MI GROUP ได้มีโปรเจกต์ MI LEARN LAB เพื่อแสวงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ สู่การทำการตลาดอย่างมีกลยุทธ์และเข้า-ถึง-ใจผู้บริโภค ผ่าน Entertainment & Cultural Marketing โดยล่าสุด ได้ทำการศึกษา การตลาดผ่านคอนเสิร์ตหมอลำ โดยพบว่า หลังการระบาดของโควิด คือ ยุคทอง ของวงหมอลำอย่างแท้จริง หลังจากที่อยู่คู่คนไทยมานานกว่า 70 ปี
จากการสำรวจพบว่า คนไทยจำนวนกว่า 20 ล้านคนเลยดูหมอลำ เฉพาะภาคอีสานมีผู้ชมกว่า 10 ล้านคน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างเกือบ 80% เคยดูทั้งออนกราวด์และออนไลน์ และประมาณ 60% ดูออนกราวด์อย่างเดียว
สอดคล้องกับที่พบว่า การจัดแสดงส่วนใหญ่จะจัดในภาคอีสาน รองลงมาเป็นกรุงเทพฯ และปริมณฑล และภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชาวอีสานทำงานอยู่จำนวนมาก และหลังจากการระบาดของโควิด จะเห็น การลงทุนอย่างสูง ของวงหมอลำ ไม่ว่าจะเป็นชุด แสง สี เสียง เพื่อ ยกระดับโชว์ ซึ่งส่งผลถึง ปริมาณจำนวนงานจ้าง เพิ่มขึ้นประมาณ 40-45%
สำหรับการแสดงคอนเสิร์ตหมอลำในแต่ละปีจะเริ่มในช่วงเดือนกันยายน-มิถุนายน ลากยาวถึง 332 วัน มีการแสดงรวมกว่า 2,600 รอบ และในแต่ละคอนเสิร์ตจะมีผู้ชมกว่า 2,000-6,000 คน เลยทีเดียว รวมแล้วทั้งปีจะมี Eyeballs ในการรับชมหมอลำกว่า 8.5 ล้านคน ถ้ามีการแสดงผ่านออนไลน์อาจแตะถึง 10 ล้านคน
ก่อนการระบาดของโควิด มีการประเมินว่า ยอดการใช้จ่ายเกี่ยวกับคอนเสิร์ตหมอลำอยู่ที่ 4,700 ล้านบาท แต่ปัจจุบันยอดเงินสะพัดแตะ 6,000 ล้านบาท เติบโต 127% นอกจากนี้ยังพบว่า คอนเสิร์ตหมอลำมีจำนวนผู้ชมเพิ่ม 30%, ปริมาณเงินที่ผู้ชมนำไปจับจ่ายในงานเพิ่ม 40-50% (ซื้อสินค้าที่สปอนเซอร์ตั้งบูธจำหน่ายในงาน และอื่น ๆ) และค่าบัตรผ่านหรือทำบุญเพิ่มขึ้น 20-30%
สำหรับกลุ่มผู้ชมหมอลำสามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
“หมอลำได้รับความนิยมมานานกว่า 70 ปี เขารับชมตั้งแต่เด็ก ทำให้ผู้ชมทุกเจนยังคงให้ความสำคัญของการสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นนี้ จึงช่วยส่งผลทำให้อุตสาหกรรมเติบโต ดังนั้น หมอลำ ไม่ใช่แค่ความบันเทิง แต่คือ ชีวิตของคนอีสาน เป็นสิ่งเชื่อมโยงความรู้สึก ความเชื่อ วัฒนธรรม” ภวัต เรืองเดชวรชัย ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร MI Group กล่าว
ในยุคดิจิทัลนี้ ความสนุกไม่ได้จำกัดแค่หน้าเวที เนื่องจาก แต่ละวงมีคอมมูนิตี้อยู่บนออนไลน์ ซึ่งจะมีการแอคทีฟอยู่เสมอ ทั้งการโพสต์ การไลฟ์ เพื่อทำปฏิสัมพันธ์กับแฟน ๆ และนับตั้งแต่การระบาดของโควิด ยอดการติดตามของแต่ละวงก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ รวมถึงมี กลุ่มแฟนคลับ ของแต่ละวง ทำให้บนโซเชียลมีเดียมีคอนเทนต์ที่ถูกสร้างโดยแฟนคลับเป็นล้าน ๆ คอนเทนต์
โดยจากการสำรวจพบว่า 71% ของแฟน ๆ มีส่วนร่วมกับเนื้อหาหมอลำออนไลน์ รวมถึงการถ่ายทอดสดและวิดีโอสั้น 68% ติดตามศิลปินหรือวงที่ชื่นชอบบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย โดยแพลตฟอร์มยอดนิยมในการรับชมหมอลำ ได้แก่
นอกจากนี้ยังพบว่ามีการชมคอนเสิร์ตแบบ LIVE ผ่านทางออนไลน์ มากที่สุดคือกลุ่มที่รับชม 1-2 ชั่วโมง คิดเป็น 34% รองลงมาคือรอดูเฉพาะช่วงศิลปินที่ชอบขึ้นโชว์ 22% และอันดับ 3 คือ ดูแซ่บตั้งแต่เริ่มจนจบงาน 21% ดังนั้น โอกาสการเข้าถึงไม่เพียงเกิดขึ้น ณ ลานจัดงานเท่านั้น แต่แบรนด์สามารถสร้างการจดจำผ่านการรับชมออนไลน์ได้อีกด้วย
“การเข้ามาของ social media และ online platform ต่าง ๆ ไม่ได้มาแย่งจำนวนผู้ชม แต่ในทางกลับกันได้ช่วยขยายการเข้าถึงและสร้างความผูกพันให้กับผู้ชมมากขึ้น” เครือมาส สุริยา ผู้อำนวยการกลุ่มธุรกิจเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการตลาด กล่าว
สำหรับการทำการตลาดกับคอนเสิร์ตหมอลำ สามารถทำได้ครบลูป ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง การจดจำแบรนด์ (Awareness) ไม่ว่าจะจากการติดตั้งป้าย Static การเอ่ยชื่อแบรนด์ในวิทยุชุมชน รถแห่ ปากต่อปาก ป้ายกล่องไฟ หรือ Digital Screen
ส่วน การมีส่วนร่วม (Engagement) ก็สามารถทำได้ผ่านกิจกรรมของแบรนด์ระหว่างงาน เช่น กิจกรรมแจกทอง เปิดเพลง Tie-in สินค้า ส่วน สร้างโอกาสในการขาย (Sale) ก็สามารถทำได้ผ่านบูธกิจกรรมร่วมกับการขายสินค้าที่เหมาะกับบรรยากาศงาน อย่างไรก็ตาม แต่ละกลุ่มผู้ชมก็มีพฤติกรรมต่างกัน ได้แก่
สำหรับ แบรนด์ ที่อยากได้ใจลูกค้ากลุ่มนี้ควร ใช้ความจริงใจ และภาษาง่าย ๆ ตรง ๆ ในรูปแบบ Partnership เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่แท้จริงกับผู้บริโภคชาวอีสาน รวมถึงใช้ ความสนุก เป็นสะพานเชื่อม เพราะคนกลุ่มนี้ รักสนุก นอกจากนี้ อินฟูลเอนเซอร์ท้องถิ่น (Local Influencer) ไม่ว่าจะเป็นศิลปินหมอลำ นักเต้น หรือทีมงาน ที่กำลังกลายเป็นผู้สร้างคอนเทนต์ที่มีพลัง ซึ่งจะเป็นอีก เครื่องมือสำคัญ สำหรับสื่อสารกับคนกลุ่มนี้
“หมอลำไม่ใช่แค่ความบันเทิง แต่คือ ชีวิตของคนอีสาน เป็นสิ่งเชื่อมโยงความรู้สึก ความเชื่อ วัฒนธรรม ของคนอีสานทุกเจน แบรนด์ต้องเข้าไปเป็นพวกเดียวกันกับเขาทั้งบนออนไลน์ ออฟไลน์ ต่อยอดพลังแฟนด้อมนั้น รวมถึงการใช้โลคอลอินฟูลฯ เป็นสื่อกลางพูดแทนแบรนด์ เพื่อจะได้เนื้อหาที่ตอบโจทย์แบรนด์และถูกจริตคนท้องถิ่น”
บริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI กำลังเดินหน้าโตไม่หยุดผ่านการแตกไลน์สารพัดธุรกิจและออกสู่น่านน้ำทุกแห่งที่จะไปถึงได้ หนึ่งในน่านน้ำที่กำลังเคลื่อนพลออกไปคือตลาด “ต่างจังหวัด” ที่เริ่มต้นเปิดตลาดเมื่อปี 2562 เมื่อบริษัทเข้าไปลงทุนในพื้นที่ “อีอีซี”
จากนั้นบริษัทเริ่มเปิดตลาดใหม่ต่อเนื่อง ในฝั่งที่พักอาศัยเพื่อขายเมื่อปี 2566 มีการขยายเข้าสู่จังหวัด “ขอนแก่น” เป็นครั้งแรก รวมถึงชิมลางภาคใต้ที่ “ภูเก็ต” ข้ามฟากฝั่งธุรกิจโรงแรมซึ่งขับเคลื่อนผ่านบริษัทลูก “วัน ออริจิ้น” ก็เข้าไปลงทุนทั้งในภูเก็ต กระบี่ หัวหิน และเชียงใหม่แล้ว
ทำให้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 บริษัทแม่เลือกเปลี่ยนชื่อบริษัทลูก “บริษัท ออริจิ้น อีอีซี จำกัด” เป็น “บริษัท ออริจิ้น เนชั่นวายด์ จำกัด” สื่อถึงวิสัยทัศน์ว่า ORI จะเอาจริงกับตลาดต่างจังหวัดทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะในอีอีซีอีกต่อไป
“กฤษณ์ เตชะสัมมา” และ “ประเสริฐกุล เจริญทวีมงคล” สองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ออริจิ้น เนชั่นวายด์ จำกัด ร่วมกันให้ข้อมูลว่า ปัจจุบัน ORI มีโครงการในต่างจังหวัดสะสม 20 โครงการ (*เฉพาะที่พักอาศัยเพื่อขาย ไม่รวมโรงแรม) และเมื่อปี 2566 กลุ่มออริจิ้น เนชั่นวายด์สามารถสร้างยอดขายให้บริษัทแม่ได้ 6,500 ล้านบาท
ขณะที่ปี 2567 นี้ เป้าหมายด้านยอดขาย รายได้ มูลค่าโครงการ ขอเปิดพร้อมกันกับบริษัทแม่ในเดือนมีนาคม แต่แย้มออกมาแล้วว่าจะเปิดโครงการใหม่รวดเดียว 15 โครงการ และมีจังหวัดใหม่ๆ ในแผน
แผนปี 2567 ของออริจิ้น เนชั่นวายด์ จะมีการเปิดตลาดใหม่ในโซน “อีสาน” ให้มากขึ้น จากการเปิด “ดิ ออริจิ้น แคมปัส ขอนแก่น” เมื่อปีก่อน ได้รับผลตอบรับที่ดี ทำให้ปีนี้จะขยายต่อใน 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา อุบลราชธานี และอุดรธานี
ตลาดนครราชสีมา จะมีทั้งโครงการใหญ่ “ออริจิ้น รีสอร์ต เวิลด์ เขาใหญ่” มูลค่าโครงการ 3,000 ล้านบาท และมีอีก 1 โครงการในตัวเมืองโคราช ส่วนตลาดอุบลราชธานีและอุดรธานี เป็นไปได้ที่จะมีมิกซ์ยูสเปิดเป็นที่พักอาศัยเพื่อขายคู่กับโรงแรมโดยร่วมมือกับวัน ออริจิ้น
“ตลาดอีสานเรามองว่ามีศักยภาพหลายจังหวัด อย่างขอนแก่นได้ลูกค้ากลุ่มนักศึกษาและบุคลากรการแพทย์ โคราชก็เป็นเมืองหลวงแห่งอีสาน ส่วนอุบลฯ และ อุดรฯ เป็นจังหวัดที่มาแรงด้านการท่องเที่ยว” ประเสริฐกุลกล่าว
ขณะที่อีกหนึ่งทำเลทองของออริจิ้นคือ “ภูเก็ต” ปีนี้จะเปิดรวดเดียว 3 โครงการ ทั้งในออริจิ้น รีสอร์ต เวิลด์ บางเทา บีช และมีโครงการบ้านเดี่ยว “เบลกราเวีย” เข้าไปทำตลาด
ภูเก็ตถือเป็นอีกตลาดที่ออริจิ้นจะเร่งลงทุนเพราะความฮอตในระยะนี้ วัดได้จากโครงการ “ดิ ออริจิ้น เซ็นเตอร์ ภูเก็ต” คอนโดฯ ในเมืองที่ขายหมดภายใน 6 สัปดาห์ และยังคงเป็นโครงการต่างจังหวัดแห่งเดียวของออริจิ้น ณ ขณะนี้ที่ ‘sold out’ สำเร็จ
นอกจากนี้ ออริจิ้น เนชั่นวายด์มีแผนจะลงทุนโครงการในหัวหินด้วย ซึ่งในตลาดนี้ฝั่งวัน ออริจิ้นเริ่มเปิดตลาดด้วยโรงแรมไปแล้วที่ “ไอบิส หัวหิน” ผ่านการเทกโอเวอร์เข้าพอร์ตเมื่อปี 2565
กลยุทธ์การทำตลาดต่างจังหวัดของออริจิ้น เนชั่นวายด์นั้นอาศัยการจับมือ ‘ไปด้วยกันหมด’ กับบรรดาบริษัทลูกของ ORI
ประเสริฐกุลอธิบายว่า การขึ้นโปรเจ็กต์แต่ละครั้งหากเป็นไปได้จะออกแบบให้เป็น “มิกซ์ยูส” อย่างน้อยจับมือกันเองภายในเครือ ORI เช่น มีทั้งคอนโดฯ และโรงแรมประกบคู่กันเพื่อสร้างมูลค่า
ส่วนพันธมิตรภายนอกที่อาจจะมีการจอยต์เวนเจอร์กันได้ก็เปิดเจรจาได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพาร์ทเนอร์ด้านที่ดิน การลงทุน ผู้ประกอบการ
รวมถึงหมัดเด็ดสุดท้ายคือ “ราคา” ประเสริฐกุลยอมรับว่าบริษัทใช้วิธีตั้งราคาให้ “เข้าถึงได้ง่ายกว่า” กดราคาให้ต่ำกว่าคู่แข่งในทำเลราว 10% แต่ยังทำกำไรให้กับบริษัทแม่ได้ ผ่านการคุมต้นทุนวัสดุก่อสร้างที่สามารถสั่งซื้อรวมกันทั้งบริษัท
“เราหวังว่าออริจิ้น เนชั่นวายด์จะเป็นผู้สร้างรายได้สนับสนุนให้กับบริษัทแม่ได้ เพราะต่างจังหวัดจะเป็นการเจาะตลาดใหม่ให้จากการเข้าสู่โซนแหล่งงานใหม่ เช่น EEC หรือโซนจังหวัดท่องเที่ยวต่างๆ” กฤษณ์กล่าว
]]>เซ็นทรัลพัฒนา (CPN) ได้เปิดตัวโครงการมิกซ์ยูสที่จังหวัดอุบลราชธานีอย่างเป็นทางการ โดยใช้งบลงทุนมากถึง 4,000 ล้าบาท บนพื้นที่ 67 ไร่ ประกอบไปด้วย ศูนย์การค้าเซ็นทรัล อุบล คอนโดมิเนียมเอสเซ็นท์ อุบล โรงแรม Centara Ubon รวมถึง ศูนย์ประชุมภายใต้ชื่อ “อุบลฮอลล์”
มองอุบลฯ เป็นเมืองมีศักยภาพของอีสานใต้
สุรางค์ จิรัฐิติกาลโชติ Head of Hotel Development บมจ. เซ็นทรัลพัฒนา กล่าวว่า “การพัฒนาโครงการมิกซ์ยูสเซ็นทรัล อุบล เป็นความตั้งใจในการทำตามพันธสัญญาของเซ็นทรัลพัฒนา ซึ่งการเข้ามาพัฒนาธุรกิจของบริษัทช่วยส่งเสริมศักยภาพของจังหวัดในทุก ๆ ด้าน ยกระดับทั้งเศรษฐกิจและการเดินทางท่องเที่ยวของภูมิภาคอีสานตอนใต้
ปัจจุบันจังหวัดอุบลราชธานี มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย และเป็นอันดับ 2 ของภาคอีสาน นอกจากนี้พื้นที่ของจังหวัดยังติดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างลาว กัมพูชา ซึ่งผู้บริหารของ CPN มองว่าเป็นเมืองที่มีศักยภาพ
นอกจากนี้พื้นที่บริเวณโครงการมิกซ์ยูสดังกล่าวที่ CPN ได้ลงทุนไว้ บริษัทยังมองถึงเป้าหมายในการสร้างเขตเศรษฐกิจใหม่ให้กับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งสอดคล้องแผนยุทธศาสตร์จังหวัด
ผู้บริหารหญิงของ CPN รายนี้ยังมองถึง Business Leisure สามารถทำงานและท่องเที่ยวไปด้วย ส่งผลให้ลูกค้าอยู่ท่องเที่ยวในจังหวัดอุบลราชธานีนานขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภายในจังหวัดด้วย
ผลักดันอุบลฯ ให้เป็นเมือง MICE City
สุรางค์ ยังได้กล่าวถึง การผลักดันให้อุบลราชธานีเป็นเมืองที่มีความพร้อมและศักยภาพในการเป็นจุดหมายปลายทางเพื่อรองรับการจัดกิจกรรมเชิงธุรกิจ เช่น การจัดประชุม ฯลฯ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ MICE City
เธอได้กล่าวว่าปัจจุบันห้องสัมมนาของโรงแรม Centara Ubon ได้ผ่านคุณสมบัติการประเมินของสำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (TCEB) แล้ว เพียงแต่แค่จุคนไม่ได้มากเท่า ทางด้านของศูนย์ประชุมอุบลฮอลล์รอผ่านการประเมินก่อน
สุริยา ปิ่นรัตน์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานปฏิบัติการสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝ่ายบริหารทรัพย์สินบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวถึงการเปิดตัวโครงการมิกซ์ยูสดังกล่าวว่ายังเป็น Landmark ในการจัดงานต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลราชธานีด้วย โดยศูนย์ประชุมอุบลฮอลล์ สามารถจัดงานต่าง ๆ ได้หลากหลายรูปแบบ
โดยหลังจากนี้ศูนย์ประชุมอุบลฮอลล์จะมีเรื่อง Synnergy กับทางฝั่งโรงแรม Centara ด้วย อย่างเช่นในด้านของการจัดเลี้ยงอาหาร และมีการคุยไว้กับหลากหลายหน่วยงานในจังหวัดให้มาจัดงานในศูนย์ประชุมดังกล่าวมากขึ้น
โรงแรม Centara Ubon จิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของโครงการมิกซ์ยูส
สุรางค์ ยังได้เล่าถึงขั้นตอนการปั้นโครงการมิกซ์ยูสของ CPN ที่อุบลราชธานีว่าเริ่มต้นด้วยการเปิดนศูนย์การค้าในปี 2013 ปัจจุบันบริษัทได้ดึงร้านค้าชื่อดังจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น Uniqlo และแบรนด์ชื่อดังต่าง ๆ มาเปิดที่นี่ มีลูกค้ามาใช้บริการเฉลี่ย 27,000-28,000 คนต่อวัน ยอดการใช้จ่ายเฉลี่ย 2,800 บาทต่อคน ซึ่งใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานคร
ขณะที่คอนโดมิเนียม ESCENT Ubon สร้างเสร็จในปี 2020 ด้วยความสูง 14 ชั้น ก็ได้จำหน่ายหมดจนปิดโครงการเฟสแรกไปแล้ว
Head of Hotel Development ของ CPN ได้กล่าวว่า เมื่อผลตอบรับของคอนโดมิเนียมดีมาก บริษัทจึงสร้างโรงแรมเป็นจิ๊กซอว์ตัวสุดท้ายของโครงการมิกซ์ยูส โดยการเปิดโรงแรมโดยใช้แบรนด์ Centara เพราะเป็น Full Service ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวมากกว่า ซึ่งในส่วนโรงแรมนั้นได้เปิดบริการไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยมีห้องพักทั้งสิ้น 160 ห้อง
แม้จำนวนห้องพักของโรงแรมจะน้อย แต่เธอได้ให้มุมมองว่าการทำโรงแรมขึ้นมานั้นสิ่งอำนวยความสะดวกจะต้องสอดคล้องกับคนที่มาพัก และจะทำให้ดีก่อน โดยปัจจุบันสัดส่วนลูกค้าเป็นชาวไทยมากถึง 86% และที่เหลือเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 14% นำโดยสหรัฐอเมริกา และลาวตามลำดับ และในช่วงที่ผ่านมาโรงแรมยังได้ต้อนรับรับชาวญี่ปุ่นที่มาถ่ายทำภาพยนตร์ด้วย
Centara Ubon ปัจจุบันมีอัตรารายวันเฉลี่ย (ADR) ที่ 1,850 บาท และในปีหน้า สุรางค์มองว่าเป้าดังกล่าวจะค่อยปรับขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับกลุ่มลูกค้าที่เข้าพัก ซึ่งเป็นไปตามกลไกตามตลาด บางทีอาจได้กลุ่มลูกค้าใหญ่ที่ราคาเฉลี่ยอาจลดลง แต่ได้จำนวนผู้เข้าพักมากขึ้น
ผสานความเป็นท้องถิ่น
Head of Hotel Development ของ CPN ยังได้กล่าวถึงการผสมผสานความเป็นอีสานเข้าไปยังการออกแบบของตัวโรงแรม ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบให้มี Daybed พักได้มากกว่า 2 คน แตกต่างจากโรงแรมทั่วไป เน้นความเป็นครอบครัว
ขณะเดียวกันก็ใช้เอกลักษณ์ความเป็นอีสาน รวมถึงการใช้วัสดุในท้องถิ่นในการตกแต่งห้องพัก หรือโซนล็อบบี้ของโรงแรม รวมถึงเมนูอาหารที่ทางโรงแรมได้ใช้วัตถุดิบขึ้นชื่อของจังหวัดอุบลราชธานี เช่น หมูยอ กุนเชียง ก๋วยจั๊บญวน มาประกอบในเมนูของห้องอาหารด้วย
นอกจากนี้ในตัวโรงแรมเองยังมีการนำ God Father แบรนด์ร้านกาแฟชื่อดังในท้องถิ่นมาเปิดสาขาในตัวโรงแรมด้วย
สุรางค์ ได้กล่าวว่าปัจจุบันอัตราการเฉลี่ยเข้าพักอยู่ที่ราว ๆ 70% ซึ่งเธอพอใจกับตัวเลขดังกล่าว ถ้าหากได้ผลตอบรับดีอาจมีการศึกษาขยายตัวโรงแรม รวมถึงโครงการคอนโดมิเนียม ในหลังจากนี้
]]>ปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีทองของ ฟอร์ด ประเทศไทย อย่างแท้จริง เพราะภาพยนตร์โฆษณาชิ้นดังที่ได้ กฤต สุขวัฒน์ มาลงเสียง จนทำให้วลี “Ford Ranger Raptor ดุดัน ไม่เกรงใจใคร” กลายเป็น Organic Viral เห็นเต็มโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะใน TikTok ที่เกิดเป็น ชาเลนจ์ ให้ผู้ชมได้ดูเอ็ทกันในแคมเปญ #TVAAVOICEOVERWORKSHOP ยังไม่รวมถึงมีมต่าง ๆ หรือการที่คนดัง ๆ นำวลีดังกล่าวไปล้อเลียนกัน
ความดุดันไม่เกรงใจใครไม่ได้เพียงแค่ทำให้ชื่อของกฤต สุขวัฒน์ ดังเป็นพลุแตก แต่ในฝั่งของฟอร์ด ประเทศไทย ก็ได้ Brand Awareness ไปอย่างถล่มทลาย แถมยังสร้าง Brand Identity ความดุดันให้กับ Ford Ranger Raptor โดยที่ไม่ต้องโชว์ภาพรถ
ไม่ใช่แค่การรับรู้ถึงแบรนด์เท่านั้น แต่ยอดขายในปี 2022 ของฟอร์ดก็ดุดันไม่แพ้กัน โดยสามารถกวาดยอดขายไปได้สูงถึง 43,628 คัน เติบโตขึ้น +35% สูงกว่าตลาดรวมซึ่งเติบโตอยู่ที่ 11.9% และเป็น ครั้งแรกในรอบ 26 ปี ที่ ยอดขายรวมต่อเดือนขึ้นมาเป็นอันดับ 4 ของประเทศ นับตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงธันวาคม และภายใน 5 เดือนแรกของปี 2023 ฟอร์ดมียอดขายรวม 16,911 คัน เติบโต +39% แบ่งเป็น
สำหรับ ตลาดรถกระบะในไทยถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด โดยในปีที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์ในประเทศไทยมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 849,388 คัน โดย 46% เป็นรถกระบะ และ 17% ของตลาดรถกระบะเป็นแบบ กระบะตอนเดียว และที่น่าสนใจคือ กว่า 40% ของยอดขายรถกระบะมาจากภาคอีสาน
ตัดภาพมาที่ยอดขายรถกระบะของฟอร์ด โดยนับเฉพาะในภาคอีสานมีสัดส่วนประมาณ 17% เท่านั้น ดังนั้น หลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในกระบะพรีเมียม ฟอร์ดจึงมองว่าถึงเวลา จับตลาดกลุ่มลูกค้าท้องถิ่น และการจะเชื่อมโยงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุดก็คือ เพลง
โดยโจทย์ของการทำ Music Markrting ของฟอร์ดคือ ถ่ายทอดคาแรกเตอร์ผู้ใช้ฟอร์ด เจาะไปที่ไลฟ์สไตล์ และชูความ แกร่ง แต่ต้องไม่ใช่เพื่อตัวเอง ต้องเป็น เพื่อครอบครัว เนื่องจากการใช้งานรถกระบะส่วนใหญ่จะแบ่งได้หลัก ๆ 2 ด้าน ได้แก่ เชิงธุรกิจ (เน้นคุ้มค่า) และ ครอบครัว (สามารถใช้ขนคนและของได้) นอกจากนี้ คนอีสานเองจะชอบเพลงที่ เข้าใจถึงภาวะอารมณ์
ดังนั้น ฟอร์ดจึงร่วมกับ GMM Grammy Gold และได้เลือก มนต์แคน แก่นคูน มาเป็นผู้ถ่ายทอด นอกจากนี้ ยังได้ ครูสลา คุณวุฒิ มาแต่งเพลง พร้อมสู้ไหวกับอ้ายบ่ โดยสาเหตุที่เลือกมนต์แคนเพราะฟอร์ดมองว่าเป็นศิลปินที่ได้รับความนิยมอย่างมากในภาคอีสาน มีเพลงระดับ 100 ล้านวิวใน YouTube ถึง 13 เพลง นอกจากนี้ คาแรกเตอร์ก็ตรงกับสิ่งที่แบรนด์ต้องการสื่อสาร และยังเป็นผู้ใช้งานจริงของฟอร์ดด้วย
“ตลาดอีสานเราไม่ได้แข็งแรงมาก แต่สิ่งจะทำให้เข้าถึงได้ สามารถ remind ให้แบรนด์อยู่ในใจคือ การสร้างอแวร์เนส ซึ่งจากการศึกษาเราพบว่ากลุ่มเป้าหมายเราเขามีอินเนอร์สูง เราก็มาดูว่าสื่ออะไรที่ทำให้เข้าถึงได้ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ Music Marketing เราเลยเลือกที่จะไม่ต่อยอดความสำเร็จของไวรัลดุดัน ไม่เกรงใจใคร แต่เลือกที่จะทำใหม่หมดเลย” ศรุต อิงคะวัต ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ฟอร์ด ประเทศไทย อธิบาย
ศรุต เล่าว่า เพลงถือเป็นสิ่งที่กังวลมากที่สุด เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าเพลงที่ปล่อยไปจะ กินใจ แค่ไหน เนื่องจาก เพลงไม่ใช่คอนเทนต์ที่บูสต์ได้ ต้องปล่อยให้เติบโตแบบออร์แกนิกเท่านั้น นอกจากนี้ ยังต้องคิดอีกว่าควรใส่ชื่อแบรนด์ไหม ดังนั้น เราจึง ไม่ต้องการเพลงช้าในลักษณะสู้ชีวิต เนื่องจากถ้าเพลงเศร้ามากมันจะซ้ำกับตลาด และ การจดจำจะหายเร็ว ส่วนของ ชื่อแบรนด์ ก็ใส่คำว่า เรนเจอร์เพียง 2 ครั้งในเพลง เท่านั้น แต่ไปเน้นใน MV ที่กว่า 80% จะเห็นรถของฟอร์ด
“เราเคยลองทั้งแบบใส่ชื่อและไม่ใส่ชื่อแบรนด์ แต่เราคิดว่าจุดประสงค์คือให้เขาจดจำเรา ดังนั้น จึงต้องมีชื่อแบรนด์ แต่เราก็ตัดให้เหลือแค่คำว่าเรนเจอร์พอ และใส่เพียง 2 ครั้ง ผลลัพธ์ออกมาคือ ผู้ฟังรู้ว่าเป็นเพลงโฆษณา แต่ก็ชื่นชอบด้วย เพราะมองว่าให้กำลังใจดี”
หลังจากที่เปิดตัวเพลงไปเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม จนถึงวันที่ 13 มิถุนายน มียอดวิวบน YouTube กว่า 3.87 ล้านวิว และมียอดการมีส่วนร่วมกว่า 16.7 ล้านครั้งบน TikTok ซึ่งหลังจากนี้ ฟอร์ดจะปล่อย ท่าเต้น เพื่อให้มีการนำไปทำเป็นชาเลนจ์ลง TikTok เพื่อให้เกิดเป็นไวรัล
นอกจากเพลงแล้ว ศรุต ย้ำว่า ลูกค้าต้อง จับต้องได้ ดังนั้น ฟอร์ดเลยต้องจัดกิจกรรมออนกราวด์ โดยเตรียมจัดคาราวานรถฟอร์ด เรนเจอร์ 30 คัน บุก 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างการรับรู้เพิ่มเติม มีการ จัดคอนเสิร์ต และเปิดให้ได้ลอง เทสไดรฟ์ ซึ่งส่วนนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะต้องยอมรับว่ารถของฟอร์ดนั้นบางรุ่น ราคาสูง ดังนั้น การเทสไดรฟ์จะเป็นส่วนสำคัญให้กลุ่มเป้าหมายได้มาสัมผัสกับสมรรถนะของรถ
“ต้องยอมรับตรง ๆ ว่ารถของเราราคาค่อนข้างสูง คนที่ซื้อจึงค่อนข้างคิดเยอะกว่าจะตัดสินใจ ดังนั้น ถ้าไม่ชอบจริง ๆ เขาอาจไม่เลือกเรา เราเลยต้องลงทุนเพื่อให้เขาได้มาลอง”
นอกจากนี้ ฟอร์ดยังได้เปิดตัว 2 รุ่นย่อยใหม่ล่าสุด ที่จะจับกลุ่มแมส ได้แก่
ศรุต อธิบายว่า สาเหตุที่ฟอร์ดตัดสินใจเปิดตัว ซับเซ็กเมนต์ ในราคาที่ถูกลงเนื่องจากตลาดรถกระบะแข่งขันสูง ดังนั้น การจะแย่งมาร์เก็ตแชร์เป็นอะไรที่ยากมาก ยิ่งถ้าจะเจาะซับเซ็กเมนต์ที่เจ้าอื่นครองตลาดอยู่ยิ่งใช้พลังเยอะ ดังนั้น จุดเด่นของรุ่น XLS คือ ยกสูง เกียร์ออโต้ ราคาคุ้ม เพราะฟอร์ดเห็นช่องว่างว่ามีความต้องการของคนที่ขับกระบะเตี้ย อยากเปลี่ยนมาเป็นกระบะยกสูงแต่งบไม่ถึง
“ในกรุงเทพฯ ยอดขายเราแข็งแรงมาก เราพยายามรักษาระดับความแข็งแรงนั้นไว้และไปหาโอกาสจากต่างจังหวัด ซึ่งรถ 2 รุ่นย่อยที่เราออกมาจะเจาะตลาดที่แมสมากขึ้น เราไม่อยากให้คนจำแต่ Ford Ranger Raptor คันละ 1.9 ล้านบาท” ศรุต ย้ำ
เนื่องจากคนอีสานกระจายตัวอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย ทำให้แคมเปญ Music Marketing นี้ ศรุตเชื่อว่า จะสามารถ กระจายได้ทุกภาค โดยเฉพาะในภาคเหนือที่วัฒนธรรมใกล้กัน และภาคตะวันออกที่มีนิคมอุตสาหกรรม ดังนั้น ฟอร์ดคง ไม่มีเพลงใหม่ และหากแคมเปญนี้ประสบความสำเร็จ ฟอร์ดก็อยากจะฉีกไปทำแคมเปญใหม่ ๆ มากกว่า
“อุตสาหกรรมนี้การแข่งขันมันสูงมาก อย่างแคมเปญนี้เราใช้เวลาคิด ทำเพลง ถ่าย MV แค่เดือนเดียว ทุกอย่างต้องเร็ว และต้องแตกต่าง”
ศรุต ทิ้งท้ายว่า สำหรับแคมเปญนี้ ฟอร์ดไม่ได้วางเป้าหมายด้านยอดขาย แต่ต้องการ Brand Awareness ในกลุ่มเป้าหมายคนอีสาน เพราะคนปัจจุบันจะซื้ออะไรเขาจะต้อง ค้นหาข้อมูล ดังนั้น เป้าหมายของฟอร์ดคือให้มีการค้นหาแบรนด์ ซึ่งนับตั้งเเต่ออกแคมเปญมา 2 สัปดาห์ ยอดค้นหาของฟอร์ดเพิ่มจาก 22% เป็น 29% เมื่อเทียบกับแบรนด์รถกระบะทั้งหมด
]]>ไม่หวั่น COVID-19 กลุ่มทุนอีสานยังเดินหน้าพัฒนาโครงการต่อ ผ่านวิสัยทัศน์เจนสองของครอบครัว “ภาสกร วีรชาติยานุกูล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนาทิพย์ 456 จำกัด ดูแลงานธุรกิจโรงแรมและศูนย์ประชุม และ “อภิชา วีรชาติยานุกูล” กรรมการผู้จัดการ บริษัท อุดรพลาซ่า จำกัด ดูแลธุรกิจศูนย์การค้า “ยูดี ทาวน์” และธุรกิจร้านอาหาร
ล่าสุดกลุ่มยูดีทาวน์ใช้งบลงทุน 500 ล้านบาทเปิดธุรกิจใหม่ “โรงแรม HOTEL MOCO” บนพื้นที่ 2 ไร่ บริเวณเดียวกับยูดี ทาวน์ ออกแบบเป็นอาคารสไตล์โมเดิร์นโคโลเนียลสูง 7 ชั้น ห้องพัก 68 ห้อง โดยวางตำแหน่งทางการตลาดเป็นโรงแรมระดับพรีเมียมบูทีค 4 ดาว ราคาห้องพักเริ่มต้น 3,500 บาทต่อคืน
ภาสกรกล่าวว่า จุดขายของโรงแรมนี้จะเน้นด้านการออกแบบที่แตกต่างจากที่เคยมีในอุดรธานี สถาปัตยกรรมมีความทันสมัย ใช้เอกลักษณ์ลายวัสดุพื้นถิ่น เช่น ลายผ้า อุปกรณ์ทอผ้า เข้ามาประยุกต์ และใช้งานบริการที่มีมาตรฐาน ซึ่งทางบริษัทจะบริหารโรงแรมด้วยตนเอง ไม่ได้ใช้ระบบเชนโรงแรม
นอกจากนี้ ในโรงแรมจะมี ร้านอาหาร “พา” (Par) บริการ คำว่า พา มาจากภาษาอีสานแปลว่า “สำรับ” ร้านจะเสิร์ฟอาหารตั้งแต่เช้าจนถึงมื้อเย็นซึ่งจะเป็นมื้อพิเศษ มีเมนูชวนลิ้มลอง (testing menu) เป็นอาหารอีสานที่นำเสนอในรูปแบบไฟน์ไดนิ่ง ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาลและภูมิปัญญาการทำอาหารแบบท้องถิ่น จัดเป็นสำรับแบบ “พาข้าวที่บ้านเฮา…สู่สำรับข้าวของเฮาเอง”
สำหรับตลาดธุรกิจโรงแรมในอุดรธานี ภาสกรให้ข้อมูลว่ามีประมาณ 4,000 ห้อง จากโรงแรมเกือบ 40 แห่ง แต่โรงแรมที่มีระดับ 4 ดาวยังไม่มาก ที่มีคือโรงแรมเซ็นทาราและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ อุดรธานี ซึ่งราคาห้องพักจะอยู่ที่ประมาณ 2,000-2,500 บาทต่อคืน
ด้านอภิชากล่าวต่อว่า กลุ่มเป้าหมายที่เล็งเห็นโอกาสคือ “ทัวร์ธรรมะ” ไหว้พระ ทำบุญ ซึ่งเป็นจุดดึงดูดสำคัญของอุดรธานี ปกติช่วงก่อน COVID-19 จะมีนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้เข้ามามาก เพราะอุดรธานีมีวัดดัง เกจิอาจารย์ดังที่คนเคารพศรัทธาหลายท่าน หรือยกตัวอย่าง “เกาะคำชะโนด” หลังจากเริ่มเปิดให้เข้าหลัง COVID-19 คลี่คลายแต่ต้องจองคิวเข้าไป พบว่ามีคิวเต็มทุกวันจากความศรัทธา
“กลุ่มข้าราชการผู้ใหญ่หรือเซเลบคนดังจะชอบมาเที่ยวอุดรมาก ปกติจะมีคนรู้จักขอให้คุณพ่อช่วยจัดทริปทำบุญให้อยู่แล้ว จึงเห็นโอกาสตรงนี้” อภิชากล่าว
HOTEL MOCO จึงมีแพ็กเกจจัดทริปทำบุญไหว้พระให้ด้วย สามารถจัดให้ตามต้องการและขนาดทัวร์ หากต้องการถวายภัตตาหาร สามารถจัดอาหารจากร้านอาหาร “พา” ได้ พร้อมภาชนะสวยงามของทางโรงแรม
นอกจากสายธรรมะในไทยแล้ว พี่น้องชาวลาวก็เป็นเป้าหมายสำคัญ เนื่องจากปกติชาวลาวจะข้ามมาเที่ยวฝั่งไทยสม่ำเสมอ เพียงแต่ขณะนี้ยังต้องรอสถานการณ์ COVID-19 ก่อน “ถ้าลาวเปิดได้เมื่อไหร่ รับรองอุดรแตกแน่นอนค่ะ” อภิชากล่าว
โรงแรมเตรียมเปิดบริการ 4 พ.ย. นี้ ประเดิมวันหยุดสุดสัปดาห์แรก 5 พ.ย. 64 มีนักท่องเที่ยวจองเต็มเรียบร้อย เนื่องจากเป็นช่วงทอดกฐินทำให้มีทัวร์ทำบุญเข้ามาทันที
อีกหนึ่งธุรกิจของกลุ่มยูดีทาวน์คือ “มลฑาทิพย์ ฮอลล์” ซึ่งภาสกรกล่าวว่า เนื่องจากเพิ่งเปิดเมื่อปี 2562 ทำให้เผชิญกับ COVID-19 ทันที ช่วงแรกเคยจัดงานรับผู้ร่วมงาน 3,000-4,000 คนต่อวัน แต่ขณะนี้จากข้อจำกัดด้านสุขอนามัยทำให้จัดได้ไม่เกิน 50 คนต่ออีเวนต์
อภิชาเสริมว่า เนื่องจากประเทศไทยมีนโยบาย MICE City สนับสนุนศูนย์กลางการประชุม 10 จังหวัด และอุดรธานีเป็นหนึ่งในนั้น ขณะนี้จึงมีการผลักดันอยู่เพื่อให้กลุ่ม MICE ได้เปิดจัดอีเวนต์ขนาดไม่เกิน 500 คนได้ ซึ่งจะช่วยฟื้นธุรกิจกลุ่มนี้
ขณะที่ธุรกิจดั้งเดิมของครอบครัวอย่าง “ยูดี ทาวน์” ทราฟฟิกเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาเป็น 50% ของช่วงปกติ และมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากลูกค้าเริ่มคลายความกังวล เริ่มนัดพบปะเพื่อนฝูงในร้านอาหาร และไฟลท์บินเข้าออกอุดรธานีทยอยกลับมาบริการ โดยคาดว่าภายในเดือนพฤศจิกายน ไฟลท์บิน 52 เที่ยวต่อวันของอุดรธานีจะกลับมาทำการบินทั้งหมด ทำให้มีนักท่องเที่ยวเข้ามามากขึ้น
ทั้งนี้ ช่วงที่มีการล็อกดาวน์รอบล่าสุด กลุ่มยูดี ทาวน์ได้ใช้งบลงทุน 30 ล้านบาทเพื่อรีโนเวตศูนย์การค้า และเพิ่มโซน ยูดี ทาวน์ ฟู้ด เซ็นเตอร์ ขึ้นมา เพื่อคงความเป็นแหล่งรวมร้านอาหารของอุดรธานีไว้
]]>“อุดมศักดิ์ โสมคำ” หัวหน้าส่วนงานปฏิบัติการภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่รับหน้าที่เป็นเสมือนซีอีโอประจำภาคอีสาน ระบุชัดเจน
ทั้งให้มุมมองว่า “ค่ายมือถือเกือบทุกค่ายมักเริ่มเจาะตลาดภูมิภาค โดยเริ่มจากภาคอีสานก่อนเป็นพื้นที่แรกๆ เพราะภาคนี้มีประชากรมากที่สุดถึง 22 ล้านคน และสามารถสร้างรายได้ได้มากที่สุดอีกเช่นกัน”
แม้ว่าค่าบริการเฉลี่ยต่อเบอร์ต่อเดือน (ARPU) จะไม่สูงเทียบเท่าพื้นที่กรุงเทพฯ แต่มีปริมาณผู้ใช้บริการที่มากกว่า จึงกลายเป็นพื้นที่หลักไปโดยปริยาย
จากผลสำรวจส่วนแบ่งการตลาดล่าสุดของ “เอไอเอส” ในภาคอีสาน เมื่อปลายปี 2018 ที่ผ่านมา พบว่า AIS ครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 55% ด้วยจำนวนลูกค้ากว่า 10 ล้านราย ขณะที่คู่แข่งอยู่ที่รายละประมาณ 20%
เหตุผลที่ ARPU ในภาคอีสานเฉลี่ยแล้วน้อยกว่าในกรุงเทพฯ หรือภาคกลาง เป็นเพราะพฤติกรรมของลูกค้าส่วนใหญ่ยังใช้งานในรูปแบบพรีเพด (เติมเงิน) โดยนิยมซื้อซิมใช้งาน พอหมดโปรโมชั่นก็เปลี่ยนซิมใหม่
แล้วสถิติจำนวนซิมการ์ดแบบพรีเพดในตลาดทั่วประเทศ พบว่ามีจำหน่ายเฉลี่ยแต่ละเดือนราว 3 ล้านเลขหมาย แม้การใช้งานแบบดาต้าจะขยับขึ้นมาอยู่ที่ 70% แต่การใช้งานแบบวอยซ์ก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
จากปัจจัยเหล่านี้ ทำให้ภาคอีสานเป็นฐานตลาดขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับตลาดหลักอย่างในกรุงเทพฯ ดังนั้น การทำตลาดในระดับภูมิภาค มักจะเริ่มในพื้นที่อีสานก่อน
“ความท้าทายของภาคอีสานคือการที่มีพื้นที่กว้างมาก แม้จำนวนประชากรจะสูง แต่ก็ไม่ได้หนาแน่น วิธีการที่ใช้ติดต่อสื่อสารจึงแตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่”
AIS จึงเดินหน้าตอกย้ำผู้นำเครือข่ายอันดับ 1 ตัวจริง ด้วยการโหมกลยุทธ์รุกตลาดภูมิภาคทั่วไทย เริ่มด้วยการยกทัพเทคโนโลยีดิจิทัลไปเสริมแกร่งภาคอีสาน พร้อมแคมเปญครองใจชาวอีสานด้วย “เอไอเอส ที่ 1 ตัวจริง เร็วแฮงสุดทั่วภาคอีสาน”
ตอกย้ำศักยภาพเครือข่าย 4G, 4.5G และ NEXT G ที่เร็วสุด แรงสุด และครอบคลุมมากที่สุด ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนอีสานโดยส่ง “ต่าย อรทัย” ราชินีลูกทุ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 ของไทย เป็นตัวแทนสื่อสารแคมเปญ มัดหัวใจพี่น้องชาวอีสานบ้านเฮากับเอไอเอส
“ปรัธนา ลีลพนัง” หัวหน้าคณะผู้บริหารกลุ่มลูกค้าทั่วไป เอไอเอส กล่าวว่า การสื่อสารคงไม่ได้แตกต่างไปจากเดิมในแง่ของวิธีการ แต่จะต่างกันที่ช่องทางมากกว่า
“ในอดีตเวลาลงโฆษณา หรือทำแคมเปญผ่านโทรทัศน์จะทำให้เกิดกระแสมากที่สุด แต่ปัจจุบันช่องทางออนไลน์ทำได้เร็วกว่า จึงต้องปรับใช้ช่องทางสื่อสารให้เหมาะสม”
อย่างไรก็ตาม “ปรัธนา” มองว่า เวลานี้สภาพตลาดมือถือในต่างจังหวัดเริ่มขยับเข้ามาใกล้กับตลาดในกรุงเทพฯ แล้ว แต่ยังไม่เท่ากับตลาดหัวเมืองต่างๆ ที่ยังตามหลังกรุงเทพฯ อยู่อีกประมาณ 6 เดือน
ส่วนกลยุทธ์การใช้พรีเซ็นเตอร์ ยังคงเป็นหลักในการสื่อสารให้เข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมาก เพราะต้องอิงอยู่กับด้านบันเทิง และความชอบส่วนบุคคล
“เอไอเอส” จึงบุกตลาดภูมิภาค ด้วยการเปิดตัว 2 พรีเซ็นเตอร์ชื่อดัง
โดยประเดิมคอนเสิร์ต “ต่าย อรทัย” ในภาคอีสาน และเดือนสิงหาคมถึงคิวของ “เอกชัย ศรีวิชัย” ในการทัวร์คอนเสิร์ตภาคใต้
เพราะนักร้องทั้งสองถือเป็น “ตัวแทน” ที่สะท้อนภาพของ “เอไอเอส” ได้อย่างชัดเจน ทั้งการเป็นศิลปินระดับคุณภาพ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และครองใจคนไทยมานาน.
]]>