เกือบ 3 ปีที่แอปฯ “Robinhood” เริ่มต้นจากบริการเดลิเวอรี วันนี้แอปฯ เติบโตจนมีฐานผู้ใช้ทะลุ 3.7 ล้านคน พร้อมไปต่อกับบริการใหม่ “Robinhood Ride” ที่ยังคงวางเป้าหมายทำเพื่อคนตัวเล็ก ด้วยคอนเซ็ปต์ “บริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ” สร้างตัวเลือกบริการเรียกรถราคายุติธรรมกับทั้งผู้โดยสารและคนขับ
ย้อนไปเกือบ 3 ปีก่อน ประเทศไทยเกิดสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ธุรกิจร้านอาหารเล็กๆ ยากลำบาก ต้องเน้นการขายสินค้าผ่านระบบเดลิเวอรีทดแทนยอดขายหน้าร้านที่ลดลง แต่ด้วยแอปฯ เดลิเวอรีส่วนใหญ่มีการเก็บค่า GP หรือค่าคอมมิชชันจากราคาขาย ทำให้ร้านอาหารขนาดเล็กขาดทุนหรือจำต้องขึ้นราคาสินค้าซึ่งกระทบกับผู้บริโภคปลายทาง
แอปพลิเคชัน Robinhood จึงก่อตั้งขึ้นด้วยจุดประสงค์ “ช่วยคนตัวเล็ก” เป็นระบบเดลิเวอรีที่ “ไม่เก็บค่า GP” เพื่อให้ร้านอาหารเล็กๆ ยังอยู่ได้ และเมื่อร้านอาหารขายผ่านเดลิเวอรีได้ ไรเดอร์คนขับรถส่งอาหารก็จะยังมีงานทำเช่นกัน
(ซ้าย) “กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด และ (ขวา) “สุชานัน ตันติวัฒนวัลลภ” Head of Ride Business บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด
“กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด ระบุว่าหลังจากแอปฯ Robinhood ก่อตั้งมา 2 ปี 8 เดือน ปัจจุบันระบบมีฐานผู้ใช้รวม 3.7 ล้านคน มีร้านอาหารในระบบ 3 แสนร้านค้า และมีไรเดอร์ร่วม 3 หมื่นคน
ที่ผ่านมาแอปฯ ช่วยเชื่อมโยงสร้างมูลค่าการขายให้ร้านค้าสะสม 17,200 ล้านบาท และสร้างรายได้ให้ไรเดอร์รวม 3,600 ล้านบาท ช่วยหมุนเวียนเศรษฐกิจให้กับคนตัวเล็กดังที่ตั้งใจไว้เมื่อเกือบ 3 ปีก่อน
มูลค่าที่ Robinhood ช่วยสร้างรายได้ให้กับกลุ่มร้านค้าและไรเดอร์
ต่อมาในปี 2565 แอปฯ Robinhood ยังขยายฟีเจอร์บริการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น คือ Robinhood Travel บริการจองโรงแรมและตั๋วเครื่องบิน, Robinhood Mart บริการเดลิเวอรีสินค้าจากร้านค้า และ Robinhood Express บริการเรียกรับ-ส่งพัสดุ มาช่วยเติมเต็มไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภค มีทางเลือกในการใช้งานเพิ่มขึ้น
กวีวุฒิกล่าวต่อว่า เป้าหมายของ Robinhood ในปี 2566 คือมุ่งมั่นสานต่อการสร้างโอกาสและสนับสนุนคนตัวเล็กภายใต้วิสัยทัศน์ใหม่ “แอปเพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน” ความหมายคือ Robinhood จะต้องยั่งยืนด้วยตนเองไปพร้อมๆ กับการสร้างงานให้คนตัวเล็ก ดังนั้น แอปฯ จะมีบริการใหม่เพิ่มขึ้นที่คาดว่าจะทำให้บริษัทเริ่มทำกำไรด้วยตนเองได้ใน 1-2 ปี
เริ่มจากการออกบริการใหม่คือ “Robinhood Ride” บริการ “เรียกรถ” ซึ่งบริษัทมองว่าจะเป็นธุรกิจที่สำคัญมาก เพราะปัจจุบันบริการเรียกรถทั่วไปเรียกเก็บค่าโดยสารในราคาค่อนข้างสูง จึงมองว่าการเข้ามาเป็นอีกผู้เล่นหนึ่งในตลาดและทำราคาให้ “แฟร์” ยุติธรรมกับผู้บริโภค ช่วยเรื่องค่าครองชีพให้กับคนกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง
ขณะที่ปลายปี 2566 จะมีบริการใหม่เพิ่มอีก 2 ประเภท คือ “Robinhood Finance” บริการสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ดิจิทัลที่จะเริ่มจากให้กับกลุ่มไรเดอร์และร้านค้าก่อน และ “Robinhood EV” บริการให้เช่ารถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า โดยคาดว่าจะมีรถเข้าระบบได้ 1,000 คัน
“สุชานัน ตันติวัฒนวัลลภ” Head of Ride Business บริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด อธิบายต่อถึงสภาวะตลาดบริการเรียกรถรับส่งปัจจุบันมีขนาดตลาดใหญ่ถึง 7 หมื่นล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตไปถึง 1.5 แสนล้านบาทได้ในปี 2571
สาเหตุที่บริการเรียกรถจะเติบโต เนื่องจากปัจจุบันตลาดรับรับส่งยังมีการเรียกรถแบบโบกมืออยู่ 35% และเรียกผ่านแอปฯ 65% แต่แนวโน้มการเรียกผ่านแอปฯ จะเติบโตขึ้นไปอีก
อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์แล้วบริษัทพบว่าตลาดนี้ยังมี ‘pain point’ ทั้งในฝั่งผู้โดยสารและคนขับ 3 ปัญหาใหญ่ คือ
1. ผู้โดยสารถูกเรียกเก็บค่าโดยสารสูงมาก โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน (peak time) อาจถูกเรียกเก็บสูงกว่าปกติ 2-3 เท่า
2. คนขับรถถูกหักค่าคอมมิชชันสูง ค่าเฉลี่ยในตลาดหักค่าคอมมิชชัน 25-30% ซึ่งทำให้คนขับอาจไม่เหลือกำไรจากการขับรถ
3. ระบบ Call Center ไม่เพียงพอในการช่วยเหลือทั้งผู้โดยสารและคนขับ ติดต่อได้ยาก
จากปัญหาทั้งหมดนี้ Robinhood Ride จึงต้องการเข้ามาแก้ไขเพื่อเป็นตัวเลือกที่แฟร์และแคร์คุณมากกว่า ไม่ว่าจะทั้งฝั่งผู้โดยสารหรือคนขับ โดยนำเสนอจุดเด่น 6 ด้าน ได้แก่
1. ราคาเป็นธรรม โดยมีลิมิตเพดานค่าโดยสารที่เรียกเก็บอยู่ในกรอบที่กรมขนส่งทางบกกำหนด
2. คนขับบริการดีมีมาตรฐาน โดยมีการเทรนนิ่งด้านมารยาทการให้บริการ เหมือนกับที่มีการเทรนนิ่งไรเดอร์ขนส่งอาหาร
3. เก็บค่าคอมมิชชันจากคนขับน้อยกว่า โดยกำหนดเพดานเรียกเก็บไม่เกิน 20%
4. คนขับเริ่มงานง่ายไม่ต้องเติมเครดิตก่อนเริ่มงาน ต่างจากแอปฯ อื่นที่ต้องเติมเครดิตไว้ให้เพียงพอสำหรับการหักค่าคอมมิชชันก่อน
5. ประกันเหตุร้ายในช่วง 22:00-04:00 น. ทำให้ทั้งผู้โดยสารและคนขับอุ่นใจในยามค่ำคืน
6. Call Center 24 ชั่วโมง ไม่ใช้ระบบอัตโนมัติ ใช้มนุษย์เป็นผู้สื่อสาร โดยเตรียมบุคลากรไว้อย่างเพียงพอและผ่านการเทรนนิ่ง
ระบบ Robinhood Ride ยังมีจุดเด่นด้านอื่นๆ ถือเป็นส่วนเสริมที่น่าสนใจเช่น ตัวเลือกรถยนต์มีให้เลือก 8 รูปแบบ และหนึ่งในแบบที่เลือกได้คือเรียก “รถยนต์ไฟฟ้า (EV)” ในราคาที่เท่ากับรถบ้านปกติ เพื่อสนับสนุนการใช้รถยนต์ปลอดมลพิษ
รวมถึงมีฟังก์ชันให้เลือก “ห้ามรบกวนขณะโดยสาร” (Silent Mode) มาจากอินไซต์ของคนกรุงเทพฯ ที่บางครั้งต้องการสมาธิทำงานระหว่างนั่งรถโดยสาร หรือต้องการความเป็นส่วนตัวขณะโดยสาร
ปัจจุบันบริการ Robinhood Ride เริ่มให้บริการครอบคลุมทั้งเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล โดยเริ่มต้นมีรถบริการ 4,500 คัน แต่จะเร่งขยายจำนวนคนขับให้มากขึ้นโดยมีเป้าขยายจำนวนรถในระบบเป็น 10,000 คัน และเป้าให้บริการเฉลี่ย 12,000 ครั้งต่อวันให้ได้ภายในสิ้นปีนี้
สุชานันกล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าระยะกลางภายใน 3 ปีจะขึ้นสู่ “Top 3” ของตลาดแอปฯ เรียกรถ และมีส่วนแบ่งตลาดราว 20%
ส่วนแผนงานการขยายตัวไปให้บริการในต่างจังหวัดนั้นเป็นไปได้ แต่จะรอดูผลตอบรับจากผู้โดยสารในกรุงเทพฯ ก่อน และต้องวิเคราะห์ตลาดต่างจังหวัดในแต่ละหัวเมืองด้วยว่ามีดีมานด์เพียงพอหรือไม่
ทั้งนี้ ในช่วงเปิดตัว Robinhood Ride บริษัทมีสิทธิพิเศษมอบให้ผู้โดยสารเพื่อทดลองใช้งานบริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ เพียงกรอกรหัส “CARE” รับส่วนลดทันที 50 บาท เมื่อเรียกรถค่าโดยสารขั้นต่ำ 100 บาท ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม – 30 กันยายน 2566
#Robinhood #แอปเพื่อคนตัวเล็กที่ยั่งยืน #RobinhoodRide #บริการเรียกรถที่แฟร์และแคร์คุณ
]]>โลกในศตวรรษที่ 21 เผชิญกับความท้าทายมากมายเทคโนโลยีกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องลงมือทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เรื่องของ Digital Transformation จึงกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญขององค์กรต่าง ๆ สถาบันการศึกษาก็เป็นหน่วยงานที่ผลักดันยุทธศาสตร์ด้านดิจิทัล เทคโนโลยีและหนึ่งในสถาบันการศึกษาที่ได้ทำ Digital Transformation มาอย่างต่อเนื่อง ก็คือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั่นเอง
โดยโครงการ CU NEX ซึ่งถือเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับธนาคารกสิกรไทยที่มีมาตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา โดยใช้เทคโนโลยีจากกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ KBTG มีเป้าหมายมุ่งสู่การเป็น ‘Digital Lifestyle University’ เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของนิสิตและบุคลากรของจุฬาฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งการเรียน และการทำงาน
Positioning จะพาไปดูว่าในช่วงที่ผ่านมาความร่วมมือดังกล่าวประสบความสำเร็จอย่างไร รวมถึงทิศทางหลังจากนี้ว่าโครงการ CU NEX จะพัฒนาต่อไปเพี่อตอบโจทย์โลกยุคดิจิทัล
CU NEX เป็นโครงการความร่วมมือของธนาคารกสิกรไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนาแอปพลิเคชัน CU NEX โดยมีความต้องการของผู้ใช้งาน คือ นิสิต เป็นหัวใจของการพัฒนา เพื่อนำเอาเทคโนโลยีมาทำให้การเรียนการสอน และการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยมีความเป็นดิจิทัลไลฟ์สไตล์ในทุกมิติ พร้อมกันนี้ยังได้ต่อยอดสู่แอปพลิเคชัน CU NEX STAFF โดยมีฟังก์ชันที่จะมาช่วยเพิ่มความสะดวกในการทำงานของชาวบุคลากรจุฬาฯ
ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า แอปพลิเคชัน CU NEX คือก้าวสำคัญของการเปลี่ยนจุฬาฯ เข้าสู่ยุคใหม่ (Chula New Era) การนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาอำนวยความสะดวกให้กับนิสิตและบุคลากร คือเป้าหมายสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านดิจิทัลไลฟ์สไตล์แห่งแรกของประเทศไทย”
ขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารมีเป้าหมายร่วมกันกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการขับเคลื่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสู่การเป็น Digital Lifestyle University ทั้งการพัฒนาระบบ สิ่งอำนวยความสะดวก กิจกรรมทั้ง Online และ On Ground องค์ความรู้ต่างๆ เพื่อทำให้การใช้ชีวิตของนิสิตมีศักยภาพ และสะดวกสบายยิ่งขึ้นในยุคดิจิทัล จนเกิดเป็นหลายๆ อย่างที่นิสิตและบุคลากรได้ใช้กันทุกวันนี้ ทั้ง CU NEX (App), CU NEX STAFF (App), Plearn space, และโครงการ CU NEX Club ที่ปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 4 แล้ว
โดยตลอด 4 ปีที่ผ่านมา CU NEX ได้มีการพัฒนาบริการต่างๆ ในแอปพลิเคชันอย่างต่อเนื่อง และทำให้นิสิต บุคลากรของจุฬาฯ ได้ใช้ประโยชน์ในหลายด้าน ได้แก่
ปัจจุบันแอป CU NEX สำหรับนิสิตนั้นมียอดจำนวนผู้ดาวน์โหลด 99.5% มี Active User ประมาณ 73% เป็นแอปพลิเคชันที่ช่วยให้การใช้ชีวิตนิสิตในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสะดวกมากขึ้น ขณะที่ CU NEX STAFF สำหรับบุคลากรไว้ใช้งานนั้นมียอดจำนวนผู้ดาวน์โหลด 74%
แอปฯ CU NEX
สำหรับการพัฒนาในระยะที่ 2 นี้ ได้มีการเพิ่มศักยภาพแอปพลิเคชัน CU NEX ด้วยการพัฒนาต่อยอดฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อให้ CU NEX เป็นแอปพลิเคชันที่นิสิตใช้ในชีวิตประจำวันทั้งการเรียน การใช้ชีวิต รวมถึงการดูแลสุขภาวะของตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ ไปจนถึงการพัฒนาศักยภาพของตนเองบ่มเพาะความรู้ด้านดิจิทัล เทคโนโลยี
โดย KBTG ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีของ KBank ได้นำความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลเทคโนโลยี มาประยุกต์ใช้กับบริบทการใช้ชีวิตของนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ เช่น Biometrics Technology ที่เป็น Commercial grade in house รับรองด้วย iBeta global certification รวมถึงในเฟสที่ 2 ที่จะมีการนำ Deep Technology มาพัฒนาต่อยอด CU NEX
ไม่เพียงเท่านี้ CU NEX ยังเป็นพื้นที่ที่ทำให้นิสิตจาก CU NEX Club ที่มีสมาชิกรวม 60 คนจาก 17 คณะมีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น และได้ฝึกฝน เรียนรู้ ระดมไอเดีย และลงมือปฏิบัติกระบวนการทำงานจริงในหลากหลายด้าน เช่น ด้านไอที ด้านการตลาด เป็นต้น
ฟีเจอร์ใหม่ๆ ของแอปพลิเคชัน CU NEX หลังจากนี้ที่จะมีให้บริการแก่นิสิต เช่น
การใช้งาน CU NEX ในพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
]]>
Joel Simkhai ก่อตั้งแอปพลิเคชัน Grindr ขึ้นเมื่อปี 2009 และกลายเป็นแอปฯ ที่เปลี่ยนวิธีการหาคู่เดตของกลุ่ม LGBTQ+ ไปโดยสิ้นเชิง หลังจากนั้นเขาขายแอปฯ Grindr ให้บริษัทเทคจีน Kunlun Tech ไปเมื่อปี 2016
“(Grindr) ยังคงเป็นหนทางให้ผู้คนได้มาเจอกัน และแอปฯ ก็มีผู้ใช้งานจำนวนมากแล้ว ดังนั้นก็ถือว่ามีประสิทธิภาพในการใช้งาน” Simkhai กล่าวกับสำนักข่าว Fast Company “ปัญหาคือแอปฯ ไม่ค่อยได้พัฒนาไปมากกว่านั้นตั้งแต่เปิดตัวมา”
เมื่อ Simkhai เปิดตัวแอปฯ ใหม่คือ “Motto” แอปฯ นี้จึงมีฟีเจอร์ที่จะแก้ปัญหาที่เคยมีใน Grindr หรือสารพัดแอปฯ เดตชาวเกย์ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาเดียวกัน
“การมีคำขวัญ (motto) หมายถึงคุณมีหลักการที่ยึดถือบางอย่าง” Simkhai อธิบายถึงชื่อแอปฯ “และเรายึดถือหลักคิดที่ว่า คนเราสมควรจะได้สร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณภาพ”
Motto มีการวางขั้นตอนยืนยันตัวตนที่เข้มข้นมาก เพราะผู้ใช้ทุกคนจะต้องอัปโหลดรูปภาพเซลฟี่โดยทำท่าทางที่กำหนดให้อย่างชัดเจน เช่น ชูมือขึ้น เพื่อจะลดการมีบัญชีสแปมในแพลตฟอร์ม แอปฯ นี้ยังบังคับให้ภาพโปรไฟล์ต้องมีภาพส่วนศีรษะให้เห็นหน้ากันชัดๆ ด้วย ดังที่แอปฯ ใส่สโลแกนไว้บน App Store ว่า “พอกันทีกับภาพถอดเสื้อที่ไม่มีหน้าให้ดู”
“คุณน่าจะเคยได้ข้อความจากคนที่ไม่รู้ว่าตกลงหน้าตาแบบไหนอยู่บ่อยๆ และนั่นเป็นเรื่องที่เสียเวลามาก” Simkhai กล่าว
แค่ฟีเจอร์บังคับให้มีรูปที่เห็นหน้าค่าตากันยังไม่พอ Motto ยังมีระบบจำกัดจำนวนคนที่จะขึ้นมาให้เราเลือกในแต่ละวันด้วย โดยปัจจุบันตั้งค่าไว้ที่ 10 คนต่อวัน คัดเลือกมาจากคนที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงผสมกับคนที่มีวงสังคมใกล้เคียงกัน ตัวเลขจำนวนคนต่อวันอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต แต่เหตุที่ Simkhai กำหนดเรื่องพวกนี้ก็เพราะต้องการให้คนเลิกปัดหน้าจออย่างไม่รู้จบ
“ไอเดียของแอปฯ นี้ถ้าให้พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นแอปฯ ของคนที่มีตัวตนจริง ผ่านการยืนยันตัว และทำให้คุณใช้เวลาน้อยลงในการปัดหาคนที่ใช่ หยุดการงมเข็มในมหาสมุทร” Simkhai กล่าว
ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่สูงค่ามาก แต่ว่าในภาคปฏิบัติและเชิงธุรกิจ อาจจะมีคำถามติดตามมา
เพราะปกติแล้วแอปฯ เดตออนไลน์มักจะทำเงินได้จากการขายข้อมูลให้กับธุรกิจโฆษณา ทำให้แอปฯ ส่วนใหญ่จะอยากให้ผู้ใช้อยู่ในแอปฯ นานๆ ปัดจอกันไปเรื่อยๆ แต่กลายเป็นว่า Motto จะหลีกเลี่ยงสิ่งนั้น
เรื่องนี้ Simkhai กล่าวว่า Motto อาจจะให้ใช้ฟรีอยู่ขณะนี้ แต่ในอนาคต ณ จุดๆ หนึ่งก็จะต้องมีระบบสมัครสมาชิก ไม่ว่าจะเป็นการเป็นแอปฯ ปิดที่ต้องสมัครเข้าใช้ หรืออาจจะเป็นระบบฟรีเมียม มีฟังก์ชันบางอย่างที่จ่ายเงินซื้อได้ เช่น บูสต์โปรไฟล์ของตัวเองให้คนอื่นเห็นมากกว่าปกติ
ด้านการขยายฐานผู้ใช้งาน Simkhai ก็รู้ดีว่า Motto จะไม่สามารถมีฐานใหญ่ได้เท่ากับ Grindr ด้วยข้อจำกัดที่บังคับภายในแอปฯ อย่างการบังคับให้มีรูปหน้าตาตนเองบนโปรไฟล์ จะทำให้ LGBTQ+ หลายคนไม่พร้อมที่จะใช้แอปฯ เพราะหลายคนก็ยังไม่บอกให้สังคมรู้ ต้องการปิดบังตนเอง
“ผมเข้าใจว่ามีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถโพสต์รูปเปิดเผยตนเองได้บนแอปฯ แบบนี้ ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน” Simkhai กล่าว “น่าเสียดายที่ขณะนี้เราอาจจะยัง ‘ไม่ใช่’ สำหรับคนกลุ่มดังกล่าว”
Simkhai อธิบายว่าแอปฯ พร้อมเปิดรับทุกคนที่ต้องการสานสัมพันธ์ออนไลน์ในรูปแบบใหม่ และการสร้างฟังก์ชันเหล่านี้ก็เพื่อลดสแปม บอท และนักต้มตุ๋น
สำหรับ Grindr นั้นปัจจุบันมีผู้ใช้งานประจำเฉลี่ยเดือนละ 11 ล้านคน ใน 190 ประเทศทั่วโลก และถูกประเมินมูลค่าบริษัทไว้ที่ 2,100 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือเป็นแอปฯ ที่ยังคงประสบความสำเร็จในแง่จำนวนผู้ใช้ แม้จะผ่าน “ดราม่า” มามากมายหลังซื้อขายเปลี่ยนมือ เช่น เมื่อสังคมพบว่า Scott Chen อดีตประธานบริษัท Grindr ที่มาจาก Kunlun Tech เคยเขียนโพสต์บน Facebook ว่าเขาไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานของเพศเดียวกัน แม้กระทั่ง George Arison ซีอีโอคนปัจจุบัน Grindr ก็เคยถูกวิจารณ์เพราะไปสนับสนุนนักการเมืองที่มีประวัติเหยียด LGBTQ+
เรื่องราวดราม่าเหล่านี้ทำให้ Simkhai บอกว่าเขาจะระมัดระวังมากขึ้นเมื่อมาบริหาร Motto ทีมงานใหม่ทุกคนจะต้องเชื่อในวิสัยทัศน์ของแอปฯ และเคารพต่อคอมมูนิตี้ของกลุ่มเควียร์
“แอปฯ นี้จะใส่ใจในการคัดสรรมากกว่า มีความตั้งใจกว่า” เขากล่าวถึง Motto เมื่อเทียบกับ Grindr “เราหวังว่าจะเป็นแอปฯ ที่มีคุณภาพ และเป็นแอปฯ ที่คุณจะใช้เวลาน้อยลงแต่ได้ผลลัพธ์ที่ดีเยี่ยม”
]]>ต้องยอมรับว่าช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้ตระหนักแล้วว่า ‘สุขภาพ’ เป็นสิ่งที่ต้องหันมาใส่ใจมากขึ้น รวมไปถึงเรื่องของ ‘ประกันสุขภาพ’ ที่เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น แต่หากพูดถึง Pain Point ของลูกค้าคงหนีไม่พ้น ‘ความแตกต่าง’ เพราะแต่ละคนก็มีความ ‘เฉพาะตัว’ ไม่ว่าจะเป็นเพศ, วัย, สถานะ, อาชีพ ฯลฯ แต่แน่นอนว่าทุกคนก็อยากได้การคุ้มครองด้านสุขภาพที่ตอบโจทย์กับความเฉพาะตัวของตัวเอง
เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ‘เมืองไทยประกันชีวิต’ จึงได้เปิดตัวกลยุทธ์ ‘Health 5.0’ ที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ นวัตกรรมความคุ้มครองด้านสุขภาพ ที่ออกแบบแบบประกันที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ และมีความเฉพาะตัว (Personalization) ครอบคลุมทุกเพศทุกวัย (Generation) ทุกบทบาทของชีวิตที่ต้องรับผิดชอบ จะเป็นคนตัวเล็ก หรือตัวใหญ่ ไลฟ์สไตล์แบบไหน ไม่ว่าจะโสด มีครอบครัว วัยทำงาน วัยเกษียณ เจ้าของกิจการ พนักงานออฟฟิศ ฟรีแลนซ์ แม่บ้าน คนขับรถ พนักงานรักษาความปลอดภัย ก็สามารถเข้าถึงความคุ้มครองจากเมืองไทยประกันชีวิตได้เท่ากัน
แน่นอนว่าการออกแบบประกันที่เข้าถึงได้ทุกคน เทคโนโลยี และ Data ถือเป็น 2 สิ่งที่สำคัญ ดังนั้น เมืองไทยประกันชีวิต ได้พัฒนาและผสมผสานรูปแบบของการบริการและเทคโนโลยีที่มีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น
โดยเมืองไทยประกันชีวิตได้ชูบริการแบบเหมาจ่าย โดยเฉพาะ Elite Health Plus และ D Health Plus โดยคุ้มครองทั้งค่าห้องและค่ารักษา ครอบคลุมทั้งโรคร้ายแรง โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอุบัติใหม่ โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ ทั้งนี้ Elite Health Plus จะคุ้มครองครอบคลุมค่าห้องและค่ารักษาเหมาจ่าย 20-100 ล้านบาทต่อปี ขณะที่ D Health Plus ให้ความคุ้มครองเหมาจ่าย 1-5 ล้านบาทต่อการรักษาครั้งใดครั้งหนึ่ง สามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มได้ตามต้องการ เช่น ตรวจสุขภาพ ทำฟัน ดูแลสายตา หรือคุ้มครองการคลอดบุตร
“ในยุคปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมของผู้คนหันมาให้ความสำคัญเรื่องของการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงการมองหาความคุ้มครองสุขภาพที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ จึงเป็นที่มาของความมุ่งมั่นตั้งใจของเมืองไทยประกันชีวิต ที่พยายามพัฒนาความคุ้มครองสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าแบบ Outside In ซึ่งเป็นหัวใจที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญมาโดยตลอด ด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ชีวิตของทุกคนมีรอยยิ้มได้” สาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) กล่าว
เพื่อสะท้อนถึงเรื่องราวด้านความคุ้มครองสุขภาพจากเมืองไทยประกันชีวิต ที่ได้รับความไว้วางใจและเชื่อมั่นจากลูกค้าแคมเปญ A True Story จะเป็นตัวช่วยบอกเล่ามุมมองและประสบการณ์จากลูกค้าตัวจริง โดยมีผู้ร่วมแชร์ประสบการณ์จากหลากหลายแวดวงและบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันไป อาทิ คุณชาลอต โทณวณิก ตัวแทนวัยอิสระ, คุณลีเดีย ศรัณย์รัชต์-คุณแมทธิว ดีน ตัวแทนสำหรับผู้ที่มีครอบครัว, คุณโบว์ กัญญารัตน์ ปิยะนันทสมดี ตัวแทนของคนรุ่นใหม่ และ คุณซินดี้ ปณิธิ จันทร์พิทักษ์ ตัวแทนของชาว LGBTQ+ นอกจากนี้ยังมีอีกหลากหลายเรื่องราว A True Story สามารถติดตามได้ทาง เว็บไซต์ www.muangthai.co.th YouTube Facebook Instagram Twitter และ LINE Official Account
นอกจากนี้ยังได้ เบลล่า ราณี แคมเปน หนึ่งในลูกค้าตัวจริง มาร่วมถ่ายทอดเรื่องราวในโฆษณาชุดใหม่ ‘Life Stage’ ทุกช่วงเวลาของชีวิต สุขภาพเป็นเรื่องที่คาดเดาไม่ได้ ผ่านหลากหลายช่องทางเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าทุก Generation
สำหรับผู้ที่สนใจวางแผนสุขภาพของคุณวันนี้ สามารถติดต่อตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิต หรือโทร.1766 ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง http://www.muangthai.co.th
หมายเหตุ :
‘คนรุ่นใหม่ไม่ดูโฆษณากันแล้ว’ ข้อความนี้เป็นความจริง แต่เป็นความจริงที่แก้ไขได้ หากแบรนด์สามารถพลิกแพลงด้วย ‘Storytelling’ เข้ากับคอนเทนต์ที่คน Gen Z และ Gen Y ชื่นชอบ โดย ‘LINE WEBTOON’ เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ช่วยเปิดประตูแห่งโอกาสให้กับแบรนด์ จากความนิยมที่สูงมากในกลุ่มวัยรุ่นไทย มาดูกันว่า กลยุทธ์ที่แบรนด์สามารถทำได้ผ่านแพลตฟอร์มนี้ สามารถทำอย่างไรได้บ้าง
คนทั่วไปเมื่อเอ่ยชื่อ LINE (ไลน์) อาจจะนึกถึงแอปพลิเคชัน “แชท” เป็นแพลตฟอร์มเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างกัน แต่จริงๆ แล้วระบบนิเวศของ LINE นั้นขยายไปไกลกว่าแค่การแชท โดยมีโปรดักส์อื่นๆ ตามมาอีกมาก เช่น LINE TODAY, LINE WEBTOON, LINE SHOPPING และ LINE OpenChat เป็นต้น
ระบบนิเวศทั้งหมดนี้ทำให้ LINE เข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันทุกช่วงของคนไทย รวมถึงเป็นช่องทางให้กับธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ระบบนิเวศของ LINE เพื่อเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้นและครอบคลุม
ในยุคที่แพลตฟอร์ม “ดิจิทัล” มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจและการตลาด LINE ในฐานะผู้นำแพลตฟอร์มดิจิทัลของไทยจึงจัดงานสัมมนาเพื่อช่วยติดอาวุธธุรกิจไทยให้พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลง ภายใต้ชื่องาน “THAILAND NOW AND NEXT 2022: PREPARING FOR THE CHANGING WORLD” รวมกูรูในวงการมาให้ข้อมูลด้านดิจิทัลที่ผู้ประกอบการควรรู้ ตั้งแต่เทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคยุคใหม่ การใช้ดาต้าเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ จนถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากกฎหมายด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
โดยหนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจของงานสัมมนาคือหัวข้อ “WEBTOON: THE NEXT MOVEMENT IN THAILAND” ชี้เป้าให้นักการตลาดและเจ้าของธุรกิจเห็นว่า เทรนด์ที่กำลังมาในกลุ่มคนรุ่นใหม่ของไทยและจะเป็นโอกาสทางการตลาดให้แบรนด์ คือแพลตฟอร์มอ่านการ์ตูนออนไลน์นี่เอง
อันแชวอน Partnership Manager ของ LINE WEBTOON อธิบายถึงโปรดักส์นี้ก่อนว่า เป็นแพลตฟอร์มที่นำความเพลิดเพลินจากหนังสือการ์ตูนในอดีตมาสู่อุปกรณ์ดิจิทัล โดยมีการปรับรูปแบบการนำเสนอให้เหมาะกับอุปกรณ์มากขึ้น
คอนเทนต์ยอดนิยมของ LINE WEBTOON มีการขายลิขสิทธิ์ไปผลิตเป็นซีรีส์และภาพยนตร์ดังหลายเรื่อง
LINE WEBTOON เปิดตัวครั้งแรกที่เกาหลีใต้เมื่อปี 2004 ก่อนจะเริ่มขยายไปยังต่างประเทศเมื่อปี 2014 จนปัจจุบันเป็นผู้นำในธุรกิจแพลตฟอร์มอ่านการ์ตูนออนไลน์ มียอดผู้ชมประจำเดือนทั่วโลก (MAUs) กว่า 82 ล้านคน และมีระยะเวลาการอ่านเฉลี่ยต่อคนต่อวันมากกว่า 24 นาที
จากการสั่งสมฐานแฟนและครีเอเตอร์มายาวนาน ทำให้ LINE WEBTOON อัดแน่นด้วยคอนเทนต์คุณภาพจนได้รับการต่อยอด ซื้อลิขสิทธิ์คอนเทนต์ไปสร้างเป็นซีรีส์-ภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น Nevertheless, Hellbound, All of Us Are Dead, คุณแม่วัยใส และแต่ละเรื่องล้วนกลายเป็นคอนเทนต์สุดฮิตบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่ง
สำหรับประเทศไทย ถือเป็นตลาดสำคัญของ LINE WEBTOON เพราะแพลตฟอร์มนี้เป็นที่นิยมสูงมาก ไทยมียอดผู้ชมประจำเดือน (MAUs) 3.5 ล้านคน และมีระยะเวลาอ่านเฉลี่ยต่อคนต่อวันถึงมากกว่า 100 นาที! นอกจากนี้ ไทยยังเป็นตลาดที่มีการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มสูงเป็นอันดับ 3 รองจากอินเดียและจีน สะท้อนให้เห็นว่าผู้อ่านไทยชื่นชอบคอนเทนต์ มีการเข้าอ่านเป็นประจำ และเป็นแฟนตัวยง
ผู้อ่านหลักของ LINE WEBTOON จะเป็นกลุ่ม Gen Z และ Gen Y โดยมีผู้อ่านวัยต่ำกว่า 24 ปี และวัย 24-34 ปี รวมกันถึง 76% ทำให้ถ้าหากแบรนด์ใดมีเป้าหมายเป็นคนรุ่นใหม่กลุ่มเดียวกัน นี่จะเป็นช่องทางที่ใช่สำหรับแบรนด์นั้นทันที
กลุ่มคน Gen Z และ Gen Y ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่นักการตลาดดิจิทัลไม่ควรมองข้าม เพราะไม่เพียงแต่พวกเขาจะเป็น ‘media savvy’ รับชมคอนเทนต์ออนไลน์ถึงวันละ 8 ชั่วโมง กลุ่มนี้ยังเป็นผู้นำความคิดในโลกออนไลน์ คอนเทนต์จากแบรนด์จะ “ไวรัล” หรือไม่ขึ้นอยู่กับพวกเขา
นอกจากนี้ กลุ่มคนรุ่นใหม่ยังเปิดใจกว้างกว่าวัยอื่น มากกว่า 20% ของคนกลุ่มนี้พร้อมจะลองแบรนด์ใหม่ๆ และมีกำลังซื้อพอที่จะจับจ่าย
อย่างไรก็ตาม ความท้าทายในการส่งคอนเทนต์สู่สายตาคน Gen Z และ Gen Y คือ “พวกเขามีระยะความสนใจต่ำเพียง 8 วินาที” และไม่ชอบรับชมโฆษณา ทำให้การทำโฆษณาแบบดั้งเดิมนั้นอาจจะไม่ได้ผลอีกแล้ว เพราะพวกเขาจะกดข้ามทันที
ทางออกของเรื่องนี้คืออะไร? แชวอนแนะนำถึงกลยุทธ์การโฆษณาที่ซับซ้อนขึ้น ด้วยการสร้าง ‘storytelling’ เมื่อร้อยเรียงข้อความของแบรนด์เข้ากับเนื้อเรื่องที่คนรุ่นใหม่สนใจอยู่แล้ว จะทำให้คนรุ่นนี้สนใจมากกว่าการอ่านข้อความธรรมดาที่บอกเล่าตรงๆ ถึง 22 เท่า!
เหตุนี้เอง LINE WEBTOON จึงเข้ามาตอบโจทย์นักการตลาด ด้วยแพลตฟอร์มและคอนเทนต์ที่แฟนๆ ชื่นชอบ ทำให้ผู้อ่านไม่รู้สึกว่าถูกรบกวนหรือยัดเยียดเมื่อร้อยเรียงแบรนด์ลงไป และยังคงได้รับความบันเทิงพร้อมๆ กับการอ่านโฆษณา
แชวอนยกตัวอย่างงานโฆษณาในประเทศอื่นๆ ที่ร่วมมือกับ LINE WEBTOON และประสบความสำเร็จ สามารถเปลี่ยนความคิดของคน Gen Z ที่ไม่ชอบโฆษณา มาเป็นแนวหน้าช่วยเผยแพร่โฆษณาของแบรนด์ออกไปจนไวรัล ผ่านกลยุทธ์เหล่านี้
กุญแจสำคัญคือแบรนด์จะมีการสร้าง Branded Story ร่วมกับครีเอเตอร์ที่สามารถคอลแลปกันได้ โดยครีเอเตอร์จะใช้ตัวละครจากเรื่องมาเป็นตัวดำเนินเรื่อง มีการคิดสร้างสรรค์เนื้อเรื่องที่ช่วยส่งเสริมจุดประสงค์ของแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความตระหนักรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) การออกผลิตภัณฑ์ใหม่ หรือการโปรโมตแคมเปญ
ตัวอย่างจาก Com2Us: เนื้อเรื่องของแบรนด์ที่คอลแลปกับครีเอเตอร์วางอยู่ในช่วงท้ายตอนของเนื้อเรื่องปกติ (BEP: Branded Epilogue)
ในแง่วิธีการเผยแพร่ Branded Story บน LINE WEBTOON มีหลายตัวเลือกขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแบรนด์ เช่น Com2Us ซึ่งเป็นบริษัทเกม ต้องการจะสร้าง Brand Awareness ในระยะยาว จึงเลือกวางโฆษณาไว้ท้ายตอนปกติของการ์ตูนรวมทั้งหมด 25 เรื่อง
ขณะที่ Devsisters บริษัทเกมอีกแห่งหนึ่ง ต้องการเพิ่มยอดดาวน์โหลดแอปฯ ด้วย จึงเพิ่มแบนเนอร์ไว้ที่หน้าแรกของ LINE WEBTOON เพื่อให้คนอ่านคลิกเข้ามาที่เนื้อเรื่องโฆษณาได้ทันที และมีปุ่มกดคลิกดาวน์โหลดเกมแทรกไปใน Branded Story ของแบรนด์
ส่วน Samsung มีแคมเปญโปรโมตวิธีใช้งานผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Samsung Galaxy Fold 3 และ Flip 3 จึงเลือกที่จะสร้าง Branded Story ยาวถึง 8 ตอนแยกออกมาโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้ลงรายละเอียดการใช้งานผลิตภัณฑ์ตามเป้าหมายของแบรนด์ได้ดีกว่า ผลของการร่วมมือครั้งนี้ทำให้ Samsung มียอดเยี่ยมชมสโตร์ออนไลน์สูงขึ้นถึง 150%
ตัวอย่างจาก Samsung: พัฒนา Branded Story เป็นเนื้อเรื่องพิเศษ 8 ตอน แสดงถึงฟังก์ชันการใช้งานของผลิตภัณฑ์
อีกไอเดียที่น่าสนใจมาจาก Cash App แอปฯ ตัวกลางในการชำระเงินในสหรัฐฯ แบรนด์นี้ต้องการดึงผู้ใช้เข้ามามากขึ้น จึงมีแคมเปญกับ ‘Coins’ ในแอปฯ LINE WEBTOON
อธิบายก่อนว่าระบบ Coins คือสิ่งที่ใช้ในการปลดล็อก Fast Pass อ่านตอนต่อไปที่ล็อกอยู่บน LINE WEBTOON ซึ่งทำให้ Coins เป็นที่ต้องการของผู้อ่าน ดังนั้น Cash App จึงสร้างแคมเปญแจก Coins เมื่อผู้อ่านคลิกเข้ามาอ่าน Branded Story ของแบรนด์และดาวน์โหลด Cash App ปรากฏว่าแคมเปญนี้ทำให้มีผู้ใช้รายใหม่ของ Cash App มากกว่า 25,000 ราย
เนื้อเรื่องที่โดนใจของแต่ละแคมเปญยังทำให้ผู้อ่านนำไปพูดถึงจนเป็นไวรัลบนแพลตฟอร์มอื่น เช่น แคมเปญของ Devsisters ที่กลายเป็นไวรัลคอนเทนต์บนเว็บบอร์ด Reddit
โดยสรุปแล้ว แบรนด์ที่คอลแลปกับครีเอเตอร์และอาศัยช่องทาง LINE WEBTOON มีโอกาสที่ดีกว่าในการเข้าถึงคน Gen Z และ Gen Y เพราะสามารถโฆษณาแบรนด์ได้อย่างเป็นมิตร ไม่ถูกกดข้าม และแปลผลไปสู่ยอดขายได้จริง!
สำหรับผู้ที่สนใจงานสัมมนา “THAILAND NOW AND NEXT 2022: PREPARING FOR THE CHANGING WORLD” งานนี้เปิดให้เข้าชมแบบไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่าน LINE Official Account: @linebizth, FB Fanpage: LINE for Business และผ่านเว็บไซต์: https://lin.ee/JtJGilH/wcvn ระหว่างวันที่ 29-30 มีนาคมนี้ ยังมีหัวข้อที่น่าสนใจรออยู่สำหรับผู้ประกอบการทุกท่าน
]]>การรวมกิจการของ “ทีเอ็มบี” และ “ธนชาต” เกิดเป็นธนาคารขนาดใหญ่แห่งใหม่ คือ “ttb” หรือ ทีเอ็มบีธนชาต ขึ้นมาเบียด Top 6 กับธนาคารใหญ่แห่งอื่นๆ เมื่อเป็นธนาคารสเกลใหญ่ขึ้น ทำให้การวางตัวตนของ “แบรนด์” ต้องมีความแตกต่าง โดยทีเอ็มบีธนชาตเลือกที่จะวางคอนเซ็ปต์ธนาคารให้เป็น The Bank of Financial Well-being เพื่อฉีกแนวออกไป
ในบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ของไทยแต่ละแห่งมีการวางแบรนด์และทิศทางธุรกิจแตกต่างกัน แต่ละค่ายมี คาแรกเตอร์และฐานลูกค้าของตนเองในตลาด ทำให้การรวมกิจการของ “ttb” ถูกจับตามองว่าจะขึ้นมาวางตนเองในทิศทางไหนเพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงแบรนด์ใหม่ และเกิดความน่าสนใจขึ้น
เกริ่นย้อนไปถึงก่อนการรวมกิจการว่า แต่ละธนาคารที่จะมารวมกันนี้ต่างก็มีจุดแข็งของตัวเองอยู่ก่อนแล้ว อย่าง “ทีเอ็มบี” มีความโดดเด่นเรื่องบัญชีเงินฝาก และภาพลักษณ์ดิจิทัลที่ทันสมัย ส่วน “ธนชาต” นั้นเป็นแบงก์ที่เด่นด้านการให้สินเชื่อรถยนต์ และมีความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึกจากการปล่อยสินเชื่อรายย่อย
เมื่อมารวมกัน จึงต้องไม่ทิ้งจุดแข็งของทั้งสองแบรนด์ และหาจุดร่วมใหม่ที่จะสร้างความ ‘ว้าว’ ขึ้นมาได้
ก่อนหน้านี้ ทีมทีเอ็มบีธนชาตได้ทำการศึกษาตลาด และค้นพบว่ายังมีช่องว่าง ทำให้ธนาคารเลือกวางตนเองเป็น “ผู้นำการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” หรือ The Bank of Financial Well-being โดยได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าว่าเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากธนาคารอื่น และนี่จะเป็นคอนเซ็ปต์หลักที่ทำให้ธนาคารแข่งขันได้
ผ่านไปมากกว่าครึ่งปี ttb ได้วางรากฐานให้เราเห็นว่า คอนเซ็ปต์ “The Bank of Financial Well-being” ของธนาคาร ไม่ได้ต้องการให้เป็นแค่สโลแกน แต่เป็นแกนกลางในการพัฒนาโซลูชันทางการเงินต่าง ๆ ทั้งหมด ttb ต้องการให้คุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ออกมา มีคุณค่าหลักคือต้องทำให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้น
ยกตัวอย่าง บัญชีเงินฝากของธนาคาร ttb all free เป็นบัญชีที่ให้ฟรีรอบด้าน ฝาก ถอน โอน จ่ายแล้ว ยังให้ฟรีประกันชีวิตและอุบัติเหตุ ลูกค้าจะได้การคุ้มครองพื้นฐานฟรีทันที เมื่อลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น จึงทำให้ยอดเงินฝากของบัญชี ttb all free เพิ่มขึ้น 15%
หรือกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง ttb ก็ออกบัตรเครดิต ttb reserve ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ความสำเร็จต่อยอดได้ไม่มีที่สิ้นสุด” มาต่อยอดด้านการเงิน การลงทุนด้วยการให้คะแนนสะสม ตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้จ่าย และสามารถนำไปแลกเป็นส่วนลดในการลงทุนหรือซื้อประกันได้ การพัฒนาโปรดักส์นี้ได้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นอย่างดี ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธนาคารให้การตอบรับถือบัตรนี้กว่า 60% ภายในเวลา 6 เดือน
รวมไปถึง “วิธีคิด” ของธนาคารที่ต้องการให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ttb ได้ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบไปกว่า 750,000 ราย ทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้
ตัวอย่างข้างต้นเป็นโปรดักส์ปลายทางที่เราได้เห็น แต่จะออกโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ได้ ต้องย้อนกลับขึ้นไปจัดโครงสร้างองค์กร เพื่อที่อนาคตจะพัฒนาโซลูชันทางการเงินให้ลูกค้าได้ครบและคล่องตัวตามเป้าหมาย ซึ่ง ttb ได้ดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กรไปแล้ว เช่น การซื้อหุ้น 10% ใน บริษัท ธนชาตประกันภัย และ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านประกันและการลงทุน สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับลูกค้า รวมไปถึงการที่ ttb broker ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรบริษัทประกันภัยรวมกว่า 20 บริษัท
ขณะที่ผลิตภัณฑ์ด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล มีแผนการจัดตั้งบริษัทลูกแยกออกมาในชื่อ ttb consumer พร้อมลุยตลาดนี้โดยเฉพาะ ตั้งเป้าขึ้นเป็น Top 4 ของตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล
ที่สำคัญที่สุด คือ ttb ได้จัดตั้งทีม ‘ttb spark’ แยกออกมาดูแลด้านดิจิทัลโซลูชัน เป็นการปรับโครงสร้างสำคัญของ ttb เพราะการแยกทีมทำงานด้านดิจิทัล จะเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ทีมนี้มี Digital DNA ที่กล้าที่จะคิดนอกกรอบและไม่กลัวที่จะทดลองวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาดิจิทัลโซลูชันที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็น Way of working ที่แข็งแรง อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา
หลายปีที่ผ่านมา ทุกธนาคารเริ่มมุ่งสู่ถนนสายเดียวกัน คือ ถนนแห่งการปรับเปลี่ยนเป็น “ดิจิทัลแบงก์กิ้ง” บางธนาคารอาจแตกแยกสายออกไปอีกเส้นทางด้วยการสร้างบริษัทลูกด้านเทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ แต่สำหรับ ttb แล้ว จุดโฟกัสจะยังอยู่กับการสร้าง ‘Humanized Digital Banking’ หรือ ดิจิทัลแบงก์กิ้งที่เป็นมิตรและรู้ใจ เน้นเรื่องการส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นตามคอนเซ็ปต์หลักของธนาคาร
ความหมายคือ สิ่งที่ ttb spark พัฒนานั้นจะไม่ใช่การวิ่งตามเทรนด์ดิจิทัลใด ๆ ก็ได้ แต่โซลูชันนั้นต้องมา ‘แก้ปัญหา’ ให้กับลูกค้า แก้ปัญหาได้ทั้ง Ecosystem และทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาของทีม ttb spark มีการปั้นแพลตฟอร์ม “ปันบุญ” www.panboon.org ขึ้นมาแก้ปัญหาโมเดลธุรกิจการรับบริจาคของมูลนิธิ เมื่อมารวมศูนย์กันทำให้ผู้บริจาคทำบุญออนไลน์ง่ายขึ้น มูลนิธิเองก็ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการลง เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริจาคมากขึ้น ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ทำให้มีมูลนิธิเข้าร่วมแพลตฟอร์มแล้วกว่า 180 แห่ง และมีการบริจาคผ่านแพลตฟอร์มมากกว่า 200 ล้านบาท ใน 1 ปี
ทีมนี้ยังสร้างโซลูชัน ttb business one มาแก้ปัญหาให้ลูกค้าธุรกิจ ทำให้ลูกค้าบริหารจัดการธุรกิจทางดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ความสะดวกในการใช้งานส่งผลทำให้รายการธุรกรรมที่ทำผ่านช่องทางนี้เติบโต 160% นับตั้งแต่เปิดตัว
ล่าสุดทีมยังปรับโฉมใหม่ให้กับ แอปพลิเคชัน ttb touch ต่อจากนี้จะไม่ใช่แค่แอปฯ โอนเงิน แต่มีการใช้ระบบ Data Analytics วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและนำเสนอแต่สิ่งที่คาดว่าจะตรงใจลูกค้ามากที่สุด ทำให้แอปฯ เป็นเหมือนผู้ช่วยส่วนตัวทางการเงินให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้นรอบด้าน พร้อมนำเสนอข้อมูล แนะนำ ช่วยเหลือ และส่งมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงแจ้งเตือนธุรกรรมให้กับลูกค้าได้ในระดับบุคคล (Personalization)
เพียงระยะเวลา 7 เดือนหลังการรวมกิจการ ttb สามารถวางฐานการเป็นแบรนด์ใหม่ในใจผู้บริโภคได้สำเร็จ วัดจากการสำรวจ Brand Survey ของธนาคารเองพบว่า มากกว่า 50% ของผู้ถูกสำรวจมองว่า ttb เป็นธนาคารที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารกำลังเดินมาถูกทางแล้ว
ถือเป็นการเริ่มต้นที่น่าสนใจของธนาคารแบรนด์ใหม่ในสนามแข่งขันของกลุ่มแบงก์ยักษ์ และต้องติดตามต่อจากนี้ว่า ttb จะเดินหน้าคอนเซ็ปต์ The Bank of Financial Well-being ด้วยการส่งต่อโซลูชันอะไร เพื่อครองใจลูกค้า และทำให้ชีวิตทางการเงินของคนไทยดีขึ้นได้ทั้งในวันนี้ และอนาคต
]]>ในที่สุด Amazon ก็เปิดตัวแอปพลิเคชัน “Amp” แล้ว หลังจากมีข่าวลือมานานว่าบริษัทกำลังซุ่มพัฒนาแอปฯ เสียงที่จะแข่งกับ Clubhouse แต่แอปฯ ใหม่นี้ไม่ได้จะเหมือนกับ Clubhouse เสียทีเดียว เพราะจะเน้นการเปิดเพลงฟังมากกว่าการพูดคุยกัน
สมาชิกที่สมัครเข้ามาจะมีสิทธิเป็น “โฮสต์” จัดรายการสดของตัวเอง ที่สำคัญคือสามารถสตรีมเพลงจากคลังเพลง “หลายสิบล้านรายการ” ที่บริษัทซื้อลิขสิทธิ์มาจากค่ายเพลงดัง 3 ค่าย รวมถึงเพลงอีกหลายรายการยาวเหยียดจากค่ายเพลงอินดี้ต่างๆ
เป้าหมายก็คือสมาชิกจะสามารถเปลี่ยนตัวเองเป็น “ดีเจ” วิทยุกันได้ทุกคน สามารถจัดรายการเพลงเอง คุยกับผู้ฟัง แชท หรือรับสายโทรฯ เข้าจากผู้ฟังได้
ยิ่งไปกว่านั้น ทั้งโฮสต์และผู้ฟังไม่ต้องสมัครเสียค่าบริการใดๆ เพื่อมาใช้งาน ใครๆ ก็เข้ามาฟังเพลงยาวเต็มเพลงได้ แค่สมัครสมาชิกแอปฯ Amp ซึ่งบริการฟรีอยู่ขณะนี้
ถือเป็นแอปฯ ที่ฉีกแนวจากคู่แข่งในขณะนี้ เพราะแอปฯ หรือฟังก์ชันพูดคุยด้วยเสียงอื่นๆ เช่น Clubhouse, Twitter Spaces หรือฟังก์ชันที่ Facebook พัฒนาอยู่ ก็ไม่ได้มีลิขสิทธิ์เพลงให้ใช้สตรีมได้เหมือนกับ Amp ของ Amazon ทำให้แอปฯ มีความแตกต่างว่าจะมาในสายดีเจวิทยุ และลักษณะรายการเหมือนตีกรอบให้ว่าจะเป็นพิธีกรรายการคุยกับแขกรับเชิญหรือผู้ฟัง
ในด้านการตลาด Amazon ทุ่มสุดตัวด้วยการเชิญเซเลปมาเป็นโฮสต์จัดรายการในช่วงเปิดตัว เช่น Nicki Minaj, Pusha T, Tinashe, Travis Barker, Lil Yachty, Big Boi
ส่วนการสร้างรายได้ให้กับครีเอเตอร์นั้น ในระยะแรกจะยังไม่มีฟังก์ชันนี้ (ยกเว้นกลุ่มเซเลปที่เชิญมา ซึ่งบริษัทจ่ายโดยตรงเพื่อโปรโมตแอปฯ) แต่ในระยะยาวนั้น รีเบคก้า ซิลเวอร์สไตน์ โฆษกของ Amp เปิดเผยกับสำนักข่าว The Verge ว่า Amazon คาดหวังว่าจะเพิ่มฟีเจอร์สร้างรายได้ให้กับครีเอเตอร์ในอนาคต
นอกจากนี้ Amazon ยังกล่าวถึงประเด็นที่บริษัทมองว่าสำคัญ แต่แอปฯ อื่นมักจะไม่พูดถึงมากนัก (หรืออาจจะไม่ได้คิดถึง) คือบริการ Amp ได้ออก “ระเบียบชุมชนที่ครอบคลุม” มาตั้งแต่ต้น และมี “ทีมแอดมินดูแล 24/7” เพื่อคอยตรวจสอบรายงานการละเมิดระเบียบ
Amp ให้บริการวันแรกเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2022 แต่ยังเป็นรุ่นเบตาอยู่ และยังให้บริการบน iOS เท่านั้น (Amazon ยังไม่ตอบว่าจะมีบริการบน Android และบนเว็บไซต์ตามมาหรือไม่) ทันทีที่เปิดบริการก็มี waiting list รอต่อคิวเข้าใช้กันแล้ว
อีกทั้งขณะนี้ยังเปิดบริการเฉพาะในสหรัฐฯ ก่อน ซึ่งการขยายในประเทศอื่นๆ น่าจะมีความซับซ้อนด้วยเรื่องลิขสิทธิ์เพลง ทำให้การเปิดตัวทั่วโลกจะยุ่งยาก และน่าจะใช้การลงทุนสูง แต่หากมองในมุมบวก ความยากและการลงทุนน่าจะทำให้คู่แข่งเร่งทำแอปฯ เลียนแบบได้ช้า
]]>ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ Facebook กลายเป็นโอกาสสำคัญของบรรดาแอปพลิเคชันสนทนาคู่เเข่งต่างๆ โดยในช่วงเวลานั้น Signal และ Telegram พุ่งขึ้นติดชาร์ตเเอปฯ ที่ถูกดาวน์โหลดเป็นลำดับต้นๆ ของ iPhone ในสหรัฐฯ ตามข้อมูลของ Sensor Tower
Signal เป็นแอปฯ เเชทที่ได้รับการรับรองจาก ‘เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน’ ชายผู้เปิดโปงการสอดแนมประชาชนของรัฐบาลสหรัฐฯ ว่าปลอดภัยเเละมีความเป็นส่วนตัวมากกว่า รวมไปถึง Jack Dorsey ซีอีโอเเละผู้ก่อตั้ง Twittter ก็ยังทวีตถึง Signal ว่าเป็นทางเลือกที่ดีแทน WhatsApp
การที่ผู้ใช้ใหม่หลายล้านคน แห่กันมาจำนวนมาก ‘ในเวลาเดียวกัน’ นั้น ก็ทำให้มีบางช่วงที่ระบบรองรับไม่ไหว
Signal เปิดเผยผ่าน Twittter ว่า มีผู้ใช้ใหม่หลายล้านคนได้เข้ารวมเเพลตฟอร์มของเรา โดยการรับส่งข้อความและการโทรได้เริ่มทำงานแล้ว แต่บางคนยังไม่เห็นรายชื่อติดต่อทั้งหมดของพวกเขาปรากฏบน Signal ซึ่งเรากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อแก้ไขปัญหานี้อยู่
อีกทั้ง ยังทวีตถึงเหตุการณ์ Facebook ล่มครั้งนี้ด้วยว่า “เราทราบดีว่าการทำงานในยามที่ระบบล่มนั้นเป็นอย่างไร และขอให้กำลังใจวิศวกรที่กำลังทำงานอยู่ เพื่อนำบริการกลับมาให้บริการบนเเพลตฟอร์ม”
อ่าน : Facebook ล่ม! ทำสูญรายได้ 2.6 พันล้านบาท หุ้นดิ่ง 5.6% มูลค่าหาย 1.6 ล้านล้านบาท
]]>
เย็นนี้เปิดจอนัดกันได้เลย! “โซดาร็อค เมาเท็น” เปิดตัว “Rock Party” แอปเดียว…ที่อัพความสนุกให้ทุกวง เพียงดาวน์โหลดแอปฯ ก็สามารถเล่นเกมด้วยกันได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เหมาะกับสถานการณ์ช่วงนี้ที่เพื่อนต้องห่างกัน
“โซดาร็อค เมาเท็น” ออกแคมเปญใหม่พัฒนาแอปพลิเคชัน “Rock Party” รวมปาร์ตี้เกมหลากหลายไว้ในแอปฯ เดียว เล่นได้ทั้งออฟไลน์และออนไลน์ เหมาะกับสถานการณ์การช่วงนี้ที่ผู้บริโภคต่างระมัดระวังการพบปะกัน แต่เมื่อมีตัวช่วยแบบนี้ทำให้การสังสรรค์ออนไลน์ยังคงความสนุกไว้ได้อยู่
ในแอปฯ Rock Party มีสารพัดเกมให้เลือก เช่น วาดทายคำ หมุนขวด ใบ้คำ จระเข้งับ จึงไม่ต้องดาวน์โหลดหลายแอปฯ ให้หนักเครื่อง รวมถึงระหว่างเล่นเกมใน Rock Party ยังสามารถเปิดกล้องคุยกับเพื่อนร่วมวงได้เลย ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หลายเครื่องให้ยุ่งยาก
นอกจากเล่นเกมกับเพื่อนๆ แล้ว ภายในแอปฯ ยังมีฟีเจอร์ “สะสมคะแนน” จากรหัสใต้ฝาโซดาร็อค เมาเท็น สะสมครบแล้วแลกรางวัลได้เลย ไม่ต้องรอจับสลาก และมีวิดีโอเอ๊กซ์คลูซีฟเพิ่มความบันเทิงให้ผู้ใช้ด้วย
นับเป็นแคมเปญที่น่าสนใจของโซดาร็อค เมาเท็น สร้างความรู้สึกที่ดีให้กับแบรนด์ผ่านแอปฯ ที่ช่วยสร้างความสนุก แก้โจทย์ให้ผู้บริโภคยังปาร์ตี้กันได้แบบออนไลน์ และคืนกำไรลูกค้าด้วยการสะสมแต้มแลกรางวัลบนแอปฯ เดียว!
ใครสนใจคลิกดาวน์โหลดแอปฯ Rock Party บน Play Store ได้เลยที่ http://bit.ly/39ngJZc ระบบแอนดรอยด์ดาวน์โหลดฟรี!
#RockParty #โซดาร็อคเมาเท็น #แก้วไหนก็เข้ากัน #เย็นนี้ซะหน่อยมั้ย
]]>ฟีเจอร์ใหม่ “ID Verification” หรือ “รับรองตัวตนจริง” ที่ Tinder จะนำมาใช้ทั่วโลกนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นระบบสมัครใจ ยกเว้นในประเทศที่กฎหมายท้องถิ่นระบุให้การใช้งานแอปฯ หาคู่ต้องยืนยันอายุจริงก่อน เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่ Tinder ทดลองฟีเจอร์นี้เป็นประเทศแรกตั้งแต่ปี 2019 หลังจากญี่ปุ่นบังคับให้ผู้ใช้งานต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป
วิธีใช้งาน เมื่อยืนยันตัวตนตามเอกสารที่ระบุตัวตนได้เรียบร้อยแล้ว จะมี ‘badge’ พิเศษขึ้นในโปรไฟล์เพื่อรับรองว่ามีตัวตนจริง เหมือนกับที่ก่อนหน้านี้ Tinder มี badge สำหรับคนที่ยืนยันแล้วว่าใช้รูปจริง
การเปิดให้ยืนยันตัวตนจริงของผู้ใช้งาน Tinder มองว่าจะทำให้สังคมในแพลตฟอร์มมีความปลอดภัยมากขึ้น ผู้ใช้สบายใจขึ้นเมื่อทำความรู้จักกับใครสักคน
“เรารู้ว่าในหลายส่วนของโลกและในกลุ่มของผู้ที่ถูกกีดกันทางสังคม อาจมีเหตุผลไม่สามารถหรือไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนบนแพลตฟอร์มออนไลน์ การสร้างทางออกที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริงด้วยยืนยันตัวตนด้วย ID Verification จึงเป็นสิ่งที่ท้าทาย และเป็นโปรเจกต์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งพวกเราต้องการความเห็นจากสมาชิกรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญในการช่วยพัฒนาเรื่องดังกล่าว”เทรซี่ เบรเดนท์ รองประธานบริหารฝ่าย Safety and Social Advocacy ของ Match Group บริษัทเจ้าของแอปฯ Tinder กล่าว
นอกจากนี้ ในภูมิภาคที่ Tinder สามารถเข้าถึงประวัติอาชญากรรมได้ บริษัทจะนำดาต้ามาใช้ร่วมกับการยืนยันตัวตน ตามระเบียบของแพลตฟอร์มที่ไม่อนุญาตให้ผู้มีประวัติอาชญากรรมร้ายแรง กระทำผิดทางเพศ หรือใช้ความรุนแรง เข้ามาใช้แอปฯ Tinder โดยปัจจุบันแพลตฟอร์มมีการตรวจเช็กผ่านข้อมูลบัตรเครดิตที่ผูกไว้กับแอปฯ อยู่แล้ว
ที่มา: Tinder, TechCrunch
]]>