https://positioningmag.com/1287716 Tue, 14 Jul 2020 10:05:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287716 ผู้ว่าฯ ธปท. เชื่อมั่นรัฐบาลบุคลากรด้านสาธารณสุข คุมการเเพร่ระบาดของ COVID-19 กรณีทหารอียิปต์ได้ เเต่หากรุนเเรงถึงขั้นระบาดหนักรอบ 2 เเบงก์ชาติพร้อมอัดมาตรการเพิ่มเติม รับปีนี้เศรษฐกิจชะลอกว่าที่คาด แต่ยืนยันไทยผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 มาแล้ว มองโอกาสอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็น 0% “เกิดขึ้นยาก”

ในการประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting) ครั้งที่ 2/2563 เพื่อสรุปแนวโน้มเศรษฐกิจและนโยบายการเงินรายไตรมาส (14 .. 63)

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 2 ปี 2563 หลังมีมาตรการควบคุมการระบาดของ COVID 19 ในประเทศได้เป็นผลสำเร็จ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มทยอยปรับเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ทั้งการเดินทาง การจับจ่ายใช้สอยและการผลิต

อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีนโยบายด้านอุปทานเพิ่มเติม เพื่อสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ หลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลง ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อเสริมสร้างให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งและช่วยรักษาระดับศักยภาพการเติบโตให้สามารถกลับมาเติบโตได้ในระยะต่อไป

โดยในช่วงไตรมาส 3 จะเริ่มเห็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กลับมา และมองว่าไตรมาส 3-4 ปี 2563 จะฟื้นตัวขึ้น แต่ยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงคือ “การจ้างงาน” เพราะภาคบริการยังไม่เปิดทำกิจกรรมได้เต็มที่ ส่วนภาคการผลิตเเละอุตสาหกรรมยังมีกำลังการผลิตส่วนเกิน รวมถึงกลุ่มนักศึกษาจบใหม่ที่เสี่ยงว่างงานจำนวนมาก

 

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุถึงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 จากการกรณีทหารอียิปต์ ที่กำลังสร้างความกังวลให้ประชาชนในขณะนี้ว่า เชื่อว่ารัฐบาลและบุคลากรด้านสาธารณสุขจะรับมือได้ โดยไม่ต้องออกมาตรการควบคุมแรงเหมือนรอบแรก แต่หากเกิดการระบาดรอบ 2 ในไทยขึ้นมาจริงๆ ทางธปท.ก็พร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมในการเข้ามาดูแลเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งการออกมาตรการต่าง ๆ ต้องมีการพิจารณาและชั่งน้ำหนักถึงผลดีผลเสีย เพราะทุกนโยบายไม่ฟรี

ด้านเมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธปท. มองว่า ความเป็นไปได้ที่ไทยจะใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0% นั้น  เกิดขึ้นยากที่ผ่านมาได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปแล้ว 3 ครั้งและมีสัญญาณตอบกลับที่ดีจากสถาบันการเงิน ซึ่งไทยไม่สามารถดำเนินอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่ำมากเหมือนต่างประเทศได้ เพราะมีบริบทและโครงสร้างที่ต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและส่งผลกระทบต่อผู้ออมเงินได้

 

ที่มา : ธนาคารเเห่งประเทศไทย , mgronline 

]]>
1287716
เหตุผลที่ “เศรษฐกิจไทย” อาจเลวร้ายที่สุดใน SEA จากผลกระทบของ COVID-19 https://positioningmag.com/1286690 Tue, 07 Jul 2020 09:00:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286690 ประเทศไทยเป็นตัวอย่างของความสำเร็จในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา โดยผ่านระยะเวลามามากกว่า 40 วันแล้วที่ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศเลย แต่สำหรับมุมมองด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยอาจจะตกอยู่ในอันดับที่เลวร้ายที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานคาดการณ์จีดีพีไทยปี 2563 ที่ระดับ -8.1% ซึ่งเป็นการคาดการณ์จีดีพีติดลบที่มากที่สุดเทียบกับประเทศหลักอื่นๆ ในเอเชีย รวมถึงเป็นอัตราการติดลบของจีดีพีไทยที่หนักที่สุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540

“ประเทศไทยเป็นฮับการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 15% ของจีดีพีประเทศ รวมถึงมีสัดส่วนเศรษฐกิจขนาดใหญ่จากภาคการส่งออกด้วย ทำให้เหตุการณ์นี้ส่งผลอย่างรุนแรงต่อจีดีพี” เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสสำหรับประเทศไทย ประจำธนาคารโลก กล่าว

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เคอร์ฟิวยามค่ำคืน และคำสั่งปิดการดำเนินธุรกิจบางประเภททั่วประเทศเพื่อต่อสู้กับการระบาดของโรค COVID-19 เป็นการทำลายการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งอยู่ในช่วงขาลงอยู่แล้วมาตั้งแต่ปีก่อน

สำหรับกำลังซื้อนั้นคาดการณ์กันว่าจะดีขึ้นหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์ และภาครัฐมีแพ็กเกจกระตุ้นเศรษฐกิจออกมา แต่ส่วนของการลงทุนภาคเอกชนน่าจะยังชะลอตัวเนื่องจากการคาดการณ์อนาคตที่ยังหม่นมัว

การท่องเที่ยวดิ่งรุนแรง

ประเทศไทยไม่เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมาแล้ว 3 เดือนติดต่อกันเพื่อควบคุมการระบาดของโรค ทำให้ ธปท. ออกคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2563 จะลดลงเหลือเพียง 8 ล้านคน คิดเป็นเพียง 1 ใน 5 ของจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2562 และปี 2564 น่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นแต่ไม่สูงเท่าช่วงก่อน COVID-19 โดยอยู่ที่ราว 16.2 ล้านคนเท่านั้น

แม้ว่าจะมีแผนการทำ Travel Bubble กับบางประเทศ แต่แนวโน้มเจ้าหน้าที่รัฐบาลไทยน่าจะยอมให้การเปิดประเทศเป็นไปอย่างช้าๆ และระมัดระวังอย่างยิ่ง ส่วนความพยายามกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อแทนที่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไป ไม่อาจแทนที่ความสูญเสียขั้นวิกฤตของอุตสาหกรรมนี้ได้ทั้งหมด

ภาพนักท่องเที่ยวคลาคล่ำน่าจะไม่ได้เห็นไปอย่างน้อยจนถึงปี 2564

ภาพลวงตาจากยอดส่งออก “ทองคำ”

เมื่อดูชุดข้อมูลการส่งออกจากกรมศุลกากร ดูเหมือนว่าการส่งออกของไทยยังไม่แย่มากเพราะมีแค่ 2 เดือนจาก 5 เดือนแรกที่การส่งออกไทยติดลบ แต่ที่จริงเป็นภาพลวงตาจากการส่งออกทองคำ

เนื่องจากราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นในช่วง COVID-19 ทำให้นักลงทุนไทยเร่งขายทองคำ ส่งให้มูลค่าการส่งออกดีขึ้น แต่ถ้าหักทองคำออกไป การส่งออกสินค้าอื่นๆ กลับลดลงอย่างรุนแรง เนื่องจากดีมานด์โลกที่อ่อนแอลง และซัพพลายเชนการผลิตที่มีปัญหา

(Photo by Michael Steinberg from Pexels)

ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง

3 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น 6% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ถือเป็นค่าเงินที่แข็งขึ้นมากที่สุดอันดับ 2 ของเอเชีย แม้ว่า ธปท. จะพยายามลดอัตราดอกเบี้ยมาแล้ว 3 ครั้ง จนปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายเหลือเพียง 0.5% ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ แต่เพราะสถานการณ์ควบคุมการระบาดได้ดีนี้เอง ทำให้ค่าเงินบาทยังแข็งค่าต่อเนื่อง

ค่าเงินบาทที่แข็งเกินไปจะเป็นปัญหาทุบซ้ำภาคการส่งออก และส่งผลต่อเนื่องถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลกำลังหารือถึงก้าวต่อไปในการดึงเงินบาทให้อ่อนค่าลงอีกหากจำเป็น

อาการหนักที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากปัญหาภาคการส่งออกและการท่องเที่ยว ทำให้ทั้ง ธปท. และอีกหลายหน่วยงานคาดการณ์จีดีพีไทยปี 2563 ในทิศทางเดียวกันคือ “ติดลบ” อย่างแน่นอน แบงก์ชาติประเมินว่าจีดีพีไทยปีนี้จะติดลบ -8.1% ขณะที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินไว้รุนแรงถึง -10.3% ธนาคารกรุงเทพ ประเมิน -9.7% ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมิน -7.5% ขณะที่สถาบันการเงินจากต่างประเทศดูจะมองในแง่ดีกว่า เช่น เมย์แบงก์ ประเมินที่ -5.5% สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ประเมินที่ -5.0%

ด้านการสำรวจของ Bloomberg Economics ใน 6 ประเทศหลักของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่า ไทยจัดอยู่ในอันดับท้ายสุดในการคาดการณ์จีดีพีปี 2563 โดยมีรายละเอียดดังนี้

อันดับ 1 เวียดนาม จีดีพี +2.8%
อันดับ 2 อินโดนีเซีย จีดีพี -1.0%
อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ จีดีพี -3.5%
อันดับ 4 มาเลเซีย จีดีพี -3.9%
อันดับ 5 สิงคโปร์ จีดีพี -5.7%
อันดับ 6 ไทย จีดีพี -6.0%

Source

]]>
1286690
ธปท. สั่งเเบงก์ “งดจ่ายปันผล-ห้ามซื้อหุ้นคืน” ทำเเผนเงินกองทุนใหม่ รับความเสี่ยง COVID-19 https://positioningmag.com/1284347 Fri, 19 Jun 2020 13:49:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1284347 “เเบงก์ชาติ” สั่งธนาคารพาณิชย์ ทำแผนบริหารเงินกองทุนใหม่ 1-3 ปีให้สอดรับเศรษฐกิจในอนาคต ของดจ่ายเงินปันผลในปีนี้ รวมถึงให้งดซื้อหุ้นคืนด้วย

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้กล่าวว่า เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคธุรกิจและประชาชนทั่วไป และยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในระยะต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงให้ธนาคารพาณิชย์จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนสำหรับระยะ 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคต และศักยภาพของลูกหนี้ในการทำธุรกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลาย

โดยระหว่างที่ธนาคารพาณิชย์ จัดทำแผนบริหารจัดการระดับเงินกองทุนใหม่นี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยขอให้ธนาคารพาณิชย์ งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในปี 2563 รวมถึงงดการซื้อหุ้นคืน เพื่อธนาคารพาณิชย์จะรักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งและรองรับการดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับแนวทางที่ธนาคารกลางหลายประเทศได้ดำเนินการแล้ว เพื่อรองรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ COVID-19 

โดยล่าสุด ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้เเจงในกรณีนี้ว่า จากการขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ และ ‘งดซื้อหุ้นคืน’ สาเหตุเพราะการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นสถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูงมาก ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่เห็นจุดสิ้นสุด

ธปท.มองว่าภูมิคุ้มกันที่สำคัญอันหนึ่งของธนาคารพาณิชย์คือ ระดับเงินกองทุน ที่เป็นกันชนรองรับผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งเงินกองทุนจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย เมื่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลายลง และเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ช่วงฟื้นฟูอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม จากการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์และแนวทางบริหารความเสี่ยงเดิมส่งผลให้ระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ไทยเข้มแข็ง ณ สิ้นไตรมาส 1 ปี 2563 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หรือ BIS Ratio ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอยู่ที่ 18.7% ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์สามารถออกมาตรการช่วยดูแลและเยียวยาลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้หลากหลายมาตรการ

ทั้งนี้มองว่าจากความไม่แน่นอนสูง จึงควรจะรักษาระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ให้อยู่ในระดับสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง การขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ และ ‘งดซื้อหุ้นคืน’ เป็นมาตรการเพื่อไม่ให้ธนาคารพาณิชย์  ‘การ์ดตก’ ให้รักษาระดับเงินกองทุนให้เข้มแข็งต่อเนื่องจนกว่าจะจัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนใหม่ได้ชัดเจนขึ้น

ที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์ประเมินและจัดทำแผนบริหารจัดการเงินกองทุนก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ธนาคารพาณิชย์ไม่สามารถประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นกับทั้งลูกค้าและแผนธุรกิจของตนเองได้อย่างชัดเจน ธปท. จึงขอให้ธนาคารพาณิชย์เร่งทบทวนแผนบริหารจัดการเงินกองทุนในช่วง 1-3 ปีข้างหน้า โดยคำนึงถึงสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมมาก

ขณะเดียวกัน ธปท. ออกมาตรการช่วยเหลือผ่านธนาคารพาณิชย์ที่เร่งดำเนินการเยียวยาและปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ จึงต้องคำนวณผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผลประกอบการและระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์อย่างละเอียดในสถานการณ์ต่างๆ (Scenarios) ในอนาคตด้วย

ในภาวะปกติ ธนาคารพาณิชย์บางแห่ง (ไม่ใช่ทุกแห่ง) จะจ่าย ‘เงินปันผลระหว่างกาล’ ให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงเดือนสิงหาคม เงินปันผลระหว่างกาล หรือ Interim Dividend เป็นการจ่ายเงินปันผลนอกรอบระยะเวลาบัญชี โดยไม่ต้องรอคำนวณผลการดำเนินงานเมื่อครบปี หรือครบรอบระยะเวลาบัญชี โดยอาจจะคำนวณจากผลประกอบการในรอบครึ่งปีแรก และผลการดำเนินงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนำมาจ่ายเป็นเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นในช่วงประมาณเดือนสิงหาคม

ส่วนการ ‘ซื้อหุ้นคืน’ นั้น ในช่วงที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งที่คิดว่ามีเงินกองทุนในระดับสูงเกินความจำเป็น หรือเห็นว่าราคาหุ้นในตลาดลงไปอยู่ในระดับต่ำเกินควร ได้มีแผนซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นทั่วไป ซึ่งหมายถึงการซื้อหุ้นของตัวเองจำนวนหนึ่งออกจากตลาดหลักทรัพย์มาเก็บไว้ หรือเพื่อนำไปลดทุนในอนาคต ซึ่งจะส่งผลให้ระดับเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ลดลง

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ปีนี้เป็นปีที่ไม่ปกติ ทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์หรือลูกค้าของธนาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบรุนแรง และยังจะต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนสูงต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ธนาคารพาณิชย์จึงควรใช้เวลาประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ วางแผนการดำเนินงานอย่างระมัดระวัง และทำงานกับลูกค้ากลุ่มต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้แผนบริหารจัดการเงินกองทุนของธนาคารพาณิชย์ที่จัดทำใหม่สอดคล้องกับสถานการณ์ข้างหน้า และสอดคล้องกับบทบาทของธนาคารพาณิชย์ที่จะต้องปล่อยสินเชื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยภายหลังจากที่การแพร่ระบาดของ COVID-19 คลี่คลายลงด้วย

อย่างไรก็ตาม การขอให้ธนาคารพาณิชย์งดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลและงดซื้อหุ้นคืนนี้ แม้ว่าจะกระทบต่อผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในช่วงสั้นๆ แต่จะเป็นผลดีสำหรับผู้ถือหุ้นของธนาคารพาณิชย์ในระยะยาว เป็นผลดีต่อผู้ฝากเงิน และเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมด้วย เพราะจะช่วยให้ระบบสถาบันการเงินไทยเข้มแข็ง รักษาระดับเงินกองทุนให้อยู่ในระดับสูงได้ต่อเนื่อง มีกันชนที่จะรองรับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีก โดยเฉพาะถ้าเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ระยะใหม่ๆ

 

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

]]>
1284347
“เเบงก์ชาติ” ปรับแผนออกพันธบัตรปี 63 รับตลาดผันผวนช่วง COVID-19 มีผล พ.ค.เป็นต้นไป https://positioningmag.com/1277974 Mon, 11 May 2020 13:36:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1277974 ธปท. ปรับแผนการออกพันธบัตรปี 2563 ขยายกรอบวงเงินออกพันธบัตร 1-6 หมื่นล้านทุกรุ่น มีผลบังคับใช้เดือน พ.ค.นี้เป็นต้นไป ย้ำหากตลาดผันผวนสามารถปรับวงเงินได้โดยจะแจ้งตลาดล่วงหน้า 2 วันทำการก่อนวันประมูลพันธบัตร

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในช่วงที่ผ่านมา สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงินทั้งในและต่างประเทศเป็นวงกว้าง ตลาดพันธบัตรมีความผันผวนเพิ่มขึ้นและคาดว่าจะยังอยู่ในระดับสูงในระยะต่อไป นอกจากนี้ การระดมทุนของภาครัฐเพื่อรองรับมาตรการเยียวยาและลดผลกระทบ Covid-19 อาจส่งผลต่ออุปทานพันธบัตรภาครัฐโดยรวม

ธปท. จึงได้หารือร่วมกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ถึงแนวทางการกำหนดวงเงินพันธบัตรภาครัฐให้อยู่ในระดับเหมาะสม โดยคำนึงถึงแผนการระดมทุนภาครัฐและความต้องการลงทุนที่อาจปรับเปลี่ยนรวดเร็วในสภาวการณ์ข้างต้น ในการนี้ ธปท. จึงพิจารณาปรับแผนการออกพันธบัตร ธปท. ปี 2563 โดยให้เริ่มมีผลบังคับใช้สำหรับแผนการออกพันธบัตร ธปท. เดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป

1. กำหนดการประมูลพันธบัตร: ธปท. ยังกำหนดวันและความถี่ในการประมูลพันธบัตร ธปท. ประเภทอายุต่างๆ ไว้ตามแนวปฏิบัติเดิม อย่างไรก็ดี ธปท. อาจพิจารณาปรับความถี่การประมูลและวงเงินของพันธบัตร ธปท. ระยะ 3 เดือน 6 เดือน และพันธบัตรประเภทอัตราดอกเบี้ยคงที่บางรุ่น เพื่อให้สอดคล้องกับการประมูลตั๋วเงินคลังและพันธบัตรรัฐบาลที่ระยะเดียวกันในแต่ละสัปดาห์ โดยสรุปรายละเอียดได้ดังนี้

2. วงเงินการออกพันธบัตร: ธปท. ขยายกรอบวงเงินพันธบัตรประเภทที่จำหน่ายเป็นส่วนลดทุกรุ่นอายุเป็น 10,000 – 60,000 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการกำหนดปริมาณพันธบัตร ธปท. ให้สอดคล้องกับแผนการระดมทุนภาครัฐและความต้องการลงทุนพันธบัตรในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้

3. การประกาศกำหนดการออกพันธบัตร ธปท. รายเดือน: ธปท. จะประกาศตารางประมูลพันธบัตร ธปท. ให้ตลาดทราบล่วงหน้าทุกเดือนผ่านทาง website ของ ธปท. เช่นที่เคยปฏิบัติมา อย่างไรก็ดี ธปท. ขอสงวนสิทธิการปรับวงเงินประมูลพันธบัตร ธปท. ระหว่างเดือน กรณีตลาดการเงินมีความผันผวนเพิ่มขึ้นจนส่งผลให้ความต้องการพันธบัตรในระหว่างเดือนเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดการณ์อย่างมีนัยสำคัญ โดย ธปท. จะแจ้งให้ตลาดทราบอย่างน้อย 2 วันทำการก่อนวันประมูลพันธบัตร

ในระยะต่อไป ธปท. จะประสานงานกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด ในการกำหนดวงเงินและประเภทอายุพันธบัตร ธปท. ให้เหมาะสมกับภาวะตลาดเงินและตลาดพันธบัตร รวมทั้งคำนึงถึงการออกตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล และพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ปริมาณพันธบัตรภาครัฐโดยรวมอยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับภาวะตลาดในแต่ละช่วงเวลา

 

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย 

]]>
1277974
ธปท.เปิดให้แบงก์ 6 แห่งทดสอบยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ลดเวลาเดินทางไปสาขา https://positioningmag.com/1263540 Thu, 06 Feb 2020 16:49:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263540 ธปท. เปิดการทดสอบการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลข้ามธนาคารเพื่อเปิดบัญชีเงินฝาก ภายใต้ Regulatory Sandbox เริ่มตั้งแต่ 6 ก.พ. เป็นต้นไป ช่วงแรกของการทดสอบธนาคาร 6 แห่ง เปิดให้บริการ

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พร้อมเปิดให้ธนาคารพาณิชย์เริ่มทดสอบการให้บริการเปิดบัญชีเงินฝากผ่านช่องทางดิจิทัล โดยใช้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนข้ามธนาคารผ่านแพลตฟอร์ม เนชันแนลดิจิทัล ไอดี (National Digital ID หรือ NDID) ในวงจำกัด ภายใต้ Regulatory Sandbox ของ ธปท. ตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563

ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนสามารถเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารแห่งใหม่ได้ผ่านช่องทางดิจิทัล เช่น ผ่านโมบายแอปพลิเคชัน โดยใช้การพิสูจน์และยืนยันตัวตนจากธนาคารที่ตนเองเคยมีบัญชีเงินฝาก ด้วยเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Facial Recognition) ที่น่าเชื่อถือ ทำให้ประชาชนได้รับความ ปลอดภัย สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเดินทางมาแสดงตนที่สาขา และลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน

สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธปท. กล่าวว่า ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ และผู้ให้บริการชำระเงินได้เข้าทดสอบการใช้เทคโนโลยีชีวมิติ (Biometrics) ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนลูกค้าสำหรับการเปิดบัญชีเพื่อยกระดับกระบวนการรู้จักลูกค้าของตน (Know Your Customer : KYC) ให้มีความปลอดภัย ป้องกันการถูกปลอมแปลงหรือบุคคลอื่นสวมรอยมาเปิดบัญชี ในวันนี้ ธปท.ได้อนุญาตให้สถาบันการเงินสามารถทดสอบการยืนยันตัวตนทางดิจิทัลข้ามธนาคารได้ในวงจำกัด โดยใช้กับการเปิดบัญชีเงินฝากเป็นบริการแรก เพื่อรองรับการใช้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น โดย ธปท.จะมีการประเมินผลการให้บริการอย่างใกล้ชิดก่อนเปิดให้ใช้บริการในวงกว้างต่อไป

สาหรับแพลตฟอร์ม NDID เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมต่อระหว่างหน่วยงานที่เป็นสมาชิกในการพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้าระหว่างกัน โดยลูกค้าที่ใช้บริการต้องให้ความยินยอม แพลตฟอร์ม NDID มีส่วนสำคัญที่จะทำให้การทำรายการหรือสมัครใช้บริการต่างๆ ผ่านช่องทางดิจิทัล ทั้งบริการทางการเงิน และบริการของภาคธุรกิจและภาครัฐสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น

ระยะแรกของการทดสอบใน Regulatory Sandbox ของ ธปท. สำหรับบริการเปิดบัญชีเงินฝากผ่านช่องทางดิจิทัลโดยการพิสูจน์และยืนยันตัวตนผ่านแพลตฟอร์ม NDID มีธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่

  1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
  4. ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
  5. ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
  6. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

สำหรับธนาคารพาณิชย์ทั้ง 6 แห่งจะเริ่มให้บริการในวงจำกัดตามช่วงเวลาและช่องทางที่แต่ละธนาคารกำหนด ในอนาคตธนาคารพาณิชย์อื่นๆ จะทยอยเริ่มให้บริการตามความพร้อมของแต่ละธนาคาร นอกจากนี้ ธปท. ได้ส่งเสริมให้แพลตฟอร์ม NDID ขยายการใช้งานไปสู่บริการอื่นของธนาคารพาณิชย์ ผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการอื่นๆ ที่เพิ่มความสะดวกแก่ประชาชนต่อไป

Source

]]>
1263540
เงินบาทไทยแข็งสุดในรอบ 6 ปี แตะ 30.30 บาท/ดอลลาร์ หวั่นกระทบส่งออก-ท่องเที่ยว
 https://positioningmag.com/1249439 Thu, 10 Oct 2019 09:32:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1249439 เงินบาทขยับแข็งค่าทดสอบแนว 30.30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่แข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 6 ปี ครั้งใหม่ (นับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2556) และเมื่อเทียบกับความเคลื่อนไหวของสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแล้ว เงินบาทยังคงเป็นสกุลเงินที่มีอัตราการแข็งค่ามากที่สุด 

โดยแข็งค่าขึ้นแล้วในปีนี้ประมาณ 7.4% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ และค่อนข้างจะทิ้งห่างสกุลเงินของประเทศเพื่อนบ้านที่ตามมาเป็นอันดับ 2 และอันดับ 3 อย่างเงินรูเปียห์ และเงินเปโซ ที่แข็งค่าขึ้นในปีนี้เพียง 2.8% และ 1.8% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าทิศทางการแข็งค่าของเงินบาทน่าจะถูกอธิบายโดยฐานะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และมุมมองของนักลงทุนที่ว่า เงินบาทเป็นสกุลเงินที่ปลอดภัย มากกว่าการเคลื่อนย้ายเงินทุนจากต่างประเทศ 

โดยอาจกล่าวได้ว่า นอกเหนือจากการคาดการณ์เรื่องการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ และปัจจัยพื้นฐานของเงินบาท (เช่น สถานะการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และทุนสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูง) แล้ว อีกปัจจัยสำคัญที่หนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นในลักษณะที่เป็นการสวนทางสกุลเงินเอเชียอื่นๆ นั้น น่าจะเป็น “มุมมอง” ของตลาดที่ประเมินว่าเงินบาทเป็นสกุลเงินปลอดภัยในยามที่ต้องการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง 

โดยเฉพาะในช่วงภายในเดือน ต.ค. นี้ ที่มี 2 ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ 1. การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าทั้ง 2 ประเทศ น่าจะยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ ขณะที่อัตราภาษีของสหรัฐฯ ที่เก็บจากวงเงินสินค้านำเข้าจากจีน 2.5 แสนล้านดอลลาร์ กำลังจะขยับขึ้นไปที่ 30% จาก 25% ในวันที่ 15 ต.ค. 2562 ที่จะถึงนี้ 

และ 2. ความเสี่ยงจากกรณี BREXIT แบบไร้ข้อตกลง ขณะที่อังกฤษกำลังนับถอยหลังเข้าใกล้เส้นตายสิ้นเดือน ต.ค. 2562 นี้ ทั้งนี้ สัญญาณความกังวลเพิ่มสูงขึ้นก่อนการประชุม EU summit ระหว่างวันที่ 17 – 18 ต.ค. นี้ เนื่องจากสหภาพยุโรปและอังกฤษยังคงมีความเห็นในรายละเอียดของหลายประเด็นที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแข็งค่าของเงินบาท ทำให้ไทยเสียเปรียบเรื่องความสามารถในการแข่งขันของภาคการส่งออกและท่องเที่ยว และอาจเพิ่มแรงกดดันต่อเศรษฐกิจไทย 

เพราะนอกจากเงินบาทจะขยับแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์มากกว่าสกุลเงินอื่นๆ เช่น เงินรูเปียห์อินโดนีเซีย เงินเยนญี่ปุ่น และเงินเปโซฟิลิปปินส์แล้ว เงินบาทยังแข็งค่าสวนทางเงินเอเชียอีกหลายสกุลที่ปรับตัวในทิศทางที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ เช่น เงินวอนเกาหลีใต้ เงินหยวนจีน เงินรูปีอินเดีย เงินริงกิตมาเลเซีย และเงินดอลลาร์สิงคโปร์ด้วยเช่นกัน

ขณะที่ทิศทางของค่าเงินดอลลาร์ และแนวโน้มดอกเบี้ยของสหรัฐฯ จะยังคงมีบทบาทสำคัญต่อความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าทิศทางค่าเงินบาทอาจผันผวนได้ทั้ง 2 ด้านในระยะ 6 – 12 เดือนข้างหน้า ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของ 3 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์ของการเมืองภายในสหรัฐฯ ในช่วงก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีเดือน พ.ย. 2563 

โดยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะมีผลในการกำหนดทิศทางดอกเบี้ยของเฟด โดยในกรณีที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่เผชิญต่อภาวะถดถอย มองว่าแรงกดดันให้เงินบาทแข็งค่าน่าจะทยอยลดน้อยลง โดยเฉพาะในช่วงหลังจากที่เฟดสามารถยุติการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นราวช่วงครึ่งแรกของปีหน้า 

อย่างไรก็ดี หากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เผชิญต่อภาวะถดถอย ความเป็นไปได้ที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องในขนาดและจำนวนครั้งที่มากกว่าไทย อาจส่งผลทำให้เงินบาทยังคงมีโอกาสเคลื่อนไหวในกรอบที่แข็งค่าได้อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปมปัญหาของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสถานการณ์ของการเมืองภายในสหรัฐฯ อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินบาทยังคงได้รับแรงหนุนในฐานะที่เป็นสกุลเงินปลอดภัย

ทั้งนี้ ประเมินว่าในกรณีเลวร้ายที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอลงมากกว่าที่คาดในปีหน้า จนทำให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เงินบาทก็อาจถูกกดดันให้แข็งค่าขึ้นได้ต่อเนื่องจากการที่ไทยยังคงมีดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล 

และมุมมองของนักลงทุนที่ว่า เงินบาทเป็นสกุลเงินปลอดภัยที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งรองรับ ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกของไทยอาจจะยังคงเผชิญความท้าทายต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า.

Source

]]>
1249439