นักเดินทางชาวไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 02 Jan 2020 08:13:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เทรนด์ท่องเที่ยวในทศวรรษ 2020 : นวัตกรรมการเดินทาง ไม่ใช้พาสปอร์ต เที่ยวรักษ์โลก https://positioningmag.com/1259135 Thu, 02 Jan 2020 06:34:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259135 ทศวรรษ 2020 นี้จะเป็นการท่องเที่ยวที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก ตัวเลือกสำหรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศจะมีมากขึ้น เเละเมืองเก่าเเห่งเเดนอาทิตย์อุทัย อย่าง “เกียวโต” ขึ้นเเท่น จุดหมายยอดนิยม

อโกด้า (Agoda) แพลตฟอร์มการท่องเที่ยวดิจิทัลรายใหญ่ของโลก เผย 3 เทรนด์  “วิถีการท่องเที่ยว” ที่จะเป็นที่นิยมในหมู่นักเดินทางสำหรับทศวรรษ 2020 ได้แก่

  • แอปพลิเคชันเดียวสำหรับทุกความต้องการในการเดินทาง
  • การเดินทางโดยไม่ใช้พาสปอร์ต
  • การเช็คอินผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น แอปพลิเคชันการท่องเที่ยวที่ล้ำสมัย และสัญญาณการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ดีขึ้น ส่งผลให้นักเดินทางมีความคาดหวังเกี่ยวกับการท่องเที่ยวมากขึ้น 

โดยเฉพาะ นักเดินทางชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมดในประเทศอินโดนีเซีย (56%) ประเทศสิงคโปร์ (54%) ประเทศมาเลเซีย (53%) ไต้หวัน (50%) ประเทศฟิลิปปินส์ (48%) และประเทศไทย (48%) เห็นพ้องต้องกันว่า ‘วิถีการท่องเที่ยว’ ทั้ง 3 อย่างที่กล่าวมานั้น จะกลายเป็นเรื่องปกติในการเดินทางในทศวรรษหน้า ซึ่งเมื่อเทียบกับในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาแล้ว มีนักเดินทางเพียง 1 ใน 3 (33%) เท่านั้นที่เห็นด้วย

นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยว

1 ใน 2 ของนักเดินทางชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คาดหวังว่าจะเช็กอินเข้าที่พักผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือได้ เพื่อไม่ต้องเสียเวลาเข้าคิวเช็กอินที่ล็อบบี้ เพราะสามารถดาวน์โหลดคีย์การ์ด และเช็กอินเข้าห้องพักได้ทันที โดยนักเดินทางจากสิงคโปร์ (54%) ฟิลิปปินส์ (53%) มาเลเซีย (58%) และไทย (49%) เป็น 4 ชาติที่คาดหวังให้เทรนด์แห่งนวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยวนี้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด

ในส่วนของ เทรนด์การเดินทางโดยไม่ใช้พาสปอร์ต นั้น นักเดินทางจากสิงคโปร์ (50%) เวียดนาม (47%) ฟิลิปปินส์ (45%) จีน (44%) และออสเตรเลีย (41%) คือ 5 ประเทศที่มีคาดหวังจะได้เห็นเทรนด์นี้มากที่สุด ในทางตรงข้าม มีเพียง 1 ใน 5 ของนักเดินทางจากสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ที่คาดว่าการเดินทางโดยไม่ใช้พาสปอร์ตจะกลายเป็นเรื่องปกติในทศวรรษหน้า

“ยุคนี้ถือเป็นยุคทองของนักเดินทาง เนื่องจากเทคโนโลยีต่างๆ ได้รับการพัฒนาเพื่อให้ทุกคนสามารถค้นหา จอง และจ่ายค่าตั๋วเครื่องบินและที่พักได้ง่ายขึ้น หากย้อนเวลากลับไป เมื่อทศวรรษ 2000 เรามีเมาส์และคอมพิวเตอร์ที่ทำให้การจองตั๋วเครื่องบิน และที่พักออนไลน์ง่ายขึ้นเพียงไม่กี่คลิก ส่วนในทศวรรษ 2010 เราก็มีสมาร์ทโฟน และแอปพลิเคชันที่เปรียบเสมือนทราเวลเอเย่นต์พกพาอยู่ในกระเป๋ากางเกงของเจ้าของโทรศัพท์มือถือหลายล้านคน และสำหรับในทศวรรษ 2020 ที่กำลังจะมาถึง เราก็มีเครื่องมืออันทรงพลังอย่าง การเก็บข้อมูล และแมชชีน เลิร์นนิ่ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยี AI โดยสองสิ่งนี้จะช่วยให้บริษัทต่างๆ เช่น อโกด้า สามารถแนะนำสินค้าและบริการที่มีความเฉพาะเจาะจงกับแต่ละบุคคล (personalized) และเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ทำให้การจองบริการต่างๆ สำหรับการเดินทางกลายเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น” ทิโมธี ฮิวจ์ส รองประธานฝ่ายพัฒนาองค์กรของอโกด้า กล่าว

โดยเขาหวังว่า เอเชียก้าวขึ้นเป็นผู้นำในเรื่องนี้ในทศวรรษ 2020 โดยเฉพาะด้านวิดีโอและเทคโนโลยีเสมือนจริง (augmented reality) การปรับปรุงและพัฒนาแอปพลิเคชันและบริการสำหรับโทรศัพท์มือถือด้วยแชทและเสียง รวมถึงการชำระเงินออนไลน์

เดินทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม – เที่ยวในประเทศมากขึ้น 

นักเดินทางทั่วโลกมีความต้องการที่จะท่องเที่ยวมากขึ้นในทศวรรษ 2020 โดย 40% ของผู้ตอบแบบสอบถาม อยากเที่ยวในประเทศของตนเองให้มากขึ้น และ 35% อยากเที่ยวในต่างประเทศให้มากขึ้น

เมื่อพูดถึงความรับผิดชอบต่อสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืนในระดับโลก นักเดินทางมากกว่า 1 ใน 4 ต้องการทางเลือกในการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นในทศวรรษหน้า โดยเฉพาะนักเดินทางจากประเทศสิงคโปร์ ไทย และอินโดนีเซีย ที่มีความกระตือรือร้นในการเลือกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาจเนื่องมาจากการปิดอ่าวมาหยาในประเทศไทย และเกาะโบราไกย์ (Boracay island) ในประเทศฟิลิปปินส์เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งทำให้นักเดินทางอยากมีส่วนร่วมช่วยรักษ์โลกขณะท่องเที่ยว

กลุ่มนักเดินทางอายุ 35-44 ปี และมากกว่า 55 ปีขึ้นไป มีแนวโน้มที่จะอยากท่องเที่ยวในประเทศของตนเองมากขึ้น (40% และ 42% ตามลำดับ) โดยนักเดินทางจากประเทศจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย สหรัฐอเมริกา และประเทศเวียดนาม เลือกจุดหมายปลายทางในประเทศเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกบนรายการจุดหมายปลายทางที่ตนอยากไปในทศวรรษหน้า

นักเดินทางชาวเกาหลีและญี่ปุ่น มีแนวโน้มที่จะเดินทางท่องเที่ยวคนเดียวมากขึ้นในทศวรรษหน้า ส่วนนักเดินทางชาวไต้หวันและอินโดนีเซีย มีแนวโน้มจะเดินทางช่วงจบการศึกษาเพื่อค้นหาตัวเองก่อนศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือวางแผนอื่นๆ ในอนาคต

เกียวโตคว้าเเชมป์ เมืองที่คนอยากไปเยือนมากที่สุดในทศวรรษ 2020

ทวีปเอเชียขึ้นแท่นเป็นอันดับ 1 ของจุดหมายปลายทางด้านการท่องเที่ยวระดับโลกในทศวรรษหน้า นักเดินทางทั้งจากเอเชียและตะวันตก ต่างอยากมาสัมผัสและสำรวจเมืองที่ได้ชื่อว่าเป็นดั่งสมบัติของทวีปเอเชีย อาทิ เมืองเกียวโตในประเทศญี่ปุ่นที่มีศาลเจ้าชินโต วัฒนธรรม อาหาร และประวัติศาสตร์อันเลื่องชื่อ ตามมาด้วยกรุงเทพมหานคร และเกาะบาหลีในประเทศอินโดนีเซีย

นักเดินทางจากประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศไทย ไต้หวัน ประเทศเวียดนาม และประเทศมาเลเซีย ต่างต้องการไปเที่ยวที่อื่นมากกว่าที่เมืองหลวงของประเทศตัวเอง ขณะเดียวกันนักเดินทางจากประเทศเกาหลีใต้ สหราชอาณาจักร และประเทศออสเตรเลีย เป็น 3 ประเทศที่ไม่ได้เลือกที่เที่ยวในประเทศเป็นจุดหมายปลายทางในทศวรรษหน้า

ข้ามไปฝั่งตะวันตก นักเดินทางชาวอเมริกันและชาวอังกฤษต่างอยากไปท่องเที่ยวที่ มหานครนิวยอร์ก มากที่สุดในทศวรรษหน้า ทั้งนี้มหานครนิวยอร์กก็เป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ สำหรับนักเดินทางจากประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศเกาหลีใต้ ส่วนนักเดินทางทั้งชาวมาเลเซีย และอินโดนีเซียก็มีความต้องการอยากไปเยือนกรุงมักกะฮ์ให้ได้ก่อนปี 2030

Photo : Shutterstock

เทรนด์การท่องเที่ยวไทยในทศวรรษ 2020

  • คนไทยเกือบครึ่งหนึ่ง (49%) คาดว่าการใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเช็คอินเข้าที่พักได้จะกลายเป็นเรื่องปกติในทศวรรษหน้า ทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่คาดหวังกับเทรนด์นี้มากที่สุด
  • กว่า 39% ของคนไทยคาดว่าจะสามารถใช้แอปพลิเคชันเดียวสำหรับทุกความต้องการในการเดินทางได้
  • 32% ของนักเดินทางชาวไทยต้องการทางเลือกในการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเมื่อเดินทาง
  • กรุงเทพมหานครติดอันดับ 1 จุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับคนไทยในทศวรรษหน้า ตามมาด้วยด้วยเกียวโต อันดับ 2 และภูเก็ต อันดับ 3
  • 36% ของนักเดินทางชาวไทยต้องการท่องเที่ยวในประเทศตัวเองมากขึ้น ขณะที่ 30% ต้องการไปท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น

 

FYI

ผลสำรวจของอโกด้าชิ้นนี้ ตัวเลขทั้งหมด ยกเว้นที่ระบุไว้เป็นอย่างอื่น มาจากบริษัท YouGov (ประเทศสิงคโปร์) จำกัด มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามทั้งหมด 16,383 คน และมีการทำการสำรวจทางออนไลน์ขึ้นในระหว่างวันที่ 12-18 ธันวาคม 2562 การสำรวจดำเนินการออนไลน์ โดยตัวเลขดังกล่าวมีการนำไปเฉลี่ยและเป็นตัวแทนของผู้ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไปในประเทศนั้นๆ สามารถดูรายละเอียดของแต่ละประเทศเพิ่มเติมได้ที่ Agoda Press Room

]]>
1259135
วีซ่า เผยคนไทยเที่ยวบ่อยกว่านักท่องเที่ยวทั่วโลก เฉลี่ย 5 คืนต่อทริป ญี่ปุ่นฮิตสุด https://positioningmag.com/1177648 Sat, 07 Jul 2018 02:30:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1177648 วีซ่า ได้เผยถึงผลสำรวจเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยวระดับโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า โดยวีซ่า (Visa Global Travel Intentions Study) เผยให้เห็นว่านักเดินทางชาวไทยเตรียมขึ้นแท่นเดินทางไปต่างประเทศบ่อยที่สุดในโลก หากเทียบกับค่าเฉลี่ย

โดยผลสำรวจฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับเทรนด์และพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักเดินทางจำนวน 17,500 ราย จาก 27 ประเทศทั่วโลก และผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าคนเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น แต่จำนวนวันในแต่ละทริปกลับน้อยลง

ทั้งนี้ผลวิจัยยังระบุว่า สถิติคนไทยท่องเที่ยวไปยังต่างประเทศเติบโตนำประเทศอื่นๆ ด้วยจำนวนแผนการท่องเที่ยวที่คาดว่าจะเพิ่มเป็น 3.9 ทริปภายในปี 2562

ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (2.8 ทริป) และนักท่องเที่ยวเฉลี่ยทั่วโลก (2.7 ทริป)

อย่างไรก็ดี ผลวิจัยกลับชี้ให้เห็นว่าจำนวนวันในแต่ละทริปลดน้อยลง ปัจจุบันจำนวนวันเฉลี่ยต่อทริปทั่วโลกอยู่ที่ 8 คืนต่อทริป ซึ่งลดลงจาก 10 คืนในปี 2556 และ 9.5 คืนในปี 2558 โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยวางแผนจะเที่ยวเพียง 5 คืนต่อทริป ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

สุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ด้วยขนาดและความสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่มีต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้น ทำให้เรายิ่งต้องศึกษาและวิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมและรูปแบบการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มศักยภาพและประโยชน์ต่างๆ ให้แก่ผู้ประกอบการท้องถิ่นและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในประเทศไทย”

ตัวเลขจาก สภาการเดินทางและการท่องเที่ยวโลก หรือ World Travel & Tourism Council (WTTC)[1] ระบุว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้แก่เศรษฐกิจโลกเป็นมูลค่าถึง 272 ล้านล้านบาท [2] ในปี 2560 หรือมากกว่า 10.4 เปอร์เซ็นต์จากดัชนีจีดีพีโลก ซึ่งสอดคล้องเป็นอย่างมากกับประเทศไทยที่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีมูลค่า 3.2 ล้านล้านบาท หรือ 21.2 เปอร์เซ็นต์ของดัชนีจีดีพีทั้งหมดในปี 2560 และคาดว่าจะโตมากถึง 7.4 เปอร์เซ็นต์ภายในสิ้นปี 2561[3] นี้

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมทั้งจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก (13 เปอร์เซ็นต์) และนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (18 เปอร์เซ็นต์)

5 ประเทศสุดฮิตของคนไทย

ภาพจาก : http://www.whysojapan.com/review-japan-travel-guide-the-ultimate-itinerary-planner/

ขณะเดียวกัน 5 จุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในสองปีที่ผ่านมาคือ ญี่ปุ่น (64 เปอร์เซ็นต์) ฮ่องกง (37 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (29 เปอร์เซ็นต์) เกาหลีใต้ (21 เปอร์เซ็นต์) และจีน (16 เปอร์เซ็นต์) โดยสี่ประเทศแรกยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักในอีกสองปีข้างหน้า ยกเว้นประเทศจีนที่คาดว่าจะยกอันดับให้แก่ออสเตรเลียแทน

นอกจากนี้ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากถึง 83 เปอร์เซ็นต์ในปี 2560 ที่ใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วยในการวางแผนและนำทางในขณะท่องเที่ยว ซึ่งมากขึ้นจาก 78 เปอร์เซ็นต์ในปี 2558 หากพูดถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายระหว่างทริป เงินสดยังคงเป็นทางเลือกหลัก (52 เปอร์เซ็นต์) ในขณะที่คนไทยเลือกที่จะใช้ทั้งเงินสด (52 เปอร์เซ็นต์) บัตรเครดิตและเดบิต (33 เปอร์เซ็นต์) ดิจิทัล วอลเล็ต (11 เปอร์เซ็นต์) และอื่นๆ (4 เปอร์เซ็นต์) คละกันไป

เอเชียใช้เงินดิจิทัลสูงสุด

ในระดับภูมิภาค เอเชียแปซิฟิกถือได้ว่ามีนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่สุดที่เลือกใช้ ดิจิทัล วอลเล็ต (20 เปอร์เซ็นต์) ในขณะเดินทาง ตามมาด้วย แอฟริกาตะวันตก (11 เปอร์เซ็นต์) และอเมริกา (11 เปอร์เซ็นต์)

“เราเชื่อว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะช่วยเปิดประตูสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ ส่งเสริมการสร้างงาน และการเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มและพฤติกรรมการท่องเที่ยวนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของวีซ่าที่จะช่วยเหลือทุกภาคส่วนของอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น พันธมิตร ลูกค้า รวมไปถึงรัฐบาลไทยในสร้างเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เติบโตอย่างยั่งยืน และด้วยจำนวนจุดรับบัตรที่เพิ่มมากขึ้นและช่องทางการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเสีถยรภาพและปลอดภัยจากวีซ่า ก็จะทำให้นักท่องเที่ยวทุกคนที่ซื้อสินค้าและบริการผ่านบัตรเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทย” สุริพงษ์ กล่าวปิดท้าย

วิธีวิจัย

ผลวิจัยได้จากการสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวจำนวน 500 รายในแต่ละประเทศทั้งสิ้น 27 ประเทศ ยกเว้นอินเดีย จีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ที่มีผู้ให้สัมภาษณ์จำนวน 1,000 ราย การสัมภาษณ์ในรูปแบบออนไลน์นี้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม 2560 พร้อมกันทุกประเทศ ยกเว้น อียิปต์ คูเวต ซาอุดีอาระเบีย ที่ได้จัดสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรงโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวช่วย

ภูมิภาคที่อยู่ในผลสำรวจฉบับนี้

  • เอเชียแปซิฟิก – ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม
  • ยุโรป – ฝรั่งเศส เยอรมัน สหราชอาณาจักร รัสเซีย ยูเครน
  • แอฟริกาตะวันตก – อียิปต์ คูเวต ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • อเมริกา – บราซิล แคนนาดา เม็กซิโก สหรัฐอเมริกา

 

]]>
1177648