สถาปัตยกรรม – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 01 Nov 2021 14:25:51 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ทุบจริง! “สกาลา” เริ่มรื้ออาคาร ประชาชนใจหาย ‘ไหนว่าจะเก็บอาคารไว้’ https://positioningmag.com/1359570 Mon, 01 Nov 2021 10:05:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1359570
วันที่ 1 พ.ย. 64 อาคารเก่าของโรงภาพยนตร์ “สกาลา” ปรากฏรั้วและผ้าใบล้อมอาคาร เริ่มทุบจากส่วนบนของด้านหน้าตึก ทำให้ประชาชนที่มีความทรงจำดีๆ กับสกาลาและเห็นคุณค่าทางศิลปะรู้สึกใจหายที่มีการรื้อทุบ จากเดิมมีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่า “เซ็นทรัลพัฒนา” ผู้ชนะประมูลที่ดินบล็อก A จากจุฬาฯ จะพยายามเก็บโครงสร้างอาคารไว้ให้มากที่สุด

ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่บริเวณโรงภาพยนตร์ “สกาลา” ปากซอย 1 สยามสแควร์ หลังมีกระแสข่าวจากเพจกลุ่มสถาปนิก Foto_momo ตั้งแต่เช้าวันนี้ว่า โรงหนังสกาลาเริ่มทุบทำลายอาคารแล้ว โดยพบว่ามีการทุบอาคารจริง และกำลังทยอยล้อมรั้วและผ้าใบให้มิดชิด

โรงภาพยนตร์สกาลานั้นเคยเป็นโรงหนังแบบสแตนด์อะโลนเก่าแก่อายุกว่า 50 ปี บริหารโดย เครือเอเพ็กซ์ แต่ปิดตัวลงเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2563 เพราะไม่สามารถแข่งขันต่อสัญญาเช่าบนที่ดินทำเลทองของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้ไหว

อาคารโรงภาพยนตร์สกาลาที่กำลังรื้อทุบ วันที่ 1 พ.ย. 64 เวลาประมาณ 15.00 น.
สกาลา ทุบ
คนงานกำลังทยอยติดตั้งผ้าใบรอบเขตปรับปรุงอาคารเพิ่มเติม

ก่อนหน้าการหมดสัญญา กระแสข่าวที่ว่าเครือเอเพ็กซ์น่าจะไม่ต่อสัญญาเช่ากับทางจุฬาฯ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2559 ยังผลให้เกิดแรงกระเพื่อมในหมู่คนรักศิลปะ-สถาปัตยกรรม และคนที่มีความทรงจำดีๆ กับสกาลา เป็นห่วงกังวลว่าอาคารที่มีความงามเป็นเอกลักษณ์แห่งนี้จะถูกทุบให้เป็นเพียงอดีต

มีกระแสสังคมที่พยายามเรียกร้องให้จุฬาฯ สร้างความมั่นใจว่าอาคารแห่งนี้จะคงอยู่ต่อไป ไปจนถึงความเคลื่อนไหวของ สมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์ เคยยื่นหนังสือต่อกรมศิลปากร ให้ขึ้นทะเบียนสกาลาเป็น “โบราณสถาน” แต่ไม่เป็นผล เพราะกรมศิลปากรมีข้อวินิจฉัยเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ตามคำนิยามใน พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535) มองว่าอาคารที่ตั้งโรงหนังสกาลาไม่ถือเป็นโบราณสถาน

ภายในอาคารโรงหนังสกาลา ก่อนหมดสัญญาเช่า (ภาพจาก MGR Online)

ความงามของสกาลาถูกออกแบบโดย พ.อ.จิระ ศิลป์กนก เป็นศิลปะแบบ Art Deco ฝ้าเพดานสีทอง มีโคมแชนเดอเลียร์ขนาดใหญ่และบันไดโค้งตระการตา สกาลาเปิดฉายครั้งแรกวันที่ 31 ธ.ค. 2512 และตัวอาคารเคยได้รับ รางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นปี 2555 จากสมาคมสถาปนิกสยาม

เมื่อหมดสัญญาเช่าลง ครอบครัวตันสัจจา เจ้าของเดิมของอาคาร ได้รื้อส่วนประกอบคลาสสิกของโรงภาพยนตร์แห่งนี้ออกไป เช่น โคมแชนเดอเลียร์ เครื่องประดับเพดาน เพื่อจะนำไปประดับที่สวนนงนุช พัทยา อีกหนึ่งธุรกิจของครอบครัว

หลังจากนั้นเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 สำนักงานทรัพย์สินแห่งจุฬาฯ ได้ประกาศผู้ชนะการประมูลสัมปทานที่ดิน 30 ปีของบล็อก A ขนาด 7 ไร่ คือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ซึ่งบล็อกนี้เป็นเวิ้งในสยามสแควร์ที่ตั้งของโรงหนังสกาลา รวมถึงอาคารพาณิชย์ในบล็อกเดียวกันอีก 79 คูหา ทำให้เกิดกระแสความกังวลขึ้นอีกครั้งว่าสกาลาจะถูกทุบหรือไม่

มุมมองจากด้านข้างอาคารสกาลา มีป้ายระบุว่า “ขออภัยในความไม่สะดวก พื้นที่อยู่ระหว่างการปรับปรุง”

ในเดือนกันยายน 2564 ทางเซ็นทรัลพัฒนาให้สัมภาษณ์กับ สำนักข่าวมติชน ว่า บริษัทเตรียมปรับปรุงบล็อก A ให้เป็นศูนย์การค้าขนาดเล็ก “และจะพยายามรักษาโครงสร้างเก่าของโรงหนังสกาลาไว้ให้มากที่สุด” ซึ่งทำให้สังคมคลายความกังวลลงไป จนกระทั่งเกิดการรื้อทุบในวันนี้

Positioning ได้สอบถามไปยังเซ็นทรัลพัฒนาถึงการรื้อทุบอาคารในครั้งนี้ โดยยังคงรอข้อมูลตอบกลับอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับอาคารพาณิชย์ในบล็อก A ผู้เช่าได้ย้ายออกไปเกือบทั้งหมดแล้ว ร้านค้าที่ยังเหลือบางส่วนเริ่มขึ้นป้ายแจ้งที่อยู่ใหม่ที่จะย้ายไปในเดือนธันวาคมนี้ โดยกำหนดการเดิมของสำนักงานทรัพย์สินจุฬาฯ จะส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดให้กับเซ็นทรัลพัฒนาช่วงต้นปี 2565

บล็อก A ไม่ใช่พื้นที่เดียวในสยามสแควร์ที่เกิดความเปลี่ยนแปลง พื้นที่บล็อก H ที่เคยเป็นศูนย์การค้าโบนันซ่า ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นอาคารมิกซ์ยูสออฟฟิศ-รีเทลชื่อ Siamscape ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการแล้ว ถัดมาที่บล็อก I ก็ปิดตำนานฮาร์ด ร็อค คาเฟ่ 30 ปีไปแล้วเมื่อต้นปีนี้ ขณะนี้ได้ทุบอาคารออกทั้งหมด รวมถึงบล็อก J ที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์มีการปรับปรุงใหญ่ สร้างอาคารใหม่เพื่อให้เป็นแลนด์มาร์ก คาดเปิดบริการธันวาคม 2564

อาคารธนาคารกสิกรไทย สาขาสยามสแควร์ที่กำลังปรับปรุงใหม่ อีกหนึ่งความเปลี่ยนแปลงภายในสยามสแควร์
พื้นที่เดิมที่เคยมีฮาร์ด ร็อค คาเฟ่ ทุบอาคารเรียบร้อยแล้ว
]]>
1359570
ชมภาพว่าที่ “ตึกสูง” อันดับ 3 ของ “เสิ่นเจิ้น” ฮับการเงินดีไซน์ล้ำจากบริษัท “ซาฮา ฮาดิด” https://positioningmag.com/1315705 Thu, 21 Jan 2021 15:57:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1315705 บริษัทของ “ซาฮา ฮาดิด” สถาปนิกหญิงชื่อก้องคือผู้ชนะประกวดแบบตึก Shenzhen Bay Super Headquarters Base Tower C ศูนย์รวมบริษัทด้านการเงิน โดยตึกนี้จะมีความสูงเกือบ 400 เมตร เมื่อสร้างเสร็จจะกลายเป็นตึกสูงอันดับ 3 ของ “เสิ่นเจิ้น” ตัวอาคารออกแบบสุดล้ำ เสมือนสองอาคารเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงพืชพรรณไม้ส่วนกลาง สร้างพื้นที่สีเขียวสาธารณะแห่งใหม่ให้เมือง

ยุคแห่งความเจริญของประเทศจีน โดยเฉพาะ “เสิ่นเจิ้น” ซึ่งทางการจีนกำลังปั้นให้เป็นฮับการเงินและเทคโนโลยีของโลก ล่าสุดโครงการอาคาร Shenzhen Bay Super Headquarters Base Tower C กำลังจะมาเติมเต็มเส้นขอบฟ้าของเมืองให้ล้ำสมัยยิ่งขึ้น โดยประกาศแบบอาคารที่ชนะการประกวดจากบริษัท Zaha Hadid Architects ของสถาปนิกหญิง “ซาฮา ฮาดิด” ผู้ล่วงลับ

แบบอาคารนี้ลักษณะเหมือนตึก 2 ตึกเล่นระดับ และเชื่อมต่อกันด้วยข้อต่อส่วนกลาง บริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นโพเดียมหลายชั้นและมีระเบียง ภายในปลูกสวนแนวตั้งระบบเลี้ยงพืชในน้ำ และรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจะเชื่อมต่อกับสวนและพลาซ่าโดยรอบอาคาร ทำให้เป็นเหมือนพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของเมือง

Tower C นั้นเสมือนมีสองตึกเชื่อมต่อกันด้วยโพเดียมระเบียงพืชพรรณไม้ตรงกลาง (Photo : Dezeen)

Tower C นี้เป็นส่วนหนึ่งของทั้งโครงการ Shenzhen Bay Super Headquarters Base เนื้อที่กว่า 731 ไร่ ซึ่งจะเป็นแหล่งรวมออฟฟิศโดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจการเงิน ปัจจุบันมีการออกแบบอาคารไปแล้ว 18 อาคาร เมื่อสร้างเสร็จทั้งหมดราวปี 2026-27 คาดว่าจะมีคนทำงานในโครงการนี้ราว 3 แสนคน

โครงการนี้ไม่ได้สร้างแค่ตึกออฟฟิศ แต่ยังมีศูนย์ประชุมและจัดนิทรรศการ พื้นที่ที่อยู่อาศัย ฮับขนส่ง สวนสาธารณะ และพื้นที่สาธารณะริมน้ำ เป็นส่วนหนึ่งของการพลิกโฉมพื้นที่นี้เป็นศูนย์กลางธุรกิจการเงินของประเทศ เปรียบได้กับย่าน Canary Wharf ของลอนดอน

บรรยากาศล้ำสมัยของอาคาร Tower C (Photo : Dezeen)

นอกจากจะมีดีไซน์ล้ำยุคแล้ว ตัวอาคารยังมีความสูงเกือบ 400 เมตร ทำให้จะกลายเป็นอาคารที่สูงเป็นอันดับ 3 ของเมืองเมื่อสร้างเสร็จ (เทียบกับอาคารที่สร้างเสร็จแล้ว ณ ขณะนี้) โดยปัจจุบันอาคารที่สูงที่สุดของเสิ่นเจิ้นคือ Ping An Finance Centre สูง 599 เมตร และครองตำแหน่งตึกสูงอันดับ 4 ของโลกด้วย ส่วนอาคารสูงอันดับ 2 ของเสิ่นเจิ้นคือตึก KK100 ที่สูง 442 เมตร

Tower C ยังถูกออกแบบให้เป็นมิตรกับธรรมชาติด้วย โดยจะมีการใช้วัสดุที่ทำมาจากวัสดุรีไซเคิล หรือใช้วัสดุที่มีคาร์บอนฟุตปริ้นต์ต่ำ เน้นการให้แสงธรรมชาติเข้าอาคารเพื่อช่วยเรื่องการประหยัดไฟ และมีพื้นที่จอดจักรยานขนาดใหญ่พิเศษที่เชื่อมกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินของเสิ่นเจิ้น เพื่อกระตุ้นให้ชาวเมืองใช้จักรยานและขนส่งสาธารณะ

(Photo : Dezeen)

สำหรับ ซาฮา ฮาดิด นั้นเธอเป็นสถาปนิกหญิงชาวอิรัก-อังกฤษ เธอจากไปเมื่อปี 2016 ในวัย 65 ปี เคยได้รับเลือกเป็นหนึ่งใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในโลกในหมวดหมู่นักคิดของนิตยสาร TIME ปี 2010 เธอยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รางวัลพริตซ์เกอร์เมื่อปี 2004 โดยรางวัลนี้เปรียบได้กับรางวัลโนเบลของแวดวงสถาปัตยกรรม

ผลงานเด่นๆ ของฮาดิดหลายงานตั้งอยู่ในจีนนี่เอง เช่น กวางโจว โอเปร่า เฮาส์, อาคาร Galaxy SOHO ปักกิ่ง, อาคาร Wangjing SOHO ปักกิ่ง ทำให้แม้ตัวเธอจะจากไปแล้ว แต่ชื่อของฮาดิดยังมีอิทธิพลเสมอ

Source
Source

]]>
1315705
เปิดใจ Virgil Abloh เจ้าพ่อสตรีทแวร์ สร้างแบรนด์ Off-White เพื่อทำงานสถาปัตฯ https://positioningmag.com/1312250 Sun, 27 Dec 2020 17:54:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312250 Virgil Abloh เพิ่งเป็นข่าวล่าสุดในช่วงกลางเดือนธันวาคม เมื่อ Off-White แบรนด์ของหนุ่มนักออกแบบดาวรุ่งรายนี้กำลังสร้างสรรค์หน้ากากอนามัยร่วมกับโรงพยาบาลชื่อดังในสหรัฐฯ ความร่วมมือนี้ตอกย้ำว่าเจ้าพ่อสตรีทแวร์อย่าง Virgil ปลุกปั้นสินค้าโดยให้ความสำคัญกับการใช้งานเป็นพิเศษ เป็นหนึ่งในส่วนผสมล้ำค่าที่สร้างชื่อให้ Virgil Abloh เป็นนักออกแบบที่โลกยอมรับ

ล่าสุด Virgil Abloh ให้สัมภาษณ์กับสำนัก Dezeen ถึงมุมมองต่ออาชีพนักออกแบบไว้อย่างน่าสนใจ หนึ่งในประเด็นสำคัญคือ Virgil บอกว่าเริ่มต้นแบรนด์แฟชั่นอย่าง Off-White เพื่อสร้างงานสถาปัตยกรรม พร้อมกับย้ำว่าตัวเขาไม่เชื่อใน discipline หรือตัวสาขาวิชาสถาปัตยกรรมเฉพาะทาง เพราะมองว่าควรใช้สถาปัตยกรรมเพื่อสำรวจโลกในหลายมุมต่างหาก

Virgil ถือเป็นนักออกแบบที่โดดเด่นสุดขีดเมื่อถูกแบรนด์ดังอย่าง Louis Vuitton เสนอชื่อให้เป็นผู้อำนวยการฝ่ายศิลปะ กลุ่มเครื่องแต่งกายชายในปี 2018 เวลานั้นผู้ก่อตั้ง Off-White ได้ร่วมงานกับแบรนด์อย่าง Nike มาแล้ว และได้สร้างชื่อจากการเป็นอดีตผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Kanye West ก่อนหน้านี้ Virgil ได้รับยกย่องเป็นไอคอนของคนผิวสีที่ประสบความสำเร็จในฐานะนักออกแบบผิวดำคนแรกที่อยู่ในแถวหน้าของแบรนด์เก่าแก่จากฝรั่งเศส แต่ช่วงหลังกลับถูกแอนตี้หนักในช่วงการประท้วง Black Lives Matter ทั่วสหรัฐอเมริกาเพราะ Virgil โพสต์ใน Instagram Stories ว่าการขโมยของผู้ประท้วงส่วนหนึ่งสร้างความเสียหายให้กับธุรกิจที่เขามีความเกี่ยวข้องอย่างมหาศาล เหตุการณ์ทั้งหมดสะท้อนความคิดใหม่ทำใหม่ในตัวตน Virgil Abloh ได้ชัดเจนทีเดียว

แนวคิดสถาปัตฯ ใช้ได้กับหลายสิ่ง

Virgil ให้สัมภาษณ์ว่าหลังจากได้รับปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมจากสถาบัน Illinois Institute of Technology ตัวเขาเลือกที่จะสร้างแบรนด์แฟชั่นแทนที่จะเดินบนเส้นทางอาชีพสถาปนิกแบบดั้งเดิมที่หลายคนทำ เหตุผลเป็นเพราะตัวเขาเชื่อว่าสามารถใช้ “สมองด้านสถาปัตยกรรม” เพื่อสร้างสรรค์หลาย  สิ่งได้ ไม่ใช่แค่เฉพาะอาคารสิ่งก่อสร้าง หรือสิ่งอื่นที่สถาปนิกมักออกแบบกัน

Virgil จึงเริ่มอาชีพด้วยการสร้างแบรนด์เพื่อทำงานสถาปัตยกรรม แทนที่จะทำงานที่บริษัทใหญ่อื่นๆ โดยบอกว่าเป้าหมายของการสร้างแบรนด์ Off-White ในช่วงแรกคือการสำรวจตรวจสอบแนวคิดทางสถาปัตยกรรมในอีกรูปแบบหนึ่ง ก่อนจะมาพบจุดก้าวกระโดดสำหรับอาชีพแฟชั่นหลังจากก่อตั้ง Off-White ในมิลานช่วงปี 2012 จุดคือความร่วมมือกับ AMO หน่วยงานวิจัยของ บริษัท OMA ที่ก่อตั้งโดย Rem Koolhaas สถาปนิกชาวดัตช์

Virgil ออกแบบร้านแฟล็กชิป Off-White โดยร่วมมือกับ AMO หยิบเอาแนวทางร่วมสมัยเกี่ยวกับโลกสถาปัตยกรรมใหม่มาใช้จนทำให้ร้านนี้สามารถเป็นรันเวย์สำหรับเดินแฟชั่นโชว์ได้ด้วย โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างของวิธีการท้าทายต้นแบบ จนมีการปรับโฉมใหม่ร้านค้าปลีกหลายราย ที่พร้อมใจเปลี่ยนร้านค้าให้เป็นทั้งศูนย์ให้ข้อมูลสินค้าและพื้นที่จัดกิจกรรม

Virgil Abloh บอกว่าเขาและทีมกำลังแทรกตัวเข้าไปในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมที่ยิ่งใหญ่ การที่เขาไม่เชื่อในสาขาวิชา เกิดขึ้นเพราะเชื่อในทฤษฎีแล้วค้นคว้าเองมากกว่า ขณะเดียวกันก็ใช้ภาษาในงานศิลปะเพื่อเปิดความคิดใหม่อยู่เสมอ เขาจึงเริ่มสร้างแบรนด์เพื่อทำงานด้านสถาปัตยกรรม เป็นการใช้สินค้าเพื่อสนทนาสื่อสารกับลูกค้าให้เกิดการจดจำผลงานนั้นไว้

เปิดตาไว้” บริหารได้ทุกโปรเจกต์

ในเมื่อต้องทำงานร่วมกับทั้ง Nike การแสดงงานศิลป์ที่พิพิธภัณฑ์ Museum of Contemporary Art Chicago การร่วมมือกับแบรนด์ใหญ่อย่าง IKEA หรือการขยายไลน์สินค้าของ Off-White ให้ครอบคลุมคอลเลกชั่น HOME ที่มีสินค้ากลุ่มร่ม ชุดคลุมอาบน้ำ และที่กั้นประตู รวมถึงการร่วมมือออกแบบให้ Mercedes ‑ Benz G ‑ Class เวอร์ชั่นรถแข่ง ทั้งหมดนี้มีคนถามว่า Virgil จัดการงานหลายโปรเจกต์อย่างไร ปรากฏว่า Virgil ตอบง่ายๆ ว่าขอแค่เปิดตาไว้ และเรียนรู้จากทุกสิ่งโดยไม่มองว่างานนั้นเป็นงาน

ในช่วงก่อนโควิดที่ยังเดินทางด้วยเครื่องบินได้ Virgil ต้องเดินทางต่อเนื่องหลายเมืองใน 1 วัน Virgil บอกว่ารับมือไหวเพราะการมี Instagram ทำให้รู้สึกได้เหมือนอยู่ในหลายเมืองมาแล้ว เขาจะใช้เวลาเดินทางด้วยตัวเอง กินอาหารในร้านอาหารต่างๆ และดื่มด่ำกับวัฒนธรรมของสถานที่นั้น สำหรับตัวเขาเอง Virgil มองว่าตัวเขาไม่ได้ทำงานเลยสักวันในชีวิต แต่กำลังแสวงหาที่จะเรียนรู้ ค้นหา และมองเห็นด้วยสองตาของตัวเอง

ดังนั้น Virgil จึงไม่เคยเหนื่อย และมองว่าการรักษาความสมดุลระหว่างบทบาทการทำงานและโครงการต่างๆ ทั้งหมดของตัวเองนั้นง่ายมาก เพราะขอแค่เปิดตาเอาไว้ ทุกอย่างก็สนุกได้

Virgil ยกตัวอย่างขณะเดินทางอยู่ในรถ ทางเลือกที่มีคือจะใช้โทรศัพท์ก้มหน้าอยู่กับหน้าจอ หรือจะมองออกไปนอกหน้าต่าง ที่จะมีอะไรให้เรียนรู้มากมาย ตัวเขาเลือกอย่างหลัง และรู้สึกสนุกกับสิ่งที่ทำ เช่นเดียวกับการไม่ได้มองว่าทุกอย่างคืองาน

บทสรุปของ Virgil คือการร่ำเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับทุกโครงการที่เขาทำตอนนี้ โดยเฉพาะการสร้างผลกระทบที่มีต่อวัฒนธรรม งานของ Virgil จึงมักจะบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดว่าตอนนี้เขาอยู่ที่ไหน และเขาจะลงมือทำสิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา เพื่อวิวัฒนาการไปสู่สิ่งใหม่อื่นต่อไป

สำหรับกระแสต่อต้านจากผู้ประท้วง Black Lives Matter นักออกแบบผิวสีอย่าง Virgil มองว่าตัวเองชอบศิลปะและวัฒนธรรม แต่ได้รับผลกระทบจากสิ่งต่างๆ เช่นการเมือง ความคิดของ Virgil ในวันนี้จึงโฟกัสที่การส่งเสริมงานศิลปะและวัฒนธรรม โดยไม่ให้ความสำคัญกับประเด็นทางการเมืองมากเกินไป กลายเป็นหนึ่งในหลักการสำคัญของการบริหารแบรนด์ Off-White ในนาทีนี้.


ที่มา : 

]]>
1312250