ธุรกิจประกัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 07 Feb 2022 13:55:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ก้าวต่อไป ‘Rabbit Care’ หลังรีเเบรนด์ครั้งใหญ่ กับเป้าหมายเบี้ยประกันโต 3 พันล้านในปีนี้ https://positioningmag.com/1373037 Mon, 07 Feb 2022 11:13:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1373037 ก้าวต่อไปของ ‘Rabbit Care’ โบรกเกอร์ประกันออนไลน์ หลังรีเเบรนด์ครั้งใหญ่จาก ‘Rabbit Finance’ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ายุคดิจิทัลให้หลากหลายมากขึ้น พร้อมรุกประกันสุขภาพ ตั้งเป้าหมายเพิ่มมาร์เก็ตเเชร์เป็น 5-10% ให้ได้ภายใน 5-10 ปี เล็งบุกเวียดนาม-อินโดฯ 

เเม้จะเจอความท้าทายจากวิกฤตโควิด เเต่ดูเหมือนว่าธุรกิจแพลตฟอร์มนายหน้าประกันภัย จะได้รับอานิสงส์ที่ดีจากการที่ลูกค้าเริ่มเห็นความสำคัญในการซื้อประกันมากขึ้น

ในปี 2564 ที่ผ่านมา Rabbit Care มีเบี้ยประกันภัยเติบโตเพิ่มขึ้นจาก 700 ล้านบาทในปี 2563 เป็น 1.9 พันล้านบาทในปี 2564 เพิ่มขึ้นถึง 166% เป็นแพลตฟอร์มนายหน้าประกันภัยที่เติบโตเร็วที่สุดในประเทศไทย ขยายทีมงาน 300 คนสู่ 700 คนในปัจจุบัน

โดยประกันภัยรถยนต์ของบริษัท มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 212% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่วนหนึ่งมาจากการเข้าซื้อกิจการของโบรกเกอร์ ‘Asia Direct’ ขณะที่กลุ่มประกันสุขภาพ เติบโตขึ้น 261% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า รวมถึงด้านประกันภัยองค์กรที่เติบโต 63%

นอกจากนี้ บริษัทยังได้ผู้ถือหุ้นรายใหม่ผ่านรอบการลงทุน Series B ได้แก่ Samsung Ventures และ Korea Investment Partners

รีเเบรนด์ให้เข้าถึงง่าย 

Rabbit Finance (แรบบิท ไฟแนนซ์) เริ่มรีแบรนด์ดิ้งปรับภาพลักษณ์ใหม่เป็น Rabbit Care (แรบบิท แคร์) ตั้งเเต่ช่วงเดือนตุลาคม ปีที่ผ่านมา

ไมเคิล มันเฟรด สไตลเบิล ผู้ร่วมก่อตั้ง และประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท แรบบิท แคร์ จำกัด เล่าว่า นับเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ผู้คนได้รู้จักเเบรนด์มากขึ้น ให้มากกว่าการเป็นมาร์เก็ตเพลสของผลิตภัณฑ์ประกัน ซึ่งได้ร่วมมือกับเอเยนซี่เจ้าใหญ่อย่างโอกิลวี่เพื่อสื่อสารเเบรนด์ในรูปแบบใหม่

โดยจะมุ่งเน้นไปยังการให้คำปรึกษาเเละนำเสนอโซลูชันการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ประกันและการเงินอย่างโปร่งใส ในขณะเดียวกันยังแสดงออกถึงความใส่ใจทุกความต้องการของลูกค้า

ในส่วนของการออกเเบบโลโก้ใหม่นั้นที่เป็นรูปหัวใจนั้น ได้แรงบันดาลใจมาจากหูของมาสคอตกระต่าย รวมถึงการเปลี่ยนสีประจำองค์กรให้เป็น “Caring Blue” ที่สื่อถึงความสงบ และดูน่าเชื่อถือมากขึ้น ตลอดจนการเปลี่ยนสโลแกนของแบรนด์เป็นใช้ใจแคร์ ดูแลครบหรือ “Complete Care” ควบคู่ไปกับการนำเสนอมาสคอตน้องแคร์ในฐานะผู้จัดการความแคร์ สื่อให้เห็นถึงการดูแลและสนับสนุนลูกค้า

เราอยากจะเป็นทางเลือกเเรกที่ให้คอยคำปรึกษา เมื่อผู้คนคิดจะซื้อประกันหรือผลิตภัณฑ์การเงินใดๆ สร้างความรู้เเละความเข้าใจ ให้สามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด ในราคาที่ดีที่สุด

เป้าปี 65 เบี้ยประกันภัย 3 พันล้าน เล็งขยายอาเซียน 

สำหรับภาพรวมของตลาดประกันภัยทั่วโลก และในประเทศไทย ปี 2565 คาดว่าจะทยอยฟื้นตัวจากโควิด-19

โดยตลาดประกันภัยในไทย อยู่ในระดับที่ยังสามารถดำเนินการได้ดีเเละมีโอกาสขยายตัวได้สูง เนื่องจากสัดส่วนเบี้ยประกันรวมยังอยู่ที่ 5.3% ของ GDP ถือว่าต่ำกว่าตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อย่าง ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ เเละสิงคโปร์ ซึ่งมีสัดส่วนเบี้ยประกันภัยอยู่ที่ 20.8%, 17.4% , 11.6% เเละ 9.5% ของ GDP ตามลำดับ

แนวโน้มของตลาดในเชิงบวกนี้ สอดคล้องไปกับแนวโน้มพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของประชาชนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Rabbit Care คาดว่าการเติบโตของบริษัทในปีนี้ จะเเตะตัวเลข 2 หลัก ตั้งเป้าเบี้ยประกันภัยเติบโตเเตะ 3 พันล้านบาท พร้อมตั้งเป้าหมายมีส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) เบี้ยประกันวินาศภัยในระดับ 5-10% ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันครองมาร์เก็ตแชร์เพียง 1% เพราะยังเป็นบริษัทขนาดเล็กที่มีโอกาสเติบโตต่อไป

นอกจากนี้ ภายใน 18 เดือนข้างหน้า Rabbit Care มีเเผนจะขยายธุรกิจออกไปยังอาเซียนอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียด้วย

โดยในช่วงนี้จะมุ่งโฟกัสไปที่การสร้างเเพลตฟอร์มประกันเเละการเงินที่ครบวงจรให้เเข็งเกร่งก่อน ยังไม่ได้มองข้ามสเต็ปว่าจะขยายไปยังธุรกิจอื่น

พัฒนาระบบ ‘CareOS’ ช่วยลูกค้า ‘เปรียบเทียบ’ ได้ง่าย 

กลุ่มลูกค้าหลัก Rabbit Care ส่วนใหญ่จะเป็นวัยทำงาน อายุ 30-50 ปีมีกำลังซื้ออาศัยในเมืองเเละเเถบชานเมืองซึ่งมักจะเป็นคนดูเเลการซื้อประกันให้คนในครอบครัว โดยบริษัทมีเเผนจะขยายฐานลูกค้าให้ครอบคลุมมากขึ้นทั้งกลุ่มคนรุ่นใหม่เเละคนต่างจังหวัด

โจฮันเนส ฟริดริค วอน โรห์ ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท แรบบิท แคร์ จำกัด เปิดเผยถึงกลยุทธ์ธุรกิจในปีนี้ ว่าจะเน้นตลาดออนไลน์ โดยได้พัฒนาระบบ ‘CareOS’ ด้วยงบประมาณหลายสิบล้านบาท เพื่อเสนอดีลประกันภัยในราคาที่ดีที่สุดภายในเวลาไม่ภายใน 30 วินาที เชื่อมต่ออัตโนมัติกับระบบของพันธมิตรกว่า 70 รายเเละพร้อมมองหาพันธมิตรใหม่ๆ

ช่วยให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบและซื้อประกันภัยและผลิตภัณฑ์ทางการเงินได้สะดวกสบาย ตรงกับความต้องการแบบเฉพาะบุคคลและประหยัดเวลา

นอกจากนี้จะมีเจ้าหน้าที่กว่า 300 คนให้คำปรึกษาผ่านการโทรและแชท ตลอด 24 ชั่วโมง หรือ Care Emergency บริการช่วยเหลือเร่งด่วนสำหรับผู้ซื้อประกันรถยนต์ เเละ Health Caresultant บริการรับคำปรึกษาจากแพทย์สำหรับลูกค้าประกันสุขภาพ

Rabbit Care เตรียมจะขยายข้อเสนอผลิตภัณฑ์ในกลุ่มการประกันภัยรถยนต์เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กว้างขึ้น ตลอดจนการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพในราคาที่เข้าถึงได้ เเละวางแผนที่จะเปิดตัวแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซสำหรับผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีความคุ้มครองทันทีภายในปีนี้

พอร์ตการเติบโตหลักของเราในปีนี้ จะมาจากธุรกิจประกัยรถยนต์ ตามมาด้วยประกันสุขภาพและประกันชีวิต

สำหรับการความท้าทายเเละการเเข่งขันในตลาด ผู้บริหาร Rabbit Care ยอมรับว่ามีการเเข่งขันสูงมากจึงต้องสร้างความเเตกต่างให้ได้เเละทำงานให้มีประสิทธิภาพ ทั้งการนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วนชัดเจนโปร่งใส ง่ายต่อการเปรียบเทียบ นำมาสู่การเเข่งขันด้านราคา บริการเเละคุณค่าที่ให้กับลูกค้า โดยเร็วๆ นี้จะเปิดตัวโปรดักต์ใหม่มาลองตลาดด้วย

เร่งโปรโมตเเบบ 360 องศา 

ขณะที่ ชยพัทธ์ สกุลร่มโพธิ์ชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเชิงพาณิชย์ บริษัท แรบบิท แคร์ จำกัด กล่าวถึงกลยุทธ์การตลาดของ Rabbit Care ว่า จะมีการสื่อสารเเบบแบบครบวงจรบนแพลตฟอร์มออมนิแชแนลทั้งก่อนซื้อเเละดูเเลหลังการขายนำเสนอโปรโมชันต่างๆ ที่ดึงดูดใจ

อย่างในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ต้องทำให้ผลิตภัณฑ์ประกันภัยและการเงินเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จึงได้จัดโปรโมชันด้วยข้อเสนอสุดคุ้ม ให้ลูกค้าได้ประหยัดสูงสุด 70% และซื้อเลยจ่ายทีหลังกับโปรโมชัน ผ่อน 0% นาน 10 เดือนเป็นต้น

นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาครั้งแรก ซึ่งจะโปรโมตผ่านทางทีวี สื่อนอกบ้าน ทางวิทยุ และออนไลน์ โดยเนื้อเรื่องจะเป็นการยกตำแหน่งให้บุคคลที่คอยทำหน้าที่จัดการเรื่องการประกันภัยและการเงินให้คนในครอบครัว เป็นเหมือน Chief Family Officer หรือ CFO

สำหรับเเนวโน้มการบริหารความเสี่ยงของธุรกิจประกันในไทย เขามองว่า จากนี้จะมีการเปลี่ยนเเปลงพอสมควร หลังเจอกรณีเจอ จ่าย จบโดยเทรนด์ของธุรกิจประกันจะเน้นไปที่การรุกตลาดเรื่องรักษาพยาบาลมากขึ้น เเละประกันสุขภาพจะเป็นตัวชูโรงในตลาดไทย

 

 

]]>
1373037
ก้าวใหม่ FWD กับ ‘เดวิด โครูนิช’ ซีอีโอสไตล์ Young At Heart เปลี่ยนภาพประกันชีวิตให้ ‘สนุก’ https://positioningmag.com/1336958 Tue, 15 Jun 2021 05:35:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1336958 ผมวาดฝันไว้ว่า วันใดวันหนึ่งผู้คนจะตื่นมาพร้อมกับความรู้สึกที่ว่าพวกเขาควรจะมีประกัน

นี่คือหนึ่งในเป้าหมายชีวิตของเดวิด โครูนิช(David Korunic) ผู้ทำงานรันวงการไฟเเนนซ์เเละประกันมายาวนานเกือบ 4 ทศวรรษ

บรรยากาศของออฟฟิศกลางใจเมืองที่พนักงานหัวเราะสนุกสนาน เเต่งตัวตามสบาย พูดคุยกับซีอีโออย่างเป็นกันเอง เป็นจุดเล็กๆ ที่ทำให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานเเบบใหม่ที่เขาได้นำมาใช้ในองค์กร เพื่อสลัดภาพธุรกิจประกันที่เคร่งขรึมสู่การทำงานเเบบสตาร์ทอัพที่เน้นความสร้างสรรค์เเละเเตกต่าง

เดวิด เล่าถึงราวชีวิตคร่าวๆ ให้ฟังว่า เขาเกิดเเละเติบโตในนิวซีเเลนด์ จุดพลิกผันเกิดขึ้นเมื่อเขาตัดสินใจมาท่องเที่ยวพักร้อนเพื่อหาประสบการณ์ใหม่ เเละไม่คาดคิดว่าหนึ่งปีหลังจากนั้น เขาจะได้ใช้เวลามากกว่าครึ่งชีวิตในเอเชีย เเละสร้างครอบครัวในประเทศไทย

เขาเริ่มทำงานด้านไฟเเนนซ์ในอินโดนีเซีย ขยับไปฮ่องกง เคยไปอยู่เกาหลีใต้ จีน ย้ายมาสิงคโปร์ บุกเบิกประกันสุขภาพโซนอาเซียนกับ ‘Allianz’ ค่อยๆ เลื่อนตำเเหน่งขึ้นมา เเละมาอาศัยอยู่ในไทยหลายปี พร้อมขึ้นตำเเหน่งซีอีโอของกรุงไทยแอกซ่า’ โดยเมื่อปลายปี 2019 ที่ผ่านมาได้ข้ามค่ายมานั่งเเท่นบิ๊กบอสของ FWD ประเทศไทย

“FWD เป็นน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวได้เพียง 8 ปี ท่ามกลางคู่เเข่งที่อยู่มาเป็น 100 ปี นี่คือโอกาสที่เราจะปั้นเเบรนด์ให้เเตกต่าง เเละสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้วงการนี้”

มองมุมกลับ ปรับมุมมอง

เหตุผลหลักๆ ที่ทำให้เขาเลือกมาอยู่กับ FWD นั่นก็คือปรัชญาขององค์กรที่มุ่งเน้นไปที่การเปลี่ยนมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อประกันชีวิต นับเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ในเส้นทางอาชีพของเขา

เดิมทียุคสมัยพ่อเเม่ บริษัทประกันถูกมองว่าสร้างความกลัวให้ลูกค้า กลัวต้องตาย กลัวต้องป่วย ไร้ความเห็นอกเห็นใจ มีภาพลักษณ์ในเเง่ลบ มาวันนี้เขาต้องการเปลี่ยนภาพนั้น ด้วยการปรับธุรกิจประกันให้สื่อสารอย่างเป็นมิตร เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิต ทำให้รู้สึกว่ามีเเล้วหายห่วงเเละเป็นไปในรูปเเบบสนุกสนาน

ไม่มีใครคิดหรอกว่า ตื่นขึ้นมาเเล้วอยากซื้อประกันจังเลย เรามักซื้อประกันในยามที่จำเป็นต้องใช้ จึงนำมาสู่การคิดผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าถึงชีวิตผู้คน โดยที่พวกเขาไม่ต้องรู้สึกกดดันหรืออึดอัด ต้องสื่อสารสิ่งที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย ใช้คำง่ายๆ เเต่ตรงประเด็นเเละน่าเชื่อถือ เปลี่ยน Mistrusting เป็น Trustworthy”

No More Drama

ในช่วงวิกฤตโรคระบาด พฤติกรรมเเละไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนไป หันมาใช้เวลาบนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อหาความบันเทิงในยามสถานการณ์ตึงเครียด เริ่มหาความสุขจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน

FWD จึงจับเทรนด์ ‘Micro Moments’ มาเป็นกลยุทธ์ในสร้างการรับรู้ของเเบรนด์ผ่านคอนเซ็ปต์ Celebrate living ที่นำอินไซต์ของคนยุคนิวนอร์มอล มาสื่อสารให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า พร้อมใช้ Entertainment Marketing ส่งต่อเรื่องราวสร้างเเรงบันดาลใจ กระตุ้นความสุข ตรงข้ามกับโฆษณา ‘เรียกน้ำตา’ ที่ทำคล้ายๆ กันมา

“If you enjoy , you remember … คนเราถ้าสนุกกับอะไร ก็จะจำสิ่งนั้นได้” เดวิดกล่าว

เขาบอกอีกว่า ‘เพลง’ เเละ ‘วิดีโอ’ เป็นสื่อบันเทิงหลักที่ผู้บริโภคคนไทยชื่นชอบและเข้าถึงได้ง่าย ซึ่งผ่านมา FWD ใช้สิ่งนี้เป็นสื่อกลางการสื่อสาร อย่างเเคมเปญโรเเมนติกคอมเมดี้อย่าง ‘น้อง.พี่.ที่รัก(ษา)’ เเละเพลง ‘ทุกก้าวไป’ ที่ร้องโดยตู่ ภพธร ซึ่งเป็นเพลงฟังที่ในร้านอาหารได้ ไม่ใช่เเค่ผ่านเเอดโฆษณา เเละให้ความสำคัญกับ Storytelling บอกเล่าเรื่องราวผ่านสารคดีเพลง ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย มีโมเมนต์ที่ทุกคนเข้าถึง

นอกจากนี้ ยังมีการสื่อสารเเบรนด์ผ่านอาหาร โดยทำ ‘รสชาติไอศกรีมของ FWD’ ร่วมกับ Guss Damn Good

“ใครจะคิดว่าจะมีรสไอติมของบริษัทประกัน…ต่อไปนี้เราจะไปอยู่ทุกที่ ให้ทุกคนเห็นเรา คุ้นเคยกับเรา ค่อยๆ เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของลูกค้า”

ประกันยุคใหม่ : เสิร์ฟตามไลฟ์สไตล์ ไม่ใช่ ‘อายุ’ 

กลุ่มเป้าหมายหลักของธุรกิจประกันชีวิต อยู่ในช่วงวัย 35-55 ปี เเละส่วนใหญ่เป็น ‘Older Generation’ เเต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ก็หันมาสนใจซื้อประกันมากขึ้น

เราจะออกผลิตภัณฑ์ตามไลฟ์สไตล์ ที่ไม่ใช่เเค่ตัวเลขอายุ คนอายุมากอาจจะมีหัวใจวัยรุ่น ดังนั้น เราจึงโฟกัสไปที่บริการในสิ่งที่ลูกค้าอยากได้”

เเม้ในช่วงล็อกดาวน์ คนจะต้องอยู่บ้านไม่ได้เจอพบปะสังสรรค์ ไม่ได้ไปธนาคาร ไม่ได้เจอตัวเเทน เเต่จากการสำรวจพบว่า ลูกค้ายังอยากเจอผู้คน การซื้อประกันจึงเป็นไปแบบไฮบริดคือลูกค้าหาข้อมูลจากออนไลน์ เเต่พอจะตัดสินใจซื้อจริงๆ มักจะต้องโทรหรือวิดีโอคอล ให้เห็นหน้าเห็นตากัน

ขณะเดียวกัน จุดประสงค์การซื้อประกันก็เปลี่ยนไปด้วย เช่น เมื่อก่อนคนจะซื้อเพื่อลงทุน เเต่หลังโควิด-19 เริ่มดูที่การคุ้มครอง การดูเเลรักษาพยาบาลอย่างจริงจัง

โดยผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ามองหามากที่สุดตอนนี้ คือกลุ่มสุขภาพที่ผ่านมาบริษัทได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อจับตลาดนี้โดยเฉพาะ อย่าง ‘OPD คุ้มครบ จบหายห่วง’ เเละ FWD Precious CARE แผนคุ้มครองสุขภาพเหมาจ่าย พร้อมขยายความคุ้มครองลูกค้าที่แพ้วัคซีนด้วย

เดวิด บอกว่า ที่ผ่านมาบริษัทประกันไม่ค่อยออกผลิตภัณฑ์คุ้มครอง OPD (ผู้ป่วยนอก) จะมีบ้างเเต่ไม่มาก ส่วนใหญ่จะมีเงื่อนไขเยอะ ข้อจำกัดเยอะ เป็นโอกาสตลาดที่ FWD จะเข้าไปเจาะลูกค้าที่มีความต้องการส่วนนี้ เพราะพวกเขาอยากได้ประกันที่ซื้ออะไรเเล้วครั้งเดียวจบ ไม่ใช่ใครขายถูกเเล้วชนะ เเต่เป็นการที่ใครบริการได้ดีที่สุด

เมื่อถามถึงสถานการณ์ที่ว่าเเม้ประกันสุขภาพจะบูม เเต่คนไม่มีเงินจ่ายเบี้ย ซีอีโอ FWD มองว่า

ผมคิดว่ามันเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ซบเซา คนรายได้ลดลง ต้องใช้เงินเพื่อดำรงชีวิตไว้ก่อน ประหยัดไว้ก่อน ดูปัจจัย 4 ไว้ก่อน เเต่ตอนนี้ประกันสุขภาพก็กำลังจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการดำรงชีวิตไปเเล้ว”

โดยพื้นฐานลูกค้าประกันเเต่ละประเทศที่เคยทำงานมา จะต่างกันที่สิ่งเเวดล้อมเป็นหลัก เช่น อินโดฯ จะชอบลงทุน เเต่ออสเตรเลียจะไม่ค่อยซื้อประกันสุขภาพ เพราะมีระบบสาธารณสุขรองรับอยู่เเล้ว ส่วนคนไทยเเม้จะมี 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นโครงการที่ดี เเต่ผู้คนยังต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต้องรอคิวนาน ก็หันมาซื้อประกันสุขภาพมากขึ้น

สำหรับตลาดประกันในไทยที่มีมูลค่ารวม 6 เเสนล้านบาท นั้น ‘ยากที่จะคาดการณ์ต้องดูการกระจายวัคซีน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เเละระยะเวลาในการเปิดประเทศ

เปลี่ยนเเปลงจาก ‘ภายใน’ 

การที่จะพลิกโฉมธุรกิจได้ ต้องเริ่มจากการดิสรัปต์ในบริษัทก่อน ซึ่งเดวิดยอมรับว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากเพราะต้อง ‘Rebuild’ วัฒนธรรมองค์กรใหม่หลังควบรวมกับ SCBLIFE ก้าวขึ้น ‘เบอร์สอง’ ในตลาดประกัน โดยจะเน้นไปที่การทรานส์ฟอร์มสู่ดิจิทัล ที่ไม่ใช่เเค่ย้ายไปอยู่บนเเพลตฟอร์มออนไลน์ เเต่หมายถึงการใช้ AI , Machine learning , Robotics , อัพสกิลพนักงานเเละเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่

อย่างเช่น การเทรนนิ่งพนักงานช่วงโควิด-19 ที่รูปแบบการขายเปลี่ยนไปเยอะ ต้องปรับมาเทรนนิ่งออนไลน์ มีการพบปะลูกค้าเเบบ face to face ผ่านหน้าจอ เปลี่ยนการนำเสนอ อบรมเป็นกลุ่มเล็กลงฯลฯ

ขณะเดียวกัน ต้อง ‘Repurpose’ เปิดพื้นที่ให้พนักงานได้คิดสร้างสรรค์เเละทำให้เเตกต่าง โดยการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการคิดไอเดียใหม่ ทำงานเเบบ  Hot- Desk เเต่งตัวได้ตามสบาย ไม่รู้สึกกดดัน อยากที่จะเปลี่ยนเเปลงเเละกล้าเเสดงความคิดเห็น รวมถึงการมีค่าตอบเเทนที่ดี สวัสดิการที่ครอบคลุมการใช้ชีวิต

เราต้องเชื่อในตัวพนักงาน เชื่อในความสามารถพวกเขา ว่ามีความรับผิดชอบเเละเป็นตัวเทนของเเบรนด์ได้เป็นอย่างดี

Young At Heart อยู่เสมอ

วันว่างของเดวิด โครูนิชเขามักจะขับรถคลาสสิกไปเที่ยวต่างจังหวัดกับครอบครัวอยู่บ่อยครั้ง อย่างหัวหินที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเขาใช้เวลาอยู่ที่นั่นถึง 4 วันต่อสัปดาห์ในช่วงที่ต้อง WFH เเละงานอดิเรกที่ชื่นชอบที่สุด…นั่นก็คือการทำอาหารลองสูตรใหม่ เมนูใหม่ตลอดเวลา

ความชอบลองอะไรใหม่ๆ สะท้อนไปถึงหลักยึดที่เขานำมาใช้ในองค์กร คือ การทำงานด้วยความสนุก “it’s okay to fail” คนเราทำผิดพลาดได้ เเต่ต้องนำกลับมาปรับปรุง เเละสิ่งสำคัญคือการ ‘Open Minds’ เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ไม่ตีกรอบความคิด เชื่อในความหลากหลาย “ความเเตกต่างของคน จะทำให้เกิดความเเตกต่างในงาน

นี่คือจุดกำเนิดที่ดีที่สุดที่เขาเชื่อว่า จะสร้างสรรค์ผลงานที่เเตกต่างจากคนอื่น เพราะมาจากหลากหลายมุมมอง ไม่ได้มาจากมุมใดมุมหนึ่ง ขณะเดียวกันต้องมุ่งมั่นในงานไปทางเดียวกัน ดูเเลทุกคนให้ทั่วถึง ไม่ยึดติดกับตำเเหน่ง

โดยการบริหารคนที่มาจากหลายเจเนอเรชัน สิ่งที่ต้องทำคือรับฟังความคิดเห็นให้พนักงานเป็นตัวของตัวเองมากที่สุด เช่น ที่ FWD เปิดให้ทุกคนเเต่งตัวได้ตามเพศสภาพ ให้มีประกันเพื่อการผ่าตัดเเปลงเพศ ให้สิทธิพาร์ตเนอร์ lgbtqia+ เหมือนคู่สมรส ฯลฯ

ผมชอบคุยกับคนรุ่นใหม่นะ ชอบใช้เเอปพลิเคชันใหม่ๆ ไม่เคยคิดว่าตัวเองต้องเเก่ Young At Heart อยู่เสมอ เปิดใจรับว่าโลกใหม่คิดอย่างไร หมุนตามโลกให้ทัน

 

 

 

]]>
1336958
เปิดภารกิจ ‘ฐากร ปิยะพันธ์’ นำ Data พลิกโฉม ‘เครือไทย โฮลดิ้งส์’ ของเจ้าสัวเจริญ ลุยตลาดสินเชื่อ https://positioningmag.com/1324409 Tue, 23 Mar 2021 14:14:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1324409 ธุรกิจประกันเปิดศึกสู้กันดุเดือดเเบบไม่มีพักรับโลกยุคใหม่เเละพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค

ความเคลื่อนไหวของเครือไทย โฮลดิ้งส์กลุ่มธุรกิจประกันภัยและการเงินในเครือทีทีซี ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดีกำลังถูกจับตามองอย่างมาก หลังดึงฐากร ปิยะพันธ์ผู้บริหารมือทองด้านดิจิทัลแบงกิ้ง นวัตกรรมเเละ AI จากค่ายกรุงศรี คอนซูมเมอร์มานั่งคุมทัพใหญ่

เมื่อย้ายสู่บ้านหลังใหม่ได้สักพัก ฐากร ปิยะพันธ์ได้ฤกษ์เปิดแผนธุรกิจในระยะ 3-5 ปี กับกลยุทธ์สู่เป้าหมายการเป็นตัวท็อปธุรกิจประกันและการเงินของประเทศไทย พร้อมขยายไปยังอาเซียน

มาดูกันว่าการใช้ ‘Data’ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความถนัดของฐากร จะนำพาเครือไทย โฮลดิ้งส์ไปบนเส้นทางสายใหม่นี้อย่างไร

ปัจจุบันเครือไทย โฮลดิ้งส์’ หรือ TGH ทำธุรกิจหลักๆ 3 กลุ่ม ได้เเก่ กลุ่มธุรกิจประกัน กลุ่มธุรกิจการเงิน และกลุ่มธุรกิจ Health & Wellness

ธุรกิจสุขภาพด้าน Health & Wellness เป็นพาร์ตใหม่ที่เปิดมารองรับสังคมสูงวัยโดยเฉพาะทั้งการวางเเผนการเงินในวัยเกษียณทำประกันที่คุ้มครองจนสิ้นอายุขัย เเละให้บริการที่พักอาศัย ซึ่งจะมีความคืบหน้าในเร็ว ๆ นี้

หากเจาะลึกลงไปในธุรกิจประกัน จะมีบริษัทลูกในเครืออย่าง อาคเนย์ประกันชีวิต อาคเนย์ประกันภัย และ บมจ.ไทยประกันภัย ที่มีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 75,000 ล้านบาท

ส่วนเบี้ยฯ รับรวมทั้งตลาดประกันชีวิตของปี 2563 อยู่ที่ราว 6 เเสนล้านบาท ลดลง 1.75% เเละเบี้ยฯ รับรวมทั้งตลาดประกันภัย อยู่ที่ราว 2.5 เเสนล้านบาท เติบโต 3.9%

ขณะที่ธุรกิจการเงิน จะมีบริษัทลูกอย่างอาคเนย์แคปปิตอล’ ผู้ให้บริการรถเช่าองค์กร ที่มีสินทรัพย์รวม 15,000 ล้านบาท เป็นที่ 1 ในตลาด เเละอาคเนย์มันนี่’ ที่กำลังจะเริ่มปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลกระทบไปทุกอุตสาหกรรม ทำให้เครือไทย โฮลดิ้งส์ มีรายได้รวมลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยในปี 2020 มีรายได้รวม 23,300 ล้านบาท ลดลง 4% เเต่ขณะเดียวกันก็สามารถทำกำไร 168% เป็น 739 ล้านบาท จากการบริหารต้นทุน ปรับพอร์ตโฟลิโอ และการบริหารจัดการต่าง ๆ 

ทิศทางต่อไปจากนี้ จึงไม่ใช่งานง่ายๆอย่างเเน่นอน

ปั้น อาคเนย์มันนี่ รุกสินเชื่อรายย่อย

เเต่เดิมเครือไทย โฮลดิ้งส์พึ่งพารายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจประกันภัยเเละประกันชีวิต เเต่ทิศทางหลัง COVID-19 จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะจะหันมารุกสินเชื่อธุรกิจรายย่อยมากขึ้น

จากข้อมูลพบว่า ในปีที่ผ่านมา ธุรกิจการเงินของเครือไทย โฮลดิ้งส์ มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 11%  สวนทางธุรกิจประกันชีวิตที่เติบโตลดลง 11% เเละธุรกิจประกันภัยที่เติบโตลดลง 3%

ฐากร บอกว่าตลาดสินเชื่อยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากเเม้จะต้องเผชิญกับคู่เเข่งทั้งสายเเบงก์เเละนอนเเบงก์เเละเข้าตลาดนี้ช้ากว่าก็ตาม

อาคเนย์มันนี่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา เขาบอกว่าคืองานหินที่ต้องทำให้ได้ โดยจะใช้กลยุทธ์จับมือกับพาร์ตเนอร์ที่มีวิสัยทัศน์ตรงกัน เน้นเป็นบริษัทขนาดกลางที่มีเครือข่ายเข้าถึงลูกค้าอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งมีการเจรจาพูดคุยไว้เบื้องต้นเเล้ว

ความท้าทายตอนนี้ เหมือนการปีนขึ้นยอดเขาเอเวอเรสต์ แต่เราก็มองว่าจะสามารถเข้าไปซื้อกิจการหรือหาพันธมิตรร่วมทุนได้

อีกมุมหนึ่ง การมาของอาคเนย์มันนี่ ก็เป็นการเสริมความเเกร่งของธุรกิจรถเช่าอย่าง อาคเนย์ แคปิตอลที่ตอนนี้มีจำนวนรถกว่า 22,100 คัน เเบ่งเป็นลูกค้าภาครัฐ 50% ลูกค้านอกกลุ่มทีซีซี 30% เเละลูกค้ากลุ่มทีซีซี 20% ซึ่งปกติจะมีการประกาศขายรถมือสองอยู่แล้ว

อาคเนย์มันนี่มีเเผนตั้งเป้าสินเชื่อปล่อยใหม่ภายในปี 2564 ให้ได้ 2,000 ล้านบาท โดยจะเริ่มต้นจากบริษัทในเครือ ผ่านสินเชื่อเพื่อคู่ค้าก่อน จากนั้นในไตรมาส 3 จะปล่อยสินเชื่อรถยนต์ รถเช่ามือสอง สินเชื่อมอเตอร์ไซค์ และในไตรมาส 4 จะเป็นสินเชื่อจำนำทะเบียน และสินเชื่อส่วนบุคคล

ติดอาวุธเทคฯ พลิกโฉม ‘ประกัน’ ยุคใหม่

เเม้จะบุกหนักไปที่ธุรกิจการเงิน เเต่ผู้บริหารเครือไทย โฮลดิ้งส์ยืนยันที่จะให้ความสำคัญกับธุรกิจประกันยิ่งกว่าเดิม ด้วยเเพชชั่นที่ต้องการทำให้ประกันไปอยู่ในชีวิตของทุกคน

โดยจะมีการปรับพอร์ตธุรกิจประกันขึ้นมาใหม่ นำข้อมูลจำนวนมากที่ธุรกิจประกันมีเป็นจุดเเข็ง มาผสมกับเทคโนโลยีให้ใช้งานง่าย ใช้ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI มาช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ตรงกลุ่มลูกค้า

สำหรับอาคเนย์ประกันชีวิต มีเบี้ยประกันภัยรับรวมปี 2563 อยู่ที่ 8,345 ล้านบาท ครองอันดับ 9 ของตลาด จะมุ่งกลยุทธ์ไปที่การขยายฐาน ‘ตัวแทนใหม่ ในต่างจังหวัด พร้อมๆ กับการรักษาพันธมิตรธนาคาร ที่เรียกว่าแบงก์แอสชัวรันซ์เเละมองหาพันธมิตรใหม่ช่องทางอื่นไปด้วย โดยคาดว่าสัดส่วนช่องทางขายระหว่างแบงก์และตัวแทนต่อจากนี้ จะอยู่ที่ 60% และ 40% ตามลำดับ

ทั้งนี้ พอร์ตส่วนใหญ่ของบริษัทกว่า 70% มาจากแบงก์แอสชัวรันซ์ ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (...)

ฐากร ยังตั้งเป้ารายได้ที่จากประกันกลุ่มเเละจะออกแบบประกันชีวิตควบการลงทุนอย่าง Unit Linked ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวได้ภายในปีนี้

ตามมาด้วย อาคเนย์ประกันภัย ที่ปี 2563 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 10,556 ล้านบาท ครองส่วนแบ่งทางการตลาดที่ร้อยละ 4.1 ครองอันดับ 6 ของตลาด

ส่วนใหญ่เป็นประกันรถยนต์ 66% ทรัพย์สินเเละเบ็ดเตล็ด 24% อุบัติเหตุเเละสุขภาพ 10% โดยปีนี้ บริษัทมีเเผนจะออกผลิตภัณฑ์ที่เเตกต่างจากตลาด เเละรองรับเทรนด์การใช้ชีวิตยุคใหม่อย่าง ประกันรถยนต์ไฟฟ้า EV ฯลฯ

ส่วนไทยประกันภัย ที่ปี 2563 มีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงราว 1,321 ล้านบาท จะปรับรูปแบบการทำงานเเละโครงสร้างธุรกิจ เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ซึ่งตอนนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ 25%

โดยจะมีการทุ่มงบ 1,500 ล้านเพื่อพัฒนาระบบดิจิทัล เพิ่มยอดขายทางดิจิทัลของบริษัทในเครือทั้งหมด หลังจากปีที่ผ่านมา มียอดขายเเล้วกว่า 1,200 ล้านบาท เติบโตถึง 70% ส่วนใหญ่มาจากลูกค้าคนรุ่นใหม่

นอกจากนี้จะมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปรับโครงสร้างการทำงานภายในองค์กรช่วยให้พนักงานทำงานสะดวกเเละลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีเเละรวดเร็ว

ฐากร บอกว่า จะจัดตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่เพื่อทำ Data Analytics เเละเพิ่มแผนก Business Transformation พร้อมตั้งบริษัท Sofin เพื่อทำ Digital Solution โดยเฉพาะ

ครือไทย โฮลดิ้งส์ตั้งเป้าหมาย 3 ปี รายได้จะอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 14% กำไรเติบโตเฉลี่ย 20%

โดยในช่วง 2 ปีเเรกจะลุยตลาดในประเทศให้ประสบความสำเร็จก่อน จากนั้นในปีที่ 3 จึงจะขยับไปยังประเทศในอาเซียน เริ่มจากเวียดนาม ที่กลุ่มทีซีซีวางตลาดไว้อยู่เเล้ว ต่อไปจะขยายไปยังสปป.ลาว และกัมพูชา โดยจะรุกให้บริการทางการเงิน สินเชื่อรถยนต์ สินเชื่อส่วนบุคคล ต่อยอดไปเป็นประกันภัยและประกันชีวิต

นี่คือทิศทางต่อไปของเครือไทย โฮลดิ้งส์ภายใต้การนำทัพของฐากร ปิยะพันธ์ที่หวังจะมาเขย่าวงการประกันยุคใหม่ด้วย ‘Data’ …น่าจับตามองไม่น้อย

 

 

]]>
1324409
เปิดเเผน “ซมโปะ ประกันภัย” 2020 กลยุทธ์เอาใจคนรุ่นใหม่ชอบเที่ยว รุก SMEs ต่างจังหวัด https://positioningmag.com/1257025 Sun, 15 Dec 2019 09:27:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257025 ด้วยกระเเสคนรุ่นใหม่ชาวไทย “ชอบเที่ยว” หันมาใส่ใจซื้อประกันออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้โอกาสธุรกิจก็เพิ่มมากขึ้นไปด้วย เปิดทิศทางธุรกิจประกันยุคใหม่ กับ “ผศ.ชญณา ศิริภิรมย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซีอีโอหญิงคนเเรกของซมโปะที่ขึ้นบริหารเมื่อต้นปีที่ผ่านมา 

กับแผนรุกตลาดประกันภัยปี 2020 เป้าหมายเป็นประกันภัยเดินทางอันดับ 1 ของเอเชียภายใน 3 ปี พร้อมเปิดตัว 3 ผลิตใหม่ใหม่เเละกลยุทธ์ตีตลาด SMEs ในต่างจังหวัด รวมถึงการพัฒนาเเบรนด์ในยุค Digital Tranformation 

“เราตั้งใจดูเเลคนไทยด้วยหัวใจญี่ปุ่น” ผศ.ชญณากล่าวถึงเเนวทางการให้บริการเเบบ Customer Centric ของบริษัท โดยตั้งเป้าพัฒนาแบรนด์ร่วมกับ Sompo Group ให้ก้าวขึ้นเป็นประกันภัยการเดินทางอันดับ 1 ในเอเชียภายในปี 2023 นี้

“ตอนนี้ลูกค้าที่ซื้อประกันการเดินทางกับเราส่วนใหญ่อายุต่ำกว่า 35 ปีเเละเป็นลูกค้าผู้หญิงมากกว่า ในปีนี้มียอด 5 หมื่นราย เฉลี่ยการซื้อประกันคนละ 500 บาท โดยคาดว่าปี 2020 จะมียอดเพิ่มขึ้นเป็น 1-1.5 เเสนคน ด้วยความนิยมไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นของคนไทย”

ทั้งนี้ ตลาดใหญ่ที่สุดยังคงเป็นนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปญี่ปุ่น รองลงมาคือยุโรป โดยคาดว่าปี 2020 คนไทยจะเดินทางไปเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ล้านคนจากปัจจุบัน 1.13 ล้านคนต่อปี โดยซมโปะหวังจะเติบโตไปกับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ 

เดินหน้าตีตลาดพ่อค้าเเม่ค้า เอาใจคนชอบเที่ยว 

สำหรับเเผนขยายฐานลูกค้าในปีหน้า “ซมโปะ” ปล่อย 3 โปรดักต์ใหม่เพื่อลุยตลาดรายย่อย ทั้งประกันภัยเดินทางรายปี ประกันสุขภาพ และประกันรถกระบะ เจาะกลุ่มผู้ซื้อรถมาใช้งานจริง และ SMEs เพื่อสร้างการรับรู้แบรนด์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

  • เจาะกลุ่มคนเดินทางบ่อย – ประกันภัยการเดินทางรายปี Global Diplomat  

โดยพุ่งเป้าไปที่การขยายสินค้าประกันภัยในรายย่อย เริ่มจากช่วงต้นปีที่ผ่านมาก็มีการเปิดตัวโปรแกรมประกันการเดินทาง SOMPO GO JAPAN by Travel Joy  

ซีอีโอซมโปะ กล่าวว่า ธุรกิจประกันโดยเฉพาะประกันเดินทางนั้น ลูกค้ามักจะเลือกซื้อด้วยการเปรียบเทียบความคุ้มครองและราคาเป็นส่วนใหญ่ โดยปีหน้าจะบุกตลาดคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นให้มากขึ้น เน้นไปยังกลุ่มคนทำงาน และคนรุ่นใหม่ที่ชอบท่องเที่ยวด้วยตัวเอง พร้อมชูจุดเด่น เช่น การคุ้มครองตั้งแต่ก้าวแรกที่ออกจากบ้านไปจนถึง 24 ชั่วโมงหลังเดินทางกลับประเทศ เเละให้วงเงินค่ารักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลหลังจากเดินทางกลับมาประเทศไทยสูงถึง 5 ล้านบาท 

โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่รวมถึงการบริการนักแปลภาษาทางการแพทย์ ไว้ให้บริการ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือต้องเข้าโรงพยาบาลที่ประเทศญี่ปุ่น สามารถเข้ารับการรักษาและออกจากโรงพยาบาลได้เลยไม่ต้องจ่ายค่ารักษาเอง ทั้งการรับการรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) และ ผู้ป่วยนอก (OPD) ซึ่งเป็นบริการกรณีฉุกเฉิน

  • ลงสนามประกันสุขภาพส่วนบุคคล – ประกันสุขภาพ เฮทธ์ เต็มเต็ม (Health Tem Tem) 

สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดและทิศทางขององค์กรในปี 2020 นั้น ซมโปะประเทศไทย จะเน้นการเลือก segment ที่ไม่ใช่ Red Ocean 

โดยเล็งเห็นว่า MEGA Trend ของปีหน้า คือ เรื่องของสุขภาพในระดับมหภาคของตลาดรายย่อย ดังนั้นนอกจากจะชูเรื่องประกันการเดินทางแล้ว ซมโปะยังมุ่งนำเสนอประกันอุบัติเหตุและสุขภาพส่วนบุคคล (Personal Accident & Health) เข้ามา 

พร้อมตั้งเป้าลงสนามประกันสุขภาพ ด้วยประกันสุขภาพ เฮทธ์ เต็มเต็ม (Health Tem Tem) ดูแลรักษาตัวเมื่อเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล และยังนำเบี้ยประกันไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ถึง 15,000 บาท 

“เหมาะกับคนทำงานในยุคนี้มาก โดยเฉพาะให้ความคุ้มครองค่าห้องที่สูงเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด เช่น แผนทุน IPD 1,000,000 บาท คู่แข่งให้ค่าห้อง 5,000 บาท แต่แผนประกันสุขภาพเฮทธ์ เต็ม เต็มให้ถึง 10,000 บาท รวมทั้งการกำหนดวงเงินค่ารักษาของเราต่อครั้งไม่จำกัดครั้งต่อปี” 

  • ตีตลาด SMEs ต่างจังหวัด – ประกันรถกระบะใจใจ

ปัจจุบันธุรกิจประกันยานยนต์ถือเป็น Red Ocean มีการแข่งขันกันในเรื่องราคาอย่างเข้มข้น ซึ่งนับเป็นเรื่องท้าทายสำหรับซมโปะ ประกันภัย ในฐานะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ในตลาดต่างจังหวัด 

สำหรับ “ประกันรถกระบะใจใจ” เหมาะกับกลุ่มคนขับรถกระบะเพื่อใช้ทำมาหาเลี้ยงชีพ เช่น พ่อค้าแม่ค้า เจ้าของธุรกิจสวนผลไม้ สวนยาง เป็นต้น โดยเน้นให้ความคุ้มครองเพิ่มเติม ในส่วนของเงินชดเชยรายได้รายวัน กรณีรถยนต์เกิดอุบัติเหตุและทำให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารบาดเจ็บจนต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาล และยังได้รับเงินชดเชยค่าเดินทางระหว่างรถยนต์เข้าอู่ซ่อมจากอุบัติเหตุการชน รวมทั้งมีบริการให้ความช่วยเหลือฉุกเฉินบนท้องถนน 24 ชั่วโมงทั่วประเทศ ในกรณีที่รถเสียฉุกเฉินที่สำคัญ รับทำประกันให้รถกระบะที่มีการติดตั้งคอก เสริมแหนบ เพลา หรือเปลี่ยนล้อกระทะโดยลูกค้าสามารถเพิ่มวงเงินความคุ้มครองสำหรับอุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเติมจ่ายเบี้ยเพิ่มเริ่มต้นเพียง 300 ต่อทุนประกัน 10,000 บาท 

ผศ.ชญณา ศิริภิรมย์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซมโปะ ประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

พัฒนาไอที รับกระเเสซื้อประกันออนไลน์ 

ขณะที่ด้านการพัฒนาแบรนด์ในยุค Digital Transformation ซีอีโอ ซมโปะ ประเทศไทย บอกว่าที่ผ่านมาลูกค้าส่วนใหญ่มาจากทางออนไลน์ เราจึงต้องพัฒนาให้ผู้บริโภคมีประสบการณ์การซื้อประกันทางออนไลน์ที่ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีการใช้ระบบ Robotic Process ภายในองค์กร การต่ออายุกรมธรรม์ รวมถึงการใช้ AI ในการจัดการกับระบบ Marketing Automation เพื่อสร้างแคมเปญโฆษณา เป็นต้น เเละในปีหน้าจะมีการลงทุนเพิ่มในด้านเทคโนโลยีกว่า 100 ล้านบาท 

“พฤติกรรมการซื้อประกันการเดินทางออนไลน์ของคนไทย คือชอบซื้อตอนใกล้วันเดินทางหรือซื้อก่อนเดินทางเพียงไม่กี่ชั่วโมง” 

มองตลาดประกันวินาศภัยยังติดลบ 

เมื่อถามถึงภาพรวมตลาดของธุรกิจประกันวินาศภัย ซีอีโอ ซมโปะ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ปีนี้น่าจะอยู่ที่ -2 ถึง -3 % โดยยอดเบี้ยประกันของบริษัทยังทรงตัวอยู่ที่ 2,800 ล้าน 

“เราพยายามตั้งเป้าขยายฐานลูกค้ารายย่อยและลูกค้าองค์กรให้มีสัดส่วนที่เท่ากันอย่างละ 50% จากปัจจุบันที่มีลูกค้าองค์กรราว 70 % และลูกค้ารายย่อย 30% เเละยังคงมั่นใจว่าลูกค้าองค์กรซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทจากญี่ปุ่นจะยังคงปักหลักลงทุนในไทยต่อไป” 

 

]]>
1257025
เขย่าวงการประกัน-การเงิน “เจ้าสัวเจริญ” เดินเกมลัด ตั้ง “โฮลดิ้ง” ทุ่ม 25,000 ล้านบาท ฮุบ “ไทยประกันภัย” https://positioningmag.com/1169543 Fri, 11 May 2018 04:52:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1169543 นับเป็น “บิ๊กดีล” ของ “เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี” อีกครั้ง หลังจากลุยซื้อดะ! ทั้งกิจการอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงค้าปลีก ใช้เงินปีละเป็น “แสนๆ ล้านบาท” คราวนี้ถึงคิวธุรกิจการเงินกัน เมื่อ “บริษัท เครืออาคเนย์ จำกัด” (SEG) ของเจ้าสัว ได้ยื่นข้อเสนอเป็น “พันธมิตร” กับ “บริษัทไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน)” หรือ TIC 

เมื่อ TIC ตอบรับข้อเสนอดังกล่าวพร้อมร่อนรายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถึงการปรับโครงสร้างธุรกิจของเครืออาคเนย์ที่จะโอนกิจการทั้งหมดที่มี ไปอยู่ในบริษัทใหม่ “เครือไทย โฮลดิ้งส์” ที่มีทุนจดทะเบียนตั้งต้น 10,000 บาท และบริษัทเครือไทย โฮลดิ้งส์ จะออกหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 730.14 หุ้น ราคาหุ้นละ 34.14 บาท มูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่เกิน 25,000 ล้านบาท ให้ค่าโอนกิจการทั้งหมดเครืออาคเนย์แทนการชำระด้วยเงินสด

สำหรับทรัพย์สินที่เครืออาคเนย์จะโอนเข้าโฮลดิ้ง ประกอบด้วย บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต สัดส่วน 99.97% บริษัทอาคเนย์ประกันภัย 97.33% และ (3) บริษัทอื่นๆ อีก 10 บริษัท ประกอบด้วย 1.บริษัท อาคเนย์แคปปิตอล จำกัด 2.บริษัท อาคเนย์แอดไวซ์เซอรี่ จำกัด 3.บริษัท ทีซีซีพริวิเลจการ์ด จำกัด 4.บริษัท ศูนย์วิชาการอาคเนย์ จำกัด 5.บริษัท เอเชียติ๊กเฮาส์ จำกัด 6.SOUTHEAST ADVISORY PTE. LTD. 7. บริษัท รถดีเด็ด ออโต้ จำกัด  8.บริษัท เอสโซฟิน จำกัด 9.บริษัท ทิพยประกันภัย (สปป. ลาว) จำกัด และ 10.ASIAN REINSURANCE CORPORATIO

บริษัทโฮลดิ้ง ยังเตรียมยังตั้งโต๊ะรับซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น TIC ในราคาหุ้นละ 34.24 บาท กรณีที่ไม่ต้องการแลกหุ้นโฮลดิ้ง ที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนไทยประกันภัยที่จะทำการเพิกถอนหุ้นออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย ทำให้เครืออาคเนย์เข้าตลาดทางอ้อม (Backdoor Listing)

นอกจากนี้ หลังจากเครืออาคเนย์ข้าไปมีอำนาจในการควบคุมกิจการของ “ไทยประกันภัย” ผ่านบริษัทโฮลดิ้ง และปรับโครงสร้างกิจการแล้วเสร็จตามแผน เครืออาคเนย์ยังเตรียมทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทโดยความสมัครใจแบบมีเงื่อนไข (Conditional Voluntary Tender Offer) เพื่อเป็นทางเลือกลำดับแรกให้กับผู้ถือหุ้นของไทยประกัน ที่ต้องการขายหุ้นของบริษัท และรับชำระเป็นเงินสดในราคาเสนอซื้อหุ้นละ 32.24 บาทด้วย

อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ ยังต้องติดตามการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2561 ในวันที่ 15 มิ.ย. 2561 เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อน โดยการปิดดีลจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ถือหุ้นด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4

ส่วนเหตุผลของการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งนี้ ไทยประกันภัยระบุว่าจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการขยายธุรกิจในด้านต่างๆ และช่วยเปิดโอกาสในการพิจารณาการลงทุนในธุรกิจประกันภัยและธุรกิจอื่นๆ ที่สร้าง “ผลตอบแทนที่ดี” ในระยะยาวได้ ที่สำคัญจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของโครงสร้างการจัดการขององค์กร เพื่อให้เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจในอนาคตด้วย

ภายหลังการปรับโครงสร้างธุรกิจ บริษัทโฮลดิ้งจะมีธุรกิจที่หลากหลายมากขึ้น มีการแบ่งแยกบริษัทตามสายธุรกิจที่ชัดเจน สามารถกำหนดขอบเขตหน้าที่รับผิดชอบของบุคลากรในแต่ละสายงานให้ชัดยิ่งขึ้น มีผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ดูแลสายธุรกิจนั้นๆ ที่สำคัญคือแบ่งแยกการบริหารจัดการด้านการเงินของแต่ละธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งกว่าเดิมนั่นเอง

++ รู้จักไทยประกันภัย ที่ “เจ้าสัว” ทุ่มหมื่นล้านซื้อกิจการ

ต้องบอกว่านี่คือบริษัทประกันวินาศภัยแห่งแรกในประเทศไทยที่มี “ผู้ถือหุ้น” เป็น “คนไทย” ทั้งหมด โดยธุรกิจของ TIC มีครบประกันวินาศภัย 4 ประเภท ได้แก่ การรับประกันอัคคีภัย มีลูกค้าครอบคลุมโรงงาน ที่อยู่อาศัย การสต๊อกสินค้า การรับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง คุ้มครองความสูญเสีย ความเสียหายของสินค้าที่นำเข้าและส่งออก การรับประกันภัยรถยนต์ และการรับประกันภัยเบ็ดเตล็ด เช่น ประกันอุบัตเหตุส่วนบุคคล อุบัติเหตุการเดินทาง เป็นต้น และสามารถทำรายได้ปี 2560 อยู่ที่ 1,319 ล้านบาท มีกำไรสุทธิ 76 ล้านบาท

ปัจจุบัน “ตระกูลตู้จินดา” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยก่อนทำรายการควบรวมกิจการดังกล่าว โครงสร้างการถือครองหุ้น ณ วันที่ 2 เม.ย. 2560 เป็นดังนี้  “ไพสิฐ ตู้จินดา” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 21.17% ตามด้วย “ไพเราะ ตู้จินดา” 17.86% “ทวีรัช ปรุงพัฒนสกุล” 12.77% สำนักงานพระคลังข้างที่ 4.85% และบริษัท รวมทนุไทย จำกัด ถือ 3.75%

ส่วนคาดการณ์หลังปรับโครงสร้างบริษัทโฮลดิ้ง การถือหุ้นจะเป็นดังนี้ เครืออาคเนย์ (SEG) ถือหุ้นใหญ่ 96.88% ตามด้วย ไพสิฐ 0.66% ไพเราะ 0.56% ทวีรัช 0.40% สำนักงานพระยาคลังข้างที่ 0.15% และบริษัท รวมทนุไทย 0.12%

เปิดปูมธุรกิจการเงิน “เจ้าสัวเจริญ”

หากพูดถึงอาณาจักร “ไทยเจริญคอร์ปอเรชั่น” ของ เจ้าสัวเจริญ-คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี” ประชาชนจะคุ้นชื่อ “ไทยเบฟเวอเรจ” ยักษ์ใหญ่เครื่องดื่มที่ขายเหล้าเบียร์จนรวยอื้อซ่า และ “เบอร์ลี่ ยุคเกอร์” นอกจากมีสินค้าอุปโภคบริโภคดังอย่างสบู่นกแก้ว มันฝรั่งเทสโต ยังมีโมเดิร์นเทรดในมืออย่าง “บิ๊กซี” ด้วย “ทีซีซี แลนด์” อสังหาริมทรัพย์ที่มีทั้งที่ดินมากมายทั่วไทย โรงแรมดังทั้งไทยและต่างประเทศกว่า 11 ประเทศ มีห้องพักกว่า 10,000 ห้องทั่วโลก และธุรกิจเกษตรอย่าง “พรรณธิอร” ทำสวนปาล์ม ยางพารา ปลูกกาแฟในไทย เขมร ลาว ส่วน “เครืออาคเนย์” เป็นหัวหอกขยายธุรกิจประกันและการเงิน ที่มี “เจ้าสัวและคุณหญิง” ถือหุ้นใหญ่รวมกัน 51% อีก 49% ถือโดยเดอะ เซาท์อีสท์ กรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นแนล ลิมิเต็ด

เพราะ “เทกโอเวอร์” เป็นทางลัดในการขยายอาณาจักรให้เติบโตที่เจ้าสัวใช้มาตลอด เช่นเดียวกับ “เครืออาคเนย์” ที่เจ้าสัวเจริญซื้อมาตั้งแต่ปี 2529 จากความช่วยเหลือของ “พ่อตา” ของเขา

ปัจจุบันเครืออาคเนย์มีธุรกิจประกันหลากหลาย เช่น ประกันภัยรถยนต์ ประกันอัคคีภัย ในปี 2560 ที่ผ่านมา บริษัททำรายได้รวมมากกว่า 22,000 ล้านบาท โตจากปี 2559 มีรายได้กว่า 16,000 ล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิอยู่ที่ 946 ล้านบาท ลดลงจากปี 2559 มีกำไรกว่า 1,205 ล้านบาท.

]]>
1169543
ส่องธุรกิจ “ประกัน” ใช้โซเชียลมีเดียอย่างไรคุยกับผู้บริโภค https://positioningmag.com/1138352 Sun, 03 Sep 2017 18:55:26 +0000 http://positioningmag.com/?p=1138352 คนไทยใช้โซเชียลมีเดียสูงอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบันมีการใช้เฟซบุ๊กทะลุ 47 ล้านยูสเซอร์เข้าไปแล้ว มีการเติบโต15% หรือคิดเป็น 71% ของจำนวนประชากรไทย มีการใช้อินสตาแกรม 11 ล้านยูสเซอร์ เติบโต 41% และทวิตเตอร์ 9 ล้านยูสเซอร์ เติบโต 70%

ทำให้โซเชียลมีเดียกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของแบรนด์ในยุคนี้ในการสื่อสารกับผู้บริโภค Thoth Zocial ได้ทำการเก็บข้อมูลการใช้โซเชียลมีเดียของแต่ละอุตสาหกรรมในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2560 เพื่อให้นักการตลาดปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้

ถ้าดูภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมพบว่าธุรกิจไอที และดิจิทัลแอคทีฟในโซเชียลมีเดียมากที่สุด มีการโพสต์รวม 13,158 โพสต์แต่เอ็นเกจเมนต์ไม่สูงมาก ธุรกิจที่มีเอ็นเกจเมนต์กับผู้บริโภคมากที่สุดคือสินค้า Personal Careg มีการโพสต์คอนเทนต์น้อย แต่มีค่าเฉลี่ย 341,165 เอ็นเกจ

จากภาพจะเห็นได้ว่ากลุ่มธุรกิจประกันภัย และประกันชีวิตยังมีการทำตลาดด้วยโซเชียลมีเดียน้อย ทั้งการโพสต์น้อย และเอ็นเกจเมนต์น้อย มีโอกาสที่จะใช้เครื่องมือนี้มากขึ้น ทำให้ Thoth Zocial เจาะข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจประกันแต่ละแบรนด์ว่ามีพฤติกรรมบนโซเชียลมีเดียอย่างไรบ้าง โดยมีการแบ่งกลุ่มทั้ง “ประกันชีวิต” และ “ประกันภัย”

3 แบรนด์ในกลุ่มธุรกิจประกันชีวิตที่มียอดเอ็นเกจเมนต์ในเฟซบุ๊กสูงที่สุดได้แก่ FWD, Allianz Ayudhya และ AIA ค่าเฉลี่ยเอ็นเกจเมนต์ของทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 5,054 แบรนด์ FWD มียอดการโพสต์คอนเทนต์สูงที่สุด 375 โพสต์ และมียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุดเช่นกัน

3 แบรนด์ประกันภัยที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุด ได้แก่ โตเกียว มารีน, ไทยวิวัฒน์ และ กรุงเทพ ประกันภัย กลุ่มประกันภัยไม่ค่อยมีการแอคทีฟมากนักบนโซเชียลมีเดีย ค่าเฉลี่ยเอ็นเกจเมนต์ของทั้งอุตสาหกรรมอยู่ที่ 237 เอ็นเกจ แบรนด์ทิพยประกันภัยมีการโพสต์คอนเทนต์มากที่สุด 329 ครั้ง แต่มียอดเอ็นเกจเมนต์น้อย ส่วนแบรนด์โตเกียวมารีนมีการโพสต์น้อย แต่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุด

ผู้บริโภคเอ็นเกจกับแบรนด์ประกันช่วง 9 โมงมากสุด

เจาะถึงเรื่องเวลาที่ผู้บริโภคจะเอ็นเกจกับแบรนด์ประกันมากที่สุด พบว่าอยู่ในช่วง 9 โมงเช้าของทุกวัน ทั้งนี้เป็นเพราะว่าแบรนด์นิยมโพสต์ในช่วงเวลานี้มากที่สุด แบรนด์สามารถคิดคอนเทนต์ หรือทำกิจกรรมกับผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ได้

แบรนด์ประกันบนทวิตเตอร์

ช่องทางทวิตเตอร์ยังเป็นช่องทางที่มีไม่กี่แบนด์ใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร 3 แบรนด์ประกันชีวิตที่มียอดเอ็นเกจเมนต์มากที่สุดบนทวิตเตอร์ได้แก่ ไทยประกันชีวิต, กรุงไทยแอกซ่า, เมืองไทยประกันชีวิต แบรนด์ไทยประกันชีวิตมียอดแอคทีฟมากที่สุดทั้งโพสต์มากที่สุด และยอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุด

3 แบรนด์ประกันชีวิตที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุดในทวิตเตอร์ ได้แก่ โตเกียวมารีน, กรุงเทพ ประกันภัย และทิพยประกันภัย

แบรนด์ประกันบนอินสตาแกรม

ช่องทางอินสตาแกรมยังมีการใช้น้อยอยู่เช่นกัน 3 แบรนด์ประกันชีวิตที่มียอดเอ็นเกจเมนต์สูงที่สุด ได้แก่ FWD, ไทยประกันชีวิต และเมืองไทย ประกันชีวิต แบรนด์เมืองไทยประกันชีวิตมีการโพสต์คอนเทนต์มากที่สุด และแบรนด์ FWD มียอดเอ็นเกจเมนต์เยอะที่สุด

ส่วนแบรนด์ประกันภัยมีเพียงแค่ 2 แบรนด์ที่ทำตลาดผ่านช่องทางอินสตาแกรม ได้แก่ ทิพยประกันภัย และ MSIG

แบรนด์ประกันบนยูทิวบ์

แน่นอนว่าช่องทางยูทิวบ์คงหนีไม่พ้นเจ้าพ่อดราม่าอย่างไทยประกันชีวิตที่ครองอันดับหนึ่งมียอดเฉลี่ยคนดูยูทิวบ์มากที่สุด รองลงมาเป็น AIA และเมืองไทยประกันชีวิต

ส่วนแบรนด์ประกันภัย 3 แบรนด์ที่มียอดเอ็นเกจเมนต์มากที่สุดบนยูทิวบ์ ได้แก่ ไทยวิวัฒน์, กรุงเทพประกันภัย และทิพยประกันภัย

ธุรกิจประกันกันบนพันทิป

ในช่องทางพันทิปก็มีคนตั้งกระทู้เกี่ยวกับเรื่องราวของประกันอยู่ 647,512 กระทู้ อันดับหนึ่งที่พูดคุยกันมากที่สุดคือ ประกันภัยรถ 1,219 กระทู้ รองลงมาคือประกันสุขภาพ 911 กระทู้ ประกันภัยการเดินทาง 718 กระทู้ ประกันสินเชื่อบ้าน 360 กระทู้ และประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ แบรนด์สามารถเข้าไปพูดคุย รวมถึงให้คำแนะนำได้ แต่อย่าขายของจนเกินไปเพราะจะทำให้แบรนด์เสียหายในทันที

ใครคุยถึงเรื่องประกันกันบ้าง

เจาะลงไปถึงข้อมูลประชากรของผู้บริโภคที่สนใจด้านประกันชีวิตบนเฟซบุ๊ก พบว่าผู้ชาย 51% สนใจมากกว่าผู้หญิงที่ 49% อาจจะเป็นเพราะว่าผู้ชายมีความเสี่ยงในเรื่องสุขภาพมากกว่าผู้หญิง

บนโซเชียลมีเดียผู้บริโภคพูดคุยเกี่ยวกับประกันชีวิตมากที่สุด 48.1% รองลงมาคือประกันสุขภาพ 30.7% และประกันการเดินทาง 20.7% ส่วนช่องทางที่มีการพูดคุยมากที่สุดยังคงเป็นเฟซบุ๊ก 37.1% พูดคุยในช่องคอมเมนต์ของผู้บริโภคเอง 37.5% และงานสัมมนา 37.5%

แยกตามพื้นที่ที่ผู้บริโภคค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับประกันมากที่สุด ตามกลุ่มธุรกิจ กลุ่มประกันชีวิต 5 จังหวัดที่มีการค้นหามากที่สุด ได้แก่ หนองบัวลำภู, ลำพูน, สมุทรปราการ, น่าน และ กทม. กลุ่มประกันสุขภาพ ได้แก่ ปทุมธานี, สมุทรปราการ, นนทบุรี, ระยอง และ กทม. ส่วนประกันอุบัติเหตุ ได้แก่ สมุทรปราการ, นนทบุรี, กทม., ชลบุรี และประทุมธานี

3 หัวข้อที่ทำการพูดถึงบนโซเชียลมีเดียมากที่สุดคือ สอบถามข้อมูล 39% บริการ 17% และสนใจซื้อบริการ 10% แบรนด์ต้องเข้าไปให้ข้อมูลกับผู้บริโภคอย่างเต็มที่ เพราะตอนนี้ส่วนใหญ่มีการหาข้อมูลเพิ่มเติมจากโซเชียลมีเดียทั้งสิ้น

เห็นไว้ว่าแบรนด์ประกันสามารถใช้ช่องทางโซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำตลาดได้ ตอนนี้ยังมีการใช้น้อยอยู่ก็ตาม แต่มีแนวโน้มในการเติบโตได้ ส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติของผู้บริโภคเกี่ยวกับธุรกิจประกันเป็นในแง่ลบ มีพนักงานขายตามตื๊อ เป็นการขายของในสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แบรนด์จึงใช้โซเชียลมีเดียในการสร้างเอ็นเกจเมนต์เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น.

]]>
1138352