Xiaomi ผู้ผลิตสินค้าไอทีรวมถึงผลิตภัณฑ์ล่าสุดอย่างรถยนต์ไฟฟ้า ได้คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทในปีนี้จะอยู่ที่ 120,000 คัน มากกว่าคาดการณ์เดิมที่ 100,000 คัน และโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทเตรียมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตหลังจากนี้
สาเหตุสำคัญมาจาก ผลตอบรับที่ดีจากรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น SU7 ที่บริษัทได้เริ่มส่งมอบเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทมีผลตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคชาวจีน โดยยอดจองรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น SU7 ของบริษัทมียอดจองบนช่องทางออนไลน์ 88,898 คัน ภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งลูกค้าจองดังกล่าวทำให้ลูกค้าต้องรอรับรถอย่างน้อย 5-7 เดือน
ล่าสุดบริษัทได้เปิดเผยว่าบริษัทสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารุ่น SU7 จำนวนมากกว่า 100,000 คันจะส่งมอบได้ภายในปีนี้ โดยข้อมูลล่าสุดในวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทส่งมอบรถยนต์ไฟฟ้าไปแล้วมากถึง 10,000 คันแล้ว
Lei Jun ซึ่งเป็น CEO ของ Xiaomi ได้เคยกล่าวว่า การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่เขาได้ทำกับบริษัท และเขาเองพยายามในสิ่งนี้ ขณะเดียวกันบริษัทเองได้วางเป้าว่าจะติดอยู่ใน 1 ใน 5 ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ให้ได้ในระยะยาว
นอกจากนี้แผนการของ Xiaomi จะมีการเปิดโชว์รูมรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทให้ได้ 219 สาขาทั่วประเทศจีนภายในสิ้นปีนี้ รวมถึงศูนย์ซ่อมบำรุง 143 เมืองทั่วประเทศจีนภายในปี 2024 นี้ จากเดิมที่มี 86 เมือง
ขณะที่ธุรกิจอื่นๆ ของบริษัทในไตรมาส 1 ของปี 2024 บริษัทมียอดขายสมาร์ทโฟนเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยมีส่วนแบ่งตลาด 13.8% และยอดขายนั้นเติบโตมากถึง 33.3% โดยการเติบโตหลักๆ มาจากอาเซียน ตะวันออกกลาง หรือแม้แต่แอฟริกา
อย่างไรก็ดีสำหรับรายได้ของ Xiaomi นั้นรายได้หลักยังคงมาจากการเป็นผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทที่กำลังวางจำหน่ายในช่วงเวลานี้ยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก และ CEO ของ Xiaomi ได้กล่าวว่าบริษัทจะแยกรายได้ในส่วนรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทให้กับนักลงทุนได้ทราบถึงข้อมูลด้วย
ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ 75,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 27% และบริษัทมีกำไรทั้งสิ้น 2,300 ล้านหยวน คิดเป็นเงินไทย 11,661 ล้านบาท
]]>หุ้นของ เสียวหมี่ (Xiaomi) บริษัทผู้ผลิตสมาร์ทโฟนสัญชาติจีนพุ่งขึ้น 15% หลังตลาดฮ่องกงเปิดทำการในวันนี้ ซึ่งถือเป็นวันทำการซื้อขายวันแรกนับตั้งแต่บริษัทเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า SU7 โดยมีราคาเริ่มต้นที่ 29,870 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.1 ล้านบาท ซึ่งรถรุ่นดังกล่าวจะมาชนกับ Tesla Model 3 แต่จะสามารถขับได้ไกลกว่า และถูกกว่าประมาณ 4,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.4 แสนบาท
ที่น่าสนใจคือ ยอดจอง SU7 ของเสียวหมี่มียอดจองบนร้านออนไลน์กว่า 50,000 คัน ภายใน 27 นาที และภายใน 24 ชั่วโมงมียอดจองแตะ 88,898 คัน โดยยอดจองดังกล่าวทำให้ลูกค้าต้องรอรับรถอย่างน้อย 5-7 เดือน เลยทีเดียว ทั้งนี้ เสียวหมี่เปิดเผยว่าโรงงานของบริษัทมีกำลังการผลิตรถที่ 200,000 คันต่อปี
อย่างไรก็ตาม ที่ราคารถของเสียวหมี่เปิดมาได้น่าสนใจนั้น ทาง CEO ของบริษัทอย่าง เหลย จวิน ได้ออกมายอมรับว่า ราคาที่ตั้งนั้นบริษัทยอม ขาดทุน เพื่อต่อสู้กับสงครามราคารถอีวีในปัจจุบัน
สำหรับการลดราคาเกิดขึ้นตลาดรถอีวีจีนนั้น เกิดจากการเติบโตเริ่มแสดงสัญญาณการชะลอตัว สมาคมรถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งประเทศจีน (China Passenger Car Association) ระบุว่า การรุกของรถยนต์นั่งที่ใช้แบตเตอรี่และรถยนต์ไฮบริดมีมากกว่า 1 ใน 3 ของรถยนต์ใหม่ที่จำหน่ายในจีน
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวโดยอ้างอิงเอกสารที่เกี่ยวข้องว่าเสี่ยวหมี่ (Xiaomi) ผู้ผลิตสินค้าไอทีจากประเทศจีน ที่กำลังดิ้นรนอย่างหนักในอินเดียชี้ว่าการที่รัฐบาลได้ตรวจสอบบริษัทจีนอย่างหนัก ส่งผลทำให้ซัพพลายเออร์ของบริษัทรู้สึกไม่สบายใจ และไม่กล้าที่จะตั้งฐานการผลิตในประเทศ
Muralikrishnan B. ซึ่งเป็นประธานของ Xiaomi อินเดีย ได้ตอบจดหมายของรัฐมนตรีกระทรวงไอทีของอินเดียว่าจะทำอย่างไรที่ผู้ผลิตสินค้าไอทีรายนี้จะใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศอินเดีย ซึ่งเขาชี้ว่าบริษัทที่เป็นซัพพลายเออร์นั้นไม่กล้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศ เนื่องจากไม่สบายใจกับมาตรการของรัฐบาลอินเดีย
ประธานของ Xiaomi อินเดียยังกล่าวเสริมว่า “รัฐบาลอินเดียจำเป็นต้องดำเนินการเกี่ยวกับมาตรการสร้างความมั่นใจ เพื่อสนับสนุนให้ซัพพลายเออร์ที่ผลิตชิ้นส่วนของโทรศัพท์นั้นสร้างโรงงานในประเทศ”
นอกจากนี้ Xiaomi เองยังดิ้นรนด้วยการยื่นฟ้องรัฐบาลอินเดียเพื่อที่จะลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนสำหรับประกอบโทรศัพท์มือถือ โดยชี้ว่าเพื่อที่จะเพิ่มสามารถในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
บริษัทจีนประสบปัญหาในการตีตลาดประเทศอินเดีย เนื่องจากความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศบริเวณพรมแดน ส่งผลทำให้รัฐบาลอินเดียประกาศข้อระเบียบต่างๆ ที่ส่งผลทำให้บริษัทจากจีนดำเนินธุรกิจได้ยากมากขึ้น ซึ่ง Xiaomi เองเป็นอีกบริษัทที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว
สำหรับผู้นำตลาดโทรศัพท์มือถือในประเทศอินเดียนั้นเป็น Samsung ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในอินเดียเป็นอันดับ 1 ครองส่วนแบ่งมากถึง 20% รองลงมาคือ Xiaomi ที่ 16% จึงทำให้บริษัทต้องหาทางในการดึงส่วนแบ่งทางการตลาดกลับมา โดยในเดือนกรกฎาคมของปี 2023 ที่ผ่านมา บริษัทได้เตรียมเจาะตลาดอินเดียเพิ่มมากขึ้น แม้ว่า 2 ประเทศนี้จะมีความขัดแย้งก็ตาม
ไม่ใช่แค่ Xiaomi ที่พบปัญหาความยากลำบาก แม้แต่บริษัทคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Vivo ก็ประสบปัญหาที่ว่าเช่นกัน ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลอินเดียกล่าวหาว่าบริษัทละเมิดกฎระเบียบด้านวีซ่าเข้าประเทศ และยังรวมถึงการยักยอกเงินมากถึง 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐออกนอกประเทศ
]]>เว็บไซต์ IT Home รวมถึง TechGoing ได้รายงานข่าวโดยอ้างอิง Blogger สายไอทีในประเทศจีนที่ได้เข้าไปในงานแถลงข่าวภายในบริษัทว่ายักษ์ใหญ่ผู้ผลิตสินค้าไอทีอย่าง Xiaomi ได้เตรียมพัฒนาชิปเป็นของตัวเอง เพื่อที่จะใช้งานในโทรศัพท์มือถือและรถยนต์ไฟฟ้า
ก่อนหน้านี้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคม มีข่าวที่ว่ารถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทนั้นมีแผนที่จะวางจำหน่ายในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2024 มาแล้ว โดยคาดว่าจะมีการผลิตในปีแรกที่ 100,000 คัน ซึ่งความเคลื่อนไหวล่าสุดนั้นรถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้ที่กำลังจะวางจำหน่ายจะใช้ชิปของบริษัทที่ผลิตขึ้น
Blogger รายดังกล่าวยังรายงานว่า ในประเด็นของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Lu Weibing ซึ่งเป็นประธานของ Xiaomi ได้กล่าวว่า การผลิตนั้นราบรื่นเป็นไปได้ด้วยดี และเขายังได้กล่าวเสริมว่าบริษัทต้องการที่จะเป็น 1 ใน 5 แบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าในระยะยาวให้ได้ด้วย หลังจาก Xiaomi ได้ลงทุนและวิจัยอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ใช้เงินจำนวนมาก
สำหรับราคารถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทนั้นคาดว่าเริ่มต้นอยู่ที่ 100,000 หยวน ขณะที่รุ่นแพงสุดจะอยู่ที่ 300,000 หยวน ไม่เพียงเท่านี้บริษัทยังวางแผนที่จะเปลี่ยนสาขาที่ขายอุปกรณ์ไอทีหลายแห่งในประเทศจีนให้กลายเป็นโชว์รูมรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทแทนด้วย
นอกจากการพัฒนาชิปแล้ว บริษัทยังได้จดทะเบียนเว็บไซต์ mios.cn กับกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่เว็บไซต์นั้นยังไม่มีข้อมูลอะไร โดยคาดว่าจะเป็นเว็บไซต์สำหรับระบบปฎิบัติการ MiOS ของบริษัทกำลังพัฒนาอยู่ในเวลานี้
อย่างไรก็ดีสำหรับรายละเอียดของชิปที่บริษัทพัฒนา ยังไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่บริษัทผู้ผลิตหลายแห่งได้เริ่มเปลี่ยนแนวทางการผลิตมาใช้ชิปที่พัฒนาเป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็น Apple หรือ Alphabet ในโทรศัพท์มือถือหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ หรือแม้แต่บริษัทจีนเองอย่าง HiSilicon ก็พัฒนาชิปโทรศัพท์มือถือให้กับ Huawei
]]>สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า เสียวหมี่ (Xiaomi) ผู้ผลิตสินค้าไอทีจากประเทศจีน ได้รับไฟเขียวจากคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ให้บริษัทสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้แล้ว โดยผู้ผลิตสินค้าไอทีรายนี้ถือเป็น 1 ใน 4 บริษัทที่ได้รับไฟเขียวจากหน่วยงานดังกล่าวตั้งแต่ปี 2017 เป็นต้นมา
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ตามมาหลังจากบริษัทได้ทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทในสภาวะอากาศหนาวเย็นจัดแล้ว และตั้งเป้าที่จะวางขายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2024 และ Lei Jun ซึ่งเป็น CEO ของ Xiaomi ได้กล่าวว่าแผนการที่บริษัทจะผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นโครงการใหญ่อันสุดท้ายในอาชีพผู้ประกอบการของเขา
เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Beijing Daily สื่อของรัฐบาลจีนได้รายงานว่าโรงงานในกรุงปักกิ่งของ Xiaomi จะสามารถผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ราวๆ 200,000 คันต่อปี แต่ในปี 2024 ที่บริษัทวางแผนว่าจะวางจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าให้ได้นั้นจะผลิตได้ 100,000 คันให้ได้ก่อน
อย่างไรก็ดี Xiaomi จะต้องได้รับไฟเขียวจากกระทรวงอุตสาหกรรมและสารสนเทศ (MIIT) ซึ่งจะประเมินผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในแต่ละรุ่นสำหรับข้อกำหนดด้านเทคนิคและความปลอดภัย
สำหรับตลาดหลักของรถยนต์ไฟฟ้าจาก Xiaomi คือผู้ใช้งานทั่วไป โดยราคารถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทนั้นเริ่มต้นอยู่ที่ 100,000 หยวน ขณะที่รุ่นแพงสุดจะอยู่ที่ 300,000 หยวน ไม่เพียงเท่านี้บริษัทยังวางแผนที่จะเปลี่ยนสาขาที่ขายอุปกรณ์ไอทีหลายแห่งในประเทศจีนให้กลายเป็นโชว์รูมรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทแทนด้วย
การเข้ามาตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทส่วนหนึ่งมาจากยอดขายสินค้าไอทีของบริษัทลดลง โดยเฉพาะการรายงานผลประกอบการไตรมาสล่าสุดนั้น ยอดขายสินค้าของบริษัทลดลง 18.9% จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บริษัทต้องเข้ามาในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้านี้ด้วย เนื่องจากขนาดตลาดที่ใหญ่กว่า และยังไม่มีผู้ชนะในตลาดที่แท้จริง
นอกจากนี้การเข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของ Xiaomi ถือว่าอยู่ในช่วงเวลาที่ผู้ผลิตหลายรายจะต้องต่อสู้ทั้งในเรื่องของราคาระหว่างกัน นอกจากนี้ยังรวมถึงความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศที่ชะลอตัวลงจากสภาวะเศรษฐกิจ และยังรวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ซึ่งถือเป็นความท้าทายไม่น้อย
]]>เสี่ยวหมี่ (Xiaomi) ผู้ผลิตสินค้าไอทีหลากหลายชนิด ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์มือถือด้วยนั้นได้ประกาศรุกตลาดอินเดียเพิ่มมากกว่าเดิม โดยบริษัทต้องการที่จะชิงยอดขายโทรศัพท์มือถือกลับมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังเสียตำแหน่งให้กับคู่แข่งรายสำคัญอย่าง Samsung ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าไอทีจากเกาหลีใต้
ขณะเดียวกันประเทศอินเดียมีช่องทางในการขายสินค้าอย่างโทรศัพท์มือถือผ่าน E-commerce ของผู้เล่นรายใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Flipkart หรือ Amazon รวมถึงผู้เล่นรายอื่นก็ตาม โดยคิดเป็นสัดส่วนถึง 44% ของยอดขายโทรศัพท์มือถือภายในอินเดีย แต่ Xiaomi เองก็พยายามที่จะตั้งร้านค้าเพิ่มเติมในการขายสินค้าของบริษัทให้มากขึ้น และเจาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้ใช้ช่องทางออนไลน์ในการซื้อสินค้าของบริษัท
Muralikrishnan B. หัวเรือใหญ่ของ Xiaomi ประจำประเทศอินเดียได้กล่าวว่าช่องทางร้านค้ายังถือว่าเป็นสัดส่วนรายได้ราวๆ 34% และบริษัทกำลังเจาะตลาดในช่องทางนี้อยู่ ซึ่งยอดขายตามร้านค้าของคู่แข่งอย่าง Samsung คิดเป็นสัดส่วนถึง 57%
โดย Xiaomi ได้เตรียมที่จะขยายร้านค้าเพิ่มให้ได้มากกว่าปัจจุบันซึ่งมี 18,000 ร้านค้าทั่วประเทศอินเดีย และจะจ้างพนักงานในการส่งเสริมการขายมากกว่า 12,000 คนภายในสิ้นปี 2024 และบริษัทจะยังร่วมมือกับร้านค้าต่างๆ ในการขายสินค้าประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น กล้อง CCTV หรือแม้แต่โทรทัศน์ ซึ่งสินค้าเหล่านี้นั้นไม่ค่อยมีคู่แข่งในอินเดียมากนัก
ปัจจุบัน Samsung ถือว่ามีส่วนแบ่งการตลาดในอินเดียเป็นอันดับ 1 โดยมีส่วนแบ่งตลาดมากถึง 20% รองลงมาคือ Xiaomi ที่ 16% จึงทำให้บริษัทต้องหาทางในการดึงส่วนแบ่งทางการตลาดกลับมา
ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา บริษัทยืนยันว่าจะยังอดทนที่จะทำธุรกิจในแดนภาระตะต่อไป แม้ว่าบริษัทจะถูกศาลอินเดียอายัดทรัพย์สินมากถึง 676 ล้านเหรียญสหรัฐก็ตาม โดยบริษัทยืนยันถึงความบริสุทธิ์ว่าเงินดังกล่าวนำไปจ่ายให้กับซัพพลายเออร์ รวมถึงบริษัทได้กล่าวว่าจะไม่มีการย้ายการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างปากีสถานก็ตาม
โดยที่ผ่านมาบริษัทจีนประสบปัญหาในการตีตลาดประเทศอินเดีย เนื่องจากความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศบริเวณพรมแดน ส่งผลทำให้รัฐบาลอินเดียประกาศข้อระเบียบต่างๆ ที่ส่งผลทำให้บริษัทจากจีนดำเนินธุรกิจได้ยากมากขึ้น ซึ่งถือเป็นความท้าทายของ Xiaomi หลังจากนี้ไม่น้อย
ที่มา – Reuters, South China Morning Post
]]>เสียวหมี่ประกาศแผนการดังกล่าวในพิธีลงนามข้อตกลงระหว่างเสียวหมี่และคณะกรรมการบริหารเขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปักกิ่ง เมื่อวันเสาร์ที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา
ข้อตกลงข้างต้นระบุว่าเสียวหมี่จะตั้งสำนักงานใหญ่ทางธุรกิจ สำนักงานใหญ่ฝ่ายขาย และสำนักงานใหญ่ด้านการวิจัยและพัฒนา สำหรับฐานการผลิตรถยนต์ในเขตพัฒนาดังกล่าว
การก่อสร้างโรงงานยานยนต์แห่งนี้จะแบ่งเป็น 2 ระยะ แต่ละระยะมีกำลังการผลิต 150,000 คันต่อปี โดยคาดว่ารถยนต์คันแรกจะออกจากสายการผลิตในปี 2024
]]>ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 รายรับรวมของเสียวหมี่อยู่ที่ 7.81 หมื่นล้านหยวน (ราว 4 แสนล้านบาท) เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 8.2% และมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 5.2 พันล้านหยวน (ราว 2.7 หมื่นล้านบาท) โดยเติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 25.4%
ในฝั่งของ สมาร์ทโฟน ยังคงครองตำแหน่งอันดับ 3 ของโลก โดยมียอดขาย 43.9 ล้านเครื่องทั่วโลก แม้ว่าจะเกิดวิกฤตขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิตทั่วโลก มีส่วนแบ่งการตลาดที่ 13.5% โดยมีรายได้จากการขายสมาร์ทโฟนอยู่ที่ 4.78 หมื่นล้านหยวน (ราว 2.4 แสนล้านบาท) ทั้งนี้ ยอดส่งมอบสมาร์ทโฟนของเสียวหมี่ที่มีราคา 3,000 หยวน (ราว 16,000 บาท) มีสัดส่วนประมาณ 18 ล้านเครื่อง หรือคิดเป็น 12% ของยอดส่งมอบทั้งหมดเติบโตขึ้น 180% โดยเสียวหมี่จะยังรุกตลาดพรีเมียมต่อไป
ด้านรายได้จากการให้บริการอินเทอร์เน็ตรายไตรมาสเพิ่มขึ้นสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีรายได้กว่า 7.3 พันล้านหยวน (3.8 หมื่นล้านบาท) เติบโตขึ้น 27.1% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ผลกำไรขั้นต้นของธุรกิจด้านบริการอินเทอร์เน็ตนั้นอยู่ที่ 73.6% สูงขึ้นกว่าไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 13.1%
โดยฐานผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตของเสียวหมี่ทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวนผู้ใช้งานต่อเดือนของ MIUI ทั่วโลก สูงเกินกว่า 500 ล้านรายเป็นครั้งแรก เพิ่มขึ้น 32% ในส่วนของธุรกิจโฆษณามีรายได้ 4.8 พันล้านหยวน (ราว 2.5 หมื่นล้านบาท) เพิ่มขึ้น 44.7% เสียวหมี่มีรายรับจากธุรกิจเกมอยู่ที่ 1 พันล้านหยวน (5.2 พันล้านบาท) เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า 25% จากการนำเสนอเกมคุณภาพสูง อีกทั้งรายได้เฉลี่ยจากเกมต่อผู้ใช้ (ARPU) จากกลุ่มผู้ใช้สมาร์ทโฟนระดับพรีเมียมและเกมมิ่งสมาร์ทโฟนสูงขึ้นอีกด้วย
“ช่วงไตรมาสที่ 3 เสียวหมี่ยังคงเดินหน้าเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลยุทธ์หลัก “Smartphone × AIoT” และรุกหน้าเข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟนระดับพรีเมียม เสียวหมี่ครองอันดับ 1 ของยอดการจัดส่งสมาร์ทโฟนใน 11 ประเทศและภูมิภาค”
ทั้งนี้ เสียวหมี่ได้ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนากว่า 9.3 พันล้านหยวน (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) ใน 3 ไตรมาส เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 51.4% โดยในเดือนกันยายน 2564 เสียวหมี่เปิดตัว Xiaomi Smart Glasses แว่นอัจฉริยะ
]]>กระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้เปิดเผยว่า โทรศัพท์รุ่น Mi 10T 5G แฟล็กชิปของ ‘เสียวหมี่’ (Xiaomi) ยักษ์ใหญ่ด้านสมาร์ทโฟนของจีนที่จำหน่ายในยุโรป มีความสามารถในตัวในการตรวจจับและเซ็นเซอร์ข้อความต่าง ๆ เช่น “Free Tibet”, “Long live Taiwan independence” ซึ่งเป็นการสนับสนุนอิสรภาพของทิเบตและไต้หวัน ตลอดจนคำว่า “democracy movement” หรือขบวนการประชาธิปไตย
โดย Margiris Abukevicius รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้ให้คำแนะนำว่า อย่าซื้อโทรศัพท์จีนเครื่องใหม่ และ กำจัดโทรศัพท์ที่ซื้อไปแล้วโดยเร็วที่สุด
ความสัมพันธ์ระหว่างลิทัวเนียและจีนเริ่มเสื่อมลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา จีนเรียกร้องให้ลิทัวเนียถอนเอกอัครราชทูตในกรุงปักกิ่ง และกล่าวว่าจะ เรียกคืนทูตของตนไปยังวิลนีอุส และจะเรียกคืนทูตจีนประจำกรุงวิลนีอุสด้วย หลังจากที่ไต้หวันประกาศว่าจะเปิดสำนักงานผู้แทนในลิทัวเนีย โดยใช้ชื่อว่า ‘สำนักงานผู้แทนไต้หวัน’ ซึ่งตามปกติแล้วการตั้งสำนักงานของไต้หวันในยุโรปและสหรัฐฯ จะใช้ชื่อว่า ‘ไทเป’
เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีอิงกริดา ซิโมนีเต ของลิทัวเนียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเน้นย้ำถึงการสนับสนุนประเทศลิทัวเนียหากโดนจีนกดดัน
รายงานของ National Cyber Center ยังระบุด้วยว่าโทรศัพท์ Xiaomi กำลังส่งข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์ที่เข้ารหัสไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสิงคโปร์ ส่วน Huawei ของจีนพบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยในโทรศัพท์ P40 5G แต่ไม่พบในโทรศัพท์ของ OnePlus และผู้ผลิตรายอื่นในจีน
อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของ Huawei ยืนยันกับ BNS News ว่าโทรศัพท์ของแบรนด์ไม่ส่งข้อมูลของผู้ใช้สู่ภายนอก ขณะที่เสียวหมี่ยังปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล
“สิ่งนี้สำคัญไม่เพียงแต่ในลิทัวเนียแต่กับทุกประเทศที่ใช้อุปกรณ์ Xiaomi”
]]>ย้อนไปเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เสียวหมี่ ได้ประกาศแผนการที่จะเปิดตัวธุรกิจ รถยนต์ไฟฟ้า และเตรียมเงินลงทุน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยล่าสุด เสียวหมี่ประกาศว่าได้ซื้อบริษัทสตาร์ทอัพ Deepmotion ด้วยมูลค่าประมาณ 77.37 ล้านดอลลาร์ เพื่อ ”เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางเทคโนโลยี” ของธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้า
“การเข้าซื้อกิจการสามารถช่วยนำคุณสมบัติการขับขี่อัตโนมัติมาสู่รถยนต์ที่เสียวหมี่จะผลิตขึ้นในที่สุด ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่พัฒนาโดยผู้ผลิตรถยนต์หลายรายสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ายุคหน้า”
รอลุ้น! Xiaomi เตรียมเปิดตัว ‘รถยนต์ไฟฟ้า’ โดยใช้โรงงานผลิตของ Great Wall Motor
ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่เสียวหมี่ที่กำลังพยายามเข้ามาในตลาดยานยนต์ไฟฟ้าและการขับขี่แบบติโนมัติ แต่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อีกหลายรายในจีนก็พยายามจะรุกตลาดดังกล่าวมากขึ้นเช่นกัน อาทิ Baidu, Huawei, Alibaba และ Didi
ทั้งนี้ บริษัทประกาศการเข้าซื้อกิจการ Deepmotion หลังจากรายงานผลประกอบการในไตรมาส 2 โดยรายได้เติบโตขึ้น 64% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวของปี 2020 คิดเป็น 87.8 พันล้านหยวน ขณะที่มีกำไร 6.3 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 87.4% โดยเสียวหมี่ระบุว่ารายได้รวมและกำไรสุทธิที่แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในไตรมาสนี้
อย่างไรก็ตาม สมาร์ทโฟนยังคงเป็นสัดส่วนหลัก คิดเป็น 67.3% ของรายได้ทั้งหมด โดยบริษัทพยายามลดการพึ่งพาโทรศัพท์มือถือด้วยการผลักดันไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอื่น ๆ และบริษัทหวังว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นแหล่งรายได้ใหม่
]]>