หลอดกระดาษ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 07 Jul 2020 23:38:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ไมโล UHT” เปิดตัวใช้ “หลอดกระดาษ” เขย่าวงการนมกล่องครั้งแรกในไทย ในราคาเท่าเดิม! https://positioningmag.com/1286814 Tue, 07 Jul 2020 15:49:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1286814 หลอดกระดาษได้มาถึงวงการนมกล่องแล้วเรียบร้อย “ไมโล ยูเอชที” ถือว่าเป็นแบรนด์แรกของไทยที่นำหลอดกระดาษมาใช้ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ยูเอชที นำร่องใน 2 สูตร ได้แก่ ไมโล ยูเอชที สูตรน้ำตาลน้อยกว่า 30% และ สูตรไม่มีน้ำตาลทราย

หลอดกระดาษงอได้ ไม่มีกลิ่น

ไมโลได้นำร่องเปิดตัวนวัตกรรมหลอดกระดาษครั้งแรกในตลาด UHT ชูจุดเด่น โค้งงอได้ ไม่มีกลิ่นกระดาษ ดื่มแล้วรสชาติอร่อยไม่เปลี่ยน ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลก เพราะผลิตจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ 100% ที่ได้รับการรับรองจาก FSC ตั้งเป้าลดการใช้หลอดพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านหลอด ภายในปี 2564

เริ่มใช้กับไมโล ยูเอชที 2 รสชาติ ได้แก่ สูตรน้ำตาลน้อยกว่า 30% และ สูตรไม่มีน้ำตาลทราย

วิคเตอร์ เซียห์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหาร เนสท์เล่ อินโดไชน่า กล่าวว่า

“การนำนวัตกรรมหลอดกระดาษโค้งงอได้มาใช้กับไมโล ยูเอชที ครั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในความพยายามของเนสท์เล่ในการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง เพื่อนำไปสู่อนาคตที่ปลอดขยะ ตอกย้ำพันธกิจระดับโลกของเนสท์เล่ที่มุ่งมั่นเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดให้สามารถรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 100% ภายในปี 2568 พร้อมตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวไทยที่มองหาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ผมหวังว่าไมโลหลอดกระดาษจะได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคชาวไทยเป็นอย่างดี”

ด้าน ไชยงค์ สกุลบริรักษ์ ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจผลิตภัณฑ์นมและโภชนาการ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า

“การเปิดตัวไมโลหลอดกระดาษครั้งนี้ ถือเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับแผนการจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561 – 2573 ของภาครัฐ โดยนำร่องในผลิตภัณฑ์ไมโล ยูเอชที สูตรน้ำตาลน้อยกว่า 30% และ สูตรไม่มีน้ำตาลทราย และวางแผนขยายการผลิตให้ครอบคลุมครบทุกรสชาติและทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ของไมโล ยูเอชที ภายในต้นปี 2564 ตั้งเป้าการเปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษจะช่วยลดการใช้หลอดพลาสติกได้มากกว่า 100 ล้านหลอด ภายในปี 2564 หรือหากนำปริมาณหลอดพลาสติกที่ถูกทดแทนมาเรียงต่อกันจะคิดเป็นระยะทาง 15,000 กิโลเมตร หรือ ระยะทางจากแม่สายถึงเบตง 8 รอบ”

แม้หลอดกระดาษไมโลจะสามารถย่อยสลายเองได้ แต่เนสท์เล่รณรงค์ให้ดันหลอดกระดาษกลับเข้าไปในกล่องหลังจากดื่มหมด โดยไม่ต้องแยกทิ้ง เพราะจะทำให้หลอดกระดาษสามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้พร้อมกล่องไมโล ลดปริมาณขยะชิ้นเล็กที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

]]>
1286814
บอกลาหลอดเขียว! Starbucks ประเทศไทย ประกาศใช้ “หลอดกระดาษ” ทุกสาขา ดีเดย์ 6 ม.ค. นี้ https://positioningmag.com/1259210 Thu, 02 Jan 2020 09:10:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1259210 ร้านกาแฟ Starbucks ประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการงดใช้หลอดพลาสติก และเปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษในทุกสาขาในประเทศไทย เริ่มวันที่ 6 มกราคมนี้

กลายเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่ของธุรกิจห้างค้าปลีกที่มีการงดใช้ถุงพลาสติก ในส่วนของร้านอาหาร และร้านกาแฟก็ไม่น้อยหน้า มีเรื่อง “หลอดพลาสติก” เข้ามาเป็นปัญหาใหญ่เช่นกัน

จะเห็นว่าเชนร้านกาแฟระดับใหญ่ได้เริ่มมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งกระตุ้นให้ลูกค้านำแก้วมาเอง หรือลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นหลอดพลาสติก หรือแก้วพลาสติก

Starbucks เองได้มีประกาศไว้ว่าจะแบนหลอดพลาสติกทั้งหมดทุกสาขาทั่วโลกภายในปี 2020 มีบางสาขาในบางประเทศได้เริ่มใช้แก้วแบบยกดื่มซึ่งจะช่วยลดการใช้หลอดพลาสติกไปได้บ้าง

ในประเทศไทยได้ประกาศว่ามีการเปลี่ยนการใช้หลอดพลาสติก เป็นหลอดกระดาษแล้วเรียบร้อย โดยเริ่มต้นในวันที่ 6 มกราคม 2563 เป็นต้นไปในทุกสาขาทั่วประเทศไทย เป็นการรับปีใหม่พอดิบพอดี

ซึ่งตัวหลอดผลิตจากกระดาษที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ผ่านการรับรองจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง Forest Steward Council®

มี Starbucks ในบางประเทศที่เริ่มใช้หลอดกระดาษบ้างแล้ว เช่น เกาหลีใต้ อาจจะเริ่มใช้ที่ประเทศญี่ปุ่นแล้วด้วยในปีนี้

มีการคาดการณ์ว่าถ้ามีการใช้หลอดกระดาษจะสามารถลดการใช้พลาสติกได้ถึง 39 ล้านชิ้นต่อปี แต่ต้องจับตาดูว่าจะมีนโยบายเรื่องพลาสติกอื่นๆ ตามมาอีกหรือไม่ ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีการตื่นตัวเรื่องขยะพลาสติกไม่น้อยเลยทีเดียว

การที่ Starbucks ตัดสินใจเปลี่ยนหลอดครั้งนี้ ถือว่าใจกล้าพอสมควร เพราะถือว่า “หลอดสีเขียว” เป็นหลอดสัญลักษณ์ประจำแบรนด์ การเปลี่ยนเป็นหลอดกระดาษสีขาวทำให้เอกลักษณ์หายไป แต่ได้ใจคนมากขึ้นก็เป็นได้…

]]>
1259210
จากหลอดกระดาษถึงแชมพูกล่อง-ขวดเบียร์เยื่อไม้ เกมใหม่ธุรกิจต้องปรับให้ทัน https://positioningmag.com/1232665 Mon, 03 Jun 2019 23:05:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1232665 ภาพ : https://asia.nikkei.com/Spotlight/Environment/Wooden-beer-bottles-and-paper-straws-Japan-shifts-from-plastic2

ผู้เชี่ยวชาญฟันธงกระแสการเมินพลาสติกแล้วใช้กระดาษทดแทน กำลังเป็นคลื่นลูกใหญ่ที่ไม่มีอะไรหยุดได้ เตือนซัปพลายเออร์ทุกบริษัทควรตื่นตัวให้ทันสึนามิกระแสเปลี่ยนผ่านนี้หากไม่อยากสูญสียที่ยืน โดยเฉพาะกลุ่มที่ใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมสินค้าสำหรับผู้บริโภคที่จะต้องผจญกับการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วพลิกฝ่ามือ อานิสงส์ใหญ่ผุดที่กลุ่มธุรกิจกระดาษซึ่งซบเซามาก่อนหน้านี้ แต่กลับสดใสชัดเจนหลังจากคนนิยมหลอดกระดาษ และอาจโตยิ่งขึ้นอีกเมื่อเบียร์ Carlsberg เริ่มวางจำหน่ายเบียร์ในขวดเบียร์ไม้ซึ่งใช้เยื่อไม้เป็นส่วนประกอบหลัก

สำนักข่าว Nikkei Asian Review ยกตัวอย่างญี่ปุ่น ว่าเป็นประเทศที่กำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนจากพลาสติกมาเป็นกระดาษอย่างเต็มตัว การเปลี่ยนผ่านนี้สร้างโอกาสชัดเจนให้กับอุตสาหกรรมกระดาษแดนปลาดิบ ที่ซบเซาลงในยุคดิจิตัล เพราะผู้คนมีความจำเป็นในการใช้กระดาษน้อยลง 

ไม่ใช่เฉพาะญี่ปุ่น แต่ธุรกิจกระดาษกำลังได้รับความสนใจจากอีกหลายประเทศทั่วโลก หนึ่งในปัจจัยเสริมสำคัญคือความเคลื่อนไหวของ 180 ประเทศทั่วโลกที่ประกาศข้อตกลงล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่าจะควบคุมกฎระเบียบสำหรับการขนส่งขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ข้ามเขตแดนประเทศอย่างเข้มงวด แปลว่าทุกประเทศ รวมถึงญี่ปุ่นที่เป็นผู้ผลิตขยะพลาสติกรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา จะต้องจัดการกับขยะรีไซเคิลที่บ้านเกิดด้วยตัวเองแทนที่จะส่งไปยังประเทศอื่น

จับตาธุรกิจกระดาษโต

หากเจาะลึกในอุตสาหกรรมกระดาษของญี่ปุ่น จะพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงน่าทึ่งหลังจากอุตสาหกรรมกระดาษญี่ปุ่นต้องเผชิญกับความต้องการที่หดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขจากสมาคมผู้ประกอบการกระดาษญี่ปุ่นระบุว่าดีมานด์ในประเทศหดตัวเหลือ 14.69 ล้านตันในปี 2017 จาก 16.59 ล้านตันในปี 2011

แต่รูปการณ์เหล่านี้กำลังเปลี่ยนไป เพราะผู้ผลิตจำนวนมากกำลังมองหาหนทางใหม่ในการแทนที่ทุกผลิตภัณฑ์พลาสติก ตั้งแต่หลอดดูดน้ำจนถึงภาชนะใส่แชมพู จุดนี้ Motoshi Muraoka จากสถาบันการจัดการและที่ปรึกษา NTT Data Institute of Management and Consulting กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่าการเปลี่ยนจากพลาสติกเป็นกระดาษจะดำเนินต่อไป กลายเป็นคลื่นที่อะไรก็หยุดไม่ได้”

สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนว่าซัปพลายเออร์จะต้องปรับตัวให้ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผู้ค้าปลีกและธุรกิจอื่นที่อยู่ใกล้ชิดผู้บริโภคกำลังหนีห่างจากพลาสติก ที่เห็นชัดคือถ้วย ช้อนส้อม หลอด และบรรจุภัณฑ์ของแบรนด์ใหญ่ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนเป็นกระดาษแทบทั้งหมด

ตั้งแต่กาแฟถึงโรงแรม

ย้อนไปเมื่อกรกฎาคม ปี 2018 ยักษ์ใหญ่ในวงการกาแฟอย่าง Starbucks ประกาศแผนงดใช้หลอดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งในร้านค้าทั้งหมดภายในปี 2020 ขณะที่ McDonald’s และสวนสนุก Legoland ในเครือ Merlin Entertainment ก็เช่นเดียวกันกับอีกหลายแบรนด์ โรงแรมก็ประกาศแผนเปลี่ยนมาใช้หลอดกระดาษอย่างเต็มรูปแบบเช่นกัน

การประกาศนี้มีแรงส่งให้ผู้ผลิตเร่งมือพัฒนาต้นแบบหลอดกระดาษพันธุ์ใหม่ที่ไม่มีขีดจำกัดแบบเดิม โดยเมื่อปีที่แล้ว บริษัท Nippon Paper Industries เปิดตัวต้นแบบหลอดกระดาษซึ่งระบุว่าหมดปัญหากลิ่นที่เปลี่ยนรสชาติของเครื่องดื่ม และส่วนใหญ่มีปัญหาในการคงรูปทรงตรงเมื่อแช่น้ำเป็นเวลานาน รวมถึงความยากลำบากในการดูดเครื่องดื่มเมื่อหลอดเปียก ข้อเสียทั้งหมดนี้สามารถแก้ไขได้แต่ต้องแลกกับราคาต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าพลาสติกราว 5 – 10 เท่าตัว

การบ้านที่ Nippon Paper กำลังแก้ไขคือการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งไม่เพียงหลอด แต่ยังครอบคลุมสินค้ากลุ่มถุงกระดาษเพื่อใช้ทดแทนถุงบรรจุผงซักฟอก สบู่ และแชมพูสำหรับครัวเรือน โดยปัจจุบันที่ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ยังคงหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์กระดาษสำหรับสินค้าในครัวและห้องน้ำ เนื่องจากต้องการปกป้องสินค้าจากความเปียกชื้นที่อาจเกิดขึ้น แต่ในอนาคต Nippon Paper วาดหวังว่าบรรจุภัณฑ์กระดาษจะสามารถใช้ทดแทนพลาสติก และถุงอะลูมิเนียมในสินค้า Refill ได้เช่นกัน

ภาพ : https://asia.nikkei.com/Spotlight/Environment/Wooden-beer-bottles-and-paper-straws-Japan-shifts-from-plastic2

เตรียมรู้จักแชมพูกล่อง

สิ่งที่โลกจะได้เห็นนับจากนี้คือแชมพูกล่องผลจากสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์กระดาษของ Nippon Paper ที่ถูกตั้งชื่อว่า Spops การออกแบบในรูปกล่องกระดาษแข็งที่ดูคล้ายกล่องนม สามารถใส่และถอดออกจากตลับและหัวจ่ายพลาสติกได้ ทั้งหมดนี้ไม่ต้องใช้กรรไกรมาตัดบรรจุภัณฑ์ออกเลย คาดว่า “แชมพูกล่องจะสามารถจัดขึ้นชั้นวางในร้านค้าญี่ปุ่นเพื่อจำหน่ายจริงภายในสิ้นปีนี้

ตลาดแชมพูในถุง Refill ของญี่ปุ่นถูกประเมินว่ามีมูลค่าประมาณ 3 แสนล้านเยนหรือราว 8.6 หมื่นล้านบาท จุดนี้ Nippon Paper วางแผนให้ Spops ทำเงินได้ประมาณ 20% ของตลาดนี้ 

ชัดเจนว่า Nippon Paper กำลังวางจุดยืนตัวเองให้เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ ซึ่งจะเป็นธุรกิจหลักในการขับเคลื่อนบริษัทให้เติบโตได้ในยุคดิจิทัล ทดแทนธุรกิจหลักของ Nippon Paper เช่น กระดาษพิมพ์และกระดาษหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีความต้องการลดลง

นอกจาก Nippon Paper บริษัทผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษอย่าง Hokuetsu Package ก็เห็นโอกาสอื่นที่เหนือกว่าธุรกิจเดิมที่เน้นการขายกล่องกระดาษสำหรับนมและอาหารอื่นเช่นกัน จุดนี้ Hokuetsu Package ใช้วิธีสร้างเครื่องมือใหม่ที่เพิ่มความสามารถด้านการพิมพ์ขึ้นอีก 10% ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในตลาดเครื่องดื่มและภาชนะบรรจุอาหาร ซึ่งรวมถึงถาดกระดาษด้วย

ยังท้าทายอยู่

แม้จะมีนวัตกรรม แต่กระดาษก็ยังมีประเด็นท้าทายมากมายจึงจะสามารถทดแทนพลาสติกได้ เพราะกระดาษเป็นวัสดุไม่ทนน้ำและไม่ทนความร้อน ซึ่งที่ผ่านมา ปัญหาเหล่านี้ถูกแก้ไขโดยการเคลือบพลาสติกไว้ด้านในของภาชนะและบรรจุภัณฑ์กระดาษ ดังนั้นเส้นแบ่งที่ผลิตภัณฑ์กระดาษจะรับหน้าที่แทนพลาสติกแบบสิ้นเชิงจึงยังไม่ชัดเจน จุดนี้โฆษกของ Nippon Paper ยอมรับว่าบรรจุภัณฑ์ที่ปราศจากพลาสติกถือเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกับการจับตาดูว่าการเปลี่ยนผ่านพลาสติกมาเป็นกระดาษ จะขยายเกินกว่าสินค้ากลุ่มหลอดและภาชนะหรือไม่? หากใช่ Nippon Paper จะสามารถหารายได้ทดแทนตลาดกระดาษพิมพ์ที่อยู่ในภาวะขาลงได้สำเร็จ 

นอกจาก Nippon Paper ผู้ผลิตกระดาษรายอื่นในสหรัฐอเมริกาและยุโรปก็กำลังหาทางพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ไม่มีการเคลือบพลาสติกใดๆ โดย Kotkamills บริษัทกระดาษเก่าแก่ในประเทศฟินแลนด์สามารถพัฒนาถ้วยกาแฟกระดาษที่ไม่มีการเคลือบด้านในได้สำเร็จแล้ว เชื่อว่าถ้วยนี้จะเป็นผู้เปลี่ยนเกม” สำหรับอุตสาหกรรมได้

ยังมีบริษัท EcoXpac ของเดนมาร์กที่พัฒนาขวดเบียร์เยื่อไม้ย่อยสลายได้ชื่อ Green Fiber Bottle โดยร่วมมือกับแบรนด์เบียร์ Carlsberg คาดว่าเบียร์ในขวดเยื่อไม้ที่ไม่มีแก้วและพลาสติกจะเริ่มทดลองวางขายในหลายร้านภายในปลายปีนี้

ที่ขาดไม่ได้คือบริษัท Ranpak ผู้ผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกาที่กำลังถุงเจลเก็บความเย็นสำหรับเค้กและอาหารแช่เย็นให้สดใหม่ขณะเดินทาง ถุงเจลเย็นนี้ถูกพัฒนาจากใยไม้ที่สามารถทดแทนวัสดุโฟมและบรรจุภัณฑ์พลาสติกได้อีกด้วย 

ทั้งหมดนี้ Ranpak มั่นใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจะเพิ่มยอดขายให้บริษัทไม่ต่ำกว่า 100 ล้านเยนเฉพาะตลาดญี่ปุ่น ภายในปี 2020.

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Spotlight/Environment/Wooden-beer-bottles-and-paper-straws-Japan-shifts-from-plastic2

]]>
1232665