มิวสิกสตรีมมิ่ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 24 Apr 2024 09:55:28 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 Spotify ทำกำไรเป็นสถิติอีกครั้ง หลังบริษัทงัดแผนลดต้นทุน ปลดพนักงานบางส่วน และขึ้นราคาแพ็กเกจ https://positioningmag.com/1470918 Wed, 24 Apr 2024 09:55:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1470918 สปอติฟาย (Spotify) ได้ประกาศผลประกอบการไตรมาส 1 โดยบริษัทมีกำไรทำสถิติอีกครั้ง จากมาตรการไม่ว่าจะเป็น การลดต้นทุน การปลดพนักงาน หรือแม้แต่การขึ้นราคาแพ็กเกจ จากแรงกดดันของนักลงทุน เพื่อบริษัทจะได้กลับมามีกำไรได้อย่างสม่ำเสมออีกครั้ง 

Spotify ประกาศผลประกอบการของไตรมาส 1 ที่ผ่านมา โดยบริษัทมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 168 ล้านยูโร ขณะที่กำไรขั้นต้นของบริษัทได้แตะหลัก 1,000 ล้านยูโรเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งผลกำไรดังกล่าวนั้นมาจากกลยุทธ์ของบริษัทที่ลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง และปรับราคาแพ็กเกจ

ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทได้เร่งในการลดต้นทุน เช่น การปลดพนักงาน 1,500 รายช่วงปลายปี 2023 ซึ่ง Daniel Ek ผู้บริหารสูงสุดของ Spotify เคยกล่าวว่าบริษัทมีพนักงานมากเกินไป และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ทำให้บริษัทต้องกลับมารีดไขมันองค์กรให้มีประสิทธิภาพอีกครั้ง

นอกจากนี้ Spotify ยังได้งัดแผนการสำคัญคือการประกาศขึ้นราคาแพ็กเกจทั่วโลกในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2023 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อที่จะสามารถส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าที่เป็นผู้ฟังเพลง รวมถึงศิลปิน ซึ่งประกาศดังกล่าวนี้มีผลต่อผู้ใช้งานทั่วโลก

ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา บริษัทมีผู้ใช้งานเติบโตเพิ่ม 14% ทำให้บริษัทมีสมาชิกทั้งหมด 239 ล้านคน มีรายได้รวม 3,600 ล้านยูโร และมีกำไรขั้นต้นแตะ 1,000 ล้านยูโร ทำให้บริษัทมีกำไรสุทธิหลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้วอยู่ที่ 168 ล้านยูโร

สาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทต้องเร่งแผนในการปรับขึ้นราคาแพ็กเกจ หรือแม้แต่การลดต้นทุน ก็คือ แรงกดดันจากนักลงทุนที่ต้องการที่จะให้บริษัทกลับมามีกำไรอีกครั้ง หลังจากที่บริษัทมีผลประกอบการรายปีขาดทุนนับตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา แม้ว่าจำนวนผู้ใช้งานจะเพิ่มขึ้นก็ตาม

ขณะเดียวกันเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัทยังมีแผนที่จะปรับขึ้นราคาในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เพื่มเติมด้วย ซึ่งประเทศดังกล่าวถือเป็นตลาดหลักของ Spotify

ข้อมูลจาก S&P Global Market Intelligence ได้รวบรวมข้อมูลจากนักวิเคราะห์ ชี้ว่าภายในปีนี้บริษัทจะกลับมามีกำไรได้เต็มปี ซึ่งแตกต่างกับในอดีตที่บริษัทไม่สามารถทำกำไรได้ตลอด

]]>
1470918
ByteDance เตรียมเปิดตัวบริการสตรีมมิ่งเพลง TikTok Music หาลูกค้าเพิ่มในอินโดนีเซีย บราซิล https://positioningmag.com/1437109 Fri, 07 Jul 2023 09:41:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1437109 บริษัทแม่ของแอปอย่าง TikTok หรือ Douyin อย่าง ByteDance ล่าสุดได้เตรียมเปิดตัวบริการสตรีมมิ่งเพลง อย่าง TikTok Music โดยที่จะเปิดตัวในประเทศบราซิล รวมถึงอินโดนีเซีย เพื่อที่จะขยายฐานลูกค้าของบริษัทให้ได้มากกว่าเดิม

ByteDance ได้ประกาศว่าบริษัทได้เปิดตัวบริการสตรีมมิ่งเพลง TikTok Music ในประเทศอินโดนีเซีย รวมถึงบราซิล ซึ่งจะต้องต่อสู้กับคู่แข่งบริการสตรีมมิ่งเพลงรายอื่นๆ โดยแค็ตตาล็อกของเพลงจะรวมศิลปินจากค่ายเพลงใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Sony Music Universal Music หรือแม้แต่ Warner Music

TikTok Music จะเข้ามาแทนที่บริการของ Resso ซึ่งเป็นบริการสตรีมมิ่งเพลงของบริษัทที่ให้บริการใน 2 ประเทศดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ทันทีถ้าหากมีบัญชีใช้งาน TikTok อยู่แล้ว และยังสามารถดาวน์โหลดเพลงในเวลาที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต แชร์เพลง หรือแม้แต่ฟังเพลงที่ได้รับความนิยมใน TikTok ได้ด้วย

นอกจากนี้ใน TikTok Music ยังสามารถใช้ตัวแอปให้ฟังเพลงและบอกได้ว่าเพลงที่เรากำลังฟังอยู่นั้นชื่ออะไรได้อีกด้วย

โดยบริการสตรีมมิ่งเพลงดังกล่าวนี้ไม่ใช่บริการฟรี โดยบริษัทจะเก็บค่าสมาชิกรายเดือนไม่เกิน 123 บาทต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าบริการของคู่แข่งอย่าง Spotify รวมถึง Apple Music อยู่เล็กน้อย

สำหรับประเทศอย่างอินโดนีเซียนั้นทาง ByteDance ได้วางเป้าเป็น 1 ประเทศที่ต้องการรุกตลาด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ E-commerce ผ่าน TikTok Shop และยังรวมถึงบริการล่าสุดคือบริการสตรีมมิ่งเพลงด้วย เนื่องจากประเทศดังกล่าวมี GDP และประชากรที่สูง

ปัจจัยสำคัญอีกเรื่องคือ อุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาทำให้การรุกตลาดสหรัฐอเมริกานั้นอาจมีโอกาสที่จะไม่ประสบความสำเร็จ ทำให้ท้ายที่สุดบริษัทเบนเป้ามารุกธุรกิจ TikTok Shop ในอาเซียนหรือแม้แต่ละตินอเมริกาเป็นหัวหอกหลักแทน

อย่างไรก็ดีบริการของ TikTok Music ในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกนอกจาก 2 ประเทศข้างต้นนั้น ทางบริษัทยังไม่ได้กล่าวถึงการเปิดตัวแต่อย่างใด

ที่มา – TechCrunch

]]>
1437109
กางแผน “JOOX” บุก “มิวสิกสตรีมมิ่ง” ไทย อยากโตต้องไปภูธร เพิ่มศิลปินเกาหลี หารายได้จาก “Coins” https://positioningmag.com/1212966 Fri, 08 Feb 2019 04:09:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1212966 คนไทย” ยืนหนึ่งไม่แพ้ชนชาติใดในโลก เรื่องการฟังเพลงผ่านสมาร์ทโฟน ผลสำรวจระบุ มีถึง 93% ในจำนวนนี้คนอายุกว่า 24 ปีถึง 96% นิยมฟังผ่านสมาร์ทโฟน แซงหน้าภาพรวมของโลกที่มีราว 75% เท่านั้น

พฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็น ขุมทรัพย์ ที่เหล่ามิวสิกสตรีมมิ่งหลากหลายสัญชาติต่างกรีธาทัพเข้ามาทำสงคราม ที่คุ้นหน้าค่าตาพอนับได้อยู่ 3 ค่ายด้วยกันได้แก่ “JOOX” ในเครือเทนเซ็นต์ (Tencent) จากจีนแผ่นดินใหญ่ อาศัยจุดแข็งมิวสิกคอนเทนต์ใหม่ๆ และ MV มาดึงคนฟัง

“Spotify” มีประสบการในมิวสิกสตรีมมิ่งโลกกว่า 10 ปี ระบบการจัดเพลย์ลิสต์ เน้นความหลากหลาย และยังเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และช่วยในการจัดเพลย์ลิสต์อัตโนมัติ ในขณะที่ “AppleMusic” ความง่ายในการเข้าถึงของผู้ใช้สินค้าในตระกูล iOS และคลังเพลงในมือมากกว่า 40 ล้านเพลง

แต่ละแบรนด์ก็มีจุดแข็งที่กินกันไม่ลง มีแนวโน้มแข่งขันที่รุนแรงได้ หาก กฤตธี มโนลีหกุลกรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้บริหาร JOOX ประเทศไทย กลับฉายภาพที่สวนทางว่า

มิวสิกสตรีมมิ่งยังเป็น Blue Ocean การแข่งขันไม่ได้รุนแรงมากนัก เพราะการมีผู้เล่นหลายรายจะได้เข้ามา Educate คนไทยให้เลิกฟังเพลงจากการเสียบแฟลชไดรฟ์และซีดีเถื่อน มาฟังเพลงแบบถูกลิขสิทธิ์

ราคาคงไม่ลดเพราะลงแล้วขึ้นยาก

แม้จะมองว่าเป็น “Blue Ocean” แต่โจทย์ที่ท้าทายเหล่าผู้เล่นในสังเวียนมิวสิกสตรีมมิ่ง คือการที่คนไทยยังคุ้นชินของ ฟรีไม่พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อฟังเพลง แม้แต่ละรายจะมีราคาเริ่มต้นเพียงเดือนละ 129 บาท เทียบเท่าราคาของกาแฟ 1 แก้วเท่านั้น

สะท้อนจากฐานผู้ใช้งาน JOOX ที่แอคทีฟราว 10 ล้านราย เท่ากับฮ่องกงที่เป็นตลาดหลัก ซึ่งมีไม่ถึง 10% ที่ยอมจ่ายเงินเพื่อเป็น VIP ฟังเพลงได้ทั้งหมดแบบไม่ติดโฆษณา แม้รายได้ปีที่ผ่านมาเติบโต 100% จะมาจากตรงนี้คิดเป็นสัดส่วน 50% ที่เหลือมาจาก Media Partner อีกราว 30 รายก็ตาม

กฤตธียืนยัน JOOX ไม่มีแผน ลดราคา เพื่อดึงคนฟังให้ยอมขยับเป็น VIP เพิ่ม เพราะหากลงแล้วจะกลับมา ขึ้นราคา อีกเป็นไปได้ ยาก วิธีที่ JOOX ทำจึงแบ่งแพ็กเกจออกให้เลือกหลากหลายทั้งรายวัน สัปดาห์ และรายเดือน รวมถึงการทำโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งวิธีนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้ใช้ยอมเสียเงินเพิ่มมากขึ้น ในระหว่างการทำโปรโมชั่น

ส่วนแพ็กเกจแบบครอบครัว ซึ่งจะทำให้ราคาต่อแอคเคาท์เฉลี่ยแล้วถูกลง เหมือนรายอื่นๆ ทั้ง Spotify -AppleMusic ที่มีกันอยู่ ผู้บริหาร JOOX ให้ความเห็น อาจ เป็นไปได้ที่จะทำ แต่ยังไม่ยืนยันในตอนนี้

ศิลปินหน้าใหม่

ปี 2018 มียอดสตรีมกว่า 3 พันล้านครั้งบน JOOX เติบโตกว่า 50% โดยมิวสิกคอนเทนต์ใหม่ๆ และ MV เป็นปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดผู้ฟัง ซึ่งตัวแปรที่ขาดไม่ได้คือศิลปินหน้าใหม่ จากหลากหลายแนวเพลง ถือว่าบทบาทสำคัญอย่างมากบนแพลตฟอร์มของ JOOX

นั้นเพราะหนึ่งในพฤติกรรมของคนฟัง ที่มาพร้อมกับการเติบโตของมิวสิกสตรีมมิ่ง คือการที่คนฟังรู้จักแต่เพลง ไม่ได้รู้จัก นักร้อง เพลงจึงต้องมีคุณภาพจริงๆ ไม่ใช่หน้าตา จึงกลายโอกาสแจ้งเกิดกับศิลปินหน้าใหม่ได้ง่ายขึ้น โดยปีที่ผ่านมามีการฟังเพลงกว่า 80 ล้านครั้ง

ทีมงานของ JOOX จะเสาะหาเพลงใหม่ๆ ฟังตามแพลตฟอร์ม หากชื่นชอบค่อยมาโหวตกัน แล้วค่อยติดต่อให้นำเพลงมาขึ้นใน JOOX ผ่าน “JOOX Spotlight” และเมื่อมีแนวโน้มความนิยมเพิ่มขึ้น ก็จะมีการให้ทุนไปทำเพลงเพิ่มหรือ MV ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มคอนเทนต์ของ JOOX เองด้วย

ฟากศิลปินหน้าใหม่ก็จะมีรายได้นับจากการฟังต่อ 1 วิว นอกจากนี้ยังได้จัดคอนเสิร์ตเพลงอีกราว 35 ครั้งเพื่อนำศิลปินหน้าใหม่ออกไปให้คนฟังได้รู้จัก เป็นการเพิ่มฐานแฟนเพลงไปในด้วย

ถึงเวลาลุยขุมทรัพย์ภูธร

เป้าหมายของ JOOX ปี 2019 ต้องการเพิ่มฐานผู้ใช้งานเป็น 12 ล้านราย ซึ่ง JOOX กำหนดไว้ 3 แนวรบ

แนวรบแรก เจาะกลุ่มต่างจังหวัดเพราะฐานผู้ใช้งานเวลานี้ 55% เป็นอยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นตลาดที่คู่แข่งเยอะ JOOX จึงต้องหนีไปหาตลาดใหม่ๆ อย่างต่างจังหวัด ซึ่งจำนวนประชากรเยอะกว่ามาก

เพียงแต่การจะเข้าไปหาได้ จะต้องเน้นแนวเพลงยอมนิยมคือลูกทุ่งและเพื่อชีวิตอยู่ในอันดับ 4 ส่วนมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นในปี 2019 จึงจะให้ความสำคัญกับ ลูกทุ่งและเพื่อชีวิต ที่ต้องการขยายทั้งคนต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ โดยจะหาศิลปินลูกทุ่งที่เหมาะกับ แมส เพื่เข้ามาทำโครงการร่วมกับศิลปินเมนสตรีมมากขึ้น

โดยโปรโมตผ่านรายการ เอะอะมะทัวร์ มี ปิงปอง ธงชัย เป็นพิธีกร นำศิลปินลูกทุ่ง มาสัมภาษณ์ และเสริมเป็นคาราโอเกะให้เกิดความรู้สึกร่วม

“Coins” โมเดลหารายได้ใหม่

แนวรบที่สอง คือการเพิ่มฟีเจอร์ JOOX VDO Karaoke โดยวางแผนดึง Influencer ในด้านต่างๆ มาร้องอันคลิปและให้คนที่เป็นแฟนคลับ สามารถร้องคาราโอเกะคู่กันได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มลูกเล่นต่างๆ ด้านวิดีโอ

โดย JOOX คาดหวังให้เกิดเป็น community คนรักเสียงดนตรี โดยปีที่ผ่านมา ฟีเจอร์ Karaoke มียอดการร้อง 5 ล้านครั้ง และมีการแชร์เพลงที่ร้องแบบคาราโอเกะไปถึง 2.6 ล้านครั้ง

และแนวรบสุดท้ายการปรับปรุงเป็นมิตรกับผู้ใช้งาน ซึ่งปลายปีที่ผ่านมาได้ปรับปรุงให้ดูง่าย เพราะผู้ใช้งานมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่

นอกจากนี้แล้วในภาพรวมยังคงมุ่งไปที่การโปรโมตและส่งเสริมผลงานศิลปินในหลากมิติ เน้นโมเดล Collaboration Project ในการสร้าง Exclusive Content ให้มากยิ่งขึ้น รวมถึงการถ่ายทอดสด Live Concert จากเกาหลี ที่จะมีมากขึ้น

การ Live Concert เกาหลีทำให้ JOOX พบโมเดลการหารายได้ใหม่ โดยผู้ที่เข้ามาชมสามารถซื้อ Coins ราคาตั้งแต่ 35 – 1,750 บาท นำมาซื้อสติกเกอร์แบบพิเศษ เพื่อแสดงออกถึงความชื่นชอบในศิลปิน และการซัพพอร์ต.

]]>
1212966
ศึกชิงมิวสิกสตรีมมิ่ง JOOX vs Apple Music vs Spotify  https://positioningmag.com/1137633 Sat, 26 Aug 2017 23:55:17 +0000 http://positioningmag.com/?p=1137633 ตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งในไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง เมื่อ สปอติฟาย (Spotify) ได้ฤกษ์เปิดให้บริการในไทยอย่างเป็นทางการ เพราะต่อจากนี้ไปจะไม่ได้มีแค่บริการสุดฮิตที่มีมาก่อนหน้าอย่าง JOOX หรือ Apple Music เท่านั้น แต่จะมีอีกหนึ่งยักษ์ใหญ่ในชื่อ Spotify เพิ่มเป็นอีกหนึ่งทางเลือกให้ผู้ใช้ชาวไทยได้เลือกใช้งานกัน

แน่นอนว่าเมื่อมีตัวเลือกมากขึ้น ผู้บริโภคก็ยังอาจตัดสินใจไม่ได้ว่าสุดท้ายแล้วจะเหมาะสมกับบริการใด เลยเลือกจับบริการสุดฮิตในตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งทั้ง 3 ตัวได้แก่ JOOX Apple Music และ Spotify มาถอดจุดขายข้อสังเกตกันทุกรายละเอียด โดยจะแบ่งเป็นหัวข้อตามประเด็นที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังสนใจและพูดถึงในปัจจุบัน

1. คอนเทนต์เพลง

JOOX – ถึงแม้จะเป็นผู้ให้บริการหน้าใหม่ เมื่อเทียบกับอีก 2 ผู้ให้บริการ แต่ JOOX เลือกใช้วิธีการให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สามารถใช้งานได้ฟรีผ่านหน้าเว็บมิวสิก สนุกดอทคอม ทำให้ทุกคนสามารถกดฟังเพลงได้ทันทีโดยไม่ต้องล็อกอิน

โดยในประเทศไทย JOOX จะเน้นเพลงวัยรุ่นทั้งไทยและสากลในกระแสเป็นหลัก เพลงนอกกระแส ค่ายเล็ก โดยเฉพาะเพลงอินดี้ต่างประเทศที่ศิลปินมักออกทุนผลิตเพลงเองจะมีให้เลือกฟังจาก JOOX น้อยมาก

Apple Music – เพราะแอปเปิลเป็นผู้ให้บริการขายเพลงผ่านระบบ iTunes มาก่อน ทำให้ Apple Music มีเพลงในคลังทั้งไทยและสากลมากกว่า 40 ล้านเพลง จึงกลายเป็นจุดเด่นสำคัญไปโดยปริยาย พร้อมกับความง่ายในการเข้าถึงของผู้ใช้สินค้าในตระกูล iOS

โดยเฉพาะเพลงนอกกระแสจากค่ายเล็กใหญ่ทั้งไทยและเทศที่มักมีให้เลือกฟังผ่าน Apple Music มากกว่าบริการอื่น อีกทั้งในบ้านเรา Apple Music ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งแหล่งฟังเพลงออนไลน์สำหรับคนชอบฟังเพลงวัยรุ่นเกาหลี K-POP อีกด้วย

Spotify – น้องใหม่สุดในบ้านเรา แต่สำหรับระดับโลกถือว่า Spotify อยู่ในตลาดสตรีมมิ่งมาเกือบ 10 ปีแล้ว ด้านคอนเทนต์เพลงของผู้ให้บริการนี้จะคล้ายกับ Apple Music คือมีเพลงทั้งไทยและสากลทั้งในกระแสและนอกกระแสให้เลือกฟังเช่นเดียวกัน

แต่ปัจจุบันในตลาดไทยเพลงอาจน้อยกว่าทั้ง Apple Music และ JOOX โดยเฉพาะเกาหลี K-POP ที่ปัจจุบันยังไม่หลากหลาย ส่วนเพลงนอกกระแสต่างประเทศถือว่า Spotify เป็นผู้นำด้วยเครือข่ายขนาดใหญ่ จุดนี้อาจต้องรอดูอนาคตเพราะ Spotify เพิ่งเข้ามาทำตลาดในไทย ส่วนตลาดโลกก็เรียกได้ว่า Spotify เป็นอีกหนึ่งคลังเพลงออนไลน์ขนาดใหญ่ระดับ 30 ล้านเพลงขึ้นไป

Apple Music จะให้คุณภาพเสียง 256 Kbps AAC มาตรฐานเดียว

2. จุดขายเด่น

JOOX – เพราะเป็นการร่วมมือกับสนุกดอทคอมทำให้ JOOX มีจุดขายในเรื่องบริการด้านข่าวบันเทิง มีวิดีโอเล่นดนตรีสด เวอร์ชันพิเศษเฉพาะ JOOX และมีวิทยุเลือกจัดเพลงตามธีมต่างๆ รวมถึงมีเพลย์ลิสต์ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากระบบของ Spotify เช่นวันนี้อยากออกกำลังก็สามารถเลือกเพลย์ลิสต์รวมเพลงที่เหมาะกับการออกกำลังกายได้ทันที

นอกจากนั้นคอนเทนต์ส่วนใหญ่บน JOOX จะสามารถเข้าใช้งานได้ฟรีแต่แลกกับมีการต้องฟังโฆษณา หรือจะเลือกเสียเงินก็จะได้รับคุณภาพเสียงที่สูงขึ้น และโหลดมาฟังแบบออฟไลน์บนสมาร์ทโฟนได้

Apple Music – มีจุดขายสำคัญในเรื่องปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการช่วยผู้ใช้คัดเลือกและสร้างเพลย์ลิสต์โดยอ้างอิงจากแนวเพลงที่ชอบฟังให้แบบอัตโนมัติ รวมถึงมีระบบ Connected กับศิลปินที่เราชื่นชอบ เปรียบเสมือนศิลปินมีบล็อกส่วนตัวเขียนให้แฟนเพลงติดตามรวมถึงมีวิทยุออนไลน์ฟังเพลงแบบ Non Stop หรือจะเลือกฟังแบบมีผู้ดำเนินรายการก็ได้

Spotify – ฟีเจอร์เด่นที่ทำให้ Spotify มีชื่อเสียงมาถึงทุกวันนี้ก็คือระบบการจัดเพลย์ลิสต์เพลงที่หลากหลายครอบคลุมทุกอารมณ์ของคนฟังมากที่สุด รวมถึงมีระบบแจ้งเตือนเมื่อศิลปินที่เราติดตามออกเพลงใหม่ อีกทั้งคนที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย Spotify จะมีโหมดพิเศษที่ชื่อว่า ‘Running’ โดยโหมดนี้จะตรวจจับความเร็วในการวิ่งของเราและจัดลิสต์เพลงที่เหมาะสมแต่ละช่วงความเร็วให้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการจัดเพลย์ลิสต์ร่วมกับระบบตรวจจับการเคลื่อนไหวในโทรศัพท์

นอกจากนั้นปัญญาประดิษฐ์ใน Spotify ยังช่วยเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และช่วยในการจัดเพลย์ลิสต์ให้เราอัตโนมัติ เช่น Discovery Weekly และสุดท้าย Spotify ยังรองรับอุปกรณ์ที่ใช้งานได้หลากหลายที่สุดตั้งแต่สมาร์ททีวี เครื่องเกมคอนโซน สมาร์ทโฟน แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้สามารถฟังเพลงข้ามไปมาระหว่างอุปกรณ์แบบไร้รอยต่อ หรือถ้าฟังเพลงในคอมพิวเตอร์อยู่ก็สามารถกดเปลี่ยนเพลงจากสมาร์ทโฟนได้ทันที 

ปัญญาประดิษฐ์ใน Spotify จะเรียนรู้พฤติกรรมผู้ใช้และจัดเพลย์ลิสต์ให้เราอัตโนมัติ

3. คุณภาพเสียง

JOOX – สำหรับการใช้งานฟรี คุณภาพเสียงจะอยู่ที่ 128 Kbps ส่วนถ้าสมัครใช้บริการรายเดือนแบบ VIP จะได้คุณภาพเสียงสูงถึง 192 Kbps และบางเพลงสามารถฟังแบบคุณภาพ HiFi 1,411Kbps ได้ด้วย

Apple Music – จะให้คุณภาพเสียง 256 Kbps AAC มาตรฐานเดียว

Spotify – รองรับการสตรีมมิ่งเพลงที่ความละเอียดสูงสุด 320 Kbps ทุกเพลง ส่วนค่าต่ำสุด 96 Kbps 

JOOX เลือกใช้วิธีการให้ทุกคนเข้าถึงได้ง่าย สามารถใช้งานได้ฟรีผ่านหน้าเว็บมิวสิก สนุกดอทคอม ทำให้ทุกคนสามารถกดฟังเพลงได้ทันทีโดยไม่ต้องล็อกอิน

 4. ราคา

JOOX – การบอกรับสมาชิก (VIP) สามารถเลือกจ่ายเงินได้ 3 ช่องทางได้แก่ 1.บัตรเงินสด TrueMoney, 12Call, DTAC 2.ซื้อบัตรเงินสด JOOX VIP มีราคาเริ่มต้นที่ 20 บาทใช้ได้ 5 วันจนถึง 1,000 บาทใช้ได้ 328 วัน 3.จ่ายผ่านบัตรเครดิต เริ่มต้น 129 บาทต่อเดือน

Apple Music – เริ่มต้นแบบบุคคลอยู่ที่ 129 บาทต่อเดือน รายปี 1,300 บาท แบบครอบครัวได้สูงสุด 6 คนตกเดือนละ 199 บาท และสุดท้ายนักศึกษาเดือนละ 69 บาท

Spotify – บอกรับสมาชิก ค่าบริการแบบ Premium บุคคลตกเดือนละ 129 บาท รายปี 1,548 บาท แบบครอบครัวตกเดือนละ 199 บาท รองรับการจ่ายเงินผ่านเครือข่าย DTAC สามารถเลือกจ่ายเป็นรายวันเริ่มต้น 8 บาท รายสัปดาห์ 39 บาท รายเดือน 139 บาท และราย 3 เดือน 417 บาท


ที่มา : manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9600000087469

]]>
1137633
เปิดกลยุทธ์! ต้องสตรองแค่ไหน ถึงอยู่ในตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งได้ https://positioningmag.com/1114549 Thu, 26 Jan 2017 05:00:41 +0000 http://positioningmag.com/?p=1114549 ในปีที่ผ่านมาเทรนด์ของเรื่องมิวสิกสตรีมมิ่ง หรือการฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชันได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เพราะด้วยพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาฟังเพลงผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้มีผู้เล่นในตลาดเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน มีรายใหญ่ๆ ที่เรียงตามช่วงเวลาที่เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ได้แก่ Deezer, KK Box, Apple Music, LINE Music และน้องใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อต้นปี 2559 JOOX จากค่ายเทนเซ็นต์

แต่ด้วยตลาดที่มีการแข่งขันสูง ต้องเผชิญกับความท้าทายหลายๆ ด้าน ทั้งพฤติกรรมการฟังเพลงของผู้บริโภคที่ชอบฟังเพลงแบบไม่เสียเงิน รวมถึงการสร้างตลาดให้ผู้บริโภคมาใช้บริการ จากปัจจัยในหลายๆ อย่างทำให้ในปีที่ผ่านมาก็มีผู้เล่นทยอยปิดตัวลงไป เพราะไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ประสบความสำเร็จเท่าไหร่ จนในปัจจุบันเหลือผู้เล่นใหญ่ๆ เพียง 3 รายเท่านั้นก็คือ Apple Music, Deezer และ JOOX

ความน่าสนใจในตลาดนี้ที่ทำให้ผู้เล่นต่างตะลุมบอนทำตลาดกัน เพราะเป็นการจับไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบันที่ชอบดูหนังและฟังเพลงมากที่สุด (รองจากการใช้โซเชียลมีเดีย) ยกตัวอย่างทางค่ายโอเปอเรเตอร์ต่างๆ ก็มีการทำการตลาดที่จะกระตุ้นในการใช้ดาต้าให้สูงขึ้น รวมถึงมีแพ็กเกจ หรือโปรสำหรับการฟังเพลงโดยเฉพาะ

ประกอบกับแนวโน้มของตลาดที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยล้อไปกับการเติบโตของการใช้อินเทอร์เน็ตและการใช้สมาร์ทโฟน ในปี 2559 ที่ผ่านมาพบว่ามีอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคอายุ 16-44 ปี จำนวน 66% เป็นการเข้าถึงผ่านสมาร์ทโฟน 98% และเข้าผ่านคอมพิวเตอร์พีซี 27%

พบว่าคนกลุ่มนี้มีพฤติกรรมการฟังเพลงผ่านแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ออนไลน์ 88% เป็นการฟังผ่านสมาร์ทโฟน 65% และฟังผ่านคอมพิวเตอร์พีซี 61%

และในปี 2560 นี้ ทาง McKinsey Report ได้คาดการณ์ว่าจะมีคนใช้มิวสิกสตรีมมิ่งในเอเชียสูงราว 64 ล้านคน เติบโต 13.5% ระหว่างช่วงปี 2557-2563

จะอยู่หรือจะไป ต้องอยู่ที่คอนเทนต์

การแข่งขันในตลาดสตรีมมิ่งในช่วงที่ผ่านมาเป็นสงครามในการแย่ง “ผู้ใช้” โมเดลหลักของแต่ละค่ายจะเป็นการจ่ายค่าบริการรายเดือนซึ่งแต่ละรายก็ไม่เท่ากัน ซึ่งปัจจัยตรงนี้เองค่อนข้างที่จะเป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงผู้บริโภค ทำให้ช่วงมิวสิกสตรีมมิ่งยังไม่ค่อยบูมเท่าไหร่

โดยที่ผ่านมาแต่ละเจ้าก็มีฐานลูกค้าเป็นของตัวเองอยู่แล้ว อย่างดีแทคก็มีการทำตลาดของ Deezer และเอไอเอสทำตลาดของ KK Box ส่วน Apple Music ก็มีฐานลูกค้าจากผู้ใช้แอปเปิล และ LINE Music ก็อาศัยฐานลูกค้าจากคนใช้ไลน์ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าผู้บริโภคสะดวกจะใช้อันไหน หรือพอใจที่จะจ่ายเงินกับแอปไหนมากกว่ากัน

แต่เมื่อต้นปีที่แล้วตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งกลับมาคึกคักเพราะมีผู้เล่นเข้ามาเพิ่ม ก็คือ JOOX โดยที่ได้เข้ามาทำตลาดในประเทศไทยต่อจากฮ่องกง มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และมีโมเดลธุรกิจแตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ในตลาด

joox

กรณีศึกษาของ JOOX ที่เข้ามาเขย่าตลาดได้นั้น เริ่มต้นจาก JOOX ได้มองเห็นพฤติกรรมผู้บริโภคคนไทยแล้วว่า คนไทยยังไม่พร้อมที่จะ “จ่ายเงิน” กับการฟังเพลง เห็นได้จากพฤติกรรมที่ผ่านมาในการดาวน์โหลดเพลงที่ส่วนใหญ่เป็นการดาวน์โหลดผิดกฎหมาย แต่ JOOX ต้องการที่จะให้ผู้บริโภคฟังเพลงอย่างถูกลิขสิทธิ์ จึงใช้โมเดลในการให้ฟัง “ฟรี” เพื่อเป็นการเรียกฐานผู้ใช้

ส่วนโมเดลในการหารายได้ต่อไปจะเป็นในเรื่องของการหาพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจ ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็ค่อนข้างได้ผลพอสมควร เพราะทำให้ JOOX  ติดตลาดสำหรับคนฟังสตรีมมิ่งด้วยจำนวน 25 ล้านดาวน์โหลด และได้ขึ้นแท่นเป็นแอปมิวสิกสตรีมมิ่งเบอร์หนึ่งในประเทศไทยไปแล้ว

นอกจากการฟังฟรีแล้ว JOOX ยังสร้างจุดแข็งให้แตกต่างจากแบรนด์อื่นด้วยการสร้าง “คอนเทนต์”  กฤตธี มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทนเซ็นต์ (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า “ตลาดมิวสิกสตรีมมิ่งคนที่จะอยู่หรือจะไป Key Success  อยู่ที่คอนเทนต์ล้วนๆ ซึ่งคอนเทนต์ต้องถูกจริตคนไทย”

การดีไซน์คอนเทนต์ของ JOOX จึงอยู่ในรูปแบบ “เพลย์ลิสต์” ที่รวบรวมเพลงที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลา อารมณ์ และกระแสต่างๆ แม้แต่ช่วงวันสำคัญทางศาสนาก็ยังมีบทสวดมนต์เลย เพราะคนไทยชอบคอนเทนต์ที่มีความกวนเล็กๆ จึงได้มีการจัดเพลงใส่เพลย์ลิสต์ก็ตั้งชื่อกวนๆ อย่างระยะทำใจ ฤดูที่ฉันเหงา ฝนพรำฮัมเพลง เป็นการทำคอนเทนต์มาตอบโจทย์

นอกจากเทรนด์เรื่องการฟังมิวสิกสตรีมมิ่งแล้ว เทรนด์เรื่องวิดีโอสตรีมมิ่งก็มาแรงไม่แพ้กัน ทำให้ JOOX ได้มีการปรับตัวในการเพิ่มคอนเทนต์ที่เป็นประเภทวิดีโอเข้าไป เช่น เพิ่มรายการ V station เป็นรายการแนะนำเพลง และมีช่วงรายการที่ถ่ายทอดสด เพื่อดึงดูดคนดู และช่วยให้ผู้บริโภคใช้เวลาอยู่กับแอปนานขึ้น และมีเอ็นเกจเมนต์มากขึ้น

สำหรับแผนธุรกิจของ JOOX ในปีนี้ หลังจากที่ได้ปูทางในการขยายฐานผู้ใช้ด้วยกลยุทธ์การฟังฟรี รวมถึงการใช้คอนเทนต์ในการมีส่วนช่วย แผนการตลาดในปีนี้ของ JOOX นั้นจะเริ่มขอมีตัวตนบนโลกออฟไลน์มากขึ้น จึงมีกิจกรรมที่เป็นคอนเสิร์ตขึ้นมาเพิ่มเติม เพื่อให้คนรู้จักมากขึ้น

joox2

กฤตธี ได้บอกว่า ในปีนี้ความท้าทายอยู่ที่ทำอย่างไรให้เกิดรายได้มากขึ้น จึงมีการจัดอีเวนต์และมีคอนเสิร์ต เพื่อเป็นการขยายฐานคนฟังไปกลุ่มใหม่ๆ ด้วยคอนเสิร์ตที่จะมีการจัดในปีนี้จะมีราว 20-30 ครั้ง จุดประสงค์หลักก็เพื่อต้องการขยายฐานคนฟังให้กว้างขึ้น ขยายไปยังต่างจังหวัด และต้องการให้คอนเสิร์ตสร้างเอ็นเกจเมนต์กับผู้บริโภครวมไปถึงการทำอีเวนต์จะเป็นช่องทางในการหารายได้เพิ่มขึ้นด้วย

คนฟัง JOOX เป็นใครบ้าง

ปัจจุบัน JOOX มีจำนวนผู้ใช้ 25 ล้านดาวน์โหลด ซึ่งเป็นผู้ใช้แอ็กทีฟ 7-8 ล้านราย ในปีนี้ตั้งเป้าผู้ใช้ 30 ล้านดาวน์โหลด และมีผู้ใช้แอ็กทีฟ 15 ล้านราย

ผู้ฟัง JOOX  จะแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน กลุ่มใหญ่ที่สุดเป็นกลุ่มคนอายุน้อยกว่า 18 ปี 65% จะนิยมฟัง JOOX ขณะที่ทำการบ้าน พร้อมกับใช้ไวไฟที่บ้านในการฟัง เพราะคนกลุ่มนี้ยังไม่มีรายได้ในการใช้จ่ายค่าแพ็กเกจอินเทอร์เน็ต กลุ่มที่ 2 อายุ 18-24 ปี 50% นิยมฟัง JOOX ขณะเดินทางไปไหนมาไหน เพราะได้ฟังเพลงฆ่าเวลา ส่วนกลุ่มที่ 3 อายุ 25-34 ปี คนกลุ่มนี้นิยมฟัง JOOX ตอนขับรถ

info_music_new

]]> 1114549