สตาร์บัคส์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 11 Dec 2024 13:48:02 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 จับตาการเทกออฟของ OR ในปี 68 ที่ชู ‘ธุรกิจไลฟ์สไตล์’ เป็นดาวรุ่ง และผลักดัน ‘คาเฟ่ อเมซอน’ สู่ตลาดต่างประเทศให้เหมือน ‘สตาร์บัคส์’ https://positioningmag.com/1502792 Wed, 11 Dec 2024 06:18:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1502792 กำลังก้าวสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านสำคัญอีกครั้ง สำหรับ OR หรือ ‘บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)’ หลังจาก ‘ดิษทัต ปันยารชุน’ ครบวาระการทำงานในฐานะ ซีอีโอ OR ในวันนี้ (11 ธ.ค. 2567) ซึ่งก่อนหน้าที่จะหมดวาระเขาได้พูดถึงทิศทางการเติบโตของ OR ในอนาคตในหลายประเด็น โดยฟันธงว่า ปี 2568 จะเป็นปีแห่งการลงทุน และเทกออฟของ OR

 

แล้วธุรกิจอะไรจะเข้ามาเป็นตัวขับเคลื่อนให้เห็นภาพที่ว่า?

 

คำตอบคือ ‘ธุรกิจไลฟ์สไตล์’ ที่ทางดิษทัตบอกว่า จะเป็นดาวรุ่งสำหรับ OR ด้วยเหตุผล 1.เป็นธุรกิจที่มีช่องว่างให้เติบโตได้อีกมาก และ 2.ในปีนี้ได้มีเคลียร์พอร์ต ‘ตัด’ ธุรกิจไม่ก่อให้เกิดรายได้และกำไรที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตของกลุ่มธุรกิจนี้ออกไปแล้ว 5-6 ตัว นั่นหมายถึงโอกาสและศักยภาพการลงทุนในธุรกิจไลฟ์สไตล์ของ OR จะมีมากขึ้น

 

โดยธุรกิจที่ได้ตัดออกไปจากพอร์ต ได้แก่ ธุรกิจไก่ทอด ‘เท็กซัส ชิคเก้น’, ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่น ‘โคเอ็น’, แอปพลิเคชันด้านอะไหล่รถยนต์ FIXX, ‘ลงทุนแมน’ และ OR CHINA บริษัทที่ดำเนินการคาเฟ่ อเมซอนในประเทศจีน

 

รวมถึงได้มีการทบทวนแผนลงทุนใน Orbit Digital บริษัทพัฒนาด้านดิจิทัล เทคโนโลยี ที่ทาง OR ร่วมลงทุนกับ ‘บลูบิค กรุ๊ป’ ภายใต้โจทย์ จะทำอย่างไรให้บริษัทแห่งนี้เป็นที่รู้จัก และมี Value มากขึ้น เพราะในอนาคต OR ต้องการให้ Orbit Digital เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์

 

“ก่อนจะถอยหรือตัดธุรกิจอะไรออกไป จะมีการมอนิเตอร์ และอัดฉีดเงินเข้าไปในช่วง 8 เดือน ดูว่า จะฟื้นหรือกระเตื้องหรือไม่ ถ้าไม่ ก็ต้องเอาออก อย่างเท็กซัส ชิกเก้น มันพิสูจน์มาสิบปีแล้วไม่มีกำไร ส่วนธุรกิจกาแฟในจีน เราสู้ไม่ได้ เพราะบิสิเนสโมเดลของที่นั้นเป็นการเผาเงิน เราไม่อยากทำแบบนั้น”

 

การตัดธุรกิจไม่ก่อรายได้และกำไรออกจากพอร์ต จะส่งผลให้ EBITDA Margin ในปี 2568 ของ OR ปรับเพิ่มขึ้นจาก 27% เป็น 30% แต่สิ่งสำคัญหลังจากอุดรูรั่วที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตแล้ว คือ ในปีหน้าต้องมีการลงทุนในธุรกิจไลฟ์สไตล์เพิ่ม และต้องเป็นการลงทุนในตัวใหญ่ ๆ ให้ได้ ซึ่งตามไปป์ไลน์จะมีลงทุนเพิ่มอีก 2-3 ธุรกิจ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้

 

“คอนเซ็ปต์ลงทุนของเราต่อไปจะต้อง ‘เล็ก ๆ ไม่ ใหญ่ ๆ เอา’ เพราะเมื่อลงทุนธุรกิจเล็ก เราเจ็บตัวทุกครั้ง เพราะ SME ไม่สามารถสเกลอัพขึ้นไม่ได้ และไม่มีอิมแพคต่อ OR คือ ลงทุนร้อยล้าน แต่เราเป็นธุรกิจแสนล้าน มันไม่เวิร์ก”

เดินหน้าบุก Beauty & Wellness

สำหรับธุรกิจไลฟ์สไตล์ที่ OR ได้เพิ่มเข้ามาในพอร์ตแล้วในปีนี้ ก็คือ found&found ร้าน Beauty & Wellness ภายใต้แนวคิด SIMPLE . EASY. EVERYSKIN ที่จะคัดสรรผลิตภัณฑ์และแบรนด์ชั้นนำจากไทย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ที่มีราคาเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นธุรกิจที่หลายคนอาจสงสัยว่า เป็นธุรกิจที่ ‘ใช่’ สำหรับ OR หรือไม่

 

ดิษทัตยืนยันว่า ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่เป็นอนาคต และถือเป็นการก้าวออกไปจาก Comfort Zone ของ OR เพราะเป็นธุรกิจที่ตอบสนองกับเทรนด์สุขภาพที่กำลังมาแรง ประกอบกับสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันที่กำลังจะเข้าสู่ Ageing society อย่างสมบูรณ์แบบในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

 

นอกจากนี้ Beauty & Wellness ยังไม่มีเจ้าของตลาดชัดเจน ซึ่ง OR เองมีศักยภาพและความพร้อมในเรื่อง ‘เงินทุน’ สำหรับบุกตลาดนี้ โดยตอนนี้ร้าน found&found มีด้วยกัน 5 สาขา ได้แก่ สาขา EnCo ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์, สาขา พีทีที สเตชั่น สายไหม 56, สาขา พีทีที สเตชั่น บรมราชชนนี 97, สาขา OR Space รามคำแหง 129 และศูนย์การค้าแพชชั่น ช้อปปิ้งเดสติเนชั่น ระยอง

 

ส่วนแผนที่จะผลักดันให้ร้าน found&found สร้างอิมแพ็คและมีการเติบโตได้ดี ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2568 ทาง found&found จะมีการไปลงทุนกับพาร์ทเนอร์รายใหญ่ และขยายสาขาต่อเนื่องให้ครบ 10 สาขา ภายในปี 2568

 

‘คาเฟ่ อเมซอน’ ต้องลุยต่างประเทศให้เหมือน ‘สตาร์บัคส์’ ถึงอยู่รอด

 

ขณะที่ ‘คาเฟ่ อเมซอน’ เรือธงหลักของธุรกิจไลฟ์สไตล์ที่ดำเนินธุรกิจมานาน 22 ปี โดยปัจจุบันมีสาขาในประเทศมากกว่า 4,500 สาขา และในต่างประเทศ 400-500 สาขา ถือเป็นเชนร้านกาแฟใหญ่ที่สุดอันดับ 6 ของโลก จะต้องพยายามไปขยายสาขาในต่างประเทศให้มากขึ้นเหมือนกับ ‘สตาร์บัคส์’

 

หากไม่สามารถทำได้ ดิษทัตบอกว่า ในอีก 5 ปี ธุรกิจจะ ‘ไปไม่รอด’ เพราะปัจจุบันตลาดร้านกาแฟในประเทศล้น จนขยายสาขาใหม่ได้ยากแล้ว 

 

“กว่า 20 ปีที่ผ่านมา คาเฟ่ อเมซอน เป็นธุรกิจที่ทำได้ดีมาก มียอดขายมากกว่า 1 ล้านแก้วต่อวัน แต่มาถึงตอนนี้ความดีนั้นต้องมีการปรับ เพื่อให้เติบโตได้ดียิ่งขึ้นไปอีก ที่ผ่านมาเราพยายามมองตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำ เช่น เริ่มดำเนินการโรงผลิตแก้ว ช่วงไตรมาส 4 ปี 2568 และต้องจัด World Coffee Seminar พัฒนาด้านต่าง ๆ เพื่อให้แตกต่างจากคู่แข่งที่ตามเรามา”

ความจริงการชูธุรกิจไลฟ์สไตล์ ให้เป็นดาวรุ่งสร้างการเติบโต เป็นสิ่งที่สอดคล้องกับเป้าหมายของ OR ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง นั่นคือ การผลักดันสัดส่วนของธุรกิจ Non-oil ให้มีสัดส่วนใกล้เคียงกับรายได้จากธุรกิจหลักและเป็นธุรกิจรากฐานของ OR นั่นคือกลุ่ม oil

 

อย่างไรก็ตาม ความชัดเจนทั้งหมด ตั้งแต่ทิศทาง กลยุทธ์ และงบลงทุน คงต้องรอทาง ซีอีโอ คนใหม่ของ OR  ‘ม.ล. ปีกทอง ทองใหญ่’ ที่จะเข้ามารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในวันพรุ่งนี้ (12 ธ.ค. 2567) มาแถลงอีกครั้ง โดยคาดว่า จะเกิดขึ้นช่วงเดือน ม.ค.หรือ ก.พ.2568

 

 

 

 

 

 

]]>
1502792
“สตาร์บัคส์” ยืนยันบริษัทแม่เปลี่ยนซีอีโอยังไม่กระทบนโยบายเมืองไทย โปรฯ “1 แถม 1” ยังจัดต่อ https://positioningmag.com/1496314 Tue, 29 Oct 2024 12:11:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1496314
  • สตาร์บัคส์เมืองไทย ยังคงการจัดโปรฯ1 แถม 1 วิสัยทัศน์ซีอีโอบริษัทแม่ยังไม่กระทบถึงไทย
  • ปี 2567 จ่อเปิดครบ 522 สาขา โดย 3 สาขาใหม่ล่าสุดเปิดบริการใน “วัน แบงค็อก”
  • เปิดสาขาพิเศษ “Greener Store” ที่ใหญ่ที่สุดในไทย สาขาแรกที่สนับสนุนให้ลูกค้าทำความสะอาดและ “แยกขยะ” ณ จุดทิ้ง
  • “เนตรนภา ศรีสมัย” กรรมการผู้จัดการ สตาร์บัคส์ ประเทศไทย ตอบคำถามผู้สื่อข่าวถึงประเด็นการเปลี่ยนซีอีโอคนใหม่ “ไบรอัน นิคโคล” ของบริษัทแม่ Starbucks ที่สหรัฐอเมริกา โดยนิคโคลมีการแสดงวิสัยทัศน์ถึงแนวทางบริหารในอนาคตจะทำให้ร้าน Starbucks กลับมาเป็นร้านกาแฟระดับพรีเมียม จะมีการยกเลิกหรือลดโปรโมชัน 1 แถม 1 ในสหรัฐฯ

    เนตรนภากล่าวตอบถึงเรื่องนี้ว่า นโยบายการบริหาร “สตาร์บัคส์” ที่เมืองไทยขณะนี้ยังคงเหมือนเดิม เพราะวิสัยทัศน์ในภาพกว้างของไบรอัน นิคโคลสอดคล้องกับที่สตาร์บัคส์ ประเทศไทยปฏิบัติมายาวนาน นั่นคือการให้ความสำคัญกับคุณภาพกาแฟ การเป็นแบรนด์ที่สร้างแรงบันดาลใจ และการบริการที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน (human connection)

    ส่วนโปรโมชัน 1 แถม 1 ซึ่งในเมืองไทยก็มีการจัดแคมเปญอยู่บ่อยครั้ง เนตรนภากล่าวว่ายังไม่มีนโยบายที่จะยกเลิก เพราะมองว่าที่ไทยไม่ได้มีการจัดบ่อยจนเกินไป จะจัดแคมเปญลักษณะนี้เมื่อต้องการดึงลูกค้าให้กลับมาคิดถึงแบรนด์เป็นระยะๆ เท่านั้น

    Positioning รายงานจากสื่อประชาสัมพันธ์ของสตาร์บัคส์ ล่าสุดเพิ่งจะเริ่มแคมเปญ 1 แถม 1 รอบใหม่ระหว่างวันที่ 28 ต.ค. 67 – 3 พ.ย. 67 และหากย้อนกลับไปในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาจะพบว่าสตาร์บัคส์ไทยมักจะจัดแคมเปญ 1 แถม 1 ทุกๆ ต้นเดือน แต่ระยะเวลาจำนวนวันที่จัดจะต่างกัน และจำนวนเมนูที่อยู่ในรายการแถมก็แตกต่างกันเช่นกัน

     

    เปิดรวดเดียว 3 สาขาที่ “วัน แบงค็อก”

    ด้านความเคลื่อนไหวในการเปิดสาขาใหม่ของสตาร์บัคส์ เนตรนภาระบุว่าปัจจุบันสตาร์บัคส์มีทั้งหมด 517 สาขาในไทย และคาดว่าภายในสิ้นปี 2567 นี้จะได้เปิดเพิ่มอีก 5 สาขา รวมเป็น 522 สาขา

    สตาร์บัคส์
    สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ วัน แบงค็อก ชั้น G ฝั่ง The Storeys

    ในกลุ่มสาขาที่เปิดตัวหมาดๆ คือสตาร์บัคส์ 3 สาขาที่เปิดในอภิมหาโปรเจ็กต์ “วัน แบงค็อก” ได้แก่ สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ แฟลกชิป สโตร์ที่ชั้น G ฝั่ง The Storeys, สตาร์บัคส์ ชั้น 3 ฝั่ง The Parade และ สตาร์บัคส์ ชั้น B1 ฝั่ง The Parade

    ดังที่ทราบกันว่าสิทธิ์แฟรนไชส์ “สตาร์บัคส์” ในไทยเปลี่ยนมือมาสู่บริษัท “Coffee Concepts Thailand” บริษัทร่วมทุนระหว่างเครือของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี กับบริษัท Maxim’s Caterers จากฮ่องกง มาตั้งแต่ปี 2562 ขณะที่โครงการ วัน แบงค็อก ก็คือโครงการมิกซ์ยูสของ เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ ลิมิเต็ด ในเครือตระกูลสิริวัฒนภักดีอีกเช่นกัน ความร่วมมือระหว่างพอร์ตธุรกิจในมือจึงต้องจัดใหญ่และเต็มที่แน่นอน

     

    “สตาร์บัคส์” สายกรีนที่ใหญ่ที่สุดในไทย

    ไฮไลต์ของสตาร์บัคส์สาขาใหม่ในวัน แบงค็อก คือ สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ ในโซนศูนย์การค้าฝั่ง The Storeys เพราะถือเป็นสาขาระดับ “แฟลกชิป สโตร์” แห่งที่ 4 ในไทยของสตาร์บัคส์ ต่อจากสาขาไอคอนสยาม, เซ็นทรัลเวิลด์ และสยามสแควร์วัน รวมถึงสาขานี้ยังเป็น “Greener Store” ที่ใหญ่ที่สุดของสตาร์บัคส์ไทยด้วยพื้นที่กว้าง 860 ตารางเมตร เป็นสตาร์บัคส์ 2 ชั้นที่จุลูกค้าได้มากกว่า 230 ที่นั่ง พร้อมห้องประชุมในตัว 2 ห้อง

    Greener Store ที่มีการใช้ระบบ Smart Lighting

    “ธนาศักดิ์ กุลรัตนรักษ์” ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ สตาร์บัคส์ ประเทศไทย ระบุว่าข้อกำหนด Greener Store ของสตาร์บัคส์จะเกี่ยวข้องกับหลายด้าน เช่น ลดการใช้น้ำ ลดการใช้ไฟฟ้า ลดขยะ ยกตัวอย่างในสาขานี้มีการนำระบบ Smart Lighting เข้ามาใช้งาน เป็นการปรับแสงไฟในร้านอัตโนมัติให้สอดคล้องกับปริมาณแสงธรรมชาติจากภายนอกกระจก ทำให้ประหยัดไฟเพราะไม่ต้องเปิดไฟสว่าง 100% ตลอดทั้งวัน

    ด้าน “จุฑาทิพย์ เก่งมานะ” ผู้จัดการด้านผลกระทบทางสังคมและความยั่งยืน สตาร์บัคส์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า สาขานี้คือสาขาแรกในไทยที่มีการลงระบบ “ล้างแก้ว-แยกขยะ” ในคอนดิเมนต์ บาร์ รณรงค์ให้ลูกค้าเทน้ำทิ้ง ล้างแก้วและฝาพลาสติกของเครื่องดื่มเย็นให้สะอาด ก่อนจะทิ้งลงถังรีไซเคิล เพราะปกติแล้วแก้วพลาสติกที่จะนำไปรีไซเคิลได้จะต้องผ่านการล้างทำความสะอาดมาก่อน

    สตาร์บัคส์
    ระบบ “ล้างแก้ว-แยกขยะ” ในคอนดิเมนต์ บาร์ รณรงค์ให้ลูกค้าเทน้ำทิ้ง ล้างแก้วและฝาพลาสติกของเครื่องดื่มเย็นให้สะอาด ก่อนจะทิ้งลงถังรีไซเคิล

    จุฑาทิพย์กล่าวด้วยว่า ในปีนี้หลังจากความกังวลด้านสถานการณ์โควิด-19 เริ่มผ่อนคลายลง สตาร์บัคส์ไทยจึงมีการกลับมาสนับสนุนให้ลูกค้านำแก้วส่วนตัว (Personal Cup) มารับเครื่องดื่มพร้อมส่วนลด 10 บาทต่อแก้ว ทำให้ปีนี้สัดส่วนการใช้แก้วของลูกค้า 20% จะเลือกใช้แก้วส่วนตัว 40% เลือกแก้วสำหรับทานในร้าน (for here) และ 40% เลือกแก้วแบบใช้แล้วทิ้ง (to-go) ซึ่งกลุ่มหลังนี้เองที่ต้องการสนับสนุนให้มีการรีไซเคิลเต็มรูปแบบ

    สำหรับ Greener Store ของสตาร์บัคส์ในไทยคาดว่าจะมีครบ 20 สาขาภายในสิ้นปี 2567 และเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายสตาร์บัคส์ทั่วโลกที่ต้องการจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้น้ำ และขยะฝังกลบให้ได้ 50% ภายในปี 2573

    ]]>
    1496314
    ซีอีโอ ‘สตาร์บัคส์’ คนใหม่ลั่น จะพาแบรนด์กลับไปเป็น ‘ร้านกาแฟ’ อีกครั้ง! หลังหลงทิศเน้นออนไลน์ จนยอดขายหด https://positioningmag.com/1489639 Wed, 11 Sep 2024 08:04:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1489639 แม้จะไม่ได้เป็นเชนกาแฟที่มีสาขามาที่สุดในโลกแล้ว แต่ สตาร์บัคส์ (Starbucks) ยังคงเป็นเชนร้านกาแฟระดับโลก แม้ว่าปัจจุบันเรียกได้ว่า แบรนด์อยู่ในช่วงขาลง โดยเฉพาะยอดขายที่ลดลง 2 ไตรมาสติดต่อกัน

    หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ สตาร์บัคส์ กำลังถอยหลังลงคลอง จากมุมมองของ ซีอีโอคนใหม่ ที่พึ่งรับตำแหน่งได้ 2 วันอย่าง Brian Niccol ก็คือ แก่นแท้ของแบรนด์ที่เปลี่ยนไป จากจุดเริ่มต้นที่เป็น ร้านกาแฟในชุมชน กลับกลายเป็นร้านกาแฟที่เน้นให้ลูกค้าสั่งผ่านจากมือถือ และเน้นไปที่บริการเดลิเวอรี่ ทำให้แนวทางของสตาร์บัคส์จากนี้คือการ กลับสู่จุดเริ่มต้นเดิมคือ เป็นร้านกาแฟที่นั่งได้อย่างสบาย ๆ

    “เราต่างรู้สึกตรงกันว่า แบรนด์กำลังหลงทางจากแก่นของตัวเอง ผมต้องการให้สตาร์บัคส์ กลับสู่รากฐานเดิมในฐานะร้านกาแฟชุมชนที่มีที่นั่งสบาย การออกแบบดี และมีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าง บริการซื้อกลับบ้านและส่งถึงบ้าน ดังนั้น เราจะยกระดับประสบการณ์ในร้าน เพื่อให้แน่ใจว่าพื้นที่ของเราสะท้อนภาพ กลิ่น และเสียง ที่เป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์”

    ที่ผ่านมา สตาร์บัคส์กำลังเปลี่ยนผ่านจากการเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบมีหน้าร้านเป็นหลักไปสู่การดำเนินธุรกิจแบบออนไลน์ โดยการสั่งผ่านมือถือและการสั่งซื้อจากไดรฟ์ทรูคิดเป็นมากกว่า 70% ของยอดขายในร้านค้าที่สหรัฐฯ ซึ่งมีสาขาประมาณ 9,500 แห่ง

    โดยก่อนที่ Niccol จะรับตำแหน่ง เขาได้ใช้เวลาในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาไปเยี่ยมชมร้านค้าและพูดคุยกับพนักงานรวมถึงลูกค้า ในสหรัฐอเมริกา และสิ่งที่เขาพบก็คือ มีการทำธุรกรรมมากมาย เมนูอาจดูเยอะเกินไป แต่กลับไม่สอดคล้องกัน อีกทั้งยังต้องรอสินค้านานเกินไป และการส่งมอบสินค้าก็วุ่นวาย

    ที่ผ่านมา ยอดขายของสตาร์บัคส์ ลดลงติดต่อกัน 2 ไตรมาส ขณะที่ลูกค้าบางรายแสดงความผิดหวังกับ ราคาที่สูง และ ความล่าช้า ของคำสั่งซื้อที่สั่งผ่านแอพของสตาร์บัคส์ อีกทั้งเมนูยังไม่ดึงดูดอีกด้วย นอกจากนี้ บริษัทยังถูก สหภาพแรงงาน ในร้านค้าหลายแห่งรวมตัวกันประท้วง เนื่องจากไม่พอกับสภาพการทำงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการ

    ดังนั้น นอกจากจะเปลี่ยนให้สตาร์บัคส์ กลับมาเป็นร้านกาแฟที่ควรจะเป็นแล้ว Niccol จะเน้นไปที่การ สนับสนุนบาริสต้า ให้มีพลังในการทำงาน หลังจากเขาพบว่า พนักงานบางคนเจอกับออร์เดอร์จากการสั่งผ่านแอปพลิเคชั่น ซึ่งสะสมจนล้น และเป็นสาเหตุให้พนักงานต้องทำงานหนัก

    สำหรับ Niccol ถือเป็น ซีอีโอคนที่ 4 ในรอบ 2 ปี ของสตาร์บัคส์ โดย Niccol ขึ้นชื่ออย่างมากในฐานะ ผู้แก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมร้านอาหาร โดยเขาเป็นผู้วางแผนพลิกฟื้นสถานการณ์ที่ Chipotle และ Taco Bell ก่อนที่จะมารับเผือกร้อนของสตาร์บัคส์ ในช่วงที่แบรนด์กำลังตกต่ำ แถมยังมีแรงกดดันจากพนักงานและนักลงทุน

    Source

    ]]>
    1489639
    CFO ของ Starbucks เผย ‘บริษัทไม่มีแผนลดราคาสินค้า’ แม้ยอดขายทั่วโลกจะลดลงก็ตาม https://positioningmag.com/1471751 Thu, 02 May 2024 05:21:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1471751 ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ของ Starbucks เชนร้านกาแฟรายใหญ่ ได้กล่าวว่าบริษัทไม่มีแผนลดราคาสินค้าของบริษัท แม้ว่าผลประกอบการในไตรมาสที่ผ่านมาจะลดลงก็ตาม ขณะเดียวกันบริษัทก็เร่งแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน

    ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) ของ Starbucks เชนร้านกาแฟรายใหญ่ กล่าวว่าบริษัทไม่มีแผนลดราคาสินค้าของบริษัท ซึ่งเชนร้านกาแฟจากสหรัฐฯ รายนี้กำลังพบกับความท้าทายหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องใหญ่อย่างสภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลทำให้ผู้บริโภคหลายรายลดการจับจ่ายใช้สอย

    Rachel Ruggeri ซึ่งเป็น CFO ของ Starbucks ได้กล่าวกับ Yahoo Finance ว่า “บริษัทไม่มีแผนลดราคาสินค้า” และชี้ว่ารายได้ของบริษัทที่ลดลงในผลประกอบการในไตรมาสล่าสุดของบริษัทลดลงเนื่องจากลูกค้าที่ไม่ใช่ขาประจำของบริษัทได้ลดค่าใช้จ่ายลง

    รายงานผลประกอบการล่าสุดของ Starbucks นั้น CFO รายนี้ยังได้กล่าวถึง ไตรมาสที่ผ่านมาถือเป็นไตรมาสที่ยากลำบาก และบริษัทได้เรียนรู้จากเรื่องดังกล่าวและปรับโฟกัสของบริษัทให้เฉียบคมมากขึ้น และยังรวมถึงการแก้ปัญหาการสั่งสินค้าผ่านแอปฯ ของบริษัท หรือแม้แต่การแก้ปัญหาในเรื่องของ Supply Chain

    ขณะที่ CEO ของบริษัทอย่าง Laxman Narasimhan ได้ชี้ว่าไตรมาสที่ผ่านมาสภาวะต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของแรงกดดันจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าลดลง

    ผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ Starbucks นั้นรายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 8,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1% โดยยอดขายในสหรัฐอเมริกาลดลง 3% ขณะที่จีนยอดขายของ Starbucks ลดลง 6% แม้ว่าบริษัทจะมีการออกโปรโมชั่นในแดนมังกรเพื่อกระตุ้นยอดขายแล้วก็ตาม

    รายได้จากสหรัฐอเมริกาและจีนคิดเป็น 61% ของรายได้ทั้งหมดของบริษัท ขณะที่เหลือเป็นรายได้จากทั่วโลก และปัจจุบันเชนร้านกาแฟรายนี้มีสาขาทั้งหมด 38,951 สาขา

    นอกจากนี้ในผลประกอบการล่าสุดของบริษัท ยังถือว่าเป็นผลประกอบการที่แย่ที่สุดนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นต้นมาอีกด้วย

    ยอดขายที่ลดลงทั่วโลกของ Starbucks ยังส่งผลทำให้ราคาหุ้นของบริษัทตกลงไม่น้อยกว่า 10% เนื่องจากรายได้ กำไรของบริษัท นั้นแย่กว่าเหล่านักวิเคราะห์จากหลายสถาบันการเงินคาดไว้

    ที่มา – Yahoo Finance

    ]]>
    1471751
    ‘จีน’ จากดินแดนแห่ง ‘ชา’ สู่ประเทศที่มีสาขา ‘แบรนด์ร้านกาแฟ’ แตะ 5 หมื่นสาขา มากที่สุดในโลกแซงหน้าอเมริกา! https://positioningmag.com/1455606 Thu, 14 Dec 2023 07:01:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1455606 ถือเป็นอะไรที่น่าสนใจเหมือนกันที่ ‘จีน’ ประเทศที่ขึ้นชื่อในด้านการบริโภค ‘ชา’ และถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของคนจีน แต่ปัจจุบันจีนได้แซงหน้าสหรัฐอเมริกาในฐานะตลาดที่มีสาขา แบรนด์ร้านกาแฟ มากที่สุดในโลก

    ตามรายงานของ World Coffee Portal เปิดเผยว่า จำนวนแบรนด์ร้านกาแฟในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกอย่าง จีน เพิ่มขึ้น +58% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยมีสาขารวมมากถึง 49,691 แห่ง แบรนด์ที่มีสาขาทั่วโลกอย่าง Starbucks ได้เปิดสาขาใหม่เพิ่ม 785 สาขา ในช่วงเวลาดังกล่าว รวมแล้วมีกว่า 6,000 สาขา โดยปัจจุบัน Starbucks ถือเป็นแบรนด์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง รองจาก Luckin Coffee ร้านกาแฟสตาร์ทอัพสัญชาติจีนที่มีสาขากว่า 13,000 สาขา

    “คอกาแฟชาวจีนมากกว่า 90% ที่ทำการสำรวจ ดื่มกาแฟร้อนทุกสัปดาห์ ในขณะที่ 64% ดื่มกาแฟเย็นอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และผู้บริโภคเกือบ 90% ที่ทำแบบสำรวจ จะไปเยี่ยมชมหรือสั่งอาหารจากร้านกาแฟอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง”

    ปัจจุบัน จีนได้กลายเป็นมหาอำนาจของอุตสาหกรรมกาแฟระดับโลก แม้ว่าจะต้องเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจมากมายในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ตาม โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมาแบรนด์อย่าง Starbucks ได้ทุ่มเงินมากกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสร้าง ‘สตาร์บัคส์ ไชน่า คอฟฟี่ อินโนเวทีฟ อินดัสเทรีย พาร์ค’ (Starbucks China Coffee Innovation Industrial Park) นิคมอุตสาหกรรมด้านกาแฟขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกของจีน โดยพึ่งเปิดตัวในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

    การลงทุนดังกล่าวถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำมา สำหรับศูนย์ผลิตและจำหน่ายกาแฟนอกสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน ประเทศจีนเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญที่สุดของ Starbucks มายาวนาน โดยทำหน้าที่เป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกและเป็นตลาดต่างประเทศชั้นนำ โดย Starbucks ได้ตั้งเป้าเปิดร้าน 9,000 สาขา ในจีนภายในปี 2025

    ]]>
    1455606
    ‘Starbucks’ โชว์รายได้ Q4/2023 เหนือความคาดหมาย พร้อมเล็งขยายสาขาเพิ่ม 1.7 หมื่นแห่งภายในปี 2573 https://positioningmag.com/1450594 Fri, 03 Nov 2023 07:08:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450594 เชนร้านกาแฟรายใหญ่ของโลกอย่าง สตาร์บัคส์ (Starbucks) โชว์ผลงานไตรมาส 4 ประจำปีงบประมาณ (ก.ค.-ก.ย.) ที่ทำได้เหนือความคาดหมายของนักวิเคราะห์ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะการขยายสาขาใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง

    สตาร์บัคส์ ได้เปิดเผยผลประกอบการช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน โดยมีรายได้แตะ 9.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโต +11% ซึ่งเกินความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะทำรายได้ 9.3 พันล้านดอลลาร์ โดยหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้สตาร์บัคส์เติบโตเหนือความคาดหมายมาจากการ เปิดร้านใหม่ จำนวน 816 แห่ง ในไตรมาสดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันสตาร์บัคส์มีจำนวนสาขามากกว่า 38,000 แห่งทั่วโลก

    นอกจากนี้ บริษัทได้มีการรีโนเวตสาขาอย่างต่อเนื่อง อย่างในอเมริกาเหนือที่มีอยู่ยังช่วยเพิ่มยอดขายและทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ บริษัทได้ใช้งบรีโนเวตรวมกว่า 450 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    ในส่วนของรายได้จากสาขาเดิม (ที่เปิดอย่างน้อยหนึ่งปี) เพิ่มขึ้น +8% ซึ่งเกินกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 6.8% โดยเฉพาะสาขาในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8% และมีจำนวนลูกค้าเข้าร้านค้าเพิ่มขึ้น 2% นอกจากนี้ผู้บริโภคใช้เวลาในร้านนานขึ้น

    ขณะที่ยอดขายสาขาในประเทศ จีน ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่เป็น อันดับสอง ของบริษัท เพิ่มขึ้น +2% มีลูกค้าเข้าร้านเพิ่มขึ้น +4% แต่ผู้บริโภคใช้เวลาในร้านน้อยลง อย่างไรก็ตาม สตาร์บัคส์ยังคงให้ความสำคัญกับตลาดจีน โดยเตรียมขยายสาขาจาก 6,500 สาขา เป็น 9,000 สาขา ภายในสิ้นปี 2568 ส่วนสาขาทั่วโลก บริษัทมีแผนจะขยายเพิ่มอีก 17,000 สาขา เป็น 55,000 สาขา ภายในปี 2573

    ]]>
    1450594
    “สตาร์บัคส์” ประเทศไทยตั้งเป้าปี 2573 ขยายครบ 800 สาขา มีร้านกาแฟชุมชนแบ่งปันรายได้ 8 สาขา https://positioningmag.com/1436929 Thu, 06 Jul 2023 12:02:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1436929
  • ร้านกาแฟ “สตาร์บัคส์” ก่อตั้งในประเทศไทยมานาน 25 ปี ปัจจุบันขยายไปถึง 465 สาขา และยังตั้งเป้า ไปต่อขอขยายครบ 800 สาขาภายในปี 2573
  • ปรับสาขา “ไอคอนสยาม” เป็น “ร้านกาแฟเพื่อชุมชน” แห่งที่สองในไทย แบ่งรายได้ 10 บาทจากการขายกาแฟแต่ละแก้วบริจาคเข้าองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยตั้งเป้าจะมีร้านกาแฟเพื่อชุมชนครบ 8 สาขาในอนาคต
  • ปีนี้ “สตาร์บัคส์” เข้าสู่วาระครบรอบ 25 ปีที่ได้เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย จากสาขาแรกที่ “เซ็นทรัล ชิดลม” วันนี้สตาร์บัคส์ขยายไป 465 สาขาทั่วประเทศ และยังต้องการจะเพิ่มสาขามากขึ้นไปอีก

    “เนตรนภา ศรีสมัย” กรรมการผู้จัดการ สตาร์บัคส์ ประเทศไทย เปิดเผยเป้าหมายการขยายสาขาในไทย ตั้งเป้าไปถึง 800 สาขาภายในปี 2573 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า โดยแต่ละปีสตาร์บัคส์จะขยายสาขาในไทยเฉลี่ยปีละ 30 สาขา มองโอกาสทั้งในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลและต่างจังหวัด

    สตาร์บัคส์
    “เนตรนภา ศรีสมัย” กรรมการผู้จัดการ สตาร์บัคส์ ประเทศไทย

    ท่ามกลางตลาดร้านกาแฟที่เป็นเรดโอเชียนและเศรษฐกิจปัจจุบันที่ค่อนข้างฝืดเคือง แต่เนตรนภามั่นใจว่าเศรษฐกิจในระยะยาวของไทยจะเติบโต และตลาดกาแฟไทยจะยังเติบโตได้มากกว่านี้ บวกกับความมั่นใจในแบรนด์สตาร์บัคส์ที่มีความแตกต่างในตลาดร้านกาแฟ ทำให้บริษัทเดินหน้าการเปิดสาขาต่อเนื่อง

    เนตรนภายังกล่าวด้วยว่า โมเดลร้านที่กำลังมาแรงในช่วงหลังของสตาร์บัคส์เป็นประเภท Drive-thru เพราะตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วได้ดี ทำให้ขณะนี้มีสาขาแบบ Drive-thru แล้ว 56 สาขา และเป็นไปได้ที่จะเปิดเพิ่มอีก

    สตาร์บัคส์
    สตาร์บัคส์ Drive-thru สาขา สายไหม อเวนิว

    Positioning กางแผนที่สาขาของสตาร์บัคส์ไทย พบว่าส่วนใหญ่กระจุกตัวในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ส่วนในต่างจังหวัดก็เปิดสาขาในหัวเมืองเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวค่อนข้างครบถ้วนแล้ว เช่น เมืองพัทยา, เชียงใหม่, ขอนแก่น, โคราช, ภูเก็ต, หัวหิน ฯลฯ ขณะที่ในเมืองรองก็มีกระจายสาขาเข้าไปหลายจังหวัดแล้ว เช่น เชียงราย, พิษณุโลก, จันทบุรี, ชุมพร ฯลฯ แต่ยังมีโอกาสอีกมากในเมืองรองอื่นๆ หรือการขยายสาขาเพิ่มในจังหวัดหลัก

     

    เปิด “ร้านกาแฟเพื่อชุมชน” 8 สาขา

    นอกจากเป้าหมายทางธุรกิจแล้ว อีกมุมหนึ่งร้านกาแฟ “สตาร์บัคส์” ถือเป็นแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม ทำให้สตาร์บัคส์มีนโยบายในระดับสากลจัดตั้ง “Community Store” หรือ “ร้านกาแฟเพื่อชุมชน” ขึ้น เป็นร้านกาแฟที่แต่ละสาขาจะมีคอนเซ็ปต์เฉพาะเพื่อร่วมพัฒนาชุมชนในประเด็นที่เหมาะกับแต่ละสาขา

    ตัวอย่างในต่างประเทศ:

    • สาขา Gallaudet University ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ​ เป็นสาขาที่อุทิศให้กับ “ผู้พิการทางการได้ยิน” มีการจ้างงานพนักงานที่พิการทางการได้ยินมาให้บริการ โดยร้านช่วยสร้างความเข้าใจกับลูกค้า เช่น มีป้ายสอนวิธีสั่งเอสเปรสโซด้วยภาษามือเพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองเรียนรู้ โมเดลแบบนี้มีในอีกหลายประเทศ เช่น กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย, เมืองกวางโจว ประเทศจีน
    • สาขา Daehakro กรุงโซล เกาหลีใต้ เป็นสาขาที่ใช้โมเดลแบ่งปันรายได้ให้กับองค์กรไม่แสวงหากำไร Green Umbrella ChildFund Korea องค์กรที่มีเป้าประสงค์ช่วยเหลือเยาวชนที่ขาดโอกาส ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อและมีอาชีพ
    สตาร์บัคส์ สาขา Gallaudet University ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ เป็นสาขาที่อุทิศให้กับ “ผู้พิการทางการได้ยิน”

    สำหรับในประเทศไทย มีร้านกาแฟเพื่อชุมชนสาขาแรกมาตั้งแต่ปี 2556 ที่สาขา “หลังสวน” และถือเป็นร้านกาแฟเพื่อชุมชนสาขาที่ 4 ของโลกด้วย คอนเซ็ปต์สาขาหลังสวนจะเป็นโมเดลแบ่งปันรายได้ โดยเลือกแบ่งปันรายได้ 10 บาทในทุกแก้วที่จำหน่ายให้กับ “มูลนิธิพัฒนาชาวเขาแบบผสมผสาน (ITDF)” เพราะมูลนิธินี้เป็นผู้สนับสนุนการฝึกอบรมการปลูกกาแฟของชาวเขาในภาคเหนือให้ปลูกได้อย่างถูกต้อง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า มีคุณภาพดี และช่วยพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำดื่มสะอาด โรงเรียนในชุมชน ซึ่งสตาร์บัคส์เองมีการรับซื้อเมล็ดกาแฟจากชาวเขามาจำหน่ายในร้านด้วย

    เนตรนภากล่าวว่า ตั้งแต่เปลี่ยนสาขาหลังสวนเป็นร้านกาแฟเพื่อชุมชนมานาน 10 ปี สตาร์บัคส์มอบเงินสนับสนุนให้ ITDF ไปแล้ว 17 ล้านบาท

    Starbucks Reserve
    “สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอคอนสยาม” สาขาร้านกาแฟเพื่อชุมชนแห่งที่ 2 ของไทย

    ล่าสุด สตาร์บัคส์ ประเทศไทย ประกาศการเปลี่ยนร้านสาขา “สตาร์บัคส์ รีเสิร์ฟ เจ้าพระยา ริเวอร์ฟร้อนท์ ไอคอนสยาม” เป็นสาขาร้านกาแฟเพื่อชุมชนแห่งที่ 2 ของไทย สาขานี้จะใช้โมเดลแบ่งปันรายได้แก้วละ 10 บาทเหมือนเดิม แต่จะแบ่งให้กับมูลนิธิ 2 แห่ง คือ ITDF ที่ร่วมงานกันมายาวนาน และอีกมูลนิธิคือ “มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ (SOS)” มูลนิธินี้ช่วยรวบรวมอาหารเหลือจากการจำหน่ายของสตาร์บัคส์ไปส่งมอบให้ชุมชนที่ขาดแคลน ทำให้ร้านได้ลดขยะอาหาร (food waste) โดยส่งต่อให้ผู้ที่ต้องการ

    เหตุที่สตาร์บัคส์เลือกสาขาไอคอนสยามเป็นร้านกาแฟชุมชนแห่งที่ 2 เพราะสาขานี้เป็นสาขาใหญ่ที่สุดในไทย รองรับลูกค้าได้ 350 ที่นั่ง และมีลูกค้าทั้งชาวไทย ชาวต่างชาติ ที่แวะเวียนเข้ามา จึงเชื่อว่าจะสร้างผลเชิงบวกได้ดีที่สุดในการดูแลชุมชน

    เนตรนภากล่าวด้วยว่า ตามนโยบายของบริษัทแม่ต้องการจะขยายร้านกาแฟเพื่อชุมชนทั่วโลกให้ครบ 1,000 สาขาภายในปี 2573 ในจำนวนนี้ประเทศไทยจะเป็นส่วนหนึ่งโดยตั้งเป้าจะมีร้านกาแฟเพื่อชุมชนให้ครบ 8 สาขา

    ]]>
    1436929
    Starbucks รุกตลาดอินเดียหนัก ขายเครื่องดื่มแก้วเล็ก เพิ่มเมนูพิเศษ ขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ https://positioningmag.com/1433512 Fri, 09 Jun 2023 03:35:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433512 เชนร้านกาแฟรายใหญ่อย่าง Starbucks ล่าสุดได้มีแผนในการบุกตลาดอินเดียเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การขายเครื่องดื่มแก้วเล็กที่มีราคาถูกลง การเพิ่มเมนูพิเศษ หรือแม้แต่การขยายสาขาเพิ่มหลังจากนี้ เพื่อที่จะเจาะฐานลูกค้าในแดนภารตะ

    สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า Starbucks เชนร้านกาแฟรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกานั้นกำลังรุกประเทศอินเดียมากขึ้น โดยแผนการล่าสุดคือการเพิ่มเมนูพิเศษ หรือแม้แต่การขายเครื่องดื่มแก้วเล็ก เพื่อที่จะเจาะตลาดกาแฟในแดนภาระตะให้ได้

    โดย Starbucks ได้เพิ่มเมนูกาแฟขนาด Pico ซึ่งมีขนาด 6 ออนซ์ ราคาเริ่มต้นราวๆ 2.24 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 79 บาท และปรับราคามิลค์เชคเริ่มต้นที่ 3.33 ดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 116 บาท และยังมีเมนูพิเศษนั่นก็คือชาใส่นมแบบอินเดียซึ่งมีราคาเริ่มต้นที่ 2.24 ดอลลาร์สหรัฐ

    Sushant Dash ผู้บริหารระดับสูงของ Starbucks ในอินเดียกล่าวว่า “เมื่อคุณขยายขนาด คุณต้องหาผู้บริโภครายใหม่” นอกจากนี้เขายังกล่าวเสริมว่าการใช้กลยุทธ์ด้านราคาของเชนร้านกาแฟรายนี้จะช่วยทำลายการรับรู้ที่ว่าราคากาแฟของ Starbucks นั้นมีราคาแพง

    ซึ่งเมนูที่ทำพิเศษสำหรับลูกค้าในประเทศอินเดีย รวมถึงกาแฟที่มีขนาดเล็กลงมา จะไม่สามารถหาซื้อได้ในประเทศอื่น ไม่ว่าจะเป็นที่ไทย สิงคโปร์ หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา

    นับตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา Starbucks ได้มีพันธมิตรทางธุรกิจที่สำคัญก็คือ Tata Group ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจรายใหญ่ของประเทศอินเดียที่พยายามผลักดันเชนร้านกาแฟรายนี้เข้าไปในประเทศ แหล่งข่าวไม่ระบุตัวตนของ Reuters ยังกล่าวว่า Starbucks ยังมีแผนที่จะเปิดสาขาเพิ่มเติมในอื่นๆ หลังจากนี้ด้วย

    คู่แข่งของ Starbucks ในอินเดียนั้นมีหลายราย ไม่ว่าจะเป็น Third Wave และ Blue Tokai ซึ่งปัจจุบันมีสาขาราวๆ 150 สาขา ขณะที่เชนร้านกาแฟรายใหญ่อย่าง Tim Hortons ก็ยังมีสาขายังไม่มากนัก ส่วนใหญ่แล้วร้านกาแฟเหล่านี้มักจะอยู่ตามเมืองใหญ่เช่น New Delhi หรือแม้แต่เมืองที่เป็นฮับทางเทคโนโลยีอย่าง Bengaluru

    การแข่งขันของธุรกิจร้านกาแฟในประเทศอินเดียถือว่าท้าทายไม่น้อย เนื่องจากประเทศอินเดียนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานชาเป็นหลัก แต่ธุรกิจร้านกาแฟก็ยังมีการขยายตัวได้ดี ซึ่งข้อมูลของ Euromonitor คาดว่าตลาดกาแฟในอินเดียจะเติบโตได้ถึง 12% ต่อปี ซึ่งปัจจุบันมูลค่าตลาดกาแฟในอินเดียถือว่ามีขนาดเล็กมาก เพียงแค่ 300 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น

    สอดคล้องกับในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ไมเคิล คอนเวย์ ประธานฝ่ายพัฒนาช่องทางระหว่างประเทศของ Starbucks ได้กล่าวว่าตลาดอื่นๆ นอกประเทศจีนถือว่าขยายตัวได้ดี และภายในสิ้นปี 2023 บริษัทจะมีการเปิดสาขาเพิ่ม 400 แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิก

    ปัจจุบัน Starbucks ในประเทศอินเดียมีสาขาทั้งสิ้น 343 สาขา ซึ่งจำนวนสาขายังตามหลังประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศ ซึ่งอินเดียถือเป็นอีกหนึ่งประเทศที่เชนกาแฟรายใหญ่จากสหรัฐอเมริกาต้องการตีตลาดให้ได้

    ]]>
    1433512
    ‘สตาร์บัคส์’ เร่งเครื่องแรงสุดในรอบ 5 ปี! ลุยขยายสาขากว่า 400 แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิกภายในสิ้นปี https://positioningmag.com/1419681 Thu, 16 Feb 2023 12:31:39 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419681 นับตั้งแต่เกิดการระบาดใหญ่ของ COVID-19 แบรนด์กาแฟชื่อดังอย่าง ‘สตาร์บัคส์’ (Starbucks) เลยไม่สามารถขยายสาขาได้อย่างเต็มที่ แต่ในปี 2023 นี้ ที่สถานการณ์การระบาดคลี่คลายลง สตาร์บัคส์ก็เร่งเรื่องในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเต็มสูบถึง 400 สาขาภายในปีนี้

    สตาร์บัคส์ ตั้งเป้าจะขยายหน้าร้านให้ได้มากกว่า 400 แห่งทั่วเอเชียแปซิฟิก ภายในปี 2023 นี้ ซึ่งนับเป็นการขยายตัวครั้งใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ในรอบ 5 ปี ครอบคลุมทั้งอินเดีย อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และลาว ที่จะเปิดเป็นสาขาแรก โดยบริษัทระบุว่า การขยายสาขาในปีนี้จะเน้นที่เมืองรองเป็นหลัก

    ไมเคิล คอนเวย์ ประธานฝ่ายพัฒนาช่องทางระหว่างประเทศของสตาร์บัคส์ ระบุว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวของสตาร์บัคส์ เกิดจากที่บริษัทต้องการคว้าโอกาสที่ภูมิภาตเอเชียกำลังกลับมาเปิดประเทศอีกครั้ง ในขณะที่กำลังฟื้นตัวจากวิกฤต COVD-19

    “เรากำลังเห็นกระแสลมเปลี่ยนไป สู่กระแสลมในตลาดต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากโควิด ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญสำหรับสตาร์บัคส์ทั่วโลก และเรายังคงมองในแง่ดีเกี่ยวกับการเติบโตและโอกาสในระยะยาว โดยได้รับการสนับสนุนจากชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้นและการบริโภคกาแฟที่เพิ่มขึ้น”

    ทั้งนี้ สตาร์บัคส์ ได้แบ่ง ประเทศจีนและญี่ปุ่น ออกจากการบริหารของภูมิภาค เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศนั้นถือเป็นประเทศที่มีโอกาสเติบโตที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท โดยจีนถือเป็นตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดของบริษัท แม้ว่าโควิดจะทำให้บริษัทสะดุดลงในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ยอดขายสาขาเดิมในจีน ลดลง 29% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2022 ส่วนรายได้จากตลาดเอเชียแปซิฟิกเติบโตขึ้นถึง 20%

    “ตลาดของเรานอกประเทศจีนทำงานได้ดีกว่าที่เราคิด”

    ปัจจุบัน สตาร์บัคส์กำลังปรับโฉมร้านไปสู่รูปแบบ ไดรฟ์ทรู มากขึ้น เนื่องจากลูกค้ามองหาความสะดวกสบายมากขึ้น โดยปัจจุบัน สาขาที่เป็นไดรฟ์ทรูของสตาร์บัคส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 สาขา และในปีนี้ สตาร์บัคส์มีแผนจะเพิ่มสาขาในรูปแบบไดรฟ์ทรูอีกประมาณ 100 สาขาทั่วภูมิภาคภายในปีนี้

    ]]>
    1419681
    ข้อมูลลูกค้า ‘Starbucks’ ในสิงคโปร์รั่วกว่า 2 แสนราย https://positioningmag.com/1400612 Mon, 19 Sep 2022 04:14:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1400612 ข่าวของการถูกแฮกหรือการโจมตีทางไซเบอร์มีให้เห็นเป็นระยะ ๆ อย่างในญี่ปุ่นก็มีการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์เพิ่มสูงขึ้นถึง 87% ในช่วงครึ่งปีแรก ล่าสุด Starbucks ในสิงคโปร์ก็ถูกแฮกเอาข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ไปกว่า 2 แสนราย และถูกขายไปในราคากว่า 9 หมื่นบาท

    เชนร้านกาแฟระดับโลกอย่าง Starbucks ในสิงคโปร์ ซึ่งเป็นเจ้าของโดยบริษัท Maxim’s Caterers ในฮ่องกง ได้ส่งอีเมลถึงลูกค้าว่า ได้พบการเข้าถึงบางส่วนโดยไม่ได้รับอนุญาต ในรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ชื่อ เพศ วันเกิด หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่บ้าน

    โดยหน่วยงานประชาสัมพันธ์ที่เป็นตัวแทนของ Starbucks Singapore นั้นระบุว่า ไม่สามารถเปิดเผยจำนวนลูกค้าที่ได้รับผลกระทบได้ โดยแจ้งเพียงว่าได้รับทราบถึงการละเมิดเมื่อวันที่ 13 กันยายน และยืนยันว่า ข้อมูลบัตรเครดิตนั้นไม่ได้รั่วไหล เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลบัตรเครดิตใด ๆ ไว้ มีเพียงข้อมูลส่วนตัวตามที่แจ้งเท่านั้น และขอให้ลูกค้ารีบรีเซ็ตรหัสผ่าน

    อย่างไรก็ตาม The Straits Times สื่อสิงคโปร์ รายงานว่า ข้อมูลของลูกค้าที่ถูกขโมยไปมีถึง 200,000 ราย และวางขายในฟอรัมออนไลน์เมื่อวันที่ 10 กันยายน ซึ่งสำเนาฐานข้อมูลหนึ่งชุดถูกขายไปแล้วในราคา 3,500 ดอลลาร์สิงคโปร์ (9.1 หมื่นบาท) และคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสิงคโปร์ ระบุว่า ได้รับแจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวและได้ติดต่อ Starbucks Singapore เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมแล้ว

    ]]>
    1400612