วิกฤตธุรกิจค้าปลีก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 30 Oct 2020 12:45:25 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 อำลา “Robinsons” ห้างเก่าเเก่ในสิงคโปร์ ปิด 2 สาขาสุดท้าย หลังเปิดมานานกว่า 162 ปี https://positioningmag.com/1303907 Fri, 30 Oct 2020 12:04:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1303907 Robinsons หนึ่งในห้างเก่าเเก่ที่สุดของสิงคโปร์ ที่ดำเนินกิจการมากว่า 162 ปี ประกาศปิด 2 สาขาสุดท้าย หลังคนเดินห้างลดฮวบจากผลกระทบ COVID-19 เเละพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป

Robinsons (โรบินสันส์) บริษัทลูกในเครือของ Al-Futtaim Group ระบุว่า บริษัทได้ตัดสินใจปิดห้างสรรพสินค้า 2 สาขาสุดท้ายในสิงคโปร์ที่ The Heeren เเละศูนย์การค้า Raffles City ลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการซื้อสินค้าในห้าง และดีมานด์ที่ลดลงจากการแพร่ระบาดของ COVID-19

โดย Robinsons ได้เริ่มกระบวนการชำระบัญชีของทั้ง 2 สาขา และแจ้งพนักงานให้ทราบถึงสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งผู้ชำระบัญชีชั่วคราวจะเข้าจัดการทรัพย์สินของบริษัท พร้อมประเมินทางเลือก เพื่อเพิ่มผลตอบแทนสูงสุดให้แก่เจ้าหนี้ ส่วนพนักงานจะได้รับเงินตามกฎหมายล้มละลาย การปรับโครงสร้าง และเลิกกิจการ

ตอนนี้ ทางห้างฯ จะยังเปิดทำการต่อไปในช่วงไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า ก่อนที่จะปิดตัวลงอย่างถาวร โดยกำลังอยู่ระหว่างการเจรจากับผู้ให้เช่าพื้นที่

ทั้งนี้ Al-Futtaim Group ยังดำเนินธุรกิจค้าปลีกอื่น ๆ เช่น Marks & Spencer และ Zara ในสิงคโปร์และมาเลเซีย

การซื้อของออนไลน์เป็นที่นิยมขึ้นอย่างมาก ท่ามกลางพฤติกรรมการซื้อที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ความต้องการเดินห้างขนาดใหญ่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยยอดขายของห้างสรรพสินค้าในสิงคโปร์ ลดลงถึง 35.3% ในเดือนสิงหาคม

มรสุมห้างค้าปลีก เริ่มมีมาตั้งเเต่ช่วงก่อนโรคระบาดทั้งในสิงคโปร์และทั่วโลก เเต่ผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ปัญหานี้รุนแรงขึ้น

ในช่วงที่ผ่านมา เเบรนด์เเฟชั่นค้าปลีกทั้งหลายอย่าง Zara เเละ H&M เริ่มกลยุทธ์ ปิดร้านเพิ่มขึ้นเปิดน้อยลงเพิ่มการลงทุนดิจิทัล เพื่อรองรับผู้บริโภคทางออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น

โดย Zara ตั้งเป้าจะปิดร้านค้าขนาดเล็กประมาณ 1,000-1,200 สาขาทั่วโลก ภายในช่วง 2 ปีนี้โฟกัสเฉพาะสาขาใหญ่เท่านั้น เเละหันมาบุกออนไลน์อย่างเต็มสูบ

ไม่ใช่เเค่เจ้าใหญ่อย่าง H&M และ Zara เท่านั้น ตอนนี้ค้าปลีกเเฟชั่นอย่าง American Eagle Outfitter (AEO) และ GameStop (GME) ก็เพิ่งประกาศแผนการปิดสาขาไปหลายร้อยแห่ง เนื่องจากกระเเสช้อปปิ้งออนไลน์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง กระตุ้นให้เเบรนด์ต่างๆ ต้องรีบมาทุ่มลงทุนด้านดิจิทัลเเทนนั่นเอง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้
ห้างสรรพสินค้าที่เป็นเเลนด์ลอร์ด…ต้องปรับทัพกันยกใหญ่เลยทีเดียว

 

ที่มา : CNA , Business Times

 

]]>
1303907
Muji U.S.A. ยื่นขอล้มละลาย ภายใต้ Chapter 11 เซ่นพิษ COVID-19 มรสุมค้าปลีกในอเมริกา https://positioningmag.com/1287285 Fri, 10 Jul 2020 08:03:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1287285 Muji U.S.A. บริษัทลูกในสหรัฐฯ ของ Ryohin Keikaku Co. เจ้าของร้านค้าปลีกญี่ปุ่นสไตล์มินิมอลอย่าง MUJI ยื่นขอล้มละลายภายใต้ Chapter 11 ท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่สั่นสะเทือนธุรกิจทั่วโลก

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า Muji U.S.A. ได้ยื่นขอล้มละลายเพื่อฟื้นฟูกิจการ ภายใต้ Chapter 11 ต่อศาลในรัฐเดลาแวร์

โดยทาง Ryohin Keikaku ระบุในเเถลงการณ์ว่า Muji U.S.A. ยื่นฟ้องขอล้มละลาย เนื่องจากได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ซึ่งต้องมีการปิดร้านชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้บริษัทต้องเเบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงค่าเช่าพื้นที่ซึ่งมีราคาสูง โดยทางบริษัทกำลังวางกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายเเละกำลังต่อรองค่าเช่าใหม่

ทั้งนี้ การยื่นขอล้มละลายภายใต้ Chapter 11 นั้น MUJI ในอเมริกาจะยังสามารถดำเนินธุรกิจเเละให้บริการต่อไปได้ เเต่จะต้องมีการปรับโครงสร้างองค์กร เจรจากับเจ้าหนี้เเละวางแผนอื่น ๆ เพื่อฟื้นฟูกิจการ

Muji U.S.A. เป็นอีกหนึ่งใน 110 บริษัทที่ประกาศยื่นขอล้มละลายในสหรัฐฯ นับตั้งเเต่ช่วงต้นปี 2020 เป็นต้นมา สาเหตุหลักๆ มาจากผลกระทบของโรค COVID-19 ที่สร้างความเสียหายต่อธุรกิจค้าปลีกทั่วโลก โดยยอดขายของร้าน Muji ตามสาขาต่างๆ ในอเมริกาลดฮวบลงกว่าครึ่งหนึ่ง ในช่วงเดือนเมษายนพฤษภาคมที่มีการระบาดหนัก

สำหรับยอดขายของ MUJI ในอเมริกา คิดเป็นรายได้ราว 2.5% ของ Ryohin Keikaku เเต่ผลประกอบการไม่ค่อยดีนัก โดยในปีงบประมาณ 2019 บริษัทขาดทุนราว 10 ล้านเหรียญสหรัฐ

แม้ MUJI จะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จากการขยายธุรกิจไปยังประเทศจีน แต่เมื่อเร็วๆ นี้ เเบรนด์กำลังประสบปัญหาว่าผลิตภัณฑ์ที่มีสไตล์เรียบง่ายนั้นถูกลอกเลียนเเบบได้ง่ายเเละมีราคาที่ถูกกว่า ขณะที่สินค้าของ MUJI ยังถูกผู้บริโภคบางส่วนมองว่ามีราคาสูงเกินไป

ก่อนหน้านี้ ห้างค้าปลีกหลายรายในสหรัฐฯ กำลังดิ้นรนเพื่อฝ่าวิกฤติ COVID-19 เช่นกัน อย่าง ห้างสรรพสินค้า Neiman Marcus, J.C. Penney และ Stage Stores ต่างยื่นล้มละลายในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ รวมถึงเชนขายสินค้าเพื่อสุขภาพอย่าง GNC Holdings ก็ยื่นล้มละลายเเละมีแผนจะปิดร้านค้าหลายร้อยแห่งอย่างถาวรด้วย

 

ที่มา : Bloomberg

]]> 1287285 ห้างฯ สิ้นมนต์ขลัง ค้าปลีกอเมริกันระส่ำ แห่ปิดร้าน-ล้มละลาย https://positioningmag.com/1153070 Tue, 09 Jan 2018 15:59:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1153070 ภาพจาก : www.scmp.com

นักวิเคราะห์ชี้ปี 2018 จะเป็นปีที่ธุรกิจค้าปลีก” อเมริกันหลายรายก้มหน้าปิดร้านและยื่นขอล้มละลาย กำหนดการนี้ถือว่าเร็วกว่าที่เคยคาดไว้เมื่อปีที่แล้ว คาดว่าคลื่นพายุที่กวาดล้างร้านค้าปลีกอเมริกันจนเรียบเป็นหน้ากลองนี้จะเป็นประโยชน์ที่เอื้อให้บริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น Amazon และ Wal-Mart ได้รับประโยชน์ไปเต็มๆ

บริษัทที่วิเคราะห์วิกฤตธุรกิจค้าปลีกล้มละลายในสหรัฐฯ คือ Credit Suisse Group ซึ่งฟันธงว่าจะมีการปิดสาขาร้านค้า และการล้มละลายของผู้ค้าปลีกสหรัฐฯ ในไม่ช้าช่วงปีนี้ เนื่องจากอุตสาหกรรมเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้เมื่อปีที่แล้ว

Credit Suisse Group ใช้คำว่าการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และปฏิเสธไม่ได้ของธุรกิจค้าปลีกจะส่งผลกับอัตราค่าเช่าและอัตราการว่างงานในปีนี้ โดยนักยุทธศาสตร์ Roger Lehman และ Benjamin Rozyn ตั้งข้อสังเกตว่าบอนด์หรือพันธบัตรที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกู้กลุ่มนี้จะมีแนวโน้มอ่อนตัวลง

แม้ว่าช่วงปลายฤดูการซื้อสินค้าช่วงคริสมาสต์ที่เพิ่งสิ้นสุดลง จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ค้าปลีกในทศวรรษที่ผ่านมา แต่ตามการคาดการณ์เบื้องต้น ห้างสรรพสินค้าอย่าง Macy’s และ JCPenney ไม่ได้ทำให้นักลงทุนรู้สึกว้าวกับผลประกอบการที่ทำได้ จุดนี้แม้บริษัทอย่าง Macy’s และ JCPenney จะห่างไกลจากการล้มละลาย แต่ Macy’s ก็กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาว่าจะปิดสาขาลง 11 สาขาในต้นปี 2018

ในขณะที่ร้านค้าปลีกปิดสาขา ผู้ค้าปลีกรายใหญ่เพียงไม่กี่ราย เช่น Amazon.com, Wal-Mart Stores และ Home Depot คาดว่าจะได้รับส่วนแบ่งมหาศาลจากผลกำไรของอุตสาหกรรมค้าปลีก 

เบื้องต้น รายงานชี้ว่าช่วงเวลาที่ควรจับตาเรื่องการล้มละลายของธุรกิจค้าปลีกอเมริกันคือเดือนมกราคม เพราะเดือนแรกของปีมักเป็นเดือนที่มีการยื่นล้มละลายของผู้ค้าปลีกอเมริกันมากที่สุด ตามข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg Intelligence ย้อนหลังไปถึงปี 1981

ธุรกิจที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรง คือ ธุรกิจเช่าพื้นที่ค้าปลีก ซึ่งแม้จะยังคงดำเนินการต่อไปในหลายปีข้างหน้า แต่ก็จะลดทางเลือกด้านการเงินลง จุดนี้ทำให้คาดการณ์ว่าเจ้าของห้างสรรพสินค้าและเจ้าของพื้นที่อาจหาทางแก้ปัญหาด้วยการปรับสินเชื่อ ถือว่าเป็นความเสี่ยงที่กำลังเกิดขึ้นกับห้างสรรพสินค้าระดับกลางและต่ำ

จุดนี้อาจส่งผลกระทบถึงการให้สินเชื่อรายย่อยที่ไม่ใช่ห้างสรรพสินค้าด้วยไปโดยปริยาย

สิ่งที่เรากำลังจะได้เห็นในสหรัฐฯ คือ ห้างสรรพสินค้ากำลังจะสิ้นมนต์ขลัง เพราะโลกค้าปลีกมีวิวัฒนาการออกห่างจากห้างสรรพสินค้าแบบดั้งเดิม รวมถึงศูนย์การค้ากลางแจ้ง และพื้นที่เช่าเพื่อค้าปลีก อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ว่าร้านขายของชำยังมีโอกาสทางธุรกิจที่ดีอยู่ เห็นได้ชัดจากการที่ผู้ซื้อชะลอการซื้ออาหารออนไลน์ในขณะนี้

ที่มาscmp.com/property/international/article/2127301/wave-store-closures-and-retail-bankruptcies-us-benefit-giants

]]>
1153070