เลิกจ้างพนักงาน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 22 Dec 2021 08:23:45 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 มาอีกหนึ่ง! “Intel” ออกกฎพนักงาน “ไม่ฉีดวัคซีน” จะถูก “พักงาน” โดยไม่ได้รับเงินเดือน https://positioningmag.com/1368182 Wed, 22 Dec 2021 05:56:18 +0000 https://positioningmag.com/?p=1368182 กระแสกดดันให้พนักงานฉีดวัคซีนเกิดขึ้นในกลุ่มบริษัทอเมริกันอย่างต่อเนื่อง ตามนโยบายของ “Joe Biden” โดยรายล่าสุด “Intel” ระบุกฎใหม่หากพนักงาน “ไม่ฉีดวัคซีน” ภายในวันที่ 4 มกราคม 2022 จะมีคำสั่งให้ “พักงาน” โดยไม่ได้รับเงินเดือน

สำนักข่าว AP รายงานประกาศจาก Intel แจ้งถึงพนักงานทุกคน หากยังไม่ได้ฉีดวัคซีนครบโดส จะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ภายในวันที่ 4 มกราคม 2022 หรือยื่นเอกสารแจ้งขอยกเว้นไม่ฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลด้านสุขภาพหรือศาสนา

Christy Pambianchi บอสใหญ่แผนกทรัพยากรบุคคลของ Intel ระบุในการแจ้งเตือนตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2021 ว่า พนักงานจะต้องได้รับวัคซีนครบโดส หรือยื่นเอกสารแจ้งขอยกเว้น หรือยอมรับการตรวจ COVID-19 เป็นประจำทุกสัปดาห์ ไม่ยกเว้นแม้กระทั่งเป็นสัปดาห์ทำงานจากบ้าน

เส้นตายของการรับวัคซีนคือวันที่ 4 มกราคม 2022 และบริษัทจะตรวจสอบเอกสารขอยกเว้นการฉีดวัคซีนภายในวันที่ 15 มีนาคม 2022 หากพนักงานยืนยันที่จะไม่ฉีดวัคซีนหรือข้อยกเว้นไม่ได้รับการอนุมัติ พนักงานจะถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนเป็นเวลาอย่างน้อย 3 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2022

อย่างไรก็ตาม Pambianchi ยืนยันว่าจะไม่มีการเลิกจ้างแต่อย่างใด และบริษัทจะยังอนุญาตให้พนักงานใช้สิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพได้ แม้จะถูกพักงาน

Photo : Shutterstock

ข้อบังคับการฉีดวัคซีนของ Intel เป็นไปตามนโยบายของ Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่มีคำสั่งให้บริษัทซึ่งมีจำนวนพนักงานเกิน 100 คน พนักงานจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหมด แต่นโยบายนี้ ขณะนี้ยังมีการอภิปรายในศาลสหพันธรัฐอยู่ว่า เป็นนโยบายที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทำให้ทาง Intel ก็ยังติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะเป็นคำสั่งที่ถูกกฎหมายหรือไม่ต่อไป

ก่อนหน้าที่บริษัท Intel จะมีคำสั่ง บริษัทใหญ่อื่นๆ ก็มีนโยบายออกมาแล้วเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็น Google ที่จะให้พนักงานลากิจยาว 30 วันหากไม่เข้ารับวัคซีนหรือแจ้งขอยกเว้นภายในวันที่ 13 มกราคม 2022 และหลังจากนั้นอีก 30 วัน ถ้ายังยืนยันไม่รับวัคซีน อาจมีความเสี่ยงถูกพักงานโดยไม่ได้รับเงินเดือนหรือถูกเลิกจ้าง

Facebook และ Microsoft มีนโยบายร้องขอให้พนักงานรับวัคซีนก่อนที่จะเปิดให้กลับมาทำงานในออฟฟิศปี 2022 ส่วนบริษัท Apple ยังไม่ประกาศนโยบายเพิ่มเติม หลังจากมีคำสั่งให้พนักงานตรวจ COVID-19 เป็นประจำ

ขณะที่กลุ่มสายการบินเข้มงวดยิ่งกว่า โดย United Airlines เลิกจ้างพนักงานไปแล้วเกือบ 600 คนเพราะเหตุไม่ฉีดวัคซีน ส่วน Delta Airlines บังคับให้พนักงานจ่ายค่าประกันรักษาพยาบาลเพิ่ม 200 เหรียญต่อเดือน หากไม่ฉีดวัคซีน

Source

]]>
1368182
สะเทือนอีกราย! Grab ประกาศ “เลิกจ้าง” พนักงาน 360 คน คิดเป็น 5% ของทั้งองค์กร https://positioningmag.com/1283719 Tue, 16 Jun 2020 07:11:07 +0000 https://positioningmag.com/?p=1283719 Grab ประกาศ “เลิกจ้าง” พนักงาน 360 คน คิดเป็น 5% ขององค์กร หลังปรับตัวลดต้นทุนและเงินเดือนผู้บริหารแล้วยังไม่เพียงพอ ซีอีโอ “แอนโทนี ตัน” ให้คำสัญญา “ปีนี้จะไม่มีการเลิกจ้างพนักงานอีก”

“แอนโทนี ตัน” ซีอีโอ Grab ออกจดหมายเปิดผนึกถึงพนักงาน Grab ทั้ง 8 ประเทศที่บริษัทดำเนินการอยู่ว่า วันนี้ (16 มิถุนายน 2563) บริษัทมีการเลิกจ้างพนักงาน 360 คน หรือ 5% ของทั้งบริษัทรวมทุกประเทศ

โดยพนักงานที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับอีเมลแจ้งภายในเวลา 12.00 น. ของวันที่ 16 มิถุนายน 2563 (ตามเวลาประเทศไทย) ผู้ที่ถูกเลิกจ้างจะได้รับเงินชดเชย 0.5 เท่าของเงินเดือน สำหรับทุกๆ 6 เดือนที่ทำงานมากับบริษัท ยกตัวอย่างเช่น หากทำงานมา 18 เดือน จะได้รับเงินชดเชย 1.5 เท่าของเงินเดือน หรือได้เงินชดเชยเท่ากับที่กฎหมายในประเทศนั้นๆ กำหนด แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

นอกจากนี้ จะได้รับเงินโบนัส 1.5 เท่าของเงินเดือนเพื่อช่วยพนักงานรับมือกับเศรษฐกิจช่วง COVID-19 รวมถึงให้สิทธิแลกวันลาพักร้อนเป็นเงินได้ตามปกติ

“แอนโทนี ตัน” ซีอีโอ Grab

แอนโทนียังกล่าวในจดหมายด้วยว่า บริษัทได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และพยายามรับมือแล้วทุกวิถีทาง เช่น ตัดงบประมาณ ควบคุมค่าใช้จ่าย ลดเงินเดือนผู้บริหาร แต่ก็ยังต้องปรับขนาดองค์กรในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม แอนโทนีระบุในจดหมายว่า “ผมขอรับรองกับทุกคนว่า ภายในปีนี้แกร็บจะไม่มีการประกาศเลิกจ้างพนักงานอีก” จากการวางแผนธุรกิจของบริษัทใหม่ ให้ความสำคัญกับหน่วยงานเดลิเวอรี่มากขึ้น และจะมีการยุบโครงการที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก เนื่องจากบริษัทจะโฟกัสกับธุรกิจแกนหลักเท่านั้น ได้แก่ ธุรกิจขนส่งผู้โดยสาร เดลิเวอรี่ การชำระเงิน และบริการทางการเงิน

ก่อนหน้านี้ ช่วงกลางเดือนเมษายน Grab เพิ่งจะยืนยันว่าแม้ตัวเลขรายได้จะลดลงแบบดับเบิลดิจิต แต่บริษัทมีสภาพคล่องรองรับเศรษฐกิจฝืดเช่นนี้ไปได้อีก 36 เดือนหรือ 3 ปี สวนทางกับบริษัทอื่นที่ดำเนินธุรกิจเดียวกัน เช่น Uber ที่ประกาศปลดพนักงาน 3,700 คนไปตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม และ Lyft ที่เลย์ออฟพนักงาน 1,000 คน แต่ในที่สุด Grab ก็ไม่สามารถยื้อโครงสร้างองค์กรขนาดเท่าเดิมไว้ได้เช่นกัน

Source

]]>
1283719
ค่ายรถหน้าเขียว! GM ควง Ford โละพนักงาน-ปิดโรงงานอื้อซ่าปี 2019 https://positioningmag.com/1258518 Wed, 25 Dec 2019 19:25:47 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258518 สรุปความเคลื่อนไหวค่ายรถก่อนจบปี 2019 หลายค่ายรัดเข็มขัดจนหน้าเขียวหน้าแดงทั้ง GM, Ford และ Mercedes-Benz ที่ไม่เพียงประกาศเลิกจ้างพนักงานหลายพันตำแหน่ง แต่ยังพร้อมใจปรับโครงสร้างการดำเนินงานทั่วโลกเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายหลักพันล้านเหรียญสหรัฐในปีนี้ โลกหวั่นใจปี 2020 อาจซ้ำรอยการล่มสลายของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกที่เคยเกิดเมื่อทศวรรษที่แล้ว ทั้งการชะลอตัวของยอดขายรถยนต์ และความหวั่นใจเรื่องเศรษฐกิจชะลอตัวที่กำลังตั้งเค้าเมฆครึ้มมาแต่ไกล

ปีแห่งการดื้นครั้งใหญ่

ปี 2019 ถือเป็นปีที่ค่ายรถลุกขึ้นมาปฏิวัติตัวเองหลายด้าน เช่น การลงทุนในเทคโนโลยีเกิดใหม่อย่างรถยนต์ขับเคลื่อนตัวเองอิสระแบบไร้คนขับ และรถยนต์ไฟฟ้า ทั้งหมดถือเป็นความพยายามเพื่อรับมือกับตลาดในสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว

ยอดขายรถยนต์ที่ถูกมองว่าชะลอตัวนั้น แม้ประเทศไทยจะมียอดขายปี 61 เพิ่มขึ้น 19.2% เป็น 1,039,158 คัน แต่ในตลาดโลก ยอดขายรถยนต์กลับลดลงเหลือ 80.6 ล้านคัน จากที่ยอดขายรถใหม่ปี 60 เคยอยู่ที่ 81.8 ล้านคัน ปี 60 นั้นถือเป็นปีแรกในรอบ 10 ปีที่ยอดขายรถใหม่โลกหกตัว (นับจากปี 2009) สำหรับปี 62 คาดว่ายอดขายรถใหม่จะหดตัวอีก 4% เหลือแค่ 77.5 ล้านคัน

ยอดขายรถใหม่ในปี 2020 จึงถูกมองว่าจะลดลงเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน ปัจจัยหลักของภาวะนี้คือความต้องการในตลาดจีนที่หดตัว ในปี 2020 มีแนวโน้มว่ายอดขายรถใหม่จะดิ่งลงมากกว่า 17 ล้านคัน เป็นตัวเลขประเมินการลดลงที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งล่าสุด

แน่นอนว่าค่ายรถผู้ผลิตรถยนต์ได้เรียนรู้บทเรียนจากการถดถอยครั้งที่แล้ว ซึ่งนำไปสู่การล้มละลายของ GM ตามติดมาด้วยคิวถัดไปอย่าง Chrysler ในปี 2009 หลายค่ายใหญ่จึงไม่อายที่จะปรับโครงสร้างการดำเนินงานเชิงรุกในปีนี้ ทำให้มีผลกำไรที่แข็งแกร่งบนยอดขายที่ชะลอตัว

Michelle Krebs นักวิเคราะห์บริหารของ Cox Automotive กล่าวว่า อุตสาหกรรมรถยนต์กำลังเตรียมพร้อมรับมือวิกฤติ และทุกฝ่ายจดจำได้ดีถึงความผิดพลาดในอดีต เพื่อไม่ทำผิดพลาดแบบเดียวกัน หลายบริษัทจึงพยายามลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ในภาวะที่ผลประกอบการยังสวยงาม ถือเป็นจุดที่แตกต่างจากภาวะช่วง 10 ปีที่แล้ว

ชิ้นพายในตลาดกำลังเล็กลง ค่ายรถจึงวางตัวเองให้พร้อมเพื่อรับมือกับทุกสถานการณ์ รวมถึงอนาคตใหม่ที่กำลังมาทุกคนอยู่ในเรือลำเดียวกันในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน

ปิดโรงงานเกิน 10 แห่ง

ความเคลื่อนไหวที่เห็นได้ชัดคือ GM และ Ford ที่ประกาศเลิกจ้างงานหลายพันตำแหน่ง ขณะเดียวกันก็ปิดหรือประกาศแผนการปิดโรงงานประมาณ 12 แห่งทั่วโลก ในจำนวนนี้ 4 แห่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา

Mary Barra CEO ของ GM เคยกล่าวเมื่อครั้งประกาศการปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ในเดือนพฤศจิกายน 2018 ว่า บริษัทกำลังดำเนินการเชิงรุกเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพธุรกิจหลักของ GM เพื่อป้องกันการชะลอตัวของบริษัท และสร้างมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น การประกาศทำให้ GM ลดจำนวนพนักงานลง 14,000 คนในช่วงปีที่แล้วถึงปีนี้ และปิดโรงงาน 7 แห่งทั่วโลก ซึ่ง 5 แห่งตั้งในอเมริกาเหนือ เวลานั้นผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติดีทรอยต์คาดว่าโครงการนี้จะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนได้สูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์ต่อปี

Ford เดินหน้ารัดเข็มขัดในทางเดียวกัน ซึ่ง Jim Hackett ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Ford ย้ำว่าเพื่อให้ธุรกิจยังคงมีชีวิตชีวาอย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เริ่มเป็น CEO ให้ Ford ในปี 2560 หัวเรือใหญ่อย่าง Hackett ได้ใช้มาตรการประหยัดค่าใช้จ่ายทั่วโลก โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างมูลค่า 11,000 ล้านดอลลาร์ที่จะขยายผลถึงช่วงต้นปี 2563

ในเดือนมิถุนายน Ford ประกาศว่าจะลดพนักงานรายชั่วโมงลง 12,000 งานในสายการผลิตที่ยุโรปภายในสิ้นปี 2563 การประกาศนี้เกิดขึ้นในช่วง 1 เดือนหลังจากที่ Ford ประกาศแผนลดพนักงานประจำประมาณ 7,000 ตำแหน่งทั่วโลก ซึ่ง 2,300 คนอยู่ในสหรัฐอเมริกา

ปีนี้ Ford กล่าวว่าจะปิดโรงงานผลิตเครื่องยนต์ในรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา และเตรียมปิดตัวหรือขายโรงงาน 6 แห่งในยุโรป จากที่มี 24 แห่ง กลายเป็น Ford ที่ผู้บริหารมองว่าผอมกำลังดี และรักษาตัวในจุดยืนตำแหน่งที่ดีมาก

ยังไม่นับ Fiat Chrysler ที่เตรียมยุบรวมกับผู้ผลิตรถสัญชาติฝรั่งเศสอย่าง PSA Group และ Daimler ต้นสังกัด Mercedes-Benz ที่วางแผนลดพนักงาน 10,000 รายทั่วโลกในช่วง 3 ปีนับจากนี้ ยังมีแบรนด์ลูกของ Volkswagen อย่าง Audi ที่เตรียมหั่นทิ้ง 9,500 ตำแหน่งงานหรือ 10.6% ของพนักงานรวมให้ได้ในปี 2025

มองที่ฝั่งญี่ปุ่น Nissan Motor ยังมีแผนปรับโครงสร้างบริษัทครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 10 ปี โดยประกาศเมื่อ .. 62 ที่ผ่านมาว่าจะเลิกจ้างพนักงานมากกว่า 12,500 รายทั่วโลกภายในมีนาคม 2023 การประกาศนี้ตามหลัง Honda Motor ที่มีแผนปิดโรงงานที่ประเทศอังกฤษ จนคาดว่าจะมีพนักงานถูกลอยแพ 3,500 ตำแหน่ง

ถ้าค่ายรถไม่หน้าเขียว ก็คงเป็นพนักงานที่จะหน้าเขียวแทน.

]]>
1258518
HP ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ เลิกจ้างพนักงานถึง 9,000 ตำแหน่ง https://positioningmag.com/1248896 Wed, 07 Aug 2019 11:59:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1248896 HP ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลรายใหญ่ของโลกประกาศแผนลอยแพพนักงานล็อตใหญ่ 7,000-9,000 ตำแหน่ง ระบุเป็นไปตามแผนการปรับโครงสร้างบริษัทที่เตรียมไว้สำหรับปี 2020

HP เปิดเผยแผนปรับโครงสร้างองค์กรสำหรับปีหน้าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมา ยอมรับว่าจะลดตำแหน่งงานสูงสุด 9,000 ตำแหน่ง ทำให้คาดการณ์ว่าแผนดังกล่าวจะส่งผลให้สามารถประหยัดต้นทุนการดำเนินงานขั้นต้นต่อปีได้มากกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 3 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปีงบการเงิน 2022

ปัจจุบัน HP มีพนักงานในเครือทั้งหมดมากกว่า 55,000 คนทั่วโลก (สถิติ วันที่ 31 ตุลาคม 2561) ตัวเลขนี้ระบุในเอกสารที่ยื่นต่อคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา เบื้องต้น HP สรุปว่าผลกระทบจากการลอยแพจะเกิดขึ้นกับพนักงาน 13-16% บนค่าใช้จ่ายประมาณ 1 พันล้านเหรียญที่จะถูกใช้ระหว่างการปรับโครงสร้าง

Enrique Lores ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของ HP กล่าวถึงการปรับโครงสร้างว่าเป็นการเริ่มต้นบทต่อไปของบริษัท โดยย้ำว่าบริษัทเห็นโอกาสที่สำคัญในการสร้างมูลค่าให้ผู้ถือหุ้น และทีมบริหารใหม่จะทำให้สำเร็จโดยการก้าวไปสู่ความเป็นผู้นำอุตสาหกรรม และเปลี่ยนวิธีการทำงานของบริษัทอย่างจริงจัง

สำหรับ Lores จะเข้ารับตำแหน่ง CEO ในวันที่ 1 พฤศจิกายนต่อจาก Dion Weisler ถือเป็นการให้ยาแรงของซีอีโอคนใหม่ที่น่าจับตา

HP ยังมั่นใจว่าจะสร้างกระแสเงินสดอิสระอย่างน้อย 3 พันล้านเหรียญในปีงบประมาณ 2020 และวางแผนที่จะเพิ่มเงินปันผลรายไตรมาสเป็น 10%.

]]>
1248896
วิบากกรรมคนสื่อ “ทีวีดิจิทัล” 5 ปี เลิกจ้างกว่า 1,000 คน https://positioningmag.com/1230548 Sat, 18 May 2019 13:08:30 +0000 https://positioningmag.com/?p=1230548 การเริ่มต้นยุคทีวีดิจิทัลในปี 2557 ที่มีการประมูล 24 ช่อง มีฐานะเป็นฟรีทีวีระดับชาติ การเปิดช่องใหม่ต้องใช้บุคลากรสถานีละ 300 คน ถือเป็นช่วงที่เกิดภาวะ “ฟองสบู่” การจ้างงานในวงการทีวีทุกระดับ ที่มีการย้ายค่ายอัพเงินเดือน ว่ากันว่าเป็นยุค “มนุษย์ทีวีทองคำ”

แต่สถานการณ์ “ทีวีดิจิทัล” ผ่านไปเพียงปีแรกของใบอนุญาต 15 ปี ที่จะจบในปี 2572 ไม่ได้สวยหรูเหมือนที่คาดไว้ ทำให้ พันธุ์ทิพา ศกุณต์ไชย หรือ “ติ๋ม ทีวีพูล” ผู้ชนะประมูลทีวีดิจิทัล 2 ช่อง คือ “ไทยทีวีและโลก้า” ขอเลิกกิจการทั้ง 2 ช่อง เพียงปีแรก แบกตัวเลขขาดทุน 700 ล้านบาท ต้องเลิกจ้างพนักงาน 500 คน ในเดือน พ.ย. 2558

ทีวีดิจิทัล นับตั้งแต่เริ่มออกอากาศ เม.ย. 2557 ถึงปัจจุบัน ตลอด 5 ปี มีทีวีดิจิทัลหลายช่องต้อง “ลดต้นทุน” ด้วยการเลิกจ้างและเปิดโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด (early retire) เพื่อให้สอดคล้องกับรายได้ ที่หลายช่องยังเผชิญภาวะ “ขาดทุน” ต่อเนื่อง

ดังนั้นตลอดเส้นทางทีวีดิจิทัล จึงเห็นสถานการณ์เลิกจ้างและโครงการเออร์ลี่ รีไทร์ มาตั้งแต่ปี 2558 เริ่มด้วย ต.ค. 2558 สปริงนิวส์ เลิกจ้าง 80 คน เดือน ก.พ. 2559 วอยซ์ทีวี เลิกจ้าง 57 คน เดือน พ.ค. 2560 ค่ายใหญ่ไทยรัฐทีวี เออร์ลี่ รีไทร์ 15% ของพนักงาน 700 คน ตัวเลขน่าจะอยู่ที่ 100 คน ส่วนเครือเนชั่น เปิดเออร์ลี่ รีไทร์ ทุกสื่อในเครือทั้งสิ่งพิมพ์และทีวี เดือน ส.ค. 2559 – มิ.ย. 2560 รวมรอบ 3 ราว 300 – 400 คน

ปีที่ผ่านมา เดือน ก.พ. 2561 นิวทีวี เลิกจ้างฝ่ายข่าย 37 คน ส่งท้ายปี เดือน ธ.ค. 2561 ช่อง 3 เปิดเออร์ลี่ รีไทร์ กลุ่มเกษียณ

สถานการณ์ “เลิกจ้าง” ในธุรกิจทีวีดิจิทัล ตั้งแต่ปี 2557 – 2561 ก่อนเปิดให้คืนใบอนุญาต มีการปลดบุคลากรไปแล้วกว่า 500 คน

7 ช่องคืนใบอนุญาตเลิกจ้างกว่า 500 คน

คำสั่ง คสช. มาตรา 44 ที่เปิดโอกาสให้ทีวีดิจิทัล “คืนใบอนุญาต” ได้ พร้อมได้รับเงินชดเชยราว 55% ของเงินค่าประมูล 4 งวดที่จ่ายให้ กสทช. มาแล้ว เพื่อนำคลื่นความถี่ 700 MHz ที่ทีวีดิจิทัลใช้งานอยู่มาประมูล 5G และนำเงินมาชดเชยและแก้ปัญหาทีวีดิจิทัลราว 32,000 ล้านบาท       

โดยเมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2562 มีทีวีดิจิทัล แจ้ง กสทช. “คืนใบอนุญาต” 7 ช่อง ประกอบด้วย ช่อง 3 Family, ช่อง 3 SD,  MCOT Family, สปริงนิวส์ 19, สปริง 26 (NOW 26), วอยซ์ทีวี และไบรท์ทีวี การประกาศคืนช่องดังกล่าว สิ่งที่ตามมาก็คือการ “เลิกจ้าง” พนักงาน

ประเมินกันว่า ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง “คืนใบอนุญาต” จะมีการเลิกจ้างพนักงานราว 550 คน ประกอบไปด้วย 2 ช่องเด็ก คือ ช่อง 3 family และ MCOT Family รวม 100 คน ส่วน 3 ช่องข่าว คือ ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี และสปริงนิวส์ รวม 300 คน เนื่องจากทยอยลดคนไปก่อนหน้านี้แล้ว ช่องสปริงนิวส์ 19 ได้ย้ายบุคลากรไปยังช่องสปริง 26 (NOW 26) ช่องวอยซ์ทีวี ย้ายไปทำทีวีดาวเทียมและสื่อออนไลน์ ขณะที่ 2 ช่อง วาไรตี้ SD คือ ช่อง 3 SD และ สปริง 26 รวม 150 คน

สถานการณ์บุคลากรในสื่อทีวีดิจิทัลนับตั้งแต่เริ่มต้นออกอากาศ มาถึงการคืนใบอนุญาต มีคนสื่อถูกเลิกจ้างกว่า 1,000 คน

กลุ่มคืนช่องเปิดโครงการ “เออร์ลี่ รีไทร์”

เขมทัตต์ พลเดช กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าปัจจุบัน อสมท มีพนักงาน 1,600 คน เป็นลูกจ้างรายวันประมาณ 200 คน ที่เหลือเป็นพนักงานประจำ สำหรับช่อง MCOT Family มีพนักงานราว 30 คน คาดว่าจะย้ายกลับไปทำงานในส่วนงานต่างๆ ของ อสมท

เขมทัตต์ พลเดช

แต่จากการวิเคราะห์สถานการณ์สื่อทีวีหลังคืนช่อง และมีผู้ประกอบกิจการช่องธุรกิจอีก 15 ช่อง ขณะที่อุตสาหกรรมโฆษณาทีวี “ไม่มีแนวโน้มเติบโต” จากเทคโนโลยีดิสรัปชัน และผู้ชมมีพฤติกรรมรับชมคอนเทนต์ผ่านดิจิทัล แพลตฟอร์มมากขึ้น ดังนั้นโอกาสการเพิ่มรายได้จากทีวีจึงอยู่ในภาวะลำบาก และต้องมองหาการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ๆ ทั้งจากช่องทางออนไลน์ และธุรกิจอื่นๆ

ในภาวะที่รายได้ทีวีไม่เพิ่มขึ้น ขณะที่มีต้นทุนบุคลากรค่อนข้างสูง อสมท จึงเตรียมทำ “โครงการร่วมใจจาก” หรือโครงการเออร์ลี่ รีไทร์ ตามความสมัครใจของพนักงาน ขณะนี้อยู่ในช่วง Staff survey เพื่อหาข้อมูลและความคิดเห็นพนักงาน เพื่อนำข้อมูลความคิดเห็นมาจัดทำแผนรายละเอียดต่อไป คาดใช้เวลา 1 ปีครึ่ง ในการสรุปโครงการ

“ที่ผ่านมาทีวีดิจิทัลหลายช่องจัดทำโครงการเออร์ลี่ รีไทร์ เพื่อให้มีค่าใช้จ่ายบุคลากรสอดคล้องกับรายได้  แต่ อสมท ไม่เคยเปิดโครงการดังกล่าว ปัจจุบันจึงเป็นองค์กรที่มีบุคลากรมากที่สุดในอุตสาหกรรมสื่อทีวี  องค์กรที่มีบุคลากรเกิน 1,000 คน เช่น ช่อง 3ช่อง 7”

สำหรับ “ไบรท์ทีวี” หนึ่งในช่องข่าวที่ขอคืนใบอนุญาต ปัจจุบันมีพนักงาน 200 คน หลังคืนช่องยังคงดำเนินธุรกิจบนแพลตฟอร์มออนไลน์ต่อ ทั้ง เว็บไซต์ ยูทูบ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ รวมทั้งมีโอกาสผลิตรายการให้กับสถานีทีวีช่องต่างๆ แต่การคืนใบอนุญาต ถือว่ามีผลกระทบต่อพนักงานบางส่วน ไบรท์ทีวีจึงได้จัดทำโครงการอาสาสมัครลาออก ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน โดยให้แจ้งแผนก HR ภายในวันอังคาร ที่ 21 พ.ค. 2562

ไม่คืนช่องก็ต้องลดต้นทุน

สถานการณ์ทีวีดิจิทัลวันนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่ “ไม่คืนใบอนุญาต” ก็ไม่ใช่ว่าจะอยู่สบาย เพราะทีวีดิจิทัลที่เหลืออยู่ 15 ช่องธุรกิจ ก็ยังถือว่ามีจำนวนมากเกินไป สำหรับเม็ดเงินโฆษณาทีวี ที่ไม่มีแนวโน้มเติบโต การบริหารต้นทุนให้สอดคล้องกับรายได้จึงเป็นเรื่องที่ “ทุกช่อง” ต้องทำไม่ต่างกัน โดยเฉพาะต้นทุนบุคลากร

สะท้อนได้จากช่อง GMM 25 ที่คณะกรรมการบริหารตัดสินใจ “ไม่คืนใบอนุญาต” ทีวีดิจิทัลกับ กสทช. และต้องการเดินหน้าทำธุรกิจทีวีดิจิทัลต่อไป แต่ก็ยอมรับว่าเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนสูง ดังนั้นจึงปรับลดต้นทุนการผลิตข่าว ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่ GMM 25 ไม่ถนัด

โดยได้ยุติผลิตข่าวเช้า เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2562 ส่วนข่าวเที่ยงและเย็น จะออกอากาศถึงสิ้นเดือน มิ.ย. นี้ ปัจจุบันฝ่ายข่าวมีพนักงาน 40 คน โดยจะเลิกจ้าง 27 คน และจ่ายเงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน

ขณะที่ทีวีดิจิทัล ช่องอื่นๆ ที่ยังเดินหน้าต่อ ก็ต้องรัดเข็มขัดไม่ต่างกัน เปิดรับบุคลากรในส่วนงานที่มีโอกาสสร้างรายได้ โดยเฉพาะแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมผู้ชมในยุคนี้

ไทม์ไลน์ ทีวีดิจิทัล “ปลดคน”

  • ต.ค. 58 สปริงนิวส์ เลิกจ้าง 80 คน
  • พ.ย. 58 ไทยทีวี-โลก้า ปิดสถานี เลิกจ้าง 500 คน
  • ก.พ. 59 วอยซ์ทีวี เลิกจ้าง 57 คน
  • พ.ค. 60 ไทยรัฐทีวี เออร์ลี่ รีไทร์ 100 คน
  • ก.พ. 61 นิวทีวี เลิกจ้าง 37 คน
  • ธ.ค. 61 ช่อง 3 เปิดเออร์ลี่ รีไทร์ กลุ่มเกษียณ
  • พ.ค. 62 GMM 25 เลิกจ้างทีมข่าว 27 คน
  • พ.ค. 62 ทีวีดิจิทัล 7 ช่อง “คืนใบอนุญาต” คาดเลิกจ้าง 550 คน

2 ช่องเด็ก ช่อง 3 family และ MCOT Family รวม 100 คน

3 ช่องข่าว  ไบรท์ทีวี, วอยซ์ทีวี และสปริงนิวส์ รวม 300 คน

2 ช่องวาไรตี้ SD ช่อง 2 SD และ สปริง 26  รวม  150 คน

]]>
1230548
ช่อง 3 แจง เน้นเลิกจ้างวัยเกษียณ วงในชี้อาจถึง 300 คน หวังลดต้นทุน เตรียมปรับองค์กรรับการแข่งขัน https://positioningmag.com/1201099 Mon, 03 Dec 2018 10:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1201099 ในที่สุด ช่อง 3 ต้องเลือกใช้วิธี “เลิกจ้าง”พนักงานครั้งใหญ่ที่สุด แบบที่ไม่เคยทำก่อน เพื่อรับมือสภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะการแข่งขันที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น จนมีกระแสข่าวว่าช่อง 3 ต้องเลิกจ้างพนักงานออกเป็นจำนวนมาก

ช่อง 3 ชี้แจงว่า เป็นการเลิกจ้างพนักงานวัยเกษียณ และยังไม่กำหนดจำนวนชัดเจน 

1. ในช่วงที่ผ่านมาไทยทีวีสีช่อง 3 ได้ดำเนินการปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยพิจารณาถึงจำนวนพนักงานและการตอบแทนพนักงานหลังเกษียณอายุ

เนื่องจากไทยทีวีสีช่อง 3 มีจำนวนพนักงานจำนวนหนึ่งที่อายุเกินกว่า 60 ปี ดังนั้นโครงการเกษียณอายุ จึงถือเป็นทางเลือกให้กับพนักงานกลุ่มนี้ ซึ่งมีจำนวนผลตอบแทนที่มอบให้ในโครงการเกษียณก็สูงกว่าสิ่งที่กฏหมายแรงงานได้กำหนดไว้ พร้อมทั้งยังมีการมอบประกันสุขภาพให้พนักงานที่เข้าโครงการต่อไป เพื่อให้พนักงานยังสามารถมีประกันสุขภาพดูแลตนเองต่อไปแม้จะเกษียณอายุไปแล้ว

2. กรณีที่พนักงานรับเงินตามโครงสร้างการเกษียณแล้ว แต่บริษัทยังเล็งเห็นศักยภาพว่ายังสามารถปฏิบัติภารกิจในตำแหน่งงานนั้นได้ต่อไปอย่างเต็มที่ พนักงานผู้นั้นก็จะได้รับการว่าจ้างต่อไปตามความเหมาะสม

3. ตามที่มีกระแสข่าวออกมาว่า ทางไทยทีวีสีช่อง 3 มีการปลดพนักงานกว่า 80 คนนั้นคลาดเคลื่อนจากความเป็นความจริง เพราะขณะนี้บริษัทยังอยู่ในการพิจารณาอัตรากำลังที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของทีวีดิจิทัล ซึ่งยังไม่ได้มีเป้าหมายหรือตัวเลขที่ชัดเจนแต่อย่างใด

4. อีกทั้งกรณีที่มีการเสนอข่าวว่า มีการปลดพนักงานอายุระหว่าง 40-55 ปีนั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะที่จริงแล้วพนักงานในวัยนี้ถือเป็นกำลังสำคัญต่อการผลิตผลงานคุณภาพของไทยทีวีสีช่อง 3

ช่อง 3 ระบุด้วยว่า โครงการนี้ทำเพื่อปรับองค์กรให้เข้ากับสภาวะตลาด และเพื่อให้พนักงานได้มีโอกาสเลือกแผนในการดำเนินชีวิตของเขาต่อไป

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากกลุ่มช่อง 3 เปิดเผยว่า เป้าหมายหลักของการปรับลดในครั้งนี้ มี 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มพนักงานที่มีอายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และกลุ่มที่ 2 คือกลุ่มพนักงานทั่วไป โดยมอบหมายให้หัวหน้างานแต่ละแผนกเป็นผู้เสนอชื่อมา ซึ่งเบื้องต้นมีกระแสข่าวว่าตั้งเป้าไว้ประมาณ 300 คน

สำหรับกลุ่มแรก พนักงานอาวุโส อายุเกิน 60 ปีนั้น เป็นผลสะสมมาตั้งแต่เริ่มต้นช่อง 3 ไม่มีเคยมีนโยบายเกษียณอายุพนักงาน แต่มาเปลี่ยนแปลงนโยบายในภายหลัง ที่ระบุว่า พนักงานที่เข้าหลังปี 2545 ให้เกษียณอายุเมื่อครบ 55 ปี

ในกลุ่มช่อง 3 จึงเต็มไปด้วยพนักงานอาวุโส ประมาณ 300-400 คน ที่หลายคนแม้อายุมาก ยังคงขยันขันแข็งมาทำงานทุกวัน แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป จำเป็นต้องลดต้นทุน จึงต้องยื่นเงื่อนไขจำใจจาก ด้วยข้อเสนอผลตอบแทนที่สูงกว่าพนักงานปกติ โดยที่มีรายงานว่าบางรายอาจสูงถึง 20 เดือน

ส่วนกลุ่มที่ 2 คือเป็นการประเมินผลงานพนักงาน โดยหัวหน้างาน ซึ่งพบว่า ฝ่ายข่าวเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะเป็นแผนกที่มีพนักงานมากที่สุด กลุ่มนี้จะได้รับค่าตอบแทนมากกว่า 10 เดือน

จากข้อมูลรายงานประจำปี 2560 ของบีอีซี เวิลด์ พบว่า ในสิ้นปี 2560 กลุ่มช่อง 3 มีพนักงานรวมทั้งหมดถึง 2,583 คน  ส่วนใหญ่ 1,679 คน อยู่ที่สายธุรกิจสื่อโทรทัศน์ และสื่อโฆษณา ซึ่งรวมถึงฝ่ายข่าว ที่มีการตั้ง สำนักข่าว BEC News แยกทีมบรรณาธิการข่าวของแต่ละช่องอย่างชัดเจน ฝ่ายข่าวมีพนักงานรวมกันทั้งหมดประมาณ 600 คน เป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดของช่อง

การประกาศลดพนักงานครั้งนี้ นอกจากคนวัยเกษียณแล้วยังมุ่งเป้าไปที่กลุ่มฝ่ายข่าวอย่างชัดเจน เนื่องจากมีต้นทุนสูง งานซ้ำซ้อน จนต้องหามาตรการรัดเข็มขัดที่หลากหลาย

เมื่อประมาณเดือนเมษายนปีนี้ กลุ่มช่อง 3 ก็เคยประกาศนโยบายสมัครใจลาออกไปแล้วครั้งหนึ่ง ซึ่งครั้งนั้นตั้งเป้าไว้ 100 คน แต่กลับไม่ได้ตามเป้า คนที่ออกไปบางคนกลับเป็นกำลังสำคัญของช่อง ฝ่ายบริหาร เริ่มกลับมาทบทวนนโยบายอีกครั้ง ทำให้การลดคนจึงใช้วิธีพิจารณาจากผลงานแทน

ทั้งนี้ ฝ่ายบริหารช่อง 3 ได้ใช้มาตรการลดค่าใช้จ่ายทุกแผนก ทั้งสายงานผลิต เช่น เข้มงวดเรื่องค่าใช้จ่าย งบประมาณ โดยที่การอนุมัติละครแต่ละเรื่องยากมากขึ้น นอกจากต้องดูเรื่องบท นักแสดงแล้ว ยังต้องจัดทำงบประมาณอย่างละเอียดด้วย

นอกจากนี้ยังได้มีการตั้งคณะกรรมการควบคุมค่าใช้จ่ายและการหารายได้ ซึ่งก็พบว่าปัญหาใหญ่อีกประการคือ การขายโฆษณาที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย แม้กระทั่งช่วงที่ช่องมีเรตติ้งดี จากละคร “บุพเพสันนิวาส” แต่รายได้กลับไม่ได้สูงตาม

เมื่อดูจากผลประกอบการจะเห็นว่า รายได้จากค่าโฆษณาช่อง 3 ลดลงเรื่อยๆ สาเหตุหลักมาจากสภาพการแข่งขันของวงการทีวีดิจิทัล ที่มีถึง 23 ช่อง ต้องห้ำหั่นแย่งชิงเรตติ้งคนดู และโฆษณา ในขณะที่ช่อง 3 ต้องแบกรับต้นทุนจากการมีทีวีดิจิทัลถึง 3 ช่องในมือ แต่การหารายได้กลับยากขึ้น จนทำให้ผลประกอบการช่อง 3 ลดลงเรื่อยๆ

รายได้ช่อง 3 ลดต่อเนื่อง

เมื่อดูรายได้ของช่อง 3 หรือ บีอีซี เวิลด์ ซึ่งมีรายได้หลักมาจากค่าโฆษณา จะพบว่า ลดลงต่อเนื่อง

เห็นได้ชัดว่า ผ่านมา 4 ปี กำไรของช่อง 3 หรือ บีอีซี เวิลด์ ลดลงจาก 4,414 ล้านบาท เหลือเพียงแค่ 61 ล้านบาท

ส่วนไตรมาส 3/2561 พบว่ายอดขายโฆษณา 2,255.8 ล้านบาท ลดลง 11.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ไตรมาสนี้ บีอีซี เวิลด์ กลับมีผลประกอบการกำไร 78.3 ล้านบาท นับเป็นการฟื้นกลับมาทำกำไรได้เป็นครั้งแรกในปีนี้ ด้วยการลดต้นทุน หลังจากขาดทุนต่อเนื่อง 3 ไตรมาสติดกัน

บีอีซี ชี้แจงว่า เป็นเพราะต้นทุนขายและต้นทุนการให้บริการลดลง 12.7% จากไตรมาสที่ 3/2560 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการลดต้นทุน ทั้งจากการจัดวางละครรีรัน และไม่มีต้นทุนการถ่ายทอดกีฬา รวมถึงต้นทุนพนักงาน จากผลพวงจากนโยบายสมัครใจลาออกเมื่อกลางปีที่ผ่านมาด้วย

ค่าใช้จ่ายรวมของบีอีซี ในไตรมาสที่ 3/2561 อยู่ที่ 2,167.3 ล้านบาท ลดลง 6.8% จากไตรมาสที่ 3 /2560

นอกจากการลดพนักงาน เพื่อลดต้นทุนแล้ว เวลาผู้บริหารระดับ กลุ่มผู้บริหารระดับสูง หรือ C Level มีทั้งหมด 13 คน ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อปีที่แล้ว ตามนโยบายที่ต้องการหามืออาชีพจากภายนอกมาช่วยหาทางออกใหม่ๆ ในการหารายได้ให้ช่อง 3  ได้ทยอยลาออกแล้ว 4 คน

 โดยหลังจากเคลียร์เรื่องพนักงานออกในงวดนี้แล้ว กลุ่มช่อง 3 ก็จะมีการเขย่าโครงสร้างองค์กรใหม่อีกครั้ง

แต่จะเป็นรูปแบบไหน ใครจะอยู่ใครจะไป ต้องดูพลังอำนาจภายใน จากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่จากตระกูล “มาลีนนท์” นั่นเอง.

]]>
1201099
ทีวีดิจิทัลหืดขึ้นคอ “วอยซ์ทีวี” เลย์ออฟ 127 คน หั่นรายการข่าวเหลือ 2 ช่วง มุ่งเน้นออนไลน์ ทำคลิปวิดีโอลงเว็บ https://positioningmag.com/1151448 Fri, 22 Dec 2017 11:25:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1151448 ทีวีดิจิทัล วอยซ์ทีวี เลิกจ้างพนักงาน 127 คน เพื่อปรับโครงสร้างองค์กร พร้อมลดรายการข่าวลงเหลือ 2 ช่วงเวลา และเน้นสื่อออนไลน์ ทำคลิปวิดีโอลงเว็บ หลังได้รับผลกระทบทางธุรกิจและคำสั่งหน่วยงานรัฐบ่อยครั้ง

เมฆินทร์ เพ็ชรพลาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด เจ้าของสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิทัล วอยซ์ ทีวี ช่อง 21 เรียกพนักงานทั้งหมดชี้แจงการปรับโครงการสร้างองค์กร พร้อมกับออกแถลงการณ์ดังนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 .. 2561 จะมีการปรับโครงสร้างองค์กร ปรับผังรายการทีวี และพัฒนาการนำเสนอผ่านทุกช่องทางออนไลน์ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลให้เป็นไปตามแผนธุรกิจและเป้าหมายของบริษัทฯ ปี 2561

ผลกระทบจากการเมืองทีวีดิจิทัลแข่งเดือด

ต้องทำงานภายใต้สถานการณ์การเมืองที่มีข้อจำกัดมาเกือบ 4 ปี ได้รับผลกระทบทางธุรกิจอันเนื่องมาจากคำสั่งของหน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่ควบคุมการเสนอข้อมูลข่าวสารอยู่บ่อยครั้ง แต่บริษัทฯ ได้พยายามรักษาสมดุลระหว่างเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร และข้อจำกัดทางการเมืองที่ต้องให้ความร่วมมือกับภาครัฐอย่างเต็มที่เท่าที่ทำได้ จึงยังทำให้ยังยืนหยัดอยู่ได้

นอกจากนี้ สถานการณ์ของอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล เป็นอีกปัจจัยที่มีผลกระทบแทบทุกช่องอย่างถ้วนหน้า รวมถึงวอยซ์ ทีวีด้วยเช่นกัน ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องต่อความเป็นจริงในอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัลจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด

หั่นข่าวเหลือ 2 ช่วง เน้นออนไลน์

วอยซ์ทีวีได้ปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจดังนี้

ปรับสัดส่วนการผลิตรายการทีวีใหม่ เน้นรายการวิเคราะห์ข่าวคุณภาพ 2 ช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ด้วยการลดจำนวนรายการลง แต่เพิ่มช่วงเวลาการออกอากาศมากขึ้น

มุ่งเน้นการนำผ่านทางสื่อออนไลน์มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีออโต้เมทต่าง ๆ รวมถึงการปรับระบบ Progressive Web Applications เพื่อรองรับการส่งวิดีโอคอนเทนต์ เพื่อรองรับผู้ชมรายการได้ทันทีทุกช่วงเวลา

เลิกจ้างพนักงาน 127 คน ผลจากการปรับสัดส่วนการผลิตรายการลง ทำให้ต้องปรับลดจำนวนพนักงานลง ด้วยการเลิกจ้างพนักงานจำนวน 127 คน โดยจะได้รับเงินค่าชดเชยไม่น้อยกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด แต่ส่วนหนึ่งที่ถูกเลิกจ้างยังคงร่วมงานในรูปแบบ Outsource กับบริษัทฯ

ทั้งนี้จากการจัดอันดับเรตติ้ง 25 อันดับทีวีดิจิทัล ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม-17 ธันวาคม 2560 พบว่า ช่องวอยซ์ทีวี อยู่ในอันดับสุดท้าย ด้วยเรตติ้ง 0.020.

ที่มา : mgronline.com/onlinesection/detail/9600000128846

]]>
1151448