บางกอกแอร์เวย์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 21 Jan 2019 03:10:56 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ต้องรวยแค่ไหน? ถึงจ่ายค่าปรับ 500 ล้านบาทแบบมีเงินทอนได้ https://positioningmag.com/1209258 Mon, 21 Jan 2019 00:57:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1209258 ดูเหมือนว่ากระแสข่าวค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะดูบางเบาไปชั่วขณะ เมื่ออภิมหาเศรษฐีไทยประจำปี 2561 อันดับที่ 8 จากการจัดอันดับของฟอร์บส์นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถถูกสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) ปรับไปเบาๆ 500 ล้านบาทแบบมีเงินทอน

โทษฐานแอบปั่นหุ้นบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวย์ในพอร์ตของตัวเองในช่วงรอยต่อระหว่างปี 2558-2559

ค่าฝุ่นเกินมาตรฐานที่ทำให้อากาศ ขมุกขมัว ในเวลานี้ ยังไม่สามารถสู้กับความ คลุมเครือ ของหุ้นบริษัทการบินฯ ที่หมอเสริฐและลูกสาวเล่นโยนหุ้นกันไปมา จนเข้าข่าย อำพราง” ทำให้บรรดาแมงเม่าเข้าใจผิดว่านี่เป็นการขยับราคาแบบค่อยเป็นค่อยไป (organic growth) หรือว่าโตแบบติดสปริง (aggressive growth) กันแน่หว่า? ในช่วง 2 ปีก่อนหน้านี้

โดยผลจากการปั่นราคาหุ้นบริษัทการบินฯ ในช่วงนั้นมีบันทึกไว้ว่า ราคาได้ขยับจาก 20.50 บาทในวันที่ 13 .. 2558 ไปถึง 24.88 บาท ในวันที่ 12 .. 2559 หรือเพิ่มขึ้น 4.38 บาท

และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองหมอเสริฐได้ช้อนซื้อหุ้นบริษัทการบินฯ ที่ตัวเองเป็นเจ้าของกิจการรวม 24 ครั้ง คิดเป็นตัวเลขกลมๆ 2,000 ล้านบาท

ผ่านมาสองปีเขาต้องควักเพิ่มอีก 500 ล้านบาท แบบมีเงินทอน ให้ ก... นี่อาจถือเป็นของขวัญปีใหม่ 2562 ในช่วงเทศกาลส่งความสุขเดือนแรกของปีที่ยังไม่ทันอำลา

ต้องรวยแค่ไหน? ถึงจ่ายค่าปรับ 500 ล้านบาท ได้แบบไม่สะเทือนซาง

คำตอบง่ายๆ คือต้องรวยเหนาะๆ ให้ได้แบบ 50 อันดับอภิมหาเศรษฐีไทยที่ถูกจัดอันดับทุกปี แต่จะหาเศรษฐีที่รวยอมตะ และรวยเอาๆ แบบหมอเสริฐมีไม่มากนัก

ปี 2561 เขามีทรัพย์สิน 3.35 พันล้านเหรียญ (1.04 แสนล้านบาท) รวยอันดับที่ 8 จากการจัดอันดับของฟอร์บส์ แถมพ่วงตำแหน่งแชมป์เศรษฐีหุ้นไทยปี 2561 ติดต่อกันเป็นปีที่ 6 ถือครองหุ้นมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับ 1 รวม 77,129.32 ล้านบาท รวยเพิ่มขึ้น 13,602.02 ล้านบาท

ความรวยอมตะของหมอเสริฐ มาจากหุ้น 4 กองคือ

  1. บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) หรือโรงพยาบาลกรุงเทพ โดยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ในสัดส่วน 18.47% รวมมูลค่า 73,786.86 ล้านบาท
  2. บมจ.การบินกรุงเทพ (BA) เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส 10.61% มูลค่า 2,985.22 ล้านบาท
  3. บมจ.โรงพยาบาลนนทเวช (NTV) 0.79% มูลค่า 75.48 ล้านบาท
  4. กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย (SPF) 24.60% มูลค่า 281.75 ล้านบาท

ทรัพย์สิน 4 กองรวมกันคิดเป็นตัวเลขกลมๆ 100,000 ล้านบาท หมอเสริฐต้องจ่ายค่าปรับจากการปั่นหุ้นเที่ยวนี้ 500 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนที่ต้องจ่ายออกไป 0.5% จากทรัพย์สินทั้งหมด

เป็นที่น่าสังเกตว่าการปั่นหุ้นในครั้งนั้นเกิดขึ้นหลังจากบมจ.การบินกรุงเทพ (BA) หรือบางกอกแอร์เวย์สจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เพียงปีเดียว โดยหลังจาก BA เข้าตลาดเดือน พ.. 2557 พอถึงเดือน พ.. 2558 ถึง ม.. 2559 ฤดูกาลปั่นหุ้นก็เริ่มต้นขึ้น

หุ้น BA ติดปีกความมั่งคั่งให้คนในตระกูลปราสาททองโอสถ อย่างเป็นล่ำเป็นสัน ขณะเดียวกัน บางกอกแอร์เวย์สก็ไม่ใช่แค่เครื่องบิน แต่มันเป็นความหลงใหล (passion) ของหมอเสริฐจนอยากครอบครอง และทุกวันนี้บูติกแอร์ไลน์ยี่ห้อนี้ก็ไม่ทำให้เขาผิดหวังจะมี เสียรังวัด บ้างก็ตอนจ่ายค่าปรับนี่ล่ะ!

กว่าจะเป็นตระกูลอีลีทปราสาททองโอสถ

นามสกุล ปราสาททองโอสถ ถือกำเนิดขึ้นพร้อมๆ กับ การผลิตและจำหน่าย ยาหอมปราสาททอง ยาหอมอินทรแท่งทอง ยาข่าหอมปราสาททอง ในรุ่นของคุณพ่อ ทองอยู่ ช้างบุญชู

ยุคนั้นมีกิจการเวชกรรมโอสถผุดขึ้นหลายรายแต่ไม่มีรายไหนสามารถ อัพเลเวล” จากผู้ปรุงยา ขายยา มาเป็นสถานพยาบาลเครือข่ายทรงพลังได้อย่างตระกูลปราสาททองโอสถ ภายใต้การบุกเบิกของหมอเสริฐ

ปราเสริฐเรียนจบด้านศัลยแพทย์จากศิริราช ถ้าเป็นคนอื่นนี่ถือเป็นท็อปฟอร์มของอาชีพแล้วแต่ไม่ใช่กับผู้ชายคนนี้ที่มีแรงขับในใจอยากทำการค้ามากกว่าผ่าตัดคน เขาเริ่มต้นจับงานก่อสร้างครั้งแรกในนามบริษัท สหกล เอ็นยิเนียริ่ง จำกัด และกำไรก็ไหลมาเทมามหาศาลเมื่อบริษัทนี้เป็นหัวเรือหลักในการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภายุคที่สหรัฐอเมริกามีโครงการจัดตั้งฐานทัพในเมืองไทย

หลังจากนั้นสหกลเอ็นยิเนียริ่งก็แตกกิ่งก้านธุรกิจออกไปสุดลูกหูลูกตา ทั้งขนส่ง พลังงานและการบินยุคแรกๆ ก่อนจะเป็นบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด เคยใช้ชื่อว่าบริษัท สหกล แอร์ จำกัด มาก่อน พอเข้าสู่ปี 2529 เมืองไทยก็ได้รู้จักกับ สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส อย่างเป็นทางการ

ทุกวันนี้มีคนไม่น้อยที่รู้ว่าบางกอกแอร์เวย์สกับโรงพยาบาลกรุงเทพมีเจ้าของคนเดียวกัน และ ข้าวต้มมัดของบางกอกแอร์เวย์สก็อร่อยจนหยุดไม่ได้จริงๆ

]]>
1209258
รับมือพายุโซนร้อนปาบึก บางกอกแอร์เวย์สยกเลิกทุกเที่ยวบินเกาะสมุย 4 ม.ค. https://positioningmag.com/1206346 Thu, 03 Jan 2019 09:10:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1206346 ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศแจ้งเตือนถึงพายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่เคลื่อนตัวเข้าปกคลุมภาคใต้ของประเทศไทย โดยในช่วงระหว่างวันที่ 4-5 มกราคม 2562 นั้นจะมีคลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณอ่าวไทย 

จากสถานการณ์ดังกล่าว ทางสายการบินบางกอกแอร์เวย์สได้คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นสำคัญ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องประกาศยกเลิกทุกเที่ยวบินของสายการบินฯ ที่เข้าและออกจากท่าอากาศยานเกาะสมุย .สุราษฎร์ธานี ของวันที่ 4 มกราคม 2562 

ผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกเที่ยวบิน ของวันที่ 4 มกราคม 2562 สามารถติดต่อเพื่อขอเปลี่ยนแปลงการเดินทางได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถตรวจสอบสถานะเที่ยวบินได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ศูนย์บริการลูกค้า โทร 1771 หรือศูนย์บริการให้ความช่วยเหลือ โทร. 02-270-6698  

ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เพิ่มเติม ทางสายการบินฯ จะแจ้งให้ทราบต่อไป.

]]>
1206346
รูดปรื๊ดแข่งเดือด! KTC ปัดฝุ่นบัตร Co-Brand บางกอกแอร์เวย์ส หวังเทกออฟสู่ลูกค้ากระเป๋าหนัก https://positioningmag.com/1198597 Tue, 20 Nov 2018 23:08:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1198597 Thanatkit

เมื่อประเมินแล้วว่า ธุรกิจท่องเที่ยวยังคงคึกคัก KTC จึงตัดสินใจหยิบบัตร Co-Brand บางกอกแอร์เวย์ส มาปัดฝุ่นใหม่ เพื่ออัพเกรดเข้าหาลูกค้ากระเป๋าหนัก

ข้อมูลจาก KTC ระบุว่า “หมวดการท่องเที่ยว” มีการใช้จ่ายเติบโตมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในปีนี้ ซึ่งหมวดนี้เดิม KTC มีบัตรเครดิต Co-Brand ที่จับมือกับ “บางกอกแอร์เวย์ส” อยู่แล้ว ใน 2 รูปแบบคือ เคทีซีบางกอกแอร์เวย์ส ไทเทเนียม มาสเตอร์การ์ด และ เคทีซีบางกอกแอร์เวย์ส วีซ่า แพลทินัม

ทั้งคู่ร่วมมือกันมานานกว่า 13 ปี แต่ยังมีฐานผู้ใช้บัตรเพียง 42,000 ราย Active ประมาณ 70% มียอดใช้จ่ายผ่านบัตรประมาณ 11,000 บาท/คน/เดือน ถือว่าน้อยกว่าภาพรวมของทั้งพอร์ตที่มียอดใช้จ่ายบัตรประมาณ 12,500 บาท/คน/เดือน

เนื่องจากก่อนหน้านี้ไม่ได้มีการทำการตลาดมากมายนัก มีเพียงโปรโมโมชั่นส่วนสิทธิประโยชน์อย่างที่บัตรเครดิต Co-Brand ควรจะมีมากกว่าบัตรปกติ ก็ให้ส่วนลด 10% และแลกคะแนนสะสมไปยัง “ฟลายเออร์โบนัส” ระบบ CRM ของบางกอกแอร์เวย์สเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม บัตรนี้ยังมีความน่าสนใจอยู่ที่ผู้ถือบัตรใช้จ่ายหมวดท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วน 20% มากกว่าผู้ถือบัตรปรกติที่ใช้จ่ายราว 10% ทำให้ทั้งคู่ตัดสินใจ Refresh บัตรใหม่ โดยเติมหน้าบัตรใหม่อีก 5 ใบ ครอบคลุมทุกเครือข่ายพันธมิตร ทั้งมาสเตอร์การ์ด วีซ่าและเจซีบี พร้อมปรับดีไซน์ใหม่เพิ่มกลิ่นอายของความเป็นบูทีคเข้าไป

ไฮไลต์สำคัญอยู่ที่สิทธิประโยชน์ที่เติมเข้าไปเพื่อดึงดูดฐานลูกค้าให้กลับมาสนใจบัตรเครดิต Co-Brand อีกครั้ง เช่น คะแนน KTC FOREVER สูงสุด 4 เท่าแลกเป็นคะแนนสะสมฟลายเออร์โบนัสเพียง 1.5:1 คะแนน, สิทธิเข้าห้องรับรอง Blue Ribbon Club Lounge สูงสุด 4 ครั้ง เมื่อบินกับบางกอกแอร์เวย์ส และรับฟรีน้ำหนักกระเป๋าเดินทางเพิ่ม 10 กิโลกรัม

พิทยาวร ปัญญาสกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ธุรกิจบัตรเครดิต “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชนบอกว่า

การทำบัตร Co-Brand จะประสบความสำเร็จได้ ต้องอัดสิทธิประโยชน์เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคมาสมัคร เราก็คาดหวังว่าเมื่อถึงสิ้นปี 2019 จะมีบัตรใบใหม่เพิ่มอีก 30,000 ใบ Active เพิ่มเป็น 80% และยอดใช้จ่ายต่อบัตรเพิ่ม 15% ที่สำคัญยังจะช่วยให้ KTC สามารถขยายไปหากลุ่มลูกค้ากระเป๋าหนัก มีรายได้มากกว่า 50,000 บาทอีกด้วย”

สำหรับภาพรวมของธุรกิจบัตรเครดิตในปีนี้ พิทยาฉายภาพ ยังมีการแข่งขันที่รุนแรงอย่างมาก ทุกค่ายต่างทุ่มเม็ดเงินเพื่อชิงฐานลูกค้าให้เติบโต กลยุทธ์ของ KTC จะเน้นทำงานรวมกับพันธมิตร ไปที่ไหนต้องเจอ KTC อยู่ที่นั่น ขณะเดียวกันก็มองหาลู่ทางใหม่ๆ เช่น กลุ่มแท็กซี่ ร้านกาแฟต่างๆ โดยต้องการเข้ามาแข่งกับเงินสด

ปัจจุบัน KTC มีฐานบัตรเครดิตทั้งหมด 2.3 ล้านใบ ปี 2018 คาดว่าจะมีบัตรใหม่ 2.8 แสนใบ ซึ่งอาจจะต่ำกว่าเป้าที่เคยตั้งไว้ที่ 3-4 แสนใบ เนื่องจากมีการเข้มงวดในการอนุมัติยอดบัตรใหม่มากขึ้น ตอนนี้ยอดอนุมัติ (Approve) อยู่ที่ 47-48%

ด้านยอดใช้จ่ายผ่านบัตร คาดทั้งปีเติบโตราว 10% ถือว่าต่ำกว่าเป้าที่ต้องการ 15% เนื่องจากตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา กำลังซื้อไม่ได้ดีมากนัก แม้ว่าในเดือนสิงหาคมและกันยายนจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น จากการอัดฉีดโปรโมชั่นก็ตาม แต่ก็คาดว่าปีหน้ายอดใช้จ่ายน่าจะกลับมาโต 15% ได้.

]]>
1198597
สายการบินกระอัก นกแอร์ ขาดทุน เหตุราคาน้ำมันเพิ่ม-ทัวร์จีนลดลง https://positioningmag.com/1197658 Thu, 15 Nov 2018 09:00:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1197658 หลังจากที่สายการบินทยอยแจ้งผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2561 ล่าสุดเป็นคิวของสายการบินนกแอร์ ต้องขาดทุน 974 ล้านบาท โดยสาเหตุหลักมาจากต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานที่เพิ่มขึ้น 29% ฉุดกำไรไตรมาส 3 ปีนี้

ประเวช องอาจสิทธิกุล

ประเวช องอาจสิทธิกุล รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สายการบินนกแอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NOK เปิดเผยว่า บริษัทยังคงเดินตามแผนลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันอากาศยานเครื่องบิน ซึ่งปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 88.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้นจาก 63.56 ดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้บริษัทมีต้นทุนเชื้อเพลิงอยู่ที่ 1,132 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ทำให้ต้นทุนการดำเนินงานในไตรมาสนี้ยังคงสูงกว่ารายได้

อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2561 บริษัทมีค่าใช้จ่ายรวมจำนวน 3,775 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากค่าเงินบาทที่แข็งตัว และค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องบินที่ลดลงจากการเปลี่ยนแผนเส้นทางการบินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขณะที่รายได้รวมของบริษัทมีจำนวน 2,864 ล้านบาท ลดลง 12% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นปกติในไตรมาสที่ 3 เป็นช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว การลดลงของนักท่องเที่ยวจีน การแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมการบินที่รุนแรง ส่งผลรายได้จากค่าโดยสารลดลง 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้จากการให้บริการเพิ่มขึ้น 8% มีอัตราการเจริญเติบโตในส่วนการบรรทุกผู้โดยสารที่ร้อยละ 87 เพิ่มขึ้น 3 จุด

บางกอกแอร์เวย์ส รายได้ Q3 เพิ่ม 2.8%

ส่วนบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เจ้าของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส (BA) ประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทฯ งวด 9 เดือนของปี 2561 โดยบริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 21,067.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560

พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ

พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “รายได้รวมของบริษัทฯ ในไตรมาส 3 อยู่ที่ 7,066.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลมาจากธุรกิจสนามบินและกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรายได้ที่ไม่ได้แบ่งตามสายธุรกิจมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 4.0% และ 24.8% ตามลำดับ

การเติบโตของรายได้ไตรมาสนี้ มาจากเงินปันผลที่บริษัทฯ ได้รับจากเงินลงทุนในบมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ (BDMS) และมีรายได้จากธุรกิจการบินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 0.4 อันเป็นผลมาจากเส้นทางบินภายในประเทศ (ยกเว้นเส้นทางบินเข้า-ออกสมุย)

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2561 บริษัทฯ มีอัตราบรรทุกโดยสารเฉลี่ย (Load Factor) 66.1% และมีรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารต่อหน่วย (Passenger Yield) อยู่ที่ 4.65 บาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ในอัตรา 7.2% ส่งผลให้ผลประกอบการงวด 9 เดือนแรกของปี 2561 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 21,067.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2560

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2561 บริษัทฯ มีนโยบายจัดการลดต้นทุนและการวางกลยุทธ์ในการจัดการเที่ยวบิน ให้อัตราบรรทุกโดยสารเฉลี่ย (Load Factor) ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 67.8 เป็นร้อยละ 68.8 และ มีรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารต่อหน่วย (Passenger Yield) อยู่ที่ 4.55 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 0.9 และมีจำนวนผู้โดยสารที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 (4.483.4 ล้านคน) ทั้งนี้เป็นผลมาจากสัดส่วนจุดขายบัตรโดยสาร (Point-of-Sale) ในต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นร้อยละ10.0 โดยหลักมาจากประเทศในโซนยุโรปและเอเชีย (ยกเว้นประเทศไทย) โดยในทวีปเอเชียจำนวนผู้โดยสารส่วนใหญ่มาจากทวีปเอเชียเหนือซึ่งเติบโตขึ้นร้อยละ 20.0″

ในไตรมาส 3 ของปี 2561 ได้รับมอบเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ319 จำนวน 1 ลำ รวมทั้งสิ้น 39 ลำ นอกจากนี้ได้เพิ่มความถี่ของเที่ยวบินในเส้นทางบินระหว่างกรุงเทพฯ-มัณฑะเลย์ (เมียนมา) จากสัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน เพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 11 เที่ยวบิน นอกจากนี้ มีมติจัดตั้งบริษัทย่อยแห่งใหม่ในเดือนกันยายน 2561 เพื่อดำเนินธุรกิจสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน ซึ่งมีทุนจดทะเบียน 10.0 ล้านบาท โดยบริษัท บางกอกแอร์เวย์สโฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 100.0

ก่อนหน้านี้ ไทยแอร์เอเชียประกาศผลประกอบการ 9 เดือนแรกปี 2561 แม้จะมีกำไร 340 ล้าน แต่ไตรมาส 3 ปีนี้ขาดทุนสุทธิ 358 ล้านบาท

โดยมีสาเหตุมาจากราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น 45% และผลกระทบจากการชะลอตัวของยอดนักท่องเที่ยวไตรมาสที่ 3 ปี 2561 ที่ลดลงร้อยละ 8.8 (ข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)

สันติสุข คล่องใช้ยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. เอเชียเอวิเอชั่น (AAV) และ บจ. ไทยแอร์เอเชีย (TAA) กล่าวว่า ผลประกอบการของ AAV (ถือหุ้นใน TAA ร้อยละ 55) ในไตรมาสนี้มีรายได้รวมอยู่ที่ 9,307 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 358 ล้านบาท

ขณะที่ในเก้าเดือนแรกปี 2561 มีรายได้รวม 30,203 ล้านบาท ยังคงมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 340 ล้านบาท

ทั้งนี้ผลประกอบการของไทยแอร์เอเชียไตรมาส 3 ปี 2561 ขาดทุนสุทธิ 656 ล้านบาท ส่วน 9 เดือนแรกปี 2561 มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 611 ล้านบาท

ไทยแอร์เอเชียมีอัตราการขนส่งผู้โดยสารอยู่ที่ร้อยละ 81 มีจำนวนผู้โดยสารอยู่ที่ร้อยละ 5.12 ล้านคน และมีฝูงบินจำนวนทั้งสิ้น 60 ลำ โดยรับมอบเครื่องบินใหม่ 1 ลำในไตรมาสนี้.


ข่าวเกี่ยวเนื่อง

]]>
1197658
สงครามน่านฟ้า อ่วมถ้วนหน้า การบินไทย นกแอร์ ขาดทุน แอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ส กำไรร่วง https://positioningmag.com/1159008 Tue, 27 Feb 2018 00:15:50 +0000 https://positioningmag.com/?p=1159008 ผ่านพ้นปี 2560 ในแบบต้องลุ้นสำหรับไทยแอร์เอเชีย หรือ แอร์เอเชีย  และบางกอกแอร์เวย์ส ที่ยังดีทำกำไรได้ แม้จะกำไรลดลง แต่สำหรับการบินไทย และนกแอร์ เรียกได้ว่ายังกระอัก เพราะยังคงขาดทุน

ในปีที่ผ่านมาธุรกิจการบินได้ปัจจัยบวกเหมือนกัน คือ เศรษฐกิจขยายตัว นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แต่ทุกสายการบินเจอต้นทุนราคาน้ำมันที่แพงขึ้นประมาณ 20% ยิ่งไปกว่านั้น การแข่งขันกันด้านราคาทำให้ส่วนต่างกำไรลดลง

แต่ใครบริหารต้นทุนได้ดีกว่า และโฟกัสตลาดได้ดีกว่า คือได้กำไร

**การบินไทย นกแอร์ ยังสาหัส

การบินไทยจบปี 2560 มีตัวเลขรายได้ถึง 191,946 ล้านบาท แต่ยังคงขาดทุน 2,072 ล้านบาท ขณะที่ปี 2559 มีกำไรสุทธิ 47 ล้านบาท ส่วนนกแอร์ ที่การบินไทยถือหุ้นอยู่นั้น หลังผ่านมรสุมความขัดแย้งภายในจนมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร แต่ปี 2560 นี้ก็ยังขาดทุน 1,825 ล้านบาท แต่สัญญาณน่าจะดีขึ้น เพราะขาดทุนลดลงจากปีก่อนที่ขาดทุน 2,641 ล้านบาท

อาการขาดทุนของการบินไทย ในฐานะสายการบินพรีเมียมของไทย ยังคงมีความเรื้อรังมาจากต้นทุนด้านต่าง และที่ยังคงมีต้นทุนที่ฝังแน่นคือเครื่องบินเก่า 16 ลำ ที่ถูกบันทึกการด้อยค่าเครื่องบิน ที่ปี 2560 คำนวณไว้ได้ 2,721 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 497 ล้านบาท

ตัวเลขที่ขาดทุนนี้ การบินไทยได้แจกเอกสารข่าว ซึ่งเรืออากาศเอก กนก ทองเผือก รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายบริหารงานกฎหมายและบริหารทั่วไป ปฏิบัติงานในหน้าที่รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2560 บริษัทฯ ต้องเผชิญความท้าทายจากราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น และการแข่งขันที่รุนแรง ประกอบกับเครื่องยนต์โรลส์รอยซ์รุ่น TRENT1000 ที่ติดตั้งกับเครื่องบินโบอิ้ง 787-8 ที่บริษัทฯ มีอยู่ในฝูงบิน จำนวน 6 ลำ มีปัญหาจากตัวใบพัดในเครื่องยนต์ (Turbine Blade) ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับสายการบินทั่วโลกที่ใช้เครื่องยนต์รุ่นนี้ ทำให้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบกับการให้บริการและกระทบต่อตารางการบิน ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สูญเสียโอกาสในการหารายได้ตามแผนที่วางไว้

อย่างไรก็ตาม ปีที่แล้วการบินไทยได้เพิ่มศักยภาพฝูงบินโดยรับมอบเครื่องบินใหม่ จำนวน 7 ลำ และปลดระวางเครื่องบินเช่าดำเนินงาน A330-300 จำนวน 2 ลำ ทำให้ฝูงบินของการบินไทย  วันที่ 31 ธันวาคม 2560 มีจำนวน 100 ลำ สูงกว่า สิ้นปีก่อน 5 ลำ 

ส่วนนกแอร์คือการเร่งจัดการบริหารภายใน หลังจากปีที่ผ่านมามีความขัดแย้งกันระหว่างนักบินกับผู้บริหาร จนส่งผลกระทบต่อการให้บริการ ความสามารถในการแข่งขันลดลง

เมื่อปีนี้เผชิญการแข่งขันทั้งสงครามราคาตั๋ว และราคาน้ำมัน ล่าสุดเพิ่งแต่งตั้งนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตซีอีโอ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มาเป็นประธานกรรมการ

**ไทยแอร์เอเชียกวาดตลาดในประเทศ

สำหรับสถานการณ์ของสายการบินไทยแอร์เอเชีย และบางกอกแอร์เวย์สนั้น จากการวางตำแหน่งทางการตลาดอย่างชัดเจน โดยเฉพาะไทยแอร์เอเชีย เน้นบริหารแบบต้นทุนต่ำ และเลือกเส้นทางบินที่มีโอกาสทางการตลาด ทำให้ไทยแอร์เอเชียยิงสงครามราคาได้เต็มที่ ขณะที่บางกอกแอร์เวย์สสร้างภาพลักษณ์สายการบินไม่ใช่โลว์คอสต์แอร์ไลน์ และเลือกเส้นทางบินที่มีนักท่องเที่ยวแน่นอน ทำให้ยังคงมีกำไร แม้จะลดลง

บางกอกแอร์เวย์ส กำไร 787.91 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 55.4% ส่วนไทยแอร์เอเชียกำไร 1,477 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 21%

สิ่งที่ตอกย้ำการรักษาเส้นทางของไทยแอร์เอเชีย ยังสะท้อนให้เห็นจากการได้ส่วนแบ่งการตลาดเส้นทางบินในประเทศไทยมากที่สุด และเติบโตต่อเนื่องทุกปี ซึ่งข้อมูลจากไทยแอร์เอเชียนั้น พบว่า ปี 2560 มีส่วนแบ่งตลาดถึง 31.2% เพิ่มขึ้นจากปี 2559 และ 2558 ที่มีส่วนแบ่ง 29.5% และ 28.5% ตามลำดับ

ขณะที่สายการบินที่ยังขาดทุนอยู่อย่างนกแอร์ และการบินไทย มีส่วนแบ่งในประเทศลดลงเรื่อย จนปี 2560 นกแอร์เหลือ 18.8% และการบินไทยหลือ 8.3%

****บางกอกแอร์เวย์ส ขอบินสูงเป็นโกบอลแบรนด์

ตลาดโลว์คอสต์ในประเทศ ไม่เพียงมีแค่ไทยแอร์เอเชียเท่านั้น ยังมีเวียตเจ็ท กาตาร์แอร์ ไทยสมายล์ นกแอร์ ซึ่งบางกอกแอร์เวย์สไม่ขอเล่นในน่านน้ำสีแดงที่แข่งกันดุเดือด จนเคยสร้างจุดยืนทางการตลาดเป็นสายการบินแนวบูติกแอร์ไลน์ แต่ก็ยังมีส่วนตลาดในประเทศปี 2560 เพียง 10.8% 

ล่าสุดบางกอกแอร์เวย์สประกาศเป็นสายการบินที่ให้บริการเต็มที่แบบ Full Service เรียกได้ว่าถ้าขยับอีกนิดก็เทียบชั้นการบินไทย ที่เป็นทั้ง Full Service และ Premium Airline หาที่ยืนเป็นโกลบอลแบรด์ เพราะที่ผ่านมามีผู้โดยสารต่างชาติใช้บริการถึง 60% 

สำหรับเส้นทางบินนั้น ไม่ได้เน้นเพียงเส้นทางบินในประเทศเท่านั้น แต่จะไปในภูมิภาคนี้มากขึ้น โดยบางเส้นทางที่เปิดใหม่จะมีจุดเริ่มต้นที่หัวเมืองใหญ่ เช่น ภูเก็ตย่างกุ้ง, เชียงใหม่ฮานอย เป็นต้น.

อ่านต่อ : บางกอกแอร์เวย์ส ขอไปเป็น Global Brand

]]>
1159008
บางกอกแอร์เวย์ส ขอบินสูงเป็นโกลบอลแบรนด์ https://positioningmag.com/1158987 Mon, 26 Feb 2018 15:12:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1158987 ปฏิเสธไม่ว่ายุคนี้ “คนไทย” เดินทางท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมากขึ้น และ “สายการบิน” เป็นตัวเลือกลำดับต้น ๆ เพื่อไปให้ถึงจุดหมายปลายทาง (Destination) เพิ่มขึ้น ทำให้สายการบินต้นทุนต่ำ (Low-Cost Airlines) แบรนด์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นทุก ๆ ปี สายการบินเหล่านั้นใช้กลยุทธ์ “ราคา” ห้ำหั่นกันถี่ในหลากหลายเส้นทาง ส่งผลให้สายการบินที่วาง Positioning แบรนด์ในเซ็กเมนต์อื่นกระเทือนไม่น้อย ทั้งฐานลูกค้า รายได้ และกำไร

“บางกอกแอร์เวย์ส” วางภาพของแบรนด์เป็นสายการบินบูทีคแอร์ไลน์ บริการแบบครบวงจร (Full Service) โฟกัสเส้นทางการบินในเอเชียเป็นหลัก แต่ปี 2561 บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวยส์ ซึ่งทำธุรกิจครบ 50 ปี ขอพลิกภาพครั้งสำคัญประกาศ Kick off สร้างแบรนด์ครั้งแรก และมองไกลถึงการเป็นสายการบินระดับโลกหรือ “Global Brand”

ปัจจุบันสายการบินมีลูกค้าใช้บริการกว่า 5 ล้านคนต่อปี เป็นชาวต่างชาติ เช่น ยุโรป ออสเตรเลีย ราว 60% และรู้จักแบรนด์ เมื่อรวมกับแต้มต่อจากนักเดินทางทั่วโลกนับล้านคนเทใจให้แบรนด์จนได้รางวัล “World’s Best Regional Airline” จาก Skytrax เว็บไซต์ผู้บริโภคสาวกด้านการบิน ถือว่าปูทางสู่โลกไว้แล้ว

 “โจทย์การทำ Global Brand เพราะทุกปีเรารับน้องใหม่เรื่อย ๆ ทั้งแอร์เอเชีย นกแอร์ ไทยไลอ้อนแอร์ ไทยเวียตเจ็ท แบรนด์เหล่านั้นมุ่งไปตลาดเดียวกันคือ Low-cost Airlines แต่เราก็ต้องเซ็กเมนต์ตัวเองให้ชัดเพื่อให้ทำการตลาด การโฆษณาโดยไม่ต้องหว่านเม็ดเงินทั่ว แต่ตรงเป้าหมายแค่ 30% ที่เหลือสูญเปล่า” พรต เสตสุวรรณ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายการตลาด BA บอก

++ กีฬา-บันเทิง ปักหมุดแบรนด์บนเวทีโลก

เกมรุกสร้างแบรนด์จะใช้กลยุทธ์ Sport Marketing, Entertainment Marketing จับกลุ่มเป้าหมายที่ใหญ่ขึ้น ประเดิมมีนาคมนี้ ด้วยการเป็นพันธมิตร “สโมสรฟุตบอลดังในลีกยุโรป” ทำกิจกรรมตลาดร่วมกัน การเลือกฟุตบอลเพราะเป็นกีฬายอดนิยมอันดับ 1 ของโลก “ทีมดัง” จะช่วย Reach แบรนด์ เจาะฐานแฟนคลับทั่วโลก สร้างการรับรู้แบรนด์ “บางกอกแอร์เวยส์” ได้เร็วขึ้น

การสร้างแบรนด์ต้องเลือก Truly Global Partner ที่พาเราไปในตลาดโลกได้จริงๆ

แบรนด์ยังเป็นสปอนเซอร์ Local Content การแข่งขันชกมวย THAI FIGHT KING OF MUAY THAI เพราะรายการกีฬาดังกล่าวถูกถ่ายทอดผ่านช่องกีฬาของ Fox และ ESPN ซึ่งมีคนดูหลัก “พันล้านคน” ถือเป็นการซึมซับสร้างการรับรู้ไปทีละสเต็ป

ขณะที่ Entertainment Marketing บางกอกแอร์เวย์สจะผนึก “ผู้สร้างภาพยนตร์ระดับโลก เหตุผลหลัก ๆ เพราะมองโอกาสสร้างการรับรู้แบรนด์ผ่านคอหนังดังระดับบล็อกบัสเตอร์ ฟอร์มดี ๆ มีแฟน ๆ ดูเป็นพันล้านคน แต่จุดแข็งของผู้สร้างหนังไม่ได้มีแค่ฐานคนดู เพราะมีเครือข่ายรายการกีฬาที่เชื่อมโยงกับกลุ่มเป้าหมายสายสปอร์ตด้วย 

ส่วนการวัดผลสำเร็จ ใน 3 ปีแรก จะต้องเห็นผู้บริโภคในประเทศเป้าหมายสำคัญของโลกรู้จักแบรนด์บางกอกแอร์เวย์ส จากปัจจุบันเยอรมัน อังกฤษ Destination เหล่านี้รับรู้แบรนด์ค่อนข้างดี

++โจทย์ในประเทศสร้างแบรนด์เจาะคนรุ่นใหม่

ส่วนการสร้างแบรนด์ในประเทศจะใช้ Music Marketing ดึงศิลปินดังมาแต่งเพลงและมี TVC ให้ผู้โดยสารเล่าประสบการณ์การเดินทางสายการบิน เพื่อสร้าง Engagement กับผู้บริโภค ด้านการทำตลาดยังคงโฟกัสคนรุ่นใหม่ ผ่านแคมเปญ U Fare y Bangkok Airways บัตรโดยสารราคาพิเศษจูงใจนักศึกษา เพราะกลุ่มนี้คือ “ฐานลูกค้าในอนาคต” จึงรีบสร้างประสบการณ์เดินทางให้เกิดขึ้นตั้งแต่อายุยังน้อย

++ลงทุน 2,000 ล้าน รุกธุรกิจไม่ใช่สายการบิน

ปีนี้ BA ยังโฟกัสขยายธุรกิจที่ไม่ใช่สายการบิน (Non-Aero) มากขึ้น เพราะสามารถสร้างผลตอบแทน (Yield) ให้บริษัท “สูงกว่า” ธุรกิจสายการบิน

โดยบริษัทเตรียมงบลงทุน 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1,000 ล้านบาท สร้างโรงซ่อมเครื่องบินสุโขทัย รองรับการตรวจซ่อมเครื่องบินที่ขยายตัวดี รับธุรกิจการบินในเอเชียการเติบโต ส่วนอีก 1,000 ล้านบาท ปรับปรุงสนามบินสมุย เปิดครัวการบินกรุงเทพ สาขาสนามบินเชียงใหม่ เพื่อเปิดให้บริการปี 2562

การแข่งขันของสายการบินมีสูง ต้นทุนขยับขึ้นตลอด ในอนาคตการทำรายได้ให้อยู่ระดับสูงเป็นเรื่องยาก และถ้าทำให้ธุรกิจสายการบินมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น ถือเป็นซูเปอร์แมน การขยาย Non-Aero จึงเป็นโจทย์หนึ่งในการหารายได้ เพราะทุกตัวทำกำไรเป็นกอบเป็นกำไร ให้ผลตอบแทนดีกว่าบริษัทแม่ เพราะมีการเติบโต 10-15%” พุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ BA บอก

ปี 2559 ผลประกอบการของ BA มีรายได้ประมาณ 27,451 ล้านบาท มาจากธุรกิจหลักสายการบินสัดส่วน 77.4% ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2558 อยู่ที่ 78% และปี 2557 อยู่ที่ 80.7% สวนทางกับ Non-Aero เช่น ปี 2559 ธุรกิจบริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส (BSF Ground) มีสัดส่วนรายได้ 7.2% เพิ่มจากปี 2558 อยู่ที่ 6.8% 

ส่วนธุรกิจหลักอย่างสายการบิน มีการเปิดเส้นทางใหม่ทั้งในและต่างประเทศ เช่น เชียงใหม่ -ฮานอย (เวียดนาม), ภูเก็ต-ย่างกุ้ง (เมียนมา), กรุงเทพ-เวียงจันทน์ (ลาว) เพิ่มเป็น 14 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จาก 1 เที่ยวบิน และกรุงเทพ-มัณฑะเลย์ (เมียนมา) เพิ่มเป็น 11 เที่ยวบิน/สัปดาห์ จากวันละ 1 เที่ยวบิน 

รวมถึงเพิ่มเครือข่ายพันธมิตรการบินผ่านการทำข้อตกลงเที่ยวบินร่วม (Code Share Agreement) ในปีนี้อีก 4-6 สายการบิน ปัจจุบันบริษัทมีข้อตกลงบินร่วม 24 สายการบิน  

จากแผนธุรกิจดังกล่าว BA ตั้งเป้ารายได้ในปี 2561 เติบโต 10% มีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้น 7% และอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ย (Cabin Factor) แตะ 70% จากปี 2560 บริษัทมีรายได้รวม 28,493.3 ล้านบาท เติบโต 6.5% มีกำไรสุทธิ 846.4 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 1,768.41 ล้านบาท ส่วนอัตราผู้โดยสารอยู่ที่ 5.944 ล้านคน เติบโต 5%

โดยกำไรที่ลดลง มาจากการปรับภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ทำให้ต้นทุนภาษีพลังงานที่เคยอยู่ระดับจาก 20 สตางค์ เพิ่มเป็น 5 บาทต่อลิตร.

]]>
1158987