มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Feb 2021 01:52:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 เปิดอินไซต์ใช้จ่าย ‘ตรุษจีน’ 2564 เงียบเหงา เศรษฐกิจเเย่ ต้องประหยัด ของไหว้เจ้า ‘แพงขึ้น’ https://positioningmag.com/1318396 Mon, 08 Feb 2021 11:25:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1318396 เทศกาลตรุษจีนปีนี้ ไม่คึกคักเหมือนเคย ใช้จ่ายต่ำสุดในรอบ 13 ปี คาดเงินสะพัดเหลือแค่ 4.49 หมื่นล้าน ลดลง 21.85% จากพิษ COVID-19 รอบใหม่ คนประหยัดขึ้น ชะลอใช้จ่าย ลดการเดินทางท่องเที่ยว มองราคาของไหว้เจ้าแพงขึ้น

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึง ผลการสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลตรุษจีนปี 2564 ว่า ภาพรวมเทศกาลตรุษจีนปีนี้ไม่คึกคัก

ปัจจัยหลักๆ มาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาทั้งรอบใหม่เเละรอบเก่า ทำให้ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่อง มีความไม่เเน่นอนทางรายได้สูง ส่งผลให้ประชาชนไทยเชื้อสายจีนใช้จ่ายลดลงเช่นกัน

ปีนี้มีมูลค่าการใช้จ่ายลดลงเหลือ 44,939 ล้านบาท ปรับตัวลดลง 21.85% หรือเงินหายไป 1.2 หมื่นล้านบาท นับเป็นอัตราต่ำสุดในรอบ 13 ปี ตั้งแต่มีการสำรวจมา

ธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุว่า จากความกังวลต่อการระบาดของ COVID-19 ยังไม่สามารถจะเดินทางท่องเที่ยวได้มากนัก รวมถึงผู้คนต้องประหยัด เเละระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอย ทำให้การจ่ายเงินซื้อสินค้าเซ่นไหว้ในช่วงตรุษจีนไม่คึกคักเท่าที่ควร

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ทำการสำรวจความเห็นของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่ไหว้เจ้าในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีนี้ จำนวน 1,200 คน พบว่า ประชาชน 42.2% มีการใช้จ่ายน้อยลง ส่วน 33.2% ไม่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้จ่าย และมีเพียง 24.6% ที่มีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

โดยสาเหตุที่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้น เป็นเพราะมองว่าราคาสินค้าแพงขึ้น 69.9% ส่วนสาเหตุที่มีการใช้จ่ายน้อย เพราะมองว่าภาวะเศรษฐกิจแย่ลง 39.9% มีรายได้ลดลง 24% ต้องการลดค่าใช้จ่าย 15.4% และผล
กระทบโรคระบาด 15.1%

ส่วนบรรยากาศช่วงเทศกาลตรุษจีนในปี 2564 เมื่อเทียบกับปี 2563 ประชาชนส่วนใหญ่มองว่า จะคึกคักน้อยกว่าปีที่ผ่านมาที่ 63.7% มองว่าคึกคักพอพอกัน 21.0% และคึกคักมากกว่า 15.3% ประชาชนส่วนใหญ่ยังไปจับจ่ายซื้อของที่ตลาดสดและห้างค้าปลีก

สำหรับผู้ที่ได้รับแต๊ะเอียในปีนี้ คิดว่าจะได้รับแต๊ะเอีย 55.5% และคิดว่าจะไม่ได้ รับแต๊ะเอียราว 44.5% เมื่อถามลึกลงไปกว่านั้น คนที่คิดว่าตัวเองจะได้รับแต๊ะเอียส่วนใหญ่ จะเอาเงินที่ได้ไปเก็บออม 58.5% และซื้อเครื่องแต่งกาย 54.6% ไปทานข้าว 36.9%

หากแบ่งการใช้จ่ายตามภูมิภาค พบว่า กรุงเทพฯ และปริมณฑล อยู่ที่ 16,230 ล้านบาท ลดลง 24.50% ภาคกลาง อยู่ที่ 11,452 ล้านบาท ลดลง 21.40% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ 7,269 ล้านบาท ลดลง 15.55% ภาคเหนือ อยู่ที่ 4,499 ล้านบาท ลดลง 17.21% และภาคใต้ อยู่ที่ 5,487 ล้านบาท ลดลง 25.80%

ด้านแหล่งที่มาของเงินที่นำมาใช้จ่าย ผู้ตอบราว 66.8% ระบุว่า มาจากเงินเดือน/รายได้ปกติ, 19.8% มาจากเงินออม, 10% โบนัส/รายได้พิเศษ, 1.6% เงินกู้ และอีก 1.8% เป็นเงินช่วยเหลือจากภาครัฐจากมาตรการต่าง ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19

อีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจในการสำรวจ พบว่า มีการใช้บริการซื้อขายสินค้าทางออนไลน์เเละสั่งเดลิเวอรี่มากขึ้น ลดการเดินทางท่องเที่ยวน้อยลง ส่วนการเลือกซื้อของเซ่นไหว้ ปีนี้คนจะเลือกซื้อไข่มากขึ้น ลดสัดส่วนการซื้อประเภทอื่นอย่างหมู เป็ด ไก่ ลดลง

โดยมีการใช้จ่ายรูปแบบใช้จ่ายผ่านเงินสด อยู่ที่ 63.3% ลดลงจากปีที่ผ่านมา ซึ่งมีการใช้จ่ายผ่านเงินสดอยู่ที่ 84.6% ประชาชนหันไปใช้จ่ายผ่านการโอนเงินมากขึ้น อยู่ที่ 13.4% ผ่านบัตรเครดิต 23.3%”

สำหรับสิ่งที่ประชาชนเป็นห่วงในช่วงตรุษจีนมากที่สุด คือ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ตามมาด้วยราคาสินค้าเพิ่มขึ้น

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่า มาตการช่วยเหลือของภาครัฐ จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ โดยการอัดฉีดเงินจากมาตรการเราชนะเเละ.33เรารักกันในช่วงปลายเดือนนี้ จะกระตุ้นการใช้จ่ายของประชาชนให้เพิ่มขึ้นได้ ตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2564 เป็นต้นไป

 

 

 

]]>
1318396
กินเจ 2563 เงียบเหงา “คนไม่จ่าย” เหตุเศรษฐกิจทรุด-ตกงาน-รายได้ลด คาดโตต่ำสุดในรอบ 13 ปี https://positioningmag.com/1300632 Thu, 08 Oct 2020 11:27:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1300632 เทศกาลเจปีนี้ เงียบเหงาจากพิษ COVID-19 ทำเศรษฐกิจชะลอตัว ค่าครองชีพสูง คนตกงาน รายได้ลดลง ระวังการใช้จ่าย คาดเงินสะพัด 46,967 ล้านบาท ขยายตัว 0.9% นับว่าต่ำสุดในรอบ 13 ปี

ตามปกติเเล้วเทศกาลเจเป็นช่วงที่กระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ดีในช่วงปลายปี โดยในปี 2563 จะตรงกับวันที่ 17-25 ตุลาคม รวมเป็นระยะเวลา 9 วัน เเต่จากการเเพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้ปีนี้ไม่คึกคักเหมือนเคย

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดผลวิจัยพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลกินเจ จากการสำรวจระหว่างวันที่ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม 2563 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,393 ราย ทั่วประเทศ พบว่า ปีนี้มูลค่าการใช้จ่ายโดยรวมน่าจะอยู่ที่ประมาณ 46,967 ล้านบาท เติบโตจากปี 2019 เพียง 0.9% เท่านั้น 

สาเหตุหลักๆ มาจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ 39.8% รองลงมาคือภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี 28.6% ค่าครองชีพสูงขึ้น มีหนี้สินเพิ่มขึ้น 19.1% และคนตกงาน รายได้ลดลง 11.6%

ผลสำรวจระบุว่า ประชาชนกว่า 60.2% จะไม่กินเจ ส่วนอีก 39.8% กินเจ โดยประเมินว่า ประชาชนหนึ่งคนจะใช้จ่ายในช่วงเทศกาลกินเจอยู่ที่ราว 11,469.34 บาท แบ่งเป็นค่าอาหาร 1,016.19 บาท, ค่าทำบุญ 2,863.52 บาท, ค่าเดินทางไปทำบุญต่างจังหวัด 3,762.21 บาท และค่าที่พัก (หากไปต่างจังหวัด) 4,722.62 บาท

ส่วนความคิดเห็นที่ว่า ราคาอาหารเเละวัตถุดิบในการปรุงอาหารเจ ปี 2563 เมื่อเทียบกับปี 2562 จะเป็นอย่างไรนั้น ประชาชนกว่า 58% มองว่าจะสูงขึ้น สาเหตุมาจากค่าครองชีพสูงขึ้น ทำให้พ่อค้าเเละแม่ค้าปรับขึ้นราคา รวมถึงปัญหา COVID-19 เเละค่าแรงสูงขึ้น ขณะที่อีก 41.1% มองว่าราคาจะเท่าเดิมกับปีก่อน

Photo : Shutterstock

สำหรับช่องทางในการเลือกซื้ออาหารเจ พบว่ากว่า 76.45% เลือกซื้อเองในตลาดสด ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าทั่วไป ส่วนอีก 23.6% ไมได้ไปซื้อด้วยตนเอง เเต่จะสั่งซื้อผ่านตัวกลางขนส่ง อย่างบริการเดลิเวอรี่ วินมอเตอร์ไซค์ หรือซื้อผ่านระบบคอลเซ็นเตอร์

โดยประชาชนกว่า 47.8% มองว่า เศรษฐกิจไทยกำลังอยู่ในจุดต่ำสุด ขณะที่อีก 27.3% มองว่าประเทศอยู่ในภาวะถดถอย ไม่สอดคล้องกับสถาบันด้านเศรษฐกิจหลายแห่งที่ออกมาประกาศว่าเศรษฐกิจไทยผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว หลังพ้นไตรมาสที่ 2/2563 ส่วนอีก 20.7% มองว่ากำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยส่วนใหญ่ 48.8% เชื่อกันว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลัง 2564

ส่วนภาวะสภาพคล่องของครอบครัวในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประชาชนกว่า 60.9% มองว่าเเย่ลงขณะที่อีก 34.0% มองว่าไม่เปลี่ยนแปลง

นอกจากนี้ ผลสำรวจเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่น่าห่วง พบว่าประชาชน 24.7% ห่วงด้านเศรษฐกิจ รองลงมา 24.1% คือห่วงการเมือง และ 17.8% ห่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19

ในช่วง 2-3 ปีผ่านมา มูลค่าการใช้จ่ายในช่วงกินเจ ก็มีอัตราการหดตัวอย่างต่อเนื่องอยู่เเล้ว ยิ่งซ้ำเติมไปอีกเมื่อเจอวิกฤตโรคระบาด โดยเทศกาลการถือศีลกินเจในปีนี้ นับว่าจะมีมูลค่าการใช้จ่ายโดยรวมเติบโตต่ำที่สุดในรอบ 13 ปี (นับตั้งเเต่ที่ทาง ม.หอการค้าเก็บข้อมูลครั้งเเรกในปี 2551)

 

]]>
1300632
จัดเต็ม…ศึกโฆษณามหาวิทยาลัย ดึงเอเยนซี่ดังและผู้กำกับมือดี เจาะลูกค้า ม.6 https://positioningmag.com/14768 Fri, 13 Jul 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=14768

 

ลืมได้เลย…โฆษณามหาวิทยาลัยที่เน้นวิชาการเชยๆ เพราะปีนี้ มหาวิทยาลัยเอกชนทุกแห่งจัดเต็มกับการใช้สื่อโฆษณา ทั้ง “เนื้อหา” วิธีการนำเสนอ รวมถึงการใช้สื่อครอบคลุมทั้งทีวี ออนไลน์ และโซเชี่ยลมีเดีย ทุ่มทุนจ้างเอเยนซี่ดัง ผู้กำกับฝีมือดีจากค่ายจีทีเอช สร้าง Story ที่มีทั้งทีวีซี มินิซีรี่ส์ หนังรัก หนังให้กำลังใจ ชนิดที่ต้องกระชากใจกลุ่มเป้าหมาย วัยรุ่นมัธยมอยู่หมัด  

ม.กรุงเทพ ตอกย้ำ Creative University 

ปีนี้มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มาพร้อมกับการตอกย้ำจุดยืนของการเป็น “มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์” หรือ Creative University ผ่าน TVC ที่ใช้ชื่อว่า “ชุดลักพา”  ภายใต้สโลแกนที่ว่า “คนมีความคิดสร้างสรรค์ มักเป็นที่ต้องการ” นำเสนอผ่าน…ภาพมนุษย์ยุคหินจุดไฟด้วยก้อนหิน นักวิทยาศาสตร์ที่ชอบทดลอง คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ถูกโป๊ะยาสลบลักพา ภาพ สตีฟ จ็อบส์ ซีอีโอApple เปิดตัว โปรดักต์  iPad บนเวทีถูกนางฟ้าอุ้มไปสวรรค์ 

ตามมาด้วยหนังโฆษณาที่ตอกย้ำแนวคิดนี้ ด้วยเนื้อหาที่ให้บัณฑิตที่นั่งเป็นแถว 4 ชั้นกำลังนั่งถ่ายรูปแล้วถูกบรรดาบริษัทต่างๆ เข้ามายกบัณฑิตไปทั้งหมด โดยมีข้อความที่สื่อสารถึงแบรนด์โพสิชันนิ่ง คือ ทุกหลักสูตร เน้นความคิดสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ ภาพยนตร์โฆษณาชุดนี้เลือกใช้ครีเอทีฟมืออาชีพจากเอเยนซี่ค่ายNudeJEH นำทีมโดย จุรีพร ไทยดำรงค์ หรือ จูดี้ ครีเอทีฟชื่อดัง ฝีมือดี เข้ามาดูแลทั้งแคมเปญโฆษณาเป็นปีแรก

จุรีพร หรือ เจ๊จูดี้ บอกว่า หากมองมหาวิทยาลัยเป็นโปรดักต์ มหาวิทยาลัยชั้นนำแต่ละแห่งจะมีจุดยืนชัดเจน เช่น จุฬาลงกรณ์ เด่นด้านวิชาการ ธรรมศาสตร์ ดังเรื่องของสังคมการเมือง ส่วนมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้วางจุดยืนของเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์มาแล้ว 

แต่ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่ยังมองว่า ความคิดสร้างสรรค์เป็นด้านศิลปะเท่านั้น มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องตอกย้ำจุดยืนด้วยโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้ต่อเนื่อง โดยเพิ่มคำ The Creative University นำเสนอให้รูปแบบง่ายๆ คนดูเข้าใจได้ทันที พร้อมกับการตอกย้ำแบรนด์โพสิชันนิ่งไปในตัว การเลือกใช้สื่อทีวีซียังเป็นเรื่องจำเป็น เพื่อดึงดูดคนดู สนใจและติดตาม และจดจำแบรนด์ได้เร็ว จากนั้นเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หลักสูตร จะนำเสนอผ่านเว็บไซต์ โบรชัวร์ ที่จะให้รายละเอียดได้ดีกว่า 

 

ม.หอการค้า เลิกใช้ TVC 

จัดเต็มซีรี่ส์ออนไลน์กระชากใจวัยรุ่น

มหาวิทยาลัยหอการค้าปีนี้ ปลี่ยนแปลงกลยุทธ์การโฆษณาอย่างชัดเจน โดยหันหลังให้กับสื่อ TCV เปลี่ยนมาใช้สื่อออนไลน์เต็มพิกัด โดยสร้างสีสันใหม่ในรูปแบบของ “มินิซีรี่ส์” ภาพยนตร์ออนไลน์จำนวน 4 ตอน ใช้ชื่อหนังรักวัยรุ่น “Love 18+รักต้องเลือก” โดยนำเสนอผ่านช่องทางเว็บไซต์ www.love18themovie .com พร้อมจัดทำMovie Catalogue 

 มานา คุณธาราภรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการโฆษณามหาวิทยาลัยหอการค้า มองว่า การเลือกทำเป็น “มินิซีรี่ส์” และMovie Catalogue สามารถนำเสนอข้อมูลต่างๆ ได้หลากหลายและครบถ้วนกว่า TVC ที่มีเวลาจำกัด และการเลือกสื่อออนไลน์เป็นหลัก เพื่อให้เข้ากับพฤติกรรมวัยรุ่น ระดับมัธยม 6 ที่ผ่านการวิจัยมาแล้วว่ามักเลือกใช้สื่อออนไลน์ เปิดรับสื่อฟรีทีวีน้อยลง 

โจทย์สำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ “มินิซี่รี่ส์” ได้รับความสนใจจนเกิดเป็นกระแส “ไวรัล” บอกต่อและแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก “เนื้อหา” จึงต้องเป็นเรื่องใกล้ตัวกลุ่มเป้าหมายที่เป็นวัยรุ่น เด็กมัธยม และพฤติกรรมของวัยรุ่นมักสนใจกับเรื่องความรัก การเรียน และชีวิต มาเป็นธีมเดินเรื่อง นั่นคือที่มาของการออกแบบให้มินิซีรี่ส์ชุดนี้เล่าเรื่องให้วัยรุ่นสนใจและติดตาม ผ่านตัวละครเอก 4 คน นักเรียนชายม.6 ที่ตกหลุมรักนักศึกษาสาวสวยหญิงรุ่นพี่ 2 คน โดยมีรุ่นพี่ชายอีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ดังนั้น จึงกลายเป็นรักต้องเลือก   

จากนั้นจึงสอดแทรกแนะนำหลักสูตรของคณะต่างๆ บรรยากาศในห้องเรียน รูปแบบการเรียนการสอน เข้าไปในเนื้อเรื่องแบบเนียนๆ ด้วยวิธีแบบนี้ มียอดคนดูรวมทั้งเว็บไซต์ ยูทูบ เฟซบุ๊ก ทะลุ 6 แสนวิวเลยทีเดียว 

มินิซีรี่ส์ออนไลน์เรื่องนี้ ได้เลือกเอเยนซี่ที่เชี่ยวชาญสื่อดิจิตอล บริษัทซีเจ เวิร์ค  CJ WORX ของจิณณ์ เผ่าประไพ อดีตผู้บริหาร ที่เคยฝากผลงานมาแล้วกับแคมเปญโฆษณาออนไลน์ มินิซีรี่ส์ออนไลน์ ผลงานล่าสุดของเขา คือ การปั้นแฟนเพจให้กับ AXE Thailand ด้วยมุขจีบสาว จนติดอันดับแฟนเพจสูงสุด มินิซีรี่ส์เรื่องนี้ยังได้ คมกฤษ ตรีวิมล ผู้กำกับมืออาชีพจากภาพยนตร์ไทยเงินล้าน เพื่อนสนิท และแฟนฉัน จากค่ายGTH เป็นผู้ดูแลการผลิตมินิซีรี่ส์เรื่องนี้ด้วยเช่นกัน 

 

ม.ศรีปทุม ตีโจทย์ 4 ปีเปลี่ยนได้แน่

สำหรับมหาวิทยาลัยศรีปทุม เคยสร้างความฮือฮากับหนังโฆษณาทีวีมาแล้ว เมื่อหลายปีที่แล้ว มาปีนี้ เลยจัดเต็มแคมเปญโฆษณาโฆษณาทีวี 4ชุด (ชื่อชุดว่า พ่อตา, เด็ก, ร้าน และมรดก) ผสมผสานไปกับใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียเพิ่มมากขึ้น โดยเลือกใช้เอเยนซี่ชั้นนำอย่าง JWT คิดแคมเปญมีชื่อว่า “4 years change”  

ปีนี้มหาวิทยาลัยศรีปทุมยังคงต้องตอกย้ำโพสิชันนิ่ง ของการเป็นมหาวิทยาลัยของคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีความพร้อมในทุกด้านที่เตรียมไว้ให้กับนักศึกษา ให้เห็นว่า เวลา 4ปีกับการเปลี่ยนแปลงเด็กนักเรียนธรรมดาคนหนึ่งให้เป็นมืออาชีพทุกวงการ โดยปีนี้จะเน้นการเล่าเรื่อง (Story Telling) และวิธีการนำเสนอที่มีทั้งสื่อทีวี ออนไลน์ โซเชี่ยลมีเดีย โรดโชว์ ซีอาร์เอ็ม ใช้ทุกรูปแบบ 

“การสื่อสารกับเด็กวัยรุ่นสมัยนี้จำเป็นต้องใช้ช่องทางสื่อสารครบทุกมิติ กับเครื่องมืออย่างหลากหลาย ทั้งทีวีและโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของเด็กวัยรุ่นในยุคนี้ เพราะช่องทางหาข้อมูลและเป็นทางลัดตรงเข้าถึงกลุ่มเด็กวัยรุ่น” เทพ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานกิจการสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อธิบายถึงที่มาของกลยุทธ์โซเชี่ยลมีเดีย 

การนำเสนอข้อมูลในเฟซบุ๊ก จะเน้นเนื้อหาวาไรตี้ที่นักเรียน นักศึกษาสามารถเข้ามาดูแล้วทำให้รู้จักตัวเองมากขึ้น เกิดแรงบันดาลใจ อยากเป็นอะไรในอนาคต จากนั้นจึงสอดแทรกข้อมูลหลักสูตร คณะสาขาต่างๆ ในเนื้อหาอีกที ขณะที่ Twitter นำเสนอข้อมูลแคมเปญและรายละเอียดคณะ สาขาวิชา กิจกรรมของมหาวิทยาลัย เพื่อสื่อสารว่าเวลา 4 ปีในมหาวิทยาลัยมีเรื่องราวต่างๆ มากมาย ควบคู่ไปกับการสื่อสารด้วยภาพยนตร์โฆษณาทางทีวี

เนื้อหาในTVC จะมี 4 ชุด (ชุดพ่อตา, เด็ก, มรดก และร้าน) มีบทบาทเป็นเพียงส่วนเสริม และดึงดูดให้คนเข้ามาดูในเว็บไซต์อีกต่อ ซึ่งสามารถนำข้อมูลรายละเอียดหลักสูตรจำนวนมากได้ดีกว่าโฆษณาทีวีไม่สามารถใส่ข้อมูลทั้งหมดนำเสนอได้ภายใน 30 วินาที อย่างไรก็ตาม TVC ก็ยังสร้างการรับรู้แบรนด์ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย อาทิ ผู้ปกครอง บริษัทต่างๆ อีกด้วย ได้รู้ความมีตัวตนของมหาวิทยาลัย 

 

ม.รังสิต CSR University 

มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นอีกแห่งที่เลือกใช้สื่อออนไลน์มาเป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ต่อเนื่อง ทั้งการให้รุ่นพี่แชตกับรุ่นน้อง จนบางแคมเปญกวาดรางวัลทั้งในและต่างประเทศมาแล้ว  

ผศ.สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ ผู้อำนวยการสำนักงานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกว่า ปีนี้ยังคงมุ่งเน้นการนำ “นิวมีเดีย” มาเป็นสื่อที่ใช้ในการสื่อสาร เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ แต่ยังคงไม่ทิ้งสื่อหลักอย่างทีวีซี โดยเป็นการผสมผสานระหว่างการใช้สื่อทีวีซี พรีเซนเตชั่น ซีรี่ส์ออนไลน์ เพื่อตอกย้ำ Brand Positioning ของการเป็น CSR University  

แนวคิดมหาวิทยาลัย CSR เป็นการฉีกแนวจากเดิมที่มุ่งประเด็นความสำเร็จของนักศึกษาหรือศิษย์เก่า (Success Stories) โดยได้ตอกย้ำประเด็นนี้มาเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2546-2550 แต่เมื่อมหาวิทยาลัยอื่นๆ นำเรื่อง Success Stories มาใช้กันแพร่หลาย  ม.รังสิตจึงได้ฉีกแนวมาเป็นประเด็นจิตสาธารณะตั้งแต่ปี 2551 โดยนำเรื่องราวชีวิตจริงของนายแพทย์กันตพงศ์ เล่าลือพงศ์ศิริ หรือ “หมอม้ง” ที่ได้รับโอกาส หรือทุนการศึกษาเป็นกรณีพิเศษจากมหาวิทยาลัยรังสิต มาผลิตเป็นภาพยนตร์โฆษณา 

“หนังแนวนี้คนดูจะรู้สึกว่าเป็นองค์กรที่ดี เสียสละไม่มุ่งแสวงหากำไร กลุ่มผู้ใหญ่ ผู้ปกครองชอบ แต่ต้องยอมรับกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่นอาจจะเฉยๆ”

จึงเป็นโจทย์ให้หนังโฆษณาทีวีปีนี้ ที่ใช้ชื่อชุดว่า Why Sharing หรือ ทำไมเราต้องแบ่งปัน ทำควบคู่กับพรีเซนเตชั่น 4 ชุด โดยใช้วิธีตั้งคำถามแบบโดนใจวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย “ทำไมฉันเกลียดที่นี่” ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องของมหาวิทยาลัยรังสิตในรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดการอัพโหลด และแชร์ต่อในเฟซบุ๊ก มีความยาว 4.59 นาที ใช้เวลา 10 เดือนในการผลิตทั้งวางโครงการ วิธีเล่าเรื่องและพัฒนาบท

ซีรี่ส์ออนไลน์จำนวน 4 ชุด เพื่อตอบโจทย์ให้รับรู้โลกความจริงว่าเป็นเช่นไรและบทสรุปของศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จแล้วในอาชีพ โดยมีกลยุทธ์ซีรี่ส์ออนไลน์อินไซต์ จากพฤติกรรมของนักเรียน มัธยมปลาย กำหนดให้ออกทุกวันศุกร์จำนวน 4 ครั้ง เริ่มตอนแรกศุกร์ที่ 11 พฤษภาคมนี้ ใช้ชื่อว่า “ฉันเกลียดที่นี่” โดยความเกลียด ได้แก่ เกลียดระบบการศึกษาของประเทศไทย ทำไมต้องสอบเข้า และเกลียดการทำข้อมูล ทำไมต้องมีข้อสอบ เป็นต้น 

ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ชูจุดขาย 4ทศวรรษ.

 ส่วนโฆษณาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (DPU) ไม่ได้หวือหวาเหมือนกับคู่แข่ง โดยยังคงพยายามเน้นย้ำเรื่องความน่าเชื่อถือ เพื่อลบภาพลักษณ์ในอดีต ภายใต้ TVC ที่ใช้ชื่อชุดว่า “Discover the pride in you” โดยใช้ Key Massages คือ 44 ปีแห่งความภูมิใจของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ร่วมสร้างบุคลากรคุณภาพสู่สังคมไทย 

โดยนำเอาผลงานที่แล้วมา เช่น คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงค์, วิทยาลัยนานาชาติจีนที่เป็นการร่วมกันกับมหาวิทยาลัยคุนหมิง, วิทยาลัยนานาชาติ DPUIC, รางวัลชนะเลิศหุ่นยนต์นานาชาติ เพื่อตอกย้ำถึงตรียมความพร้อมสู่การแข่งขันระดับนานาชาติ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความร่มรื่นย์ภายในมหาวิทยาลัย 

ร.ร.ปัญญาภิวัฒน์ รีแบรนด์ใหม่ PIM  

อีกแห่งที่ต้องจับตา คือ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์แห่งนี้ เดิมใช้ชื่อว่า “โรงเรียนปัญญญาภิวัฒน์” เปิดสอนหลักสูตรในระดับ ปวช.และ ปวส. ล่าสุดได้เพิ่มหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท จึงได้รีแบรนด์ใช้ชื่อใหม่ว่า “สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIM” พร้อมกับออกภาพยนตร์โฆษณาทีวีชุดใหม่ ความยาว60 วินาที โดยใช้ผู้กำกับในวงการโฆษณาอย่าง อรรณพ ชั้นไพบูลย์ จากเอเยนซี่โฆษณา บริษัท เอ็ม เอ เอ็ม ฮาร์ท จำกัด 

แนวคิดของภาพยนตร์โฆษณาฯ ยังคงตอกย้ำ เรื่องของหลักสูตรการเรียนทฤษฎีควบคู่ปฏิบัติกับสาขาวิชาที่เรียนจริง (Work-Based Learning) ตลอดทั้ง 4 ปี ซึ่งเป็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่าง PIM กับมหาวิทยาลัยทั่วไป 

เนื้อเรื่องเล่าผ่านกลุ่มนักศึกษาในห้องเรียน ผลักกำแพงห้องเรียนออกไปพบกับการเรียนปฏิบัติในสถานที่จริง ภาพเห็นตึกทรู (True) ที่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ ฝึกประสบการณ์การจัดการข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศ กับ บริษัท ทรู ทัช จำกัด ขณะที่นักศึกษาอีกกลุ่มผลักกำแพงอีกด้านเข้าไปฝึกประสบการณ์จริงกับ ธนาคารแห่งประเทศจีน (Bank of China) ธนาคารที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของประเทศจีน 

ขณะที่กลุ่มนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาชาวิชาการจัดการค้าปลีก ผลักกำแพงห้องพบกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยพวกเขาได้เรียนประสบการณ์กับผู้นำธุรกิจค้าปลีกตั้งแต่ขั้นตอนการคัดสรรสินค้า เพื่อส่งมอบสินค้าคุณภาพแก่ลูกค้ากว่า 8 ล้านคนต่อวัน

กิมมิกของภาพยนตร์ ยังได้นำ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ CEO บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และผู้ก่อตั้งสถาบันการจัดการ PIM มาร่วมเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อสะท้อนถึงความใส่ใจของมืออาชีพกับบุคลากรในอนาคต 

การปรับเปลี่ยนของปัญญาภิวัฒน์ หรือ PIM ครั้งนี้ จึงเป็นอีกหนึ่ง ที่เพิ่มดีกรีการแข่งขันของมหาวิทยาลัยเอกชน ที่รุนแรงอยู่แล้วให้เพิ่มขึ้นไปอีก

 

cellpadding=”2″ cellspacing=”2″>

style=”vertical-align: top; text-align: center;”>กลยุทธ์การสื่อสารของสถาบันการศึกษา-มหาวิทยาลัยเอกชน
2012

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>แบรนด์
(สถาบันการศึกษา )

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>แบรนด์โพสิชันนิ่ง/คีย์แมสเสจ

style=”vertical-align: top; font-weight: bold; text-align: center;”>กลยุทธ์สื่อสาร/แคมเปญโฆษณาปี
2555
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์/ทุกหลักสูตรเน้นความคิดสร้างสรรค์ ออกภาพยนตร์โฆษณา TVC ชุดลักพา
+โฆษณาแบนเนอร์ผ่านเว็บไซต์ดังและโฆษณาสถานีบีทีเอส เน้นตอกย้ำ
การมีความคิดสร้างสรรค์เป็นที่ต้องการ มหาวิทยาลัยรังสิต

ซีเอสอาร์
ยูนิเวอซิตี้/การทำอะไรดีๆให้กับสังคมมันอยู่ในดีเอ็นเอพวกเราทุกคน ออกภาพยนตร์โฆษณาTVC ชุดWhy
Sharing 1 ชุด+พรีเซ็นเตชั่นผ่านเว็บไซต์ม.รังสิต 4 ชุด+ซีรี่ส์ออนไลน์ 4
ชุด+Live Chat โดยทีมรุ่นพี่ถาม-ตอบสดกับ น.ร. มหาวิทยาลัยหอการค้า สถาบันการศึกษาชั้นนำเอเชีย
(มุ่งสร้างผู้ประกอบการอาชีพ-เน้นในปี 2555 ) ทำมินิซีรี่ส์ 4 ชุด+Movie
Catalogue ผ่านเว็บไซต์ target=”_blank”>www.love18themovie.com มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยชั้นนำเพื่อคนรุ่นใหม่/เราจะทำให้
4 ปีของนักศึกษาหมุนไปกับสปีดของโลก ออกภาพยนตร์โฆษณาTVC 4ชุด
(ชุดพ่อตา, เด็ก, มรดก, ร้าน)+เว็บไซต์ href=”http://www.4yearschange.com/” target=”_blank”>www.4yearschange.com

ทำโรดโชว์, ใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดียครบครัน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยคุณภาพมาตรฐานนานาชาติ*/
44
ปีแห่งความภูมิใจของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ร่วมสร้างบุคลากรคุณภาพสู่สังคมไทย** ภาพยนตร์โฆษณาทางทีวี ชุด
Discover the pride in you สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
( PIM ) สถาบันการจัดการมืออาชีพ/
ประสบการณ์ จากองค์กรที่มีคุณภาพ หล่อหลอมให้บัณฑิตที่นี่
พร้อมทำงานอย่างมืออาชีพ ออกภาพยนตร์โฆษณาทางทีวี
1ชุดสร้างภาพลักษณ์แบรนด์และประชาสัมพันธ์ นศ.ใหม่ ที่มา :
กองบรรณาธิการ POSITIONING Magazine รวบรวม */** 
ข้อมูลจากเอกสาร

]]>
14768
Digital Agenda Thailand จัดสัมมนาต่อเนื่องซีรีส์ 4 หัวข้อ "Content & Creativity in the Digital Thailand" https://positioningmag.com/55310 Mon, 25 Jun 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55310

รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม (ขวาสุด)  คณบดี คณะนิติศาสตร์ และประธานสถาบันวิชาการนโยบายสาธารณกับธุรกิจ และการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พร้อมด้วย นายเอกชัย ภัคดุรงค์ (ที่ 2จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานกิจการองค์กร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน), นายธนา เธียรอัจฉริยะ (ที่3 จากขวา)ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จี เอ็ม เอ็ม แซท จำกัด,  นายยงยุทธ ทองกองทุน (ที่ 3 จากซ้าย)ผู้อำนวยการแผนกต่างประเทศ  บริษัท จีเอ็มเอ็ม ไท หับ จำกัด (จีทีเอช) และนายณรงค์วิทย์ เตชะธนะวัฒน์ (ที่ 2 จากซ้าย)นักร้อง นักแต่งเพลง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ร่วมสนทนาในหัวข้อ “เปิดเวทีนักคิดไทย”  ในงานสัมมนาซี่รีส์ 4  โครงการ Digital  Agenda Thailand หรือวาระดิจิทัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย”  จัดโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP)  ร่วมด้วยบริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน) โดยมีภิญโญ ไตรสุริยะธรรมา พิธีกรชื่อดังเป็นผู้ดำเนินรายการ ณ  โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

]]>
55310
Digital Agenda Thailand เชิญชวนคนไทย “รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย” https://positioningmag.com/55275 Tue, 22 May 2012 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=55275

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (UTCC)   สถาบันวิชาการนโยบายสาธารณกับธุรกิจ และการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP)   บริษัท  ไทยคม  จำกัด (มหาชน)  และเอ๊ซ (ACE) ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการ “Digital Agenda Thailand” หรือ “วาระดิจิทัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย” จัดสัมมนาต่อเนื่องเป็นซี่รีส์ที่ 3  ในหัวข้อ “มองมุมใหม่… ทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวี”    โดยเชิญวิทยากรชั้นนำทั้งที่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ และผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการ Satellite TV และ Mobile TV  ทั้งในและต่างประเทศมาร่วมนำเสนอความรู้ และข้อเท็จจริงในทุกแง่มุมจากทั่วโลก มาอัพเดทให้คนไทยได้รับรู้ เพื่อร่วมกันผลักดัน เปิดโอกาส และเปิดสังคมไทยในโลกยุคดิจิทัล  เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ

รศ. สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดี คณะนิติศาสตร์ และประธานสถาบันวิชาการนโยบายสาธารณกับธุรกิจ และการกำกับดูแล (APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยในงานสัมมนาภายใต้หัวข้อ “มองมุมใหม่… ทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวี” ว่าโครงการ Digital Agenda Thailand หรือ “วาระดิจิทัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย”  เป็นภารกิจหรือ Mission ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สถาบันวิชาการนโยบายสาธารณกับธุรกิจ และการกำกับดูแล (APaR)  สถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP) บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และ เอ๊ซ (ACE) ริเริ่มจัดขึ้น โดยมีเป้าประสงค์ในการเป็นตัวกลางที่รวบรวม ค้นหา และส่งผ่านความรู้ ประสบการณ์ และผลกระทบในทุกแง่มุมที่เกี่ยวกับด้านดิจิทัลจากทั่วโลกมาสู่คนไทย โดยใช้ช่องทางการจัดสัมมนา การจัดนิทรรศการ และการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ทั้งให้ความรู้เชิงวิชาการและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเทคโนโยลียีดิจิทัลที่กำลังจะเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทยในระยะเวลาอันใกล้นี้  ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศไทยเท่านั้น   แต่ยังเป็นการพลิกโฉมประเทศไทยให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และการศึกษา  โดยมีกรณีศึกษาจากประเทศผู้นำของโลกอย่าง อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น  ซึ่งเป็นต้นแบบในการนำเรื่องของดิจิทัลมาเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว  จนกระทั่งปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกและในภูมิภาคเอเชียได้ตระหนักถึงความสำคัญและดำเนินการเปลี่ยนระบบการการสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศเป็นระบบดิจิทัลกันแล้ว ในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้นวางกรอบการดำเนินการภายใต้แผนแม่บทฯ ของคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง

 “จากการติดตามการทำงานของ กสทช. ที่ผ่านมา  ผมเห็นว่ามีหลายประเด็นที่จะทำให้ ดิจิทัลทีวีในประเทศไทยไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์เพราะแผนการดำเนินงานโดยการกำหนดกรอบเวลาคืนคลื่นความถี่ให้กับผู้รับสัมปทานรายเดิม

โดยไม่เรียกคืนพร้อมกันทั้งหมดจะส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่เข้ามาประมูลไม่สามารถเกิดได้  ต้องยอมรับว่า ฟรีทีวีของไทยทรงอิทธิพลและเข้าถึงทุกครัวเรือนจริงๆ หากไม่ดำเนินการจัดสรรคลื่นความถี่แบบ  Reframing หรือการกำหนดกรอบการจัดสรรใหม่ทั้งระบบแล้วนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ระบบอนาล็อกสำหรับผู้ได้รับสัมปทานเดิม และระบบดิจิตอลสำหรับผู้เข้าประมูลรายใหม่  ซึ่งเมื่อมาตรฐานการแข่งขันไม่เท่าเทียมกัน การแข่งขันอย่างเสรีก็ย่อมไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ประเด็นเรื่องการออกใบอนุญาตของทีวีดาวเทียมไทยและโมบายล์ทีวีที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนก็ย่อมส่งผลต่อการเติบโตของทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวีโดยตรง เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ประกอบการจำนวนมากลงทุนล่วงหน้าไปเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อรอเวลาที่จะได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้อง ในขณะที่ กสทช. ก็ยังไม่เร่งดำเนินการเรื่องการออกใบอนุญาตสำหรับทีวีดาวเทียมหรือแม้แต่โมบายล์ทีวีเลยซะที  ดังนั้นไม่เกิน 1 ปี ทีวีดาวเทียมในประเทศไทยก็จะค่อยๆ ล้มหายตายจากไปเรื่อยๆ ในขณะที่ผู้ประกอบการรายใหม่ของโมบายล์ทีวีอาจจะไม่มีโอกาสได้เกิดเลย เพราะไม่สามารถดำเนินธุรกิจให้ตัวเองอยู่รอดได้แน่นอน  แต่หากได้รับใบอนุญาตทันทีหรือพร้อมกันกับดิจิทัลทีวีแล้วนั้น ในมุมมองของผมเห็นว่านอกจากจะทำให้ทีวีดาวเทียมที่เกิดขึ้นมาแล้วสามารถเติบโตได้ และยังจะเป็นสื่อทางเลือกที่ดีที่ถูก ให้กับคนไทยอีกด้วย  เช่นเดียวกับโมบายล์ทีวีซึ่งตามจริงแล้วคือสื่อทางเลือกใหม่ที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีและมีราคาถูก และยังกล่าวได้อีกว่าจะเป็นอีกสื่อหนึ่งที่มีบทบาทต่อสังคมไทยและควรจับตาเกี่ยวกับการพิจารณาให้ใบอนุญาตของ กสทช. ต่อไป” รศ.สุธรรมกล่าว

สำหรับการจัดสัมมนาครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ “Shifting Platform…. Satellite TV and Mobile TV” หรือ “มองมุมใหม่… ทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวี” ครั้งนี้ นอกจากมีหน่วยงานและสื่อมวลชนต่างๆ ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อเปิดหูเปิดตาคนไทย ให้รู้เท่าเทียมว่าประเทศอื่นๆ เค้ามีการบริหารจัดการและได้รับผลกระทบเกี่ยวกับเรื่องดิจิทัลนี้เช่นไร และหันมาร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยและสังคมไทยได้มีโอกาสเปิดรับหรือเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคนไทยและประเทศไทยนั่นเอง   ทั้งนี้ยังได้รับการสนับสนุนจาก International Telecommunication Union (ITU) ในฐานะวิทยากรหลักอย่างต่อเนื่องในอีกหลายๆ ซีรี่ส์ในอนาคตอีกด้วย

โดยในงานสัมมนา จะประกอบไปด้วยความรู้เชิงวิชาการและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นแล้ว รวมถึงผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะเข้ามามีบทบาทต่อประเทศไทย และค้นหาเหตุผลที่ว่าทำไมทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวี จะมีบทบาทเป็นตัวกลางในการสื่อสารและการเข้าถึงของข้อมูลมากที่สุดก็ว่าได้ ทั้งนี้ทาง ITU หรือ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ก็จะมาเล่าถึงกรณีศึกษาต่างๆ ในเรื่องของประเด็นความเท่าเทียมกันทางสังคมในยุคดิจิทัลทีวีที่เกิดขึ้นแล้วในหลายๆ ประเทศ ซึ่ง กสทช. ก็จะมาให้ความกระจ่างในเรื่องของบทบาทขององค์กรกำกับดูแลในมิติทางสังคม การจัดสรรคลื่นความถี่ ใบอนุญาตและการส่งเสริม และยังรวมไปถึงวิทยากรชั้นนำที่เป็นนักธุรกิจ นักวิชาการ และผู้ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการทีวีดาวเทียมและโมบายล์ทีวียังมาร่วมถกถึงการมองมุมใหม่ หนทางในอนาคต กลยุทธ์ รูปแบบธุรกิจ และรูปแบบของการสื่อสารแนวใหม่บนเวทีเดียวกัน  อาทิ Eun-Ju Kim, Ph. D. ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคจาก ITU คุณสุภิญญา กลางณรงค์ จาก กสทช. คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์  ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในหัวข้อ “Forward Looking Satellite TV in Digital Era – มุมมองของทีวีดาวเทียมเมื่อมีดิจิตอลทีวี” ตามด้วยการบรรยายแบบตรงไปตรงมาในหัวข้อ “โอกาสของการยอมรับโมบายล์ทีวีในประเทศไทย” โดยดร.จิตรเกษม งามนิล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายบริหารกลยุทธ์ บริษัท อินเตอร์แนชั่นเนิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)  และปาฐกถาในหัวข้อ “Cloud Computing และรูปแบบธุรกิจใหม่” โดย คุณโฆษิต สุขสิงห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี เทคโนโลยี จำกัด 

 นอกจากนี้ยังมี Dialog Talk  หัวข้อ: “Shifting Platform … Satellite TV: What’s next?” โดย รศ.สุธรรม อยู่ในธรรม คณบดีคณะนิติศาสตร์ และประธานสถาบันวิชาการนโยบายสาธารณะกับธุรกิจและการกำกับดูแล(APaR) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, คุณธีระพงศ์ โสดาศรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และคุณเอกชัย ภัคดุรงค์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการส่วนงานกิจการองค์กร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ตามด้วย Panel Discussion ในหัวข้อ “Shifting Platform: Satellite TV” ซึ่งร่วมเสวนาโดยคุณอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่นบรอดแคสติ้ง คอรปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณอารักษ์ ราษฎร์บริหาร บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ 1998 จำกัด (มหาชน) / Spring News ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียม (ประเทศไทย) และคุณอมรภัทร ชมรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซ์ สเต็ป จำกัด  

ทั้งนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับข้อดีและข้อเสียจากกรณีศึกษาของประเทศญี่ปุ่น ในการใช้ระบบรับส่งสัญญาณโมบาลย์ทีวีในระบบ ISDB ซึ่งเป็นระบบที่ประเทศญี่ปุ่นคิดค้นขึ้นตั้งแต่ปี 1993  โดยมี Mr. Toru Sano, Deputy Manager, Strategy Cross-Media Business Planning & Development, Programming DivisionNippon Television Network Corporation มาร่วมแชร์ประสบการณ์  ตลอดจนหัวข้อใหม่ที่น่าสนใจอย่าง  “ธุรกิจใหม่ Mobile TV กับผลกระทบหรือโอกาส” โดยมีคุณวิทวัส ชัยปาณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟจูซ จีวัน จำกัด และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และ คุณธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจบรอดแคสติ้ง) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะมาร่วมพูดคุยกันบนเวที  โดยมีรศ.สุธรรม อยู่ในธรรม เป็นผู้ดำเนินรายการ และปิดท้ายงานสัมมนาอย่างชัดเจน คมเข้ม และรู้จริงในหัวข้อ  “วาระทางสังคมและการกำกับดูแล” โดย ดร.ภูษณ ปรีย์มาโนช ประธานสถาบันนโยบายสังคมและเศรษฐกิจ (ISEP) และเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มโครงการ Digital Agenda Thailand

“การจัดสัมมนาครั้งนี้ ผมหวังว่าคนไทยจะได้รับรู้ข่าวสารและข้อมูลและความเป็นจริงในทุกแง่มุมทั้งเรื่องราวและความสำคัญของระบบดิจิทัล บทเรียนความรู้จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มีประสบการณ์เรื่องนี้มาก่อนเรา รวมถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย  โดยอยากเชิญชวนให้คนไทยลุกขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับโครงการ “Digital Agenda Thailand” หรือ “วาระดิจิทัล รู้ทันโลก ร่วมเปิดไทย”  เพื่อขับเคลื่อนเรื่องของดิจิทัลให้เป็นวาระสำคัญของประเทศ  เพื่อให้มั่นใจว่าเราทุกคนมีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศไทยนั่นเอง” รศ.สุธรรม กล่าวในที่สุด

ทั้งนี้ ทางคณะผู้จัด ก็ยังคงจะเดินหน้าจัดสัมมนาเพื่อให้ความรู้ และอัพเดทข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่องต่อไปตามที่ตั้งใจไว้แน่วแน่ โดยในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้  จะมีการจัดสัมมนาซีรี่ส์ที่ 4 ในหัวข้อ “”Content & Creativity in the Digital Thailand”  ซึ่งสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ตลอดเวลาที่ ACE (เอ๊ซ) โทร.02 254 8482-3 อีเมล์ info.acethailand@gmail.com หรือที่ Website ของโครงการ www.digitalagendathailand.com ได้ตลอดเวลา

 

]]>
55275
เปิดเทอมนี้ "โน้ตบุ๊ก out – ไอแพด in" https://positioningmag.com/13801 Fri, 10 Jun 2011 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=13801

“เดี๋ยวป๊าซื้อโน้ตบุ๊กให้” แต่อาม่าตอบทันทีว่า “เดี๋ยวนี้เค้าใช้ไอ-แพกแล้ว (ในสำเนียงซาวด์แทร็ค)” เป็นจุดขายใหม่ในทีวีซีที่ยิงมาตั้งแต่ต้นปีของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ในยุคที่ “ไอแพด” เป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ความแรงของไอแพดทำให้ชื่อของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยครั้งนี้ดังกว่าที่อื่นในช่วงเปิดเทอมใหม่นี้

เวลาผ่านไปก็ต้องพูดจุดขายให้ตรงกับยุคสมัย เหมือนอย่างช่วงหนึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ครอบครัวนักธุรกิจ โดยเฉพาะเชื้อสายจีนเลือก และการมีคอนเนกชั่นกับภาคธุรกิจการสื่อสารว่า “จบแล้วมีงานทำแน่นอน” จึงโดน 5 ปีหลังได้เสริมให้เห็นภาพการเป็นสถาบันการศึกษาทันสมัย เรียนสอนแบบไฮบริดคือนำระบบไอทีมาใช้ วางระบบ Wi-Fi แจกโน้ตบุ๊ก และเน็ตบุ๊ก เพราะใครๆ ก็ใช้กัน แต่นี่ก็ไม่แรงพออีกต่อไปเพราะทุกสถาบันมีเหมือนกัน

มายุคนี้เมื่อไอแพด 2 กลายเป็น Gadget ที่ใครๆ ก็อยากได้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจึงเลิกซื้อโน้ตบุ๊กและหันมาจัดไอแพด 2 ให้นักศึกษาในปี 2554 โดยรวมค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนเทอมแรกประมาณ 40,000-50,000 บาท (ส่วนแต่ละเทอมอยู่ที่ 27,000-35,000 บาท) ล็อตแรกในเทอมนี้มีนักศึกษาปริญญาตรี 5,000 คน และปริญญาโทอีก 1,000 คน ซึ่งหากนับจำนวนนักศึกษาใหม่แล้วถือว่าเพิ่มขึ้นกว่าช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา

ทั้งหมด 6,000 เครื่องถือเป็นจำนวนมากขณะที่ในตลาดลูกค้าทั่วไปของหมดและต้องรอ 1-2 สัปดาห์ จนกลายเป็นประโยคพูดคุยกันในกลุ่มคนที่อยากได้ไอแพด 2ว่า “สงสัยต้องไปลงทะเบียนเรียนที่หอการค้าฯ แล้วล่ะมั้ง”

ที่มาของการได้ไอแพด 2 ก่อนใครนั้น “อาจารย์ปรเมศ ส่งแสงเติม” รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกว่า เขาเริ่มเจรจากับแอปเปิล ประเทศไทยตั้งแต่ไอแพด 1 เปิดตัว พร้อมพัฒนาระบบ และแอพพลิเคชั่น เมื่อไอแพด 2 เปิดตัวจึงอยู่ในลำดับความสำคัญแรกๆ ของแอปเปิล ที่มีของต้องส่งมายังมหาวิทยาลัยก่อน ทำให้ได้พีอาร์ภาพเป็นข่าวไปตั้งแต่ต้นปี ที่ส่งมอบให้นักศึกษา 9 คนแรกก่อนไอแพด 2 เปิดตัวในไทยอย่างเป็นทางการ

มหาวิทยาลัยเตรียมรุ่น 16 GB Wi-Fi ไว้ หากนักศึกษาอยากได้ 32 หรือ 64GB ก็จ่ายเงินเพิ่ม และรอซึ่งมีนักศึกษาประมาณ 700 คนรอเครื่อง 64GB โดยมหาวิทยาลัยใช้งบประมาณ 70-80 ล้านบาท ซื้อเครื่องในระดับราคาเดียวกับในท้องตลาด ซึ่งต้นทุนครั้งนี้ถือว่าถูกกว่าการซื้อโน้ตบุ๊กเสียอีก

ส่วนสิ่งที่ได้พิเศษจากแอปเปิลคือการส่งของก่อน และการเปิดแอคเคานต์ให้นักศึกษาดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นจาก App Store โดยเฉพาะแอพฯ ที่ช่วยการเรียนที่เบื้องต้นมี 30-40 แอพฯ หากคิดเป็นมูลค่าแอพฯ ตลอด 4 ปีแล้วเท่ากับ 20,000-30,000 บาทต่อนักศึกษา 1 คน โดยมหาวิทยาลัยได้วางระบบให้นักศึกษาเชื่อมต่อผ่านระบบคลาวด์คอมพิวติ้ง และร่วมกับไอบีเอ็มและซิทริกซ์ พัฒนาระบบ Citric receiver for iPad ให้ไอแพดเป็นเหมือนรีโมตเดสก์ท็อป เพื่อใช้โปรแกรมอื่นๆ ได้

นอกจากไอแพด 2 และไอโฟนที่มหาวิทยาลัยใช้เป็นสื่อการเรียนสำหรับนักศึกษาแล้ว ต่อไปนักศึกษาสามารถใช้บนระบบแอนดรอยด์ แบล็คเบอร์รี่ วินโดวส์โฟน เพราะระบบของมหาวิทยาลัยเน้นการให้นักศึกษาสามารถเรียนได้ผ่านทุกแพลตฟอร์มในอนาคต

แม้วิธีการทำตลาดของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หลายคนอาจมองว่าใช้สีสันนำความแข็งแกร่งทางวิชาการไปแล้ว แต่ในยุคที่การศึกษาคือหนึ่งในธุรกิจที่แข่งขันกันสูง ก็ไม่ต่างอะไรจากสินค้าอื่นๆ ที่ต้องดึงความสนใจกลุ่มเป้าหมายให้ได้ก่อน ที่เหลือก็มาพิสูจน์สินค้ากันว่าดีหรือไม่ แน่นอนว่ายุคนี้ดีหรือไม่ดี ไม่นานนักก็รู้กันทั่ว

มหาวิทยาลัย 3 แห่งใช้งบซื้อสื่อไม่ต่ำกว่า 10-20 ล้านบาท เพื่อแข่งขันช่วงก่อนเปิดเทอมด้วยข้อความที่สื่อสารต่างกันดังนี้
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เน้นTagline “มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์”
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เรียนจบแล้วมีอนาคต เพราะมีเทคโนโลยีช่วยและชูแคมเปญแจกไอแพด2
มหาวิทยาลัยรังสิต “ร่วมสร้างสังคมแห่งการให้และการแบ่งปัน”
]]>
13801
เรียนอย่างเทรนดี้ ต้องมี iPad https://positioningmag.com/12678 Tue, 29 Jun 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=12678

iPad เริ่มเข้าไปอยู่ในกระเป๋าของนักเรียน นักศึกษาที่อเมริกาหลังจากเปิดจำหน่ายไม่กี่วัน และภาพนี้กำลังจะเกิดขึ้นในบ้านเรา ที่ขณะนี้มีมหาวิทยาลัยเอกชนอย่างน้อย 3 แห่ง กำลังพิจารณาศึกษาข้อดีข้อเสียหากให้นักศึกษาถือ iPad แทนที่ Netbook ด้วยเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนสนุก เข้าถึงบทเรียน และที่สำคัญเป็นมหาวิทยาลัยที่ Trendy มากขึ้น

ในช่วงเทอม 2 ที่จะถึงนี้ หากการเจรจาซื้อ iPad จาก Apple Thailand สำเร็จ นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม ย่านถนนเพชรเกษม ส่วนหนึ่งประมาณ 50-80 คน จะถือ iPad ในมือ เพื่อร่วมสร้างคอนเทนต์ และทดสอบการใช้งาน iPad ว่าเหมาะกับนักศึกษาอย่างพวกเขาเพียงใด และจะใช้ประโยชน์ให้เต็มที่ได้อย่างไร จากนั้นในเทอมแรกของปีการศึกษาหน้า จะถูกนำมาใช้อย่างเป็นทางการภาควิชานี้ แจกให้นักศึกษาโดยมีพันธสัญญาว่าต้องมีผลงานในการพัฒนาคอนเทนต์ แอพพลิเคชั่น ซึ่งเป็นครั้งแรกของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่แจกอุปกรณ์ไอที จากเดิมที่มหาวิทยาลัยสยามในระดับปริญญาโท ถึงจะมีการแจก Notebook ให้นักศึกษาเท่านั้น

อาจารย์ปริวรรต องค์ศุลี หัวหน้าภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มี iPad อยู่ในมือเกือบตลอดเวลา ที่ตัวเขาเองบอกว่าเขาถึงขั้นขาดไม่ได้ เพราะมีลูกเล่นให้ใช้มากมาย ตั้งแต่อ่านหนังสือพิมพ์ นิตยสาร พ็อกเกตบุ๊ก และแอพพลิเคชั่นมากมาย ที่อะไรใหม่อยู่บนหน้าจอของเขาแล้วทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นแมกกาซีนต่างประเทศอย่าง Wired หนังสือพิมพ์ USA Today และพ็อกเกตบุ๊กที่เต็มชั้นวางส่วนตัว

ตอนนี้อาจารย์ปริวรรตกับนักศึกษาส่วนหนึ่งกำลังทดสอบ iPad 4 เครื่อง เขาเห็นผลชัดเจนว่า iPad ทำให้การเรียนแบบ e-Learning เป็นจริงและได้ผลมากขึ้น เช่น ไม่เพียงแต่อาจารย์สามารถทำตำราเรียนเป็น Power Point ให้นักศึกษาดาวน์โหลดมาเรียนได้ แต่ยังเพิ่มความสนุกในการเรียนมากขึ้นด้วย VDO Clip และ Interactive รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง AR (Augmented reality) Code (ระบบเสมือนจริงเสริม) ที่ทำให้การเรียนมีชีวิตชีวามากขึ้น และการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยไม่น่าเบื่อ โดยมหาวิทยาลัยมีความพร้อมในเครือข่ายสื่อสาร ที่วาง Wi-Fi อย่างทั่วถึงให้นักศึกษาออนไลน์ได้อย่างสะดวก

นอกจากรูปแบบการเรียนของนักศึกษาจะเปลี่ยนไป ที่ไม่ต้องซีร็อกซ์เอกสารมากมาย ไม่ต้องซื้อตำราเรียนและแบกมาหนัก อาจารย์ปริวรรตยังบอกว่า นี่คือจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทำให้นักศึกษามหาวิทยาลัยสยามได้ Exposure ตัวเองกับไอทีอย่างเต็มที่อีกด้วย

เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยรังสิต ที่นอกจากกำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะให้นักศึกษาใช้ iPad แล้ว ยังต้องให้อาจารย์มีในมือทุกคน ซึ่ง ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บอกว่า เพื่อให้นักศึกษาทุกคนสะดวกในการเรียนมากยิ่งขึ้น เพราะ Wi-Fi ภายในมหาวิทยาลัยมีพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งหากผลศึกษาพบว่าเป็นผลดี ก็อาจเป็นได้ทั้ง iPad หรือแท็ปเล็ตอื่นๆ มหาวิทยาลัยก็จะนำมาให้นักศึกษาใช้ อาจมีทั้งรูปแบบแจก หรือรับภาระบางส่วน แทนโน้ตบุ๊กที่ใช้มานานประมาณ 4-5 ปีแล้ว

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กำลังขยับอีกรอบจาก 3 ปีที่แล้วได้แจกโน้ตบุ๊กให้นึกศึกษาใหม่ ที่ปีหนึ่งรับเพิ่มไม่ต่ำกว่า 5,000 คน แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาเปลี่ยนมาเป็นเน็ตบุ๊กแทน และปีการศึกษาหน้าอาจเปลี่ยนเป็น iPad เพื่อรักษา Positioning ของการเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นให้นักศึกษาทุกคนคุ้นเคยและเชี่ยวชาญการใช้อุปกรณ์ไอทีใหม่ๆ และเป็นจุดขายที่แสดงถึงมหาวิทยาลัยที่ Trendy

อาจารย์ปรเมศ ส่งแสงเติม รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บอกว่า เป้าหมายของมหาวิทยาลัยคือการทำให้คอนเทนต์ด้านวิชาการแข็งแรง และยังต้องให้การเรียนการสอนไม่น่าเบื่อ เข้าสู่รูปแบบของ Edutainment ที่มีไอทีมาซัพพอร์ตเต็มที่ ตั้งแต่เครือข่าย Wi-Fi ทั่วมหาวิทยาลัย และความร่วมมือกับสถาบันและบริษัทไอทีชั้นนำ

สิ่งที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยต้องพิจารณาคือ iPad จะไปได้ดีกับระบบการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยใช้อยู่หรือไม่ คือHybrid Learning ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่าง e-Learning กับการเรียนการสอนในห้องเรียน ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์ มากน้อยเพียงใด

ความแรงของ iPad กำลังเข้าสู่สถาบันการศึกษา ที่หากบุกตลาดนี้ได้สำเร็จ นั่นหมายถึงจำนวน iPad ในเมืองไทยจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และเมื่อถึงเวลานั้น ธุรกิจและกิจกรรมการตลาดทั้งหลายคงเลิกลังเล และเดินหน้าเพื่อให้ iPad เป็นสื่อที่ทรงประสิทธิภาพในที่สุด

อเมริกาทั้งแจกทั้งแบน
มหาวิทยาลัยหลายแห่งในอเมริกา ได้กระโดดเข้าสู่กระแส iPad ด้วยการประกาศแจก iPad ให้นักศึกษา ตัวอย่างเช่น
– Seton Hill University ใน Pennsylvania ให้ iPad แก่นักศึกษาเต็มเวลา 2,000 คน
– George Fox University ใน Oregon ให้ทางเลือกนักศึกษาเลือกระหว่าง Macbook และ iPad แต่ในปีต่อไปเหลือทางเลือกเดียวคือ iPad

แต่ขณะเดียวกัน iPad ก็เผชิญกับอุปสรรค เมื่อมีมหาวิทยาลัยชั้นนำ 3 แห่ง แบน หรือสั่งห้ามนักศึกษาใช้ iPad ภายในมหาวิทยาลัย คือ Cornell University, Princeton University และ George Washington University ที่บอกว่า เป็นอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยเลยทีเดียว และกลัวว่าจะไปกินแบนด์วิธมากจนเกิน

การห้ามนี้จึงทำให้เกิดกระแสร้องเรียนว่า 3 มหาวิทยาลัยดังกล่าวไม่ควรแบน iPad และอยากให้มหาวิทยาลัยให้ความเป็นธรรมกับอุปกรณ์ที่มาแรงนี้

]]>
12678
อบรม "ตราสินค้า (BRAND) กับทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งที่ CEO ควรรู้ไม่ควรมองข้าม" https://positioningmag.com/51925 Fri, 07 May 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=51925

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรม CEO Branding ครั้งที่ 4 เรื่อง “ตราสินค้า (BRAND) กับทรัพย์สินทางปัญญา สิ่งที่ CEO ควรรู้ไม่ควรมองข้าม” จากวิทยากรมืออาชีพ และเจ้าของแบรนด์ดัง วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม 2553 เวลา 10.00 น.-16.30น. ห้องเรียน Ex-MBA 3 อาคาร 7 ชั้น 12 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รับจำนวนจำกัด ค่าใช้จ่ายเพียง 500 บาท 
 
ผู้สนใจสามารถชำระค่าลงทะเบียนโดยโอนเงินชื่อบัญชี ศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เลขที่บัญชี 030 – 0 – 074234 บัญชีสะสมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาย่อยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย สนใจติดต่อสอบถามที่ ศูนย์ศึกษาและวิจัยตราสินค้า ม.หอการค้าไทย โทร.02-697-6355-6 โทรสาร.02-697-6355 หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.utcc.ac.th/brandthaicenter

]]>
51925
UTCC Business Smart https://positioningmag.com/51777 Wed, 21 Apr 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=51777

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แจกโน้ตบุ๊กให้นักศึกษาที่มาสมัครเข้าเรียนในระดับปริญญาตรี โดยมุ่งมั่นพัฒนาการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ผ่านระบบ UTCC Hybrid Learning เพื่อสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์ นับเป็นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

]]>
51777
เปิดตัวโครงการ “Miracle of 8 : มหัศจรรย์เมืองแปดริ้ว” https://positioningmag.com/51038 Thu, 18 Feb 2010 00:00:00 +0000 http://positioningmag.com/?p=51038

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยหลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์การตลาด รุ่น 11 ร่วมกับจังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดตัวโครงการ “Miracle of 8 : มหัศจรรย์เมืองแปดริ้ว” เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวของจังหวัด ณ โรงแรมแกรนด์ รอยัล พลาซ่า จังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมร่วมรับฟังสัมมนาทางวิชาการเรื่อง การสร้างตราสินค้าการท่องเที่ยว (Destination Branding) ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 ตั้งแต่เวลา 09.00-15.30 น.

]]>
51038