ศูนย์คัดแยกสินค้า – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 17 Dec 2019 08:42:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 บุกส่องสายพาน “ศูนย์คัดแยกสินค้า” Lazada ทำอย่างไรให้ส่งไว ใช้เวลาน้อยกว่า 1 วัน https://positioningmag.com/1257247 Tue, 17 Dec 2019 08:27:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1257247 มาร์เก็ตเพลซจากจีนรายนี้เพิ่งลงทุนเกือบ 1 พันล้านบาท สร้าง “ศูนย์คัดแยกสินค้า” Lazada แห่งใหม่ย่านสุขสวัสดิ์ ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทลูก LEL Express ที่เคลมว่า หลังจากเปิดศูนย์ฯ แห่งใหม่นี้ขึ้นมา ถ้าผู้ขายจัดส่งพัสดุสินค้าให้เจ้าหน้าที่ก่อนเที่ยงวัน ของจะไปถึงคนซื้อด้วยความเร็วเฉลี่ย 0.8 วัน (19.2 ชั่วโมง) ในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล และภาคตะวันออก

ศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada สุขสวัสดิ์เปิดพื้นที่ใหญ่กว่าศูนย์ฯ เดิมย่านปู่เจ้าสมิงพรายถึง 8 เท่า ด้วยพื้นที่ใช้สอย 24,624 ตร.ม. หรือประมาณสนามฟุตบอล 3 สนามรวมกัน พร้อมด้วยระบบเครื่องจักรใหม่ที่ทำให้การทำงานเร็วขึ้น สามารถคัดแยกสินค้าได้สูงสุด 36,000 ชิ้นต่อชั่วโมง

ความไวระดับนี้ทำให้ Positioning ขอพาทุกคนไปชมเบื้องหลังว่า ก่อนพัสดุจะมาถึงมือเราเขาคัดแยกกันอย่างไรบ้าง! (อ่านรายละเอียดทั้งหมดด้านล่างอินโฟกราฟิก)

 

รับของจากผู้ขาย

เริ่มจากขั้นตอนก่อนจะมาถึงศูนย์คัดแยกสินค้า รถของ LEL จะไปรับของมาจาก 3 ส่วนหลักๆ คือ 1.ร้านรีเทลของผู้ขาย (ต้องมีสินค้า 15 ชิ้นขึ้นไปต่อรอบ) 2.จุด drop-off ที่ผู้ขายมาส่งไว้ (กรณีมีสินค้าน้อยกว่า 15 ชิ้น ผู้ขายต้องมา drop-off เอง) และ 3.โกดังสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ กลุ่มสินค้าที่เรากดสั่ง Taobao หรือผู้ขายจีนก็จะมาผ่านระบบของ LEL นี่เอง พัสดุเหล่านี้ ผู้ขายจะทำการ pick & pack มาแล้ว คือติดบาร์โค้ดจากระบบ Lazada เสร็จสรรพ พร้อมเข้าเครื่องแยกสินค้า

ศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada
รถขนส่งของ LEL Express

เมื่อรับของมาแล้วรถก็จะมาส่งภายในศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada ซึ่งแบ่งออกเป็นอีก 3 ขั้นตอนคัดแยก คือ 1.รับของเข้า (inbound) 2.คัดแยกของ (sortation) และ 3.ส่งของออก (outbound)

 

รับของเข้า (inbound)

ส่วนรับของเข้า (inbound)

เมื่อรถมาถึงแล้วก็จะมานำส่งของเข้าที่ส่วน “รับของเข้า” ตรงนี้จะมีพนักงานขนลงจากรถ ส่งต่อให้พนักงานประจำสายพาน พนักงานจะคัดของแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

กลุ่ม A เป็นกลุ่มพัสดุที่ขึ้นสายพานได้ มีขนาดไม่เกิน 60 ซม. หนักไม่เกิน 15 กก. และเป็นทรงสี่เหลี่ยมธรรมดา คิดเป็นประมาณ 70%

กลุ่ม B คือกลุ่มที่เหลืออีกราว 30% จะถือเป็นกลุ่มพัสดุไม่ปกติ เพราะมีขนาดใหญ่มาก หนักมาก เล็กมาก หรือลักษณะเป็นซอง เป็นทรงกลม หรือรูปร่างแปลกๆ ที่ขึ้นสายพานไปผ่านเซ็นเซอร์อัตโนมัติไม่ได้

 

คัดแยกของ (sortation)

สำหรับกลุ่ม A กลุ่มพัสดุปกติ จะวิ่งไปตามสายพานเพื่อไปส่วน “คัดแยกของ” ด้วยเซ็นเซอร์อัตโนมัติ กลุ่มนี้จะถูกแยกเป็นสองกลุ่มอีกครั้ง คือ

ของชิ้นใหญ่กว่า 34 ซม. เมื่อคัดแยกตามเขตแล้วพนักงานจะนำลงตะแกรงล้อเลื่อนเพื่อเตรียมนำไปขึ้นรถขนส่ง

กลุ่ม A1 พัสดุไซส์ใหญ่กว่า 34 ซม. เมื่อใช้เครื่องยิงอ่านบาร์โค้ด สายพานจะคัดของแยกตามเขตจังหวัดต่างๆ เช่น บางนา 2 ช้างคลาน 1 ลำพูน 1 สระบุรี 2 อยุธยา 5 พนักงานจะมารับของเหล่านี้ไปใส่ตะแกรงพักรอขึ้นรถ

ศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada
กลุ่มของไซส์เล็กกว่า 34 ซม. จะคัดแยกลงถุงตามรหัสไปรษณีย์

กลุ่ม A2 พัสดุไซส์เล็กกว่า 34 ซม. เครื่องอ่านบาร์โค้ดจะคัดได้ละเอียดไปถึงรหัสไปรษณีย์ และเครื่องจักรอัตโนมัติจะปัดพัสดุลงถุงตามรหัสไปรษณีย์ พร้อมสำเร็จรูป ไปถึงฮับกระจายสินค้า (DC) ปลายทางก็ให้พนักงานส่งของแกะถุงไปส่งตามบ้านได้เลย ไม่ต้องคัดอีกรอบ เมื่อเต็มถุงแล้ว พนักงานจะมารวมถุงไปพักรอขึ้นรถเช่นกัน

กลับไปที่ กลุ่ม B จากส่วนรับของเข้า กลุ่มพัสดุไม่ปกติทั้งหลายนี้ต้องใช้ “คน” ล้วนๆ ในขั้นตอนการคัดแยกสถานที่จัดส่ง ก่อนจะนำไปรวมกลุ่มกับพัสดุที่ใช้สายพานเซ็นเซอร์แยกมาแล้วนั่นเอง

 

นำของออก (outbound)

ศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada
แยกเขตพร้อมรอนำส่ง

หลังจากนั้นพัสดุทั้งหมดที่คัดแยกตามเขตจัดส่งแล้วก็รอขนขึ้นรถ “นำของออก” ไปส่งที่ DC ปลายทาง ปัจจุบัน Lazada มีรถขนส่งทั้งของบริษัท LEL เอง และบางส่วนยังต้องขอความร่วมมือจากพาร์ตเนอร์ภายนอก ได้แก่ Kerry, DHL, CJ Express มาช่วยขนด้วย จากข้อมูลของ LEL ระบุว่าขณะนี้มีสินค้าเข้าเฉลี่ยวันละ 140,000 ชิ้น แบ่งเป็น LEL จัดส่งเอง 100,000 ชิ้น และมีพาร์ตเนอร์มาช่วยขนอีก 40,000 ชิ้น

ส่วน DC ปลายทาง ที่ใช้กระจายสินค้าต่อไปถึงมือผู้รับจริงๆ มีอยู่ทั้งหมด 57 แห่ง แบ่งเป็นในกทม.-ปริมณฑล 30 แห่ง และต่างจังหวัด 30 แห่ง ส่วนใหญ่ยังอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเป็นหลัก

 

มีเครื่องจักรแล้วก็ยังต้องใช้คน?

ภาพรวมภายใน ศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada

เนื่องจากยังมีพัสดุถึง 30% ที่ใช้สายพานไม่ได้ และยังมีขั้นตอนการนำของขึ้น-ลงจากรถ ขั้นตอนจัดเรียงพัสดุบนสายพานให้เว้นระยะห่างและเป็นระเบียบพร้อมผ่านเซ็นเซอร์ ไปจนถึงการขนของขึ้นลงจากสายพาน ทำให้ศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada ยังต้องใช้คนจำนวนมากพอสมควร โดยทั่วไปช่วงวันปกติที่มีพัสดุเข้าเฉลี่ย 140,000 ชิ้นต่อวัน พนักงานจะทำงาน 3 กะต่อวัน รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง รวมพนักงานทุกกะประมาณ 200 คน

แต่ช่วงใดก็ตามที่มีแคมเปญอย่าง 9.9 / 11.11 / 12.12 พัสดุเข้าจะเพิ่มเท่าตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 300,000 ชิ้นต่อวัน ดังนั้นทาง LEL จะเรียกพนักงานเสริมพิเศษอีก 700 คน รวมเป็น 900 คน!! และทำงานแบบ 24 ชั่วโมงติดกัน 10 วัน ในช่วงก่อนและหลังเริ่มจัดแคมเปญ

ที่ต้องระดมพลเยอะแบบนี้เพื่อระบายจัดส่งของออกไปให้เร็วที่สุด แข่งขันกับทั้งมาร์เก็ตเพลซและบริษัทจัดส่งอื่นๆ ให้ลูกค้าได้รับของโดยเร็วที่สุดนั่นเอง

 

]]>
1257247
ความไวคือปีศาจ! Lazada ลงทุน 1 พันล้านสร้าง “ศูนย์คัดแยกสินค้า” ติดสปีดจัดส่งเหลือ 0.8 วัน https://positioningmag.com/1256777 Thu, 12 Dec 2019 16:20:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1256777 แพลตฟอร์มมาร์เก็ตเพลส นอกจากจะวัดกันเรื่องคุณภาพสินค้า ราคาที่ห้ำหั่นกันอย่างดุเดือด อีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยสร้างความประทับใจให้ทั้งผู้ซื้อผู้ขายคือ “ความเร็วในการจัดส่ง” โดย Lazada เลือกกลยุทธ์สร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ด้วยตนเองผ่านบริษัทลูก LEL Express ล่าสุดลงทุนเกือบ 1 พันล้าน ขยายฐานทัพ “ศูนย์คัดแยกสินค้า” ย่านสุขสวัสดิ์ รองรับการคัดแยกพัสดุได้สูงสุด 36,000 ชิ้นต่อชั่วโมง จัดส่งถึงมือลูกค้ากทม.ภายใน 0.8 วัน หวังปูทางอนาคตขยับเป็น Same-Day Delivery

ปัจจุบันการจัดส่งของ Lazada แบ่งสัดส่วนตามจำนวนชิ้นพัสดุ 65% นั้นจัดส่งโดยบริษัทภายนอก (Third Party) เช่น Kerry, DHL, CJX แต่ที่เหลือ 35% จะเข้าระบบจัดส่งของ LEL Express บริษัทลูกที่ Lazada ตั้งขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน โดยหวังว่าอัตราส่วนนี้จะขยับขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

“สุทธิโรจน์ ทรัพย์สมบัติ” ผู้จัดการอาวุโส ศูนย์คัดแยกสินค้า ลาซาด้า เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันระบบและทีมงานของ LEL ขยายตัวขึ้นโดยมีความสามารถในการจัดการพัสดุดังนี้

  • รถรับส่งพัสดุ 2,335 คัน
  • รับสินค้าจากร้านค้า (First-Mile) มาที่ศูนย์คัดแยกสินค้าได้เฉลี่ย 140,000 ชิ้นต่อวัน
  • ศูนย์คัดแยกสินค้าสามารถรองรับได้สูงสุด 36,000 ชิ้นต่อชั่วโมง
  • จัดส่งสินค้าให้ผู้รับ (Last-Mile) ทำได้เฉลี่ย 100,000 ชิ้นต่อวัน
  • ฮับกระจายสินค้า (DC) ขนาดใหญ่ 50 แห่ง (ในกทม.และปริมณฑล 30 แห่ง ต่างจังหวัด 20 แห่ง) และฮับขนาดเล็กอีก 7 แห่ง
การเติบโตของ LEL Express ในช่วง 4 ปีแรก

ลงทุน “ศูนย์คัดแยกสินค้า” แห่งใหม่ 1 พันล้าน

ไฮไลต์ความเคลื่อนไหวล่าสุดที่ทำให้ LEL เพิ่มกำลังการจัดส่งได้มากขึ้น มาจากการเปิด ศูนย์คัดแยกสินค้า แห่งใหม่ย่านสุขสวัสดิ์ (ย้ายจากจุดเดิมย่านปู่เจ้าสมิงพราย) เปิดทำการเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2562

ศูนย์ฯ นี้มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าเดิม 8 เท่า คือ 24,624 ตร.ม. และมีการใช้เทคโนโลยีสายพานคัดแยกใหม่ๆ เช่น Tilt Tray, Wave Sorter, Shoes Sorter ทำให้รองรับพัสดุได้มากกว่าเดิม 3 เท่าคือสูงสุดที่ 36,000 ชิ้นต่อชั่วโมง เป็นศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada ที่ใหญ่ที่สุดเทียบกับศูนย์ฯ อื่นของบริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม

ขนาดพื้นที่และกำลังการรองรับพัสดุของศูนย์คัดแยกสินค้า LEL ที่ปู่เจ้าสมิงพรายกับที่ใหม่ย่านสุขสวัสดิ์

ศูนย์คัดแยกสินค้าสุขสวัสดิ์ลงทุนไปเกือบ 1 พันล้านบาทสำหรับเฟสแรก ใช้พื้นที่ไปแล้ว 60% ซึ่งสุทธิโรจน์กล่าวว่า ยังสามารถขยายไลน์คัดแยกสินค้าได้อีก หากใช้เต็มพื้นที่จะรองรับได้สูงสุด 96,000 ชิ้นต่อชั่วโมง

ศูนย์คัดแยกสินค้า
ศูนย์คัดแยกสินค้า Lazada

นอกจากจะรับของได้มากแล้ว ยังทำความเร็วการจัดส่งจากผู้ขายถึงผู้รับเร็วขึ้นเป็น 0.8 วัน (*เฉพาะการจัดส่งใน กทม. ปริมณฑล และจังหวัดใกล้เคียงทางภาคตะวันออก และร้านค้าผู้ขายต้องบรรจุและส่งของให้พนักงานภายในเวลา 12.00 น.) ซึ่งสุทธิโรจน์ชี้ว่า หากเปรียบเทียบกับการให้ Third Party บริหารจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 วัน และเชื่อว่ามาร์เก็ตเพลซอื่นๆ ยังต้องใช้เวลามากกว่า 1 วันในการจัดส่ง สะท้อนว่า หน่วยงาน LEL มีความจำเป็นกับ Lazada ในการบริการจัดส่งที่รวดเร็วทันใจ

ศูนย์คัดแยกสินค้า
เทคโนโลยี Tilt Tray ช่วยแยกสินค้าอัตโนมัติ

“ข้อดีอื่นนอกจากความเร็ว คือ เมื่อเป็นหน่วยงานของเราเองทำให้คุมเรื่องบริการได้ สามารถควบคุมให้คนรับของจากผู้ขายและส่งของให้ผู้ซื้อมีมารยาทที่ดี ตลอดกระบวนการมีการดูแลพัสดุไม่ให้บุบหักเสียหาย” สุทธิโรจน์กล่าว

ปี 2563 เพิ่มฮับอีก 10 แห่ง เร่งความเร็วเป็น 0.7 วัน

ดังที่กล่าวไปว่า LEL ต้องการขยายต่อเนื่อง ลดการพึ่งพิงระบบโลจิสติกส์ของ Third Party ซึ่งหากดูจากฮับกระจายสินค้าและศูนย์คัดแยกสินค้าขณะนี้ LEL ยังปักหลักในกทม.เป็นหลัก จึงยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ สุทธิโรจน์กล่าวว่า ปีหน้านี้ LEL จึงวางแผนเปิดฮับเพิ่มอีก 10 แห่งโดยยังไม่เปิดเผยเขตพื้นที่หรือจังหวัด แต่การตั้งฮับจะเลือกจากจุดที่มีการสั่งซื้อของจำนวนมาก คุ้มค่าที่จะลงทุน

ขณะที่ความเร็ว ตั้งเป้าหมายจะปรับระบบให้ไวขึ้นเป็นการส่งถึงมือภายใน 0.7 วัน (*ตามเงื่อนไขพื้นที่จัดส่งข้างต้น) ส่วนต่างจังหวัด เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ยังมีเป้าหมายส่งถึงมือภายใน 2 วัน

สุทธิโรจน์ ทรัพย์สมบัติ ผู้จัดการอาวุโส ศูนย์คัดแยกสินค้า ลาซาด้า เอ็กซ์เพรส ประเทศไทย

ส่วนการขยายไลน์ในศูนย์คัดแยกสินค้านั้นยังไม่มีแผน เพราะปัจจุบันใช้กำลังคัดแยกสินค้าเฉลี่ย 22,000 ชิ้นต่อชั่วโมง จึงยังเหลือพื้นที่เพียงพอสำหรับปีหน้า

สุทธิโรจน์บอกว่า เป้าหมายระยะยาวของโลจิสติกส์ ต้องการจะปรับเวลาให้เหลือ 0.5 วัน เท่ากับเป็นการส่งแบบ Same-Day Delivery สั่งเช้าได้เย็น แต่ทั้งนี้ จะต้องขอความร่วมมือกับร้านค้าให้หยิบและแพ็กของส่งตามเวลาที่กำหนดจึงจะสำเร็จ

ระบบของ LEL Express ขณะนี้ยังรับบริการเฉพาะสินค้า Lazada เท่านั้น แต่อนาคตข้างหน้าหากระบบจัดการได้มีประสิทธิภาพและมีกำลังเหลือสำหรับรับงานภายนอก เราอาจเห็นหน่วยธุรกิจนี้ลุกขึ้นมาแข่งกับ Kerry หรือ DHL ก็ได้!

]]>
1256777