ฮอลลีวูด – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 25 Sep 2023 13:12:04 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กลุ่ม “นักเขียนบท” จ่อบรรลุข้อตกลงแรงงานกับสตูดิโอฮอลลีวูด หลังหยุดงานประท้วงนานร่วม 5 เดือน https://positioningmag.com/1445433 Mon, 25 Sep 2023 12:05:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1445433 The Writer Guild of America (WGA) สมาคม “นักเขียนบท” หนึ่งในสหภาพแรงงานที่ร่วมหยุดงานประท้วงครั้งใหญ่ในฮอลลีวูด จ่อจะได้เป็นแรงงานกลุ่มแรกที่บรรลุข้อตกลงค่าแรงที่เป็นธรรมกับบรรดาสตูดิโอยักษ์ใหญ่ในฮอลลีวูดสำเร็จ อย่างไรก็ตาม การถ่ายทำและโปรดักชันต่างๆ จะยังไม่เดินกล้อง เพราะฝั่งสมาคม “นักแสดง” ยังไม่มีความคืบหน้า

Bob Hopkinson โฆษกของสมาคม WGA ตัวแทนสมาชิก “นักเขียนบท” กว่า 10,000 คน เปิดเผยผ่านทางอีเมลกับสำนักข่าว Insider ว่า WGA กำลังจะบรรลุข้อตกลงกับ AMPTP แล้ว หลังการประชุมต่อเนื่องนาน 5 วัน

AMPTP นั้นย่อมาจาก Alliance of Motion Picture and Television Producers หรือสมาพันธ์ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ ซึ่งประกอบด้วยบรรดาสตูดิโอและสตรีมมิ่งยักษ์ใหญ่ในฮอลลีวูด เช่น Warner Bros. Discovery, Disney, Netflix เป็นต้น

“สิ่งนี้เกิดขึ้นได้เพราะความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสมาชิก WGA และการสนับสนุนสุดพิเศษของพี่น้องสหภาพแรงงานอื่นๆ ของเรา ที่ได้ช่วยกันยืนหยัดมาได้นานถึง 146 วัน” Hopkinson ระบุในอีเมล

แหล่งข่าวรายหนึ่งเปิดเผยกับนิตยสาร Variety ว่า ทาง AMPTP ส่งข้อเสนอ “สุดท้ายและดีที่สุดที่ให้ได้” กับทางสมาคม WGA เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา ซึ่งทาง WGA มองว่าเป็นข้อเสนอที่ “ยอดเยี่ยม ได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นชัดเจน และปกป้องนักเขียนในทุกภาคส่วนที่เป็นสมาชิกสมาคม” โดยไม่มีข้อมูลหลุดออกมาว่านักเขียนบทจะได้ค่าแรงเพิ่มมากแค่ไหน เพราะยังได้เซ็นข้อตกลงกันอย่างเป็นทางการ

อย่างไรก็ตาม สำนักข่าว Bloomberg สืบเสาะมาได้ว่า ดีลนี้กลุ่ม “นักเขียนบท” สามารถเรียกร้องให้สตูดิโอ “จ่ายเงินเดือนเพิ่ม แชร์ข้อมูลการเข้าชมจริงให้เห็นเพื่อจะได้จ่ายโบนัสให้พวกเขาถ้ารายการ/ซีรีส์/ภาพยนตร์นั้นๆ ทำผลงานได้ดี และต้องมีการันตีจำนวนนักเขียนบทขั้นต่ำให้กับแต่ละรายการด้วย”

WGA ที่มีจำนวนสมาชิกกว่า 10,000 คน เป็นหนึ่งในสหภาพแรงงานในฮอลลีวูดที่ร่วมการ “สไตรค์” หรือนัดหยุดงานประท้วงมาตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2023

ส่วนกลุ่มใหญ่กว่าที่เป็นเหมือนหน้าด่านของการหยุดงานประท้วงคือสมาคม “SAG-AFTRA” สมาคมที่ดูแลสมาชิกแรงงาน “นักแสดง” มากกว่า 160,000 คน พวกเขายืนหยัดหยุดงานจนทำให้โปรดักชันต่างๆ ไม่สามารถกลับมาถ่ายทำได้ และจะสไตรค์ต่อไปจนกว่า AMPTP จะหันมาทำข้อตกลงที่เป็นธรรม

SAG-AFTRA แสดงความยินดีกับฝั่งสมาคมนักเขียนบท และยืนยันว่าทางสมาคมนักแสดงเองก็จะต่อสู้ต่อไปจนกว่าจะได้เงื่อนไขที่เหมาะสมกับสมาชิกของกลุ่มตัวเองเช่นกัน

นั่นแปลว่าโปรดักชันการผลิตต่างๆ จะยังไม่กลับไปเดินหน้ากันทันที ทาง WGA จะยังรอจนกว่าจะเซ็นสัญญากันเรียบร้อยก่อน และระหว่างนี้แนะนำให้สมาชิกไปช่วยทาง SAG-AFTRA เดินหน้าประท้วงต่อ

 

นายทุนคิดผิดว่าการสไตรค์จะจบไว

จากการสไตรค์ครั้งใหญ่นี้ ทำให้รายการโทรทัศน์รอบดึกหายไปจากหน้าจอตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ผังโทรทัศน์ต้องหันไปใช้บริการซีรีส์เรียลลิตี้โชว์ เพราะนักเขียนบทของรายการเหล่านี้ไม่ได้รวมตัวอยู่ใน WGA

ส่วนบริการสตรีมมิ่ง ซีรีส์และภาพยนตร์สำคัญหลายเรื่องที่อยู่ระหว่างถ่ายทำก็ต้องค้างเติ่งไปก่อน เช่น Stranger Things ภาค 5 ของ Netflix หรือ Blade ของ Marvel

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2023 หลังประท้วงกันมานานกว่า 2 เดือน สำนักข่าว Deadline รายงานข้อความที่น่าตกใจว่า ผู้บริหารสตูดิโอรายหนึ่งวางกลยุทธ์ว่าจะปล่อยให้การสไตรค์ลากยาวไปหลายๆ เดือน “จนกว่าสมาชิกสหภาพแรงงานจะเริ่มสูญเสียบ้านและคอนโดฯ ของตัวเองไป” สะท้อนให้เห็นว่าแต่เดิมบอร์ดบริหารสตูดิโอไม่ต้องการจะเจรจาใดๆ

ด้านแรงสนับสนุนของคนนอกวงการก็สูงมากแม้ผู้ชมจะต้องอดดูรายการโปรด ยกตัวอย่างเช่น “Drew Barrymore” ดาราดังที่หันมาทำรายการทีวีของตัวเองในชื่อ The Drew Barrymore Show เธอได้รับผลกระทบจากการประท้วงหยุดงานของนักเขียนบท 3 คนในรายการ เมื่อต้นเดือนกันยายนนี้เธอประกาศจะกลับมาเดินหน้าถ่ายทำรายการโดยไม่รอให้นักเขียนบทของเธอบรรลุข้อตกลงจากการไปประท้วง ทำให้เธอถูก ‘ทัวร์ลง’ จนต้องเปลี่ยนการตัดสินใจ

สิ่งที่ทั้งนักเขียนบทและนักแสดงต้องการนั้นมีหลายประเด็นมาก หลักๆ คือเรื่องค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เพราะตั้งแต่มีสตรีมมิ่งเข้ามาทำให้โครงสร้างการจ่ายค่าตอบแทนเปลี่ยนไปจ่ายน้อยลง

รวมถึงมีประเด็นการปกป้องอาชีพพวกเขาจาก “AI” ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นแล้วเมื่อบางสตูดิโอทดลองใช้ AI สร้างภาพเคลื่อนไหวของนักแสดงตัวประกอบ โดยอาศัยเก็บภาพเขาหรือเธอเพียงครั้งเดียว และแน่นอนว่าจ่ายค่าตอบแทนเพียงครั้งแรกครั้งเดียวที่นักแสดงมาถ่ายทำ แต่สตูดิโอจะเก็บภาพตัวประกอบไว้ใช้ตลอดกาล

Source

]]>
1445433
สหภาพคนกอง “ฮอลลีวู้ด” ลงมติสไตรค์! ประท้วง “สตรีมมิ่ง” ขูดรีดแรงงานกองถ่าย https://positioningmag.com/1355242 Wed, 06 Oct 2021 10:17:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1355242 หลังยุคสตรีมมิ่งบูมสุดขีด หลังฉากคือการทำงานหนักของบรรดา “คนกอง” เพื่อป้อนคอนเทนต์ให้ทันความต้องการ จนในที่สุดสหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของ “ฮอลลีวู้ด” หมดความอดทน มีมติให้ “สไตรค์” เพื่อตอบโต้นายจ้าง เรียกร้องเวลาทำงานที่เหมาะสม จากปัจจุบันต้องทำงานกันถึง 70-80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

International Alliance of Theatrical and Stage Employees (IATSE) สหภาพแรงงานที่ใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมหนังฮอลลีวู้ด มีเครือข่ายสมาชิกกว่า 50,000 คน ทำงานในตำแหน่งต่างๆ เช่น ช่างกล้อง ช่างทำพร็อพประกอบฉาก ช่างทำผม ฯลฯ ลงมติโหวตคะแนนเสียงท่วมท้น 98% ว่าพวกเขาจะ “สไตรค์” เพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเอง โดยต้องการชั่วโมงทำงานที่น้อยลง และค่าจ้างที่เป็นธรรม

ก่อนหน้านี้ IATSE มีการพูดคุยกับ Alliance of Motion Picture and Television Producers (AMPTP) แต่สุดท้ายแล้วตกลงกันไม่ได้ โดยทาง IATSE เป็นฝ่ายคว่ำโต๊ะเจรจา แม้ว่า AMPTP จะยินยอมขยับค่าจ้างขึ้น ลดชั่วโมงทำงาน และมีแผนให้สิทธิประกันสุขภาพกับเงินบำนาญหลังเกษียณมูลค่าเกือบ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 13,600 ล้านบาท) แล้ว แต่ดีลที่ได้ยังไม่น่าพึงพอใจ

“แมทธิว โลบ” ประธานสหภาพ IATSE กล่าวว่า ผลโหวตได้ “ประกาศอย่างชัดเจนและกึกก้อง” แล้วสำหรับจุดยืนของคนกอง “การโหวตครั้งนี้หมายถึงการเรียกร้องคุณภาพชีวิต สุขภาพ และความปลอดภัยของคนทำงานในวงการภาพยนตร์และโทรทัศน์” โลบกล่าวในแถลงการณ์ “สำหรับคนที่ได้ค่าแรงต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม พวกเขาสมควรได้ค่าแรงที่ไม่น้อยไปกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่ครองชีพได้จริง”

 

ทำงาน 70 ชม.ต่อสัปดาห์ อันตรายต่อสุขภาพ

หลายเดือนระหว่างการล็อกดาวน์เมื่อปี 2020 ทำให้กองถ่ายหนังและซีรีส์บูมสุดขีดในช่วงที่ผ่านมา และพนักงานกองถ่ายต่างกล่าวกันว่าดีมานด์ความต้องการตัวพวกเขาเริ่มแย่ยิ่งกว่าที่เคยเป็น

กิจกรรมเพ้นท์สีรถเพื่อแสดงออกถึงการเรียกร้องของ IATSE

การประท้องบนท้องถนนของลอสแอนเจลิสและบนโซเชียลมีเดีย พนักงานกองถ่ายฮอลลีวู้ดต่างแบ่งปันเรื่องราวทรมานใจของการทำงานวันละไม่ต่ำกว่า 15 ชั่วโมง รวมแล้วต้องทำงาน 70-80 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

บางคนถึงกับต้องรับการผ่าตัด “จากการทำงาน” เพื่อฟื้นฟูสภาพหลังและเข่าของตัวเอง หลายคนได้รับผลกระทบต่อชีวิตสมรส และหลายคนพลาดไม่ได้ไปร่วมงานแต่งงานหรืองานศพของคนสำคัญในชีวิต

ในอุตสาหกรรมบันเทิง คำว่า “Fraturdays” เป็นศัพท์เฉพาะของคนกอง หมายถึง สภาพการทำงานที่คนกองต้องไปถึงกองถ่ายตั้งแต่ 6 โมงเช้าวันจันทร์ และมีคิวออกกองวันศุกร์ที่เริ่มเอาตอนบ่ายแก่ๆ จากนั้นก็ทำงานยาวไปจนถึงวันเสาร์เช้า ซึ่งทำให้วันหยุดไม่สามารถไปทำอะไรได้เลยนอกจากนอนพัก

กิจกรรมประท้วงในช่วงสองสัปดาห์ก่อนหน้านี้ (ที่มา : IATSE)

โธมัส พีซโกลอน ช่างมิกซ์เสียงรายหนึ่งที่ออกมาประท้วง ระบุว่าเขากำลังทำงานกับรายการมูลค่า 300 ล้านเหรียญรายการหนึ่งของสตรีมมิ่งแห่งหนึ่ง ส่วนใหญ่เขาต้องทำงาน 9 ชั่วโมงติดต่อกันก่อนที่จะได้พักกินข้าวเที่ยง และมีครั้งหนึ่งที่เขาต้องทำงาน 18 ชั่วโมงในวันเดียว

ขณะที่เพื่อนร่วมงานชื่อ เจด ธอมป์สัน ซึ่งเป็นแผนกเครื่องแต่งกายของรายการเดียวกัน ถึงกับหลับในระหว่างขับรถกลับบ้าน โชคดีที่เธอไม่ได้รับอันตราย ปัญหาหลับในหลังชั่วโมงทำงานอันทรหดเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในหมู่คนกอง

 

“สตรีมมิ่ง” ขูดรีดคนกอง

อย่างไรก็ตาม การลงมติให้สไตรค์ ไม่จำเป็นต้องมีการสไตรค์จริงๆ ทันที คนกองหลายคนกล่าวกับสำนักข่าว BBC ว่า พวกเขายังหวังว่าสหภาพแรงงานจะนำการโหวตนี้ไปใช้เจรจาต่อรองเพื่อรับดีลที่ดีกว่าได้สำเร็จ

ครั้งสุดท้ายที่ฮอลลีวู้ดเคยปั่นป่วนเพราะปัญหาการประท้วงของแรงงานคือเมื่อช่วงปี 2007-2008 โดยกลุ่มมือเขียนบทรวมตัวกันสไตรค์ AMPTP และด้วยเหตุใกล้เคียงกันคือต้องการขึ้นค่าแรง ครั้งนั้นกลุ่มนักเขียนสไตรค์หยุดงานกันมากกว่า 100 วัน และทำให้หนัง ซีรีส์ หลายๆ เจ้าต้องเลื่อนวันฉายออกไปเพราะเหตุนี้

กองถ่ายต้องใช้พนักงานเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก (Photo : Shutterstock)

ดูเหมือนว่าครั้งนี้เป้าหมายความขุ่นเคืองจะอยู่ที่สตรีมมิ่งยักษ์ทั้ง Amazon และ Netflix ซึ่งสหภาพแรงงานมองว่ากำลังเอาเปรียบการทำงานของพวกเขา

“บริษัทสตรีมมิ่งเหมือนได้ส่วนลดจากการใช้แรงงานพวกเรา” ลิซ่า คลาร์ก ฝ่ายตกแต่งฉาก กล่าว “เราสมควรได้ส่วนแบ่งที่ยุติธรรมจากกำไรของบริษัท เราควรจะได้รับค่าจ้างอย่างน้อยเท่าๆ กับที่เราเคยได้เมื่อครั้งทำงานให้กับเครือข่ายโทรทัศน์”

บริการสตรีมมิ่งกำลังบีบให้คนทำงานทุ่มเวลาให้งานเสร็จในระยะสั้นๆ คลาร์กกล่าวเปรียบเทียบว่า เธอมีเวลาแค่ 10 สัปดาห์ในการเตรียมฉากถ่ายทำเป็นร้อยๆ ฉาก จากปกติปริมาณงานขนาดนี้ต้องใช้เวลาเตรียมตั้ง 6 เดือน “เป็นคำขอที่ไม่มีเหตุผลเอาเสียเลย” คลาร์กกล่าว

Source

]]>
1355242
ไม่ใช่แค่ ‘Hollywood’ แต่ ‘Bollywood’ ของอินเดียก็กำลังเจ็บหนักจาก COVID-19 https://positioningmag.com/1281355 Sun, 31 May 2020 05:27:42 +0000 https://positioningmag.com/?p=1281355 จากการระบาดของ COVID-19 ทำให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั่วโลกได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะไม่ใช่แค่โรงภาพยนตร์ที่ถูกปิดลง แต่การถ่ายทำภาพยนตร์ก็ต้องชะงักลง และสำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดีย หรือ ‘บอลลีวูด’ (Bollywood) ที่คนไทยน่าจะคุ้นหู น่าจะเป็นประเทศที่เจ็บหนักจาก COVID-19 ที่สุด เพราอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดียมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยสามารถผลิตภาพยนตร์ได้กว่า 1,800 เรื่องต่อปีเลยทีเดียว

เศรษฐกิจอินเดียไม่สู้ดีตั้งแต่ปี 2562 ช่วงไตรมาส 3 การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอินเดีย (จีดีพี) ขยายตัวเพียง 4.5% ทำสถิติช้าที่สุดในรอบ 6 ปี โดยลดลงจากระดับ 5% ในไตรมาส 2 และต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 4.7% แต่ที่น่าแปลกคือ อุตสาหกรรมภาพยนตร์บอลลีวูดกลับเฟื่องฟูเป็นพิเศษ โดยช่วงไตรมาส 3 ยอดขายตั๋วภาพยนตร์ของ “พีวีอาร์” เชนโรงภาพยนตร์รายใหญ่ที่สุดของอินเดีย เติบโตถึง 15% ขณะที่รายได้ของบ็อกซ์ออฟฟิศทั้งปีในอินเดียสูงถึง 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตเกือบ 12% ขณะที่ภาพยนตร์ Hollywood มีสัดส่วนเพียง 15% เท่านั้น

“ในอินเดีย ภาพยนตร์ถือเป็นความบันเทิงราคาถูกที่ผู้คนทุกชนชั้นสามารถเข้าถึงได้ โดยราคาตั๋วภาพยนตร์ 1 ใบ มีราคาเพียง 75 รูปี (ประมาณ 30 บาท) เท่านั้น”

แต่ปีนี้ น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ยุ่งที่สุดของบอลลีวูด เพราะตั้งแต่อินเดียประกาศมาตรการปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส COVID-19 และรัฐบาลเพิ่งประกาศขยายเวลาต่อไปอีกจนถึงวันที่ 17 พ.ค. นี่เป็นช่วงปิดเทอมของโรงเรียนในอินเดีย ทำให้เหมาะแก่การเปิดตัวภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ แต่เพราะการระบาดของ COVID-19 ทำให้ยังไม่รู้ว่าจะต้องเลื่อนฉายไปถึงเมื่อไหร่ อย่างภาพยนตร์แอคชั่นที่ถูกคาดหวังไว้สูงอย่าง “Sooryavanshi” ก็ถูกเลื่อนฉายแบบไม่มีกำหนด

Shubhra Gupta นักวิจารณ์ภาพยนตร์จากหนังสือพิมพ์ Indian Express กล่าวว่า “ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่มากและมันมีความคาดหวังอย่างมากจากผู้ชม ซึ่งถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่”

Komal Nahta นักวิเคราะห์การค้าภาพยนตร์และพิธีกรรายการโทรทัศน์ระบุว่า การระบาดใหญ่ครั้งนี้มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์ของอินเดียมากกว่า 330 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเกิดจาดจากการสูญเสียรายได้บ็อกซ์ออฟฟิศและการผลิตที่ถูกยกเลิกไป

แม้ปัจจุบัน อินเดียจะทยอยคลายมาตรการล็อกดาวน์จนถึงระยะที่ 4 จนสถานการณ์เริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติ แต่ผู้เชี่ยวชาญมองว่าสถานการณ์แพร่ระบาดในอินเดียยังไม่แตะถึงระดับสูงสุด และจะแตะถึงจุดสูงสุดในช่วง มิ.ย. หรือ ก.ค.นี้ โดยปัจจุบันยอดผู้เสียชีวิตจาก COVID-19 ในอินเดีย พุ่งสูงเกินตัวเลขในจีนแล้ว มีผู้เสียชีวิตรวมอย่างน้อย 4,820 คน ขณะที่ยอดในจีนอยู่ที่ 4,638 คน ส่วนยอดผู้ป่วยสะสมในอินเดียอยู่ที่กว่า 169,000 คน

แม้ว่าโรงภาพยนตร์จะเปิดให้บริการอีกครั้ง แต่พวกเขาจะยังคงสูญเสียรายได้ต่อไป เพราะโรงภาพยนตร์ไม่สามารถให้บริการได้เต็มที่ เนื่องจากมาตรการ Social Distancing ที่ต้องเว้นระยะห่าง ซึ่งโรงภาพยนตร์ในหลายประเทศ อาทิ จีน รวมถึงประเทศไทย ก็มีการจัดกัดจำนวนผู้เข้าชม

“มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม อาจทำให้ได้รายได้เต็มที่ที่ 50% สำหรับภาพยนตร์ฟอร์มเล็กถือว่าไม่กระทบมากนัก แต่ถ้าเป็นภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ ถือว่าได้ผลกระทบอย่างหนัก”

อ่าน >>> “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์” กางมาตรการพร้อมเปิดโรงหนัง นั่งแถวเว้นแถว มีฉากกั้นทุก 4 ที่นั่ง

Arti Nayar ช่างแต่งหน้าศิลปินบอลลีวูด กล่าวว่า “โครงการและกิจกรรมที่เธอเกี่ยวข้องในช่วงฤดูใบไม้ผลินี้ ถูกเลื่อนไปเรื่อย ๆ เนื่องจากไวรัส อย่างในกองจะมีเด็กน้อยที่ดูแลอาหารของพวกเราทุกคนซึ่งมีรายได้เป็นค่าแรงรายวัน ยิ่งกระทบหนัก เพราะเมื่อการถ่ายทำถูกยกเลิก นั่นแปลว่าเขาไม่มีรายได้”

ทั้งนี้ สมาคมผู้ผลิตแห่งอินเดีย (GUILD) ได้จัดตั้งกองทุนบรรเทาทุกข์สำหรับผู้ที่ได้รับค่าจ้างรายวัน เช่น ช่างทำผม ช่างแต่งหน้า และผู้ช่วยที่ทำงานในแผนกเทคนิค โดย Siddharth Roy Kapur ประธาน Guild กระตุ้นสมาชิกของสมาคมภาพยนตร์ให้บริจาคเพื่อพยายามลดความยุ่งยากในชีวิตของเพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้

Source

]]>
1281355
ส่องคนดังแวดวงฮอลลีวู้ด ผันตัวเป็น YouTuber รายได้ปังไม่แพ้ใน IG https://positioningmag.com/1251499 Wed, 30 Oct 2019 06:43:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1251499 ยุคนี้ใครๆ ก็สร้างคอนเทนต์ได้ง่ายดาย คนดังในวงการฮอลลีวู้ดก็เช่นกัน แม้จะเป็นนักแสดงที่มีชื่อเสียง แต่ก็ผันตัวมาทำคอนเทนต์ออนไลน์เป็น YouTuber ต้องบอกว่ารายได้ไม่แพ้ลงโฆษณาใน IG เลย

พามาส่องคนดังในวงการ YouTuber คนไหนสร้างรายได้เท่าไหร่บ้าง

วิซ คาลิฟา

มีผู้ติดตามมากถึง 28.7 ล้านคน ทำรายได้จากการโฆษณาโพสต์ลงไอจีอยู่ที่ 45,731-78,397 ดอลลาร์สหรัฐ

แรปเปอร์คนดังที่มีชื่อเข้าชิงรางวัลแกรมมี และเป็นศิลปินระดับแพลทินัม ที่มีความสามารถทั้งแต่งเพลงและแสดง มีผลงานเพลงมาแล้ว 6 อัลบัม โดยซิงเกิลฮิตๆ มีทั้ง Black and Yellow และ See You Again แรปเปอร์หนุ่มรายนี้ประสบความสำเร็จจากช่องทางโซเชียลมีเดียอย่าง อินสตาแกรม

ส่วนช่อง YouTube ของเขามีชื่อว่า DayToday ซึ่งเป็นช่องเกี่ยวกับผลงานเพลง และอัปเดตชีวิตส่วนตัวและไลฟ์สไตล์ที่น่าตื่นเต้น โดยมีคนกดติดตามหรือ Subscribers มากถึง 19.4 ล้านคน

ทำรายได้ไปเหนาะๆ จากโฆษณาทาง YouTube ไปถึง 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐกันเลยทีเดียว

กอร์ดอน แรมซีย์

มีผู้ติดตามในอินสตาแกรม 7.4 ล้านคน ทำรายได้จากสปอนเซอร์ต่อการโพสต์ลงไอจีอยู่ที่ 13,000-23,000 ดอลลาร์สหรัฐ

เชฟคนดังชาวอังกฤษระดับมิชลินสตาร์ ที่มีร้านอาหารของตนเองกว่า 30 แห่งทั่วโลก และยังมีผลงานทางโทรทัศน์ทั้งรายการ Hell’s Kitchen และ MasterChef ส่วนช่อง YouTube ของเขามีผู้ติดตามมากถึง 11.6 ล้านคน โดยมีคอนเทนต์ที่น่าสนใจทั้งการสอนทำอาหาร และสอนเทคนิคในครัวที่มีคนติดตามชมวิดีโอของเขาไม่น้อยในแต่ละคลิปทำให้ยอดผู้ชมโดยรวมทั้งหมดมากถึงระดับพันล้านครั้ง

สร้างรายได้จาก YouTube อยู่ที่ 20,000-300,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

วิล สมิธ

มีผู้ติดตามในไอจี 38.9 ล้านคน รายได้เงินจากสปอนเซอร์ถึง 71,921-119,868 ดอลลาร์สหรัฐต่อโพสต์

นักแสดงผิวสีคนดังที่มีผลงานมากมายนับไม่ถ้วนไปทั่วทุกวงการทั้งจอแก้วและจอเงิน รวมถึงไปเป็นนักร้อง และล่าสุดกับการเปิดช่อง YouTube ที่แชร์ไลฟ์สไตล์ต่างๆ ของตนเอง แถมยังมีรายการพิเศษอย่าง Will Smith : The Jump ที่เจ้าตัวเอาชนะความกลัวด้วยการกระโดดร่ม ทำกิจกรรมแอดเวนเจอร์กระโดดบันจี้จัมป์

ซึ่งช่อง YouTube ของเขามีผู้ติดตามมากถึง 6.91 ล้านคน แน่นอนว่าเจ้าตัวหวังทำรายได้จาก YouTube ไม่ต่างจากที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำจากอินสตาแกรม ส่วนรายได้จาก YouTube ก็คาดว่าอยู่ที่ 8,000-12,840 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน หรือ 96,300-1,500,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีกันเลยทีเดียว

อดัม ซาเวจ

พิธีกรทางทีวีและดีไซเนอร์ออกแบบเชิงอุตสาหกรรมที่มีรายการเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย อย่าง Mythbusters และ Unchained Reaction โดยช่อง YouTube ของเขาที่มีชื่อว่า Tested มีผู้ติดตามถึง 4.6 ล้านคน โดยคลิปวิดีโอของเขาที่นำเสนอเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานที่เขาออกแบบเอง วิธีการสร้าง และการทดลองนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ร้านของเขาเอง

ยอดผู้ชมวิดีโอของเขารวมแล้วมากกว่า 800 ล้านครั้ง และมียอดผู้ชมรวมแล้วประมาณ 300,000 ครั้งต่อวัน สามารถทำรายได้จากช่องทางนี้อยู่ที่ 1,200 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือประมาณ 440,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปีจากโฆษณาที่ปรากฏใน YouTube

เชย์ มิทเชลล์

นางแบบและนักแสดงสาวชาวแคนาดา เป็นที่รู้จักจากบท เอมิลี ฟีลด์ ในซีรีส์ Pretty Little Liars ช่อง YouTube ของเธอมีคนติดตาม 4.1 ล้านคน เธอแชร์คอนเทนต์เกี่ยวกับไลฟ์สไตล์ วิธีการทำอาหาร เคล็ดลับการแต่งหน้า แต่งตัว และยังรีวิวการท่องเที่ยวด้วย

รายได้จาก YouTube คาดว่าอยู่ที่ 120 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หรือ 44,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ดเวย์น จอห์นสัน

มีคนติดตามในอินสตาแกรม 159 ล้านคน ทำรายได้ต่อการโพสต์โฆษณาลงไอจีได้มากกว่า 304,474-507,456 ดอลลาร์สหรัฐ

หนุ่มล่ำบึ้กที่รู้จักกันในนาม เดอะร็อก ดีกรีแชมป์ WWE 17 สมัย และตอนนี้โด่งดังในฐานะนักแสดง มีความสามารถในการเขียนหนังสือระดับ Best Seller และยังร่วมก่อตั้งบริษัท Seven Bucks Production เขาใช้ช่องยูทูบของตนเองในการแชร์คอนเทนต์ฮาๆ ตามนิสัยของเขา โดยมีผู้ติดตามมากถึง 4.53 ล้านคน

ทำรายได้ต่อปีอยู่ที่ประมาณ 565,886 ดอลลาร์สหรัฐ

รัสเซล แบรนด์

นักแสดงตลกมาดเซอร์ อดีตสามีของนักร้องดังเคที เพอร์รีย์ ที่เคยมีผลงานการแสดงจากเรื่อง Forgetting Sarah Marshall ก็หันมาเอาดีด้านการเป็น YouTuber โชว์ไลฟ์สไตล์ขำๆ หรือการวิจารณ์เสียดสีทั้งการเมืองและวัฒนธรรมแบบสุดโต่ง ซึ่งเขาสามารถทำรายได้อยู่ที่ประมาณ 466,427 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี

Source

]]>
1251499