แชตบอต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sat, 27 May 2023 14:54:09 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 TikTok กำลังซุ่มทดลอง “แชตบอต” พลัง AI ชื่อน้อง “Tako” ผู้ช่วยหาข้อมูลในแอปฯ ได้ง่ายขึ้น https://positioningmag.com/1432168 Sat, 27 May 2023 09:12:59 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432168 กระแสการประยุกต์ใช้ AI กับแอปพลิเคชันยังไปต่อ ล่าสุดเป็น “TikTok” ที่ซุ่มทดลอง “แชตบอต” ชื่อน่ารักๆ อย่างน้อง “Tako” เพื่อเป็นผู้ช่วยในการค้นหา (search) ข้อมูลจากภายในแอปฯ ให้ตรงใจผู้ใช้งาน ปัจจุบันยังทดลองใช้เฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์ก่อน

สำนักข่าว The Verge รายงานข้อมูลจาก “แดเนียล บูชัก” ผู้เชี่ยวชาญจาก Watchful Technologies ที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงภายในแอปพลิเคชันจากบริษัทในกลุ่ม Fortune 500 บูชักกล่าวถึงการพัฒนาแชตบอตของ TikTok ว่า หากเมื่อใดที่แอปฯ นี้เริ่มเปิดให้ใช้งานแชตบอตเป็นการทั่วไป “เมื่อนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการค้นหาและเส้นทางการใช้งานภายในแอปฯ ไปอย่างมาก”

บูชักเปิดภาพแคปหน้าจอจากการทดลองแชตบอตของ TikTok พบว่า แอปฯ ตั้งชื่อแชตบอตตัวนี้ไว้ว่า “Tako” โดยจะมีปุ่มปรากฏอยู่ทางขวาบนของจอเหนือไอคอนแอปฯ

คำอธิบายเบื้องต้นเกี่ยวกับ Tako (Photo: Watchful Technologies)

แชตบอต Tako ทำงานอย่างไรนั้น แอปฯ อธิบายว่า “Tako เป็นแชตบอตทดลอง มันสามารถตอบคำถาม และต่อบทสนทนากับคุณได้ คำตอบจาก Tako ทำงานผ่านการประมวลผลของ AI และอาจจะแม่นยำหรือไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้น จึงไม่สามารถพึ่งพาแชตบอตเพื่อหาคำแนะนำที่เกี่ยวกับการแพทย์ กฎหมาย การเงิน ฯลฯ ได้ บทสนทนาทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะถูกตรวจสอบเพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัยและพัฒนาประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้น กรุณาอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณกับ Tako”

เมื่อกดเรียก Tako ขึ้นมา แชตบอตตัวนี้จะตอบคำถามหรือคำขอใดๆ ก็ได้ และน้อง Tako จะพยายามช่วยหาคำตอบที่ต้องการ เช่น สมมติว่าเรากำลังดูคลิปรีวิวอาหารใน TikTok อยู่ เราอาจจะกดเรียก Tako มาถามว่า “ขอสูตรอาหารของเมนูที่กำลังดูอยู่” แล้วแชตบอตจะค้นหาคลิปสอนทำอาหารในแอปฯ มาให้

อีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่าเราเรียกแชตบอตมาว่า “อยากดูนิทรรศการศิลปะดีๆ ในปารีส ไปที่ไหนดี” แชตบอตก็จะไปหาคลิปวิดีโอที่น่าสนใจมาแสดง แม้แต่การถามข้อมูลความรู้ก็ได้ เช่น “ความสำคัญของพิธีราชาภิเษกกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 คืออะไร”

TikTok Tako แชตบอต
ลักษณะการใช้งาน Tako (Photo: Watchful Technologies)

ขณะที่ข้อมูลจาก “แซคคารี ไคเซอร์” โฆษก TikTok กล่าวกับ The Verge ว่า แชตบอตตัวนี้ยังอยู่ระหว่างการทดลองในวงจำกัด ปัจจุบันมีการทดลองเฉพาะในประเทศฟิลิปปินส์ ไม่มีการทดลองในตลาดตะวันตก เช่น ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป แต่อย่างใด

“เรามีการสำรวจทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆ อยู่เสมอ เพื่อสร้างคุณค่าให้กับชุมชนของเรา” ไคเซอร์กล่าวผ่านอีเมลที่ส่งถึงสำนักข่าว “ในตลาดที่คัดเลือกมาแล้ว เราจะทดลองวิธีการใหม่ๆ นี้เพื่อสร้างพลังการค้นหาและค้นพบข้อมูลบน TikTok และเราหวังว่าจะได้เรียนรู้จากชุมชนของเราเองระหว่างการพัฒนาพื้นที่ปลอดภัยเพื่อสร้างความบันเทิง ให้แรงบันดาลใจแก่ความคิดสร้างสรรค์ และขับเคลื่อนวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง”

“จอช เกอร์เบิน” ทนายความผู้เชี่ยวชาญด้านการจดลิขสิทธิ์ ค้นพบว่า TikTok ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับแอปฯ Tako เรียบร้อยแล้ว แสดงว่าบริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะเปิดตัวให้ใช้งานเป็นวงกว้าง

TikTok ไม่ใช่โซเชียลมีเดียเจ้าแรกที่พัฒนาแชตบอตในช่วงหลายเดือนมานี้ เมื่อเดือนเมษายน Snapchat เป็นรายแรกที่เปิด My AI เป็นแชตบอตที่ให้ทุกคนใช้ได้ฟรี ส่วนบริษัท Meta ก็กำลังซุ่มพัฒนาแชตบอตอยู่เหมือนกัน

Source

]]>
1432168
ด่วนที่สุด! Google เร่งพัฒนา “แชตบอต” ของตนเอง สู้กับ ChatGPT ที่กำลังฮิตไปทั่วโลก https://positioningmag.com/1417477 Wed, 01 Feb 2023 04:38:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1417477 Alphabet บริษัทแม่ Google กำลังเร่งพัฒนาโปรดักส์ “แชตบอต” ของตนเองเพื่อสู้กับ “ChatGPT” แพลตฟอร์ม AI ถาม-ตอบที่กำลังฮิตทั่วโลก โดยบริษัทวางโปรเจ็กต์นี้เป็นเรื่อง “ฉุกเฉิน” และคาดว่าจะสามารถนำแชตบอตเข้าไปเป็นฟังก์ชันการค้นหาได้ภายในปีนี้

ช่วงก่อนหน้านี้ “ChatGPT” กลายเป็นแพลตฟอร์มยอดฮิตขึ้นมาในโลกเทคโนโลยีด้วยความสามารถที่น่าทึ่งจากพลัง AI แพลตฟอร์มนี้เปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ถามคำถามหรือป้อนคำสั่งใดๆ ก็ได้ ก่อนที่ ChatGPT จะเรียบเรียงตอบกลับมาอย่างละเอียดเหมือนเป็น ‘กูรู’ ในด้านนั้น ที่น่าตกใจยิ่งกว่าคือมันสามารถหาคำตอบในเชิงความคิดสร้างสรรค์ได้ด้วย เช่น แต่งนิทานเด็ก หรือแต่งสโลแกนโฆษณา

นักวิเคราะห์ต่างมองกันว่าผู้ที่จะได้รับผลกระทบรายหนึ่งจากโปรดักส์นี้คือ Google เพราะปกติแล้ว Google คือเสิร์ชเอ็นจิ้น เมื่อป้อนคำถามหรือคำค้นเข้าไป ก็จะมีลิงก์ไปสู่เว็บไซต์ต่างๆ ที่มีคำตอบอยู่ แต่ผู้ใช้จะต้องคลิกอ่านและประมวลผลเอง ขณะที่ ChatGPT จะเข้าไปอ่านคำตอบทั้งหมดและประมวลผลมาให้แบบเบ็ดเสร็จ จึงอาจจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวได้ในอนาคต

ChatGPT นั้นเป็นโปรดักส์ของบริษัท OpenAI บริษัทสตาร์ทอัพจากซานฟรานซิสโก ถึงแม้จะเป็นสตาร์ทอัพ แต่นักลงทุนใหญ่เบื้องหลังสตาร์ทอัพรายนี้ก็คือ Microsoft

 

Apprentice Bard โปรเจ็กต์ลงสนามสู้

ล่าสุดสำนักข่าว CNBC รายงานว่า Alphabet บริษัทแม่ของ Google เร่งโปรเจ็กต์ที่จะมาสู้กับ ChatGPT โดยเป็น “แชตบอต” ที่จะเข้าไปรวมเป็นฟังก์ชันหนึ่งในเสิร์ชเอ็นจิ้นดั้งเดิม ผู้รับผิดชอบโปรเจ็กต์นี้จะเป็นหน่วยงานชื่อ “Atlas” ซึ่งหมายความว่าโปรเจ็กต์นี้ถือเป็นงานเร่งด่วนที่สุด

แชตบอตที่ Google ทดสอบเป็นการภายในอยู่ขณะนี้มีชื่อว่า “Apprentice Bard” ลักษณะคล้ายกับ ChatGPT คือเป็นฟังก์ชันให้ถาม-ตอบ และจะได้คำตอบแบบลงรายละเอียด

Jeff Dean ประธานเจ้าหน้าที่ด้าน AI กล่าวกับพนักงานภายในด้วยว่า ประเด็นใหญ่อย่างหนึ่งที่ Google จะลำบากมากกว่าสตาร์ทอัพในสนามแข่งขันนี้คือ “ความเสี่ยงด้านชื่อเสียงบริษัท” เพราะจะต้องระวังไม่ให้มีการตอบข้อมูลที่ผิดออกไป อย่างไรก็ตาม เขาเองและ Sundar Pichai ซีอีโอบริษัทต่างมองว่า Google จะต้องเปิดตัวโปรดักส์นี้ให้ได้ภายในปีนี้

แชตบอต Apprentice Bard จึงถูกหยิบมาเร่งพัฒนา แชตบอตตัวนี้ใช้เทคโนโลยี LaMDA ของ Google (ย่อมาจาก Language Model for Dialogue Applications) ทำให้ทีมเบื้องหลัง LaMDA จะเป็นผู้นำทีม และจากข้อมูลภายในที่ CNBC ได้มา พบว่า พนักงานบางคนในทีมถูกสั่งให้หยุดเข้าประชุมเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องไปเลย สะท้อนให้เห็นว่า Google ต้องการสู้ให้เร็วที่สุด

 

ปลายทางต้องรวมเข้ากับ “เสิร์ชเอ็นจิ้น” เดิม

จุดสูงสุดของแชตบอตนี้คือจะไปรวมอยู่กับหน้าเสิร์ชเอ็นจิ้นดั้งเดิม โดยการออกแบบเบื้องต้นขณะนี้ทดลองสร้างปุ่ม “แชต” ไปไว้ที่ขวาสุดของช่องค้นหา

เมื่อใส่คำถามไปแล้ว คำตอบจะปรากฏเป็นกล่องข้อความสีเทาข้างใต้ช่องค้นหาเลย เหมือนกับได้แชตคุยกับมนุษย์ ข้างใต้นั้นจะมีคำถามต่อเนื่องที่แนะนำให้ถามต่อ แล้วค่อยตามด้วยลิงก์หน้าเพจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเหมือนกับการเสิร์ชปกติ

 

ใครเหนือกว่าใครในตอนนี้?

หลังจากทดสอบมาระยะหนึ่ง ทีมพบว่า Apprentice Bard มีจุดแข็งที่เหนือกว่า ChatGPT คือข้อมูลที่รวมมาจะเป็นปัจจุบันมากกว่า เช่น ถามถึงอีเวนต์ที่เพิ่งจัดไปสดๆ ร้อนๆ จะสามารถตอบได้ถูกต้องกว่า

ส่วนทักษะในด้านอื่นที่ลองทดสอบแข่งขันกันดูนั้น CNBC ได้ข้อมูลมาดังนี้

  • ChatGPT ทดสอบเข้าเป็นวิศวกรโคดดิ้งระดับ L3 ที่ Google ได้สำเร็จ (ไม่มีข้อมูลว่า LaMDA ทำได้ดีแค่ไหน)
  • ตั้งคำถามว่า “แชตบอตอย่าง ChatGPT หรือ AlphaCode จะมาแทนที่โปรแกรมเมอร์ได้หรือไม่” ทั้งคู่ตอบตรงกันว่าไม่สามารถแทนที่ได้ พร้อมยกข้อมูลอธิบายเพิ่มเติมต่างๆ
  • ตั้งโจทย์ให้แชตบอตเขียนบทภาพยนตร์ตลกฉากหนึ่งในสไตล์ Wes Anderson ปรากฏว่า LaMDA เขียนด้วยรูปแบบของบทหนังสำเร็จรูป ส่วน ChatGPT เขียนมาในแนวบรรยายเนื้อเรื่อง แต่เขียนได้ยาวกว่าและลงรายละเอียดกว่า
  • ทดสอบปัญหาเชาว์ด้วยคำถามว่า “มีผู้หญิงสามคนอยู่ในห้อง สองคนเป็นคุณแม่ที่เพิ่งให้กำเนิดบุตร จากนั้นคุณพ่อของเด็กๆ ก็เข้ามาในห้อง ตอนนี้มีคนอยู่ในห้องกี่คน?” ChatGPT ตอบว่ามี 5 คน ส่วน LaMDA ตอบว่ามี 7 คน

ต้องรอดูกันว่าศึกครั้งนี้ใครจะชนะระหว่างสตาร์ทอัพที่ออกตัวไปก่อนและหนุนโดยยักษ์ใหญ่ Microsoft กับบริษัทที่เป็นหนึ่งในใต้หล้าด้าน AI อย่าง Alphabet

Source

]]>
1417477
กรณีศึกษา เว็บหาคู่กับการใช้แชตบอต https://positioningmag.com/1146367 Mon, 13 Nov 2017 05:54:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1146367 ไม่เฉพาะแวดวงอีคอมเมิร์ซที่ต้องการแชตบอตเข้ามาช่วยให้การซื้อขายประสบผลสำเร็จ หรือแวดวงการเงินที่ใช้แชตบอตเข้ามาแนะนำด้านการลงทุน แต่ในแวดวงแห่งความรัก ก็พบความสำเร็จในการใช้แชตบอตเช่นกัน โดยก่อนหน้านี้มีเว็บไซต์หาคู่อย่าง Match.com เคยเปิดตัวบริการใหม่ที่นำแชตบอตเข้ามาช่วยในการทำโปรไฟล์ของลูกค้า ซึ่งหลังจากเปิดทดลองมาสักระยะ ทาง Match.com ก็ออกมาเผยว่า โมเดลธุรกิจดังกล่าวกำลังไปได้ด้วยดี และการมีแชตบอตทำให้มีผู้มาลงทะเบียนบนเว็บไซต์จับคู่ได้มากกว่าเดิมถึง 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

ความสำเร็จของเว็บไซต์ Match.com นี้เกิดขึ้นจากการให้แชตบอตเข้ามาช่วยทำโปรไฟล์ลูกค้าที่จากเดิมลูกค้าต้องเป็นคนกรอกเองว่า ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร มีนิสัยอย่างไร งานอดิเรกอะไรบ้าง มาเป็นการตอบคำถามของแชตบอตแทน ซึ่ง Match.com เผยว่า การทำโปรไฟล์ในลักษณะนี้สนุก และไม่น่าเบื่อ อีกทั้งพวกเขายังไม่ต้องกรอกข้อมูลเอง เพราะมีแชตบอตกรอกให้เสร็จสรรพด้วย

โดยในตอนนี้ แชตบอตของ Match.com กำลังเริ่มจับคู่ให้ลูกค้าจากโปรไฟล์เหล่านั้นกันแล้ว

แต่กว่าจะประสบความสำเร็จ Match.com เผยว่า ได้ทดสอบการใช้แชตบอตในหลาย ๆ วิธีมาแล้ว ตั้งแต่การสร้างแชตบอตแบบทั่วไป แชตบอตตลก ๆ หรือแชตบอตที่มีบุคลิกภาพในตัวเอง ซึ่งพบว่า แชตบอตแบบสุดท้ายประสบความสำเร็จมากที่สุด 

อย่างไรก็ดี จนถึงทุกวันนี้เราก็ยังไม่มีแชตบอตที่ประสบความสำเร็จเกิดขึ้นมากนัก ส่วนหนึ่งเพราะว่าตัวมนุษย์เองที่มักเห็นว่า แชตบอตเป็นวัตถุ และมักส่งข้อความที่ไม่เหมาะสมมาหา ซึ่งจะต่างจากการแชตกับคนด้วยกันเอง ที่ยังมีความเกรงใจอยู่บ้าง

จอห์น เทเลอร์ ซีอีโอของ Action.AI เผยว่า แชตบอตทุกวันนี้ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา และมนุษย์ไม่ควรคาดหวังว่า มันจะสามารถพูดคุยแบบไม่เป็นทางการได้อย่างลื่นไหล โดยเขากล่าวว่า ความสามารถของแชตบอตในขณะนี้เหมาะสำหรับการคุยงานที่เป็นธุรกิจมากกว่านั่นเอง

ขณะที่ในอนาคตนั้น อาจเป็นไปได้ว่า นอกจากใช้แชตบอตสร้างโปรไฟล์ให้เว็บหาคู่แล้ว มันอาจจะฉลาดมากพอที่จะจัดอบรมมารยาทให้กับมนุษย์ก่อนที่จะจัดนัดเดตให้เขากับเธอมาเจอกันด้วย

ที่มา : mgronline.com/cyberbiz/detail/9600000114518

]]>
1146367