บางกอกแอร์เวย์ส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 01 Apr 2024 06:01:32 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ไม่รอแล้ว! “BA” วอนรัฐขอเข้าพื้นที่เตรียมก่อสร้าง “เมืองการบิน” หลังลงทุนแล้ว 4,000 ล้านโปรเจ็กต์ยังไม่คืบ https://positioningmag.com/1468420 Mon, 01 Apr 2024 05:31:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468420 “BA” หนึ่งในกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ผู้ชนะประมูลโครงการ “เมืองการบิน” สนามบินอู่ตะเภา วอนรัฐเปิดทางให้เข้าพื้นที่เตรียมก่อสร้าง เนื่องจากลงทุนไปแล้ว 4,000 ล้านบาทหลังชนะประมูล 5 ปีแต่โปรเจ็กต์ไม่คืบหน้า กังวลปัญหาฟาก “ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน” ที่ต้องลงทุนคู่กัน แต่เชื่อว่ารัฐจัดการได้ และกลุ่มบีบีเอสขอไม่รอเคลียร์ ต้องการเดินหน้าลุยโครงการเมืองการบินไปก่อน

“โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก” เป็นโครงการเมกะโปรเจ็กต์ที่รัฐบาลดำริขึ้นเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้กับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เมื่อสร้างเสร็จแล้วสนามบินอู่ตะเภาจะกลายเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ และเป็น “เมืองการบิน” ของไทย โดยจะมีการเชื่อม 3 สนามบินหลักของกรุงเทพฯ เข้าด้วยกันด้วย “รถไฟความเร็วสูง ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”

รัฐบาลแยกสัมปทานโครงการนี้ออกเป็น 2 ขา คือ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ ซึ่ง “กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส” เป็นผู้ชนะประมูล (*กลุ่มนี้ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ หรือ BA, บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น) ส่วนอีกขาหนึ่งคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผู้ชนะประมูลคือ “บริษัท เอเชีย เอราวัณ จำกัด” ในเครือเจริญโภคภัณฑ์

อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไป 5 ปีโครงการสนามบินอู่ตะเภาเมืองการบินดูจะยังไม่คืบหน้ามากนัก ส่วนไฮสปีดเทรน 3 สนามบินก็ยังนิ่ง ติดปัญหาหลายประการที่ทำให้โครงการไม่เริ่มก่อสร้าง

ฟากฝั่งโครงการสนามบินอู่ตะเภาเมืองการบิน “พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หนึ่งในพาร์ทเนอร์กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ออกมายืนยันว่าโครงการนี้ทางกลุ่มฯ พร้อมเดินหน้าลงทุนต่อเต็มที่ แม้จะมีปัจจัยเรื่องฝั่งไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินส่อแววปัญหาล่าช้า แต่ฝั่งเมืองการบินจะ “ไม่รอ” ให้ปัญหาคลี่คลาย เพราะเชื่อว่ารัฐบาลจะต้องหาทางผลักดันให้โครงการไฮสปีดเทรนไปต่อได้ในที่สุด เนื่องจากถ้าไม่มีไฮสปีดเทรนเป็นตัวเชื่อมก็จะส่งผลต่อภาพรวมของโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินทั้งหมด

“คิดว่าคงไม่ต้องรอให้เกิดความชัดเจนเรื่องไฮสปีดเทรน เพราะถ้ารอเราอาจจะไม่ได้สร้าง ตอนนี้เราก็ดำเนินการเรื่องทางการเงินกับพาร์ทเนอร์ของเราไปได้เลย เจรจากับพาร์ทเนอร์ว่าเราจะเริ่มเลยไหม ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากเริ่มก่อสร้างเลยในปีนี้” พุฒิพงศ์กล่าว

 

ลงเม็ดเงินแล้ว 4,000 ล้าน ต้องการลุยต่อให้เร็วที่สุด

ด้าน “อนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา” รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายงานการเงินและบัญชี บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ทางกลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอสมีการลงทุนใส่เม็ดเงินไปแล้วกว่า 4,000 ล้านบาท สะสมตั้งแต่ 5 ปีก่อนที่ชนะการประมูล โดยเป็นค่าที่ปรึกษาและค่าออกแบบโครงการ ทำแผนแม่บทมาสเตอร์แพลน ทำให้ทางกลุ่มฯ เองก็ต้องการจะเริ่มลงพื้นที่ก่อสร้างจริงให้ได้เร็วที่สุด

ภาพจาก Unsplash

อย่างไรก็ตาม เหตุที่ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้เพราะตามข้อตกลงทางภาครัฐจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขให้เสร็จสิ้นก่อนหลายประการ เช่น เมื่อต้นปี 2567 กองทัพเรือเริ่มดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้างทางวิ่ง (รันเวย์) ที่ 2 และยังมีอีกหลายเงื่อนไขที่ภาครัฐจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อน

แต่จากความล่าช้าที่ผ่านมาทำให้กลุ่มฯ มีการเจรจากับภาครัฐว่าถ้าหากจะขอให้เอกชนได้เข้าพื้นที่เพื่อเข้าไปเตรียมงานก่อนจะเป็นไปได้หรือไม่ เพราะโครงการมีขนาดใหญ่มาก หากรัฐอนุญาตให้เอกชนเข้าพื้นที่เพื่อไปเตรียมงานก่อสร้าง น่าจะทำให้ประหยัดเวลาได้มากขึ้น

“เรามีการเตรียมตัวอยู่ตลอดเวลา และอยากจะเข้าไปทำเต็มที่แล้ว” อนวัชกล่าว “ถ้าเราย้อนไปดูที่มาของโปรเจ็กต์นี้คือ ต้องการจะเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์แห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ และจะเป็นฮับทางการบิน เราเองที่ไปซื้อซองประมูลมาก็เพราะต้องการจะพัฒนาโครงการให้ตอบโจทย์ทั้ง 2 อย่างนี้ เอกชนอยากทำเต็มที่ และเพื่อให้เอกชนทำงานได้อย่างที่ตั้งใจไว้จริงๆ ภาครัฐก็ควรสนับสนุนตามสมควร เราไม่ได้ขออะไรที่เกินเลยเลย”

 

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

]]>
1468420
“บางกอกแอร์เวย์ส” ตั้งเป้าปี 2567 โตฉ่ำ 20% ปรับราคาตั๋วขึ้นอีก 4% แนวโน้มดีมานด์ฟื้นใกล้ก่อนโควิด-19 https://positioningmag.com/1468394 Sat, 30 Mar 2024 05:06:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468394 สายการบิน “บางกอกแอร์เวย์ส” ตั้งเป้าปี 2567 รายได้ผู้โดยสารแตะ 17,800 ล้านบาท เติบโต 20%ากปีก่อนหน้า ราคาตั๋วคาดปรับขึ้นได้อีก 4% หลังดีมานด์การท่องเที่ยวยังเติบโตจนใกล้เคียงระดับก่อนโควิด-19 เตรียมผนึกสายการบินโค้ดแชร์เพิ่มอีก 2 สาย เพิ่มเครื่องบินเข้าฝูงบินอีก 2 ลำ

“พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ” กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ “บางกอกแอร์เวย์ส” ประกาศผลการดำเนินงานปี 2566 ทำรายได้รวม 21,732 ล้านบาท EBITDA ของบริษัทฯ เท่ากับ 4,782 ล้านบาท คิดเป็น EBITDA Margin เท่ากับ 23% และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 3,108 ล้านบาท

ทั้งนี้ เฉพาะรายได้ผู้โดยสาร (Passenger Revenue) อยู่ที่ 14,913 ล้านบาท เติบโต 76.5% จากปีก่อนหน้า สะท้อนภาพการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวในปี 2566

รายละเอียดธุรกิจการบินของบางกอกแอร์เวย์สเมื่อปี 2566 มีผู้โดยสารสายการบิน 3.97 ล้านคน จำนวนเที่ยวบิน 44,774 เที่ยวบิน อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (%Load Factor) แตะ 79% และ Passenger Yield แตะ 6.00 บาท

ตัวเลขเหล่านี้เทียบกับปี 2562 (ก่อนโควิด-19) ยังต่ำกว่าในแง่ของจำนวนผู้โดยสารที่เคยทำได้ 5.86 ล้านคน และในแง่จำนวนเที่ยวบินที่เคยมี 70,810 เที่ยวบิน อย่างไรก็ตาม ส่วนที่ปรับสูงกว่าคือ %Load Factor ที่เมื่อปี 2562 เคยมีเพียง 68% รวมถึง Passenger Yield เคยอยู่ที่ 4.30 บาท

 

เป้าหมายปี 2567 รายได้ผู้โดยสารเติบโต 20%

สำหรับเป้าหมายการดำเนินงานของสายการบิน “บางกอกแอร์เวย์ส” ปี 2567 ตั้งเป้าการดำเนินงาน ดังนี้

  • เพิ่มจำนวนเที่ยวบินเป็น 48,000 เที่ยวบิน (+7% YoY)
  • อัตราบรรทุกผู้โดยสาร (%Load Factor) เพิ่มเป็น 85%
  • จำนวนผู้โดยสารแตะ 4.50 ล้านคน (+13% YoY)
  • ราคาบัตรโดยสารเฉลี่ย 3,900 บาทต่อเที่ยวบิน (+4% YoY)
  • รวมรายได้ผู้โดยสาร 17,800 ล้านบาท (+20% YoY)

ปัจจุบันบางกอกแอร์เวย์สมีการให้บริการเที่ยวบินใน 20 จุดหมายปลายทาง แบ่งเป็นในประเทศ 12 จุดหมาย เช่น กรุงเทพฯ เกาะสมุย เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ และต่างประเทศ 8 จุดหมาย เช่น มัลดีฟส์ สิงคโปร์ เสียมเรียบ พนมเปญ หลวงพระบาง ในจำนวนนี้มี 2 เส้นทางบินล่าสุดที่บางกอกแอร์เวย์สเพิ่งกลับมาเปิดเส้นทางอีกครั้ง คือ “สมุย-ฉงชิ่ง” และ “สมุย-เฉิงตู”  ทั้งนี้ ปี 2567 ยังไม่มีแผนที่จะเพิ่มเส้นทางบินใหม่ แต่จะเน้นการเพิ่มความถี่ในเส้นทางที่มีดีมานด์สูง

สนามบินเกาะสมุย

พุฒิพงศ์กล่าวด้วยว่า ภาพรวมการจองตั๋วโดยสารล่วงหน้าในไตรมาส 2 ปีนี้ถือว่าสูงกว่าปีก่อน 14% เป็นสัญญาณแนวโน้มที่ดี โดยมีเส้นทางบินที่มีการจองล่วงหน้าสูงขึ้นมาก คือ เส้นทางบินเกาะสมุย เส้นทางไปกลับกัมพูชา และเส้นทางหลวงพระบาง

 

เพิ่มโค้ดแชร์อีก 2 สายการบิน เพิ่มเครื่องบินอีก 2 ลำ

ในแง่กลยุทธ์การเพิ่มจำนวนผู้โดยสารให้ได้ตามเป้า พุฒิพงศ์กล่าวถึงกลยุทธ์สำคัญคือ “ความร่วมมือกับพันธมิตรสายการบิน” โดยปัจจุบันมีสายการบินโค้ดแชร์อยู่ 28 สายการบิน มีสายการบิน Top 5 ที่สร้างรายได้ให้บางกอกแอร์เวย์สมากที่สุด คือ การบินไทย, เอมิเรตส์, กาตาร์, อีวีเอ แอร์ และแควนตัส

ในปี 2567 บางกอกแอร์เวย์สมีแผนจะเพิ่มสายการบินพันธมิตรโค้ดแชร์อีก 2 สายการบิน (*ยังไม่เปิดเผยรายละเอียด) ซึ่งจะช่วยเพิ่มผู้โดยสารได้

ด้านการเพิ่มจำนวนเครื่องบินในฝูงบิน ณ สิ้นปี 2566 บางกอกแอร์เวย์สมีเครื่องบินในฝูงบิน 24 ลำ ขณะที่ปี 2567 บริษัทคืนเครื่อง Airbus A320 ไป 1 ลำ และจะได้รับมอบเครื่องบินรุ่น Airbus A319 มาอีก 2 ลำในช่วงไตรมาส 3-4 นี้ ทำให้จนถึงสิ้นปี 2567 คาดฝูงบินจะมีเครื่องบินรวม 25 ลำ

บางกอกแอร์เวย์ส
“อมรรัตน์ คงสวัสดิ์” รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขายและรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ส่วนการขยายช่องทางการขาย “อมรรัตน์ คงสวัสดิ์” รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขายและรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นอกจากการทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Online Travel Agency (OTA), BSP Agent และสายการบินโค้ดแชร์ต่างๆ แล้ว ปีนี้บริษัทฯ ยังจะเพิ่มสำนักงานขาย GSA Office อีก 2 แห่งใน “ซาอุดิอาระเบีย” และ “ตุรกี” ด้วย หลังพบว่ามีดีมานด์สูงขึ้นในตลาดดังกล่าว

ด้านการตลาดก็ยังคงทำงานร่วมกับแบรนด์ แอมบาสเดอร์ “ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 และจะมีการจัดกิจกรรม Pop-up Lounge ในปีนี้เพื่อโชว์งานบริการของบางกอกแอร์เวย์ส และโชว์เคสผลิตภัณฑ์ที่สายการบินได้ทำร่วมกับชุมชนด้วย

บางกอกแอร์เวย์ส
“ญาญ่า-อุรัสยา เสปอร์บันด์” แบรนด์แอมบาสเดอร์ของ “บางกอกแอร์เวย์ส” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9

ธุรกิจ “คาร์โก้” โตแซงก่อนโควิด-19

ด้านธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้องกับสนามบินของบางกอกแอร์เวย์สในปี 2566 “อนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา” รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายงานการเงินและบัญชี บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) มีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้

  • บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (BAC) – จำนวนลูกค้า 23 สายการบิน ซึ่งยังน้อยกว่าปี 2562 อยู่ 3 สายการบิน และทำรายได้คิดเป็นสัดส่วน 80% ของปี 2562 โดยยังมีผลขาดทุนอยู่ 60 ล้านบาท
  • บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (BFS Ground) – ให้บริการลูกค้า 90 สายการบิน รวมกว่า 65,000 กว่าเที่ยวบิน คิดเป็นสัดส่วน 82% ของที่เคยทำได้ในปี 2562 แต่เนื่องจากบริษัทฯ สามารถปรับค่าบริการได้ ทำให้มีรายได้คิดเป็นสัดส่วน 93% ของปี 2562 แล้ว และได้กำไรกว่า 500 ล้านบาท
  • บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด (BFS Cargo) – ให้บริการลูกค้า 86 สายการบิน ปริมาณสินค้ารวม 4.37 แสนตัน มากกว่าปี 2562 อยู่ 7% และทำรายได้ 2,300 ล้านบาท เติบโต 10% จากปี 2562 ถือเป็นธุรกิจที่เติบโตมากขึ้น เพราะการขนส่งทางอากาศได้รับความนิยมมาตั้งแต่ยุคโควิด-19
“อนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา” รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส สายงานการเงินและบัญชี บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

อนวัชยังกล่าวถึงรายได้ต่อหน่วยจากการผลิตด้านผู้โดยสาร (Revenue per ASK: RASK) อยู่ที่ 5.41 บาท ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอยู่ที่ 5.14 บาท จึงมีสัดส่วนกำไร เท่ากับ 0.27 บาท โดยฝั่งค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนถือว่าสูงจากปี 2562 ที่เคยอยู่ที่ 3.33 บาทมาก เนื่องจากการปรับขึ้นของค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นถึง 30% ค่าอะไหล่ซ่อมแซมที่เพิ่มขึ้นราว 15% รวมถึงต้นทุนด้านอื่นๆ ล้วนปรับขึ้นทั้งหมด

ทิศทางการเติบโตของธุรกิจสายการบินในปี 2567 พุฒิพงศ์เชื่อว่าจะเติบโตได้ใกล้เคียงกับก่อนโควิด-19 โดยคาดว่าจะมีผู้โดยสารบินภายในประเทศ (Domestic) ราว 205 ล้านคน และผู้โดยสารที่บินระหว่างประเทศ (International) ราว 35 ล้านคน โดย 4 อันดับแรกต่างชาติที่จะเข้าไทยมากที่สุดผ่านท่าอากาศยาน คือ จีน เกาหลีใต้ รัสเซีย และอินเดีย (*ไม่รวมมาเลเซีย เนื่องจากชาวมาเลย์นิยมเดินทางผ่านชายแดนทางรถยนต์มากกว่า)

]]>
1468394
‘บางกอกแอร์เวย์ส’ ลุยฟื้นธุรกิจ เพิ่มเส้นทางบิน-หารายได้เสริม น้ำมันเเพงยังไม่ขึ้นค่าตั๋ว  https://positioningmag.com/1376937 Thu, 10 Mar 2022 09:14:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1376937 ธุรกิจสายการบินเริ่มฟื้นตัว ข้อจำกัดการเดินทางเริ่มลดลง ดันดีมานด์นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้น เเต่ยังมีความเสี่ยงจากวิกฤตรัสเซียยูเครน ที่ผลกระทบต่อราคาน้ำมันให้ปรับตัวสูงขึ้น

บางกอกแอร์เวย์ส’ (Bangkok Airways) หนึ่งในสายการบินรายใหญ่ของไทย ประเมินว่า ในปี 2565 ภาพรวมธุรกิจของบริษัทจะฟื้นตัวได้ 40% เมื่อเทียบกับปี 2562 จากอัตราการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น เเละการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคระบาด เเละหวังว่าในปี 2566 จะพลิกกลับมาทำกำไรได้ จากการฟื้นตัว 80-90% เเละในปี 2567 จะฟื้นตัว 100% เเละกลับมามียอดผู้โดยสารเกือบเเตะ 6 ล้านคนเท่าช่วงก่อนโควิด-19

ทยอยเปิดเส้นทางบิน ดึงผู้โดยสาร 2.6 ล้านคน 

พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA เปิดเผยว่า แนวโน้มการเดินทางของผู้โดยสารสายการบินบางกอกแอร์เวย์สในช่วงเดือนพ.. 2564 ที่มีการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ส่งผลให้ภาพรวมการเดินทางลดลงอย่างเห็นได้ชัด

เเละต่อมาเมื่อมีนโยบายเปิดประเทศของรัฐอย่างภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และสมุยพลัสายการบินฯ ได้เปิดให้บริการเส้นทาง sealed route ซึ่งจำนวนผู้โดยสารได้ทยอยเพิ่มขึ้นมาในเดือนพ.

เส้นทางสมุยยังคงเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด โดยมีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ 63% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมด

ส่วนเส้นทางภายในประเทศอื่นๆ มีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ราว 35% และกลุ่มประเทศ CLMV ได้เเก่ กรุงเทพฯพนมเปญ ที่ได้เปิดปฏิบัติการบินเมื่อเดือนธ.. มีสัดส่วนรายได้ผู้โดยสารอยู่ที่ 2% ของรายได้ผู้โดยสารทั้งหมดในปี 2564

สำหรับในปี 2565 จะมีเส้นทางบินที่จะเปิดเพิ่มเติมเพื่อรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบิน อย่างกรุงเทพฯกระบี่ ซึ่งจะเปิดให้บริการในวันที่ 27 มี..2565 

ส่วนในไตรมาสที่ 3 มีเเผนจะเปิดเส้นทางการบินสมุยเชียงใหม่ สมุยฮ่องกง กรุงเทพฯเสียมราฐ เเละไตรมาสที่ 4 จะเปิดเส้นทางบิน เชียงใหม่กระบี่ (เที่ยวเดียว) เชียงใหม่ภูเก็ต (เที่ยวเดียว) สมุยกระบี่ กรุงเทพฯดานัง กรุงเทพฯหลวงพระบาง กรุงเทพฯย่างกุ้ง และ กรุงเทพฯมัลดีฟส์

ทั้งนี้ การกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินต่างๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยว มาตรการการเดินทางของแต่ละประเทศ และการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ที่อาจยังไม่คลี่คลาย

ในปีนี้เราตั้งเป้าจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ 2.6 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารเส้นทางระหว่างประเทศ 30-40% และเส้นทางในประเทศ 60-70% ตั้งเป้ารายได้ผู้โดยสาร ราว 8,175 ล้านบาท รวมเที่ยวบิน 3.4 หมื่นเที่ยวบิน มีอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ 65% และราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวคาดว่าจะอยู่ที่ 3,100 บาทต่อเที่ยว

ลดจำนวนฝูงบิน คุมค่าใช้จ่าย 

ปัจจุบัน บางกอกแอร์เวย์ส มีเครื่องบินจำนวน 37 ลำ โดยมีแผนการจะลดจำนวนฝูงบินลง เหลือ 30 ลำภายในสิ้นปีนี้ เพื่อควบคุมต้นทุนเเละบางเส้นทางยังไม่สามารถบินได้อย่างเต็มที่

โดยจะทยอยคืน Airbus A320 จำนวน 5 ลำ ซึ่งครบกำหนดสัญญาแล้ว รวมถึงจำหน่ายเครื่องบิน ATR72-500 อีกจำนวน 2 ลำ

นอกจากนี้ จะมีการนำเครื่องบินที่ไม่ได้ใช้งานมารุกตลาดบริการเช่าเหมาลำ’ มากขึ้นด้วย เเละจะปรับเส้นทางบินให้ตรงกับความต้องการในการเดินทาง โดยเน้นเส้นทางบินที่เชื่อมต่อสนามบินสมุย

พร้อมปรับลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน การจัดการด้านบุคลากรให้เหมาะสมการรักษาสภาพคล่องทางการเงินการรักษาประสิทธิภาพยานพาหนะ เพื่อลดค่าใช้จ่ายเช่นการบำรุงรักษา ตลอดจนการได้รับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ อาทิ ในด้านภาษี

ทั้งนี้ ในปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 5,668.5 ล้านบาท ลดลง 44.5% เมื่อเทียบกับปี 2563 ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 8,145.1 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 45.4% ผลขาดทุนสุทธิของบริษัทฯ ในปี 2564 เท่ากับ 8,599.8 ล้านบาท โดยมีรายการขาดทุนสุทธิจากการยกเลิกสัญญาเช่ากองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย จำนวน 5,434,7 ล้านบาท

ขณะที่ผลขาดทุนจากการดำเนินงานในปี 2564 เท่ากับ 2,532.5 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 22.2% เมื่อเทียบกับปี 2563

ส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน ในปี 2564 บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ มีรายได้อยู่ที่ 119.5 ล้านบาท ลดลง 61% เนื่องจากมีจำนวนเที่ยวบินที่สนามบินสุวรรรณภูมิและสนามบินภูเก็ตลดลง เเละบริษัท ภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไลด์ไฟล์ทเซอร์วิส จำกัด มีรายได้ 1,122.1 ล้านบาท ลดลง 18%  เเต่จากการบริหารจัดการค่าใช้จ่าย ทำให้มีกำไรอยู่ที่ 237 ล้านบาท

สำหรับบริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด มีรายได้ในปี 2564 อยู่ที่ 2,140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยได้รับอานิสงส์จากการใช้บริการคลังสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงโควิด-19

มุ่งปั้นรายได้เสริม เข้าถึงลูกค้าผ่านซูเปอร์เเอปฯ

ด้านกลยุทธ์การตลาดของบางกอกแอร์เวย์สในปีนี้ จะเน้นไปที่ ตลาดต่างประเทศควบคู่กับการให้ความสำคัญกับตลาดในประเทศ การบริหารช่องทางการจัดจำหน่าย และออกกลยุทธ์ด้านราคา การพัฒนาระบบต่างๆ รวมถึงความสำคัญของระบบการจ่ายเงิน การบริการ การสื่อสารการตลาดและการมีส่วนรวมของลูกค้า

โดยจะให้ความสำคัญด้าน ‘รายได้เสริม’ อย่างบัตรสมาชิกโดยสารแบบพิเศษ อย่าง Flyer Pass เเละ Elite Card ที่เจาะกลุ่มลูกค้ากำลังซื้อสูง

ช่องทางการจัดจำหน่ายในประเทศ ยังคงเป็นช่องทางหลักที่ลูกค้าในประเทศใช้ คือ website/mobile และ Customer Care Centre 1771 ส่วนตลาดต่างประเทศจะจัดจำหน่ายผ่าน Billing and Settlement Plan Agents หรือ BSP agents ในตลาดหลัก เช่น ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน แอฟริกาใต้ และอีกกว่า 20 ตลาดทั่วโลก รวมถึงการขายผ่านเครือข่ายสายการบินพันธมิตรทั่วโลก เเละเชื่อมต่อกับเเพลตฟอร์ม OTA ยอดนิยม

พร้อมมุ่งเน้นช่องทาง API ผ่านโครงข่าย NDC และ metasearch เป็นหลัก ขยายไปยังแอปพลิเคชัน เเละซูเปอร์เเอปฯ ต่างๆ ซึ่งตอนนี้กำลังเชื่อมต่อกับเเอปพลิเคชัน ‘Robinhood’ เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคในชีวิตประจำวันมากขึ้น

ต้นทุนน้ำมัน ยังไม่กระทบค่าตั๋ว (ณ ตอนนี้)

ขณะที่ความกังวลเรื่อง ‘ราคาน้ำมัน’ ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากวิกฤตความขัดเเย้งในรัสเซียเเละยูเครน ซึ่งได้กดดันการฟื้นตัวของของธุรกิจสายการบินต่างๆ นั้น ในช่วงนี้โดยทั่วไปต้นทุนน้ำมันปรับสูงขึ้นราว 40-50% จากปีที่แล้วที่ราคาน้ำมันอยู่ระดับ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มพุ่งสูงกว่าระดับ 100 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หากสงครามยังยืดเยื้อ

ในส่วนของ ‘บางกอกแอร์เวย์ส’ พบว่า ราคาน้ำมันยังไม่มีผลกับต้นทุนบริการการบินมากนัก โดยตอนนี้ต้นทุนน้ำมัน ยังอยู่ที่ราว 15% ของต้นทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วนเพียง 10% น้อยกว่าช่วงก่อนโควิดที่จะอยู่ที่ 30-35% ขณะที่ปีที่เเล้ว ‘ต้นทุนเครื่องบิน’ จะสูงกว่าด้วยสัดส่วนถึง 25% ของต้นทุนทั้งหมด จากภาระค่าเช่าเเละการที่ต้องหยุดบินในหลายเส้นทาง อีกทั้งยังใช้เครื่องบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

โดยผู้บริหาร บมจ. การบินกรุงเทพ ยืนยันว่า ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นในตอนนี้ ยังไม่ใช่ปัจจัยในการปรับขึ้นราคาตั๋วเครื่องบิน 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 มื.ค. สมาคมสายการบินในประเทศ ซึ่งมีนายพุฒิพงศ์ ปราสาทมองโอสถ เป็นนายกสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) เพื่อขอหารือในการพิจารณาให้สายการบินกลับมาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมน้ำมัน หรือ Fuel Surcharge ในการคิดค่าโดยสาร เหมือนกับที่เคยใช้มาในอดีต เนื่องจากราคาน้ำมันตลาดโลกปรับสูงขึ้นอย่างมาก

]]>
1376937
5 สายการบิน ประกาศเตรียมขอเพิ่มเส้นทางบินในประเทศ หลังคลายล็อกเฟส 3 https://positioningmag.com/1282432 Sun, 07 Jun 2020 05:19:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1282432 ท่าอากาศยานไทยเผย 5 สายการบิน เตรียมเพิ่มเส้นทางบินในประเทศ ได้แก่ นกแอร์, ไทยแอร์เอเชีย, ไทยไลอ้อนแอร์, ไทยสมายล์ และบางกอกแอร์เวย์ส หลังคลายล็อกเฟส 3 และ กพท.ประกาศเวลาบินได้ถึง 20.00 น.

ทวี เกศิสำอาง อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) เปิดเผยว่า

“ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19 ) หรือ ศบค. ประกาศมาตรการผ่อนปรนระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ทำให้สายการบินขอเพิ่มเส้นทางบินเพื่อให้บริการเแก่ผู้โดยสารที่มีความจำเป็นและเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง จำนวน 5 สายการบิน ได้แก่ สายการบินนกแอร์ สายการบินไทยแอร์เอเชีย สายการบินไทยไลอ้อนแอร์ สายการบินไทยสมายล์ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส”

ตามประกาศสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กำหนดเงื่อนไขและเงื่อนเวลาในการใช้ท่าอากาศยานเพื่อการขึ้นลงของอากาศยาน (ฉบับที่ 4) โดยท่าอากาศยานที่เปิดให้บริการเฉพาะเส้นทางภายในประเทศ ได้แก่ ท่าอากาศยานขอนแก่น ชุมพร ตรัง นครพนม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช น่านนคร นราธิวาส บุรีรัมย์ ปาย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่สอด แม่ฮ่องสอน ระนอง ร้อยเอ็ด เลย ลำปาง สกลนคร อุดรธานี อุบลราชธานี โดยจะเปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. หรือปรับลดเวลาให้สั้นกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามความจำเป็นและเหมาะสม

และท่าอากาศยานที่สามารถให้บริการการบินภายในประเทศ และต่างประเทศ ได้แก่ ท่าอากาศกระบี่ สุราษฎร์ธานี และหัวหิน โดยเปิดให้อากาศยานขึ้นลงได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป

โดยจากประกาศฉบับดังกล่าว ส่งผลให้ให้ท่าอากาศยานทุกแห่ง สามารถเปิดให้บริการได้ตามปกติทุกท่าอากาศยาน

ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการปลดล็อก แต่ ทย.ยังคงมีมาตรการตรวจเข้มที่ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้

1. ทำการคัดกรองบุคคลที่เข้ามาใช้บริการท่าอากาศยานจะต้องสวมหน้ากากอนามัยและผ่านการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย ไม่สูงกว่า 37.3 องศาเซลเซียส สำหรับผู้โดยสารขาเข้าทุกคนจะต้องกรอกแบบสำรวจการเดินทาง ต.8 คค. เพื่อเก็บประวัติการเดินทางของผู้โดยสาร

2. ต้องปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) เช่น จุดรับรอรับกระเป๋าสัมภาระ จุดตรวจบัตรโดยสาร (Check- in counter) ที่นั่งรอก่อนการเดินทางได้จัดให้มีระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร

สำหรับการรักษาความสะอาดเพื่อความปลอดภัย ท่าอากาศยานทุกแห่งดำเนินการพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารก่อนจุดรับกระเป๋าทุกเที่ยวบิน พร้อมตั้งจุดบริการเจล แอลกอฮอล์ล้างมือตามจุดต่างๆ และทำความสะอาดโดยใช้แอลกอฮอล์ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ในบริเวณพื้นอาคาร ห้องน้ำ รถเข็น เก้าอี้ที่พักผู้โดยสาร ราวบันได ลิฟต์โดยสาร และอุปกรณ์สำหรับให้บริการ และอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่ตามจุดต่างๆ ทุกชั่วโมง หรือหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจทุกเที่ยวบิน รวมถึงทำการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อภายในอาคารที่พักผู้โดยสาร ทุกสัปดาห์

Source

]]>
1282432
เช็กลิสต์ 9 สายการบิน ขอหยุดบินยาวทั้งเที่ยวบินใน และต่างประเทศ https://positioningmag.com/1270638 Tue, 31 Mar 2020 08:31:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1270638 สายการบินที่ให้บริการในประเทศไทยพร้อมใจหยุดให้บริการทั้งเที่ยวบินในประเทศ และต่างประเทศ มีระยะเวลาตั้วแต่ถึงพฤษภาคม บางแห่งยาวไปถึงตุลาคม

โดยสายการบินที่หยุดทำการบินในเส้นทางต่างๆ มีดังต่อไปนี้

สายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบ 3 ราย ได้แก่

1. การบินไทย หยุดทำการบินเส้นทางในประเทศทุกเส้นทางระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2563 และโอนย้ายเที่ยวบินให้สายการบินไทยสมายล์ทำการบินแทน ด้านเที่ยวบินระหว่างประเทศหยุดทุกเส้นทาง ได้แก่ ทวีปเอเชีย หยุดระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2563 และทวีปยุโรป ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2563

2. สายการบินไทยสมายล์ หยุดทำการบินเส้นทางในประเทศ เชียงใหม่ภูเก็ต ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2563 และหยุดทำการบินเส้นทางระหว่างประเทศทุกเส้นทาง ระหว่างวันที่ 23 มีนาคม – 31 พฤษภาคม 2563

3. สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส หยุดทำการบินเส้นทางในประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯเชียงราย, กรุงเทพฯกระบี่, สมุยกระบี่, เชียงใหม่กระบี่, เชียงใหม่แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่ภูเก็ต, เชียงใหม่สมุย และ สมุยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 24 ตุลาคม 2563 ด้านเส้นทางระหว่างประเทศหยุดทำการบินทุกเส้นทาง ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 24 ตุลาคม 2563

สายการบินราคาประหยัด 6 ราย ได้แก่

1. สายการบินไทยแอร์เอเชีย หยุดทำการบินเส้นทางในประเทศทุกเส้นทาง วันที่ 1 – 30 เมษายน 2563 ยกเว้นเส้นทางอู่ตะเภาขอนแก่น หยุดบินระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม – 24 ตุลาคม 2563 และหยุดบินเส้นทางระหว่างประเทศทุกเส้นทาง ระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 24 ตุลาคม 2563

2. สายการบินนกแอร์ หยุดทำการบินเส้นทางในประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯกระบี่, นครพนม, น่าน, ร้อยเอ็ด, แม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2563 และหยุดทำการบินเส้นทางระหว่างประเทศทุกเส้นทางตั้งแต่ 31 มกราคม – 25 ตุลาคม 2563

3. สายการบินไทยไลอ้อน หยุดทำการบินเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศ ทุกเส้นทางระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 30 เมษายน 2563

4. สายการบินไทยเวียดเจ็ท หยุดทำการบินเส้นทางระหว่างประเทศทุกเส้นทาง ได้แก่ ประเทศจีน เดือนมกราคม สิงหาคม 2563, ประเทศไต้หวันและเวียดนาม ระหว่างเดือนมีนาคมสิงหาคม 2563 สำหรับเส้นทางในประเทศให้เปลี่ยนเที่ยวบิน สำหรับผู้สำรองที่นั่งช่วงสงกรานต์ระหว่างวันที่ 13 – 15 เมษายน 2563 และลดความถี่การทำการบินแต่ละเส้นทางวันที่ 24 มีนาคม – 3 เมษายน 2563

5. สายการบินไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ หยุดทำการบินเส้นทางระหว่างประเทศทุกเส้นทางระหว่างวันที่ 26 มีนาคม – 16 มิถุนายน 2563 และยกเลิกทำการบิน กรุงเทพฯบริสเบน

6. สายการบินนกสกู๊ต หยุดทำการบินเส้นทางระหว่างประเทศทุกเส้นทางระหว่างวันที่ 25 มีนาคม – 30 เมษายน 2563

]]>
1270638
“บางกอกแอร์เวย์ส” ปรับลดเงินเดือนผู้บริหาร 50% สู้วิกฤต COVID -19 https://positioningmag.com/1266324 Fri, 28 Feb 2020 09:37:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1266324 บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส ออกมาตรการปรับลดค่าใช้จ่าย เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกชะลอตัว และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 

พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“สืบเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบันมีภาวะชะลอตัวลง ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและการบิน บริษัทฯ จึงได้มีการทบทวนแผนธุรกิจและปรับกลยุทธ์ในการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว รวมถึงการออกมาตรการปรับลดค่าใช้จ่ายด้านปฏิบัติการบินและค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง”

โดยมาตรการปรับลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการบินและค่าใช้จ่ายด้านบุคคลากร บริษัทฯ มีแผนดำเนินการ ดังนี้

  1. ปรับลดความถี่ของเที่ยวบิน ตลอดจนพิจารณายกเลิกเส้นทางบินในบางเส้นทาง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในการเดินทางของผู้โดยสาร ณ ปัจจุบัน
  2. ปรับลดเงินเดือนของประธานคณะผู้บริหารและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กรรมการ/รองผู้อำนวยการใหญ่สายงานบริหารกลาง และรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายงานการเงินและบัญชี ลง 50%
  3. ยกเลิกการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี 2563 ของผู้บริหารสูงสุดของฝ่าย
  4. ปรับลดสวัสดิการของผู้บริหารและพนักงาน
  5. ให้นายสถานีและรองนายสถานี ที่ประจำอยู่ ณ สถานีประเทศและสถานีอื่นๆ ในประเทศ ทำการโยกย้ายกลับมาประจำการที่สถานีกรุงเทพฯ
  6. ขอความร่วมมือจากผู้บริหารและพนักงาน ในการลางานโดยไม่รับค่าจ้าง (Leave without pay) จำนวน 10-30 วัน

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อมาตรฐานความปลอดภัยในการบิน และการบริการแก่ผู้โดยสาร

]]>
1266324
“บางกอกแอร์เวย์ส” เปิดผลประกอบการ Q3/62 กำไร 65 ล้านบาท โต 66% https://positioningmag.com/1253741 Thu, 14 Nov 2019 15:05:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1253741

ภาพ : bangkokair.com

บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (BA) ประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ไตรมาสที่ ปี 2562 โดยบริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 6,698.9 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิเท่ากับ 65.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561

พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า

“รายได้รวมของบริษัทฯ ในไตรมาส 3 อยู่ที่ 6,698.9 ล้านบาท มีกำไรสุทธิเท่ากับ 65.9 ล้านบาท กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 66.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการเติบโตของรายได้ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบินและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจ และค่าใช้จ่ายหลักๆ ของธุรกิจสายการบินที่ปรับลดลง”

ในไตรมาสที่ ของปี 2562 บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (BAC) มีจำนวนสายการบินลูกค้าเพิ่มขึ้น 2 สายการบิน ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าสายการบินทั้งสิ้น 21 สายการบิน บริษัทบริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (BFS Ground) มีจำนวนสายการบินลูกค้าเพิ่มขึ้น 8 สายการบิน ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าสายการบินทั้งสิ้น 84 สายการบิน บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด (WFS-PG Cargo) มีจำนวนสายการบินลูกค้าเพิ่มขึ้น 6 สายการบิน ทำให้ปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าสายการบินทั้งสิ้น 74 สายการบิน

สำหรับผลประกอบการงวด 9 เดือนของปี 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 20,540.2 ล้านบาท ลดลง 2.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากรายได้จากธุรกิจสายการบินและธุรกิจสนามบิน ซึ่งปรับตัวลดลง 6.9% และ 9.7% ตามลำดับ

ในขณะที่รายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบินและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจ เติบโตขึ้น 6.7% และ 22.1%

สำหรับจำนวนผู้โดยสารของบริษัทฯ ในงวด 9 เดือนของปี 2562 มีอัตราการปรับตัวลดลง 1.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ซึ่งเป็นผลมาจากสัดส่วนจุดขายบัตรโดยสาร (Point-of-Sale) ในประเทศไทยและช่องทางอีคอมเมิร์ซปรับตัวลดลง

โดยสัดส่วนจุดขายบัตรโดยสาร (Point-of-Sale) ส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศซึ่งผู้โดยสารโดยหลักมาจากทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย (ยกเว้นประเทศไทย) โดยในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจำนวนผู้โดยสารเติบโตสูงที่สุดซึ่งเติบโต 23% ทวีปอเมริกาเหนือเติบโต 10% และทวีปเอเชียใต้เติบโต 3%

ทั้งนี้ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2562 บริษัทฯ รายงานผลขาดทุนสุทธิเท่ากับ 121.3 ล้านบาท โดยเป็นขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ เท่ากับ 131.5 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้นเท่ากับ 0.06 บาท

]]>
1253741
โลกคือการเดินทาง แต่การบินไทยกำไรลดวูบ งัด ”มนตรา” ฟื้นฟูเร่งด่วน บางกอกแอร์เวย์ส หมอเสริฐฉลุยตามคาด https://positioningmag.com/1230195 Thu, 16 May 2019 06:18:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1230195 นับเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่การบินไทยกลับมากำไร” อีกครั้ง ในไตรมาส 1 ปี 2562 ด้วยกำไรสุทธิ 465 ล้านบาท ลดลงถึง 83.6% จากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ทำกำไรสุทธิ 2,716 ล้านบาท

เนื่องจากไตรมาสนี้การบินไทยทำรายได้ลดลง มีรายได้รวม 49,791 ล้านบาท ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว 3,675 ล้านบาท หรือ 6.9% สาเหตุมาจากรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าลดลง การแข่งขันที่รุนแรง และเงินบาทแข็งค่า

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเพิ่มขึ้น 989 ล้านบาท 2% คือค่าเสื่อมราคา ค่าตัดจำหน่ายการเปลี่ยนประมาณการมูลค่าคงเหลือของเครื่องบินและเครื่องยนต์ ค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่เพิ่ม ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบินจำนวน 213 ล้านบาท

แต่ก็มีกำไรจากการลดสัดส่วนการถือหุ้นสายการบินนกแอร์ 273 ล้านบาท และกำไรอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1,366 ล้านบาท ส่งผลให้มีกำไรสุทธิ 465 ล้านบาท

ในไตรมาสแรกนี้มีเครื่องบินใช้งาน 103 ลำ ต่ำกว่าไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว 1 ลำ อัตราใช้ประโยชน์ 12.5 ชั่วโมง สูงกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 11.9 ชั่วโมง โดยการบินไทยและบริษัทย่อย มีปริมาณการผลิตผู้โดยสารลดลง 2.8% ปริมาณขนส่งผู้โดยสารลดลง 3.2% อัตราการบรรทุกผู้โดยสาร เฉลี่ย 80.3% ต่ำกว่าปีก่อนที่ทำได้ 80.6% มีผู้โดยสารทั้งสิ้น 6.29 ล้านคน เพิ่มขึ้น 0.6%

แผนงานในปี 2562 ยังคงยึดตามแผนการฟื้นฟูธุรกิจ ปี 2561-2565 โดยจะมุ่งเน้นการหารายได้จากธุรกิจเสริม โครงการมนตราซึ่งเป็นโครงการฟื้นฟูการบินไทยแบบเร่งด่วน เช่น ขายเครื่องบินปลดระวาง หารายได้เพิ่ม เช่น ครัวการบินไทย ขายสินค้าออนไลน์ ส่งเสริมการขายผ่านดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง ขายหุ้นในบริษัทร่วม ที่ไม่สนับสนุนธุรกิจหลัก ขายที่ดินและอาคารสำนักงานที่ไม่ใช้ประโยชน์เช่นขายอสังหาริมทรัพย์ที่ปีนัง

ทั้งนี้การบินไทยคาดว่าอุตสาหกรรมการบินโลกปี 2562 ยังคงเติบโต แต่การแข่งขันสูงมาก แต่อาจมีผลกระทบจากสงครามการค้า

บางกอกแอร์เวย์สกำไร 510 ล้านบาท

ภาพ : bangkokair.com

ทางด้านสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2562 มีรายได้รวม 7,789.9 ล้านบาท กำไรสุทธิ 510.8 ล้านบาท มีจำนวนผู้โดยสารรวม 1.73 ล้านคน อัตราขนส่งผุ้โดยสารเฉลี่ย 74.6% สัดส่วนการขายบัตรโดยสารมาจาก ยุโรป 25% ไทย 23% เอเชีย 20%.

]]>
1230195
แอร์ไลน์แข่งดุ “บางกอกแอร์เวย์ส” เข้าชิง “ดิวตี้ฟรี” หวังปั๊มรายได้เพิ่ม https://positioningmag.com/1218016 Tue, 05 Mar 2019 11:05:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1218016 “ธุรกิจสายการบิน” ถือเป็นตลาดที่มีการแข่งขันรุนแรง โดยเฉพาะการจัดโปรโมชั่นราคาตั๋วโดยสาร การปรับตัวของราคาน้ำมันในตลาดโลก ที่ส่งผลให้มีต้นทุนเพิ่มและอัตราทำกำไรต่ำ ปี 2561 สายการบินส่วนใหญ่จึงมีรายได้และกำไร “ลดลง” แนวทางการปรับตัวจึงมองหาการลงทุนธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมีผลตอบแทนสูง เพื่อโอกาสทำกำไรเพิ่มขึ้น นอกจากธุรกิจสายการบิน

“บางกอกแอร์เวย์ส” เป็นอีกหนึ่งในสายการบินที่ผลประกอบการปี 2561 ลดลง โดยรายได้รวมอยู่ที่ 27,943 ล้านบาท ลดลง 1.9% กำไรสุทธิ 263 ล้านบาท ลดลง 68.8%

พุฒิพงษ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA กล่าวว่าปัจจุบันรายได้หลักของบริษัทมาจากธุรกิจสายการบิน  “บางกอกแอร์เวย์ส” หรือคิดเป็นสัดส่วน 74% แต่เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง จากการจัดโปรโมชั่นตั๋วโดยสารของสายการบินโลว์คอสต์ ทำให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (yield) เติบโตช้า ปี 2562 บริษัทตั้งเป้าการเติบโตไว้เพียง 1% เมื่อเทียบ ปี 2561 ที่ขยายตัวในอัตรา 0.5% ขณะที่ก่อนหน้านั้นปี 2559 ยิลด์ติบลบ 9% จากการเล่นสงครามราคาของสายการบินต่างๆ

ประมูลดิวตี้ฟรีหนุนรายได้

แนวทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท จึงมองหาโอกาสการลงทุนใน “ธุรกิจที่ไม่ใช่สายการบิน” (non- airline) โดยบริษัทจะเข้าประมูลสัมปทานจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี (Duty Free) และพื้นที่เชิงพาณิชย์ของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ที่กำลังหมดสัญญาสัมปทานในปี 2563 ในสนามบินสุวรรณภูมิ ภูเก็ต หาดใหญ่ และเชียงใหม่

สำหรับความคืบหน้าล่าสุด ทอท. คาดว่าจะเปิดจำหน่าย “ทีโออาร์” ดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ในเดือนมีนาคม 2562 คาดว่าจะได้ผู้ชนะประมูลในเดือนกันยายน 2562 โดยผู้ชนะประมูลมีเวลา 1 ปี ในการลงทุน ก่อนหมดสัญญาสัมปทานกับรายเดิม

ปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดเห็นทีโออาร์การประมูลดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ว่าจะออกมาในรูปแบบใด แต่บริษัทมีความพร้อมในการร่วมประมูลทุกเงื่อนไข โดยมีพันธมิตร 2 ราย จากเอเชียและยุโรป ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารดิวตี้ฟรีและพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่จะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้

“การเข้าร่วมประมูลดิวตี้ฟรี เพื่อต้องการขยายธุรกิจที่มีอัตราผลตอบแทนสูงเพิ่มขึ้น วางเป้าหมายรายได้จากธุรกิจไม่ใช่สายการบินสัดส่วนเพิ่มเป็น 40-50% ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ 26%”

นอกจากนี้บริษัทได้จับมือกับพันธมิตร 5-6 ราย เพื่อเข้าประมูลสัมปทานพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นเมืองการบิน ซึ่งจะเปิดยื่นซองในวันที่ 21 มีนาคมนี้ ทั้งโครงการระยะเวลาสัญญา 50 ปี ซึ่งจะมีมูลค่าการลงทุนราว 2-3 แสนล้านบาท แต่ช่วง 10 ปี ประเมินการลงทุน 1 แสนล้านบาท บริษัทจะเป็นผู้ถือหุ้นหลัก 30% ในบริษัทที่เข้าร่วมประมูลกับพันธมิตร โดยเตรียมเงินลงทุนระยะแรกไว้ 30,000 ล้านบาท

ธุรกิจเกี่ยวข้องแนวโน้มโต

ปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง อาทิ ธุรกิจครัวการบินกรุงเทพ (Bangkok Air catering – BAC) มีส่วนแบ่งการตลาด 25% ลูกค้า 20 สายการบิน, ครัวการบินกรุงเทพภูเก็ต มีลูกค้า 12 ราย และกูร์เมท์ พรีโม่ มีลูกค้า 12 ราย

ปีนี้ ครัวการบินกรุงเทพ เตรียมเปิดเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง คือ ครัวการบินกรุงเทพ ที่สนามบินเชียงใหม่ในไตรมาส 2 และธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งปัจจุบันให้บริการร้านอาหาร Brasserie 9 ร้านอาหารฝรั่งเศสแบบดั้งเดิม ร้านอาหาร Al Saray ร้านอาหารเลบานีสและอาหารอินเดีย ปีนี้มีแผนจะเปิดให้บริการร้านอาหารเรือนนพเก้า อาหารไทยตำรับชาววังเพิ่มเติมอีก 1 แห่ง

ด้านธุรกิจบริการภาคพื้น บริษัทการบินกรุงเทพเวิลด์ ไวด์ ไฟล์ท เซอร์วิส จำกัด (BFS Ground) ปี 2561 มีส่วนแบ่งการตลาด 56% มีลูกค้าเพิ่มขึ้น 5 ราย รวมเป็น 79 สายการบิน และบริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด (BFS Cargo) มีส่วนแบ่งการตลาด  49% มีลูกค้าเพิ่ม 1 ราย รวมเป็น 69 สายการบิน

ปี 62 รายได้โต 3.5%

พุฒิพงษ์ กล่าวว่าปี 2562 ตั้งเป้ารายได้เติบโต 3.5% จำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 3% มีจำนวน 6.16 ล้านคน และอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Load Factor) อยู่ที่ 70% โดยกลยุทธ์ในธุรกิจการบินจะเปิดเส้นทางบินใหม่ที่ยังไม่มีสายการบินอื่นให้บริการ 3 เส้นทาง โดยใช้กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิ) สมุย และเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางทางการบิน ครอบคลุมเมืองสำคัญหรือแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของภูมิภาคเอเชีย

เส้นทางบินแรกเปิดให้บริการแล้ว คือ กรุงเทพฯ-คัมรัน (เวียดนาม) และเตรียมเปิดอีก 2 เส้นทางบิน เชื่อมจากจังหวัดเชียงใหม่ คือ เชียงใหม่-กระบี่ (เที่ยวเดียว) เริ่มวันที่ 31 มีนาคม 2562 และ เชียงใหม่-หลวงพระบาง (สปป. ลาว) เริ่มให้บริการ 2 เมษายน 2562 นอกจากนี้ รวมทั้งเพิ่มความถี่เที่ยวบินในเส้นทางที่ได้รับความนิยม อาทิ กรุงเทพฯ-ดานัง (เวียดนาม) จาก 7 เที่ยวบิน เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และกระบี่-กรุงเทพฯ จาก 21 เที่ยวต่อสัปดาห์เป็น 28 เที่ยวต่อสัปดาห์ ปัจจุบันบางกอกแอร์เวย์สมีความแข็งแกร่งในเส้นทางเชื่อม CLMV และจะมุ่งขยายตลาดนี้ต่อเนื่อง

ลงทุนเครื่องบิน-สนามบินสุโขทัย

ปีนี้วางแผนลงทุน 1,800 ล้านบาท ด้านอากาศยาน อาทิ การจัดซื้อเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72-600 จำนวน 2 ลำ โดยมีแผนรับเครื่องบินในไตรมาส 2, การจัดซื้ออะไหล่เครื่องบินสำรองเพื่อรองรับการซ่อมบำรุง, การปรับปรุงสภาพภายใน (Cabin Refurbishment) ของเครื่องบินแบบแอร์บัสระยะเวลา 2 ปี (2562-2563)

นอกจากนี้มีแผนลงทุนในโครงการขยายและพัฒนาสนามบินสุโขทัย 958 ล้านบาท เพื่อสร้างโรงซ่อมบำรุงอากาศยานและพัฒนาพื้นที่ภายในสนามบินเพิ่มเติม รวมทั้งแผนขยายและพัฒนาสนามบินตราด โดยจะพัฒนาพื้นที่สนามบินบางส่วนและขยายทางวิ่งของเครื่องบินเพิ่มเติม มูลค่า 334 ล้านบาท

การลงทุนพัฒนาระบบงานด้านไอที 193 ล้านบาท ประกอบไปด้วย การเปลี่ยนระบบให้บริการผู้โดยสารเพื่อใช้ในการสำรองที่นั่ง (PSS) เป็นระบบอะมาดิอุส (Amadeus) และการเปลี่ยนระบบสนับสนุนการปฏิบัติการบิน

ลุยตลาด OTA 

วรงค์ อิศรเสนา ณ อยุธยา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการขาย บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีนี้จะเน้นการขายบัตรโดยสารผ่านระบบออนไลน์มากขึ้น โดยเฉพาะช่องทางตัวแทนจำหน่ายออนไลน์ (Online Travel Agency หรือ OTA) จากทั่วโลก อาทิ TripAdvisor, Expedia, eDreams, make my trip, Skyscanner เป็นต้น รวมแล้วกว่า 20 ราย หลังจากปีที่ผ่านมาสายการบินได้พัฒนาระบบในองค์กรเพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มการขายดิจิทัล รองรับพฤติกรรมการซื้อบัตรโดยสารของลูกค้าปัจจุบัน

ปัจจุบันสัดส่วนการขายบัตรโดยสารยังมาจากช่องทางเอเย่นต์ หรือเทรดดิชันนอล 80% ช่องทางออนไลน์หรือเว็บไซต์ของบางกอกแอร์เวย์สเอง 20% หลังจากปีนี้ขยายช่องทาง OTA วางเป้าหมายสัดส่วนยอดขายจากช่องทางดังกล่าวไว้ 10%.

]]>
1218016
“บางกอกแอร์เวย์ส” ยังไม่เว้น! กระทบทั้งรายได้และกำไร “ลดลง” ทั้งคู่ https://positioningmag.com/1217472 Mon, 04 Mar 2019 05:04:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1217472 จากผลประกอบการของสายการบินที่ทยอยแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่างมีตัวเลขที่ลดลงกันถ้วนหน้าไม่เว้นแม้แต่บางกอกแอร์เวย์สที่แม้จะทำกำไรมาตลอด แต่ปี 2561 ทั้งรายได้และกำไรต่างก็ลดลงทั้งคู่

บางกอกแอร์เวย์ส รายงานผลการดำเนินงานสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2561 มีรายได้รวม 27,943.6 ล้านบาท ลดลง 1.9% จากปี 2560 ที่มีรายได้ 28,493.3 ล้านบาท หรือหายไป 549.7 ล้านบาท

แม้รายได้จากการดำเนินงานจะเพิ่มขึ้น 2.3% หรือ 611.1 ล้านบาท จาก 26,199.4 ล้านบาท เป็น 26,810.5 ล้านบาท หากมีค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้น 1.4% จาก 26,151.2 ล้านบาท เป็น 26,515.3 ล้านบาท กำไรสุทธิทำได้ 263.7 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าจำนวน 582.6 ล้านบาท หรือ 68.8%

บางกอกแอร์เวย์สแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 ขาหลัก ดังนี้

ธุรกิจสายการบินแข่งแรง นักท่องเที่ยวจีนหด

ธุรกิจสายการบินถือเป็นรายได้หลักด้วยสัดส่วน 73.3% ปีที่ผ่านมาทำรายได้ 20,475.4 ลดลง 0.1% หรือ 15.1 ล้านบาท เนื่องจากผลกระทบจากการแข่งขันในตลาดที่รุนแรงมากขึ้น ส่งผลให้ราคาบัตรโดยสายเฉลี่ยลดลง 0.1%

รายได้จากเที่ยวบินประจำลดลง 0.2% เนื่องจากค่าเฉลี่ยของเส้นทางบินภายในประเทศลดลง 8% และจำนวนผู้โดยสารของเส้นทางบินภายในประเทศลดลง 2.7% จาก 4,254.8 พันคน เหลือ 4,141.6 พันคน

นอกจากนี้รายได้จากต่างประเทศลดลง 1.4% แม้จำนวนผู้โดยสายจะเพิ่มขึ้นจาก 1,689.7 พันคน เป็น 1,811.0 พันคนก็ตาม หลักๆ ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจภายในประเทศจีนมีการชะลอตัว และผลกระจากอุบัติเหตุเรือโดยสารนักท่องเที่ยวจีนล่มในจังหวัดภูเก็ต จำนวนนักท่องเที่ยวจีนลดลงในเดือนกรกฎาคมพฤศจิกายน 12%

ส่งผลให้ต้องปรับลดเส้นทางสมุยฉงชิ่ง จาก 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์เป็น 1 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และยกเลิกเที่ยวบินในเส้นทางสมุย – กวางโจว ที่เคยทำการบิน 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561

อย่างไรก็ตาม ยังได้จำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินในกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ เพิ่มจำนวนเที่ยวบินในเส้นทางกรุงเทพเวียงจันทน์ จาก 7 เป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์, กรุงเทพมัณฑะเลย์ จาก 7 เป็น 11 เที่ยวบินต่อสัปดาห์, กรุงเทพเกาะฟูโกว๊ก จาก 4 เป็น 7 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ และได้เปิดเส้นทางบินใหม่ เชียงใหม่ฮานอย จาก 7 เป็น 11 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ตั้งแต่เดือนมีนาคม

รวมไปถึงรายได้แบบเช่าเหมาลำได้เพิ่มขึ้น

ธุรกิจสนามบินโต 0.8%

บางกอกแอร์เวย์สเป็นเจ้าของและดำเนินกิจการสนามบิน 3 สนามบินได้แก่ ได้แก่ สนามบินสมุย สนามบินสุโขทัย และสนามบินตราด ปี 2561 มีรายได้ 598.1 ล้านบาท โต 0.8% หรือ 4.9 ล้านบาท จากปีก่อนที่ทำได้ 593.2 ล้านบาท โดยธุรกิจนนี้คิดเป็นสัดส่วน 2.1% ของรายได้รวม

รายได้ของธุรกิจสนามบินมาจากจำนวนเที่ยวบินขาเข้าและขาออก รวมถึงรายได้จากค่าบริการผู้โดยสารซึ่งได้รับจากผู้โดยสารขาออก โดยมาจากสนามบินสมุยเป็นหลัก

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องโต 6%

ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบินและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีสัดส่วนรายได้ 14.6% โดยมาจาก 3 ขาหลัก ได้แก่ การให้บริการภาคพื้นดิน การให้บริการอาหารบนเที่ยวบิน และการให้บริการคลังสินค้าระหว่างประเทศ ให้กับสารการบินตนเองและสายการบินอื่นๆ

ปี 2561 มีรายได้เพิ่มขึ้น 6.1% จาก 3,847.8 ล้านบาท เป็น 4,082.3 ล้านบาท หลักๆ มาจากการเติบโตด้านจำนวนของเที่ยวบินที่สนามบินสุวรรณภูมิ และการเพิ่มขึ้นของลูกค้าสายการบินใหม่ระหว่างปีถึง 5 สายการบิน รวมแล้วมีจำนวนสายการบินลูกค้า 79 สายการบิน

รวมไปถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน ที่มาจาก บริษัท กูร์เมท์ พรีโม่ จำกัด และ บริษัท มอร์แดนฟรี จำกัด

รายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจลดฮวบ 21.7%

ขาสุดท้ายเป็นรายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจ โดยเป็นรายได้อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบิน ธุรกิจสนามบิน และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน โดยปี 2561 มีรายได้จากส่วนนี้ 2,787.8 ล้านบาท ลดฮวบ 21.7% หรือ 774 ล้านบาท จากปีก่อนที่เคยทำได้ 3,561.8 ล้านบาท

บางกอกแอร์เวย์ส ให้เหตุผลที่ลดมาจากผลกำไรจากการขายเงินลงทุน ซึ่งลดลงจำนวน 1,353.4 ล้านบาท หรือ 77.9% แม้ที่เหลือจะเติบโตก็ไม่ช่วย ทั้ง กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเติบโตก้าวกระโดด 195.8% จาก 55.7 ล้านบาทเป็น 164.7 ล้านบาท, เงินปันผลรับเพิ่ม 7.4% จาก 389.6 ล้านบาทเป็น 418.6 ล้านบาท

และยังมีรายได้อื่นๆ ที่ประกอบด้วย รายได้ค่าธรรมเนียมบัตรโดยสาร ค่าสัมภาระส่วนเกิน รายได้จากบัตรโดยสารที่หมดอายุ ซึ่งเกิดซึ่งเกิดจากการแปรผันของจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้น และยังมีรายได้จากค่าเช่าพื้นที่ โต 32% จาก 1,378.3 ล้านบาท เป็น 1,819.7 ล้านบาท.

]]>
1217472