พานาโซนิค – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 12 Sep 2024 13:36:23 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 แยกทาง! “Panasonic” จบสัมพันธ์สปอนเซอร์ 37 ปีใน “โอลิมปิก” เหตุไม่ตอบโจทย์สินค้าอีกต่อไป https://positioningmag.com/1489868 Thu, 12 Sep 2024 11:22:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489868 “Panasonic” แถลงยุติข้อตกลงการเป็นสปอนเซอร์ให้กับมหกรรมกีฬา “โอลิมปิก” หลังจากสนับสนุนมายาวนานถึง 37 ปี เหตุเพราะบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงสินค้าหลักไปมุ่งเน้น “แบต  เตอรี่” รถอีวี แทนผลิตภัณฑ์​ “หน้าจอ-เครื่องเสียง”

Panasonic Holdings Corp. ตกลงร่วมกับ IOC (คณะกรรมการโอลิมปิกสากล) ว่า บริษัทจะไม่มีการต่อสัญญาเป็นสปอนเซอร์ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือนธันวาคมนี้

แถลงการณ์ของ Panasonic ระบุว่า แม้ว่าบริษัทจะยัง “สนับสนุนปรัชญาการแข่งขันโอลิมปิก” ต่อไปเหมือนเดิม แต่บริษัทตัดสินใจหยุดการเป็นสปอนเซอร์เพราะ “จะมีการทบทวนอย่างต่อเนื่องว่าการสนับสนุนจะพัฒนาไปอย่างไรร่วมกับการพิจารณาการบริหารงานที่กว้างขวางขึ้น”

บริษัท Panasonic นั้นเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก และได้ให้การสนับสนุนอุปกรณ์การถ่ายทอดสด กล้อง ระบบเสียง และหน้าจอ ที่ใช้ในการแข่งขันโอลิมปิกมาโดยตลอด

อย่างไรก็ตาม Panasonic กำลังลดการพึ่งพิงสินค้ากลุ่มผลิตภัณฑ์จอภาพและเครื่องเสียง เห็นได้ว่าเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทเพิ่งจะตัดสินใจขายกลุ่มธุรกิจโปรเจ็คเตอร์เชิงพาณิชย์ออกไป

ส่วนผลิตภัณฑ์ที่บริษัทหันไปมุ่งเน้นแทนคือ “แบตเตอรี” สำหรับรถอีวีซึ่งกำลังเติบโตและเป็นที่ต้องการของตลาด

Panasonic เข้ามาเป็นสปอนเซอร์ให้ “โอลิมปิก” เป็นครั้งแรกเมื่อปี 1987 และเป็นสปอนเซอร์ให้ “พาราลิมปิก” ในปี 2014 ซึ่งการสิ้นสุดสัญญาครั้งนี้จะจบลงทั้งสองมหกรรมกีฬา

ไม่ใช่แค่ Panasonic เท่านั้น อีกหนึ่งบริษัทญี่ปุ่นอย่าง “Toyota” ก็กำลังจะไม่ต่อสัญญาการเป็นสปอนเซอร์ให้กับโอลิมปิกเช่นกัน อย่างไรก็ตาม Toyota ระบุว่าจะยังมีการต่อสัญญาในส่วนกีฬาพาราลิมปิก

“ในรอบ 37 ปีที่ผ่านมา เราได้รับประสบการณ์อันมีค่ามากมายจากการเป็นผู้สนับสนุน และได้หยั่งรากฐานความสัมพันธ์ของเรากับแฟนกีฬาและนักกีฬาทั่วโลก” ยูกิ คุสุมิ ซีอีโอ Panansonic กล่าวในแถลงการณ์

ขณะที่ “โธมัส บาค” ประธาน IOC กล่าวว่า “IOC เข้าใจและเคารพการตัดสินใจของ Panasonic อย่างเต็มที่ว่าบริษัทจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางธุรกิจ เพราะฉะนั้น การยุติการเป็นพันธมิตรกันในครั้งนี้จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นมิตรและให้เกียรติซึ่งกันและกันอย่างที่สุด”

Source

]]>
1489868
‘พานาโซนิค’ เตรียมให้ทำงาน ‘4 วัน/สัปดาห์’ หวังปรับบาลานซ์ชีวิตพร้อมดึงดูดคนเก่ง https://positioningmag.com/1369886 Mon, 10 Jan 2022 10:24:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369886 หากพูดถึงภาพลักษณ์การเป็นมนุษย์เงินเดือนในประเทศญี่ปุ่นแล้ว หลายคนคงติดภาพการทำงานที่จริงจัง ต้องทำงานจนดึกดื่น แต่ ‘พานาโซนิค’ (Panasonic) ต้องการที่จะทำลายภาพเหล่านั้นทิ้ง โดยเตรียมให้พนักงานทำงานแค่ 4 วัน/สัปดาห์ เพื่อให้พนักงานได้มี Work Life Balance รวมถึงเพื่อดึงดูดผู้มีความสามารถให้ทำงานในองค์กร

ยูกิ คูซูมิ ประธานและซีอีโอของกลุ่มพานาโซนิค กล่าวว่า บริษัทเพิ่งจะประกาศถึงวันหยุดที่ 3 วัน/สัปดาห์ เพื่อ สนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน โดยพานาโซนิคว่าเวลาอีก 1 วันที่ได้หยุดเพิ่ม จะทำให้คนงานได้ทำประโยชน์กับตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นงานอาสาสมัครหรืองานเสริมต่าง ๆ

จากแบบสำรวจของกระทรวงสุขภาพ แรงงาน และสวัสดิการ ในปี 2020 พบว่า มีบริษัทญี่ปุ่นเพียง 8% ที่มีวันหยุดมากกว่า 2 วัน/สัปดาห์ เช่น Yahoo Japan และ Sompo Himawari Life Insurance ซึ่งเริ่มที่เพิ่มวันหยุดเป็น 3 วัน/สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม บริษัทจำนวนมากเริ่มเห็นประโยชน์เมื่อเพิ่มวันหยุดให้กับพนักงาน เนื่องจากทำให้พนักงานมีเวลาเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ มากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่อาชีพเกิดใหม่ นอกจากนี้ ผู้พัฒนาระบบ Encourage Technologies ที่ให้ทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2020 ได้ระบุว่า พนักงานที่อายุน้อยให้ความสำคัญกับเวลาที่พวกเขาหยุด ดังนั้น สิ่งนี้ทำให้บริษัทได้เปรียบในเรื่องการว่าจ้างคนรุ่นใหม่

แม้จะมีความสนใจเพิ่มขึ้น แต่มีบริษัทญี่ปุ่น น้อยกว่า 10% ที่นำแนวคิดนี้ไปใช้จริง ส่วนใหญ่เป็นเพราะอุปสรรคด้านโลจิสติกส์ สถานที่ทำงานหลายแห่งที่ผูกค่าแรงกับจำนวนวันที่ทำงาน และ คนงานมักลังเลที่จะหาเวลาพักผ่อนมากขึ้น เพราะกังวลว่าเพื่อนร่วมงานจะต้องรับภาระแทน

อย่างไรก็ตาม คนญี่ปุ่นเริ่มใช้เวลาทำงานน้อยกว่าที่เคย เนื่องจากการปฏิรูปวัฒนธรรมการทำงานที่มีข้อเรียกร้องอย่างฉาวโฉ่ของประเทศ แต่ญี่ปุ่นยังคงรั้งท้ายกลุ่ม G7 ในด้านแรงงาน ดังนั้น การลดวันทำงานอาจเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและปรับปรุงสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน โดยรัฐบาลเองก็พร้อมจะส่งเสริมแนวคิดนี้ภายใต้แนวทางล่าสุดสำหรับนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง

ทั้งนี้ แนวคิดการทำงานแค่ 4 วัน/สัปดาห์ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะบริษัทในสหราชอาณาจักรมากกว่า 60% ที่ใช้เวลาทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ตั้งแต่ปีปี 2019 และ Microsoft Japan ทดสอบแนวคิดนี้ในปี 2019 พนักงานประมาณ 90% ตอบสนองอย่างดี และก็ช่วยให้บริษัทประหยัดไฟฟ้าด้วย และในเดือนธันวาคม 2020 ยูนิลีเวอร์ เริ่มทดลองใช้งาน 4 วัน/สัปดาห์ในนิวซีแลนด์ โดยบริษัทพร้อมจะปรับใช้กับตลาดอื่น ๆ  หากประสิทธิภาพออกมาดี

Source

]]>
1369886
‘พานาโซนิค’ เลิกจ้างพนักงานกว่า 1.7 พันตำแหน่ง เหตุรายได้หายกำไรหด https://positioningmag.com/1354638 Mon, 04 Oct 2021 05:15:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354638 พานาโซนิค (Panasonic) บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ได้ตัดสินใจ เลิกจ้างงาน กว่าพันตำแหน่งทั้งในประเทศญี่ปุ่น และต่างประเทศ โดยการเลิกจ้างดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เนื่องจากผลประกอบที่ไม่ค่อยสดใส

บริษัทระบุว่า จะยุติการผลิตคอมเพรสเซอร์แอร์ทำความเย็นในสิงคโปร์ภายในสิ้นเดือนกันยายน 2565 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนงาน 700 คนหรือประมาณหนึ่งในสามของจำนวนพนักงานในเมือง โดยกำลังการผลิตจะถูกย้ายไปยังโรงงานที่มีอยู่ในมะละกาของมาเลเซียและอู่ซีของจีน

นอกจากนี้ บริษัทยังออกโครงการเกษียณอายุโดยสมัครใจให้กับพนักงานกว่า 1,000 คนในประเทศญี่ปุ่น โดยโครงการนี้มุ่งเป้าไปที่พนักงานที่ทำงานในบริษัทมาเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป ผู้สมัครจะได้รับโบนัสชดเชยเทียบเท่ากับค่าจ้างพื้นฐานสูงสุด 50 เดือน โดยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างคิดเป็นมากกว่า 1% ของจำนวนพนักงานทั้งหมดในญี่ปุ่น

ที่ผ่านมา ผลการเติบโตของกลุ่มสินค้าโทรทัศน์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคอื่น ๆ หยุดชะงักลงในปีงบประมาณที่สิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2021 ที่ผ่านมา โดยยอดขายรวมลดลงต่ำกว่า 7 ล้านล้านเยน (63.2 พันล้านดอลลาร์) เป็นครั้งแรกในรอบศตวรรษ อัตรากำไรจากการดำเนินงานของพานาโซนิคในปีนั้นน้อยกว่า 4% ในขณะที่คู่แข่งอย่าง Sony Group แตะเกือบ 11%

จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้พานาโซนิคต้องปรับตัว โดยพูดถึง “แนวโน้มธุรกิจระดับโลกที่ท้าทาย” และกล่าวว่าการตัดสินใจของสิงคโปร์เป็นไปตาม “การทบทวนกลยุทธ์ทางธุรกิจระยะยาวของพอร์ตธุรกิจคอมเพรสเซอร์เครื่องทำความเย็น”

พานาโซนิคผลิตคอมเพรสเซอร์แอร์ในสิงคโปร์ตั้งแต่ปี 2515 โดยสำนักงานใหญ่สำหรับส่วนประกอบถูกย้ายจากญี่ปุ่นไปยังสิงคโปร์ในปี 2560 “เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเพิ่มเติม” แต่ภายใน 4 ปี กลุ่มธุรกิจนี้ก็ถูกบังคับให้เปลี่ยนกลยุทธ์ โดยสิ่งนี้สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภาคการผลิตของสิงคโปร์ โดยเฉพาะปัจจัยเรื่องค่าแรงที่สูงขึ้น ทำให้เงื่อนไขในการผลิตส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปยากขึ้น ขณะที่รัฐบาลเองก็พยายามผลักดันการใช้ออโตเมชั่นเข้ามาใช้งาน

อย่างไรก็ตาม แม้จะปิดสายงานการผลิตไป แต่สิงคโปร์จะยังคงทำหน้าที่ด้านการวิจัยและพัฒนาสำหรับพานาโซนิคต่อไป โดยจะยังคงเป็นสำนักงานใหญ่ระดับโลกของธุรกิจคอมเพรสเซอร์แอร์ และยังคงเป็นสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของพานาโซนิค

Source

]]>
1354638
Panasonic เทขายหุ้น Tesla เกลี้ยงพอร์ต ฟาดกำไร ‘เเสนล้าน’ ลดการพึ่งพา ได้เงินลงทุนธุรกิจใหม่ https://positioningmag.com/1338965 Fri, 25 Jun 2021 06:32:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338965 Panasonic อิเล็กทรอนิกส์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น เทขายหุ้น ‘Tesla’ ที่ถืออยู่ทั้งหมดออกไป ฟันกำไรกว่า 1.2 แสนล้านบาท เพื่อลดการพึ่งพาเเละหาเงินลงทุนเพื่อการเติบโต เเต่ยืนยันว่ายังเป็นพันธมิตรกันอยู่

โดย Panasonic ได้ทำการขายหุ้นของ Tesla ทั้งหมดในงบการเงินปีล่าสุด (เดือนมี..) เเละได้ทำการบันทึกบัญชีรายการรายได้จากการขายและการไถ่ถอนเงินลงทุนเป็นมูลค่ากว่า 429,900 ล้านเยน (ราวประมาณ 1.23 เเสนล้านบาท)

ย้อนกลับไป เมื่อปี 2009 ทั้งสองจับมือกันเป็นพันธมิตรร่วมกัน เเละร่วมทุนสร้างโรงงานผลิตเเบตเตอรี่ในสหรัฐฯ โดย Panasonic ถือเป็นผู้ผลิตเเบตเตอรี่รายใหญ่ให้รถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla

หลัง Tesla เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น เมื่อปี 2010 ทาง Panasonic ได้เข้าซื้อหุ้นกว่า 1.4 ล้านหุ้น ในราคาเพียง 21.15 ดอลลาร์ต่อหุ้น จากการเติบโตเเบบพุ่งพรวดในตลาด ปัจจุบันราคาหุ้นของ Tesla มีมูลค่าสูงถึง 679.82 ดอลลาร์ต่อหุ้น

โดยในรายงานประจำปีที่สิ้นสุดในเดือนมี.. 2020 ระบุมูลค่าของหุ้นที่ Panasonic ถือหุ้นไว้ที่ 8.1 หมื่นล้านเยน (ราว 2.3 หมื่นล้านบาท)

ฮิเดกิ ยาสุดะ นักวิเคราะห์จาก Ace Research Institute ให้ความเห็นว่าผลกระทบของสินทรัพย์ดิจิทัล อาจทำให้ราคาหุ้นของ Tesla อยู่เหนือมูลค่าที่แท้จริง ทำให้เป็นตอนนี้เป็นช่วงเวลาที่ดีในการขาย

อีลอน มัสก์ ประกาศในเดือนก..ที่ผ่านมาว่า บริษัทของเขาจะรับซื้อ ‘Bitcoin’ เเละรับการชำระเงินในการซื้อรถยนต์ด้วยสกุลเงินดิจิทัล เเต่เปลี่ยนใจในภายหลังด้วยเหตุผลทางสิ่งเเวดล้อม โดยการเเสดงความคิดเห็นของเขาบน Twitter มักจะทำให้ราคาของสินทรัพย์ดิจิทัลผันผวนอยู่เสมอ

ด้านโฆษกของ Panasonic ระบุว่า การเทขายหุ้นครุ้งนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเป็นพันธมิตรระหว่างกัน โดยบริษัทจะยังเป็นซัพพลายเออร์ให้กับทาง Tesla อยู่

ความสัมพันธ์ของเรากับ Tesla ในฐานะหุ้นส่วนธุรกิจจะไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคต

นับเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญของ Panasonic ที่กำลังพยายามลดการพึ่งพาจาก Tesla และหาเงินทุนไปใช้ในการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ อย่างการเข้าซื้อกิจการ Blue Yonder ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ซัพพลายเชนของสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 7.1 พันล้านดอลลาร์ เเละลงทุนเพื่อเพิ่มการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ด้วย 

ขณะที่ Tesla ก็มีเริ่มขยายเครือข่ายเเบตเตอรี่ของตัวเอง โดยได้ทำข้อตกลงกับ LG Energy Solution ของเกาหลีใต้ และ CATL ของจีน ที่กำลังวางแผนสร้างโรงงานในเซี่ยงไฮ้ ใกล้กับฐานการผลิตของรถยนต์ของ Tesla

 

ที่มา : Reuters , CNBC , Nikkei Asia

]]>
1338965
‘พานาโซนิค’ เตรียมจ้าง ‘TCL’ ผลิตทีวี พร้อมยุติการไลน์ผลิตใน ‘อินเดีย-เวียดนาม’ https://positioningmag.com/1330450 Wed, 05 May 2021 04:22:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330450 ‘พานาโซนิค’ บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่นกำลังเตรียมการขั้นสุดท้ายภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม สำหรับการร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าของจีน ‘TCL Electronics’ ที่มียอดขายทีวีเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยพานาโซนิคจะจ้างให้ TCL เป็นผู้ผลิต ‘ทีวี’ ขนาดเล็กและกลางภายในปีงบประมาณ 2564

หลังจากที่ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ รายของญี่ปุ่นต่างเจ็บตัวจากธุรกิจทีวี เนื่องจากการแข่งขันที่รุนแรงกับคู่แข่งในต่างประเทศ ส่งผลให้พานาโซนิคกำลังวางแผนที่จะปรับปรุงการดำเนินงานด้านการผลิตทีวีให้ลดลงเหลือ 40% ภายในปีงบประมาณ 2567 เนื่องจากตัวเลขรายได้จากฝั่งทีวีของพานาโซนิคติดตัวแดงอยู่

โดยพานาโซนิค วางแผนที่จะลดต้นทุนโดยการจ้าง TCL ผลิตแบรนด์ Viera ในขณะที่บริษัทยังคงผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่มระดับไฮเอนด์ เช่น ทีวี LCD และ OLED TV ขนาดใหญ่ เพื่อขายในตลาดญี่ปุ่นเป็นหลัก ทั้งนี้ ด้วยการร่วมมือกับ TCL คาดว่าจะลดการผลิตภายในประจำปีเหลือประมาณ 3.5 ล้านหน่วยซึ่งน้อยกว่าระดับปัจจุบัน 30-40% ซึ่งนี่จะเป็นการปรับโครงสร้างธุรกิจทีวีครั้งใหญ่ครั้งแรกของบริษัท นับตั้งแต่มีการถอนการผลิตในจีนและอเมริกาเหนือในปีงบประมาณ 2558

โรงงานผลิต TV ของ TCL ในจีน ภาพจาก shutterstock

นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนที่จะทบทวนการผลิตที่โรงงาน 7 แห่งทั่วโลกรวมถึงในมาเลเซีย และสาธารณรัฐเช็ก และจะยุติการผลิตในอินเดียและเวียดนามภายในสิ้นปีงบประมาณ 2564 ส่วนโรงงานในอุสึโนมิยะ ซึ่งเป็นฐานการผลิตทีวีแห่งเดียวในญี่ปุ่นจะถูกใช้เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แม้ว่าจะมีทีวี OLED บางรุ่นจะยังคงผลิตอยู่ที่นั่นก็ตาม

ที่ผ่านมา พานาโซนิคจำหน่ายทีวีประมาณ 6 ล้านเครื่องทั่วโลกต่อปี โดยรายงานของบริษัทวิจัย Omdia ของอังกฤษระบุว่า พานาโซนิคอยู่ในอันดับที่ 12 ของการจัดส่งทีวีทั่วโลก โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 1.8% นี่คือการลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากอันดับที่ 4 ในปี 2010 ที่มีส่วนแบ่งการตลาด 7.9% โดยมียอดขาย 20.23 ล้านเครื่องทั่วโลก

Source

]]>
1330450
Panasonic เตรียมปิดโรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในไทย ย้ายฐานการผลิตไปเวียดนาม https://positioningmag.com/1279910 Thu, 21 May 2020 07:38:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279910 Panasonic ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของญี่ปุ่น เตรียมปิดโรงงานผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในไทย ภายในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ (ราวเดือน ก.ย.) โดยตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปผนวกกับโรงงานในเวียดนาม เพื่อลดต้นทุนการจัดหาชิ้นส่วนเเละเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน

Nikkei Asian Review สื่อใหญ่ญี่ปุ่น รายงานว่า โรงงานของ Panasonic ในไทยเตรียมจะหยุดการผลิตเครื่องซักผ้าในเดือน ก.ย. และหยุดการผลิตตู้เย็นในเดือน ต.ค. ส่วนตัวอาคารโรงงานผลิตจะปิดตัวในเดือน มี.ค. ปี 2021 พร้อมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ใกล้เคียงก็จะปิดตัวลงด้วยเช่นกัน

ปัจจุบัน Panasonic มีพนักงานประมาณ 800 คนที่ทำงานที่โรงงานในกรุงเทพฯ มีความเสี่ยงที่จะเสียตำเเหน่งงานที่เคยทำอยู่เเต่จะได้รับการช่วยเหลือด้วยการหาตำแหน่งงานใหม่ภายในกลุ่มบริษัทให้

การตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปเวียดนามครั้งนี้ เนื่องจากโรงงานของ Panasonic ที่ตั้งอยู่นอกกรุงฮานอย เป็นศูนย์กลางการผลิตตู้เย็นและเครื่องซักผ้าที่ใหญ่ที่สุดของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตอนนี้ก็ยังมีกำลังการผลิตส่วนเกินอยู่ ดังนั้นบริษัทจึงต้องการลดต้นทุนผ่านกระบวนการจัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนประกอบที่ผนวกรวมของไทยเเละเวียดนามเข้าไปด้วยกัน

โดยโรงงานของ Panasonic ในเวียดนาม มีการจ้างงานราว 8,000 คน นอกจากจะเน้นผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่แล้ว ยังมีการผลิตสินค้าอย่าง ทีวี โทรศัพท์ไร้สาย เครื่องชำระเงินด้วยบัตร และอุปกรณ์เครื่องใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้น

Nikkei Asian Review มองว่าการย้ายฐานการผลิตดังกล่าว สะท้อนถึงบทใหม่ของอุตสาหกรรมภาคการผลิต
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งเเต่ช่วงทศวรรษ 1970 เป็นต้นมาที่บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นได้โยกย้ายฐานการผลิตในประเทศ ไปยังสิงคโปร์เเละมาเลเซีย เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น
เเละการผลิตในญี่ปุ่นก็ไม่สามารถเเข่งขันด้านราคาได้

หลังจากนั้นฐานการผลิตก็มีการโยกย้ายเข้าสู่ประเทศอื่นๆ ในอาเซียน เช่น ประเทศไทย เนื่องจากค่าจ้างเเรงงาน
ของสิงคโปร์เเพงขึ้นอย่างมาก โดย Panasonic เริ่มผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนขนาดใหญ่ในไทยมาตั้งแต่ปี 1979

เเละปัจจุบันบริษัทเหล่านี้ กำลังมองหาแหล่งผลิตใหม่ที่มีต้นทุนต่ำลงกว่านี้อีก ประกอบกับต้องการนำสินค้าประเภท
ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ เข้าเจาะตลาดประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรจำนวนมากในอาเซียน อย่าง อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เเละเวียดนาม ที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเเละค่าเเรงต่ำ

ขณะเดียวกัน Panasonic กำลังอยู่ในระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กร มีเป้าหมายพื่อลดค่าใช้จ่ายประมาณ 1 แสนล้านเยน (ราว 930 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ให้ได้ภายในปีการเงินที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. ปี 2022 โดยกำลังพิจารณาให้มีปรับเปลี่ยนเเละโยกย้ายฐานการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่อไป

 

ที่มา : Panasonic to move appliance production from Thailand to Vietnam

 

]]>
1279910
“พานาโซนิค” ขอขยับจากธุรกิจไฟฟ้า ลงสนามสมาร์ทโฮม โกยโอกาสจากสินค้า IoT https://positioningmag.com/1267398 Sun, 08 Mar 2020 09:45:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1267398 พานาโซนิค วางเเผนรุกตลาดอาเซียน มองโอกาสประชากรโต – ตลาด IoT รุ่ง ชิงลงสนามสมาร์ทโฮม ขนทัพเครื่องใช้ในบ้านจากญี่ปุ่นมาวางขาย หาพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น จับมือธุรกิจอสังหาฯ ขยายตลาด “นวัตกรรมที่อยู่อาศัย” ตั้งเป้าดันยอดขายเเตะ 2.78 หมื่นล้านบาทในปี 2021

ประชากรอาเซียนโต ก่อสร้างมากกว่าญี่ปุ่น 5 เท่า 

Daizo Ito รองประธานกรรมการอาวุโส และผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดต่างประเทศ บริษัท พานาโซนิค คอร์ปอเรชั่น ไลฟ์ โซลูชั่นส์ ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ในปี 2020 นี้ พานาโซนิคให้ความสำคัญกับตลาดในอาเซียนเป็นพิเศษ เนื่องจากมองเห็นศักยภาพของไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ทั้งเรื่องจำนวนประชากรจำนวนครัวเรือน และจีดีพีของทั้ง 3 ตลาดมีการเติบโตที่น่าสนใจ โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย

จากข้อมูลพบว่าจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและรายได้ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดด้านอุตสาหกรรมก่อสร้างในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังการเติบโตไปด้วยเช่นกัน โดยคาดการณ์กันว่ากลุ่มประเทศในอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม และมาเลเซีย จะมีประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นจาก 580 ล้านคนในปี 2563 เป็น 640 ล้านคนในปี 2573 โดยมีจำนวนการก่อสร้างบ้านเรือนในปี 2564 ประมาณ 4.41 ล้านหลัง หรือคิดเป็น 5 เท่าของประเทศญี่ปุ่น

“คนในอาเซียนเริ่มให้ความสนใจกับการมีคุณภาพชีวิตที่ดีเเละกำลังมองหานวัตกรรมใหม่ๆ ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นบริษัทจึงตั้งใจจะรุกตลาดกลุ่มที่อยู่อาศัยอย่างจริงจัง”

โอกาสเจาะตลาด IoT ลงสนามสมาร์ทโฮม 

การเติบโตของ  “Internet of Things (IoT)” ทำให้บริษัทเทคโนโลยีเจ้าเก่าทั้งหลาย ขยับมาสร้างนวัตกรรมใหม่ โดยเฉพาะสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่นเดียวกันกับ “พานาโซนิค” ที่เปลี่ยนเเผนจากเดิมที่เคยเน้นที่อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่นปลั๊กไฟ สายไฟ มาพัฒนาเครื่องใช้ในบ้านเเละออฟฟิศที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต

เเม้สินค้าขายดีของพานาโซนิคไลฟ์ฯ อันดับ 1 ในไทยยังจะเป็น “อุปกรณ์เดินสายไฟ” เเต่การปรับตัวเข้าสู่เทรนด์ “สมาร์ทโฮม” ก็เป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของบริษัทเเม่ ที่ต้องการมีไลน์อัพสินค้าครบทุกกลุ่มจาก 4 หน่วยธุรกิจ ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านอุปกรณ์แสงสว่างและระบบต่าง ๆ ในที่อยู่อาศัย หรืออีโคโซลูชั่นโซลูชั่นธุรกิจ-อุตสาหกรรมและชิ้นส่วนยานยนต์

ขณะที่กระแสสมาร์ทโฮมในกลุ่มผู้พัฒนาอสังหาฯ ก็กำลังต้องการนวัตกรรม IoT เพราะต้องการ “สร้างจุดขาย” รับมือการแข่งขันที่สูง

ทั้งนี้ ข้อมูลปี 2019 ระบุว่า ตลาดทั่วโลกมีจำนวนสินค้า IoT กว่า 8.4 พันล้านชิ้น เพิ่มขึ้น 31% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เเละคาดว่าในปี 2020 จะมีบริษัทมากกว่า 65% ที่ใช้ผลิตภัณฑ์และโซลูชัน IoT ขณะที่แนวโน้มในปี 2025 คาดว่าจะมีการใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้า IoT ทั่วโลกมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เเละในประเทศไทย ปี 2025 ก็จะมีการใช้จ่ายเกี่ยวกับอุปกรณ์ IoT ถึง 5 แสนล้านบาท

สินค้าที่จะนำมาเจาะตลาดในปีนี้ หลักๆ จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่อาศัยเเละการนำเครื่องใช้ในบ้านที่ญี่ปุ่นมาวางขายในอาเซียน เช่นห้องครัวอัจฉริยะ และห้องอาบน้ำสำเร็จรูป ชูจุดเด่นด้านคุณภาพ และการติดตั้ง การก่อสร้างที่ใช้เวลาลดลง รวมถึงการนำเสนอโซลูชั่นใหม่ในออฟฟิศเเละสถานที่สาธารณะต่างๆ เเละแพ็กเกจการตกแต่งภายในด้วย” 

ผู้บริหารพานาโซนิค เผยอีกว่า ความต้องการของตลาดในเอเซียนเเตกต่างกันไปตามเเต่ละประเทศ เช่นในอินโดนีเซียจะให้ความสำคัญเรื่องการใช้เเสง จึงต้องเน้นนวัตกรรมที่มีเเสงที่ผ่อนคลาย ส่วนในไทยนั้นต้องการนวัตกรรมด้านอากาศ จึงต้องตอบโจทย์ตลาดด้านโซลูชั่นเครื่องฟอกอากาศและน้ำ

ขณะที่ภูมิภาคอาเซียนกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ก็มีปัญหาทางสังคมที่เด่นชัดขึ้นเช่นกัน พานาโซนิคจึงได้พัฒนาสินค้าใหม่ เช่น ด้านสุขภาพ ได้พัฒนาสินค้าใหม่คือ “ระบบกรองน้ำส่วนกลาง” ที่ช่วยทำความสะอาดน้ำที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้ ส่วนด้านการขาดแคลนแรงงาน กำลังจะวางจำหน่าย “บ้านสำเร็จรูป” สำหรับหอพักและอพาร์ทเม้นท์ ซึ่งสามารถลดระยะเวลาก่อสร้างเเละลดปริมาณงาน โดยได้เริ่มจำหน่ายในประเทศจีนเมื่อปีที่ผ่านมาและได้รับการตอบรับที่ดี

ด้านสังคมผู้สูงอายุ นำเสนอสินค้าฝักบัวพร้อมเก้าอี้นั่ง “เดอะชาวเวอร์” และเตียงนอน “ริโชเนะ” เตียงโรโบติกที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น ซึ่งทั้งสองผลิตภัณฑ์มีวางจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่นแล้ว เเละกำลังจะนำมาวางจำหน่ายในไทย นอกจากนี้ ยังจะส่งเสริมในกลุ่มสินค้ากลุ่มอุปกรณ์เดินสายไฟ โดยอาศัยกลยุทธ์และองค์ความรู้ด้านการขายที่เคยทำในตลาดญี่ปุ่น

หาพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น จับมือธุรกิจอสังหาฯ 

เมื่อกำลังซื้อผู้บริโภคลดลงจากเศรษฐกิขชะลอตัว บริษัทจึงปรับกลยุทธ์ในตลาดอาเซียน จากเดิมที่เน้นโมเดลธุรกิจเเบบ B2C (Business to Consumer) มาเพิ่มในส่วน B2B (Business to Business) มากขึ้น โดยจะร่วมมือกับดีเวลอปเปอร์และบริษัทพาร์ทเนอร์ท้องถิ่นในภูมิภาคนี้มาร่วมงานกว่า 600 บริษัท

Masashi Yamada รองประธานกรรมการอาวุโส และผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจ Housing Systems กล่าวว่าในปีนี้จะมีการนำเสนอโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมมากขึ้น โดยความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์และสร้างเครือข่ายเเบบ Co-creation partner ร่วมกับพันธมิตรในแต่ละพื้นที่ เพื่อจะได้เสนอผลิตภัณฑ์ด้วยความเข้าใจในท้องถิ่นจริงๆ

“ในประเทศไทย เราได้ร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการตู้ล็อคเกอร์ในการทดสอบ “smart box” ซึ่งเป็นตู้สำหรับรับพัสดุไปรษณีย์แบบ IoT (Internet of Things) สามารถควบคุมการทำงานได้ด้วยสมาร์ทโฟน รวมถึงการพัฒนาห้องอาบน้ำสำเร็จรูปที่ใช้เวลาในการติดตั้งเพียง 2 วัน เพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มหลักคือผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ โดยคาดว่าจะสามารถผลิตและให้บริการในไทยได้เร็วๆ นี้”

สำหรับฐานผลิตหลักในอาเซียน ได้เเก่ โรงงานในไทยจะเป็นการผลิตใช้ภายในประเทศ ส่งออกไปยังฟิลิปปินส์เเละประเทศในตะวันออกกลางเเละตะวันออกใกล้ ส่วนโรงงานในอินโดนีเซียจะเน้นการบุกเบิกช่องทางไปยังเขตพื้นที่เมืองใหญ่ในประเทศ เเละโรงงานในเวียดนามจะเน้นส่งออกสินค้าเพื่อบุกเบิกตลาดเกิดใหม่ในอาเซียน อย่างลาวเเละกัมพูชา

“จากกลยุทธ์เหล่านี้ พานาโซนิคคาดว่าจะสามารถบรรลุยอดขาย 1 แสนล้านเยน หรือประมาณ 2.78 หมื่นล้านบาทในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ภายในปี 2021 และบรรลุยอดขาย 1 ล้านล้านเยนได้ในปี 2030”

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในปี 2018 ของพานาโซนิค ไลฟ์ โซลูชั่นส์ มียอดขายอยู่ที่ 2.0361 ล้านล้านเยน (ราว 5.77 แสนล้านบาท) เเบ่งเป็นยอดขายในประเทศไทย 3 พันล้านบาท

 

]]>
1267398
“โตโยต้า” แท็กทีม “พานาโซนิค” ร่วมทุนทำบริษัทแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ดีเดย์เมษายนนี้ https://positioningmag.com/1263078 Mon, 03 Feb 2020 19:31:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263078 “โตโยต้า มอเตอร์” และ “พานาโซนิค” ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยบริษัทร่วมทุนที่ตั้งขึ้นมาจะเริ่มดำเนินงานในเดือนเมษายนนี้ โดยที่ทางโตโยต้าถือหุ้น 51%

บริษัทร่วมทุนที่จะก่อตั้งขึ้นใหม่นี้ใช้ชื่อว่า Prime Planet Energy and Solutions โดยจะเน้นการพัฒนาแบตเตอรี่ทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งจะสามารถใช้ได้กับทุกค่ายรถ จากการเปิดเผยในวันจันทร์ของโตโยต้าและพานาโซนิค

ทั้งสองบริษัทระบุว่า บริษัทใหม่นี้จะเริ่มดำเนินงานในวันที่ 1 เมษายน โดยมีพนักงานมากกว่า 5,000 คน ทางโตโยต้าจะถือหุ้น 51% ส่วนหุ้นที่เหลือจะถือโดยพานาโซนิค

ความร่วมมือครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทญี่ปุ่นกำลังจะกลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่รถยนต์ ซึ่งมีความสำคัญมากในการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า ในช่วงที่ทั่วโลกมีความเข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับการยกระดับรถยนต์ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ปัจจุบันพานาโซนิคเป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ทรงกระบอกให้กับค่ายรถยนต์ไฟฟ้า “เทสลา” ถึงกระนั้นก็ยังหาช่องทางขยายฐานลูกค้าให้มากขึ้น ด้วยการมุ่งผลิตแบตเตอรี่ทรงสี่เหลี่ยมที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง ส่วนทางด้านเทสลาเองก็เพิ่งประกาศเมื่อเดือนที่แล้วว่า จะให้ LG ของเกาหลีใต้เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ให้อีกราย รวมถึง CATL ของจีนด้วย

ทั้งสองบริษัทเคยร่วมมือกันวิจัยแบตเตอรี่มาแล้วในช่วงปี 1996 ซึ่งตอนนั้นมีการตั้งบริษัท Primearth EV Energy เพื่อผลิตแบตเตอรี่ให้

Source

]]>
1263078
สู้ไม่ไหว! “พานาโซนิค” ประกาศเลิกผลิตจอ LCD ทั้งหมดภายในปี 2021 https://positioningmag.com/1254501 Thu, 21 Nov 2019 16:38:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1254501 พานาโซนิคระบุว่าจะถอนตัวออกจากธุรกิจผลิตจอ LCD ทั้งหมดภายในปี 2021 เนื่องจากตลาดมีการแข่งขันสูงจากจีน เกาหลีใต้ รวมถึงคู่แข่งต่างชาติรายอื่นๆ

ก่อนหน้านี้ “พานาโซนิค” ได้หยุดการผลิตจอ LCD สำหรับโทรทัศน์ไปแล้วเมื่อปี 2016 โดยหันมาเน้นผลิตจอ LCD สำหรับติดตั้งในรถและใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ แต่การประกาศล่าสุดนี้จะเป็นการเลิกผลิตทั้งหมด

พานาโซนิคพิจารณาเป็นอย่างดีแล้วว่าการดำเนินธุรกิจนี้ต่อไปคงไม่รุ่ง ต้องเจอกับการแข่งขันที่หนักหนามากขึ้นในตลาดโลก ดังนั้นจึงได้ตัดสินใจที่หยุดการผลิต

พานาโซนิค ระบุในคำแถลง

เมื่อปลายเดือนที่แล้ว พานาโซนิคได้รายงานผลประกอบการของบริษัท โดยระบุว่า ช่วงครึ่งปีแรกมีกำไรลดลง 11.2%  เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

กำไรสุทธิช่วงครึ่งปีแรกของพานาโซนิคอยู่ที่ 100.92 พันล้านเยน ขณะที่ยอดขายลดลง 4.1% อยู่ที่ตัวเลข 3.84 ล้านล้านเยน

พานาโซนิค ระบุว่า ยอดขายที่จีนลดลงในช่วงสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ ส่งผลเชิงลบต่อธุรกิจ แม้ว่ายอดขายในประเทศจะทำได้ดีก็ตาม.

Source

]]>
1254501
นาทีนี้ต้องมีดีที่แคมเปญ!!! https://positioningmag.com/7830 Mon, 05 Sep 2005 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=7830

เมื่อค่ายเอวียักษ์ใหญ่ 2 สัญชาติ “พานาโซนิค” และ “ซัมซุง” ลุกขึ้นมาแคมเปญใหญ่กระตุ้นยอดซื้อครึ่งปีหลัง

เริ่มจากค่ายเอวีสัญชาติเกาหลีอย่าง “ซัมซุง” ที่เลือกเช้าวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา ยึดบริเวณชั้น 2 ไบเทคบางนา จัดงานเปิดตัวแคมเปญระดับโลก “อิมเมจิน ( Imagine)” ที่นำเสนอผลิตภัณฑ์กลุ่มภาพและเสียง ตั้งใจเจาะไปยังลูกค้าตลาดระดับกลางถึงบน ด้วยภาพลักษณ์ใหม่ที่ขายความเป็นพรีเมียมมากขึ้น

การเปิดตัวสินค้าครั้งนี้ ซัมซุงตั้งใจขึ้นแท่น 1 ใน 3 ผู้นำตลาดพรีเมียมระดับโลกในปี 2550 หลังจากทุ่มงบประมาณ R&D ทั่วโลกไปกว่า 200,000 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา และคาดว่าแคมเปญนี้จะกระตุ้นยอดขายในไทยเพิ่มเป็น 4,000 ล้านบาทในปีนี้

“ซัมซุง” ยังใช้สถานที่เดียวกันจัดแสดงสินค้ากลุ่มภาพและเสียง ณ บริเวณห้องนิทรรศการชั้น 1 ด้วยบรรยากาศแบบทันสมัย สื่อให้เห็นดีไซน์ที่แตกต่าง อาทิ สลิมฟิตทีวีที่มีจอบางกว่าปกติถึง 30% จอพลาสม่าขนาด 42 นิ้ว เครื่องเล่น MP3 มินิเก็ต แฮนด์ฟรี และซัมซุงโฮมเธียเตอร์ที่จัดบูธนำเสนอในเชิงไลฟ์สไตล์ ทั้งดูหนังในบ้าน ฟังเพลงในที่ทำงาน และดูทีวีแบบเกาะติดสนามฟุตบอล เป็นต้น

ฝั่งค่ายเอวีจากญี่ปุ่น “พานาโซนิค” เลือกศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เปิดตัวแคมเปญ “Better Lifestyle Rewards” อย่างยิ่งใหญ่ตามมาติดๆ ในเช้าวันที่ 9 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมา เพื่อกระตุ้นยอดขายตลาดเครื่องไฟฟ้าครึ่งปีหลัง ด้วยการทุ่มงบประมาณ 50 ล้านบาท ให้กับลูกค้าที่ซื้อสินค้าพานาโซนิคตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน-15 ธันวาคมนี้ สามารถลุ้นโชค 1 ล้านบาท รวมรางวัลมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

“พานาโซนิค” ใช้กลยุทธ์แบ่งแคมเปญตามไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค 4 กลุ่มคือ Beat Style, Bite Style, Beauty Style และ Buzz Style โดยตั้งเงื่อนไขให้ลูกค้าเลือกไลฟ์สไตล์ที่ชอบ 1

แบบในคูปองก่อนส่งชิงรางวัล โดยข้อมูลความต้องการของผู้บริโภคที่ได้จากแคมเปญนี้ จะถูกนำไปต่อยอดทำตลาดได้ตรงใจลูกค้าระดับแมสมากขึ้น

พานาโซนิคลงทุนขนสินค้าเครื่องเสียง เครื่องใช้ฟ้า และอุปกรณ์ภายในบ้านมาโชว์ฟีเจอร์เต็มพื้นที่ฮอล ณ ศูนย์ประชุมสินค้าสิริกิติ์ เพื่อปรากฏแก่สายตาสื่อมวลชน และตัวแทนจำหน่ายในช่วงบ่ายวันเดียวกัน แต่ถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ่ที่หวังผลระยะยาว เพื่อเป้ายอดขายที่จะเพิ่มสูงถึง 15,000 ล้านบาทในปีนี้

Did you know?

ผลการสำรวจจากแบรนด์ชั้นนำกว่า 100 แบรนด์ทั่วโลกพบว่า แบรนด์ “ซัมซุง” มีมูลค่าถึง 14.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 189% จากมูลค่า 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา

ตลาดภาพและเสียงประเทศไทยปี 2548*

ประเภทสินค้า
– โทรทัศน์
มูลค่ารวมปี 48
– 22,000 ล้านบาท
มูลค่ารวมปี 47
– 21,000 ล้านบาท
อัตราเติบโตในปีนี้
– 6%

ประเภทสินค้า
– แคมคอร์ดเดอร์
มูลค่ารวมปี 48
– 3,050 ล้านบาท
มูลค่ารวมปี 47
– 2,650 ล้านบาท
อัตราเติบโตในปีนี้
– 15%

ประเภทสินค้า
– เครื่องเล่น MP3
มูลค่ารวมปี 48
– 1,750 ล้านบาท
มูลค่ารวมปี 47
– 1,000 ล้านบาท
อัตราเติบโตในปีนี้
– 75%

*มูลค่ากว่า 39,000 ล้านบาท เติบโต 4% จาก 37,500 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
ที่มา : บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด

รายได้รวมปี 2548 ของพานาโซนิค(มูลค่า 15,200 ล้านบาท)

เอวี, ซิสเต็มส์ และแบตเตอรี่ 9,500 ล้านบาท
เอสเอ 5,700 ล้านบาท

ที่มา : POSITIONING รวบรวม

]]>
7830