องค์การอนามัยโลก – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 27 Apr 2022 09:59:17 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ข่าวดี! ‘WHO’ เผยจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดอยู่ในระดับ ‘ต่ำสุด’ ในรอบ 2 ปี https://positioningmag.com/1383100 Wed, 27 Apr 2022 08:57:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1383100 องค์การอนามัยโลก (WHO) เปิดเผยว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 รายใหม่ในรอบสัปดาห์ได้ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่มีนาคม 2020 พร้อมเตือนให้ทั่วโลกอย่าหยุดตรวจหาเชื้อ เพราะอาจขัดขวางความพยายามในการต่อสู้กับโรคระบาดใหญ่

จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 รายใหม่ทั่วโลกในช่วง 7 วันที่ผ่านมาอยู่ที่ 15,668 ราย โดยผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปและอเมริกา โดยจากข้อมูลของ WHO พบว่า ตัวเลขดังกล่าวลดลงจากจำนวนกว่า 18,000 รายในช่วงสัปดาห์ที่ 17 เมษายน

โดยทั้งจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกเริ่มลดลงตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ด้านจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลกในช่วง 7 วันที่ผ่านมามีมากกว่า 4 ล้านราย ตามข้อมูลของ WHO จำนวนดังกล่าวลดลงจากรายงานผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 5 ล้านราย เมื่อเทียบกับช่วงสัปดาห์ที่ 17 เม.ย.

“การเสียชีวิตที่ลดลงถือเป็นข่าวดีที่ แต่เราต้องยินดีด้วยความระมัดระวัง” เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าว นอกจากนี้เขายังเตือนว่า หลายประเทศได้ลดการตรวจเชื้อ COVID-19 ซึ่งจำกัดความสามารถของ WHO ในการติดตามผลกระทบของไวรัสและรูปแบบการแพร่กระจายและวิวัฒนาการ

ไวรัสนี้จะไม่หายไปเพียงเพราะประเทศต่าง ๆ หยุดมองหามัน มันยังคงแพร่กระจาย ยังคงเปลี่ยนแปลง และยังคงสังหารอยู่ แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะลดลง แต่เราก็ยังไม่เข้าใจผลที่ตามมาของการติดเชื้อในผู้ที่รอดชีวิตในระยะยาว”

ดร.บิล โรดริเกซ ซีอีโอของ FIND องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านการวินิจฉัยโรคทั่วโลก กล่าวว่า WHO เรียกร้องให้ทุกประเทศรักษาระบบเฝ้าระวัง ซึ่งรวมถึงการทดสอบและการจัดลำดับจีโนม โดยอัตราการทดสอบ COVID-19 ทั่วโลกลดลงจาก 70-90% ในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการทดสอบที่ลดลงอาจทำให้ความสามารถของโลกในการรักษาโควิดด้วยการบำบัดแบบใหม่ลดลงไปด้วย

ด้าน Maria Van Kerkhove หัวหน้าฝ่ายเทคนิคด้าน COVID-19 ของ WHO เสริมว่า การที่ไม่ได้ตรวจหาเชื้อเหมือนก่อน อาจจำกัดการตรวจสบ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน อย่างสายพันธุ์ BA.2 ที่แพร่ระบาดมากขึ้นในขณะนี้ ก็ถือเป็นสายพันธุ์ที่กระตุ้นให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ในยุโรปและจีน ซึ่งกำลังต่อสู้กับการระบาดครั้งรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2020

BA.2 ยังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วทั้งสหรัฐอเมริกา โดยคิดเป็น 68.1% ของเคสทั้งหมดที่หมุนเวียนในประเทศในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุดในวันที่ 23 เมษายน ตามข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค ตัวแปรย่อยอีกตัวหนึ่งคือ BA.2.12.1 กำลังได้รับความสนใจในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน ซึ่งคิดเป็น 28.7% ของผู้ป่วยรายใหม่ ข้อมูล CDC กล่าว

Source

]]>
1383100
‘WHO’ คาด ประชากรยุโรป 50% จะติด ‘โอมิครอน’ ในอีก 2 เดือน https://positioningmag.com/1370131 Wed, 12 Jan 2022 04:19:51 +0000 https://positioningmag.com/?p=1370131 Dr. Hans Kluge ผู้อำนวยการ WHO ประจำภูมิภาคยุโรป อ้างข้อมูลจาก Institute for Health Metrics and Evaluation ในซีแอตเทิล ว่า ประชากรมากกว่า 50% ในยุโรปจะติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ที่แพร่ระบาดในวงกว้างในช่วงสองเดือนข้างหน้า ขณะที่เอเชียกลางจะยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน

“โอมิครอนกำลังกลายเป็นไวรัสที่ระบาดอย่างรวดเร็วในยุโรปตะวันตกและขณะนี้กำลังแพร่กระจายไปยังคาบสมุทรบอลข่าน โดยภูมิภาคนี้มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 7 ล้านคนในสัปดาห์แรกของปี 2022 เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวในช่วงสองสัปดาห์ ด้วยความเร็วในอัตรานี้ ประชากรยุโรปมากกว่า 50% จะติดเชื้อโอไมครอนในอีก 6-8 สัปดาห์ข้างหน้า

โอมิครอนได้แพร่ระบาดในอัตราความเร็วที่น่าตกใจ ส่งผลให้บางประเทศได้ออกมาตรการการจำกัดทางสังคมอีกครั้งเพื่อพยายามควบคุม อย่างไรก็ตาม หลักฐานเบื้องต้นชี้ให้เห็นว่า โอมิครอนมีความรุนแรงน้อยกว่าตัวแปรเดลตา แต่ถึงอย่างนั้น ระบบสาธารณสุขของนานาประเทศก็ยังน่าเป็นห่วง เพราะมีโรงพยาบาลหลายแห่งต้องประกาศสถานการณ์วิกฤติ เนื่องจากขาดแคลนพนักงานและจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

จอห์น เบลล์ ศาสตราจารย์ด้านการแพทย์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด และที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตของรัฐบาลสหราชอาณาจักร กล่าวว่า โอมิครอนไม่ใช่โรคแบบเดิมกับสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ แต่จะดูเหมือนไม่รุนแรงมากนัก โดยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องให้ออกซิเจน และผู้ป่วยหลายคนใช้เวลาค่อนข้างสั้นในการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 วัน

“ฉากอันน่าสยดสยองที่เราเห็นเมื่อหนึ่งปีที่แล้ว คือ หอผู้ป่วยหนักเต็ม ผู้คนจำนวนมากเสียชีวิตก่อนเวลาอันควร และเราควรประเมินในแง่ร้ายว่ามันจะเกิดขึ้นอีกได้”

ทั้งนี้ Kluge ระบุเมื่อว่า อัตราการเสียชีวิตยังคงที่และยังคงสูงที่สุดในประเทศที่มีอัตราการเกิด COVID-19 สูง

Source

]]>
1370131
‘WHO’ ชี้ 99% ของผู้ติดเชื้อโควิดเป็นสายพันธุ์ ‘เดลตา’ พร้อมเตือนการ์ดอย่าตก หลังผู้เสียชีวิตเพิ่ม 5% https://positioningmag.com/1362449 Wed, 17 Nov 2021 08:30:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1362449 COVID-19 สายพันธุ์เดลตา ตรวจพบครั้งแรกในอินเดียเมื่อช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันสายพันธุ์ดังกล่าวกลายเป็นสายพันธุ์หลักของการติดเชื้อทั่วโลก คิดเป็น 99% เนื่องจากสายพันธุ์เดลตา สามารถแพร่หลายมากกว่าสายพันธุ์อื่น 

มาเรีย แวน เคอร์โฮฟ หัวหน้าฝ่ายเทคนิคขององค์การอนามัยโลกด้านโควิด กล่าวว่า ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เกือบทั้งหมด 900,000 รายทั่วโลก ในช่วง 60 วันที่ผ่านมา มีต้นตอมาจากสายพันธุ์เดลตา โดยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่พุ่งสูงอย่างรวดเร็วทั่วโลกในขณะนี้ มีสัดส่วนหลัก ๆ มาจากฝั่ง ยุโรป โดยคิดเป็น 60% ของจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่มีมากกว่า 3.3 ล้านราย ทั่วโลกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

“สายพันธุ์เดลตามีอิทธิพลมากจริง ๆ และปัจจุบันก็พบว่ามันมีสองรูปแบบที่น่าสนใจ ได้แก่ mu และ lambda ที่เราได้ติดตาม”

สัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวนผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 มีจำนวนเกือบ 50,000 ราย เพิ่มขึ้น 5% โดยกว่าครึ่งมาจากยุโรป การใช้หน้ากากอนามัยที่ลดลงและการเว้นระยะห่างทางสังคม กลายเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตในยุโรปเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การเข้าสู่ฤดูหนาว จะยิ่งนำไปสู่การเจ็บป่วยด้านทางเดินหายใจในช่วงหลายเดือนข้างหน้า ซึ่งรวมถึงไข้หวัดใหญ่และเชื้อโรคอื่น ๆ

“การระบาดใหญ่กำลังไปในทิศทางที่ไม่ถูกต้องในขณะนี้” มาเรีย แวน เคอร์โฮฟ กล่าว

ปัจจุบัน บางประเทศในยุโรปกำลังเผชิญกับการระบาดระลอกใหม่ที่รุนแรง อาทิ เยอรมนี สร้างสถิติผู้ป่วยใหม่เกือบ 39,300 รายในวันจันทร์เป็นประวัติการณ์โดยเฉลี่ย 7 วัน เพิ่มขึ้นเกือบ 40% จากสัปดาห์ก่อน

ด้าน สหราชอาณาจักร มีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 38,500 ราย ในวันจันทร์โดยเฉลี่ยต่อสัปดาห์ เพิ่มขึ้น 13% จากสัปดาห์ก่อน ค่าเฉลี่ย 7 วันในฝรั่งเศสและอิตาลี ก็เพิ่มขึ้นเกือบ 40% เช่นกัน

รัสเซีย ยังพบการระบาดของไวรัสในระดับสูงโดยเฉลี่ย 7 วัน โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 1,199 คน ขณะที่จำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย 7 วัน มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 38,000 ราย ลดลงมากกว่า 2%

Source

]]>
1362449
กว่า 50 ประเทศ ‘พลาดเป้า’ ฉีดวัคซีนโควิดยังไม่ถึง 10% ตามที่ WHO หวังไว้ https://positioningmag.com/1354599 Sun, 03 Oct 2021 09:04:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1354599 กว่า 50 ประเทศทั่วโลกพลาดเป้าที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโควิดครบโดส ให้ได้อย่างน้อย 10% ของประชากร ภายในเดือนก.. ตามที่องค์การอนามัยโลกเคยตั้งความหวังไว้

สะท้อนให้เห็นความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงวัคซีนระหว่างประเทศร่ำรวยยากจนชัดเจนขึ้น รวมไปถึงปัญหาความล่าช้าของโครงการ Covax

โดยประเทศที่พลาดเป้าหมายส่วนใหญ่อยู่ในทวีปเเอฟริกา ที่มีอัตราการฉีดวัคซีนครบสองเข็มเเล้วเเค่ 4.4% เท่านั้น

ขณะที่สหราชอาณาจักร เกือบ 66% ของประชากรทั้งหมดได้รับการฉีดวัคซีนอย่างครบถ้วน ส่วนสหภาพยุโรปฉีดไปได้เเล้ว 62% และในสหรัฐอเมริกาที่ 55%

จะเห็นได้ว่าประเทศส่วนใหญ่ที่ฉีดวัคซีนได้ล่าช้า มักจะเป็นประเทศรายได้ต่ำ เผชิญปัญหาด้านการจัดหาวัคซีน หรือบางประเทศก็มีความขัดเเย้งหรือสงครามกลางเมือง อย่าง เยเมน ซีเรีย อิรัก อัฟกานิสถาน และเมียนมา อีกทั้งประเทศอื่นๆ อย่าง เฮติ ก็ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ซึ่งทำให้การกระจายวัคซีนเป็นเรื่องที่ยากมาก

เเต่นั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด ยังมีบางเเห่งถือว่ามีฐานะร่ำรวยเเละมีการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างไต้หวัน ที่เผชิญปัญหาการส่งมอบที่ล่าช้าเเละปัญหาอื่นๆ อย่างความขัดเเย้งทางการเมือง ทำให้จนถึงขณะนี้มีอัตราประชากรได้รับวัคซีนโควิดครบสองโดสเเล้วยังไม่ถึง 10%

เช่นเดียวกับเวียดนาม ประเทศตลาดเกิดใหม่ ที่เคยมียอดผู้ติดเชื้ออยู่ในระดับต่ำเเห่งหนึ่งของโลก จนกระทั่งต้องเจอการระบาดระลอกใหม่ที่ต้องคุมเข้มมาตรการล็อกดาวน์จนต้องปิดโรงงานผลิตไปจำนวนมาก เเละตอนนี้ก็ยังฉีดวัคซีนครบโดสได้ไม่ถึง 10%

ในทวีปแอฟริกา มีเพียง 15 จาก 54 ประเทศที่สามารถบรรลุเป้าหมาย 10% ได้ ขณะที่ยังมีประเทศกว่าครึ่งหนึ่งของทวีปนี้ที่ได้รับวัคซีนน้อยกว่า 2% ของประชากรทั้งหมด ยิ่งไปกว่านั้นยังมี 2 ประเทศอย่าง บุรุนดีเเละเอริเทรีย ที่ยังไม่เริ่มโครงการฉีดวัควีนด้วยซ้ำ

ส่วนประเทศขนาดใหญ่บางประเทศ ที่มีประชากรจำนวนมากก็ไม่ได้บรรลุเป้าหมายนี้มากนัก โดยอียิปต์ มีประชาชนเพียง 5% ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว ส่วนเอธิโอเปียและไนจีเรียต่างมีไม่ถึง 3%

หลายประเทศที่ได้รับการฉีดวัคซีนในอัตราที่สูง อยู่ในกลุ่มที่มีรายได้สูงหรือปานกลาง และสามารถจัดหาวัคซีนโดยตรงจากผู้ผลิต” Matshidiso Moeti ผู้อำนวยการภูมิภาค WHO Africa กล่าว

เมื่อต้นปัที่ผ่านมา ประเทศยากจนต่างๆ ประสบปัญหาความล่าช้าในการรับวัคซีนบริจาคผ่าน Covax ขององค์การอนามัยโลก แต่สถานการณ์เริ่มดีขึ้นในเดือนก..และส..

โดยปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโครงการ Covax คือหลายประเทศในแอฟริกา กำลังพึ่งพาวัคซีนจาก Serum Institute of India ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก

อินเดียระงับการส่งออกวัคซีนในเดือนเม.. เพื่อตอบสนองต่อความต้องการเร่งด่วนในประเทศ หลังมียอดติดเชื้อพุ่งสูง และผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ต่างประสบปัญหาในการผลิตที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่วัคซีนที่กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ชาติ (G7) รวมถึงอียู ให้คำมั่นว่าจะให้มากกว่า 1,000 ล้านโดสให้กับโครงการ Covax เเต่ตอนนี้ยังมีการส่งมอบน้อยกว่า 15% ดังนั้นเป้าหมายการฉีดวัคซีนครบโดสให้ได้ 40% ของประชากรโลกภายในสิ้นปีขององค์การอนามัยโลกก็ยิ่งจะทำได้ยากขึ้น

 

 

ที่มา : BBC 

 

]]>
1354599
WHO เตือน เลี่ยงฉีด ‘วัคซีนผสมสูตร’ จับคู่ต่างชนิด เพราะเสี่ยงอันตราย ยังไม่มีข้อมูลมากพอ https://positioningmag.com/1341968 Tue, 13 Jul 2021 05:37:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341968 WHO เตือน ควรหลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เเบบผสมสูตรหรือจับคู่วัคซีนต่างชนิด ที่กำลังเป็นกระเเสในหลายประเทศ เพราะอาจก่อให้เกิดอันตราย เเละยังไม่มีข้อมูลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบด้านสุขภาพที่เพียงพอ พร้อมเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวยช่วยบริจาควัคซีน

Soumya Swaminathan หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า การฉีดเเบบผสมสูตรจับคู่ฉีดวัคซีนจากผู้ผลิตหลายรายให้กับประชาชน ซึ่งหลายประเทศกำลังจะดำเนินการอยู่นั้น ถือเป็น ‘dangerous trend’ เพราะตอนนี้มีข้อมูลการวิจัยเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนแบบผสมสูตรอยู่น้อยมากไม่ทราบถึงผลข้างเคียงที่เเน่ชัดเเละอาจเกิดผลกระทบในการฉีดวัคซีนครั้งต่อๆ ไป

การจับคู่ผสมวัคซีนต่างชนิดเข้าด้วยกัน เป็นกระแสนิยมที่ค่อนข้างอันตราย เรายังไม่มีข้อมูลหลักฐานใด ๆ ที่จะมาสนับสนุนเรื่องนี้

พร้อมมองว่า อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในหลายประเทศ หากประชาชนเริ่มตัดสินใจเองว่าจะฉีดวัคซีนโควิดเข็มที่สอง สาม สี่ ได้เมื่อไหร่และจะใช้วัคซีนของผู้ผลิตรายใด

ข้อมูลการผสมวัคซีนยังมีจำกัด บางทีมันอาจจะเป็นอาจเป็นวิธีที่ดีมากก็ได้ แต่ตอนนี้ เรามีเพียงข้อมูลการผสมด้วยสูตร เข็มที่ 1 AstraZeneca และตามด้วย Pfizer เท่านั้น

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา คณะกรรมการที่ปรึกษาแห่งชาติด้านการสร้างภูมิคุ้มกัน หรือ NACI ของแคนาดา อนุญาตให้ฉีดวัคซีนต้านโควิด-19 เข็มแรกและเข็มสองต่างชนิดกันได้ เเต่ยืนยันว่า ควรเป็นวัคซีนชนิดเดียวกัน’ เเละยังจำกัดอยู่แค่เพียงวัคซีน 3 ยี่ห้อเท่านั้นคือ Pfizer, Moderna และ AstraZeneca

ขณะที่ วานนี้ (12 ..) คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติของไทย มีมติเห็นชอบให้ฉีดวัคซีนต่างชนิดกันได้โดยประชาชนผู้ได้รับวัคซีน Sinovac เข็มที่ 1 ให้ฉีดเข็มที่ 2 เป็น AstraZeneca โดยฉีดเว้นระยะห่างกัน 3-4 สัปดาห์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา

สำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนักรายงานว่าไทยจะเป็นประเทศเเรกในโลกที่ใช้วัคซีนโควิด ผสมสูตร Sinovac+AstraZeneca” 

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม เเม้ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบทั้ง 2 เข็มเเล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดทั่วโลก ทางองค์การอนามัยโลก จึงยังคงกระตุ้นให้ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยและปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเคร่งครัด

สิ่งสำคัญในเวลานี้ คือต้องให้ประชาชนได้รับการฉีดวัคซีนให้ได้มากที่สุดและเร็วที่สุด เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต

ด้าน Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการใหญ่ของ WHO ระบุว่า ยังคงมีความไม่เท่าเทียมในการ
กระจายวัคซีนในประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน 

โดยเรียกร้องให้ประเทศร่ำรวย ร่วมบริจาควัคซีนให้แก่ประเทศยากจน เพื่อกระจายวัคซีนเข็มเเรกให้มากที่สุด แทนที่จะเดินหน้าทำการฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 หรือ Booster Shot เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ซึ่งยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าแนวคิดนั้นสิ่งจำเป็นในเวลานี้หรือไม่

สำหรับตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 จากทั่วโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ที่ 4 ติดต่อกัน เเละยอดผู้เสียชีวิตก็กลับมาเพิ่มขึ้นสูงอีกครั้ง หลังลดลงตลอด 10 สัปดาห์ที่ผ่านมา สาเหตุหลักๆ มาจากการเเพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์เดลตาที่ระบาดหนักในพื้นที่มากกว่าร้อยประเทศทั่วโลก

 

 

ที่มา : Reuters , CNBC , Global News 

 

]]>
1341968
WHO เตือน COVID-19 สายพันธุ์เดลตา เตรียมระบาดหนักครอง “ยุโรป” ส.ค. นี้ https://positioningmag.com/1340604 Sun, 04 Jul 2021 14:47:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1340604 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ฮันส์ คลูเกอ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคยุโรปขององค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าการพบปะคนต่างครัวเรือน การเดินทาง การรวมตัวกัน และการผ่อนปรนข้อจำกัดทางสังคม เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ยอดผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 ในยุโรปเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 สัปดาห์

“เมื่อสัปดาห์ก่อน ยอดผู้ป่วยโรค COVID-19 เพิ่มขึ้น 10% ขณะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในภูมิภาคยุโรปที่ยังมีประชาชนไม่ได้รับวัคซีนอีกหลายล้านคน แม้ประเทศสมาชิกจะพยายามอย่างสุดความสามารถ” คลูเกอแถลงข่าวทางออนไลน์ที่กรุงโคเปนเฮเกน เมืองหลวงของเดนมาร์ก

“เชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา อาจระบาดแซงหน้าสายพันธุ์อัลฟาอย่างรวดเร็วผ่านการแพร่ระบาดซ้ำๆ หลายครั้ง และทำให้ยอดผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลและผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นแล้ว”

คลูเกอคาดการณ์ว่าเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา จะเป็นสายพันธุ์หลักของการแพร่ระบาดในภูมิภาคยุโรปภายในเดือนสิงหาคม พร้อมเตือนว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสฯ ชนิดกลายพันธุ์ ยอดการฉีดวัคซีนที่ลดต่ำ และการที่ประชาชนต่างครัวเรือนพบปะกันมากขึ้น จะทำให้ยอดผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาลและยอดการเสียชีวิตพุ่งสูงอีกระลอกก่อนฤดูใบไม้ร่วง

คลูเกอเรียกร้องประชาชนในภูมิภาค “มีระเบียบวินัยกันต่อไป” และฉีดวัคซีนเมื่อมีโอกาส เพื่อยับยั้งยอดผู้ป่วยที่คาดว่าจะพุ่งสูง

Photo : Shutterstock

“วัคซีนมีประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา แต่คุณต้องฉีด 2 โดส ไม่ใช่แค่โดสเดียว ความล่าช้าในการฉีดวัคซีนจะทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มและส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ ยิ่งเราฉีดวัคซีนช้า ยิ่งมีเชื้อไวรัสชนิดกลายพันธุ์เกิดขึ้นเพิ่ม”

คลูเกอแสดงความเสียใจต่อความแตกต่างที่ชัดเจนด้านความเท่าเทียมทางวัคซีนระหว่างประเทศร่ำรวย และยากจนในยุโรป พร้อมระบุว่าอัตราความครอบคลุมทางวัคซีนของภูมิภาคอยู่ที่ 24% เท่านั้น และนั่นเป็นสิ่งที่ “ยอมรับไม่ได้ ทั้งยังห่างไกลจากคำแนะนำให้อัตราครอบคลุมอยู่ที่ 80% ของประชากรวัยผู้ใหญ่”

“การระบาดใหญ่จะไม่สิ้นสุดลงด้วยตัวเลขแบบนี้ และหากมีพลเมืองหรือผู้ออกนโยบายคนใดคิดว่ามันจะจบลงได้ พวกเขาคิดผิด”

หลายฝ่ายกังวลว่าการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 จะเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการแพร่ระบาด เนื่องจากมีผู้ชมจำนวนหนึ่งถูกตรวจพบว่าติดเชื้อไวรัสหลังเดินทางกลับประเทศ ซึ่งคลูเกอกล่าวย้ำให้ทุกคนระมัดระวังตัว และเรียกร้องผู้ชมทุกคนสวมหน้ากากอนามัย “โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในที่ร่มและอยู่ท่ามกลางผู้คน”

“เรายังเผชิญความเสี่ยงสูง สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในช่วงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนข้างหน้านี้จะเป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจและพฤติกรรมของเราในระดับบุคคล ชุมชน และรัฐบาล ทั้งในปัจจุบันและหลายสัปดาห์ข้างหน้านี้ ความสามัคคีจะต้องได้ผลคุ้มค่า”

]]>
1340604
WHO รับรองใช้วัคซีน ‘ซิโนเเวค’ กรณีฉุกเฉินเเล้ว เเนะใช้กับกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป https://positioningmag.com/1334962 Tue, 01 Jun 2021 16:05:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1334962 WHO ประกาศรับรองใช้วัคซีนซิโนเเวค’ (Sinovac) กรณีฉุกเฉินแล้ว เเนะนำใช้สำหรับกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป

องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงการณ์ในวันที่ 1 มิ.. 2021 อนุมัติวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตโดยบริษัทซิโนแวค ไบโอเทคสำหรับใช้เป็นกรณีฉุกเฉิน นับเป็นวัคซีนโควิดจากประเทศจีนตัวที่ 2 หลังวัคซีนซิโนฟาร์ม’ (Sinopharm) ผ่านรับรองดังกล่าวไปเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา

นอกจากนี้ WHO ยังอนุมัติให้วัคซีนซิโนแวค เข้าร่วมโครงการ COVAX จัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับประเทศยากจนด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังเผชิญปัญหาขาดเเคลนวัคซีน เนื่องจากอินเดียระงับการส่งออก เพราะยอดติดเชื้อในประเทศพุ่งสูงเข้าขั้นวิกฤต

แถลงการณ์ของ WHO ระบุว่า คณะผู้เชี่ยวชาญอิสระได้แนะนำให้ใช้วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค กับผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป โดยให้โดสที่ 2 ห่างจากโดสแรก 2-4 สัปดาห์ และไม่จำกัดอายุของผู้ฉีดวัคซีน เนื่องจากตามข้อมูลชี้ว่า มีแนวโน้มที่วัคซีนซิโนเเวคจะมีผลการป้องกันในผู้สูงอายุ

คณะที่ปรึกษาด้านเทคนิคของ WHO ได้เริ่มประชุมกันเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม เเละตัดสินใจอนุมัติเรื่องนี้หลังจากได้ตรวจสอบข้อมูลทางคลินิกล่าสุด เกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีน รวมถึงแนวทางปฏิบัติในการผลิตของบริษัทเเล้ว

ทั้งนี้ วัคซีนซิโนแวค เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccines) ซึ่งผลิตโดยการนำเชื้อไวรัสมาเพาะเลี้ยงแล้วทำให้เชื้อตาย เมื่อนำมาฉีดร่างกายจะตอบสนองแบบธรรมชาติ เพื่อสร้างระบบภูมิคุ้มกันต้านเชื้อโควิด ปัจจุบันมีการจัดหาวัคซีนนี้มากกว่า 600 ล้านโดสทั้งในจีนและต่างประเทศ โดยเฉพาะในโซนแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา

สำหรับประสิทธิภาพของซิโนแวคนั้น สามารถป้องกันโรคที่แสดงอาการได้ 51% ป้องกันอาการรุนแรงและอาการป่วยหนักถึงขั้นเข้าโรงพยาบาลได้ 100%

Reuters รายงานว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิคุมกันโรคขององค์การอนามัยโลก (SAGE) ระบุในเอกสารทบทวนประสิทธิภาพของวัคซีนซิโนแวคก่อนหน้านี้ว่า จากการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในหลายประเทศ ซิโนแวคมีผลป้องกันโควิด-19 ระหว่าง 51% ถึง 84%

ส่วนกระทรวงสาธารณสุขอินโดนีเซีย เปิดเผยเมื่อวันที่ 12 พ.ค. ว่าจากการศึกษาบุคลากรทางการแพทย์ 120,000 คนที่ได้รับวัคซีนซิโนแวค พบว่ามีประสิทธิภาพป้องกันอาการของโรค 94%

โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 -ของซิโนแวค เป็นวัคซีนชนิดที่ 7 ของโลก ที่ผ่านการรับรองโดยองค์การอนามัยโลก ต่อจาก วัคซีนไฟเซอร์-ไบโอเอ็นเทค (Pfizer-BioNTech) , วัคซีนแอสตร้าเซนเนกา (AstraZeneca) , วัคซีนโควิชิลด์ที่ผลิตในอินเดีย (Covishield) , วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson), วัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) และวัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm)

 

 

ที่มา : Reuters , WHO 

]]>
1334962
WHO เตรียมเผยแพร่รายงาน “ต้นตอ” COVID-19 ในสัปดาห์หน้า https://positioningmag.com/1319252 Sun, 14 Feb 2021 15:39:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1319252 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่าทีมผู้เชี่ยวชาญอิสระเพื่อการศึกษาต้นตอของเชื้อไวรัส COVID-19 กำลังทำรายงานสรุปซึ่งคาดว่าจะสามารถเผยแพร่ได้ในสัปดาห์หน้า

ในการแถลงข่าวทางออนไลน์ ทีโดรสกล่าวว่าทีมผู้เชี่ยวชาญเสร็จสิ้นการดำเนินการในจีนแล้ว และคาดว่าจะสามารถเผยแพร่รายงานขั้นสุดท้ายฉบับเต็มได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

“ครั้งนี้นับเป็นการดำเนินงานทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญมากในสถานการณ์ที่ยากลำบากยิ่ง เรารอคอยที่จะได้รับรายงานทั้ง 2 ชิ้น ซึ่งจะถูกเผยแพร่สู่สาธารณะ” ทีโดรสกล่าว

ทีโดรสระบุว่า ทีมผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศเสร็จสิ้นการดำเนินงานในนครอู่ฮั่น เมืองเอกของมณฑลหูเป่ยทางตอนกลางของจีน เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากออสเตรเลีย เดนมาร์ก เยอรมนี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ กาตาร์ รัสเซีย สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม

ทีมผู้เชี่ยวชาญนี้ยังรวมถึงคณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก (WHO) องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE)

“จากการพูดคุยกับสมาชิกบางส่วนในทีมผู้เชี่ยวชาญดังกล่าว ผมขอยืนยันว่าสมมติฐานทั้งหมดยังคงเปิดกว้าง ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์และการศึกษาเพิ่มเติม” ทีโดรสกล่าว พร้อมเสริมว่าการดำเนินงานบางส่วนอาจอยู่นอกเหนือขอบเขตของภารกิจนี้ “เราย้ำมาโดยตลอดว่าภารกิจนี้อาจไม่สามารถตอบทุกคำถาม แต่ช่วยให้เราได้ข้อมูลสำคัญที่พาเราเข้าใกล้ต้นตอของเชื้อไวรัสได้มากขึ้น”

ทีโดรสทิ้งท้ายว่าภารกิจนี้ประสบความสำเร็จในการทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในระยะแรก ทั้งยังช่วยระบุพื้นที่ต่างๆ ที่จะทำการวิเคราะห์และการวิจัยเพิ่มเติม โดยองค์การอนามัยโลกจะดำเนินงานต่อไปเพื่อหาข้อมูลที่จำเป็นในการสร้างความกระจ่างชัด

]]>
1319252
WHO คาดผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 อาจทะลุ 2 ล้านราย หากไม่มีวัคซีนภายใน 9 เดือน https://positioningmag.com/1298956 Sun, 27 Sep 2020 04:42:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1298956 ขณะที่ผู้เสียชีวิตทั่วโลกจากไวรัส COVID-19 กำลังจะแตะ 1 ล้านคน ‘องค์การอนามัยโลก’ หรือ ‘WHO’ กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า มีความ ‘เป็นไปได้’ ที่ผู้เสียชีวิตจะเพิ่มเป็น 2 เท่า หากประเทศต่าง ๆ ไม่ดำเนินการในการปราบปรามการแพร่ระบาดของไวรัสอย่างสม่ำเสมอ

นับตั้งแต่ไวรัส COVID-19 อุบัติขึ้นจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีนเมื่อปลายปีที่แล้ว ส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 32 ล้านคนทั่วโลก และคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วอย่างน้อย 983,900 ราย ตามข้อมูลที่รวบรวมโดยมหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ อย่างไรก็ตาม แม้อัตราการเสียชีวิตจาก COVID-19 จะลดลงอย่างช้า ๆ ในช่วงที่เกิดการระบาด เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพมีความก้าวหน้าในการรักษาผู้ป่วยที่ป่วยหนักด้วยการใช้ออกซิเจนและสเตียรอยด์ที่ดีขึ้น รวมถึงการรักษาอื่น ๆ

Photo : Shutterstock

อย่างไรก็ตาม ดร.ไมเคิล ไรอัน ศัลยแพทย์และนักระบาดวิทยา ผู้อำนวยการบริหารโครงการสุขภาพภาวะฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ผู้เสียชีวิตจะทะลุ 2 ล้านรายก่อนที่วัคซีน COVID-19 จะพร้อมใช้งานหากผู้นำระดับโลกไม่ดำเนินมาตรการช่วยชีวิตให้ดีขึ้น รวมถึงพัฒนาลักษณะและขนาดและความเข้มข้นของความร่วมมือ

“มันไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าเรามองไปที่การสูญเสียทั่วโลกในตลอด 9 เดือนที่ผ่านมานั้นเกือบจะแตะ 1 ล้านคนแล้ว และถ้าเราก็ดูความเป็นจริงของการผลิตวัคซีนที่อาจจะมาในอีก 9 เดือนข้างหน้า มันเป็นงานใหญ่สำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง คำถามคือ เราเตรียมพร้อมพร้อมที่จะทำในสิ่งที่ต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงตัวเลขนั้นหรือไม่”

มาเรีย แวน เคอร์โกโฮฟ หัวหน้าฝ่ายโรคติดเชื้ออุบัติใหม่และโรคติดต่อขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากการติดเชื้อ COVID-19 และการรับผู้ป่วยหนักเพิ่มขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง โดยผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้น 5% หรือมากกว่า เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้วโดยอ้างอิงจากค่าเฉลี่ย 7 วัน

วัคซีน covid-19

ทั้งนี้ องค์กรด้านสุขภาพของสหประชาชาติกำลังดำเนินการเพื่อจัดหาวัคซีนให้กับประชากรทั่วโลก ผ่านโครงการ COVAX ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแจกจ่ายวัคซีน COVID-19 ในอนาคตอย่างเท่าเทียมทั่วโลก โดยปัจจุบันมีกว่า 159 ประเทศที่จะเข้าร่วม

“การที่จะป้องกันคนอีกล้านคนไม่ให้เสียชีวิตด้วย COVID-19 นั้นไม่ได้หมายความแค่จะต้องมีวัคซีน แต่มันเป็นหน้าที่ของการที่เราจะนำเครื่องมือแนวทางและความรู้ที่เรามีในวันนี้มาใช้เพื่อช่วยชีวิตและป้องกันการแพร่เชื้อ ดังนั้น เราไม่ควรรอที่จะหวังพึ่งเพียงวัคซีน” ดร.บรูซ อิลเวิร์ด ที่ปรึกษาอาวุโสของผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าว

Source

]]>
1298956
WHO คาดว่า วิกฤตโรคระบาด COVID-19 จะจบลงได้ ภายใน 2 ปี https://positioningmag.com/1293778 Sun, 23 Aug 2020 12:10:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1293778 องค์กรอนามัยโลก เชื่อว่าจะหยุดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ภายใน 2 ปี ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันที่ก้าวหน้าไปมาก พร้อมเริ่มรณรงค์การสวมหน้ากากอนามัยในเด็ก เเละเปรียบเทียบการคอร์รัปชันชุด PPE ว่าเป็นการก่ออาชญากรรม

นายเเพทย์ Tedros Ghebreyesus ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า โรคระบาด COVID-19 ถือเป็นวิกฤตสาธารณสุขครั้งใหญ่ในรอบศตวรรษ โดยหวังว่าไวรัสโคโรน่าดังกล่าว จะหยุดแพร่ระบาดภายใน 2 ปี เช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อปี 1918 ที่สิ้นสุดในระยะเวลาเดียวกันนี้

โดยปัจจัยหลักๆ มาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะช่วยให้สามารถหยุดการเเพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ในระยะเวลาสั้นกว่า นอกเหนือจากนั้นยังมีความเป็นน้ำหนึ่งในเดียวกันของชาวโลกด้วย

ผู้อำนวยการใหญ่ WHO กล่าวอีกว่า เเม้การเดินทางที่เชื่อมต่อกันในปัจจุบัน จะทำให้เชื้อไวรัสมีโอกาสแพร่กระจายมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน เราก็มีเทคโนโลยีมีความรู้ที่จะหยุดยั้งมันได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ WHO ได้เลี่ยงใช้คำเรียกโรคไข้หวัดใหญ่ เมื่อ 102 ปีก่อนว่าไข้หวัดสเปนตามที่หลายคนคุ้นเคย เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจนเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของโรค เเต่สเปนได้รับผลกระทบหนักที่สุด โดยขณะนั้นมียอดรวมผู้เสียชีวิตทั้งหมดราว 50 ล้านคน จากจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมราว 500 ล้านคน และใช้เวลามากกว่า 2 ปี จึงสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

ล่าสุด WHO ได้ร่วมมือกับสหประชาชาติในการเผยแพร่แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค COVID-19 ในเด็ก เเละเเนะนำให้ผู้มีอายุตั้งแต่ 12 ปีควรสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า ส่วนผู้มีอายุน้อยกว่านั้นให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดของผู้ปกครอง ขณะที่กรณีการคอร์รัปชันชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) ที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้นั้น ผอ.WHO เปรียบเทียบว่า ไม่ต่างอะไรจากการก่ออาชญากรรม เพราะทำให้บุคคลกรทางการแพทย์ที่กำลังทำหน้าที่ต้องเสี่ยงชีวิตไปด้วย

สำหรับยอดผู้ป่วยจาก COVID-19 สะสมทั่วโลก ตอนนี้อยู่ที่อย่างน้อย 22.5 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตสะสมอย่างน้อย 7.89 เเสนคน

 

ที่มา : BBC , VOA

]]> 1293778