เทคโนโลยี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 13 Feb 2024 09:33:40 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รัฐบาลญี่ปุ่นทุ่มเงินเกือบ 11,000 ล้านบาท สนับสนุนการพัฒนาชิป 2 นาโนเมตร รวมถึงชิปที่เกี่ยวข้องกับ AI https://positioningmag.com/1462515 Tue, 13 Feb 2024 07:47:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1462515 รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศทุ่มเงินเกือบ 11,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชิป 2 นาโนเมตรให้ได้ภายในปี 2027 และยังรวมถึงการพัฒนาชิปที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลด้านปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังมีบทบาทสำคัญในอนาคต

รัฐบาลญี่ปุ่นได้ทุ่มเงินมากถึง 45,000 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทยเกือบ 11,000 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการพัฒนาชิปสำหรับ AI หรือแม้แต่เทคโนโลยีการผลิตชิปให้ได้ 2 นาโนเมตรให้ได้ภายในปี 2027 หลังจากที่ญี่ปุ่นได้ทุ่มทุนในการดึงอุตสาหกรรมไฮเทคเข้ามาในประเทศมากขึ้น

เม็ดเงินวิจัยและพัฒนาชิปจะนำไปใช้โดย Leading-Edge Semiconductor Technology Center ซึ่งมีการก่อตั้งในปี 2022 โดยแยกเป็น 28,000 ล้านเยนสำหรับพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการออกแบบชิปรุ่นต่อไปสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และเม็ดเงินอีกส่วน 17,000 พันล้านเยนสำหรับพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิป 2 นาโนเมตรหรือดีกว่าให้ได้

สำหรับ Leading-Edge Semiconductor Technology Center นั้นมีแกนนำคือ มหาวิทยาลัยโตเกียว AIST ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลญี่ปุ่น รวมถึง Rapidus บริษัทร่วมทุนของภาคเอกชนญี่ปุ่นเพื่อพัฒนาการผลิตชิป ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัทอย่าง Sony NTT SoftBank Toyota ฯลฯ

โดย Leading-Edge Semiconductor Technology Center การวิจัยมีทั้งในเรื่องเทคโนโลยีการผลิต หรือแม้แต่วัสดุในการผลิตชิป ซึ่งญี่ปุ่นเองถือเป็นประเทศที่ส่งออกวัตถุดิบในการผลิตชิปอันดับต้นๆ ของโลก และจะมีการร่วมมือกับบริษัททั้งในญี่ปุ่นรวมถึงผู้เล่นสำคัญที่อยู่ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ก่อนหน้านี้ Fumio Kishida นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ต้องการให้มีการผลิตชิปในประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง และหวังว่าแผนการดังกล่าวทำให้ญี่ปุ่นสามารถกลับมาเป็นผู้นำในด้านนี้ได้ หลังจากที่เกิดความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ โดยที่รัฐบาลเตรียมให้เม็ดเงินและสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อที่จะเพิ่มกำลังการผลิตชิปในญี่ปุ่นมากถึง 3 เท่าภายในปี 2030

ซึ่งบริษัทที่สนใจเข้าไปตั้งโรงงานผลิตชิปในญี่ปุ่นก็คือ TSMC และยังมีการประกาศตั้งโรงงานเพิ่มเติมที่จะผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตร

ขณะเดียวกัน Rapidus เองซึ่งเป็นบริษัทของญี่ปุ่นได้วางเป้าหมายที่จะผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 1.4 นาโนเมตรให้ได้ภายในปี 2028

ที่มา – Reuters, JiJi, Nikkei Asia

]]>
1462515
สรุปวงการ ‘ไอที’ 2023 ปีแห่ง เอไอ, การควบรวม และปลดพนักงาน  https://positioningmag.com/1457349 Thu, 28 Dec 2023 01:43:26 +0000 https://positioningmag.com/?p=1457349 สำหรับวงการไอทีในปีนี้คงต้องยกให้เป็นปีแห่งการ ควบรวม, เอไอ และการ ปลดพนักงาน อย่างแท้จริง เพราะทั้งไทยและต่างประเทศต่างก็มีดีลการควบรวมใหญ่ ๆ ที่สำเร็จเสร็จสิ้นในปีนี้ ขณะที่เอไอเองก็กลายเป็น Topic สำคัญที่ทุกคนพูดถึง แต่นอกจากเรื่องควบรวมกับเอไอ ยังมีเหตุการณ์อะไรน่าสนใจอีกบ้าง Positioning สรุปมาไว้แล้ว 

ควบรวม True-Dtac

หลังจากที่มีข่าวลือตั้งแต่ปี 2022 และแม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านจากหลาย ๆ ที่ แต่ในที่สุดวันที่ 1 มีนาคม 2023 True และ Dtac บอร์ 2 และ 3 ของตลาดโทรคมนาคมไทย (ตามลำดับ) ก็ควบรวมกันสำเร็จ โดยมีมูลค่าดีลสูงถึง 1.38 แสนล้านบาท พร้อมเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

อย่างไรก็ตาม แม้จะควบรวมกันสำเร็จแต่ทั้ง True และ Dtac ก็ยังคงทำตลาดภายใต้แบรนด์เดิมไปอีก 3 ปี ตามเงื่อนไขของกสทช. และหลังจากที่ควบรวมกันได้ไม่ถึงปี หลายคนเริ่มบ่นว่าค่าบริการปรับแพงขึ้น แต่คุณภาพลดลง จนในที่สุด กสทช. ก็ออกมาลงดาบให้ต้องลดค่าบริการลง 12%

โดยหลังจากควบรวม ส่งผลให้ทรู คอร์ปอเรชั่นเป็น เบอร์ 1 ของตลาด มีลูกค้ารวม 51.7 ล้านเลขหมาย (True 32.6 + Dtac 19.1 ล้านเลขหมาย) แซงหน้า AIS ที่มี 42.8 ล้านเลขหมาย

ควบรวม AIS Fiber-3BB

ถ้า True ได้ Dtac ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ตลาดโมบาย AIS เองก็ขอดึง 3BB เข้ามาเป็นครอบครัวเพื่อขึ้นเป็นเบอร์ 1 ตลาดเน็ตบ้าน โดยดีลนี้ AIS ได้ยื่นเรื่องถึงกสทช. เพื่อขออนุญาตซื้อหุ้น TTTBB หรือ 3BB ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งบอร์ดก็ได้พิจารณาการควบรวมไปเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2023 ที่ผ่านมา เรียกว่าใช้เวลาเกือบ 1 ปีพอดี กว่าดีลมูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาท จะเสร็จสิ้น

ที่ผ่านมา 3BB มีลูกค้าจำนวน 2.31 ล้านครัวเรือน ถือเป็นเบอร์ 3 ของตลาด ขณะที่ AIS เป็นเบอร์ 2 ของตลาดด้วยจำนวนลูกค้า 2.38 ล้านครัวเรือน ซึ่งการควบรวมนี้ทำให้เอไอเอสมีลูกค้ารวม 4.69 ล้านครัวเรือน ขึ้นเป็นอันดับ 1 แซงหน้า True ที่มีลูกค้า 3.79 ล้านครัวเรือน

ปีของเอไอ

หลังจากที่ ChatGPT เอไอสุดอัจฉริยะที่พัฒนาโดย OpenAI สร้างแรงกระเพื่อมไปทั่วโลก ทำให้ Microsoft ยอมที่จะควักเงิน 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลงในทุนกับ OpenAI โดยได้ผลตอบแทนเป็นการใช้โมเดลของ OpenAI กับผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ อาทิ Microsoft Office ไม่ว่าจะเป็น Outlook, PowerPoint, Excel และ Word

หลังจากที่ Microsoft ได้ลงทุนใน OpenAI แล้ว บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อื่น ๆ ก็ไม่น้อยหน้า อย่าง Google ประกาศเปิดตัว Bard เอไอแชทบอทมาชนกับ ChatGPT จากนั้นก็เปิดตัว ตัวโมเดลเอไอของตัวเองในชื่อ Gemini ในเดือนธันวาคม นอกจากนี้ก็มี Adobe ที่เปิดตัว Firefly เครื่องมือช่วยสร้างภาพโดยเอไอ

ภาพจาก Shutterstock

Microsoft ปิดดีล Activision Blizzard

นอกจากนี้ Microsoft ยังปิดดีลค่ายเกม Activision Blizzard ในมูลค่าสูงถึง 68,700 ล้านดอลลาร์ หลังจากที่ประกาศว่าจะเข้าซื้อตั้งแต่ต้นปี 2021 แต่ดีลก็ต้องสะดุดเนื่องจากถูกหน่วยงานกำกับดูแลของสหราชอาณาจักรและยุโรประงับการเข้าซื้อ เพราะกังวลว่าอาจจะ ผูกขาดธุรกิจเกม โดยหลังจากที่ Microsoft ได้ Activision Blizzard ทำให้ Microsoft ขึ้นแท่นเป็นบริษัทเกมอันดับ 3 ของโลก เป็นรองจาก Tencent และ Sony 

สำหรับ Activision Blizzard ถือเป็นค่ายเกมที่มีเกมดัง ๆ มากมาย อาทิ Call of Duty, Candy Cruch, Overwatch, Diablo และ Warcraft

ปีแห่งการลดคนของบริษัทไอที

เริ่มปลดพนักงานตั้งแต่ปี 2022 ลากยาวมาถึง 2023 ที่รวม ๆ แล้วแตะหลักแสนคนเลยทีเดียว สำหรับพนักงานบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ของโลกที่แทบจะนับนิ้วไม่ไหว โดยข้อมูลจาก Trueup แพลตฟอร์มติดตามการเลิกจ้างงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีทั่วโลกพบว่า ปีนี้มีบริษัทเทคโนโลยีถึง 1,992 ราย ที่ทำการปลดพนักงาน รวมแล้วเป็นจำนวนสูงถึง 428,335 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธ.ค. 2023) ซึ่ง สูงกว่าปีก่อนถึง 50% โดยบริษัทใหญ่ ๆ ที่ลดคน ได้แก่

  • Amazon – 27,000 คน
  • Google – 12,000 คน
  • Microsoft – 10,000 คน
  • Meta – 10,000 คน
  • Nokia – 14,000 คน
  • Spotify – 1,500 คน
  • Dell – 6,650 คน
  • Accenture – 19,000 คน
  • Zoom – 1,300 คน

NFT ที่ล่มสลาย

NFT หรือ Non-fungible token กระแสรุ่งพุ่งแรงในปี 2021-2022 ที่ตลาดสามารถเติบโตได้ถีง 21,000% มีมูลค่าตลาดทะลุ 1.7 หมื่นล้านดอลลาร์ แต่ในปี 2023 ตลาด NFTs ไม่ต่างอะไรจากอากาศ เพราะ 95% ของงานศิลปะดิจิทัลในตลาดลดมูลค่าลงเหลือ 0 ETH ส่วนคอลเลกชันที่ยังมีการถือครองแลกเปลี่ยน 5% ที่เหลือนั้นส่วนใหญ่มีราคาเพียงชิ้นละ 5-100 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 180-3,600 บาท) กลายเป็นว่านักสะสม 23 ล้านคน คงเอามือมาก่ายหน้าผากไม่พอแล้ว

ยกตัวอย่าง Bored Ape Yacht Club หนึ่งในคอลเลกชัน NFT ชื่อดังที่เคยมีมูลค่าหลายล้าน กลับตกลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองปี โดยคอลเลกชัน NFTs Bored Ape Yacht Club ของคนดังอย่าง Justin Bieber ที่เคยซื้อมาในราคา 1.3 ล้านดอลลาร์ ปัจจุบันมูลค่าลดลงประมาณ 95% เหลือเพียงประมาณ 59,000 ดอลลาร์เท่านั้น

จาก Twitter สู่ X และ Threads คู่แข่งใหม่

นับตั้งแต่ที่ อีลอน มัสก์ เข้ามาเป็นเจ้าของ Twitter แพลตฟอร์มก็อยู่ในช่วงขาลง นอกจากนี้ มัสก์ยังเลือกที่จะ รีแบรนด์ใหม่ จาก Twitter เป็น X ชื่อฟังก์ชันอย่าง ทวีต และ รีทวีต ก็เปลี่ยนชื่อเป็น โพสต์ และ รีโพสต์ เหมือนแพลตฟอร์มปกติทั่วไป อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่มัสก์เปลี่ยนจาก Twitter เป็น X ก็เพราะเป้าหมายที่ต้องการเปลี่ยนแพลตฟอร์มให้เป็นซูเปอร์แอปฯ

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะขาลงของ Twitter หรือเปล่า ที่ทำให้ Meta เจ้าของแพลตฟอร์มโซเชียลฯ อย่าง Facebook และ Instagram ได้เปิดตัว Threads แพลตฟอร์มที่มีฟีเจอร์คล้ายกับ Twitter โดยในช่วงที่เปิดตัวเพียงแค่ 7 ชั่วโมงที่เปิดให้โหลด Threads ก็มียอดผู้ใช้กว่า 10 ล้านราย แม้ว่าหลังจากนั้นการใช้งานจะลดลงฮวบฮาบก็ตาม

ปีแห่งการขึ้นราคาสตรีมมิ่ง

2 แพลตฟอร์มใหญ่อย่าง Netflix และ Disney+ ต่างจับมือกัน ขึ้นราคา โดยหลังจากที่ Netflix ประสบความสำเร็จในการป้องกันการแชร์รหัสผ่าน โดยใครที่มีปาร์ตี้นอกเหนือจากบ้านเดียวกันต้องจ่ายเพิ่มอีก 99 บาท แต่ดูเหมือนแค่นั้นยังไม่พอ เพราะในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา Netflix ได้ประกาศขึ้นราคาสำหรับบางแผนการใช้งานใน 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส แม้ไทยจะยังไม่ขึ้นราคา แต่ก็ไม่รู้ว่าปีหน้าจะรอดไหม

ส่วน Disney+ Hotstar ในไทยขึ้นแน่นอน โดยตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายนเป็นต้นไป จะมีการปรับเปลี่ยนใหม่จาก 799 บาทต่อปี จะใช้ได้สำหรับมือถือเท่านั้น ถ้าจะรับชมผ่านทีวีต้องสมัคร Disney+ Hotstar พรีเมียม ซึ่งมีค่าบริการรายเดือน 289 บาท และค่าบริการรายปี 2,290 บาท และในปีหน้าคาดว่าแพลตฟอร์มจะออกมาตรการป้องกันการแชร์รหัสผ่านเหมือนกับ Netflix ด้วย

สมาร์ทโฟนตัวแพงขายดี

อ้างอิงจากข้อมูลของ IDC พบว่า ตลาดสมาร์ทโฟนไทยช่วง Q3/2023 เติบโตขึ้น 1.6% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ถือเป็นการสิ้นสุดการหดตัวติดต่อกัน 6 ไตรมาสติด และที่น่าสนใจคือ การเติบโตในกลุ่มพรีเมียม (ราคา 35,000 บาทขึ้นไป) เติบโตได้ถึง +25.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะแรงหนุนจากการเปิดตัวรุ่นใหม่ เช่น iPhone 15 series ของ Apple และ Galaxy Z Flip5 และ Galaxy Z Fold5 ของ Samsung 

ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจหากผู้เล่นหลายรายจะเน้นหนักไปที่สมาร์ทโฟนเรือธง รวมถึง สมาร์ทโฟนจอพับ เพื่อที่จะดึงดูดผู้บริโภคกระเป๋าหนักให้มาซื้อ เพราะปัญหาเศรษฐกิจไม่กระทบคนมีเงิน ทำให้ผู้บริโภคในกลุ่มนี้สามารถ เปลี่ยนมือถือบ่อยกว่า และมีแนวโน้มจะ ซื้อในราคาที่สูงขึ้น ทำให้สินค้าในกลุ่มนี้มีการ แข่งขันราคาน้อย กว่ากลุ่มล่าง ดังนั้น แบรนด์มือถือก็คิดแล้วว่าจะไปหั่นราคาแข่งกันในตลาดเริ่มต้นทำไม มาจับพรีเมียมดีกว่าเพราะผู้บริโภคยอมจ่าย

จะเห็นว่ากระเเสบางอย่างที่เคยมาแรงสุด ๆ ในปีที่ผ่านมา กลับกลายเป็นดาวดับในปีนี้ เช่น NFT ที่แทบจะกลายเป็นของไร้ค่าไปเลย ซึ่งก็ต้องมาดูกันว่าปีหน้าในวงการไอทีจะมีอะไรใหม่ ๆ ที่ขึ้นมาเป็นกระแสอีกบ้าง หรืออะไรที่ในปีนี้ที่จะกลายเป็นดาวดับในปีหน้า

]]>
1457349
รัฐบาลจีนเร่งเปลี่ยนอุปกรณ์ไอทีมาใช้ของที่ผลิตในประเทศมากขึ้น หลังโดนสหรัฐฯ คว่ำบาตรและกังวลเรื่องจารกรรมข้อมูล https://positioningmag.com/1449610 Sun, 29 Oct 2023 14:10:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1449610 รัฐบาลจีนเร่งเปลี่ยนผ่านสินค้าไอที ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Hardware และ Software จากเดิมที่ใช้ของผลิตในต่างประเทศ กลับมาใช้ของที่ผลิตในประเทศมากขึ้น เนื่องจากปัญหาสำคัญคือเรื่องของมาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา รวมถึงกังวลเรื่องการจารกรรมข้อมูล

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า รัฐบาลจีนได้เร่งเปลี่ยนอุปกรณ์ไอทีมาใช้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น โดยมาตรการดังกล่าวตามหลังมาจากมาตรการห้ามการส่งออกสินค้าไอที หรือแม้แต่เทคโนโลยีขั้นสูง ไปยังประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น และยังรวมถึงความกังวลในเรื่องการจารกรรมข้อมูล

หน่วยงานภาครัฐของจีนหลายแห่ง รวมถึงรัฐวิสาหกิจของจีน ได้ทยอยเปิดการประมูลเพื่อจัดซื้อสินค้าไอที โดยในช่วง 1 ปีที่ผ่านมามีจำนวนการประมูลจัดซื้อสินค้าเพิ่มมากขึ้นมากกว่า 1 เท่าตัว โดยบริษัทวิจัยไอที First New Voice ได้ชี้ว่าจีนได้ใช้เงิน 1.4 ล้านล้านหยวน เพื่อเปลี่ยนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างประเทศในปี 2023 เพิ่มขึ้น 16.2% เมื่อเทียบกับปี 2022 ที่ผ่านมา

คาดว่าภายหลังจากนี้จีนจะใช้มาตรการดังกล่าวในภาคการเงิน รวมถึงภาคโทรคมนาคม เป็นรายถัดไป เนื่องจากทั้ง 2 ภาคส่วนมีความสำคัญต่อด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง

รายงานของ Reuters ยังชี้ว่าไม่ใช้แค่ผลิตภัณฑ์ไอทีเท่านั้น แต่จีนต้องการที่จะเปลี่ยนซอฟต์แวร์ที่พึ่งพาชาติตะวันตก ให้เปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์จากผู้ผลิตในประเทศจีน

ในช่วงที่ผ่านมาจีนเองได้ประสบปัญหามาตรการคว่ำบาตรจากสหรัฐอเมริกา ที่ไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรผลิตชิปหรือแม้แต่การนำเข้าชิปเร่งการประมวลผลด้าน AI ของ Nvidia ทำให้จีนต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ รวมถึงใช้ผลิตภัณฑ์ไอทีจากจีนทดแทนจากชาติตะวันตก

อย่างไรก็ดีปัญหาในเวลานี้ของจีนก็คือการขาดความสามารถในการผลิตชิปขั้นสูง ทำให้ไม่สามารถทดแทนสินค้าไอทีที่ผลิตในประเทศจีนได้ทั้งหมดอย่างสมบูรณ์

]]>
1449610
จีนตั้งเป้าเพิ่มพลังซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีก 50% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า ชี้ลงทุนคุ้ม สร้างผลดีแก่เศรษฐกิจ https://positioningmag.com/1447534 Tue, 10 Oct 2023 18:12:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447534 จีนวางแผนที่จะเพิ่มพลังซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีก 50% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยมองว่าแผนการดังกล่าวมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจดิจิทัลที่เติบโตอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีการเสริมพลังครั้งนี้อาจเป็นเรื่องยากลำบากเพราะสหรัฐฯ อาจใช้มาตรการห้ามส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องให้

รัฐบาลจีนวางแผนที่จะเพิ่มพลังประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีก 50% ในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยให้เหตุผลว่าเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับเศรษฐกิจดิจิทัลที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และยังรวมถึงความขัดแย้งกับสหรัฐอเมริกาทำให้จีนต้องเร่งพัฒนานวัตกรรมในทุกด้าน

ปัจจุบันจีนมีพลังประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ราวๆ 197 Exaflops โดยรัฐบาลตั้งเป้าว่าภายในปี 2025 ว่าพลังประมวลผลจะเพิ่มขึ้นเป็น 300 Exaflops ให้ได้ ซึ่งหน่วย Exaflop หมายถึงหน่วยของพลังการประมวลผล โดย 1 Exaflop เทียบเท่าได้กับพลังการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ทั่วไปมากถึง 2 ล้านเครื่อง

พลังประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของจีนรวมกันในปัจจุบันยังถือว่าตามหลังสหรัฐอเมริกา ทำให้จีนต้องการที่จะไล่ให้ทันในด้านเทคโนโลยีดังกล่าวด้วย ซึ่งหลายประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามที่จะมีการเพิ่มการประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น ไปจนถึงสหภาพยุโรป ฯลฯ

โฆษกของกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศของจีนได้กล่าวว่าพลังการประมวลผลที่เพิ่มขึ้นจะต้องรองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ รวมถึงการเงินและการศึกษา และยังรวมถึงสนับสนุนการพัฒนาในด้านปัญญาประดิษฐ์ซึ่งต้องใช้พลังในการประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาล

การเพิ่มพลังประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ยังถือเป็นส่วนหนึ่งในแผน “ระบบนวัตกรรมแห่งชาติ” ของรัฐบาลจีนอีกด้วย

ในแผนดังกล่าวนี้ รัฐบาลจีนยังมุ่งเน้นไปยังเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนการเพิ่มพลังประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่เก็บข้อมูล ระบบเครือข่ายไว้สำหรับการส่งข้อมูล รวมถึงการวางแผนจะสร้างศูนย์ข้อมูลเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ เพื่อที่จะรองรับซูเปอร์คอมพิวเตอร์

Akshara Bassi นักวิเคราะห์อาวุโสของ Counterpoint ได้ให้ความเห็นกับ CNBC ว่า จีนพบว่าทุกๆ 1 หยวนที่ลงทุนในพลังการประมวลผลนั้นได้ขับเคลื่อนผลผลิตทางเศรษฐกิจ 3-4 หยวน นอกจากนี้การลงทุนดังกล่าวสะท้อนถึงแผนการของจีนในการขับเคลื่อนผลผลิตทางเศรษฐกิจผ่านการเป็นผู้นำในด้านเทคโนโลยี

อย่างไรก็ดีนักวิเคราะห์อาวุโสรายดังกล่าวได้ให้ความเห็นว่าความทะเยอทะยานของจีนในการเพิ่มพลังการประมวลผลของซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีสิทธิ์ที่จะโดนสหรัฐฯ จับตามอง หรือแม้แต่การออกมาตรการเข้าถึงเซมิคอนดักเตอร์ที่สำคัญบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นชิปประมวลผลด้านกราฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ของ Nvidia ที่ส่วนใหญ่ใช้งานในซูเปอร์คอมพิวเตอร์แทบทั่วโลก

ที่มา – CNBC, South China Morning Post

]]>
1447534
CEO ของ SoftBank กล่าวกับชาวญี่ปุ่นเรื่องของ AI “จะนำมันมาใช้หรือถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกครั้ง” https://positioningmag.com/1446632 Sun, 08 Oct 2023 09:45:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446632 Masayoshi Son ผู้บริหารสูงสุดของ SoftBank ได้กล่าวกับชาวญี่ปุ่นว่าควรจะนำ AI เข้ามาใช้งานและยอมรับมัน และชาวญี่ปุ่นไม่ควรทำซ้ำความผิดพลาดในอดีต นอกจากนี้เขายังมองว่า AI จะมีความสามารถมากกว่ามนุษย์ภายใน 10 ปีนี้ได้

Masayoshi Son ซึ่งเป็น CEO ของ SoftBank บริษัทโทรคมนาคมรายใหญ่ของญี่ปุ่น รวมถึงเป็นผู้ก่อตั้งกองทุนที่ลงทุนในบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Vision Fund ได้กล่าวกับลูกค้าชาวญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัท ผู้บริหาร หรือแม้แต่ผู้ประกอบการว่า AI กำลังจะเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวัน โดยเปรียบเหมือนเป็นการปฏิวัติโดย AI

CEO รายดังกล่าวได้กล่าวกับชาวญี่ปุ่นในงาน SoftBank World ซึ่งมีผู้เข้าร่วมงานเป็นบริษัทญี่ปุ่นซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัท ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาตัวเขาเองไม่ค่อยได้ปรากฏตัวต่อหน้าผู้คนมากเท่าไหร่นัก เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทที่ได้รับผลจากการขาดทุนของ Vision Fund ในช่วงปีที่ผ่านมา รวมถึงต้องการผลักดัน IPO ของบริษัทออกแบบชิปอย่าง ARM เข้าตลาดให้สำเร็จ

เขากล่าวว่า “ชาวญี่ปุ่นตื่นได้แล้ว ผมอยากยืนเคียงข้างวิวัฒนาการ ผมไม่อยากถูกทิ้งไว้ข้างหลัง” เขาได้กล่าวเสริมว่าชาวญี่ปุ่นไม่ควรทำซ้ำความผิดพลาดในอดีต โดยเฉพาะยุคอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลายบริษัทได้ต่อต้าน เนื่องจากกลัวว่าข้อมูลจะรั่วไหลและความเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

หัวเรือใหญ่ของ SoftBank เชื่อว่าปัญญาประดิษฐ์ทั่วไปจะเหนือกว่าปัญญาของมนุษย์ในเกือบทุกด้านนั้นจะเกิดขึ้นได้จริงภายใน 10 ปี โดยเขากล่าวว่าเขาเห็นความสามารถของมันเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาอย่างมาก และในบางด้านนั้นความสามารถของ AI ได้เหนือกว่ามนุษย์ไปแล้ว

CEO ของ SoftBank ยังได้เรียกร้องให้บริษัทญี่ปุ่นนำ AI มาใช้งาน ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทญี่ปุ่นได้สั่งแบนหรือกำลังพิจารณาที่จะแบนการใช้งาน โดยเฉพาะ Generative AI เช่น ChatGPT ฯลฯ ที่กำลังเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันมากขึ้น เนื่องจากความสามารถของมัน เพราะไม่งั้นแล้วญี่ปุ่นก็จะถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกครั้ง

ก่อนหน้านี้ SoftBank ได้จับมือกับ OpenAI เพื่อให้บริการแชทบอท AI สำหรับภาคธุรกิจในญี่ปุ่นที่ต้องการนำระบบดังกล่าวมาใช้งาน และเขาเองก็ได้พูดคุยกับ Sam Altman ซึ่งเป็น CEO ของ OpenAI บ่อยครั้ง และมีข่าวว่าบริษัทสนใจที่จะลงทุนในบริษัทแม่ของ ChatGPT ด้วย

เขาได้กล่าวเสริมในประเด็นดังกล่าวว่า การห้ามใช้ AI ก็เหมือนกับการพูดว่า ห้ามขับรถ หรือห้ามใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า ไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ก็ตาม การเข้ามาของ AI นั้นกำลังจะเกิดขึ้น

ที่มา – Reuters, Bloomberg, ABC News

]]>
1446632
จีนเตรียมตั้งกองทุนใหญ่ถึง 1.48 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ https://positioningmag.com/1443630 Wed, 06 Sep 2023 10:46:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1443630 จีนเตรียมตั้งกองทุนใหญ่ถึง 3 แสนล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.48 ล้านล้านบาท เพื่อที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ และต้องการที่จะไล่ให้ทันกับเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาไวที่สุดเท่าที่จะทำได้

สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า รัฐบาลจีนเตรียมตั้งกองทุนเพื่อจะสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มากถึง 300,000 ล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 1.48 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นเม็ดเงินในการตั้งกองทุนครั้งนี้ถือว่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีมา

กองทุนดังกล่าวมีชื่อว่า China Integrated Circuit Industry Investment Fund เป้าหมายหลักของกองทุนดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศจีน เพื่อจะไล่ตามสหรัฐอเมริกาหรือประเทศอื่นๆ ซึ่งมีเทคโนโลยีในการผลิตดีกว่า ซึ่งจีนโดนสหรัฐอเมริกาคว่ำบาตรไม่ให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีการผลิตชิปขั้นสูงหลังจากนี้

นอกจากนี้เนเธอร์แลนด์ รวมถึงญี่ปุ่น ได้ใช้มาตรการเดียวกันกับสหรัฐฯ ไม่ให้จีนเข้าถึงเครื่องจักรผลิตชิปขั้นสูง หรือแม้แต่เทคโนโลยีการผลิตชิป ส่งผลให้จีนยิ่งต้องเร่งพัฒนาภาคการผลิตเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นกว่าเดิม

แหล่งข่าวของ Reuters ยังรายงานว่าเม็ดเงินกว่า 60,000 ล้านหยวน กระทรวงการคลังของจีนจะเป็นผู้ลงทุนในกองทุนนี้ด้วย

ข่าวดังกล่าวตามหลังมาจาก Huawei ได้เปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นล่าสุดอย่าง Mate 60 ที่ใช้ชิปจาก SMIC ที่ผลิตในจีนโดยใช้เทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตร รวมถึงยังมีเทคโนโลยี 5G ด้วย ซึ่งมือถือรุ่นดังกล่าวถือเป็นสัญลักษณ์ของจีนที่ต้องการตอบโต้สหรัฐอเมริกาที่คว่ำบาตร

ก่อนหน้านี้จีนเคยตั้งกองทุนประเภทดังกล่าวมาแล้วในปี 2014 มูลค่า 138,700 ล้านหยวน ขณะที่ในปี 2019 จีนได้ตั้งกองทุนมูลค่าถึง 200,000 ล้านหยวนมาแล้ว โดยกองทุนมีผู้ลงทุนเป็นรัฐวิสาหกิจของจีนไม่ว่าจะเป็น China Development Bank Capital และ China National Tobacco รวมถึง China Telecom ที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่

เม็ดเงินจากกองทุนดังกล่าวได้เคยลงทุนใน 3 บริษัท ไม่ว่าจะเป็น SMIC และ Hua Hong Semiconductor ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิปรายใหญ่ของจีน รวมถึง Yangtze Memory ผู้ผลิตหน่วยความจำรายใหญ่ของจีน

การจัดตั้งกองทุนของรัฐบาลจีนครั้งนี้ ส่งสัญญาณแสดงให้เห็นว่าจีนเอาจริงเอาจังกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ และต้องการที่จะไล่ให้ทันกับเทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกาไวที่สุดเท่าที่จะทำได้

]]>
1443630
“เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” ใช้ทำอะไรได้บ้าง? ไปดูตัวอย่างจากสารพัดวงการกัน https://positioningmag.com/1428424 Mon, 24 Apr 2023 12:57:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1428424 เทคโนโลยี “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” กลายเป็นสิ่งใหม่ที่ทำให้การทำงานในหลายวงการง่ายขึ้น ตั้งแต่วงการการแพทย์จนถึงแฟชั่น ยานยนต์จนถึงการก่อสร้าง ความเป็นไปได้ที่จะใช้เทคโนโลยีนี้สร้างสรรค์งานโปรโตไทป์นั้นแทบไม่มีขอบเขตจำกัด ไปดูตัวอย่างกันว่า แต่ละวงการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติเพื่อผลิตอะไรกันบ้าง

ตั้งแต่ที่เทคโนโลยี “เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” มีราคาถูกลง โดยเครื่องในระดับเริ่มต้นทำราคาลงมาเหลือเครื่องละ 300 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 10,000 บาท) ทำให้ธุรกิจต่างๆ เข้าถึงการใช้งานได้ง่ายขึ้น

เว็บไซต์ Forbes มีการรวบรวมตัวอย่างจากมืออาชีพในวงการต่างๆ ว่าพวกเขาใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติทำอะไรกันบ้าง

“วงการการแพทย์”

เครื่องพิมพ์ 3 มิติมีประโยชน์มากกับอุตสาหกรรมนี้ เพราะสามารถใช้ผลิตกระดูกเทียมจากโลหะสำหรับปลูกถ่ายให้กับคนไข้ในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวเข่า กะโหลก กระดูกสันหลัง สะโพก เป็นต้น หรือในกลุ่มทันตกรรม ก็สามารถใช้ผลิตสิ่งต่างๆ เช่น รีเทนเนอร์ โมเดลจำลอง ได้เช่นกัน

“วงการก่อสร้าง”

เครื่องพิมพ์ 3 มิติถูกนำมาใช้ได้ทั้งกับงานใหญ่และงานเล็ก งานเล็กที่ใช้กันโดยทั่วไปคือนำมาสร้างโมเดลสถาปัตยกรรม

ส่วนงานใหญ่คือมีการนำมาใช้สร้างโครงการจริง เช่น เมื่อปี 2016 บริษัทสถาปัตย์ในประเทศจีน ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างบ้านที่มีพื้นที่ใช้สอย 400 ตารางเมตร เสร็จภายใน 45 วัน และบ้านหลังนี้ยังมีกำแพงหนาพอที่จะทนแรงแผ่นดินไหวขนาด 8 แมกนิจูดได้ด้วย ส่วนอาคารที่ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างได้สูงที่สุดในปัจจุบัน เป็นวิลล่าสูง 10 เมตรที่ตั้งอยู่ในกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย สร้างเมื่อปี 2022

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ
วิลล่าสูง 10 เมตรในกรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย เป็นอาคารสร้างด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติทั้งหลังที่สูงที่สุดในโลก ณ ขณะนี้ (Photo: COBOD)
“วงการแฟชั่น”

การใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติผลิตเสื้อผ้าเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2015 โดยดีไซเนอร์ Danit Peleg เป็นคนแรกที่ทดลองใช้งานในโครงงานวิทยานิพนธ์ของเธอ ต่อมาดีไซเนอร์ชาวดัตช์ Iris van Herpen ก็เริ่มนำเครื่องพิมพ์ 3 มิติมาทดลองผลิตงานจริง มีลูกค้านำไปสวมใส่จริงบนพรมแดง Met Gala ปัจจุบันแม้แต่แบรนด์ระดับแมส เช่น Reebok หรือ Dior ก็เริ่มสร้างงานดีไซน์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติแล้ว

Fredrik Robertsson ในชุด ‘Quantum’ ของ Iris van Herpen บนพรมแดง Met Gala 2022 ชุดนี้ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติผลิต
“วงการการศึกษา”

ครูอาจารย์สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ สร้างสื่อการสอนที่น่าสนใจขึ้นมาได้ เช่น การสร้างเครื่องจักรในวิชาด้านวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรม สร้างอุปกรณ์จำลองตรีโกณมิติเพื่อมาอธิบายในวิชาคณิตศาสตร์

นอกจากนี้ บางสถาบันการศึกษายังเริ่ม​เปิดคอร์ส “สอนการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ” แล้วด้วย เช่น MIT, University of Texas, Virginia Tech

“วงการยานยนต์”

เมื่อปี 2014 บริษัท Local Motors เป็นเจ้าแรกในโลกที่ลองผลิตรถยนต์ทั้งคันด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้ชื่อรุ่นว่า Strati รถรุ่นนี้ใช้เวลา 44 ชั่วโมงในการพิมพ์ออกมา วิ่งได้จริงด้วยความเร็วสูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง

โดยทั่วไปแล้ว วงการยานยนต์ไม่ค่อยได้ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติผลิตรถทั้งคัน แต่นำมาสร้างโปรโตไทป์ และผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ในปี 2024 จะมีรถ Cadillac Celestiq ของ GM ที่จะใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติผลิตชิ้นส่วนมากกว่า 100 ชิ้น

Cadillac Celestiq ที่จะใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติผลิตชิ้นส่วนรถยนต์มากกว่า 100 ชิ้น (Photo: GM)
“วงการยานอวกาศ”

เหมือนกับวงการยานยนต์ วงการยานอวกาศใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างโปรโตไทป์และชิ้นส่วนเช่นกัน การพิมพ์ขึ้นมาได้เองทีละชิ้นทำให้ไม่ต้องสั่งทำสต็อกชิ้นส่วนบางอย่างไว้เป็นจำนวนมาก โดยรวมแล้วทำให้การผลิตลดต้นทุนได้ดีกว่า

Source

]]>
1428424
เม็ดเงิน ‘ลงทุนไอที’ ปี 66 ทั่วโลกยังสดใส เหตุองค์กรเร่งพัฒนาเทคโนโลยีรับมือพิษศก. https://positioningmag.com/1412517 Wed, 14 Dec 2022 12:43:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1412517 แม้ตลาดสินค้าไอทีคอนซูมเมอร์จะชะลอตัวลง เพราะผู้บริโภครัดเข็มขัดไว้ใช้จ่ายกับของจำเป็น แต่ในส่วนของการลงทุนขององค์กรกลับสวนทาง โดยทั้งจากการคาดการณ์ของบริษัทวิจัย Gartner และ IDC ต่างก็มองว่าปี 2566 การลงทุนไอทีจะเติบโตราว 5-6%

Gartner ได้คาดการณ์การลงทุนด้านไอทีทั่วโลกปี 2566 จะเติบโตได้ 5.1% มีมูลค่ารวม 4.6 ล้านล้านดอลลาร์ เนื่องจากความปั่นป่วนทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนบริบทของการลงทุนด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ พยายามจะทรานส์ฟอร์มสู่ธุรกิจดิจิทัล เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก

“การใช้จ่ายด้านไอทีขององค์กรนั้นพิสูจน์ได้ว่าไม่ถดถอย เนื่องจาก CEO และ CFO จะลงทุนในโครงการริเริ่มในด้านธุรกิจดิจิทัล โดยองค์กรต่าง ๆ พยายามหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดต้นทุน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายในช่วงที่เศรษฐกิจไม่แน่นอนในปัจจุบัน จอห์น-เดวิด เลิฟล็อค รองประธานฝ่ายวิเคราะห์ของ Gartner กล่าว

เช่นเดียวกับทาง IDC คาดว่าการใช้จ่ายในโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีหลัก ซอฟต์แวร์ธุรกิจ บริการระดับมืออาชีพเพื่อติดตั้งและใช้งานระบบ จะเติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 5-6% แม้เศรษฐกิจจะถดถอยรุนแรงแต่องค์กรก็ต้องลงทุน โดย Rick Villars นักวิเคราะห์ของ IDC ให้เหตุผลว่า เพราะเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาความท้าทายทางธุรกิจที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

สวนทางกับสินค้าไอทีของคอนซูมเมอร์ ที่อัตราเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคในเกือบทุกประเทศทั่วโลก โดยกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง ส่งผลให้ยอดขายสินค้าไอทีชะลอตัวลงตั้งแต่ 65 ไปจนถึงปี 66 โดยคาดว่าปีนี้ตลาดจะติดลบถึง -8.4% ส่วนปีหน้าคาดว่าจะลบ -0.6%

Source

]]>
1412517
เจาะลึกบทบาท “สถาบันนวัตกรรม ปตท.” ต้นน้ำเทคโนโลยีพลิกตลาดพลังงาน https://positioningmag.com/1401296 Fri, 23 Sep 2022 04:00:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1401296

เจาะลึกบทบาท “สถาบันนวัตกรรม ปตท.” ต้นน้ำแห่งการพัฒนาเทคโนโลยี สร้างนวัตกรรมที่เป็น ‘Game Changer’ ตั้งแต่ยุคน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วจนถึงยุคยานยนต์พลังงานไฟฟ้า

.

ในอนาคต บทบาทของสถาบันนวัตกรรม ปตท. จะพลิกโฉมตลาดพลังงานและต่อยอดถึงธุรกิจอื่นๆ อย่างไร ติดตามได้ที่นี่

.

#สถาบันนวัตกรรมปตท #PTT #พลังงาน #นวัตกรรมไทย


]]>
1401296
‘ไมโครซอฟท์’ เชียร์ไทยดันอุตสาหกรรม ‘พลังงานสะอาด’ ก้าวข้ามจาก Made in สู่ ‘Born in Thailand’ https://positioningmag.com/1394955 Thu, 04 Aug 2022 08:11:05 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394955 ครบ 5 ปีเต็มที่ ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กุมบังเหียน ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย ในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ ล่าสุด ธนวัฒน์ก็ได้ออกมาเปิดเผยถึงแง่มุมหรือทิศทางที่ประเทศไทยจะสามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้าง New S-Curve ก้าวจาก Made in Thailand ไปสู่ Born in Thailand

ไทยติดหล่มผู้รับจ้างไม่ใช่เจ้าของ

อ้างอิงจากผลสำรวจ World Digital Competitiveness Ranking 2021 ของสถาบัน IMD จากสวิตเซอร์แลนด์ พบว่า ไทยถูกจัดอยู่ใน ลำดับ 38 จากทั่วโลก และ อันดับ 10 ของเอเชีย โดย

  • ความพร้อมด้านองค์ความรู้ อันดับ 42
  • ความพร้อมด้านเทคโนโลยี อันดับ 22
  • ความพร้อมด้าน Future Readiness อันดับ 44
  • การผลิตบัณฑิตสายวิทยาศาสตร์ อันดับ 17
  • การส่งออกเทคโนโลยีชั้นสูง อันดับ 12
  • ทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล อันดับ 42
  • การจ้างงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันดับ 58
  • การจดสิทธิบัตรด้านเทคโนโลยีระดับสูง อันดับ 42

แม้จะมีการส่งออกเทคโนโลยีขั้นสูงจะอยู่อันดับที่สูง แต่ในความเป็นจริงไทยอยู่ในฐานะผู้รับจ้างผลิตไม่ได้เป็นเจ้าของ ดังนั้น จะเห็นว่ามีหลายด้านมากที่ไทยยังต้องพัฒนา โดยเฉพาะการผลิตหรือจดสิทธิบัตรด้านนวัตกรรมของตัวเอง

ธนวัฒน์ กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ ได้พยายามเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคต่อไป โดยแบ่งเป็น 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่

  • สร้างคน – ทักษะเชิงดิจิทัล และการเรียนรู้ในทุกระดับ
  • สู่อนาคต – เทคโนโลยีที่เสริมศักยภาพในการคิดและสร้างสิ่งใหม่ๆ อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า – ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อนำทั้งทักษะและเทคโนโลยีมาสร้างความเปลี่ยนแปลงที่สัมผัสได้จริง

โดยไมโครซอฟท์วางเป้าเสริมทักษะเชิงดิจิทัลให้กับคนไทยในได้ 10 ล้านคน ภายในปี 2024 โดยปัจจุบันได้รีสกิลและอัพสกิลให้คนไทยแล้วกว่า 3 ล้านคน และจากนี้จะจับมือกับพาร์ตเนอร์ในการสร้าง ไมโครซอฟท์เลิร์นนิ่งเวิร์ส ให้คนเข้ามาเรียนเกี่ยวกับทักษะด้านดิจิทัล

สำหรับเทรนด์เทคโนโลยีโลกทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ Metaverse, AI, Quantum Computing และ Hybrid Work ซึ่งทั้ง 4 เทคโนโลยีทางไมโครซอฟท์ก็พร้อมสนับสนุน โดยให้บริการบนคลาวด์ ดังนั้นต้นทุนจะต่ำ แม้ว่าเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่ที่ผ่านมาธนวัฒน์ก็ยังเห็นการลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องในทุกอุตสาหกรรม

“ตอนนี้บริการต่าง ๆ เราอยู่บนคลาวด์ จ่ายเท่าที่ใช้ ทำให้ต้นทุนต่ำ ซึ่งปัจจุบันทุกอุตสาหกรรมตื่นตัวลงทุนในดิจิทัลหมด โดยเฉพาะแบงก์ที่เป็นผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยี และตอนนี้แบงก์ไทยไม่ได้มองแค่ไทย แต่เริ่มรุกตลาดภูมิภาคอื่น ๆ”

แนะไทยโฟกัสพลังงานสะอาด

หนึ่งในสิ่งที่ธนวัฒน์เห็นในไทยคือ การลงทุนในเทคโนโลยีนอกจากจะใช้เพื่อลดต้นทุนแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนเพื่อต่อยอดในมุมอื่น ๆ ของธุรกิจ อย่างธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ ก็เอาเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้เพื่อช่วยในการ ลดการปล่อยมลพิษ เพราะในต่างประเทศมีค่าปรับที่สูงหากธุรกิจปล่อยมลพิษจำนวนมาก ดังนั้น ธนวัฒน์จึงมองว่าตอนนี้อุตสาหกรรม พลังงานสะอาด น่าจะเป็น New S-Curve ของไทย เช่น การทำอีวี พาไทยไปสู่ผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้า

“ตอนนี้เป็นโอกาสที่จะเปลี่ยนจาก Made in Thailand เป็น Born in Thailand เพราะตอนนี้เทคโนโลยีล้ำ ๆ ที่ใช้ในอเมริกา ไทยก็มีใช้เหมือนกัน”

ทั้งนี้ ธนวัฒน์ยืนยันว่า แม้บริษัทเทคโนโลยีหลายรายชะลอการจ้างงาน แต่ไมโครซอฟท์ยังคงมีแผนที่จะลงทุนต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2023 นี้ ก็มีแผนจะจ้างานเพิ่มอีก 20-30% ในส่วนของแผนโซลูชันซิเคียวริตี้ และพาร์ตเนอร์กับลูกค้าเพื่อช่วยในการพัฒนาโซลูชัน

]]>
1394955