ธุรกิจอาหารและบริการ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 08 Jul 2020 10:04:24 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดเกม KBank vs SCB เเข่งธุรกิจอาหาร เมื่อแบงก์จะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็น “มากกว่า” ธนาคาร https://positioningmag.com/1286885 Wed, 08 Jul 2020 08:44:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286885 สมัยก่อนเมื่อพูดถึงธนาคาร หรือเเบงก์เรามักจะนึกถึงเเค่การทำธุรกรรมทางการเงิน สินเชื่อเเละประกัน เเต่ในยุคดิจิทัล ธนาคารได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา เป็นอีกหนึ่งเเอปพลิเคชันจำเป็นที่ต้องมีไว้ติดมือถือ

ธนาคารในไทย เป็นธุรกิจที่ถูกดิสรัปต์อย่างรุนเเรง เเต่ก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพ พัฒนาไปสู่ดิจิทัล
เเบงกิ้งอย่างเต็มรูปแบบ มีนวัตกรรมใหม่ๆ ออกมาสม่ำเสมอ มากไปกว่านั้น ยังเป็นเหมือนผู้นำที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีใหม่ของเมืองไทยเลยก็ว่าได้ ด้วยความพร้อมจากการเป็นทุนใหญ่มีทรัพยากรมากทั้งบุคลากรเเละข้อมูลผู้ใช้

ในช่วงที่ผ่านมา เราได้เห็นการฟาดฟันกันระหว่าง 2 ธนาคารใหญ่เเบงก์เขียวเเละเเบงก์ม่วงอย่างกสิกรไทย (KBank) เเละไทยพาณิชย์ (SCB) ที่เเข่งขันเอาใจลูกค้าเเละตอบสนองความต้องการใหม่ๆ พยายามที่จะเป็นมากกว่าเเบงก์ทำอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยทำ ด้วยเป้าหมายว่าต่อไปแบงก์จะอยู่ทุกที่ ยกเว้นที่แบงก์นั่นเอง

KBank เเละ SCB เป็นคู่เเข่งสมน้ำสมเนื้อมาก ด้วยฐานผู้ใช้ K Plus ที่ 13 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 15 ล้านราย)  ส่วน SCB Easy มีผู้ใช้ 11 ล้านราย (ตั้งเป้าสิ้นปีนี้ 13 ล้านราย)

ด้านรายได้รวม (อ้างอิงจากงบการเงิน 9 เดือน ปี 2562) KBank อยู่ที่ 139,376 ล้านบาท SCB อยู่ที่ 131,890 ล้านบาท

ทั้ง 2 ธนาคารได้ตั้งบริษัทลูกที่จะมาปั้นสตาร์ทอัพในเมืองไทยโดยเฉพาะ อย่าง KASIKORN Business- Technology Group หรือ KBTG ที่ได้ กระทิง เรืองโรจน์ พูนผล มานำทัพเป็นหัวเรือใหญ่ ฟาก SCB ส่ง
SCB 10X 
มาลงสนามนำทัพโดย ดร.อารักษ์ สุธีวงศ์ 

  • KBank เป็นผู้ให้บริการ Grab Pay ในแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่ Grab ทาง SCB ก็เป็นผู้ให้บริการ Get Pay ผ่านเเอปฯ คู่เเข่งอย่าง Get เช่นกัน
  • KBank มีระบบ Face Pay สแกนใบหน้าเพื่อชำระเงิน ทาง SCB ก็มี Palm Vein การชำระเงินด้วยฝ่ามือ เช่นกัน
  • KBank เปิดตัวขุนทองเป็นแชทบอทเหรัญญิกช่วยคิดการแชร์ค่าอาหารบน LINE ทาง SCB ก็มีปาร์ตี้หาร (PartyHaan)” เช่นกัน

ล่าสุดการฉีกเเนวธนาคาร มาลงทุนในศึก “ฟู้ดเดลิเวอรี่ด้วยการเปิดตัว Robinhood ของ SCB ก็สั่นสะเทือนวงการไม่น้อย เมื่อกำลังถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง ด้วยประเด็นจี้จุด Pain Point อย่างการไม่คิด GP ไม่คิดค่าสมัคร โอนเงินไวใน 1 ชั่วโมง ท้าทายคู่เเข่งระดับโลกอย่าง Grab, LINE Man, GET เเละ Food Panda โดยพร้อมจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปแบบ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้

ส่วน KBank ตามมาติดๆ เเละได้ใจผู้ประกอบการไปเต็มๆ เปิดตัว “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มตัวช่วยจัดการร้านอาหารไม่ต้องโหลดแอป ไม่มีค่าธรรมเนียม สามารถจัดการระบบหลังบ้านแบบเรียลไทม์ผ่านทางออนไลน์ ส่วนลูกค้าสามารถเลือกอาหาร สั่ง และจ่ายแบบไร้การสัมผัส ที่กำลังจะเปิดตัวเเบบเต็มรูปแบบในเดือนตุลาคมนี้ พร้อมพัฒนาต่อยอดให้นักท่องเที่ยวจีนสั่งอาหารในไทยได้ปลายปีนี้

การได้เห็นแบงก์แข่งขัน เปิดตัวเทคโนโลยีออกมารัว เเบบนี้ เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคเเละสร้างเเรงกระเพื่อมให้วงการธนาคารไม่น้อย

SCB vs KBank ทุ่มลงทุนธุรกิจ “อาหาร” 

ถ้าการเข้ามาในตลาดนี้ของ SCB ทำให้เจ้าอื่นๆ ตื่นตัวเเละทุ่มโปรโมชั่นเพื่อเเข่งขันกันมากขึ้น ก็ถือว่าเป็นผลประโยชน์ของผู้บริโภค

Robinhood เกิดขึ้นจากไอเดียของ อาทิตย์ นันทวิทยา ซีอีโอของ SCB ตอนที่เขาต้องกักตัวในช่วงการระบาดของ COVID-19 ต้องทำงานจากที่บ้าน ทำให้ต้องสั่งอาหารออนไลน์บ่อยครั้ง และมองเห็นโอกาสว่าธนาคารมีทรัพยากรเพียงพอที่จะทำได้ จึงต่อยอดด้วยการระดมทีมกว่า 80 คนพัฒนาแอปฯ นี้ขึ้น ภายในเวลาไม่ถึง 3 เดือนก่อนเปิดตัว

เเนวคิดหลักของ Robinhood เป็นไปตามเเบบฉบับของสตาร์ทอัพ คือมุ่งเเก้ Pain Point ในวงการฟู้ดเดลิเวอรี่ ทั้งประเด็นการเก็บค่าธรรมเนียม หรือ GP ที่สูงถึง 30-35% ที่ทำให้บางร้านอาหารเเทบไม่มีกำไร หรือผู้บริโภคที่ต้องเเบกรับค่าอาหารที่ “เเพงขึ้น” จากปกติ ดังนั้น Robinhood จึงคว้าโอกาสชูจุดขายว่า ไม่เก็บค่า GP รวมถึงปัญหา “เงินหมุน” ของทั้งร้านค้าเเละคนขับ จึงเป็นที่มาของการที่จะเคลียร์เงินเข้าบัญชีให้ได้ใน 1 ชั่วโมง

ทาง SCB ยืนยันว่าเป็นหนึ่งใน CSR ของบริษัทที่ จะไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียม GP ทั้งในช่วงนี้และต่อไป เเละถ้าหากในอนาคตมีคนใช้จำนวนมาก แนวทางการหารายได้จะเป็นไปในทาง “เสนอสินเชื่อ” ให้ผู้ประกอบการมากกว่าที่จะหันมาหักค่า GP

เเอปพลิเคชัน Robinhood กำลังจะเปิดตัวอย่างเต็มรูปเเบบในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้

ถ้าจะพูดกันว่าเป็นการเผาเงินเล่น ก็คงเป็นการเผาเงินที่คุ้มค่ามากเราลงทุนปีละร้อยล้าน จะมองว่าเยอะก็เยอะ จะว่าน้อยก็น้อย เเต่เมื่อเทียบกับกำไรของธนาคารที่ได้ปีละ 4 หมื่นล้านเเล้ว ถือว่าน้อยมาก งบในส่วน CSR ของบริษัทเยอะกว่านี้อีก

คำกล่าวของ “ธนา เธียรอัจฉริยะ” ผู้บริหาร SCB ที่จะมาเป็นหัวเรือใหญ่ของ Robinhood ผ่านการดำเนินงานภายใต้ บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (บริษัทลูกของ scb 10x) โดยเขาจะนั่งเป็นประธานกรรมการบริหาร พร้อมผู้เชี่ยวชาญด้านเพย์เมนต์อย่าง “สีหนาท ล่ำซำ” ที่จะมานำทัพบุกเบิกบริษัท ในตำเเหน่งกรรมการผู้จัดการ ซึ่งกำลังจะปั้นทีมใหม่ให้ได้ราว 40-50 คน ใช้งบลงทุนราว 100 ล้านบาทต่อปี

อ่านเพิ่มเติมเจาะลึกทุกมุมของ Robinhood ไขข้อสงสัยปมค่าส่ง โมเดลธุรกิจเเละเเผนสู้ศึกฟู้ดเดลิเวอรี่

ข้อมูลของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ในประเด็นการปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่ คาดว่า ธุรกิจร้านอาหารในปีนี้จะมีมูลค่าราว 3.8 แสนล้านบาท หดตัวเกือบ 10% จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากลูกค้ามีความระมัดระวังตัวในการออกไปทานอาหารนอกบ้าน จากปัญหาการระบาดของ COVID-19 ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคบางส่วนได้เปลี่ยนแปลงไป ใช้บริการเดลิเวอรี่ในการสั่งอาหารมาทานที่บ้านหรือที่ทำงานแทนมากขึ้น ร้านอาหารยุคใหม่จะต้องผสมผสานการให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าทั้งที่ทานที่ร้านและเดลิเวอรี่ไปพร้อม ๆ กัน

อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านช่วงแพร่ระบาดหนักมาแล้ว แต่ร้านอาหารก็ยังฟื้นตัวช้ากว่าปีที่ผ่านมาถึง 70% ถือเป็นภาคธุรกิจที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ท้าทายของเหล่าร้านอาหาร ที่ต้องมีการ
ทรานส์ฟอร์เมชั่นไปสู่การเป็นร้านอาหารยุค New Normal แบบครบวงจรที่ตอบรับลูกค้าทั้งการทานที่ร้านและเดลิเวอรี่

นี่จึงเป็นที่มาของ “Eatable” (อีทเทเบิล) แพลตฟอร์มให้ใช้ “ฟรี” ที่จะมาเป็นตัวช่วยจัดการร้านอาหาร พัฒนาโดย KBTG บริษัทลูกของธนาคารกสิกรไทย

“Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร กำลังเปิดให้บริการเต็มรูปเเบบในเดือนตุลาคมนี้

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ยืนว่า Eatable เป็นแพลตฟอร์มฟรี ช่วยจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ โดยจะเน้นไปที่ประสบการณ์การทานอาหารที่ร้านไม่ได้เน้นไปที่ธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่โดยตรง ซึ่งมีการเเข่งขันอย่างดุเดือดในปัจจุบัน

อ่านเพิ่มเติม : KBank มาเเล้ว! เปิดตัว “Eatable” แพลตฟอร์มฟรีช่วยร้านอาหาร ระบบสั่งทานที่ร้าน-ส่งเดลิเวอรี่

ไม่หวังกำไร…เเล้วต่อยอดรายได้อย่างไร ? 

การลงทุนใน Robinhood ของ SCB จะเน้นต่อยอดไปที่สินเชื่อเเละสร้างความหลากหลาย

บริษัทใหญ่ของโลกที่ให้บริการทั้ง E-Marketplace , Ride Hailing เเละเดลิเวอรี่ สุดท้ายก็จะวนมาสู่บริการทางการเงิน เป็นคำถามว่าแล้ว SCB ที่เป็นธนาคารให้บริการทางการเงินอยู่แล้ว โดนดิสรัปต์มาโดยตลอด แล้วทำไมธนาคารจะก้าวข้ามไปทำบริการอื่นๆ ไม่ได้

สีหนาท ล่ำซำ เอ็มดีของ Robinhood กล่าวถึงการลงทุนในธุรกิจฟู้ดเดลิเวอรี่ของธนาคาร และบอกว่าข้อได้เปรียบของการเป็นธนาคารในตลาดนี้ คือฐานลูกค้าเเละความเสถียรของระบบเพย์เมนต์ รวมถึงข้อเสนอเรื่องสินเชื่อที่ผู้ประกอบการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

การลงทุนใน Eatable ของ KBank เน้นสร้าง Ecosystem เพื่อดึงลูกค้าให้อยู่ด้วยนานๆเเละต่อยอดไปบริการอื่น

เเม้ผู้บริหาร KBTG จะไม่เปิดเผยถึงงบประมาณในการลงทุน แต่บอกว่าเยอะทั้งในส่วนปฏิบัติการและการประสานงาน แต่ก็ถือว่าคุ้มเพราะ ถ้าลูกค้าแฮปปี้ เขาก็จะอยู่กับเรานาน” เเละต่อยอดไปให้บริการเเละผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของธนาคารได้ 

เบื้องต้นไม่ได้ตั้งเป้าว่าจะมีร้านค้าใช้ Eatable จำนวนเท่าใด แต่หวังว่าจะดึงดูดให้ร้านอาหารมาเข้าร่วมให้มากที่สุด เพราะถือเป็นการลดต้นทุนด้านเทคโนโลยีให้กับผู้ประกอบการรายย่อยและร้านอาหารที่มีทุนน้อย ให้สามารถเปลี่ยนแปลง และปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลได้ในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการพลิกโฉมวงการร้านอาหารไทยเลยทีเดียว

อีกด้านหนึ่ง การพัฒนาไคไท่เตี่ยนไช่” (Kai Tai Dian Cai) บริการสั่งอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวจีนผ่านแอปวีแชท (WeChat) ก็เป็นการต่อยอดการลงทุนฟินเทคในจีนของกสิกรไทย โดยก่อนหน้านี้ KBTG ได้เปิดตัว 2 บริษัท KX และ Kai Tai Tech ในเซินเจิ้น เพื่อดึงศักยภาพการทำงานรูปแบบสตาร์ทอัพ เเละสร้างการเติบโตให้ธนาคารไทย

สร้าง Engagement ใกล้ชิดกว่าเเบงก์เดิม ๆ 

เห็นได้ชัดว่าทั้ง SCB เเละ KBank ประกาศว่าจะเน้นการให้บริการด้านธุรกิจอาหาร โดยไม่หวังรายได้ “โดยตรง” กลับคืนมา เพราะจุดประสงค์ไม่ใช่การหารายได้ เเต่การสร้าง Engagement กับลูกค้าเเบบที่ไม่เคยมีธนาคารไหนทำมาก่อนซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่

โมเดลธุรกิจที่นอกเหนือจากการเสนอสินเชื่อเเละการเก็บข้อมูลเเล้ว อีกหนึ่งผลพลอยได้ คือ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร้านอาหารกับพนักงานสาขา

โดย SCB วางนโยบายใหม่ว่า พนักงานธนาคารจะต้องออกไปเจอร้านค้าที่อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร ไปพูดคุย ทำความรู้จักเเละให้คำเเนะนำได้ เป็นการ Re-Skill และปรับการทำงานของสาขา SCB ใหม่ จึงเกิดเป็นการเทรนนิ่งพนักงานกว่า 800 คนทั่วประเทศขึ้น

จึงมาถึงยุคที่พนักงานธนาคารต้องปรับตัว ให้ถ่ายรูปสวย เพื่อเป็นผู้ช่วยให้กับร้านอาหาร เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่มากกว่าการฝากถอนซึ่งความสนิทสนมเหล่านี้ ทำให้มีโอกาสสูงที่จะต่อยอดไปสู่บริการอื่นๆ ของธนาคารได้ง่ายขึ้น

Photo : Shutterstock

ส่วน SCB เมื่อเข้าไปเป็นระบบหลังบ้านของร้านอาหารเเล้ว ก็ถือเป็นความใกล้ชิดเเบบสุดๆ เลยก็ว่าได้ เป็นการสร้างความเชื่อใจในระยะยาว เมื่อธุรกิจต้องการความช่วยเหลือด้านการเงิน ต้องการขยายสาขาหรือพัฒนาศักยภาพธุรกิจก็ต้องคิดถึงธนาคารที่ใกล้ตัวที่สุดอยู่เเล้ว

นอกจากนี้ ด้วยประโยชน์ของข้อมูล (Data) ซึ่งได้กลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาธุรกิจยุคดิจิทัล เพื่อนำมาวางทิศทางกลยุทธ์การตลาด เเละคาดการณ์ว่าลูกค้าจะมีความต้องการอะไรทั้งในตอนนี้เเละอนาคตธนาคารจึงสามารถออกบริการใหม่ๆ มาตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ตรงจุด นำไปสู่รายได้ทางอ้อม ที่คุ้มยิ่งกว่าต่างจากสมัยก่อนที่ธนาคารมักจะเสนอบริการแบบเดิมๆ ที่ไม่อาจรู้ได้ว่าลูกค้าอยากได้หรือไม่

ในช่วงนี้ธนาคารต่างๆ กำลังพัฒนาระบบวิเคราะห์สถานะทางการเงิน เพื่อรุกหนักด้านสินเชื่อออนไลน์ ให้สามารถยื่นกู้ผ่านแอปฯ ได้ทันทีก็เป็นอีกตัวอย่างที่อธิบายการต่อยอดธุรกิจนี้ได้ดี

นอกจากการเเข่งขันในประเทศเเล้ว ธนาคารใหญ่ในไทยกำลังหาบ่อเงินเเห่งใหม่ ด้วยการเข้าไปเจาะประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนที่เป็นตลาดเติบโตใหม่ เป็นโอกาสทองที่จะเข้าไปปูทางสร้างดิจิทัลเเบงกิ้งให้เข้าถึงประชากรจำนวนมาก ในยามที่คู่เเข่งยังไม่เยอะ

อ่านเพิ่มเติม : ธนาคารไทย ตามหา “ขุมทรัพย์ใหม่” เเย่งลงทุนอาเซียน ส่ง “ดิจิทัลเเบงกิ้ง” เข้าถึงท้องถิ่น

KBank เเละ SCB เลือกเจาะเพื่อนบ้านที่คุ้นเคยกันดีอย่างเมียนมาโดยธนาคารกสิกรไทย ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการโดยธนาคารกลางของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ในการเข้าร่วมลงทุนในสัดส่วน 35% ของ ธนาคารเอยาวดี ฟาร์มเมอร์ ดีเวลลอปเม้นท์แบงก์ หรือ เอแบงก์ (A bank) ส่วน SCB ได้รับอนุมัติจัดตั้งธนาคารลูกอย่างเป็นทางการ โดยตั้งเป้า 5 ปี ยอดสินเชื่อแตะ 7 พันล้านบาท เจาะลูกค้าทุกกลุ่มทั้งรายใหญ่ SMEs เเละรายย่อย

การงัดกลยุธ์เด็ดๆ มาประชันกันในศึกดิจิทัลเเบงกิ้งของเหล่าธนาคารยักษ์ใหญ่ในไทย เป็นประเด็นที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง เมื่อเเบงก์กำลังจะไปอยู่ทุกที่ เเละเป็นมากกว่าผู้ให้บริการทางการเงิน ส่วนใครจะก้าวไปไกลเเละเร็วกว่านั้น ล้วนเป็นตัวขับเคลื่อนเทคโนโลยีของไทยทั้งสิ้น เเละหนึ่งในผู้ได้รับประโยชน์ก็คือ เราๆ ชาวผู้บริโภคนั่นเอง…

 

]]>
1286885
“พีทีจีฯ” ลุยนอนออยล์ เดินหน้าปิดดีล ซื้อหุ้น 70% จิตรมาส จิ๊กซอว์ ปั้นครัวกลางป้อนธุรกิจอาหารในเครือ แตกแบรนด์ร้านอาหาร https://positioningmag.com/1164804 Wed, 04 Apr 2018 14:28:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1164804 การทำธุรกิจน้ำมันยุคนี้ แม้จะมียอดขายหลักหมื่น หลักแสน หรือหลักล้านล้านบาท แต่ผู้ประกอบการไม่ได้เอ็นจอยกับ “กำไร” มากนัก

กำไรเฉลี่ยประมาณ 1.50 บาทต่อลิตร และเมื่อไหร่ราคาน้ำมันโลกพุ่งจนกระทบราคาขายปลีกกระเทือนเงินในกระเป๋าผู้บริโภค รัฐจะยื่นมือมาดูแลกำไรให้อยู่ที่ระดับ 60-90 สตางค์ต่อลิตร ต่ำเตี้ยลงไปอีก

แถมการแข่งขันก็สูงมาก ตลาดเต็มไปด้วยผู้เล่นรายใหญ่ทั้งไทยและต่างประเทศ ทำให้บรรดาสถานีน้ำมัน ต่างเบนเข็มไปรุกธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน (Non-oil) กันถ้วนหน้า

เช่นเดียวกับ “บริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน)” หรือ PTG เป็นอีกรายที่ขอเอาดีกับธุรกิจ “นอนออยล์” วางเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2565 นอนออยล์มีกำไรโตขึ้น 60% จากปีก่อนโต 10% และปีนี้ตั้งเป้าโต20%

ธุรกิจน้ำมัน ขาย 100 บาท กำไรแค่บาทเดียว ทุกปี เราอยากจะขยายในธุรกิจนอนออยล์ 2-3 ธุรกิจใหม่ เน้นธุรกิจอาหารและบริการกำไรเยอะกว่า ถึงแม้คู่แข่งจะเยอะ แต่ก็ไม่เจอยักษ์ใหญ่ พิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. พีทีจี เอ็นเนอยี กล่าว

พิทักษ์ มองว่า “ธุรกิจอาหารและบริการ” (Food and Service) เป็น “จิ๊กซอว์” สำคัญที่สามารถ “ซีนเนอร์ยี” ธุรกิจที่มีอยู่   โดยเฉพาะการเชื่อมโยงบัตรสมาชิกแมกซ์การ์ดที่มีกว่า 8 ล้านราย และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 18 ล้านรายในปี 2565

ยังต่อยอดธุรกิจร้านสะดวกซื้อ “แมกซ์มาร์ท” ร้านกาแฟ “พันธุ์ไทย” ร้านกาแฟและเบเกอรี่ “คอฟฟี่ เวิลด์” ร้านอาหาร “ไทยเชฟเอ็กซ์เพรส” มีร้านรวมกันกว่า 320 สาขาด้วย เพราะนั่นหมายถึงการมีสินค้าเข้าไปจำหน่ายในร้านช่องทางต่างๆ มากขึ้น เพิ่มความหลากหลายให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มยิ่งขึ้น

เมื่อออกสตาร์ทหลังคู่แข่ง พีทีจี ใช้วิธีซื้อและควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions) เป็นกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจนอนออยล์

หลังจากซื้อ บริษัท GFA  ซึ่งเป็นเจ้าของร้าน Coffee World, Cream & Fudge, New York 5th Av. Deli, Coffee World Restaurant และ Thai Chef Express โดยมีสาขารวมกันทั้งหมด 130 สาขาทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

ล่าสุด พีทีจี ได้ส่งกาแฟพันธุ์ไทย ในเครือ ใช้เงิน 44-45 ล้านบาท เข้าซื้อหุ้น 70% ในกิจการธุรกิจอาหาร “บริษัท จิตรมาส แคเทอริ่ง จำกัด” ทำธุรกิจจัดเลี้ยง (catering) รองรับลูกค้าตั้งแต่ 5 คน ไปจนถึงรับงานใหญ่ 5,000 คน มีร้านอาหาร อาหารแช่เย็นพร้อมรับประทาน (ชิลล์ฟู้ด) อาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน (โฟรเซ่นฟู้ด) รองรับกับการบริโภคเป็นจำนวนมาก

จิตรมาส

ด้วยสกลการผลิตในระดับอุตสาหกรรม พีทีจี ตั้งใจจะให้ จิตรมาส เป็นครัวกลาง ผลิตอาหาร อาหารแช่เย็น อาหารแช่แข็ง เบเกอรี สนับสนุนธุรกิจอาหารในเครือของ PTG ที่มีสาขารวมกันกว่า 320 สาขา และแผนขยายครัวกลางไปสู่ครัวภูมิภาคในระยะเวลาประมาณ 3-4 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการขยายตัวในต่างจังหวัด ตามการขยายตัวของสถานีบริการ PTG ทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าการลงทุนรวมจะอยู่ที่ 360 ล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้า

ด้านจิตรมาส เมื่ออยู่ใต้เงาพีทีจี นอกจากได้เงินทุนมาช่วยขยายธุรกิจอาหาร และขยายช่องทางจำหน่ายได้กว้างขวางมากขึ้น เพราะพีทีจีฯ มีปั๊มน้ำมันกว่า 1,600 สาขาทั่วประเทศ และยังมีร้านอาหารในเครือกว่า 300 ร้าน ช่วยให้จิตรมาสยายธุรกิจได้เร็วขึ้น ทำทั้งเบื้องหลัง มาสู่การให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง

พีทีจีฯ วางแผนใช้เงิน 360-400 ล้านบาท ขยายธุรกิจอาหารในช่วง 5 ปี เปิดร้านอาหารไทยฟาสต์ฟู้ด “ครัวบ้านจิตร” ในปั๊มราว 8-10 สาขาในปีนี้ ช่วยเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในสถานีได้มากขึ้น จากนั้นจะขายให้ได้ 30 สาขา ในปี 2562 และเปิดให้ครบ 120 ในปี 2565

นอกจากนี้ ยังเตรียมเปิด ร้านอาหารสไตล์พรีเมี่ยมแคสชวล ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา แต่ยังไม่ได้ตั้งชื่อร้าน คาดจะเปิด10 สาขาในปีนี้ และตั้งเป้าเพิ่มเป็น 25 สาขา ภายใน 3-5 ปี 

60-80 ล้านบาท จากนั้นตั้งเป้ายอดขายโตเฉลี่ยประมาณ 50% ต่อปี ทำให้คาดว่าในปี 2565 บริษัทฯจะมียอดขายไม่ต่ำกว่า 900–1,000 ล้านบาท

“ตอนนี้เราไม่ต้องกังวลวางแผน Turnaround หรือฟื้นธุรกิจน้ำมันให้มีกำไร แต่ต้องโฟกัสการทำแผนขยายสาขาธุรกิจอาหารมากขึ้น ถ้าจิตนมาสได้ผลตอบรับดีเราจะใช้งบลงทุนบุกหนักขึ้น เพราะสิ่งที่เราวางไว้ ธุรกิจต้องเดินอยู่ได้โดยลำพัง พร้อมกับเข้าตลาดหุ้นได้ด้วย”

สำหรับธุรกิจอาหารในประเทศไทยมีมูลค่ามหาศาลกว่า 4 แสนล้านบาท และโตอิงจีดีพี 3-4% ต่อเนื่อง ตลาดยังมีหลายเซ็กเมนต์ให้ผู้เล่นรายใหม่เข้าไปเจาะเพิ่มเติม

ผลการดำเนินงาน พีทีจีฯ ปี 2560 มีรายได้รวมกว่า 84,900 ล้านบาท มีกำไรสุทธิกว่า 913 ล้านบาท รายได้โตขึ้นจากปี 2559 อยู่ที่ 64,926 ล้านบาท แต่กำไรลดลงจาก 1,073 ล้านบาท

จากนี้ไป คงต้องติดตามว่าการขยายธุรกิจนอนออยล์จะ “ฟื้นกำไร” ของพีทีจีให้โตตามเป้าหรือไม่.

]]>
1164804