มาร์เก็ตเพลส – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 17 Nov 2023 05:29:05 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 NocNoc เผยกลยุทธ์ความสำเร็จปี 66 สร้างแบรนด์เติบโตยั่งยืน ผ่านการสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน พร้อมปักธงเป็น Home and Living Destination ของคนแต่งบ้านในตลาดออนไลน์ https://positioningmag.com/1452004 Fri, 17 Nov 2023 09:45:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452004

NocNoc ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ ปักธงพร้อมเป็น Home and Living Destination ของคนแต่งบ้านทั้งในไทยและอาเซียน ผ่านกลยุทธ์การสร้างประสบการณ์ในทุกมิติที่ดีที่สุดให้กับผู้ใช้งาน เชื่อจะช่วยให้แบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืน มั่นใจปิดปี 66 โตตามเป้า 5,000 ล้าน   

นายอนุพงศ์ ทะสดวก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าและพาณิชย์ บริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด หรือ NocNoc ศูนย์รวมสินค้าและบริการเรื่องบ้านออนไลน์ กล่าวว่า ภาพรวมของแพลตฟอร์ม NocNoc ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบัน เรียกได้ว่าเติบโตตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยเฉพาะเป้าหมายการเป็น Home and Living Destination ให้กับทุกคน

 “ด้วยความตั้งใจของ NocNoc เราไม่ได้ทำมาร์เก็ตเพลสเพื่อแข่งขันกันด้านราคา แต่เราต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุด หรือ Customer Experience เพื่อให้แพลตฟอร์มของเราเป็น Home and Living Destination ที่พร้อมให้ทั้งไอเดียและแรงบันดาลใจในการแต่งบ้าน โดยมีสินค้าเรื่องบ้าน พร้อมบริการงานช่าง งานติดตั้งครบจบในที่เดียวให้เลือกมากมาย ตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกคน ทุกสไตล์ และทุก Segment ได้จริงๆ และนี่คือสิ่งที่เราแตกต่างจากที่อื่น ซึ่งเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่ทำให้เราเติบโตได้อย่างรวดเร็ว”

นอกจากนี้ เรายังได้นำ Data-Driven Marketing มาค้นหาความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าได้อย่างตรงจุด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบแคมเปญที่เข้าถึงความต้องการ ไลฟ์สไตล์ ฟังก์ชันของลูกค้าทุกกลุ่มได้อย่างตรงจุด ทั้ง Sale Driven Campaign หรือโปรโมชั่นแคมเปญ เช่น  PayDay Midmonth และ Double Day เช่น 8.8, 9.9, 10.10, 11.11 ซึ่งถือว่าเป็นแคมเปญที่สร้างความสำเร็จให้กับ NocNoc เพราะไม่เพียงแต่โปรโมชั่นความคุ้มที่มาพร้อมกับความหลากหลายของสินค้าแต่งบ้านที่มีให้เลือกเยอะแล้ว ร้านค้าและพาร์ทเนอร์ยังพร้อมกันทำโปรโมชั่นที่ดีที่สุดบนแพลตฟอร์ม ทำให้ยอดขายในช่วงเวลาดังกล่าวเติบโตต่อเนื่อง และเติบโตเป็นสองเท่าในช่วงที่ผ่านมา

อย่างล่าสุด 11.11 NocNoc ลด เล่น ใหญ่ ได้รับผลตอบรับที่ดีเป็นอย่างมาก ทั้งในเชิงยอดขาย และการเข้าร่วมกิจกรรมความบันเทิงที่เรามอบให้กับลูกค้าตลอดทั้งแคมเปญ โดยเราอัดเม็ดเงินทางการตลาดทั้งสื่อออนไลน์ และออฟไลน์ กระจายไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วไทย ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งขยายช่องทางการเข้าถึงสินค้าเรื่องบ้านให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าช้อปสะดวกมากขึ้น ผ่านช่องทาง NocNoc Tiktok Shop ทำให้เรามีช่องทางช้อปสินค้าทั้งหมด 4 ช่องทางคือ NocNoc Application , Website , NocNoc Chat and Shop และ NocNoc Tiktok Shop

“สิ่งที่ NocNoc มีต่างจากแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสอื่นๆ คือ เราทำเรื่องเกี่ยวกับบ้าน การตกแต่งบ้าน และไลฟ์สไตล์ที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยโดยตรง เป็นสินค้า Home and Living ที่มีคุณภาพ มีตัวเลือกที่หลากหลาย ทั้งในด้านราคา ฟังก์ชั่นการใช้งาน ให้ลูกค้าได้ศึกษาหาข้อมูล มีการทำแคมเปญโปรโมชั่นที่ตรงใจลูกค้า มีกิจกรรมต่างๆ ในช่วงแคมเปญโปรโมชั่นอย่างต่อเนื่อง มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับบ้าน มีรีวิวจากผู้ใช้งานจริง และพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า”

สำหรับการสร้างคอมมูนิตี้บน NocNoc ถือเป็นการสร้างประสบการณ์ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นฝั่งผู้ซื้อ (Customer) และฝั่งผู้ขาย (Seller) ซึ่งก่อนจะตัดสินใจซื้อ ลูกค้าส่วนใหญ่จะต้องค้นหาข้อมูลให้ได้มากที่สุด เช่น การอ่านรีวิวของผู้ใช้งานจริง หรือการขอตัวอย่างสินค้าจากแพลตฟอร์มเรา เพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อ นอกจากนี้ เรายังพบว่าพฤติกรรมลูกค้าส่วนใหญ่จะไปดูสินค้าในพื้นที่ต่างๆ ไปทดลองมาก่อน และสุดท้ายก็จะเข้ามาใน NocNoc ก่อนจะกดซื้อสินค้า เพราะลูกค้ารู้แล้วว่าต้องการสินค้าแบบใด เช่น ต้องการโซฟาลักษณะแบบนี้ ขนาดประมาณนี้ ลูกค้าก็จะกดสินค้าเข้าตะกร้า และซื้อในเวลาต่อมา

นายอนุพงศ์ กล่าวอีกว่า เราได้ขยายหมวดหมู่ของ Category ที่เกี่ยวข้องกับบ้าน และการตกแต่งบ้านให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น สินค้าแม่และเด็ก สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยง สินค้าที่เกี่ยวข้องกับกาแฟ และเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก โดยเร็วๆ นี้เราจะเพิ่มหมวดหมู่สินค้าให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สินค้าที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ (Aging society), สินค้าที่เกี่ยวข้องกับสมาร์ทโฟน, ระบบบ้านอัจฉริยะ (Home Automation), ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle) และระบบโซลาร์เซลล์ เป็นต้น ขณะเดียวกัน เราได้นำ DATA มาวิเคราะห์เพื่อทำ Segmentation Campaign ที่ตอบรับความต้องการของลูกค้าเฉพาะกลุ่มและหมวดหมู่ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กกำลังมาแรงและถูกพูดถึงมากที่สุด เราจะนำสินค้าใน Category ดังกล่าวมาทำการตลาดให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งแคมเปญนี้จะหมุนเวียนไปตามดีมานด์ เพื่อให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าในแต่ละเดือนด้วยเช่นกัน

อีกหนึ่งกลยุทธ์พิชิตใจลูกค้าที่ NocNoc ภูมิใจ คือ การทำ InspiRealtion เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการแต่งบ้านให้เป็นจริงได้  เช่น การตกแต่งคอนโดมิเนียมขนาดเล็ก การตกแต่งบ้านสไตล์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเจแปนนิสสไตล์ เมดิเตอร์เรเนียนสไตล์ เป็นต้น ซึ่งเรามองว่าการมอบประสบการณ์ให้กับลูกค้าในลักษณะนี้ ทำให้ NocNoc แตกต่างจากแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสทั่วไป 

“สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างดีมานต์ ให้คนเห็นภาพว่าสินค้าที่ขายอยู่บนแพลตฟอร์ม ถ้าจัดวางอยู่ในบ้าน หรือ ห้องแบบต่างๆ จะเป็นอย่างไร สวยงามน่าอยู่อย่างไร หรือถ้าเห็นสินค้าไหนจากที่ต่างๆ สามารถใช้ฟีเจอร์ Image Search ค้นหาสินค้าด้วยภาพถ่าย ช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายมากขึ้น หาสินค้าได้ตรงความต้องการได้มากขึ้น”

ส่วนการขยายตัวของ NocNoc ตามหัวเมืองต่างๆ ในต่างจังหวัด หรือ Local Expansion นั้น เราก็ทำได้ดี ทั้งแง่ของ B2B และ B2C ซึ่งเราทำแคมเปญทั้งสื่อออนไลน์และออฟไลน์ควบคู่กันไป รวมไปถึงการเข้าไปเป็นพาร์ตเนอร์กับหอการค้าในแต่ละจังหวัด เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้จักแพลตฟอร์มเรามากขึ้น รวมถึงการทำ NocNoc for Business ในการสร้างไอเดีย การออกแบบ และเลือกสินค้าให้เหมาะกับประเภทธุรกิจต่างๆ เช่น คาเฟ่ ร้านอาหาร โฮเทล และโฮสเทล ให้ลูกค้าได้เข้ามาดูสินค้าในการตกแต่งร้าน ซื้ออุปกรณ์ตกแต่งได้ง่ายยิ่งขึ้น และเรายังมีโครงการ NocNoc For Business Sharing to Inspire on Tour ไปยัง 4 ภาคตามหัวเมืองต่างจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นภูเก็ต ชลบุรี อุดรธานี ขอนแก่น และเร็วๆนี้ที่เชียงใหม่ เพื่อให้ความรู้ เทคนิคการขาย และสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงการเปิดกว้างให้ผู้ประกอบการ SME เข้ามาร่วมทำธุรกิจบนแพลตฟอร์มของเราอีกด้วย


สร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าด้วยกลยุทธ์ Online to Offline

นายอนุพงศ์ กล่าวอีกว่า อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญที่เรานำมาใช้บนแพลตฟอร์ม คือ การผสมผสานธุรกิจจากออนไลน์ไปสู่ออฟไลน์ (O2O Marketing) ที่ทำให้ลูกค้าได้สัมผัส จับต้อง และทดลองสินค้าจริงผ่าน NocNoc Fair รวมถึงมีแผนที่จะทำ Pop-up ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้รู้จัก และเรียนรู้ NocNoc มากขึ้น ก่อนที่จะเข้ามาเลือกซื้อสินค้าบนแพลตฟอร์ม อย่างการจัดงาน NocNoc Fair ครั้งแรก เมื่อปลายเดือน มิ.ย. 66 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เราได้ให้ร้านค้าบนแพลตฟอร์มมาร่วมออกบูธ เราได้เห็นความสำเร็จจากงานดังกล่าวผ่านยอดการสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก ได้ใกล้ชิดกับลูกค้ามากขึ้น และจากอินไซต์ของลูกค้า ทำให้เราเตรียมพัฒนาการจัด NocNoc Fair ในปี 2567 ให้ดียิ่งขึ้น ยิ่งใหญ่มากขึ้น พร้อมจับมือกับหลากหลายพันธมิตรในหลากหลายวงการมากขึ้น ควบคู่ไปกับการทำแคมเปญสื่อสารการตลาดทั้งโปรโมชั่น และสื่อทุกรูปแบบที่จะออนแอร์พร้อมกันทั้งออนไลน์และออฟไลน์ พร้อมทั้งทำ Pop-up ให้ลูกค้าทดลองสินค้า ก่อนซื้อสินค้าในโลเคชั่นที่แตกต่างกันไปทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

นายอนุพงศ์ ทิ้งท้ายว่า ด้วยกลยุทธ์ทั้งหมดนี้ทำให้ NocNoc มีผู้ใช้งานใหม่มากกว่า 50% ในปีนี้ และผู้ใช้งานเหล่านั้นยังคงแอคทีฟอยู่ตลอดเวลา เช่นเดียวกันกับผู้ใช้งานเดิมที่กลับมาซื้อสินค้าไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่ง ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุด รองลงมาคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง และสินค้า living and lifestyle ตามลำดับ โดยเราได้จัดทำ Loyalty Program หรือ NocNoc Club เพื่อเก็บคะแนนจากการซื้อสินค้า เพื่อให้ลูกค้าได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ออกแบบมาให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ลูกค้า ซึ่งสิทธิประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้ากลับมาซื้อสินค้าที่หลากหลายบน NocNoc ได้อย่างต่อเนื่องอีกด้วย

“NocNoc จะเป็นแพลตฟอร์ม Home and Living ที่คนตกแต่งบ้าน คนรักบ้านทั้งในไทย และในอนาคตที่ต้องการเติบโตในตลาดออนไลน์นึกถึงอยู่เสมอ เพราะไม่เพียงแต่เราจะมีสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับบ้าน และที่อยู่อาศัยที่หลากหลายมากกว่า 600,000 รายการ จาก 5,000 ร้านค้าแล้ว ให้เลือกจนกว่าจะชอบแล้ว แต่เรายังมีไอเดีย แรงบันดาลใจในการแต่งบ้านให้ผู้ใช้งานได้ร่วมสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดไปด้วยกัน จนสามารถสร้างความยั่งยืนในธุรกิจได้ในระยะยาว”

]]>
1452004
“NocNoc” โตกระฉูด 150%! ลูกค้าเชื่อมั่นซื้อเฟอร์ฯ ออนไลน์ ลุย B2B เจาะกลุ่มร้านอาหาร-โรงแรม https://positioningmag.com/1435932 Wed, 28 Jun 2023 12:24:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435932
  • ครบรอบ 4 ปี “NocNoc” ออนไลน์มาร์เก็ตเพลสเฟอร์นิเจอร์-ของแต่งบ้าน วางเป้าปี 2566 โตพุ่ง 150% จากปีก่อน ทำยอดขายแตะ 5,000 ล้านบาท
  • ลูกค้าเชื่อมั่นการซื้อเฟอร์นิเจอร์ออนไลน์มากขึ้น จากการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซและการผลักดันสร้างแรงบันดาลใจบนแพลตฟอร์ม
  • ปีนี้ลุยต่อในตลาด B2B เจาะกลุ่มร้านอาหาร คาเฟ่ โรงแรม และโครงการอสังหาฯ คาดสัดส่วนลูกค้าธุรกิจขึ้นมาเป็น 50% ของยอดขายรวม
  • “NocNoc” ครบรอบ 4 ปีการก่อตั้งในไทยพร้อมตัวเลขการเติบโตที่ยังคงก้าวกระโดด “ชลลักษณ์ มหาสุวีระชัย” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด เจ้าของแพลตฟอร์ม NocNoc ประกาศเป้าหมายปี 2566 ยอดขายของแพลตฟอร์มคาดว่าจะเติบโต 150% จากปีก่อน ขึ้นไปแตะ 5,000 ล้านบาท และจะทำให้ยอดขายสะสมของ NocNoc ตลอด 4 ปีขึ้นไปถึง 10,000 ล้านบาท

    ขณะที่จำนวนผู้ซื้อและผู้ขายบนแพลตฟอร์มเติบโตขึ้นเช่นกัน ปัจจุบัน NocNoc มีทราฟฟิกบนแพลตฟอร์ม 3 ล้านรายต่อเดือน มีผู้ขาย 5,000 ราย พร้อมช่างบริการกว่า 400 ทีม

    ทีมงานบริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด: (จากซ้าย) ณัฐวดี วงษ์ทศรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี, ชลลักษณ์ มหาสุวีระชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, อนุพงศ์ ทะสดวก ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าและพาณิชย์ และ นภสร ทวีปัญญายศ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ

    NocNoc เป็นแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสที่เน้นเฉพาะสินค้าสำหรับบ้านและการอยู่อาศัย (Home & Living) เช่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ของแต่งบ้าน วัสดุก่อสร้าง ก่อตั้งขึ้นภายใต้ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCC ก่อนที่ในปีนี้ บริษัท มัสบี จำกัด จะเข้ามาร่วมลงทุน 50% ของเบ็ตเตอร์บีฯ ทั้งนี้ มัสบีเป็นบริษัทร่วมทุนของ กลุ่มบริษัทเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด กับ กลุ่มบริษัทไทยเบฟเวอเรจ

    ปัจจุบัน NocNoc เป็นออนไลน์มาร์เก็ตเพลสที่เน้นเจาะกลุ่มสินค้า Home & Living เพียงเจ้าเดียวในไทย โดยแพลตฟอร์มมีการรวบรวมผู้ขายตั้งแต่ระดับแบรนด์ใหญ่ไปจนถึงผู้ผลิต SMEs ในท้องถิ่น และมีสินค้าตั้งแต่ระดับแมสไปจนถึงไฮเอนด์

     

    ลูกค้ามั่นใจการซื้อเฟอร์ฯ ออนไลน์สูงขึ้น

    หนึ่งในความท้าทายหลักที่หลายคนกังขาการซื้อเฟอร์นิเจอร์ออนไลน์คือ เฟอร์นิเจอร์เป็นสินค้า ‘ของชิ้นใหญ่’ ที่ผู้บริโภคมักจะอยากจับ สัมผัส ทดลองใช้ก่อนจะสั่งซื้อ แต่ความท้าทายนั้นกำลังค่อยๆ หายไปหลังพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน

    “อนุพงศ์ ทะสดวก” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการค้าและพาณิชย์ บริษัท เบ็ตเตอร์บี มาร์เก็ตเพลส จำกัด กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ของ NocNoc จะเป็นคนวัย 24-40 ปี ซึ่งคนช่วงอายุนี้เคยชินและเชี่ยวชาญการซื้อสินค้าออนไลน์ โดยเฉพาะหลังผ่านช่วงโควิด-19 ที่ส่งผลให้อี-คอมเมิร์ซเติบโตได้ดี และผู้บริโภคเชื่อมั่นกับการซื้อสินค้าออนไลน์สูงขึ้น จนคนวัยนี้ส่วนใหญ่กล้าที่จะสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์ออนไลน์

    “คนวัยนี้จะเชี่ยวชาญการดูรีวิวสินค้า ตรวจสอบคุณภาพของแบรนด์ผู้ผลิตจากการรีวิวออนไลน์ได้” อนุพงศ์กล่าว “รวมถึงเราเองช่วยเพิ่มแรงบันดาลใจให้ลูกค้า ‘เห็นภาพ’ ว่าถ้านำสินค้านี้ไปอยู่ในห้องจริงจะเป็นอย่างไร สินค้าแต่ละชิ้นมารวมกันในห้องแล้วจะเป็นแบบไหน ผ่านแคมเปญออกแบบบ้านที่จัดร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์”

    งานอีเวนต์ NocNoc Fair จัดวันที่ 28 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2566 ณ ชั้น 1 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

    นอกจากนี้ ปีนี้บริษัทยังเพิ่มการเปิดตัวในพื้นที่ออฟไลน์ให้มากขึ้น โดยเป็นครั้งแรกที่มีการจัดอีเวนต์​ “NocNoc Fair” เพื่อเข้าถึงลูกค้าที่อาจจะไม่รู้จักแพลตฟอร์ม และเพิ่มประสบการณ์ลูกค้ากับการซื้อเฟอร์นิเจอร์ออนไลน์ เช่น มีระบบ “NocNoc GPT” ให้ทดลองใช้ในงาน ระบบนี้เป็น Gen-AI ที่ช่วยวิเคราะห์และออกแบบบ้านในสไตล์ที่ใช่พร้อมแนะนำสินค้าจริงที่มีขายบนแพลตฟอร์ม, จัดห้องตัวอย่างที่ได้แรงบันดาลใจจาก 3 สาวยูทูเปอร์ช่อง GoyNuttyDream, จัดเสวนาบนเวทีกับอินฟลูเอนเซอร์ และแน่นอนว่ามีการออกร้านจากผู้ขาย 500 ร้านที่จะให้ส่วนลดสูงสุด 80%

    NocNoc GPT เทคโนโลยี AI ช่วยค้นหาสไตล์แต่งบ้าน

     

    ลุยกลุ่ม B2B ซื้อลอตใหญ่

    อีกตลาดหนึ่งที่น่าสนใจคือกลุ่ม “B2B” กลุ่มนี้มีศักยภาพมากเพราะยอดขายสูงต่อหนึ่งคำสั่งซื้อ ทำให้ NocNoc กำลังโหมบุกเต็มที่ผ่านหมวดที่เรียกว่า “NocNoc for Business”

    อนุพงศ์กล่าวว่า กลุ่ม B2B ถูกแยกออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ได้แก่

    กลุ่มที่ 1 กลุ่ม SMEs ผู้ประกอบการรายย่อย เช่น โรงแรม ร้านอาหาร คาเฟ่

    กลุ่มที่ 2 กลุ่มลูกค้าโครงการขนาดใหญ่ เช่น คอนโดมิเนียม หอพัก

    กลุ่มที่ 3 กลุ่ม B2B2C เป็นระบบพาร์ทเนอร์ผ่านโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อเข้าถึงและเสนอขายต่อลูกค้า end users

    NocNoc

    สำหรับกลุ่มที่ 2 และ 3 นั้นบริษัทมีการจัดตั้งทีมเซลส์เพื่อเข้าหาลูกค้าโดยตรง แต่กลุ่มที่ 1 คือกลุ่ม SMEs ทั่วไปนั้น จะต้องสร้างแรงบันดาลใจผ่านช่องทางออนไลน์เหมือนกับลูกค้า B2C โดยเก็บอินไซต์ในมุมของผู้ประกอบการ เพื่อเสนอสินค้าและสไตล์ที่เหมาะกับประเภทของธุรกิจนั้นๆ

    ปัจจุบันยอดขายจากลูกค้า B2B ปรับขึ้นมาเป็น 30-40% ของยอดขายทั้งหมด และอนุพงศ์เชื่อว่าภายในสิ้นปีนี้ลูกค้า B2B น่าจะเพิ่มสัดส่วนเป็น 50% เนื่องจากตลาดท่องเที่ยวฟื้นตัว ทำให้มีโรงแรม-ร้านอาหารใหม่ๆ หรือรีโนเวตใหม่เพิ่มขึ้นมาก

     

    เป้าหมายต่อไป “เพิ่มผู้ขายท้องถิ่น” และ “ทำกำไร”

    เป้าหมายต่อไปของ NocNoc คือการเพิ่มผู้ขายจากท้องถิ่น โดยก่อนหน้านี้บริษัทเริ่มบุกโปรโมตแอปฯ ตามหัวเมืองหลักในต่างจังหวัด ได้แก่ ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต นครราชสีมา อุดรธานี และขอนแก่น ซึ่งไม่เพียงแค่โปรโมตกับกลุ่มผู้ซื้อเท่านั้น แต่ต้องการหาผู้ขายจากท้องถิ่นด้วย

    โดยหลายๆ จังหวัดเป็นแหล่งผลิตเครื่องเรือนและของแต่งบ้านที่น่าสนใจ แต่อาจจะยังไม่ถนัดการทำตลาดออนไลน์ ทีมงาน NocNoc ต้องการจะสนับสนุนผู้ผลิตเหล่านี้ให้ได้เปิดตลาดร่วมกัน

    อีกเป้าหมายหนึ่งคือการทำกำไร ซึ่งอนุพงศ์กล่าวว่าบริษัทคาดการณ์จะทำได้สำเร็จใน 2 ปีข้างหน้า โดยรายได้ปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากค่าคอมมิชชั่นร้อยละ 5-10 จากผู้ขาย

    ]]>
    1435932
    วงแตก! Amazon ไล่ฟ้องแอดมินกลุ่มจัดหา “หน้าม้า” รับจ้างรีวิวอวยสินค้า-ด้อยค่าคู่แข่ง https://positioningmag.com/1393335 Wed, 20 Jul 2022 09:19:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1393335 Amazon เอาจริง! ยื่นฟ้องร้องแอดมินกลุ่มใน Facebook กว่า 10,000 กลุ่ม โดยกลุ่มเหล่านี้เป็นผู้รวบรวมจัดหา “หน้าม้า” รับจ้างเขียนรีวิวอวยสินค้า หรือด้อยค่าสินค้าคู่แข่งบนแพลตฟอร์ม ซึ่งทำให้มาร์เก็ตเพลสเสียหายเพราะลูกค้าจะไม่ไว้ใจในระยะยาว ซื้อสินค้าแล้วไม่เป็นตามที่คาดหวัง

    คดีความที่ Amazon เริ่มฟ้องร้องตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทแจ้งว่าบริษัทหวังที่จะ “ตรวจสอบได้ว่าใครเป็นหน้าม้า” เพื่อลบรีวิวหน้าม้าที่เล็ดรอดการตรวจสอบด้วยเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัททั้งหมดออกไป

    “ทีมงานของเราสามารถหยุดการโพสต์รีวิวน่าสงสัยได้หลายล้านรายการ ก่อนที่ลูกค้าจะมาเห็นเข้า และคดีความครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวหนึ่งในการ่ค้นหาตัวผู้กระทำผิดบนโซเชียลมีเดีย” ธาร์เมช เมห์ตา รองประธานฝ่ายบริการพันธมิตรผู้ขาย Amazon กล่าว “การฟ้องร้องทางกฎหมายเชิงรุกซึ่งวางเป้าหมายที่นักแสดงหน้าม้าเหล่านี้ คือหนึ่งในหลายช่องทางที่เราใช้ปกป้องลูกค้าของเรา โดยทำให้หน้าม้าต้องรับผิดชอบกับการกระทำ”

    การฟ้องร้องของบริษัทเกิดขึ้นหลังจากรีวิวปลอมเริ่มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ รีวิวหน้าม้าเหล่านี้จะทำให้ระบบให้ดาวของสินค้าผิดเพี้ยนไป โดยทำให้สินค้าของผู้ว่าจ้างได้ดาวมากผิดปกติ หรือของคู่แข่งได้ดาวน้อยกว่าปกติ ผลสุดท้ายนักช้อปทั่วไปก็จะเลือกซื้อสินค้าของผู้ว่าจ้างซึ่งอาจจะต่ำกว่ามาตรฐาน หรือบางครั้งก็เรียกได้ว่าเป็นแค่สินค้าขยะ

    Photo : Shutterstock

    ปัญหาเหล่านี้มีมากเสียจนมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเพื่อช่วยกลั่นกรองรีวิวหน้าม้า ยกตัวอย่างเช่น ReviewMeta เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยให้นักช้อปเห็นเรตติ้งที่แท้จริงที่สินค้านั้นควรได้ จำนวนดาวบน Amazon ของสินค้านั้นอาจจะได้ถึง 4.4 ดาว แต่เมื่อกรองเอารีวิวหน้าม้าออก จะเหลือแค่ 1.9 ดาวเท่านั้น

    นั่นคือเหตุที่ Amazon ฟ้องร้องกลุ่มบน Facebook เพราะกลุ่มพวกนี้จะมีการแจกสินค้าฟรีหรือให้เงินกับคนที่ไปเป็นหน้าม้าเขียนรีวิวให้ หนึ่งในกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดใช้ชื่อกรุ๊ปว่า “Amazon Product Review” ซึ่งเคยมีสมาชิกมากกว่า 43,000 บัญชี ก่อนที่ Meta จะสั่งปิดกลุ่มนี้ไปเมื่อต้นปีนี้เอง

    ส่วนกลุ่มอื่นๆ นั้นบริษัทไม่เปิดเผยชื่อหรือข้อมูลเกี่ยวกับแอดมินที่ดูแลกลุ่มในการฟ้องร้องครั้งนี้ แต่มีการฟ้องมากกว่า 10,000 กลุ่ม กลุ่มเหล่านี้ไม่ได้ยังคงปฏิบัติการอยู่ทั้งหมด เพราะบริษัทคอยแจ้งฟ้องร้องไปที่ Meta มาตั้งแต่ปี 2020 ทำให้มีการปิดกลุ่มเหล่านี้ไปแล้วประมาณครึ่งหนึ่ง

    นอกจากผลเสียหายโดยตรงต่อลูกค้าแล้ว Amazon ยังถูกบีบจากหน่วยงานกำกับกฎหมายแอนติทรัสต์ในสหราชอาณาจักร เมื่อปีก่อนหน่วยงานนี้เข้าสืบสวนเอกชนหลายแห่ง เช่น Amazon, Google ว่าได้มีการจัดการมากพอหรือไม่เพื่อกำจัดรีวิวหน้าม้าเหล่านี้

    รวมถึงเมื่อย้อนไปถึงปี 2019 รัฐสภาสหรัฐฯ ก็เคยกล่าวถึงปัญหาเดียวกันนี้มาแล้ว และทำให้ปีนั้น คณะกรรมาธิการการค้ารัฐบาลกลางสหรัฐ (FTC) ทำการจับปรับเว็บไซต์แห่งหนึ่งที่ดำเนินการเป็นตัวกลางจ่ายเงินจ้างหน้าม้าเข้าไปเขียนรีวิวใน Amazon

    ด้านการดำเนินการของบริษัท Amazon ระบุว่าบริษัทมีพนักงานมากกว่า 12,000 คนที่ทำหน้าที่ตรวจหารีวิวปลอมเหล่านี้โดยเฉพาะ และรายงานว่าในปี 2020 บริษัทสามารถลบรีวิวปลอมเหล่านี้ได้ก่อนผู้บริโภคจะเห็นถึง 20 ล้านรายการ

    ส่วนฝั่งผู้บริโภค หากมีความกังวลว่าตัวเองกำลังอ่านรีวิวหน้าม้าโดยไม่รู้ตัว สามารถทำตามขั้นตอนเหล่านี้ได้เพื่อกลั่นกรองก่อนตัดสินใจสั่งซื้อ

    1. อ่านรีวิวโดยเรียงลำดับจากรีวิวล่าสุดก่อน – เพราะจะทำให้ได้เห็นว่าสินค้ายังใช้ดีอยู่จริงไหมเมื่อเร็วๆ นี้ อย่าลืมอ่านแพทเทิร์นการเขียนว่าดูเหมือนคนรีวิวปกติทั่วไปไหม และไม่ต้องสนใจคนที่มาให้ 5 ดาวอย่างเดียวแต่ไม่คอมเมนต์อะไรเลย
    2. อ่านรีวิวในแพลตฟอร์มอื่นด้วย – ถ้าเป็นการซื้อของชิ้นใหญ่ราคาแพง ควรจะตรวจสอบรีวิวในแพลตฟอร์มอื่นด้วย รวมถึงเช็กจากนักวิจารณ์สินค้าหมวดนั้นๆ ที่เชื่อถือได้
    3. แม้จะเป็นรีวิวจากผู้ซื้อจริงก็เชื่อถือไม่ได้ทั้งหมด – แพลตฟอร์มอาจจะ verified ให้ว่าผู้รีวิวรายนั้นมีการซื้อสินค้าจริง แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเชื่อถือได้ทั้งหมด หากเห็นว่ารีวิวนั้นมีการเขียนคำผิดๆ ถูกๆ หรือเรียงคำเรียงประโยคแปลกๆ ให้ระวังไว้ว่าอาจเป็นรีวิวปลอม

    Source

    ]]>
    1393335
    รู้จัก ‘ShopBack’ แพลตฟอร์มที่ให้มากกว่าโปรโมชั่นที่ดีเพราะมี ‘เงินคืน’ ทุกครั้งที่ซื้อ https://positioningmag.com/1348857 Fri, 27 Aug 2021 10:00:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1348857

    ตั้งแต่ COVID-19 ระบาด เชื่อว่าหลายคนที่ไม่เคยช้อปของออนไลน์มาก่อนตอนนี้คงจะใช้กันจนชินแล้ว แต่ในเศรษฐกิจแบบนี้ หลายคนต้องรัดเข็มขัด จะซื้อของทั้งทีก็ต้องรอโปรโมชั่นจะได้คุ้ม ๆ ดังนั้น Positioning จะพาไปรู้จัก ‘ShopBack’ (ช้อปแบ็ค) อีกหนึ่งตัวเลือกในการช้อปปิ้งที่ทำให้คุ้มยิ่งขึ้นด้วย ‘เงินคืน’


    ทำไมต้องซื้อผ่าน ShopBack?

    หากพูดถึงชื่อมาร์เก็ตเพลสเจ้าดังในไทยคงจะไม่พ้น Lazada, Shopee, Supersports, ThisShop, Tops Online, Sephora, Foodpanda, Grab ซึ่งเป็น Top ของเมืองไทย สิ่งที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ ทั้งหมดเป็น ‘ตัวกลาง’ ในการขายสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ เปรียบได้ดังกับห้างสรรพสินค้าที่รวบรวมสินค้าเอาไว้ โดยแพลตฟอร์มจะมีรายได้จากส่วนแบ่งการขายหรือค่าคอมมิชชั่น

    แน่นอนว่ามีโปรโมชั่นส่วนลดมากมาย แต่จะดีกว่าไหมถ้าซื้อของแล้วได้เงินคืนจริง ๆ แบบที่ถอนเป็นเงินสดมาใช้ได้ ไม่ใช่แค่ใช้ภายในแพลตฟอร์ม


    กวิน ประชานุกูล ผู้ก่อตั้งและผู้จัดการ ShopBack ประจำประเทศไทย

    หากขาช้อปที่รู้จักกับ ‘Ebates’ เว็ปที่รวบรวมเอาร้านค้าออนไลน์จากทั่วอเมริกามากมายมารวบรวมไว้ โดยจะมีการให้ cash back หรือเงินคืนทุกครั้ง ‘ShopBack’ ก็เหมือนกับ Ebates ที่จะเป็นตัวกลางที่รวมอีมาร์เก็ตเพลสหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ทั้ง Lazada, Shopee, JD CENTRAL หรือแม้แต่แพลตฟอร์มด้านไลฟ์สไตล์อื่น ๆ อาทิ Expedia, Grab

    แน่นอนว่าโปรโมชั่นต่าง ๆ ของแต่ละแพลตฟอร์มยังจะมีเหมือนเดิม แม้จะซื้อผ่าน ShopBack ก็ตาม แต่ที่ได้เพิ่มเติมก็คือ ‘เงินคืน’ ซึ่งแต่ละร้านค้าก็จะมีเปอร์เซ็นการคืนที่แตกต่างกันไป เมื่อลูกค้าเก็บสะสมได้ 50 บาทขึ้นไป ลูกค้าก็จะสามารถถอนเป็น ‘เงินสด’ เข้าบัญชีตัวเองได้เลย (มีค่าธรรมเนียมการถอนเงิน 5 บาท แต่ยอดเกิน 150 บาทขึ้นไปไม่มีค่าธรรมเนียม)

    ดังนั้น ถ้าอยากได้ความคุ้มยิ่งขึ้น จากนี้จะช้อปสินค้าจากร้านไหน ๆ ก็ให้กดผ่าน ShopBack ก่อน เพื่อที่จะได้โปรโมชั่นทั้งจากแพลตฟอร์มนั้น ๆ และมารับเงินคืนอีกต่อจาก ShopBack ซึ่งปัจจุบัน ShopBack มีพาร์ทเนอร์กว่า 150 รายตั้งแต่มาร์เก็ตเพลสและบริการด้านไลฟ์สไตล์อื่น ๆ ตั้งแต่ด้านอาหาร ท่องเที่ยว การเดินทาง และอื่น ๆ

    ทำไมถึงให้เงินคืน

    อย่างที่บอกไปตั้งแต่ตอนต้นว่าแพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลสมีรายได้จากค่า ‘คอมมิชชั่น’ จากแบรนด์ที่มาขายสินค้า เช่นเดียวกันกับ ShopBack ที่ทำรายได้จากค่าคอมมิชชั่น เพียงแต่ ShopBack เลือกที่จะแบ่งคอมมิชชั่นนั้นมาเป็นเงินคืนให้ลูกค้าเพื่อจูงใจให้ทำการซื้อในครั้งต่อ ๆ ไป ซึ่งถือว่าเป็นโมเดลที่ Win-Win ทั้งแพลตฟอร์มและลูกค้า โดย ShopBack จะแบ่งให้ลูกค้า 80% อีก 20% เป็นรายได้ของแพลตฟอร์ม

    ShopBack เริ่มให้บริการตั้งแต่ปี 2014 ในฐานะสตาร์ทอัพสัญชาติสิงคโปร์ และเข้ามาทำตลาดในไทยตั้งแต่ปี 2017 ปัจจุบันให้บริการใน 8 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เวียดนาม ไทย ออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ มีลูกค้าใช้งานกว่า 4.5 แสนราย/วัน 50% กลับมาซื้อซ้ำจากครั้งแรก และที่ผ่านมามีการคืนเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาทเลยทีเดียว

    รีวิวจากผู้ใช้งานจริง


    บริการเทียบราคาจบในแอป

    แน่นอนว่าการซื้อของแล้วได้ทั้งส่วนลดและเงินคืนจะคุ้มแล้ว แต่จะยิ่งดีกว่าไหมหากเราสามารถ ‘เทียบราคาสินค้า’ ของแต่ละแพลตฟอร์มเพื่อหาร้านค้าที่มีราคาดีที่สุดได้ เชื่อว่านักช้อปหลายคนจะตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นคงต้องเทียบราคากับแต่ละแพลตฟอร์มก่อน ขณะที่ ShopBack มีพันธมิตรอยู่กว่า 150 ราย ทำให้สามารถเปรียบเทียบราคาสินค้าระหว่างแอปต่าง ๆ ได้เพียงลูกค้าเสิร์ช จากนี้ก็ไม่ต้องเข้าแอปนั้นออกแอปนี้เพื่อเทียบราคา แต่เข้า ShopBack ที่เดียวพอ

    นอกจากนี้ ShopBack ยังมีฟีเจอร์ Watch List ตัวที่ช่วยในการเตือนเวลามีโปรโมชั่นของสินค้าที่ลูกค้าเลือกกดเซฟไว้ และ VDO Shopping ที่จะเป็นคลิปรีวิวสินค้าสั้น ๆ ในแอป เพื่อให้ลูกค้าเห็นรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อ และเพิ่มความคุ้มด้วย E-voucher หรือคูปองส่วนลดขาย เมื่อไปช้อปตามร้านก็ใช้คูปองส่วนลด On Top จากร้านค้านั้น ๆ ได้อีกต่อ


    ในอนาคต อาจจะมีตัว ShopBack GO ซึ่งเป็นอีก model ที่ให้ลูกค้าสามารถได้รับเงินคืนเมื่อช้อปสินค้า offline ซึ่งมีเปิดตัวไปแล้วที่สิงค์โปร์ และจะเริ่มมี ‘แบรนด์’ ที่จะมาเป็นพาร์ทเนอร์โดยตรงกับ ShopBack มากขึ้น

    สำหรับใครที่เก็บเงินรอช้อปโปรโมชั่น 9.9 นี้ ShopBack ก็มีคูปองส่วนลดสูงสุด 9,999, 999 และ 99 บาท จาก Shopee, Lazada, Supersports, ThisShop, Sephora, Foodpanda, Grab, Tops Online มีสินค้าราคา 1 บาท และโปรโมชั่นเงินคืน on top อีกสูงสุดถึง 30% ใครที่อยากจะได้ความคุ้ม ๆ ก็โหลด ShopBack มาลองใช้ได้เลย → https://app.shopback.com/jwAA56Ru0ib

    ]]>
    1348857
    ผู้บริโภคไทยมุ่งซื้อสินค้าบน “มาร์เก็ตเพลซ” แต่ทางที่ยั่งยืนกว่าของแบรนด์คือดึงลูกค้าเข้า D2C https://positioningmag.com/1339611 Tue, 29 Jun 2021 13:49:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1339611 “วันเดอร์แมน ธอมสัน” เปิดรายงานวิจัยผู้บริโภคชาวไทย พบว่า คนไทยตอบรับการช้อปปิ้งออนไลน์สูงที่สุดในโลก โดยช่องทางที่คนไทยเลือกใช้มากที่สุดคือ “มาร์เก็ตเพลซ” แต่ที่จริงแล้ว หนทางที่ยั่งยืนของแบรนด์คือการดึงลูกค้าให้ช้อปผ่าน D2C (Direct-to-Consumer) เช่น เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของแบรนด์ แล้วจะดึงจุดเด่นให้ลูกค้าหันมาใช้บริการ D2C แทนได้อย่างไร ติดตามได้ที่บทความนี้

    วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย จัดทำวิจัย Future Shopper ใน 17 ประเทศทั่วโลก จำนวนผู้ตอบแบบสอบถามรวม 28,000 คน เฉพาะประเทศไทยมีผู้ตอบแบบสอบถาม 1,025 คน ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุทั้ง Gen X, Gen Y, Gen Z แบ่งเป็นเพศชาย 46% และเพศหญิง 54% และแบ่งเป็นคนในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล 58.8% ที่เหลือ 41.2% อยู่ในหัวเมืองต่างจังหวัดทั่วประเทศ

    รายงานชิ้นนี้เผยให้เห็นว่า พฤติกรรมผู้บริโภคได้เปลี่ยนไปแล้วหลังเกิดโรคระบาด COVID-19 เพราะคนหันมาใช้ช่องทางออนไลน์ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น และจะเป็นพฤติกรรมระยะยาว โดยเฉพาะคนไทยที่มีถึง 94% ตอบว่า การช้อปออนไลน์เป็นผู้ช่วยชีวิตในปี 2563 เป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก และคนไทย 90% ยังตอบด้วยว่า ตนจะยังใช้ช่องทางดิจิทัลช้อปปิ้งต่อไปในปีหน้า เทียบกับค่าเฉลี่ยโลกที่มีเพียง 62% เท่านั้น

    เห็นได้ว่า ช่องทางออนไลน์เป็นช่องทางที่สำคัญยิ่งของแบรนด์ และควรจะให้ความสำคัญควบคู่ไปกับช่องทางออฟไลน์ เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้แบบ Omnichannel

     

    ลูกค้าชอบ “มาร์เก็ตเพลซ” เพราะสะดวก

    หนึ่งในประเด็นที่น่าสนใจของรายงานคือ พฤติกรรมผู้บริโภคไทยบนออนไลน์สามารถแบ่ง journey การซื้อได้เป็น 3 ขั้น คือ ได้รับแรงบันดาลใจในการซื้อ, ค้นหาสินค้า และ การซื้อสินค้า ซึ่งการซื้อในอุดมคติของลูกค้าคือต้องการให้ 3 ขั้นตอนนี้จบภายในแพลตฟอร์มเดียว

    โดยวันเดอร์แมนฯ พบว่า “มาร์เก็ตเพลซ” (เช่น ลาซาด้า, ช้อปปี้) คือช่องทางอันดับ 1 ในทุกๆ ขั้นตอนของลูกค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้

    “ได้รับแรงบันดาลใจในการซื้อ”
    อันดับ 1 – มาร์เก็ตเพลซ 70%
    อันดับ 2 – โซเชียลมีเดีย 61%
    อันดับ 3 – เสิร์ชเอ็นจิ้น เช่น Google 38%

    “ค้นหาสินค้า”
    อันดับ 1 – มาร์เก็ตเพลซ 78%
    อันดับ 2 – โซเชียลมีเดีย 58%
    อันดับ 3 – เสิร์ชเอ็นจิ้น เช่น Google 44%

    “ซื้อสินค้า”
    อันดับ 1 – มาร์เก็ตเพลซ 45%
    อันดับ 2 – เว็บไซต์ของร้านค้าปลีก เช่น เทสโก้, บิ๊กซี, ท็อปส์ 11%
    อันดับ 3 (ร่วม) – โซเชียลมีเดีย และ เว็บไซต์ของแบรนด์ที่จะซื้อ 10% เท่ากัน

    ปัจจุบันลูกค้าต้องการ journey การซื้อที่สั้นที่สุด ทำให้ลูกค้ามักจะไม่ไปเสิร์ชใน Google เพื่อหาแหล่งซื้อสินค้าอีกแล้ว แต่มักจะตรงไปที่มาร์เก็ตเพลซทันทีเพื่อมองหาสินค้าที่ต้องการ และมักจะจบการซื้อสินค้าได้ในแพลตฟอร์มนี้ ยกเว้นบางหมวดสินค้าที่อาจจะมีสัดส่วนการมองหาและซื้อสินค้าในเว็บไซต์ของร้านค้าปลีกมากกว่า เช่น ของกินของใช้ (grocery) เนื่องจากเป็นสินค้าประเภทที่ผู้บริโภคมักต้องการสั่งและส่งของแบบออนดีมานด์ ซึ่งร้านค้าปลีกออนไลน์เหล่านี้ตอบสนองได้ดีกว่า

     

    D2C ที่แข็งแกร่ง ยั่งยืนกว่าในระยะยาว

    อย่างไรก็ตาม การดึงลูกค้าให้กลับมาช้อปผ่าน D2C หรือ Direct-to-Consumer ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ของแบรนด์เองนั้น สำคัญไม่แพ้กันกับการปั้นแบรนด์ให้โดดเด่นบนมาร์เก็ตเพลซหรือโซเชียลคอมเมิร์ซต่างๆ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ยั่งยืนกว่าในระยะยาว

    ฌอน ลี ออง ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย ระบุว่า ประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์กำลังถูกครอบงำโดยแพลทฟอร์มตลาดออนไลน์ เช่นเดียวกับประสบการณ์ช้อปปิ้งออฟไลน์ที่มีเครือข่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เป็นผู้ครองเกม

    “หากแบรนด์ไม่ต้องการตกเป็นเบี้ยล่างของผู้ทรงอิทธิพลในตลาดทั้งสองฟากฝั่ง พวกเขาจะต้องเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์ม D2C และเส้นทางใหม่เพื่ออนาคตของตนเองในระยะยาว” ฌอนกล่าว

    Photo : Shutterstock

    จากผลสำรวจดังกล่าว จะเห็นได้ว่าช่องทาง D2C ไม่อยู่ใน 3 อันดับแรกของ journey ของลูกค้าในขั้นตอนหาแรงบันดาลใจและการค้นหาสินค้าเลย รวมถึงในขั้นการซื้อสินค้า ก็เป็นช่องทางที่มีสัดส่วนเพียง 10% เท่านั้น แต่มีตัวอย่างจากในประเทศจีนว่า บางแบรนด์สามารถดึงลูกค้าของตนให้ซื้อผ่าน D2C ได้ถึง 30%

     

    แบรนด์จะดึงลูกค้ามาช้อปผ่าน D2C ได้อย่างไร

    วันเดอร์แมน ธอมสันสอบถามผ่านแบบสำรวจนี้ว่า “อะไรจะทำให้คุณหันมาช้อปผ่านช่องทางโดยตรงของแบรนด์?” และคำตอบ 7 ข้อที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ให้ข้อมูลที่ละเอียดกว่าของสินค้า, มีสินค้าให้เลือกครบ, ราคาถูกกว่า, มีจัดส่งฟรี, มีสินค้าพิเศษ, คืนสินค้าฟรี และมีระบบลอยัลตี้ โปรแกรม

    จุดสำคัญที่จะดึงดูดให้ผู้บริโภคซื้อของออนไลน์จากช่องทาง D2C ของแบรนด์ (ที่มา: วันเดอร์แมน ธอมสัน)

    จากความต้องการของผู้บริโภค วันเดอร์แมนฯ ให้คำแนะนำ 4 ข้อนี้แก่แบรนด์หรือบริษัทที่กำลังพิจารณาผลักดันให้ช่องทาง D2C เป็นที่สนใจของลูกค้ามากขึ้น

    • ชูจุดเด่นของช่องทาง D2C เช่น มีระบบคืนสินค้าฟรี, มีสินค้าพิเศษ (exclusive) รวมถึงตัวแพลตฟอร์มออกแบบมาเหมาะกับการชมรายละเอียดสินค้าที่มากกว่า
    • มีพื้นที่รีวิวสินค้าที่จริงใจและโปร่งใส ปกติลูกค้ามักหันไปหามาร์เก็ตเพลซเพราะต้องการอ่านรีวิว และแม้ว่าลูกค้าที่ตรงเข้ามายังช่องทาง D2C มักจะเป็นแฟนแบรนด์ของคุณอยู่แล้ว แต่การมีรีวิวให้อ่านในเว็บไซต์ D2C จะเป็นการแสดงความโปร่งใส รวมถึงคุณยังจะได้เก็บข้อมูล feedback เพื่อไปพัฒนาสินค้าต่อได้ด้วย
    • Personalization ช่องทาง D2C ได้เปรียบเรื่องการเจาะลึกไปที่ลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ง่ายขึ้น และยืดหยุ่นกว่าเพื่อตอบสนองลูกค้า
    • ลอยัลตี้ โปรแกรม ใช้ดาต้าของลูกค้าสร้างลอยัลตี้ โปรแกรมที่แข็งแกร่ง ไม่ใช่แค่ในด้านฟังก์ชันนอล แต่เป็นด้านอารมณ์ความรู้สึกของลูกค้าด้วย

    ตัวอย่างเคสที่ใช้จุดเด่นของแบรนด์ในการดึงลูกค้าเข้า D2C เช่น Nike ประเทศจีน ดังที่ทราบกันดีว่า Nike มักจะมีรองเท้าแบบ Limited Edition ออกใหม่เสมอ ทำให้ Nike ใช้กลยุทธ์นี้ดึงลูกค้าเข้า D2C โดยการเปิดจองหรือขายผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์เท่านั้น

    ]]>
    1339611
    สเต็ปใหม่ Omni Effect ”อมรินทร์” เขย่ามาร์เก็ตเพลส เปิดตัว Amvata เปลี่ยนคนเสพคอนเทนต์เป็นผู้ซื้อ https://positioningmag.com/1247527 Wed, 25 Sep 2019 23:07:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1247527 จากจุดเริ่มต้นนิตยสาร บ้านและสวน” ปี 2519 ธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์กว่า 43 ปีของ อมรินทร์ฝ่าคลื่นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในยุค ดิจิทัล ดิสรัปชั่น” มาด้วยยุทธศาสตร์การเป็นมีเดีย ครบวงจร (Omni Media) ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ ด้วย 5 แพลตฟอร์มหลัก ตอบโจทย์การใช้สื่อของลูกค้าผ่าน Omni  Channel สเต็ปต่อไปขอสร้างปรากฎการณ์ด้วย Omni Effect   

    ในยุคเทคโนโลยีถาโถมสื่อดั้งเดิม การปรับตัวของ “อมรินทร์” ทั้งสิ่งพิมพ์และทีวี อยู่ภายใต้กลยุทธ์ Omni Media จากการผนึกกำลังของทุกสื่อในเครือ ทั้ง On Print นิตยสารและหนังสือเล่ม, Online เว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย, On Air ทีวีดิจิทัล ช่องอมรินทร์ทีวี, On Ground งานแฟร์และกิจกรรมต่างๆ และ On Shop ร้านนายอินทร์และออนไลน์สโตร์ เมื่อผนวกร่วมกันแล้ว ชูเป็นจุดแข็งและกลยุทธ์สำคัญในการเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป

    ย้ำผู้นำ Lifestyle Media

    ระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า 2 ปีก่อนที่หลายอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงจาก “ดิจิทัล ดิสรัปชั่น” เครืออมรินทร์ ปรับตัวสู่ Omni Media และ Omni Channel ผสานสื่อ 5 แพลตฟอร์มหลัก เพื่อเป็น “ตัวเลือก” ให้ลูกค้าองค์กรเข้ามาใช้ช่องทางสื่อสารกับเครืออมรินทร์

    ปัจจุบันภายใต้ Amarin Universe ที่ถือเป็นอันดับ 1 ด้าน Lifestyle Media จาก 5 แพลตฟอร์มหลัก On Print มีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจนิตยสาร 80% Online มีผู้ใช้ 13 ล้าน UIP ต่อเดือน หรือ 24% ของประชากรไทยออนไลน์ในประเทศไทย On Air อมรินทร์ทีวี มีเรตติ้งอันดับ 7 เข้าถึงครัวเรือนไทย 95% On Ground จัดงานแฟร์และอีเวนต์ทุกเดือน บางเดือนมากกว่า 1 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมอีเวนต์ 6 ล้านคนต่อปี On Shop หรือธุรกิจ Commerce ทั้งร้านนายอินทร์ งานแฟร์ ออนไลน์ สโตร์ และทีวีช้อปปิ้ง ปีที่ผ่านมาทำยอดขายสินค้าได้กว่า 10 ล้านชิ้น

    “วันนี้คนทำคอนเทนต์ ไม่ได้ต้องการเห็นตัวเลขสถิติแค่ Awareness เท่านั้น แต่คอนเทนต์นั้นต้องสร้าง Engagement และความน่าเชื่อถือให้ผู้บริโภค และต้องเป็นคอนเทนต์ที่สามารถขายของได้ด้วย กลยุทธ์ต่อไปของอมรินทร์ จึงมุ่งไปที่ Content to Commerce แน่นอนว่าการทำธุรกิจก็ต้องการรายได้จากการขาย สื่อจึงต้องทำหน้าที่ช่วยปิดการขายอีกทาง”  

    สูตรเด็ดคอนเทนต์ปัง

    กลยุทธ์ Content to Commerce ต้องเริ่มต้นจากการทำ “คอนเทนต์” ที่โดนใจผู้บริโภคก่อน จากนั้นต่อยอดจาก Evergreen Content หรือ คอนเทนต์ที่ทำได้บ่อยๆ และคนยังชอบฟังเรื่องราวเล่านี้ ซึ่งก็มีเทคนิคในการทำ ที่เรียกว่า 4 R คือ Right Content, Real Action, Response Data และ Raise Content

    มาดูตัวอย่างการเชื่อมโยงคอนเทนต์ผ่าน 4 R ผ่าน Amarin Baby & Kidsริ่มต้นที่ Right Content หรือการมีคอนเทนต์ที่ดี โดย Amarin Baby & Kids สะสมเนื้อหากว่า 360 บทความ มีฐานผู้อ่าน 1.3 ล้านคน จากนั้นนำมาทำให้เกิด Real Action ด้วยการจัดงานสัมมนา เวิร์คช้อป เป็นการเปลี่ยนจากผู้เสพเนื้อหาผ่านสื่อออนไลน์มาสู่กิจกรรม ซึ่งช่วง 1 ปีที่ผ่านมา มีพ่อแม่มาร่วมกิจกรรมเวิร์คช้อปกว่า 2,500 คน

    จุดเด่นของการจัดสัมมนาและเวิร์กช้อป คือ จะได้เจอกับกลุ่มลูกค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งจะได้ Response Data เพราะเมื่อพ่อแม่ถามมีคำถามกับผู้เชี่ยวชาญ ที่มาให้ความรู้ในงานสัมมนา นั่นคือ “ข้อมูล” ที่สามารถไปทำคอนเทนต์ใหม่ได้ทันที เพราะเป็นสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายต้องการจากการถามผู้เชี่ยวชาญ และถือเป็น personalized content เพราะสามารถรู้ได้ทันทีว่าแต่ละคนมีสนใจความต้องการและอยากรู้คอนเทนต์ประเภทไหน จากทั้งฝั่งคุณพ่อ คุณแม่ และความสนใจร่วมกันของทั้งพ่อแม่

    หลังจากเก็บข้อมูลมาแล้วก็นำมาทำ Raise Content เป็นการทำคอนเทนต์เชิงลึกเพิ่มขึ้น และได้คอนเทนต์ที่คาดไม่ถึงหรือเทรนด์ที่ได้จากสิ่งใหม่ๆ และคอนเทนต์ที่ยังไม่เคยเขียนบทความมาก่อน ผลลัพธ์ที่ออกมามีคอนเทนต์ใหม่จากความสนใจของกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น 20% มีผู้เข้าชมคอนเทนต์ออนไลน์เพิ่มขึ้น 123% และเพจวิวเพิ่มขึ้น 95%

    “สูตร 4R จะทำให้ได้ฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และผลิตชิ้นงานที่เป็นคอนเทนต์ทรงพลังตามความสนใจของกลุ่มผู้เสพ”

    แพรว Celeb Blog เล่าเรื่องไลฟ์สไตล์

    อีกคอนเทนต์ที่โดดเด่นในกลุ่มไลฟ์สไตล์ คือ “แพรว” ในปี 2561 ได้สร้างวิดีโอคอนเทนต์ Celeb Blog คอนเทนต์ที่สร้างกระแสของ “สู่ขวัญ บูลกุล” กับแฮชแท็ก #ของมันต้องมี ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Celeb Blog โดยมีเซเลบและกูรู ด้านต่างๆ อีกหลายคนที่มาร่วมสร้างคอนเทนต์ ซึ่งทั้ง เซเลบ และ กูรู จะมีข้อดีแตกต่างกัน จึงนำทั้งคู่มา Collaborate เป็น “แพรวนิสต้า x เซเลบ” เป็นการนำ กูรู x ไลฟ์สไตล์ ทำให้ได้ วิดีโอคอนเทนต์ใหม่จำนวนมากและมีกลุ่มคนดูมากขึ้น

    การต่อยอดวิดีโอ คอนเทนต์ ขยาย “เซ็กเมนเทชั่น” คอนเทนต์เพิ่มเติม เช่น ฟลุค เกริกพล ด้านบริการการเงินการลงทุน, ทิปปี้ สุพรทิพย์ ด้านลักชัวรี่ ไลฟสไตล์, มาดามแป้ง ด้านไลฟ์สไตล์การรับประทานอาหาร, ศรีริต้า เจนเซ่น ด้าน Positive Thinking, หน่อย บุษกร ด้านแฟชั่นไลฟ์สไตล์ นอกจากนี้ยังขยายเพิ่มเติมในกลุ่มที่เป็น Young Generation

    แพรว Celeb Blog มีฐานผู้ชมกว่า 90 ล้าน Eyeballs อัตราเอนเกจเมนต์ 31% ผลิตไปแล้วกว่า 170 คลิป ในจำนวนนี้ 130 คลิปมีลูกค้าสปอนเซอร์ “การเล่าเรื่องของแพรว Celeb Blog ถือเป็นซิกเนอเจอร์ของอมรินทร์”

    วิเคราะห์อินไซต์ผู้บริโภค

    เมื่อสื่อในเครือมีฐานผู้เสพคอนเทนต์ชัดเจนและมากขึ้น ช่วง 2 – 3 ปีก่อน อมรินทร์ ได้ลงทุนเทคโนโลยีเก็บข้อมูล Consumer Insight ของคอนเทนต์แต่ละประเภท และสรุปออกมาเป็น Reading Pattern หรือ “แพทเทิร์นการอ่าน” ของผู้บริโภค ซึ่งจะรู้พฤติกรรมแต่ละช่วงที่อยู่ในแพลตฟอร์มของอมรินทร์ว่าใช้เวลาเท่าไหร่หรืออ่านคอนเทนต์อะไร

    Reading Pattern เป็นระบบ Intelligence Tools ที่จับพฤติกรรมการอ่านและการเสพสื่อทั้งบทความและวิดีโอคอนเทนต์ของ “ผู้อ่าน” 1 คน ตั้งแต่วินาทีแรกที่เข้ามาสู่เว็บไซต์สื่อในเครืออมรินทร์

    หลังจากใช้เครื่องมือนี้ พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีการอ่านคอนเทนต์ Recommendation ที่ระบบเสนอให้เพิ่มขึ้น 8%   มีเอนเกจเมนต์จากผู้ใช้เพิ่มขึ้น 25% มีกลุ่มที่กลับมายังแพลตฟอร์มซ้ำ (return visitor) เพิ่มขึ้น 35% การรู้จักและเข้าใจกลุ่มผู้อ่าน ทำให้มี Active User เพิ่มขึ้น 125%

    เมื่อรู้จักพฤติกรรมผู้เสพคอนเทนต์แล้ว สเต็ปต่อไปคือการก้าวสู่ Content to Commerce

    ต่อยอดธุรกิจคอมเมิร์ซ

    ในแต่ละวันของ Amarin Universe สื่อในเครือผลิตคอนเทนต์บทความใหม่ 150 ชิ้นต่อวัน มีคนเข้ามาอ่าน 7 แสน UIP ต่อวัน จำนวนกว่า 1.3 ล้านเพจวิวต่อวัน โซเชียลมีเดียมีผู้ติดตามกว่า 24 ล้านคน เฉลี่ยต่อวันคอนเทนต์เข้าถึง (reach) ประมาณ 12 ล้านคน มีฐานสมาชิกราว 1.5 ล้านคน

    ถือเป็น Community ที่สามารถต่อยอดธุรกิจด้านคอมเมิร์ซ เพราะไม่ต้องการให้ “มีเดีย” ในเครืออมรินทร์ สร้างแค่การรับรู้ (Awareness) กับลูกค้าองค์กรที่มาใช้สื่อเท่านั้น

    เมื่อมีคอนเทนต์ที่สามารถดึงความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกที่ทุกเวลาแบบ Personalized แล้ว เมื่อผู้บริโภคเข้ามาเสพคอนเทนต์ทั้งบทความและวิดีโอในแพลตฟอร์มต่างๆ ของ อมรินทร์แล้ว เครื่องมือจะติดตาม “ความสนใจ” ของกลุ่มผู้บริโภค เพื่อ “แนะนำ” ทั้งคอนเทนต์และโฆษณาที่สอดคล้องกับความสนใจของแต่ละบุคคล

    “ต้องการให้สื่อของเครืออมรินทร์ สร้างการรับรู้และปิดการขายได้ ณ นาที ที่ผู้บริโภคยังอยู่กับแพลตฟอร์มของเรา  หลักการก็ คือ See it, Love it, Buy it เพราะเมื่อเห็นแล้ว อ่านแล้ว ก็ควรปิดการขายในโมเมนต์ที่ผู้บริโภคยังมีความสนใจ เพราะหลังจากนั้นความสนใจอาจลดลง หรือเปลี่ยนใจไปเลือกแบรนด์อื่น”

    ส่ง Amvata ลุยมาร์เก็ตเพลส

    การต่อยอดกลยุทธ์ Content to Commerce อีกสเต็ปในปีนี้ คือการเปิดตัว Amvata แพลตฟอร์ม “มาร์เก็ต เพลส” ในเดือนต.ค. นี้ เฟสแรกมีผู้ประกอบการ 300 ราย สินค้ากว่า 35,000 รายการ ในกลุ่มแฟชั่น สินค้าแม่และเด็ก สินค้าตกแต่งบ้าน สินค้าแนวไลฟ์สไตล์ จะขยายเพิ่มเติมกลุ่มอื่นๆ เข้ามาอีก

    สิ่งที่แตกต่างจากมาร์เก็ตเพลสอื่นๆ เพราะไม่ได้รอให้ลูกค้าเข้ามาที่แพลตฟอร์มเพื่อเลือกซื้อสินค้า แต่ Amvata จะถูกนำเสนอผ่าน 7 กลุ่มคอนเทนต์ออนไลน์ ของเครืออมรินทร์ คือ แพรว, บ้านและสวน, เบบี้ แอนด์ คิดส์, สุดสัปดาห์, Good life ในสินค้าสุขภาพ, Fav Forward สินค้ากลุ่มผู้ชาย และแพรว เวดดิ้ง รวมทั้งเว็บไซต์ Amvata เอง

    “เมื่อเปิดตัว Amvata วันแรก ก็จะมีคนเห็นสินค้าทันที เพราะจะถูกนำเสนอผ่านทุกคอนเทนต์ แพลตฟอร์มของอมรินทร์ เป็นการทำมาร์เก็ตเพลส ที่ใช้คอนเทนต์เป็นตัวนำ อมรินทร์มีฐานคนที่เข้ามาอ่าน มาดูคอนเทนต์อยู่แล้ววันละ 1 ล้านคน เรากำลังจะเปลี่ยนผู้เสพคอนเทนต์เป็นผู้ซื้อสินค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการและแบรนด์ต่างๆ ปิดการขายได้ในอีโคซิสเต็มของอมรินทร์”

    รูปแบบการนำเสนอสินค้าจากมาร์เก็ตเพลส Amvata ไปกับคอนเทนต์เครืออมรินทร์ ทำได้หลายรูปแบบ เช่น Advertorial มีลูกค้าแบรนด์ต่างๆ ให้อมรินทร์ผลิตงานให้กว่า 1,000 ชิ้น หลังจาก Amvata ให้บริการแล้ว สินค้าจะถูกนำเสนอผ่านคอนเทนต์ที่เป็น Advertorial หากสนใจก็สามารถกดซื้อได้ทันที

    เช่นเดียวกับ แพรว เซเลบ บล็อกมื่อดูจบแล้ว สามารถซื้อสินค้าจากการรีวิวได้เช่นกัน หรือหากต้องการดูรายละเอียดของสินค้าก่อนซื้อก็สามารถทำได้ และยังอยู่ในแพลตฟอร์มอมรินทร์ โดยสามารถนำเสนอได้ทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น อมรินทร์ ทีวีช้อปปิ้ง หรือรายการ รีวิวบ้าน ที่ดูผ่านแอป AmarinTV

    “ที่ผ่านมาถือเป็น pain point ของลูกค้าที่สนใจสินค้าจากคอนเทนต์ แต่ไม่สามารถหาซื้อสินค้าได้  แพลตฟอร์ม Content Commerce จึงเข้ามาสร้างประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ”

    การทำ Content Commerce ต้องเริ่มจากการสร้างคอนเทนต์ที่น่าเชื่อถือสู่การทำตลาดแบบรายบุคคล ทำให้ผู้บริโภครู้สึกชื่นชอบการคอนเทนต์ จากนั้นปิดการขาย และสร้างโอกาสกลับมาซื้อซ้ำ โดยอาศัย Omni Channel ของเครืออมรินทร์ เพื่อสร้างให้เกิด Amarin Effect ที่จะเห็นผลลัพธ์ตัวเลขยอดขายจากการใช้สื่อและช่องทางต่างๆ ของอมรินทร์.


    ข่าวเกี่ยวเนื่อง

    ]]>
    1247527
    “มาร์เก็ตเพลส vs เว็บไซต์แบรนด์” ได้ประโยชน์ต่างกัน ทำความเข้าใจก่อนลุย E-commerce https://positioningmag.com/1228306 Tue, 07 May 2019 23:05:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1228306 ปรากฏการณ์เติบโตของการซื้อของออนไลน์ กลายเป็นกระแสหลักให้ทุกธุรกิจต้องขยับตัวเข้าสู่ e-commerce อีกช่องทางขายในยุคออนไลน์บูม แต่การทำให้ได้ผล ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าสินค้าใดเหมาะ เพราะ e-commerce อาจไม่ได้เป็นการทดแทนช่องทางขายเดิม แต่เป็นการเพิ่มยอดขายอีกทางหนึ่ง รวมทั้งการทำตลาดบน “มาร์เก็ตเพลส” และ “เว็บไซต์แบรนด์” แตกต่างกัน

    ศุภฤกษ์ ตังเจริญศิริ กรรมการผู้จัดการ รีไพรส์ ไอพีจี มีเดียแบรนด์ส ประเทศไทย กล่าวว่า หากดูพฤติกรรมผู้บริโภคไทยที่ทำกิจกรรมต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต พบว่าที่มาเป็นอันดับ 1 สัดส่วน 90% คือ เสิร์ชหาสินค้าหรือบริการที่ต้องการซื้อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ตลาด “อีคอมเมิร์ซ” เติบโต และธุรกิจต่างๆ ต้องมุ่งสู่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

    นอกจากนี้ยังพบว่า 85% เมื่อหาสินค้าเจอ จะไปที่ “ร้านค้าออนไลน์ของแบรนด์” หรือเว็บไซต์แบรนด์ สัดส่วน 80% ของคนที่มีกิจกรรมบนโลกออนไลน์ จะซื้อสินค้าผ่านอีคอมเมิร์ซอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่ “คาดการณ์ได้เลยว่าผู้บริโภคที่หาข้อมูลสินค้าบนออนไลน์ ส่วนใหญ่จะตัดสินใจซื้อ”

    อีกข้อมูลที่ต้องรู้ในการทำตลาดอีคอมเมิร์ซ คือ จำนวน 32% มาจากการซื้อขายผ่านเดสก์ท็อป หรือ แล็ปท็อป และ 71% ซื้อขายผ่าน “มือถือ” ดังนั้นหากต้องการทำตลาดอีคอมเมิร์ซ จะต้องนำเสนอสินค้าที่เหมาะกับโมบายไซต์ และแอปพลิเคชั่น

    คนไทยช้อปออนไลน์จ่ายเงินแบบไหน

    ด้านระบบ “เพย์เมนต์” พบว่า 82% ของคนที่ทำกิจกรรมบนโลกออนไลน์ มีบัญชีกับธนาคารอยู่แล้ว โดยเกือบ 10% มีบัตรเครดิต สะท้อนให้เห็นว่าการซื้อสินค้าออนไลน์ของคนไทยยังนิยม “โอนเงิน” ที่ผ่านมาธนาคารต่างๆ จึงยกเลิกค่าธรรมเนียมโอนเงินข้ามธนาคาร

    สัดส่วน 19% ซื้อออนไลน์และจ่ายเงินผ่านช่องทางออนไลน์ ทั้งการโอนเงินและจ่ายบิลออนไลน์ ดังนั้นช่องทางการจ่ายเงินผ่านอีคอมเมิร์ซจะต้องนำเสนอระบบเพย์เมนต์หลากหลายรูปแบบ

    จากจำนวนคนที่มีบัญชีธนาคาร 82% ในจำนวนนี้ 74% ใช้ “โมบายแบงกิ้ง” ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ธนาคารนำเสนอและปรับปรุงรูปแบบการให้บริการผ่าน โมบายแบงกิ้งอยู่ตลอดเวลา ทั้งเว็บไซต์และโมบายแอป โดย 47% หรือเกือบครึ่งเป็นกิจกรรมการโอนเงินผ่านโมบายแบงกิ้ง

    สินค้าไหน “เวิร์ก” ทำอีคอมเมิร์ซ

    แม้อีคอมเมิร์ซเป็นเทรนด์ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดย ปี 2019 ETDA คาดการณ์ตลาดอีคอมเมิร์ซไทย เติบโต 20% ด้วยมูลค่ากว่า 3.8 ล้านล้านบาท

    แต่การทำตลาดอีคอมเมิร์ซ ก็ไม่ได้เหมาะกับสินค้าทุกประเภท และการมีช่องทางอีคอมเมิร์ซก็ไม่ใช่การเข้ามาแทนที่ช่องทางเดิม แต่เป็นการเข้ามาเป็นอีกช่องทาง “เพิ่มยอดขาย”

    สำหรับกลุ่มธุรกิจที่ช่องทางอีคอมเมิร์ซ “ไปได้ดี” ในกลุ่มผู้บริโภคไทย ที่นิยมซื้อสินค้าและบริการผ่านออนไลน์ ในปี 2018 ประกอบด้วย

    • ธุรกิจท่องเที่ยว จองโรงแรม มูลค่า 4,140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.32 แสนล้านบาท) เติบโต 28% จากปัจจัยความสะดวกและการเปรียบเทียบราคา
    • สินค้าอิเลคทรอนิกส์ กล้องถ่ายรูป มูลค่า 1,043 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (33,300 ล้านบาท) เติบโต 24% แม้เป็นสินค้าที่หาซื้อผ่านสโตร์ได้ แต่ก็เลือกซื้อออนไลน์ เพื่อต้องการให้ได้ดีลพิเศษ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สินค้าใช้ดึงลูกค้าช้อปออนไลน์
    • แฟชั่นและบิวตี้ มูลค่า 908 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (29,000 ล้านบาท) เติบโต 17% สินค้ากลุ่มนี้ต้องดูความเหมาะสมของแพลตฟอร์มที่ใช้ เช่น ไอจี ที่เหมาะกับสินค้ากลุ่มนี้ แต่ต้องดูด้วยว่ามีช่องทางจ่ายเงินที่เหมาะสมหรือไม่
    • เฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่า 660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (21,000 ล้านบาท) เติบโต 22% มาจากช่องว่างเรื่องการขนส่ง ซึ่งการซื้อขายออนไลน์ทำได้สะดวกกว่า
    • ของเล่นและฮอบบี้ มูลค่า 575 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (18,371 ล้านบาท) เติบโต 25% เพราะหาซื้อได้ง่ายและสะดวก
    • อาหารและเพอร์ซันนอลแคร์ มูลค่า 571 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (18,243 ล้านบาท) เติบโต 30% ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการอาหารเดลิเวอรี่

    2 ออปชั่นปั้นตลาดอีคอมเมิร์ซ

    สำหรับสินค้าและแบรนด์ที่ต้องการเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซ จะมี 2 ออปชั่นหลักๆ คือ มาร์เก็ตเพลสต่างๆ ที่ให้บริการอยู่จำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นลาซาด้า ช้อปปี้ เจดีเซ็นทรัล ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำเร็จรูปให้สินค้าใช้งานได้ทันที และ “อีคอมเมิร์ซ สโตร์” หรือเว็บไซต์ของแบรนด์

    ต้องบอกว่าทั้ง 2 ออปชั่นในการทำตลาดอีคอมเมิร์ซ จะได้ “ประโยชน์” แตกต่างกัน

    ประโยชน์ของ “มาร์เก็ต เพลส”

    1. เริ่มต้นได้ง่ายและการลงทุนต่ำ เพราะมาร์เก็ต เพลส มีแพลตฟอร์มให้ใช้งานอยู่แล้ว จึงเป็นสิ่งที่ทำได้เร็วและง่ายสำหรับการเริ่มต้น
    2. มาร์เก็ตเพลส จะมีผู้ดูแลระบบอยู่แล้ว ดังนั้นสินค้าจึงมีหน้าที่ดูแลเฉพาะคอนเทนต์ที่จะนำเสนอและขายสินค้าบนมาร์เก็ตเพลสเท่านั้น จึงไม่มีค่าใช้จ่ายด้านการดูและและรักษาระบบ
    3. สามารถเข้าถึง (Reach) คนได้จำนวนมาก เพราะมาร์เก็ตเพลส เป็นแหล่งรวมสินค้าจึงดึงคนเข้ามาใช้บริการได้จำนวนมาก จึงมีทราฟฟิกดี
    4. สามารถรองรับสินค้าได้จำนวนมาก จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการอัพเกรดสปีดและระบบต่างๆ ที่จะมีต้นทุนเพิ่ม
    5. มาร์เก็ตเพลส เป็นการค้นหาสินค้าที่ Optimized รองรับการเสิร์ชของลูกค้า ทำให้สินค้ามีโอกาสเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายง่ายขึ้น
    6. ทราฟฟิกจากมาร์เก็ตเพลสที่เข้ามายังเว็บไซต์ จะมีต้นทุนต่ำกว่า

    ประโยชน์ของ “อีคอมเมิร์ซ สโตร์” ผ่านเว็บไซต์แบรนด์

    1. สามารถควบคุมขั้นตอนการทำงานได้ จากการเชื่อมโยงข้อมูลที่สามารถผสมผสานหน้าเว็บกับระบบหลังบ้าน การดูแลสต็อกสินค้าทำได้ดี
    2. การ Customized ระบบต่างๆ บนเว็บไซต์ทำได้ง่ายกว่า
    3. ความยืดหยุ่นในการควบคุม “แบรนดิ้ง” การทำ Customer Experience Stores
    4. ลดความเสี่ยงการเปลี่ยนแบรนด์ เพราะในมาร์เก็ตเพลสมีแบรนด์ให้เลือกหลากหลาย หากลูกค้าหาแบรนด์ไม่เจอ แต่การมาที่เว็บไซต์แบรนด์ เป็นการล็อกลูกค้าให้อยู่กับแบรนด์โดยไม่เปลี่ยนใจ
    5. เว็บไซต์สามารถเก็บข้อมูล (ดาต้า) การซื้อสินค้าของลูกค้าได้ เพื่อนำมาใช้เพิ่มยอดขายได้
    6. นำเสนอสินค้าและโปรโมชั่นเฉพาะบุคคล ทำให้สามารถ Personalize รายบุคคล ทั้งสินค้า โปรโมชั่น และราคา

    ]]>
    1228306