มือถือ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 23 Feb 2024 05:24:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ย้ายด้วย! ‘Google’ เตรียมใช้ ‘อินเดีย’ เป็นฐานผลิตสมาร์ทโฟน Pixel ภายในไตรมาส 2 https://positioningmag.com/1463754 Fri, 23 Feb 2024 04:43:35 +0000 https://positioningmag.com/?p=1463754 บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายรายของสหรัฐฯ พยายามที่จะกระจายซัพพลายเชนของตัวเองออกจากจีน เนื่องจากปัญหาความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทำให้ อินเดีย กลายเป็นประเทศที่เนื้อหอมสุด ๆ โดยล่าสุด Google ก็เตรียมขยายฐานการผลิตสมาร์ทโฟน Pixel ในอินเดียภายในไตรมาส 2 ของปี

Google วางแผนที่จะเริ่มผลิตสมาร์ทโฟน Pixel ในอินเดียภายในไตรมาส 2 นี้ โดยจะเริ่มผลิต Pixel 8 Pro ในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน ตามด้วยการผลิต Pixel 8 ประมาณกลางปี ​​2024 ซึ่งแผนการขยายฐานการผลิตในอินเดียนั้นไม่ได้มีแค่เหตุผลด้านปัญหาความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และจีนเท่านั้น แต่ตลาดสมาร์ทโฟนอินเดียก็ยังน่าสนใจอีกด้วย หาก Google ต้องการไปให้ถึงเป้าหมายที่จะมียอดขายกว่า 10 ล้านเครื่องในปีนี้

ในปีที่ผ่านมา ตลาดสมาร์ทโฟนของอินเดียรักษาเสถียรภาพด้วยยอดจัดส่งโดยรวม 148.6 ล้านเครื่อง ลดลงเล็กน้อย -2% ตามข้อมูลของบริษัทวิจัย Canalys โดย Samsung ยังรักษาตำแหน่งผู้นำในไตรมาสที่ 4 ปี 2023 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 20% มียอดจัดส่ง 7.6 ล้านเครื่อง ส่วน Xiaomi เป็นเบอร์ 2 ด้วยยอดจัดส่ง 7.2 ล้านเครื่อง ตามมาด้วย Vivo ครองตำแหน่งที่ 3 ด้วยยอดจัดส่ง 7 ล้านเครื่อง

นอกจากนี้ ตามรายงานของ Counterpoint Research ระบุว่า ในปี 2023 อินเดียกลายเป็น ตลาดสมาร์ทโฟนอันดับ 5 ของโลก ที่มียอดขาย iPhone เกิน 10 ล้านเครื่องในปีเดียว ทำให้อินเดียกลายเป็นตลาดสำคัญสำหรับ Apple โดย Tim Cook CEO ของ Apple เคยกล่าวไว้ว่า “อินเดียเป็นตัวแทนของโอกาสอันยิ่งใหญ่”

ที่ผ่านมา อินเดียได้เสนอสิ่งจูงใจแก่บริษัทต่าง ๆ ในการจัดตั้งโรงงานผลิตในประเทศ โดยมีบริษัทไอทีดัง ๆ อย่าง Dell, HP และ Lenovo เป็นหนึ่งใน 27 บริษัทที่ได้รับการอนุมัติเมื่อเดือนพฤศจิกายนให้ผลิตฮาร์ดแวร์เทคโนโลยีในอินเดียภายใต้โครงการจูงใจที่เชื่อมโยงกับการผลิต

Source

]]>
1463754
‘Wiko’ ยังไม่ทิ้งตลาดไทย! จับมือ ‘VST ECS’ ปูพรมสินค้าร้านตู้ 6 พันแห่งทั่วไทย หวังชิงแชร์ 10% ใน 3 ปี https://positioningmag.com/1439794 Fri, 04 Aug 2023 05:13:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1439794 แม้ว่าตลาดสมาร์ทโฟนไทยและทั่วโลกจะหดตัวลงติดต่อกันเป็นเวลา 6 ไตรมาสติด นับตั้งแต่ปี 2022 ทำให้แบรนด์ใหญ่ ๆ ที่แข็งแรงต่างเบนเข็มไปจับเซ็กเมนต์พรีเมียมแทน อย่างไรก็ตาม สำหรับแบรนด์ที่เหนื่อยก็คงเป็นแบรนด์ย่อยที่ทำตลาดในเซ็กเมนต์กลุ่มเริ่มต้น (Entry-level) ที่มีราคาไม่สูงมาก ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่หดตัวมากที่สุด แต่ถึงอย่างนั้น Wiko หนึ่งในแบรนด์ที่เน้นจับตลาด Entry ก็ยังไม่ยอมแพ้

แบรนด์ฝรั่งเศสที่เป็นของจีนไปแล้ว

เชื่อว่าใครหลายคนน่าจะคุ้นหูคุ้นตากับแบรนด์ Wiko (วีโก) แบรนด์สมาร์ทโฟนจากฝรั่งเศสกันมาบ้าง เพราะอยู่ในไทยมานานตั้งแต่ปี 2014 และในช่วงปี 2017 แบรนด์เคยดึง คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์อีกด้วย โดยจุดเริ่มต้นของ Wiko นั้นถือกำเนิดในปี 2011 ณ กรุงมาร์กเซย์ ประเทศฝรั่งเศส โดยนักธุรกิจชาวฝรั่งเศสนาม Lau rent Dahan แต่ปัจจุบันมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นบริษัท Tinno Mobile จากประเทศจีน

ปัจจุบันแบรนด์ Wiko นั้นถือว่าแข็งแรงในฝั่งยุโรปพอสมควร โดยสามารถครองส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 2 ในฝรั่งเศส และอันดับ 4 ในยุโรปตะวันตก ปัจจุบัน Wiko มีผู้ใช้งานทั่วโลกกว่า 40 ล้านคน

 

สำหรับ Wiko นั้นจะเน้นจับตลาด Entry ราคาตั้งแต่ 2,000-5,000 บาท แต่ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา แบรนด์ก็เงียบหายไปจากตลาดประเทศไทย เนื่องจากได้มีการปรับกลยุทธ์ในการทำตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศไทย โดยแบรนด์ได้เปลี่ยนผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายใหม่เป็น บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด (VST ECS) ดิสทริบิวเตอร์สินค้าไอทีรายใหญ่เป็นผู้จัดจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในไทย

“ในภูมิภาคอาเซียน Wiko ทำตลาดใน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งไทยถือเป็นตลาดสำคัญที่สุด เพราะมียอดขายเป็นอันดับ 1 มีลูกค้ารวมกว่า 2.5 ล้านคน” หวัง เว่ย ผู้จัดการฝ่ายขาย วีโก กล่าว

 

ปูพรมร้านตู้กว่า 6,000 ร้าน

สมศักดิ์ เพ็ชรทวีพรเดช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า กลยุทธ์ในการจัดจำหน่ายของบริษัทจะเน้นไปที่ตลาดต่างจังหวัดเป็นหลัก เน้นจับลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ บริษัทได้ทำสัญญาร่วมกับพันธมิตร 25 ราย เพื่อช่วยกระจายสินค้าไปร้านค้าที่เป็นลูกตู้กว่า 6,000 ร้าน ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ

โดย สมศักดิ์ อธิบายว่า การมีพันธมิตรเป็นเครือข่ายลูกตู้นั้นสำคัญมาก เนื่องจากพฤติกรรมของลูกค้าในกลุ่ม Entry นั้นเน้นการซื้อสินค้า ใกล้บ้าน ซึ่งในต่างจังหวัดก็คือร้านตู้ ขณะที่สมาร์ทโฟนในกลุ่ม Mid-Hight นั้นเน้นที่แบรนด์อิมเมจเป็นหลัก ส่วนของตลาดออนไลน์ บริษัทมีแผนที่จะวางจำหน่ายในอีมาร์เก็ตเพลสทั้ง Shopee และ Lazada แต่สินค้าที่ขายบนออนไลน์กับออฟไลน์จะต่างกัน

“เรามองว่าแบรนด์ Wiko มีชื่อเสียงที่ดีอยู่แล้ว นั่นทำให้เราทำตลาดได้ง่าย โดยเราเชื่อว่าชื่อแบรนด์จะช่วยให้เราเจาะกลุ่มวัยรุ่นตามต่างจังหวัดที่หาซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องแรกไว้สำหรับเล่นโซเชียลมีเดียต่าง ๆ”

เตรียมเปิดแวร์เฮาส์กระจายทั่วประเทศ

ในส่วนของเซอร์วิส ลูกค้าสามารถใช้ร้านตู้เป็นจุดรับส่งเครื่องได้เลย โดยถ้าเครื่องมีปัญหาจากโรงงานตรงตามเงื่อนไขจะเปลี่ยนเครื่องใหม่ให้ทันที ส่วนลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลจะมีบริการรับส่งซ่อมเครื่องถึงหน้าบ้าน ทั้งนี้ บริษัทมีแผนจะขยายแวร์เฮ้าส์ให้ครบทุกภูมิภาคของไทย ซึ่งถือเป็นการปรับนโยบายเดิมที่มีแค่แวร์เฮ้าส์เดียวแล้วกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ โดยจะเริ่มเปิดช่วง Q4/2023 นี้

“ตอนนี้เราเห็นเทรนด์เปลี่ยนไป ลูกค้าต้องการของเร็วที่สุด ดังนั้น เพื่อให้บริการได้เร็วขึ้น เราต้องมีแวร์เฮ้าส์มากกว่า 1 พันธมิตรลูกตู้เราก็ไม่ต้องเก็บสต็อกเยอะ จังหวัดไหนขายได้เยอะเราจะไปตั้งที่นั่น”

ตั้งเป้ามาร์เก็ตแชร์ 10% ใน 3 ปี

สำหรับสมาร์ทโฟน Wiko ที่จะจำหน่ายกับ VST ECS ในครั้งนี้ คือรุ่น T10 และในเร็ว ๆ นี้จะนำเข้า WIKO T20 และ WIKO T60 ซึ่งเป็นรุ่นที่สเปกสูง แต่ราคาจับต้องได้ โดยภายในสิ้นปีนี้ Wiko ตั้งเป้ามีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2% ขึ้นไป และเพิ่มเป็น 4% ภายในปี 2024 โดยภายใน 3 ปีต้องมีส่วนแบ่งการตลาดในไทยไม่น้อยกว่า 10%

“ตลาดสมาร์ทโฟนไทยไม่ได้แย่มาก แต่แน่นอนว่ามันไม่ได้เติบโต ดังนั้น แปลว่าเราต้องไปแย่งส่วนแบ่งจากแบรนด์อื่น ซึ่งเรามั่นใจในแบรนด์ Wiko ที่แข็งแรงอยู่แล้ว บวกกับความแข็งแรงของเครือข่ายร้านลูกตู้ในต่างจังหวัด และเราวางงบ 2-3% ของรายได้สำหรับทำการตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย ดังนั้น เรามั่นใจว่าจะทำยอดขายได้ตามเป้าที่วางไว้”

]]>
1439794
ยอดขาย ‘สมาร์ทโฟน’ ลดต่ำสุดในรอบ 9 ปี เหตุผู้บริโภคเน้นใช้เงินกับ ‘สิ่งจำเป็น’ https://positioningmag.com/1405542 Wed, 26 Oct 2022 04:46:19 +0000 https://positioningmag.com/?p=1405542 ก่อนที่จะเกิดการระบาดใหญ่ ตลาดสมาร์ทโฟนก็อยู่ในภาวะทรงตัว จนเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ผู้คนทั่วโลกอยู่บ้านมากขึ้น ทำให้ความต้องการอุปกรณ์ไอทีและเครื่องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูงตามไปด้วย จนปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนชิป อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากการระบาดบวกกับปัญหาสงคราม วิกฤตเศรษฐกิจ ก็ตามมา

บริษัทวิจัย Canalys ระบุว่า ยอดขายสมาร์ทโฟนในไตรมาสที่ 3/2022 ลดลง 9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งแตะระดับต่ำสุดที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่ปี 2014 เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่แย่ลงทั่วโลก ส่งผลให้ผู้บริโภคเลือกจะใช้จ่ายกับสิ่งจำเป็นมากกว่าอัปเกรดสมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุด

“แนวโน้มเศรษฐกิจที่ย้ำแย่ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อฮาร์ดแวร์อิเล็กทรอนิกส์และจัดลำดับความสำคัญของการใช้จ่ายที่จำเป็นอื่น ๆ”

แม้ว่ายอดขายสมาร์ทโฟนปรับตัวดีขึ้นในเดือนกันยายน แต่ก็มาจากส่วนลดและโปรโมชันที่รุนแรง โดย Sanyam Chaurasia นักวิเคราะห์ของ Canalys คาดว่า ช่วงสิ้นปีจะยิ่งดุเดือด เนื่องจากเป็นช่วงไฮซีซั่นที่ผู้คนจะหาซื้อของขวัญ โดยผู้บริโภคเลือกจะรอโปรโมชันส่วนลดสำหรับอุปกรณ์รุ่นเก่า

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าช่วงสิ้นปีภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนอาจจะกลับมาดีขึ้น แต่ก็เป็นเพราะโปรโมชัน ดังนั้น ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจและภาวะเงินเฟ้อ จะยังทำให้ยอดขายสมาร์ทโฟนในปี 2023 ยังลดลงต่อเนื่อง ดังนั้น ในฝั่งของร้านค้าและผู้ค้าส่วนใหญ่ควรเริ่มกลับมาดูการสต็อกสินค้า เนื่องจากความต้องการที่ลดลง และสินค้าที่เหลือราคาตก เนื่องจากขายไม่ออก

ทั้งนี้ แม้ภาพรวมตลาดจะตกลง แต่ส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกของ Apple เพิ่มขึ้นเป็น 18% ในไตรมาสล่าสุด เทียบกับ 15% ในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่เบอร์ 1 อย่าง Samsung มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น 1% เป็น 22% โดย Angelo Zino นักวิเคราะห์ของ CFRA มองว่า ที่ Apple ยังเติบโตได้ท่ามกลางความต้องการสมาร์ทโฟนที่ลดลง เป็นเพราะจับกลุ่มบนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม Apple เองก็ต้องมีกลยุทธ์การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงแรงผลักดันที่สำคัญจากผู้บริโภคที่ตอนนี้มักจะอ่อนไหวต่อการขึ้นราคา นอกจากนี้ Apple ยังยกเลิกการผลิต iPhone 14 รุ่นที่เพิ่งเปิดตัวไปเนื่องจากความต้องการที่ไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้

Source

]]>
1405542
งานวิจัยชี้ ‘สมาร์ทโฟน’ กว่า 5.3 พันล้านเครื่องถูก ‘เก็บไว้เฉย ๆ’ รอวันเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ https://positioningmag.com/1404567 Tue, 18 Oct 2022 08:28:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1404567 รู้หรือไม่ว่าการกำจัด ขยะอิเล็กทรอนิกส์ หากไม่ทำอย่างถูกวิธีจะส่งผลให้เกิด ก๊าซมีเทน และมีศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ถึง 25 เท่า เมื่อเทียบกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจากสภาพอากาศที่แปรปรวนที่เป็นผลพวงจากสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องพยายามรณรงค์ให้ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี

ผลวิจัยขององค์กร Waste Electrical and Electronic Equipment (WEEE) หรือ องค์กรว่าด้วยการกำจัดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่า มีมือถือมากกว่า 5.3 พันล้านเครื่อง ที่เลิกใช้แล้ว จากที่มีการครอบครองทั้งหมด 1.6 หมื่นล้านเครื่องทั่วโลก โดยมีแนวโน้มที่จะถูกทิ้งหรือเก็บเอาไว้เฉย ๆ โดยไม่นำมาทิ้งอย่างถูกวิธี และภายในปี 2030 เชื่อว่าจะมีขยะอิเล็กทรอนิกส์จากมือถือมีมากถึง 74 ล้านตัน

จากผลการวิจัยพบว่า 46% ของ 8,775 ครัวเรือนในยุโรปที่ตอบแบบสอบถามระบุว่า ที่เก็บอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือสมาร์ทโฟนไว้โดยไม่กำจัดอย่างถูกวิธีเป็นเพราะ อาจนำไปใช้ในอนาคต อีก 15% ระบุว่าที่เก็บไว้เพราะ ตั้งใจที่จะขายหรือมอบให้แก่ผู้อื่น ขณะที่ 13% เก็บไว้เนื่องจากเป็น คุณค่าทางจิตใจ

อย่างไรก็ตาม ภายในมือถือนั้นมีวัตถุดิบมากมายที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ ไม่ว่าจะเป็น ทองคำ ทองแดง เงิน แพลเลเดียม ฯลฯ แต่ถ้านำไปกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี อย่างเช่น เผาทำลายก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ขณะที่ผู้บริโภคมักไม่ทราบว่าสิ่งของที่ดูเหมือนไม่มีความสำคัญเหล่านี้มีมูลค่ามหาศาล

“สมาร์ทโฟนเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เราให้ความสำคัญสูงสุด ถ้าเราไม่รีไซเคิลวัสดุหายากที่เรามีอยู่ เราจะต้องขุดพวกมันในประเทศอย่างจีนหรือคองโก” Pascal Leroy ผู้อำนวยการทั่วไปของ WEEE Forum กล่าว

แม้ว่ามือถือที่ไม่ได้ใช้แล้วจะมีมากกว่า 5 พันล้านเครื่อง แต่ก็ถือว่าเป็นแค่ส่วนน้อย เพราะตามรายงานการตรวจสอบขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกปี 2020 พบว่าขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดมีปริมาณกว่า 44.48 ล้านตัน ที่เกิดขึ้นทุกปีและไม่สามารถรีไซเคิลได้

ทางฝั่งของสหภาพยุโรปได้พยายามลดปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยพึ่งผ่านในกฎหมายใหม่ในเดือนตุลาคมนี้ ที่กำหนดให้ USB-C เป็นมาตรฐานเครื่องชาร์จเดี่ยวสำหรับสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และกล้องใหม่ทั้งหมดเริ่มปลายปี 2024 ซึ่งการออกกฎหมายนี้ คาดว่าจะช่วยประหยัดเงินได้อย่างน้อย 195 ล้านดอลลาร์ต่อปี และลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ของสหภาพยุโรปกว่า พันตันทุกปี

ปัจจุบัน มีขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกที่ถูกรีไซเคิลอย่างเหมาะสมมีสัดส่วนเพียง 17% เท่านั้น แต่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนเป็น 30% ภายในปีหน้า

Source

]]>
1404567
ตลาด ‘สมาร์ทโฟน’ เติบโตอีกครั้งในรอบ 4 ปี ‘ซัมซุง’ ยังคงครองตำแหน่งเบอร์ 1 https://positioningmag.com/1372536 Tue, 01 Feb 2022 08:53:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1372536 ย้อนไปปี 2017 ตลาดสมาร์ทโฟนถือว่าเป็นช่วงที่ตลาดเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการจัดส่งมากที่สุดทั่วโลก หลังจากนั้นตลาดก็ไม่เติบโตอีกเลย ยิ่งมาเจอกับการระบาดของ COVID-19 ก็ยิ่งทำให้อัตราการเติบโตลดลง เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจที่ตึงตัวทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากไม่สามารถซื้อโทรศัพท์ใหม่

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ตลาดไม่เติบโตมานานในที่สุดตลาดก็กลับมาเติบโตอีกครั้งในปี 2021 แม้ว่าไตรมาสที่ 4 ของปีการจัดส่งสมาร์ทโฟนลดลง -6% ก็ตาม แต่เมื่อดูภาพรวมทั้งปีมีการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกประมาณ 1.39 พันล้านเครื่อง เติบโต +4% อย่างไรก็ตาม ในปี 2017 ที่มีการจัดส่งสูงสุดนั้นอยู่ที่ 1.56 พันล้านเครื่อง

ฮาร์มีต ซิงห์ วาเลีย นักวิเคราะห์อาวุโสของ Counterpoint Research เปิดเผยว่า ความต้องการที่ถูกอั้นไว้ตั้งแต่ปี 2020 เช่น อเมริกาเหนือ ละตินอเมริกา และอินเดียมีส่วนทำให้การเติบโตโดยรวมของตลาด โดยการเติบโตในสหรัฐฯ ส่วนใหญ่ได้รับแรงหนุนจากความต้องการ iPhone 12 ของ Apple ที่รองรับ 5G ยาวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสามของปี 2021

ส่วนตลาด อินเดีย เริ่มเห็นอัตราการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีราคาสูงขึ้น ความพร้อมใช้งานที่ดีขึ้น รวมถึงโปรโมชันทางด้านการเงินที่น่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับโทรศัพท์ระดับกลางถึงระดับไฮเอนด์ อย่างไรก็ตาม ยอดขายในตลาดใหญ่อย่าง จีน กลับลดลง -2% ตามข้อมูลของ Counterpoint Research

“การฟื้นตัวของตลาดอาจดีขึ้นกว่านี้ถ้าไม่ใช่เพราะปัญหาการขาดแคลนส่วนประกอบที่ส่งผลกระทบอย่างมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2021” ซิงห์ วาเลีย กล่าว

Samsung ยังคงครองตำแหน่งผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่ที่สุดของโลกด้วยปริมาณการจัดส่งประมาณ 271 ล้านเครื่อง เติบโต +6% เมื่อเทียบกับปี 2020 แม้ว่าโรงงานในเวียดนามจะต้องปิดตัวเพราะการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม ส่วน Apple ที่นอกจากจะมียอดขายพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในจีนเมื่อไตรมาส 4 ภาพรวมการจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลกก็เติบโตขึ้น +18% เป็น 237.9 ล้านเครื่อง โดยการเติบโตล้วนแต่มาจากตลาดสำคัญทั้งสิ้น อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ยุโรป และอินเดีย

“ในประเทศจีน Apple กลายเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ในไตรมาสที่ 4 ต้องขอบคุณ iPhone 13 ซึ่งส่งผลให้แซงหน้า Samsung ในฐานะสมาร์ทโฟนอันดับต้น ๆ ของโลกในไตรมาสที่ 4 ปี 2021” Counterpoint Research กล่าวในรายงาน

ด้านผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากจีนอย่าง Xiaomi มีการเติบโตขึ้น +31% มียอดจัดส่งรวม 190 ล้านเครื่อง แม้ว่าปริมาณการจัดส่งจะตามหลัง Samsung และ Apple อย่างมีนัยสำคัญ แต่ Xiaomi ได้เติบโตขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเพื่อเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับสามของโลก ส่วน OPPO และ Vivo เติบโตขึ้นเป็นเลขสองหลักในปีที่แล้ว โดยมียอดจัดส่ง 143.2 ล้านเครื่อง และ 131.3 ล้านเครื่อง ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนในปี 2022 ทาง Counterpoint Research คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยังสดใส หากโลกสามารถรับมือกับการระบาดใหญ่ได้ และหากปัญหาการขาดแคลนซัพพลายเชนได้รับการแก้ไขภายในกลางปี อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักลงทุนบางคนคาดว่าปัญหาการขาดแคลนชิปทั่วโลกจะคงอยู่จนถึงสิ้นปีนี้หรือลากยาวจนถึงปี 2023

counterpointresearch.com / CNBC

]]>
1372536
‘ซัมซุง’ ตั้งผู้บริหารใหม่ รวมเเผนกธุรกิจมือถือกับเครื่องใช้ไฟฟ้า พร้อมมุ่ง ‘ผลิตชิป’ https://positioningmag.com/1365651 Tue, 07 Dec 2021 11:07:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1365651 ‘ซัมซุง’ (Samsung) บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของเกาหลีใต้ ประกาศปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ยุบรวมเเผนกธุรกิจมือถือเข้ากับแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน พร้อมตั้งทีมผู้บริหารใหม่ เพื่อลดความซับซ้อนขององค์กร หันไปมุ่งธุรกิจผลิตชิปที่กำลังเติบโต

Han Jong-He หัวหน้าฝ่ายธุรกิจ Visual Display ได้รับการเลื่อนตำเเหน่งขึ้นมาเป็นรองประธานกลุ่มบริษัทและซีอีโอร่วม ที่จะดูเเลหน่วยธุรกิจใหม่ หลังการรวมแผนกโทรศัพท์มือถือเข้ากับแผนกเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านไว้ด้วยกัน เเละจะยังคงบริหารฝั่งธุรกิจ Visual Display เช่นเดิม

เป็นที่น่าสนใจว่า เขามีบทบาทสำคัญในบริษัทจากความสำเร็จในการขายทีวีทั่วโลกในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา เเต่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้านโทรศัพท์มือถือมาก่อน โดยทางซัมซุง ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะเสริมสร้างการผนึกกำลังระหว่างหน่วยธุรกิจ และช่วยขับเคลื่อนะเทคโนโลยีใหม่ๆ

ด้าน Kyung – Kyehyun ซีอีโอของ Samsung Elecro-Mechanics ได้รับแต่งตั้งให้เป็นซีอีโอร่วมของ
Samsung Electronics ซึ่งจะดูเเลฝ่ายเซมิคอนดักเตอร์ การผลิตชิปวงจรเเละชิ้นส่วนอุปกรณ์

การควบรวมของสองเเผนกใหญ่ เป็นความพยายามที่จะลดความซับซ้อนของโครงสร้างบริษัท และมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้น โดยธุรกิจโทรศัพท์มือถือทำกำไรได้ 3.36 ล้านล้านวอน ในไตรมาสที่ 3 ระหว่างเดือน ก.ค.-ก.ย. ขณะที่ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนทำกำไรได้ที่ 7.6 เเสนล้านวอน

“นี่คือก้าวต่อไปของการเติบโตในอนาคตของซัมซุง และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ”

โดยการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่นี้ มีขึ้นหลัง Jay Y. Lee รองประธานกลุ่มบริษัทต้องพ้นจากตำแหน่งไป เพราะต้องรับโทษตามกฎหมายในคดีจ่ายสินบนและฉ้อโกง เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งก่อนหน้านี้ ซัมซุงเคยแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ครั้งล่าสุดในปี 2017 หรือกว่า 4 ปีที่เเล้ว

ซัมซุง เผยเมื่อเดือนพ.ย. ว่า มีแผนจะสร้างโรงงานเซมิคอนดักเตอร์มูลค่า 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ ในรัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกา พร้อมกับแผนการลงทุนมูลค่ากว่า 2.05 เเสนล้านดอลลาร์ในธุรกิจประเภทเซมิคอนดักเตอร์, ปัญญาประดิษฐ์, ยาชีวเภสัชภัณฑ์และหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ในอีก 3 ปีข้างหน้า พร้อมตั้งเป้าจะแซงหน้า ‘TSMC’ บริษัทผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลกจากไต้หวัน ให้ได้ภายในปี 2030

 

ที่มา : techcrunch , samsung , reuters 

]]>
1365651
‘เสียวหมี่’ Q3 กวาดรายได้ 4 แสนล้าน ฟันกำไร 2.7 หมื่นล้าน โต 25.4% https://positioningmag.com/1364001 Thu, 25 Nov 2021 09:48:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364001 แม้จะมีปัญหาเรื่องการขาดแคลนชิป แต่ผลประกอบการไตรมาสที่ 3 ของ ‘เสียวหมี่’ (xiaomi) ยังคงเติบโตทั้งรายรับและกำไร โดยได้รายได้จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้มีกำไรที่สูงขึ้น โดยปัจจุบันจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนของ MIUI ทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกินกว่า 500 ล้านราย

ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 รายรับรวมของเสียวหมี่อยู่ที่ 7.81 หมื่นล้านหยวน (ราว 4 แสนล้านบาท) เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 8.2% และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 5.2 พันล้านหยวน (ราว 2.7 หมื่นล้านบาท) โดยเติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 25.4%

ในฝั่งของ สมาร์ทโฟน ยังคงครองตำแหน่งอันดับ 3 ของโลก โดยมียอดขาย 43.9 ล้านเครื่องทั่วโลก แม้ว่าจะเกิดวิกฤตขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตทั่วโลก มีส่วนแบ่งการตลาดที่ 13.5% โดยมีรายได้จากการขายสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 4.78 หมื่นล้านหยวน (ราว 2.4 แสนล้านบาท) ทั้งนี้ ยอดส่งมอบสมาร์ทโฟนของเสียวหมี่ที่มีราคา 3,000 หยวน (ราว 16,000 บาท) มีสัดส่วนประมาณ 18 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็น 12% ของยอดส่งมอบทั้งหมดเติบโตขึ้น 180% โดยเสียวหมี่จะยังรุกตลาดพรีเมียมต่อไป

ด้านรายได้จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตรายไตรมาสเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้กว่า 7.3 พันล้านหยวน (3.8 หมื่นล้านบาท) เติบโตขึ้น 27.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ผลกำไรขั้นต้นของธุรกิจด้านบริการอินเทอร์เน็ตนั้นอยู่ที่ 73.6% สูงขึ้นกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 13.1%

โดยฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของเสียวหมี่ทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนของ MIUI ทั่วโลก สูงเกินกว่า 500 ล้านรายเป็นครั้งแรก เพิ่มขึ้น 32% ในส่วนของธุรกิจโฆษณามีรายได้ 4.8 พันล้านหยวน (ราว 2.5 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 44.7% เสียวหมี่มีรายรับจากธุรกิจเกมอยู่ที่ 1 พันล้านหยวน (5.2 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 25% จากการนำเสนอเกมคุณภาพสูง อีกทั้งรายได้เฉลี่ยจากเกมต่อผู้ใช้ (ARPU) จากกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมและเกมมิ่งสมาร์ทโฟนสูงขึ้นอีกด้วย

“ช่วงไตรมาสที่ 3 เสียวหมี่ยังคงเดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์หลัก “Smartphone × AIoT” และรุกหน้าเข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม เสียวหมี่ครองอันดับ 1 ของยอดการจัดส่งสมาร์ทโฟนใน 11 ประเทศและภูมิภาค”

ทั้งนี้ เสียวหมี่ได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 9.3 พันล้านหยวน (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) ใน 3 ไตรมาส เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 51.4% โดยในเดือนกันยายน 2564 เสียวหมี่เปิดตัว Xiaomi Smart Glasses แว่นอัจฉริยะ

]]>
1364001
IDC มอง ‘ตลาดสมาร์ทโฟน’ 2021 ส่งมอบเพิ่ม 7.4% ผู้บริโภคซื้อเพื่ออัพเกรด ใช้ 5G มากขึ้น https://positioningmag.com/1349493 Tue, 31 Aug 2021 12:40:22 +0000 https://positioningmag.com/?p=1349493 IDC ประเมินภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนทั่วโลกในปี 2021 เเม้มีปัญหาเรื่องซัพพลายเชน เเต่มีเเนวโน้มดีขึ้น ด้วยอานิสงส์เทคโนโลยี 5G ขายดีในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ผู้บริโภคยังอยากอัพเกรดเป็นระดับพรีเมียมมากขึ้น

บริษัทวิจัยตลาด International Data Corporation (IDC) เผยรายงานประเมินธุรกิจสมาร์ทโฟน ในปี 2021 โดยคาดว่า

การจัดส่งสมาร์ทโฟนทั่วโลก ตลอดปีนี้ จะเพิ่มขึ้นราว 7.4% คิดเป็นส่งจำนวน 1.37 พันล้านเครื่อง และคาดว่าจะเติบโต 3.4% ในปี 2022-23

โดยการเติบโต 7.4% นั้น มาจากการเติบโตอย่างเเข็งเเกร่งของสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ที่เพิ่มขึ้นถึง 13.8% สองเท่าของ Android ซึ่งอยู่ที่ 6.2% 

ขณะที่ ตลาดใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง จีน สหรัฐอเมริกา และยุโรปตะวันตก เติบโตได้ในระดับช่วงก่อนโควิด (ปี 2019) เเต่ตลาดเกิดใหม่อย่าง อินเดีย ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง เเละแอฟริกา กลับมีการเติบโตที่สูงมาก

บรรดาแบรนด์ชั้นนำต่างๆ มีการรับมือในการจัดการซัพพลายเชนได้ดีขึ้น หลังปีที่ผ่านมาต้องเผลิญสารพัดปัญหาจากวิกฤตโรคระบาด ทำให้ไทม์ไลน์การเปิดตัวสินค้าบางอย่างต้องถูกเลื่อนออกไป ซึ่งมีปีนี้ หลายเเบรนด์กลับมาเดินหน้าผลิตสินค้าตามเเผนต่อไป

ส่วนการกระจายวัคซีนที่ได้ผลดีในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศใหญ่ๆ ทำให้ความต้องการของผู้บริโภคในช่วงไตรมาสล่าสุด มีการฟื้นตัวต่อเนื่อง

Photo : International Data Corporation (IDC)

นอกจากนี้ การมาของเทคโนโลยี 5G’ ก็ช่วยผลักดันการเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟนปีนี้ได้เป็นอย่างดี เหล่าผู้ผลิตเเละผู้จัดจำหน่ายต่างมุ่งไปที่การขายสมาร์ทโฟน 5G ที่มีราคาเฉลี่ยต่ออุปกรณ์ (ASP) สูงกว่าอุปกรณ์ 4G รุ่นเก่าอย่างมีนัยสำคัญ โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2020 อยู่ที่ 634 ดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนราคาของสมาร์ทโฟน 4G ก็มีการลดราคาลงครั้งใหญ่เหลือราว 206 ดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงเกือบ 30% จากปีที่แล้ว (277 ดอลลาร์สหรัฐ)

IDC ประเมินว่า การจัดส่งสมาร์ทโฟน  5G ทั่วโลก จะอยู่ที่ราว 570 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 123% จากปีที่เเล้ว โดยประเทศจีน ยังผู้นำตลาดต่อไปด้วยส่วนแบ่งตลาด 5G ทั่วโลกถึง 47.1% ตามมาด้วยสหรัฐฯ 16% อินเดีย 6.1% และญี่ปุ่น 4.1%

ทั้งนี้ คาดว่า ภายในสิ้นปี 2021 อุปกรณ์ 5G จะขึ้นครองส่วนเเบ่งสมาร์ทโฟนใหม่ในตลาดถึง 54.1% 

ด้านความสนใจของผู้บริโภค เเม้จะเผชิญกับระบาดใหญ่และไวรัสโควิดกลายพันธุ์  เหล่าผู้บริโภคยังคงมีความต้องการจะอัพเกรดเป็นสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม (ราคาตั้งเเต่ 1,000 ดอลลาร์ขึ้นไป) มากขึ้นในปีนี้ เเละมีเเนวโน้มว่าผู้ซื้อจะเปลี่ยนอุปกรณ์ไปเป็นรุ่น 5G ที่มีราคาแพงกว่าเครื่องเดิมที่มีอยู่

 

ที่มา : IDC 

 

]]>
1349493
แพงไปไม่ตอบโจทย์! เผยอินไซต์ ‘ผู้ใช้สมาร์ทโฟน’ มองหามือถือใช้ได้นาน-ราคาเอื้อมถึง https://positioningmag.com/1330801 Thu, 06 May 2021 07:25:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1330801 การใช้งานโทรศัพท์มือถือทั่วโลกในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นถึง 90% ยิ่งปัจจุบันนี้สมาร์ทโฟนเป็นเหมือนกับอวัยวะที่ 33 ของเราไปแล้ว เชื่อว่าน้อยคนที่จะปฏิเสธว่าโทรศัพท์มือถือไม่สำคัญ เพราะตื่นมาอย่างแรกที่ทำก็คือ ‘จับมือถือ’ แล้ว และในแต่ละวันมือถือก็อยู่ติดตัวแทบตลอดเวลา แต่ปัจจุบันผู้ใช้ 2 ใน 3 มองว่าสมาร์ทโฟนมีราคาแพงเกินไป ต้องการมือถือที่ใช้ได้นานในราคาเอื้อมถึงมากกว่า

โนเกีย (Nokia) แบรนด์มือถือสัญชาติฟินแลนด์ได้เปิดเผยว่า 69% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกมองว่าสมาร์ทโฟนมีราคาแพงเกินไป และ 81% ต้องการโทรศัพท์ที่สามารถรองรับการใช้งานได้แม้เวลาจะผ่านไปนานปี เช่นเดียวกับตลาดในประเทศไทย 58% คิดว่าสมาร์ทโฟนในตลาดราคาสูงเกินไป และ 95% ต้องการสมาร์ทโฟนที่มีอายุการใช้งานนานขึ้น

ขณะที่ผลการวิจัยล่าสุดพบว่า ผู้คนพึ่งพาโทรศัพท์มากขึ้นโดยมีการจับสัมผัสเครื่องเฉลี่ย 142 ครั้งต่อวัน เฉลี่ยแล้วมีการใช้เวลาในการมองหน้าจอ 18 ชั่วโมง 12 นาทีต่อ โดยชาวไทยใช้เวลาในการดูหน้าจอโทรศัพท์มือถือเฉลี่ย 11.5 ชั่วโมง ต่อวัน ในขณะที่เยอรมนีและโปรตุเกสติดหน้าจอน้อยที่สุดคือ 2 ชั่วโมงต่อวัน

สำหรับพฤติกรรมการใช้งานสมาร์ทโฟนทั่วโลกมี 5 รูปแบบยอดนิยม ได้แก่

  • ใช้งานอินเทอร์เน็ต
  • เล่นโซเชียลมีเดีย
  • ฟังเพลง
  • เล่นเกม
  • ส่งข้อความ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2020-2021 ผู้ใช้มือถือคนไทยพบว่า 91% ใช้เพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน 88% ใช้ช้อปปิ้งออนไลน์จากเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย 86% ใช้ทำงาน ทั้งนี้ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สถิติการใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 90% ขณะที่ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น 95% โดย 83% ของผู้ใช้งานทั่วโลก และ 98% ของผู้ใช้สมาร์ทโฟนในไทยยอมรับว่าโทรศัพท์มือถือกลายเป็นศูนย์กลางในทุกส่วนของชีวิต

สำหรับระยะเวลาการเปลี่ยนมือถือของผู้ใช้ในอังกฤษโดยเฉลี่ยแล้วพบว่าใช้งานไม่ถึง 3 ปีในการเปลี่ยนโทรศัพท์ มีเพียง 33% เท่านั้นที่ใช้งานนานกว่า 3 ปี อย่างไรก็ตาม 73% ยอมรับว่าต้องการเก็บโทรศัพท์ไว้ใช้งานให้นานขึ้น และ 78% จะใช้งานโทรศัพท์นั้นต่อเนื่องหากอุปกรณ์ยังคงประสิทธิภาพการทำงาน

แต่ที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้ 50% กังวลว่าการเปลี่ยนมือถือบ่อยจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก โดย 38% ห่วงเกี่ยวกับการสร้างขยะอิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป ขณะที่เทรนด์สิ่งเเวดล้อมในไทยก็ถือเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรง โดย 80% ต้องการใช้งานโทรศัพท์ให้นานขึ้น 81% ตัดสินใจเลือกผลิตภัณฑ์ที่ดูแลสิ่งเเวดล้อม และ 70% ตระหนักถึงปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่พวกเขาสร้างขึ้น

]]>
1330801
อำลาธุรกิจมือถือ LG ประกาศเลิกผลิต-จำหน่าย ‘สมาร์ทโฟน’ หลังขาดทุนหนัก สู้คู่เเข่งไม่ไหว https://positioningmag.com/1326576 Mon, 05 Apr 2021 04:50:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1326576 หลังจากมีข่าวลือมานานเป็นระยะ วันนี้ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการเเล้ว LG Electronics Inc. หรือ LG บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่จากเกาหลีใต้ ประกาศยุติบทบาทการเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเหตุขาดทุนสะสมต่อเนื่อง จากการเเข่งขันในตลาดที่ดุเดือด

ล่าสุด LG ยื่นเอกสารต่อทางการเกาหลีใต้ว่า บริษัทจะไม่ผลิตและจัดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ นับตั้งเเต่วันที่ 31 ..นี้ เป็นต้นไป ขณะที่สินค้าค้างสต๊อกที่เหลืออยู่ยังวางขายเช่นเดิม (เเต่จะไม่ผลิตใหม่ออกมาแล้ว)

ด้านบริการหลังการขายเเละการอัปเดตซอฟต์เเวร์เครื่องเก่านั้น จะยังคงดำเนินการไปตามปกติ ส่วนการปลดพนักงานจะเปิดเผยในช่วงต่อไป

LG ได้สร้างนวัตกรรมในวงการสมาร์ทโฟนมาหลายอย่าง อาทิเช่น กล้องเลนส์มุมกว้าง เเละเคยขึ้นเเท่นเป็นผู้ผลิตสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 3 ของโลกในปี 2013

เเต่ด้วยการเเข่งขันสูง จากสองผู้เล่นใหญ่ในตลาดอย่าง Samsung และ Apple ทำให้ธุรกิจสมาร์ทโฟนของ LG เริ่มขาดทุนต่อเนื่อง มาตั้งแต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2015 ส่งผลให้การขาดทุนสะสมจากการดำเนินงานในปีที่เเล้ว มากถึง 5 ล้านล้านวอน (ราว 1.39 เเสนล้านบาท)

ตามรายงานของ Counterpoint ระบุว่า ในปีที่ผ่านมา LG ส่งมอบสมาร์ทโฟนเครื่องใหม่ได้เพียง 28 ล้านเครื่อง น้อยมากเมื่อเทียบกับคู่เเข่งอย่าง Samsung ที่ทำได้ถึง 256 ล้านเครื่อง

สำหรับธุรกิจสมาร์ทโฟนของ LG มีขนาดเล็กที่สุดจากทั้ง 5 หน่วยงานของบริษัท คิดเป็น 7.4% ของรายได้ ปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดโทรศัพท์มือถือทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 2%

โดย LG เปิดเผยถึงทิศทางต่อไปว่า บริษัทจะหันไปให้ความสำคัญกับการพัฒนาธุรกิจอื่นๆ ที่มีโอกาสเติบโตได้ดีในอนาคต เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ สมาร์ทโฮม เเละโซลูชันเกี่ยวกับการบริการ ซึ่งจะมีการนำเทคโนโลยีเเละสิทธิบัตรด้านโทรศัพท์ เช่น การส่งข้อมูลในยุค 6G ที่บริษัทมีอยู่ นำไปพัฒนาธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

ที่มา : BBC , LG

]]>
1326576