บัซซี่บีส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 07 Feb 2024 12:28:31 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อัปเดตตัวอย่างงานที่ชาว Marketing ไม่ใช้ Generative AI ไม่ได้แล้ว https://positioningmag.com/1461478 Mon, 05 Feb 2024 05:46:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1461478

บทความโดยณัฐธิดา สงวนสิน กรรมการผู้จัดการ และผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด (BUZZEBEES)

ที่จริงแล้ว Generative AI มีความสามารถในการช่วยในงานทางการตลาดอย่างมาก แต่เราจะสามารถทำให้เกิดความสำเร็จในงานการตลาดได้โดยการเพิ่มคุณสมบัติและการใช้งานที่เหมาะสมกับงานบางอย่าง นี่คือตัวอย่างที่ชาว Marketing สามารถใช้ Generative AI ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

งานแรกงานเกี่ยวกับอีเมลเราสามารถใช้ Generative AI ในการช่วยเขียนอีเมลได้ ไม่ว่าจะเป็นการส่งอีเมลโปรโมชั่น เพื่อเรียกลูกค้าให้มาซื้อของกับเรามาดูตัวอย่าง Prompt ที่ใช้และผลลัพธ์กันค่ะ

Write short email to promote buy one get one free of new swimsuit collections. Limit time till the end of this month! Need to hurry!”

หรือการทำประกาศว่าแพลตฟอร์มเรามีฟังก์ชันหรือฟีเจอร์อะไรใหม่ๆ โดนๆ บ้างมาดูตัวอย่าง Prompt ที่ใช้และผลลัพธ์กันค่ะ

“Write short email to promote new product features of Buzzebees Reward page. Key features are that it is instant reward redemption page that customer can redeem thousands of rewards and use point to subsidize for payment. With limit time offer, new user can have on-top 10% discount.”

อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือเราสามารถให้ Generative AI ช่วยในการสร้างวิดีโอโฆษณาให้เราได้ พิ้งค์ขอยกตัวอย่างการใช้งานจริงที่ใช้ในบริษัทบัซซี่บีส์ โดยที่ให้โจทย์ทางทีมว่าต้องการวิดีโอที่ทำโดย Generative AI ทั้งหมด ทางทีมได้สร้างมาให้สองวิดีโอโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ดังต่อไปนี้ เริ่มการเขียนจุดขายของเราลงไปให้ ChatGPT และ ทำ Storyboard ผ่าน ChatGPT แล้วให้มันเขียนภาษาที่สวยงามน่าสนใจให้เรา หลังจากนั้นก็ใช้ Mid Journey และ Bing AI ในการสร้างภาพนิ่งขึ้นมาจากคำใน Storyboard นั้นๆ จากนั้นก็นำภาพนิ่งไปทำให้เคลื่อนไหวได้โดย Runwayml เป็นแต่ละ Screen จากนั้นก็นำไปประกอบร่างตัดต่อใน Adobe After Effect – Editor เพิ่มเสียงและดนตรีเข้าไป เป็นอันสำเร็จ นับว่าไม่เลวเลยทีเดียวสำหรับการทำครั้งแรกของทีม

อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือให้ Generative AI ช่วยในการทำ SEO โดยที่ Generative AI สามารถวิเคราะห์เป็น SEO Report ให้ได้ว่าจะทำการปรับปรุง Website ให้เป็น SEO Friendly ได้อย่างไร มาดูตัวอย่าง Prompt ที่ใช้ และผลลัพธ์กันค่ะ

My website is https://crm.buzzebees.com/ Act as SEO expert to improve website to be more SEO Friendly. Be specific on analyzing the content quality of the top-performing blog posts on my website and provide recommendations for improving any shortcomings and give specific real example from the website.”

อีกบล็อกหนึ่งที่ ChatGPT แนะนำก็คือบล็อก “มือใหม่อยากเปิดธุรกิจร้านอาหารให้อยู่รอดต้องทำอะไรบ้าง” ChatGPT ก็บอกว่าสิ่งที่เจ๋งคือ บล็อกเป็นการเขียนคำถามที่คนทั่วไปมักจะถามซึ่งคนมักจะสืบค้นจากคำพวกนี้อยู่แล้ว ทำให้สืบค้นได้ง่าย ส่วนที่ ChatGPT อยากให้ปรับปรุงคือให้ Link โพสต์นี้ไปยังคอนเทนต์ที่อื่นด้วย โดยสิ่งนี้จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกมีส่วนร่วมแล้วก็มีการเพิ่มเพจวิวเพิ่มขึ้นอีกวิธีก็คือทำให้คอนเทนต์มีรายละเอียดคำแนะนำมากกว่านี้โดยถ้าเป็นไปได้ให้รวมเรื่องของ Case Study แล้วก็ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงดู ทีนี้ลองมาดู ตัวอย่างที่ ChatGPT บอกให้ทำแบบเฉพาะเจาะจงในเรื่องของ “มือใหม่อยากเปิดธุรกิจร้านอาหารให้อยู่รอดต้องทำอะไรบ้าง” ChatGPT บอกว่าให้เพิ่มเนื้อหาที่คนอาจชอบอ่านเช่นการใส่ตารางลงไปหรือการใส่คำถามที่จะทำให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมกับบทความนี้ได้อย่างลึกซึ้งขึ้น

จะเห็นได้ว่าเราได้วิธีการปรับปรุง การทำให้เว็บไซต์ของเรามี SEO Rank ที่ดีขึ้นโดยได้ไอเดียไปทดลองจาก ChatGPT ทั้งในรูปแบบของการแนะนำเฉพาะเจอะจงตามตัวอย่าง และในรูปแบบของการแนะนำโดยทั่วไปอีกด้วย

จากตัวอย่าง พิ้งค์สั่งให้ ChatGPT เข้าไปตรวจดูเว็บไซต์ของบัซซี่บีส์ ว่าบล็อกที่บัซซี่บีส์ทำนั้น สามารถปรับปรุงให้ SEO ได้คะแนนมากขึ้นอย่างไรที่นี่ ChatGPT ก็แนะนำ โดยนำตัวอย่างบล็อกที่ได้รับการเยี่ยมชมสูงสุดมา

บล็อกแรก ได้แก่การที่บัซซี่บีส์ ได้รับรางวัล Shop Management Service Excellence จาก Tik Tok ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2566 ChatGPT บอกว่า ให้ใช้คำที่ SEO ที่เกี่ยวกับ CRM และ Digital Marketing มากกว่านี้โดยที่ในย่อหน้าถัดไปจะเห็นว่ามันบอกเลยว่าให้ใช้คำอย่างเช่น CRM Excellence Award หรือคำว่า Digital Engagement Corporation หรือคำที่คล้ายๆ กันที่จะทำให้ผู้อ่านทำการสืบค้นจากคำนั้นๆ เป็นจำนวนที่มากขึ้น

อันนี้ก็เป็นตัวอย่าง Prompt และการทำงานบางส่วนเพื่อให้ทุกท่านสามารถนำ Generative AI เข้าไปช่วยทำงานในชีวิตประจำวันได้นะคะ การใช้ Generative AI ช่วยในงานการตลาดไม่ใช่การแทนที่ชาว Marketing แต่เป็นเครื่องมือที่สามารถเสริมสร้างความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของมนุษย์ในงานการตลาดสวัสดีปีใหม่ค่ะ

]]>
1461478
รู้จัก “ZORT” สตาร์ทอัพไทยช่วย “จัดการคำสั่งซื้อ” ร้านออนไลน์ หวังบินไกลถึงตลาดอาเซียน https://positioningmag.com/1375287 Thu, 24 Feb 2022 10:42:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375287 จากจุดเริ่มต้นการก่อตั้งบริษัทเพราะเผชิญปัญหา ‘excel’ ไม่ตอบโจทย์การขายออนไลน์ จนวันนี้ระดมทุน Series A ได้สำเร็จ “ZORT” (ซอร์ทเอาท์) เตรียมขยายตลาดทั่วประเทศ และปักหมุดเข้าสู่ตลาดอาเซียน พร้อมขยายฟีเจอร์ให้ครบลูปการขายออนไลน์ของ SMEs ตั้งแต่นับสต็อกจนถึงระบบ CRM รักษาฐานลูกค้า

“จุดเริ่มต้นของเราคือตัวเองก็เคยทำธุรกิจมาก่อน สมัยนั้นเราก็ใช้โปรแกรม excel ซึ่งพบว่ามันยุ่งยากในการลงข้อมูล และมีโอกาสที่ออร์เดอร์จะหล่นหายสูงมาก ต่อมาพี่ๆ ในวงการธุรกิจก็มาคุย ต้องการจ้างเราซึ่งจบวิศวะเพื่อจะให้ทำโปรแกรมจัดการการขายและสต็อกให้ ซึ่งเราพบว่าทุกคนมี pain point แบบเดียวกัน เราเลยคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเราก็ทำเป็นโปรดักส์เลยดีกว่าเพราะทุกคนต้องการใช้เหมือนกันหมด” สวภพ ท้วมแสง หนึ่งในผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด (ZORT) กล่าวถึงการก่อตั้งบริษัทเมื่อปี 2559

ปัญหาที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกคนต้องเผชิญ คือการขายปัจจุบันมีหลายช่องทาง เช่น Shopee, Lazada, JD Central, Facebook, Line แต่เมื่อมีลูกค้าสั่งซื้อ การตัดสต็อกที่ ‘ไม่เรียลไทม์’ พร้อมกันทุกช่องทาง ทำให้บางครั้งเกิดอาการสินค้าหมด ต้องบอกยกเลิกออร์เดอร์ลูกค้า ทำให้เสียความน่าเชื่อถือและเสียโอกาสการขาย

ZORT จึงเข้ามาแก้ปัญหานี้ ทำหน้าที่เป็นซอฟต์แวร์กลางในการทำระบบให้ ‘sync’ กัน ตัดสต็อกอัตโนมัติและอัปเดตพร้อมกันทุกช่องทางขาย

จากนั้นต่อยอดจนกลายเป็น แพลตฟอร์มบริหารออร์เดอร์และสต็อกครบวงจร (Seller Management Platform) ทำได้ทั้ง 6 ส่วนสำคัญต่อธุรกิจค้าออนไลน์ คือ จัดการสต็อก, จัดการคำสั่งซื้อ, ทำบัญชีรับจ่าย, การรับชำระเงิน, จัดการแพ็กสินค้า และขนส่ง

หลังก่อตั้งมา 6 ปี ปัจจุบัน ZORT มีฐานลูกค้า 3,000 ราย โดยมีคำสั่งซื้อที่ผ่านระบบสะสม 84,000 ล้านบาท จำนวน 45 ล้านรายการ สามารถลดต้นทุนให้ลูกค้าได้เฉลี่ย 30% และพร้อมจะขยายตัวมากกว่านี้

ZORT
ทีมผู้บริหาร บริษัท ซอร์ทเอาท์ จำกัด

 

รับเงินลงทุน 55 ล้านบาทในรอบ Series A

จากฐานธุรกิจที่มีทำให้ดึงดูดใจนักลงทุน โดยซอร์ทเอาท์สามารถระดมทุนรอบ Series A ได้แล้วด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 55 ล้านบาท มี lead investor คือ กองทุน Finnoventure Fund ของ กรุงศรี ฟินโนเวต (โดยซอร์ทเอาท์เป็นสตาร์ทอัพรายแรกที่กองทุนนี้ร่วมลงทุน) ร่วมด้วย บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด รุ่นพี่เทคสตาร์ทอัพ รวมถึงมี angel investor 3 ราย นำโดย “โคบี้ บุญบรรเจิดศรี” นักลงทุนอิสระ

“แซม ตันสกุล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงศรี ฟินโนเวต จำกัด กล่าวว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีฐานลูกค้า SMEs อยู่แล้วนับแสนราย และมีการแนะนำ ZORT ให้ลูกค้าใช้งาน ซึ่งพบว่าลูกค้าตื่นเต้นกับเทคโนโลยีนี้ ทำให้เชื่อมั่นว่าสตาร์ทอัพรายนี้จะโตไปพร้อมกับการเติบโตของอีคอมเมิร์ซ และไม่ใช่แค่ในไทย แต่สามารถไปในระดับอาเซียนได้ โดยกรุงศรีซึ่งอยู่ในเครือ MUFG พร้อมจะผลักดัน

“ปลายทางคือเราจะแต่งตัว ZORT ให้เข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ในที่สุด คิดว่าไม่เกิน 3-5 ปีข้างหน้า” แซมกล่าว

ZORT
พิธีลงนามร่วมลงทุน Series A กับซอร์ทเอาท์

ด้าน “ณัฐธิดา สงวนสิน” กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด กล่าวว่า เนื่องจากอยู่ในธุรกิจที่ใกล้เคียงกันโดยบัซซี่บีส์ถนัดด้านการทำระบบ CRM ให้กับลูกค้าองค์กรใหญ่ ทำให้บริษัทเล็งเห็นว่าฟีเจอร์ของซอร์ทเอาท์จะตอบ ‘need’ หรือความจำเป็นของลูกค้า SMEs และเห็นศักยภาพว่ามีโอกาสขึ้นเป็นอันดับ 1 ได้เพราะการใช้งานง่าย สะดวก และโมเดลพร้อมสเกลอัพ

 

เล็งขยายเข้าตลาดอาเซียน

หลังได้รับเงินลงทุน และที่สำคัญกว่านั้นคือได้ “พาร์ทเนอร์เชิงกลยุทธ์” สวภพกล่าวว่า บริษัทจะนำเงินลงทุนใน 3 ด้าน คือ

1.พัฒนาโปรดักส์ เพื่อให้เป็น Seller Management Platform ที่ทำได้ครบวงจรมากขึ้น สิ่งที่จะเพิ่มเข้ามาคือ “การทำ CRM” ซึ่งส่วนนี้บัซซี่บีส์จะเข้ามาประสานพลังได้อย่างลงตัว

ณัฐธิดากล่าวเสริมว่า การทำ CRM จะกลายเป็นส่วนสำคัญมากของธุรกิจในอนาคต เนื่องจากการลงโฆษณาโดยใช้ Targeted Ad จะทำได้ยากขึ้นเพราะติดกฎหมายปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ทำให้แต่ละธุรกิจต้องเก็บฐานลูกค้าของตัวเองไว้ เพื่อทำการตลาดและสร้างความภักดีต่อแบรนด์

นอกจากนี้ สวภพกล่าวว่าบริษัทจะมีเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ให้ครอบคลุมเทคนิคการขายแบบใหม่ยิ่งขึ้น เช่น Live Commerce การไลฟ์สดขายสินค้าจะต้องนำมา sync กับระบบของแพลตฟอร์มได้

shopping online ecommerce

2.ขยายตลาด สำหรับในไทยยังมีโอกาสอีกมาก เพราะมีผู้ประกอบการจำนวนมากที่ต้องการปรับมาขายออนไลน์ และบริษัทจะทำการตลาดกระจายตัวออกจากกรุงเทพฯ เน้นต่างจังหวัดมากขึ้น หลังพบว่าอีคอมเมิร์ซกระจายฐานไปอยู่ต่างจังหวัดสูงขึ้น เพราะการขนส่งทำได้ทั่วถึงทั้งประเทศ

รวมถึงจะขยายตลาดอาเซียนด้วย โดยบริษัทสำรวจแล้วพบว่าพฤติกรรมการซื้อขายของชาวอาเซียนคล้ายกับคนไทย และอาเซียนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ขณะนี้กำลังศึกษาประเทศแรกที่จะเข้าไป เป็นประเทศที่คนท้องถิ่นพูดภาษาอังกฤษได้เพื่อลดกำแพงทางภาษาในการทำงาน รวมถึงเป็นประเทศที่ขนาดตลาดใหญ่ แต่คู่แข่งยังน้อยอยู่

สำหรับการเข้าสู่อาเซียน จะมีกรุงศรีเป็นพี่เลี้ยงในการลุยตลาดใหม่ เหมือนดั่งที่กรุงศรีพา Flash Express เข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์และลาวมาแล้ว

3.พัฒนาทีมงาน โดยจะจัดการพัฒนาทักษะของทีมงานซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของบริษัท และจะเพิ่มทีมงานให้ตอบรับกับจำนวนลูกค้าที่สูงขึ้น จากปัจจุบันมีทีมงานเพียง 40 คน

เป้าหมายของปี 2565 ซอร์ทเอาท์ต้องการขยายฐานลูกค้าเป็นเท่าตัวคือ 6,000 ราย และอีก 3 ปีคาดว่าจะโตเป็น 18,000 ราย (*ยังไม่รวมลูกค้าในต่างประเทศ)

สวภพมองว่า ปัจจุบันการทำความเข้าใจกับลูกค้า ‘ไม่ยาก’ เท่ากับ 4-5 ปีก่อนแล้ว เพราะลูกค้ารับได้และชินกับการสมัครใช้ซอฟต์แวร์แบบรายเดือน เข้าใจถึงความจำเป็นใช้งาน โจทย์ธุรกิจขณะนี้จึงเป็นการสเกลให้ลูกค้าเข้ามาใช้มากขึ้น และอยู่กับแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่องมากกว่า

“คู่แข่งมีเยอะไหม? ก็มีเข้ามาเรื่อยๆ ทั้งสัญชาติไทยและต่างชาติ แต่จุดเด่นของแต่ละรายต่างกัน อย่าง ZORT จะเด่นเรื่องมาร์เก็ตเพลส แต่ต่อไปเราต้องทำให้เราทำได้หมดทุกระบบ รวมทั้ง Facebook, Instagram, Line เข้ามาได้หมด เมื่อตอบโจทย์เขาได้แล้ว เขาก็จะไม่ย้ายแพลตฟอร์ม” สวภพกล่าว

]]>
1375287
สรุป 5 เทรนด์ “ยุคดิจิทัล” ปี 2020 ที่คน “รีเทล” และร้านอาหารควรรู้! https://positioningmag.com/1264752 Mon, 17 Feb 2020 11:29:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1264752 ยุคดิจิทัล ทำให้ทุกวงการต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่แค่การปรับรายสามเดือนแต่อาจต้องขยับมาเป็นรายเดือนจนถึงรายวันเลยทีเดียว!

Positioning เก็บข้อมูลเทรนด์ที่น่าสนใจจาก “ณัฐธิดา สงวนสิน” เอ็มดี บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด บนเวทีงาน Buzzebees Retail Day มาฝาก จะมีเทรนด์ดิจิทัลอะไรบ้าง ติดตามได้ที่นี่

 

1.บริการเดลิเวอรี่ให้เร็วที่สุด

ร้านอาหารที่ไม่มีบริการเดลิเวอรี่นับว่าพลาดโอกาส เพราะปัจจุบันร้านอาหารที่เริ่มเปิดบริการเดลิเวอรี่แล้วพบว่า 30% ของยอดขายนั้นมาจากการขายผ่านบริการเดลิเวอรี่ และ 46% ของประชากรออนไลน์มีการใช้งานสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชั่น

แต่การมีบริการเดลิเวอรี่ยังไม่เพียงพอ เพราะผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ยังระบุด้วยว่า พวกเขาคาดหวังให้อาหารมาส่งภายใน 30 นาที แต่ในความเป็นจริงของขั้นตอนปกติ หากต้องรอให้คนขับรถขับไปถึงร้านก่อนเพื่อสั่งอาหารจะทำให้เสียเวลามาก

ดังนั้นฝั่งร้านอาหารควรปรับตัวในประเด็นนี้ โดยการปรับระบบ POS (Point of Sale) ให้รองรับการเชื่อมต่อเข้ากับการสั่งอาหารเดลิเวอรี่เจ้าต่างๆ เพื่อให้คำสั่งซื้อยิงตรงมาที่ร้านทันที และถ้าหากต้องการขยายพื้นที่ให้บริการ อาจมองหาพื้นที่ Cloud Kitchen เพื่อปัก node สาขาสำหรับขายเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้นอีก

 

2.ปรับเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้กับร้าน

การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับร้านอาหารหรือรีเทลอาจดิสรัปต์วิธีแบบเดิมๆ ได้ ตัวอย่างเช่นร้าน Luckin Coffee ในจีน ซึ่งสามารถขยายสาขาเอาชนะ Starbucks ได้ จากการเปิดบริการกาแฟ grab-and-go ให้ลูกค้าสั่งกาแฟผ่านแอปพลิเคชั่นได้ก่อนมาถึงร้าน และรับกาแฟได้ทันที ไม่เสียเวลา

วิธีการอันทันสมัยเหมาะกับชีวิตเร่งรีบของคนเมือง และสอดคล้องไปกับสังคมจีนที่รับเอาเทคโนโลยีการเงินมาใช้เกือบ 100% อยู่แล้ว การชำระเงินค่ากาแฟล่วงหน้าจึงได้ผลจริง

 

3.สังคมสูงวัย…ที่ไม่ได้ใส่คอกระเช้า

สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีประชากรวัยเกษียณเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 6 เรียบร้อยแล้ว และอีก 10 ปีข้างหน้าจะยิ่งมากขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตาม ภาพของ “ผู้สูงอายุ” จะค่อยๆ เปลี่ยนไป เนื่องจากคน Gen X ในปัจจุบันมีอายุ 41-54 ปี อีก 10 ปีข้างหน้า พวกเขาจะเป็นคนวัยเกษียณ แต่ไลฟ์สไตล์ของคน Gen X ไม่เหมือนคนยุคเบบี้ บูมเมอร์ พวกเขามีความทันสมัย ชอบใช้จ่ายนอกบ้าน โดยมีการศึกษาว่าคน Gen X จะมีการนัดสังสรรค์นอกบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง นั่นทำให้แบรนด์ต้องปรับมุมมองใหม่กับสังคมสูงวัย ไลฟ์สไตล์ของพวกเขากำลังจะเปลี่ยนไปในไม่ช้า

 

4.AI/Machine Learning ใช้วิเคราะห์ดาต้าได้อีกมาก

เทคโนโลยี AI/Machine Learning เป็นสิ่งที่พูดถึงกันหนาหูในรอบ 2-3 ปีมานี้ และจะยังคงอยู่กับเราต่อไป เพราะเมื่อเก็บดาต้าจากลูกค้ามา ย่อมต้องใช้ AI วิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งสามารถพลิกแพลง นำมาวิเคราะห์จำแนกข้อมูลได้ในรูปแบบใหม่ๆ เช่น

  • วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าระดับ Hyper Location ไม่ใช่แค่ระดับภูมิภาค แต่เป็นสาขาร้านค้านั้นๆ ลูกค้ามีความชอบอย่างไร
  • การ Upsell และ Downsell ได้อย่างตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น ลูกค้าออนไลน์ที่กดนำสินค้าลงตะกร้าไว้แล้ว แต่ไม่ชำระเงิน สามารถส่งคูปองลดราคาสินค้าไปให้เพื่อจูงใจให้รีบกดซื้อสินค้านั้น (วิธีนี้บัซซี่บีส์พบว่าได้ผล 5-80% ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี)
  • สำหรับร้านค้าแบบออฟไลน์ สามารถติดตั้งกล้องจับหน้าตาลูกค้าที่เดินเข้า-ออก ระบบ AI จะประมวลได้ว่าลูกค้าเป็นกลุ่มเพศ อายุ และเชื้อชาติใด
  • การแบ่งเซ็กเมนต์ลูกค้าใหม่ตามพฤติกรรม มากกว่า demographic ดั้งเดิม เช่น แบ่งตามพฤติกรรมการซื้อ เป็นผู้ซื้อครั้งแรกหรือเป็นคนที่เคยซื้อแล้วแต่ยังไม่ซื้อซ้ำ สองกลุ่มนี้จะต้องการการตลาดที่ต่างกันเพื่อจูงใจให้ซื้อสินค้า

 

5.กลยุทธ์อินฟลูเอนเซอร์ปั่นกระแส

ยุคนี้เป็นยุคที่ผู้บริโภค 90% เชื่อรีวิวจากเพื่อน มากกว่าการใช้ดาราดังโฆษณา และ 70% มองว่ารีวิวจากลูกค้าออนไลน์คือแหล่งที่น่าเชื่อถืออันดับ 2 ในการซื้อสินค้า

นั่นทำให้การใช้อินฟลูเอนเซอร์จำนวนมากเพื่อสร้างกระแส ‘อุปาทานหมู่’ ได้ผลจริงกับผู้บริโภคยุคใหม่ มีแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กลยุทธ์นี้ เช่น เครื่องสำอาง Kylie หรือล่าสุดในไทย Euro Food สามารถปรับตัวได้เร็ว จับกระแสจากแฮชแท็ก #saveปีโป้ม่วง ใช้ประโยชน์จากอินฟลูเอนเซอร์และกระแสชาวเน็ตสร้างเป็นสินค้าใหม่ ปีโป้แยกสี ขึ้นมา

]]>
1264752