ศึกษาต่อต่างประเทศ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 23 Jan 2024 11:42:43 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “แคนาดา” ปรับลดโควตา “นักเรียนต่างชาติ” หลังเกิดปัญหา “ที่อยู่อาศัย” ไม่พอให้คนท้องถิ่น https://positioningmag.com/1459948 Tue, 23 Jan 2024 09:57:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459948 “แคนาดา” ประกาศลดโควตา “นักเรียนต่างชาติ” เป็นเวลา 2 ปี หลังจำนวนนักเรียนพุ่งทะยานขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จนเกิดปัญหา “ที่อยู่อาศัย” ไม่เพียงพอสำหรับคนท้องถิ่น

เมื่อปี 2023 แคนาดาอนุมัติวีซ่านักเรียนไปเกือบ 1 ล้านราย มากกว่าค่าเฉลี่ยที่เคยอนุมัติเมื่อทศวรรษก่อนถึง 3 เท่า ส่วนนโยบายการจำกัดจำนวนนักเรียนต่างชาตินี้จะปรับลดจากที่เคยให้เมื่อปีก่อนไปประมาณ 1 ใน 3

มาร์ค มิลเลอร์ รัฐมนตรีกระทรวงการอพยพย้ายถิ่นฐานของแคนาดา ประกาศว่า รัฐบาลแคนาดามีนโยบายจะจำกัดโควตานักเรียนต่างชาติต่อเนื่อง 2 ปี ทำให้ปี 2024 นี้จะมีวีซ่านักเรียนที่ไม่ได้รับอนุมัติประมาณ 364,000 ราย

นโยบายใหม่นี้ยังจะจำกัดจำนวนใบอนุญาตทำงาน (work permit) ที่จะให้กับนักเรียนต่างชาติด้วย เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเลือกกลับประเทศบ้านเกิดหลังเรียนจบ ทั้งนี้ ใบอนุญาตทำงานนี้ปกติมักจะถูกมองว่าเป็นเส้นทางที่ง่ายที่สุดในการได้สถานะผู้พำนักอาศัยถาวร (permanent residency)

นอกจากนี้ แคนาดายังจะจำกัดการให้วีซ่าผู้ติดตามแก่คู่สมรสของนักเรียนในระดับวิทยาลัยและระดับปริญญาตรีด้วย

ระยะที่ผ่านมานี้แคนาดาถือเป็นจุดหมายปลายทางด้านการศึกษาที่นิยมมากในหมู่นักเรียนต่างชาติ เพราะเป็นประเทศที่ให้ใบอนุญาตทำงานง่ายหลังเรียนจบ

อย่างไรก็ตาม จำนวนนักเรียนต่างชาติที่ทะยานขึ้นในช่วงหลังกลับมีผลกระทบในเชิงลบต่อ “ที่อยู่อาศัย” เพราะอะพาร์ตเมนต์เพื่อเช่าเริ่มขาดแคลนและราคาเช่าสูงขึ้น ข้อมูลจาก Statscan ระบุว่าเมื่อเดือนธันวาคม 2023 ราคาเช่าทั่วประเทศแคนาดาเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.7% จากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

ไม่เพียงแต่วิกฤตขาดแคลนที่อยู่อาศัยให้คนท้องถิ่นเท่านั้น แต่รัฐบาลแคนาดายังกังวลเกี่ยวกับคุณภาพด้านการศึกษาของสถาบันการศึกษาบางแห่งด้วย

ปกติแล้วนักเรียนต่างชาติในแคนาดาส่วนใหญ่ 40% มาจากประเทศอินเดีย รองลงมา 12% มาจากประเทศจีน ตามข้อมูลภาครัฐเมื่อปี 2022

นักเรียนต่างชาติถือเป็นแหล่งเงินสำคัญเข้าประเทศแคนาดา โดยคิดเป็นเม็ดเงินปีละกว่า 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์แคนาดา (ประมาณ 5.83 แสนล้านบาท) การจำกัดโควตานักเรียนต่างชาติจึงเป็นผลเสียต่อสถาบันการศึกษาซึ่งขยายการลงทุนแคมปัสสถานศึกษาไปแล้ว

รวมถึงจะมีผลกระทบต่อจำนวนแรงงานชั่วคราวในภาครีเทลและร้านอาหารด้วย โดยสำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลจากล็อบบี้ยิสต์พบว่านักเรียนต่างชาติมีสัดส่วน 4.6% ในจำนวนแรงงาน 1.1 ล้านคนในภาคบริการร้านอาหารเมื่อปี 2023

Source

]]>
1459948
“นักศึกษาจีน” ไม่มา “มหาวิทยาลัย” ในสหรัฐฯ กำไรหด วิ่งหาผู้เรียนชาติอื่นทดแทน https://positioningmag.com/1396335 Tue, 16 Aug 2022 11:21:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396335 แม้แต่ภาคการศึกษาก็กระทบเมื่อ “นักศึกษาจีน” ยังไม่กลับมาสมัครเรียนใน “มหาวิทยาลัย” สหรัฐฯ ทำให้สถาบันเหล่านี้เห็นกำไรที่ลดต่ำลง เหตุเกิดเพราะจีนยังปิดพรมแดนจากโรคระบาด และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ย่ำแย่มาตั้งแต่ยุคทรัมป์ สถาบันอุดมศึกษาอเมริกันจึงต้องเบนเข็มพยายามดึงดูดผู้เรียนชาติอื่นทดแทน ชิงตลาดแข่งกับมหาวิทยาลัยในยุโรปและเอเชีย

สำนักข่าว Wall Street Journal รายงานตัวเลขการออกวีซ่า F-1 ของสหรัฐอเมริกาในรอบ 6 เดือนแรกปี 2022 ลดเหลือเพียง 31,055 รายการ เทียบกับ 6 เดือนแรกปี 2019 (ก่อนโควิด-19) ที่มีการออกให้ถึง 64,261 รายการ เรียกว่าลดลงไปมากกว่าครึ่ง

ปัญหาหลักเกิดจากนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนต่อในสหรัฐฯ สัดส่วนใหญ่ที่สุดคือ “นักศึกษาจีน” ซึ่งคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของนักศึกษาต่างชาติทั้งหมด ทำให้เมื่อนักศึกษาจีนไม่กลับมา ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบกับ “กำไร” ของวิทยาลัยเหล่านี้ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยรัฐซึ่งมักจะคิดค่าเทอมนักศึกษาชาติสูงกว่านักศึกษาอเมริกันอย่างมาก ทำให้เป็นการขาดรายได้ก้อนใหญ่

การเกิดโรคระบาดทำให้นักศึกษาต่างชาติในภาพรวมลดลงอยู่แล้ว โดยปีการศึกษา 2020-2021 มีนักศึกษาต่างชาติเข้าลงทะเบียนเรียนน้อยกว่า 1 ล้านคน เป็นตัวเลขต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปีการศึกษา 2014-2015

แต่ปัญหาของนักศึกษาจีนที่หายไปไม่ได้มีเฉพาะเรื่องโรคระบาด ทำให้จีนปิดพรมแดนจนถึงวันนี้ ส่งผลให้นักศึกษาลังเลที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศ

ปัญหาอื่นยังซึมลึกกว่านั้น นั่นคือผลกระทบตั้งแต่ยุคประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แสดงออกเป็นปฏิปักษ์อย่างโจ่งแจ้งต่อคนจีน มีการสั่งห้ามคนจีนที่เชื่อว่าเป็นภัยความมั่นคงเข้าประเทศ และแสดงออกว่าสหรัฐฯ ไม่ต้องการนักศึกษาจีน ยิ่งความสัมพันธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของจีนกับสหรัฐฯ ตึงเครียดขึ้น คนจีนก็ยิ่งกังวลว่าชาวอเมริกันจะคุกคามลูกหลานตนหากส่งให้ไปเรียนในสหรัฐฯ

สถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐฯ เห็นสัญญาณเหล่านี้มาสักพักแล้ว ทำให้สถาบันพยายามจะหาทางแก้ รวมถึงหาเบาะรองรับด้วยการหาผู้เรียนชาติอื่นๆ ทดแทน โดยเฉพาะอินเดีย

ดูเหมือนความพยายามจะให้ผลกระเตื้องขึ้นบ้าง ผลสำรวจมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ 559 แห่ง จัดสำรวจโดย Institute of International Education (IIE) พบว่า 65% ของมหาวิทยาลัยที่สำรวจรายงานว่ามีใบสมัครจากนักศึกษาต่างชาติ “เพิ่มขึ้น” ในปีการศึกษา 2022-23 ซึ่งมากกว่าเมื่อปีก่อนที่มีเพียง 43% ของมหาวิทยาลัยที่ได้ใบสมัครจากนักศึกษาต่างชาติมากขึ้น

มหาวิทยาลัย ดีที่สุด
University of California, Berkeley (Photo: Shutterstock)

แต่การที่มี “ใบสมัคร” ไม่ได้แปลว่าสุดท้ายนักศึกษาจะเลือกลงทะเบียนเรียนกับมหาวิทยาลัยนั้นๆ นักศึกษาอาจสอบติดหลายที่และเลือกที่อื่นแทน เพราะมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ ก็มีข้อเสียและเผชิญการแข่งขันต่างๆ ดังนี้

  • การแข่งขันแย่งตัวนักศึกษาต่างชาติยิ่งร้อนแรงขึ้น – แม้ว่าสหรัฐฯ จะเป็นจุดหมายยอดฮิตของนักศึกษา แต่สถาบันในอังกฤษ ฝรั่งเศส แคนาดา ออสเตรเลีย และเอเชีย ต่างก็ผลักดันตนเองขึ้นมาจนสามารถดึงนักศึกษาต่างชาติเพิ่มขึ้นได้สำเร็จ รวมถึงจีนเองก็ลงทุนกับการปั้นมหาวิทยาลัยในประเทศมาก จนสามารถยื้อตัวนักศึกษาชาติตัวเองให้เรียนต่อภายในประเทศได้มากขึ้น
  • ค่าเรียนแพงค่าเทอมระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสหรัฐฯ นั้นแพงกว่าประเทศอื่นอยู่แล้ว และนักศึกษาต่างชาติยังต้องเสียค่าเรียนแพงกว่าปกติอีก โดยส่วนมากจะสูงกว่าที่คนอเมริกันจ่ายเป็นเท่าตัว นอกจากนี้ ยังต้องเสียค่าที่พัก อาหาร การเดินทาง ประกันสุขภาพ ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดก็มักจะสูงกว่าประเทศอื่นเช่นกัน
  • สหรัฐฯ พึ่งนักศึกษาจีนมากจนยากจะชดเชย – จีนแผ่นดินใหญ่มีประชากรถึง 1,400 ล้านคน และเป็นกลุ่มคนที่ต้องการจะเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาด้วย มหาวิทยาลัยสหรัฐฯ จะหาประชากรมากขนาดนี้มาทดแทนได้ ถือเป็นงานช้างและต้องใช้เวลา
  • ปัจจัยทางจิตวิทยา – ชาวอเมริกันดูเหมือนจะเริ่มเสียศรัทธากับคุณค่าของการเรียนระดับอุดมศึกษา ทำให้ชาวต่างชาติเองก็มีคำถามในใจว่าคุณภาพการศึกษาของสหรัฐฯ ยังดีอยู่หรือเปล่า ต่างจากในอดีตที่ทั่วโลกต่างมั่นใจกับคุณภาพที่เหนือกว่าของระบบการศึกษาอเมริกัน

Source

]]>
1396335
“ไปอยู่ต่างประเทศ” ทำให้ “เข้าใจตัวเอง” ดีขึ้น วิจัยพบประสบการณ์ต่างแดนดีต่อการพัฒนาตน https://positioningmag.com/1369905 Mon, 10 Jan 2022 13:04:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1369905 งานวิจัยพบการ “ไปอยู่ต่างประเทศ” ทำให้ “รู้จักตัวเอง” ชัดเจนขึ้น บุคลิกภาพที่เข้าใจตนเองและมีความมั่นใจนี้ทำให้การตัดสินใจด้านเส้นทางอาชีพทำได้ดีกว่า คนในสังคมมองภาพลักษณ์ของตนได้ตรงตามที่เป็น

ทีมนักวิจัย 5 รายร่วมกันวิจัย พบว่าประสบการณ์การ “ไปอยู่ต่างประเทศ” ทำให้คนคนนั้น “รู้จักตัวเอง” ดีขึ้น และนำไปสู่บุคลิกภาพที่มั่นใจ เข้าใจตนเอง ทำให้ตัดสินใจการพัฒนาเส้นทางอาชีพการงานได้อย่างมั่นคงกว่า

งานวิจัยนี้เผยแพร่ใน Harvard Business Review มีเป้าหมายเพื่อสำรวจว่า ประสบการณ์ต่างแดนทำให้คนเรา “เข้าใจและนิยามตนเองได้อย่างชัดเจนและมั่นใจ มีความมั่นคงภายในจิตใจอย่างสม่ำเสมอ” หรือไม่

ความเข้าใจตัวเองนี้ จากการวิจัยที่ผ่านๆ มามักจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี จัดการความเครียดได้ดี และทำให้ศักยภาพการทำงานดีตามไปด้วย

 

เป็นนิสัยของเราจริงๆ หรือเป็นเพราะสิ่งแวดล้อม?

การวิจัยครั้งนี้มีการจัดทำ 6 รอบ รวมแล้วมีผู้เข้าร่วมวิจัย 1,874 คน โดยหลักแล้วจะแบ่งเป็น กลุ่มที่เคยใช้ชีวิตต่างแดน 3 เดือนขึ้นไป กับ ผู้ที่ไม่เคยไปใช้ชีวิตต่างแดนหรือไปในระยะสั้นกว่า 3 เดือน และมีการกระจายกลุ่มผู้เข้าร่วมวิจัยให้แตกต่างทั้งด้านอายุ เพศ สถานะการสมรส สถานะทางเศรษฐกิจ จนถึงประเภทบุคลิกภาพ

จากการสอบถามจะพบว่า ผู้ที่เคยไปอยู่ต่างประเทศมีความเข้าใจตนเองมากกว่าคนที่ไม่เคยไป

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? นักวิจัยพบว่า การไปอยู่ต่างประเทศทำให้คนคนนั้นได้ “ใคร่ครวญตัวตนที่สะท้อนออกมาของตนเอง” ว่าส่วนไหนที่เป็นลักษณะของตัวเองจริงๆ และส่วนไหนที่สะท้อนการบ่มเพาะจากวัฒนธรรมสังคมที่ตนเติบโตมา

การไปอยู่ต่างแดนจะมีโอกาสได้ใคร่ครวญในลักษณะนี้มากกว่าคนที่ไม่เคยไป เพราะว่าเมื่ออยู่ในสังคมที่คุ้นเคยที่บ้านเกิด คนที่อยู่รอบตัวก็มักจะแสดงพฤติกรรมในแบบเดียวกัน ทำให้ไม่เคยมีการตั้งคำถามว่าเราแสดงออกแต่ละอย่างออกไปเป็นเพราะตัวเราเองหรือเป็นเพราะสิ่งแวดล้อม

นอกจากนี้ เมื่อคนเราไปอยู่ต่างประเทศ ในวัฒนธรรมใหม่ที่มีการให้คุณค่าและมีวิถีทางสังคมต่างออกไป ก็จะยิ่งทำให้คนคนนั้นเริ่มทบทวนคุณค่าและความเชื่อที่ตัวเองยึดถือเสียใหม่ และมักจะต้องเลือกว่าจะทิ้งความเชื่อนั้นไปหรือยิ่งยึดถือความเชื่อนั้นไว้มากขึ้น

 

ขึ้นอยู่กับระยะเวลา ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนประเทศ

ในการวิจัยนี้ มีรอบวิจัยย่อยรอบหนึ่งที่ทีมทำการสุ่มตัวอย่างนักศึกษาระดับ MBA (ปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ) 559 คนซึ่งมีค่าเฉลี่ยการใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศของทั้งกลุ่มที่ระยะเวลา 3 ปี

การวิจัยพบว่า คนที่มีระยะเวลาใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศยาวนานกว่า มีความสำคัญต่อการเข้าใจตนเองมากกว่าคนที่ไปอยู่มาแล้วหลายประเทศแต่ใช้เวลาสั้นๆ การเข้าใจตนเองไม่ได้ขึ้นอยู่กับการไปอยู่ในหลายวัฒนธรรม แต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการอยู่อาศัย ซึ่งทำให้มีโอกาสเผชิญสถานการณ์ที่ทำให้ต้องทบทวนทำความเข้าใจตนเองมากขึ้น

 

เข้าใจตนเอง แสดงออกได้ตรงกับความเป็นตัวเอง

แล้วการเข้าใจตนเอง จะมีประโยชน์กับการทำงานอย่างไร? กลุ่มนักวิจัยมีการทดสอบกับนักศึกษา MBA จำนวน 544 คน ให้มีการประเมินตนเองและประเมินเพื่อนร่วมเรียนในแง่ของบุคลิกภาพและการเข้าสังคม

Group of Business People Working on an office Desk

ผลการศึกษานี้พบว่า คนที่เคยอยู่ต่างประเทศมักจะเข้าใจตนเองได้ตรงกับที่คนอื่นมองตนเองเช่นกัน ซึ่งเกิดจากการที่คนเราเมื่อเข้าใจตนเองแล้ว ก็มีแนวโน้มที่จะแสดงออกภาพลักษณ์นั้นให้คนอื่นเข้าใจได้เช่นกัน

การเข้าใจตนเองได้ดีนี้ยังมีประโยชน์กับการตัดสินใจด้านหน้าที่การงานด้วย ซึ่งปัจจุบันการตัดสินใจว่าจะไปต่อทางไหนดีในหน้าที่การงานของตน เป็นจุดเปลี่ยนที่คนส่วนใหญ่ตัดสินใจได้ลำบาก แต่การเข้าใจตนเองได้ดีจะทำให้คนเรา “เลือกเส้นทางอาชีพ” ได้ตรงกับจุดแข็งของตนเอง และเติมเต็มคุณค่าชีวิตที่ตนต้องการ

อย่างไรก็ตาม กลุ่มนักวิจัยมองว่าการศึกษานี้ควรจะต่อยอดไปในมุมอื่นอย่างต่อเนื่องด้วย เพราะมีสมมติฐานเช่นกันว่า การไปอยู่ต่างประเทศมักจะทำให้เกิดประสบการณ์ ‘Culture Shock’ หรือความเครียดกังวลเนื่องจากอยู่ในสถานการณ์ที่สูญเสียสัญญะและการตอบโต้ทางสังคมในแบบที่คุ้นเคย

เป็นไปได้ว่าความกังวลจาก Culture Shock หากคนคนนั้นไม่สามารถเอาชนะความกังวลนี้ได้ จะทำให้การอยู่ต่างประเทศยิ่งทำให้คนคนนั้นรู้สึกแปลกแยก และเป็นประสบการณ์ที่สร้างความปั่นป่วนใจต่อคนบางคนจนไม่สามารถจะเข้าใจตนเองได้ และไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นเลย

(รายชื่อนักวิจัยทั้งหมด: Hajo Adam ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการจัดการจาก Rice University, Otilia Obodaru ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการจัดการจาก Rice University, Jackson G. Lu ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากวิทยาลัยการจัดการ Sloan MIT, William Maddux ศาสตราจารย์ด้านพฤติกรรมองค์กร University of North Carolina at Chapel Hill และ Adam D. Galinsky หัวหน้าภาควิชาการจัดการ Columbia Business School)

Source

]]>
1369905
10 “มหาวิทยาลัย” ในสหรัฐฯ ที่มีค่า “ROI” ดีที่สุด รายได้หลังเรียนจบคุ้มค่าเทอม! https://positioningmag.com/1364095 Fri, 26 Nov 2021 10:07:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1364095 Princeton Review คำนวณ ROI ของมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ จากค่าเทอมตลอดหลักสูตร ร่วมกับสิ่งที่มหาวิทยาลัยมีให้ เช่น ทุนการศึกษา บริการจัดหางาน เทียบกับรายได้ของบัณฑิตหลังเรียนจบ การลงทุนเรียนในสถาบันไหนคุ้มค่าที่สุด

ตั้งแต่ก่อนเกิดโรคระบาด พ่อแม่ที่จะส่งบุตรหลานเข้าเรียนระดับอุดมศึกษาในสหรัฐอเมริกาเริ่มตั้งคำถามแล้วว่า การเรียนมหาวิทยาลัยจะคุ้มค่าหรือไม่ หลังจากค่าเทอมพุ่งทะยานเร็วยิ่งกว่าเงินเฟ้อ

ทำให้ Princeton Review สำรวจเพื่อหาคำตอบให้พ่อแม่และนักเรียนว่า การลงทุนกับสถาบันไหนจะ ‘คุ้มค่า’ วัดจาก Return on Investment (ROI) ที่ดีที่สุด

โดยการสำรวจวัดจากมหาวิทยาลัยและวิทยาลัย 650 แห่งทั่วสหรัฐฯ ใช้ดัชนีชี้วัดเป็นค่าเทอม และชั่งน้ำหนักร่วมกับทุนการศึกษา บริการจัดหางาน อัตราการเรียนจบ จากนั้นนำมาวัดกับรายได้หลังเรียนจบของศิษย์เก่า และภาพรวมหนี้การศึกษาของนักศึกษาทั้งหมด

ทั้งนี้ CNBC ได้ความเห็นเสริมจากผู้เชี่ยวชาญ “อีริค กรีนเบิร์ก” ประธานกลุ่ม Greenberg Educational Group บริษัทที่ปรึกษาในนิวยอร์ก เขาให้ความเห็นกับการจัดอันดับนี้ด้วยว่า ค่าใช้จ่ายและรายได้อาจไม่ใช่ทั้งหมดในการตัดสินใจอยู่แล้ว เพราะพ่อแม่มักจะคำนึงถึงความสุขของลูกๆ ในการเข้าเรียนสถาบันนั้นๆ ด้วย “มีบางอย่างที่ไม่สามารถใช้มาตรวัดได้” กรีนเบิร์กกล่าว

เมื่อคำนึงถึงทุกอย่างรอบด้านแล้ว ไปพิจารณาลิสต์ของ Princeton Review กัน

มหาวิทยาลัยรัฐที่มีค่า ROI สูงที่สุด
  1. University of California, Berkeley
  2. University of Virginia – Charlottesville, Virginia
  3. Georgia Institute of Technology – Atlanta
  4. University of California, San Diego – La Jolla, California
  5. University of North Carolina at Chapel Hill
มหาวิทยาลัย ดีที่สุด
University of California, Berkeley (Photo: Shutterstock)
มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีค่า ROI สูงที่สุด
  1. Princeton University – Princeton, New Jersey
  2. Massachusetts Institute of Technology – Cambridge, Massachusetts
  3. Stanford University – Stanford, California
  4. California Institute of Technology – Pasadena, California
  5. Harvey Mudd College – Claremont, California
Princeton University (Photo: Shutterstock)

ท็อปของมหาวิทยาลัยทั้งสองประเภทนั้น ยกตัวอย่างที่ Berkeley ปกติค่าเทอมเฉลี่ยอยู่ที่ 31,400 เหรียญสหรัฐต่อปี แต่มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาที่จำเป็นมูลค่า 23,700 เหรียญสหรัฐ ทำให้ต้นทุนจริงอยู่ที่ 7,700 เหรียญเท่านั้น และนักศึกษาจบระดับปริญญาตรีจากที่นี่ จะได้รายได้เฉลี่ย 72,600 เหรียญสหรัฐต่อปี ตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของการทำงาน

ขณะที่ Princeton มหาวิทยาลัยเอกชน ค่าเทอมปกติอยู่ที่ 65,800 เหรียญสหรัฐต่อปี แต่มีทุนการศึกษาให้เฉลี่ย 53,500 เหรียญสหรัฐ ทำให้ต้นทุนค่าเทอมลดเหลือ 12,300 เหรียญ และนักศึกษาจบปริญญาตรีจากที่นี่จะมีรายได้เฉลี่ย 77,300 เหรียญสหรัฐต่อปี ตั้งแต่ช่วงต้นของการทำงาน

source

]]>
1364095
“อังกฤษ” ชวนนักเรียนไทย “ศึกษาต่อ” เพิ่มทุนให้เปล่า-ย้ำต่างชาติมีสิทธิรับวัคซีน COVID-19 https://positioningmag.com/1319555 Tue, 16 Feb 2021 11:12:53 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319555 สหราชอาณาจักรย้ำยังเปิดประตูรับนักศึกษาต่างชาติ ระบบสาธารณสุขครอบคลุมการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ให้กับนักเรียนต่างชาติด้วย ปีนี้เพิ่มทุนให้เปล่าสำหรับนักศึกษาปริญญาโทของไทยเป็น 28 ทุน ชี้ปีก่อนมีนักเรียนไทยราว 30% ที่ตัดสินใจเลื่อนการเรียนต่อ แต่ยังคงมุ่งมั่นเข้าเรียนที่ “อังกฤษ”

สถานการณ์ COVID-19 ป่วนวงการการศึกษาเช่นกัน เนื่องจากนักเรียน-นักศึกษาอาจไม่สบายใจที่จะเข้าเรียนต่อในต่างประเทศตามแผนที่ได้วางไว้

ต่อประเด็นนี้ “อเล็กซานดรา แมคเคนซี” อัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ชี้แจงถึงสถานการณ์ที่อังกฤษซึ่งยังคงเปิดประตูต้อนรับนักเรียนต่างชาติ ปัจจุบัน นักเรียน-นักศึกษาที่ยังคงศึกษาอยู่ โดยอยู่ในภาคเรียนฤดูใบไม้ผลิปี 2020/21 มีการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ล็อกดาวน์ คือเน้นเรียนออนไลน์เกือบทั้งหมด ยกเว้นคลาสที่จำเป็นต้องใช้ห้องปฏิบัติการเท่านั้น

ส่วนในภาคเรียนฤดูใบไม้ร่วง 2021/22 ที่กำลังจะเริ่มต้นในเดือนกันยายนนี้ อเล็กซานดรากล่าวว่า อังกฤษมีการเตรียมแผนไว้ทั้งการเรียนแบบปกติในห้องเรียน และการเรียนแบบออนไลน์ โดยจะปรับใช้ตามสถานการณ์ แต่จากแนวโน้มที่อังกฤษเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่มีการฉีดวัคซีนแล้ว ทำให้คาดว่าจะเป็นการเรียนแบบผสมผสานออฟไลน์-ออนไลน์มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าคุณภาพการศึกษาที่อังกฤษยังคงคุณภาพระดับโลกเช่นเดิม

สำหรับข้อกังวลของนักเรียนและผู้ปกครองเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข อเล็กซานดราชี้แจงว่า นักเรียนนักศึกษาที่ได้วีซ่าเพื่อศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ จะอยู่ในระบบบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS) ของอังกฤษโดยอัตโนมัติ ทำให้นักเรียนต่างชาติทุกคนมีสิทธิได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19 ตามลำดับความจำเป็นก่อนหลัง รวมถึงได้รับการตรวจ COVID-19 กรณีที่มีความเสี่ยง

นอกจากจะยืนยันเพื่อคลายข้อกังวลด้านสุขภาพและการรับเข้าเรียน เธอยังเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับวีซ่าด้วยว่า สำหรับนักศึกษาที่จบระดับชั้นปริญญาโทและปริญญาเอกแล้วต้องการทำงานต่อในสหราชอาณาจักร ยังคงขอวีซ่าที่เรียกว่า The Graduate Route ได้เช่นเดิม คือบัณฑิตป.โทสามารถใช้เวลาหางานได้ 2 ปีหลังเรียนจบ และบัณฑิตป.เอกสามารถหางานทำได้ถึง 3 ปี

 

เพิ่มทุนให้เปล่า 3 เท่าตัวเป็น 28 ทุน!

ด้าน “อุไรวรรณ สะโมลี” หัวหน้าฝ่ายบริการการศึกษาต่อสหราชอาณาจักร บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวถึงความพิเศษของทุนจากบริติช เคานซิลคือ The Great Scholarships ปี 2021 มีการเพิ่มจำนวนทุนเป็น 28 ทุนจากสถาบันการศึกษา 22 แห่ง ซึ่งมากกว่าปีที่แล้วที่มีเพียง 9 ทุนเท่านั้น

โดยทุนทั้งหมดจัดสรรให้กับนักเรียนไทยที่ต้องการศึกษาต่อปริญญาโทที่อังกฤษ มีหลากหลายสาขาวิชาที่ให้ทุนมูลค่าต่อทุนขั้นต่ำ 10,000 ปอนด์ (ประมาณ 4 แสนบาท) ซึ่งครอบคลุมค่าเล่าเรียนทั้งหมดได้ และเป็นทุนให้เปล่าอีกด้วย (รายละเอียดคลิกที่นี่)

(Photo : British Council)

นอกจากนี้ยังมีทุน Women in STEM เป็นทุนที่ให้แบบเต็มจำนวนรวมทั้งค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก และตั๋วเดินทางไปกลับ แก่ผู้หญิงที่ต้องการเรียนปริญญาโทในสาขาวิชากลุ่มวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม หรือคณิตศาสตร์สำหรับประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไม่รวมสิงคโปร์และบรูไน) ได้รับจัดสรรทั้งหมด 15 ทุน ปีนี้เปิดสาขาที่อนุญาตขอทุน คือ การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและโลกร้อน, วิทยาศาสตร์ชีวิตและสุขภาพ และ เกษตรกรรม (รายละเอียดคลิกที่นี่)

 

นักเรียนไทยเลื่อนศึกษาต่อปีก่อน 30%

ในแง่สถิติการเข้าเรียนต่อต่างประเทศของนักเรียนไทย ภาคการศึกษาปี 2561/62 อยู่ที่ 15,457 คน ในจำนวนนี้เลือกเรียนต่อที่ “สหราชอาณาจักร” มากเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 45% รองมาอันดับ 2 คือ “สหรัฐอเมริกา” 35% และอันดับ 3 คือ “ออสเตรเลีย” 16%

สาขาวิชาที่นักเรียนไทยนิยมมากที่สุดที่อังกฤษ (เฉพาะระดับปริญญาตรีขึ้นไป) ยังคงเป็น “บริหารธุรกิจ” ซึ่งคิดเป็น 60% ของนักเรียนทั้งหมดเพราะเป็นสาขาที่มีแหล่งงานรองรับมากในไทย ตามด้วยสาขา “กฎหมาย” ซึ่งมาแรงขึ้นมากโดยมีสัดส่วน 10% ที่เหลือเป็นสาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยี 6% สาขาสังคมศาสตร์ 5% และ สาขาการออกแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 3%

ดังที่เห็นว่าสถิติดังกล่าวเป็นข้อมูลปี 2561/62 ก่อนจะเกิดสถานการณ์ COVID-19 ขึ้น อุไรวรรณกล่าวว่า เมื่อปีก่อนหลังเกิดโรคระบาด บริติช เคานซิลมีการจัดสำรวจเมื่อเดือนเมษายน 2563 พบว่านักเรียนเกือบ 30% มีความกังวลที่จะเข้าเรียนต่อต่างประเทศ และตัดสินใจจะเลื่อนแผนการศึกษาต่อออกไปก่อน

อย่างไรก็ตาม หลังพูดคุยกับนักเรียนพบว่า ส่วนใหญ่ยังคงมุ่งมั่นที่จะเข้าเรียนที่ประเทศอังกฤษมากกว่าจะเปลี่ยนทิศทางไปยังประเทศอื่น และเชื่อว่าแนวโน้มปัจจัยบวกจากวัคซีน COVID-19 น่าจะจูงใจให้นักเรียนที่เลื่อนแผนออกไป กลับมาศึกษาต่อกันในปีนี้

]]>
1319555
โบกมือลาบ้านเกิด! นักเรียน “ฮ่องกง” แห่เรียนต่อมหา’ลัยออสเตรเลีย หนีกฎหมายความมั่นคง https://positioningmag.com/1290381 Fri, 31 Jul 2020 08:18:34 +0000 https://positioningmag.com/?p=1290381 แม้นักเรียนชาติอื่นๆ จะสมัครเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของออสเตรเลียลดลงฮวบฮาบ เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรนา แต่จำนวนนักเรียนจากฮ่องกงกลับเพิ่มขึ้น 16% เพื่อแสวงหาโอกาสย้ายประเทศถาวร หลีกหนีกฎหมายความมั่นคงและการควบคุมของรัฐบาลจีน

Reuters รายงานข้อมูลจากรัฐบาลออสเตรเลีย แสดงตัวเลขจำนวนชาวฮ่องกงที่สมัครเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยออสเตรเลียพุ่งสูงที่สุดในรอบ 3 ปี โดยที่เพิ่งจะผ่านพ้นครึ่งปีแรกของปี 2020 เท่านั้น ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่น่ากังวลของฮ่องกง หลังรัฐบาลจีนเริ่มบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงแล้ว

จำนวนนักเรียนฮ่องกงสมัครเข้าเรียนต่อที่ออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 16% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน สวนทางกับนักเรียนสัญชาติอื่นๆ ในโลกซึ่งสมัครเรียนต่อที่ออสเตรเลียลดลงมาก เนื่องจากโรคระบาด COVID-19 ทำให้นักเรียนจำนวนมากเลื่อนแผนการเรียนต่อต่างประเทศไปก่อน

ตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนี้ เชื่อว่าเกิดขึ้นจากความหวั่นเกรงต่ออนาคตความเป็นอยู่ของเยาวชนฮ่องกง ภายใต้การปกครองของรัฐบาลจีน

ขณะที่ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ได้รับความนิยมอันดับ 3 ในการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาต่างประเทศ รองจากสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ อีกทั้งออสเตรเลียยังเพิ่งจะออกประกาศนโยบายต่อวีซ่าให้อีก 5 ปีทันทีสำหรับนักเรียนฮ่องกงที่เข้ามาเรียนต่ออุดมศึกษาในประเทศ พร้อมสิทธิยื่นขอเป็นผู้พำนักถาวร (PR) หลังหมดช่วงต่อวีซ่า 5 ปี ทำให้ออสเตรเลียเป็นประเทศยอดฮิตในการ “ย้ายถิ่นฐาน” ของคนฮ่องกง

“เราเห็นการขอวีซ่าของนักเรียนฮ่องกงและผู้พำนักอาศัยในฮ่องกงเติบโตอย่างรวดเร็วทันทีที่รัฐบาลประกาศนโยบายดังกล่าว” ไซมอน เดอ เวียร์ ผู้อำนวยการศูนย์ผู้อพยพสากล Stirling Henry กล่าว

ภาคธุรกิจการศึกษาของออสเตรเลียถือเป็นตลาดบริการใหญ่อันดับ 2 ของประเทศ รองจากธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจนี้สามารถสร้างมูลค่าให้ประเทศถึงปีละ 3.7 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 8.32 แสนล้านบาท) แต่ธุรกิจนี้ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากโรคระบาด COVID-19 โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยประเมินว่าธุรกิจของพวกเขาน่าจะสูญรายได้ 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 3.6 แสนล้านบาท) ในช่วงปีนี้จนถึงปี 2023

ส่วนกลุ่มนักเรียนที่ชะลอการเรียนต่อที่ออสเตรเลียมากที่สุดก็คือนักเรียนจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยมีการสมัครเข้าเรียนต่อต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2012 เทียบเฉพาะช่วงครึ่งปีแรก

Source

]]>
1290381
คนไทยเรียนต่อ UK เพิ่มสูงสุดในรอบ 10 ปี ขณะที่ “ครูไทย” 75% ยังรู้ภาษาอังกฤษในระดับต่ำ https://positioningmag.com/1263197 Tue, 04 Feb 2020 10:41:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1263197
  • บริติช เคานซิล เปิดสถิตินักเรียนไทยในสหราชอาณาจักรปี 2562 พบจำนวนนักเรียนใหม่เติบโต 5% สูงที่สุดในรอบทศวรรษ เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนถูกลงดึงดูดใจผู้ปกครอง
  • รัฐบาล UK ปลดล็อกวีซ่าให้บัณฑิตอุดมศึกษาทำงานต่อในประเทศได้อีก 2 ปีหลังเรียนจบ ดึงนักศึกษาทั่วโลกเรียนต่ออังกฤษ 6 แสนคนภายในปี 2573
  • ด้านระดับความรู้ของครูภาษาอังกฤษชาวไทยทั่วประเทศ 75% ยังอยู่ในระดับ A2 หรือต่ำกว่า เป็นระดับความรู้ที่ไม่สามารถสมัครเรียนต่อมัธยมปลายในอังกฤษได้
  • บริติช เคานซิล จึงเดินหน้าตามพันธกิจส่งเสริมความรู้ภาษาอังกฤษ ยื่นเรื่องเสนอรัฐบาลไทย อาสาจัดคอร์สติวนักศึกษาว่าที่ครูในสถาบันราชภัฏ หวังสร้างแม่แบบครูภาษาคุณภาพ
  • “แอนดรูว์ กลาส” ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย เปิดเผยสถิตินักเรียนไทยที่เลือกศึกษาต่อต่างประเทศในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2560/61 มีจำนวน 15,738 คน และสหราชอาณาจักรยังเป็นจุดหมายอันดับ 1 โดยมีนักศึกษา 43% เลือก UK เพื่อศึกษาต่อ รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา 37% ออสเตรเลีย 16% และแคนาดา 4%

    ด้าน “อุไรวรรณ สะโมลี” หัวหน้าฝ่ายบริการการศึกษาต่อต่างประเทศ บริติช เคานซิล ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า เฉพาะกลุ่มนักเรียนนักศึกษาที่เลือกเรียนต่ออังกฤษเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวนมากขึ้นถึง 5% จากปีก่อนหน้า โดยวัดจากจำนวนการออกวีซ่านักเรียน ถือเป็นการเติบโตสูงสุดในรอบทศวรรษ จากปกติอัตราการเติบโตจะอยู่ที่ 1-2% ต่อปี

    “ผู้ปกครองให้ความสนใจอังกฤษมากเพราะเรียนจบเร็ว ป.โทเรียนแค่ปีเดียว และช่วงที่ผ่านมาค่าใช้จ่ายก็ถูกลงจากค่าเงินปอนด์ที่ลดลงด้วย” อุไรวรรณกล่าว

    “แอนดรูว์ กลาส” ผู้อำนวยการ บริติช เคานซิล ประเทศไทย

    เธอให้ข้อมูลด้วยว่า ปัจจุบันผู้ศึกษาต่ออังกฤษเป็นนักศึกษาปริญญาโท 60% ที่เหลือเป็นนักศึกษาปริญญาตรี 20% และนักเรียนมัธยมปลาย (ไฮสกูล) 20% พบว่านักเรียนนักศึกษาที่ไปเรียนต่อตั้งแต่ระดับไฮสกูลและปริญญาตรีเริ่มเติบโตขึ้น คาดว่าเกิดจากจำนวนโรงเรียนนานาชาติในไทยที่จัดการเรียนการสอนระบบอังกฤษมีมากขึ้น

    แอนดรูว์ให้ข้อมูลด้วยว่า สาขาวิชาที่คนไทยเลือกเรียน แม้ว่าสาขาบริหารธุรกิจจะยังสูงที่สุดคือ 41% แต่พบว่าสาขาอื่นๆ กำลังเติบโตเช่นกัน เช่น สาขาวิศวกรรมและเทคโนโลยีมีนักศึกษาไทยเรียนต่อ 11.5% สาขาสังคมศาสตร์ 7% สาขากฎหมาย 6.4% และสาขาการออกแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ 5%

    สถิตินักเรียนไทยศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2560/61 (photo: บริติช เคานซิล ประเทศไทย)

    อุไรวรรณกล่าวต่อว่า ภาคการศึกษายังเป็นสิ่งที่รัฐบาลอังกฤษให้ความสำคัญ ปีนี้รัฐบาลจึงนำ Post-study Work Visa กลับมาใช้อนุมัติอีกครั้ง โดยนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เริ่มเรียนปีการศึกษา 2563 (เปิดเทอมกันยายน 2563) จะมีสิทธิขอวีซ่านี้ เพื่อที่หลังเรียนจบได้รับอนุญาตให้อาศัยและหางานทำใน UK ต่ออีก 2 ปี

    เป้าประสงค์ของรัฐบาลอังกฤษนั้น เพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถให้ทำงานและอาศัยอยู่ระยะยาวต่อไปในประเทศ จุดสำคัญคือช่วงหลังเรียนจบ ปกติแล้วนักศึกษาจะมีเวลาหางานทำเพียง 4 เดือน เมื่อขยายให้เป็น 2 ปีจึงเปิดโอกาสให้บัณฑิตมากขึ้น และคาดว่าจะช่วยดึงนักศึกษาทั่วโลกเข้าเรียนที่อังกฤษ 6 แสนคนภายในปี 2573

     

    ครูภาษาอังกฤษไทย ทักษะภาษายังอยู่ในระดับประถม

    มาที่พันธกิจการส่งเสริมความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับคนไทยของบริติช เคานซิล แน่นอนว่าการเรียนภาษา “ครู” คือกุญแจสำคัญของการเรียนรู้ ทำให้ที่ผ่านมาบริติช เคานซิลมี โปรแกรมบูทแคมป์ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เปิดอบรมครูไทยไปแล้ว 17,000 คน โดยคุณครูเหล่านี้จะเป็นครูแม่แบบที่ช่วยถ่ายทอดความรู้ให้กับครูคนอื่นๆ ด้วย

    อย่างไรก็ตาม บริติช เคานซิลพบว่า 75% ของครูภาษาอังกฤษในไทยระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษาทั้งประเทศ มีค่าเฉลี่ยทักษะภาษาอังกฤษในระดับ A2 หรือต่ำกว่า ระดับดังกล่าวถือว่าเป็นผู้มีทักษะเพียงระดับ “พื้นฐาน” หากเทียบกับการสอบ IELTS เท่ากับได้คะแนน IELTS 3.0-4.0 เท่านั้น ซึ่งปกติแล้วนักเรียนท้องถิ่นในอังกฤษจะต้องสอบ IELTS ได้ในระดับ 4.5 ขึ้นไปจึงจะสามารถเข้าเรียนไฮสกูลได้

    ผลการทดสอบดังกล่าวทำให้งานของบริติช เคานซิลยังต้องพัฒนาต่อไป โดยกลาสเปิดเผยว่าทางสถาบันได้ติดต่อกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทยแล้วเพื่อเสนอโครงการจัดอบรมว่าที่ครูไทย นั่นคือกลุ่มนักศึกษาราชภัฏที่ศึกษาด้านครุศาสตร์

    แนวคิดพื้นฐานจะเป็นคอร์สเสริมทักษะภาษาอังกฤษก่อนเรียนจบ และจัด การเรียนการสอนที่เน้นการฟัง-พูด มากกว่าแกรมมาร์ เป็นวิธีการเรียนแบบใหม่เน้นการนำไปใช้ได้จริง เพื่อให้นักศึกษามีไอเดียปรับเปลี่ยนวิธีการสอนภาษาอังกฤษแบบดั้งเดิมให้เหมาะสมมากขึ้น

     

    ]]>
    1263197