โรงงานผลิตสี – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Jan 2021 13:23:48 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ชาวเน็ตถามหา “เเจ็ค หม่า” หายไปไหน? ท่ามกลางมรสุม Ant Group กับรัฐบาลจีน https://positioningmag.com/1312991 Tue, 05 Jan 2021 11:27:54 +0000 https://positioningmag.com/?p=1312991 การหายหน้าหายตาไปนานกว่า 2 เดือนของมหาเศรษฐีจีนชื่อก้องโลกอย่างเเจ็ค หม่ากลายเป็นประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตเเละสำนักข่าวทั่วโลกกำลังถามหา

เเจ็ค หม่า สร้างชื่อจากการปลุกปั้นอาณาจักรอีคอมเมิร์ซยักษ์ใหญ่ “Alibaba” เรื่องราวชีวิตของเขา เป็นเเรง
บันดาลใจให้ผู้คน จากครูยากจนสู่คนรวยระดับท็อป 20 ของโลก มีทรัพย์สินกว่า 1.5 ล้านล้านบาท

แม้ในปี 2019 เขาจะลาออกจากตำแหน่งประธานบริหารของ Alibaba ไปแล้ว พร้อมทยอยเทขายหุ้นเรื่อยๆ เพื่อเดินหน้าไปทำงานการกุศล เเต่ก็ยังไม่ได้วางมือจากการดูเเล Ant Group ฟินเทคเจ้าของ ‘Alipay’ แอปพลิเคชันชำระเงินและบริการออนไลน์สุดฮิตของคนจีนที่มีผู้ใช้งานหลายร้อยล้านคน

อนาคตของ Ant Group (เเอนท์ กรุ๊ป) ดูเหมือนจะไปได้สวย เคยถูกประเมินว่าจะดมทุนได้ถึง 3.45 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) ซึ่งเป็นสถิติที่สูงสุดในโลก เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีที่ผ่านมา จนกระทั่งกลายเป็น “IPO ตกสวรรค์หลังถูกรัฐบาลจีน “เบรก” กะทันหันก่อนเปิดขายหุ้นให้เเก่สาธารณชนเพียงไม่กี่วัน ด้วยเหตุว่ามีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน

ความชุลมุนวุ่นวายระหว่าง Ant Group เเละรัฐบาลจีนภายใต้การนำของสีจิ้นผิงจุดประเด็นข้อสงสัยในการไม่ปรากฏตัวของเเจ็ค หม่าในตอนนี้

Ant Group กับการหายตัวของตัวแจ็ค หม่า 

สำนักข่าวต่างประเทศโยงเหตุการณ์ IPO ตกสวรรค์ เข้ากับ “คำพูด” ของแจ็ค หม่า ที่ได้เเสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์บนเวทีการประชุมในเมืองเซี่ยงไฮ้ เกี่ยวกับ “ระบบธนาคารจีน” อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เขาต้องเสียโอกาสรับทรัพย์มหาศาลไปในพริบตา

โดย แจ็ค หม่า บอกว่าระบบการเงินและกฎระเบียบด้านการเงินของทางการจีนในปัจจุบัน ขัดขวางการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยีการเงินของประเทศ ที่จำเป็นต้องมีการ “ปฏิรูป” เพื่อให้มีการเติบโตไปได้

เขายังบอกอีกว่า ธนาคารจีนเป็นเหมือน “โรงรับจำนำ” ที่ต้องใช้หลักประกันมูลค่าสูง ผลคือบางบริษัทต้องตัดสินใจลงทุนให้ใหญ่เกินและต้องห้ามล้มเหลว

มีข่าวลือว่าประธานาธิบดีสีจิ้นผิงไม่ค่อยพอใจที่เเจ็ค หม่าพูดในแง่ลบถึงระบบการเงินของประเทศจีน

เเต่หลายสื่อเห็นว่าคำพูดของเเจ็ค หม่า “ไม่ได้เกินจริง” เพราะธนาคารจีนมักไม่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้กู้รายย่อย ทำให้ SMEs จีนไม่ค่อยมีโอกาสลงทุนแบบสมตัวนัก 

นักวิเคราะห์บางส่วนมองว่า ความเคลื่อนไหวของทางการจีน ตีความได้ว่าเป็นการ “สั่งสอน” มหาเศรษฐีแจ็ค หม่า ให้รู้ว่าอำนาจรัฐในการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ  ซึ่งข่าวนี้กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนไม่น้อย เเละอาจมีผลต่อการพิจารณาซื้อหุ้นทั้งของ Ant Group เเละ IPO อื่นๆ ของจีนด้วย เพราะเกรงว่าต่อไปทางการจีนก็อาจเข้ามาเเทรกเเซงเช่นนี้ได้อีก 

โดยความคืบหน้าตอนนี้ Ant Group เพิ่งเริ่มต้นปรับโครงสร้างและรูปแบบธุรกิจของบริษัทให้เป็นไปตามกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับฯ ซึ่งมีกฎระเบียบใหม่สำหรับผู้ประกอบธุรกิจด้านฟินเทค อย่างการให้สินเชื่อส่วนบุคคล 

งานหินของ Ant Group คือการต้องเจรจากับหน่วยงานที่รัฐบาลจีนจัดตั้งขึ้นเพื่อดูเเลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ทั้งผู้ควบคุมระบบการเงิน หน่วยงานของธนาคารกลาง และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ ที่จะเข้ามาอัปเดตเเละรวมรวบข้อมูลต่างๆ ของบริษัท เพื่อนำไปสู่การร่างกฎระเบียบอื่นๆ ในอุตสาหกรรมฟินเทค

Bloomberg เคยคาดการณ์ว่า ร่างกฎระเบียบสำหรับผู้ให้กู้รายย่อย ที่ทางการจีนเพิ่งประกาศออกมาเมื่อเดือนพ.อาจเป็นการบังคับให้ Ant Group ต้องเพิ่มเงินทุนถึง 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อให้บริษัทผ่านเกณฑ์ข้อกำหนด

นอกจากนี้ Ant Group ยังต้องยื่นขอใบอนุญาตใหม่สำหรับแพลตฟอร์มการให้กู้ยืมขนาดย่อม เบื้องต้นอีก 2 แพลตฟอร์ม อย่าง Huabei และ Jiebei ซึ่งคาดว่าหน่วยงานกำกับฯ ไม่น่าจะอนุมัติใบอนุญาตทั้ง 2 ใบให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าใหญ่เช่นนี้

ยังไม่หมด Ant Group ยังจะต้องยื่นขอใบอนุญาตบริษัทโฮลดิ้งทางการเงินแยกต่างหากจากธนาคารกลาง เพราะมีการทำงานครอบคลุมส่วนงานการเงินมากกว่า 2 ส่วน ซึ่งก็ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ

อุปสรรคมากมายเหล่านี้ ทำให้การเสนอขายหุ้น IPO ไม่ได้เป็นเเผนการใหญ่ลำดับต้นๆ ของ Ant Group อีกต่อไป (อย่างน้อยก็ในช่วง 2 ปีนี้)

ก่อนสิ้นปี 2020 ยังไม่วายที่ Ant Group จะถูกรัฐบาลจีนซัดอีกรอบ เมื่อรายงานหน่วยงานการเงิน ต้องการจะมากำกับธุรกิจ Ant Group โดยอาจจะถึงขั้นยกเลิกบริการให้เงินกู้และอื่นๆ ให้เหลือเพียงธุรกิจรับชำระเงินเท่านั้น

เมื่อ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา รัฐบาลจีนประกาศสอบสวนบริษัทเเม่ของ Ant Group อย่าง Alibaba ในข้อกล่าวหาว่ามีแนวโน้มผูกขาดอีคอมเมิร์ซในจีน เเละการปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกันผ่านระบบออนไลน์ของ Ant Group อาจส่งผลกระทบต่อระบบธนาคารจีน 

ด้าน Ant Group ยืนยันว่ากำลังอยู่ระหว่างการพูดคุยกับทางหน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของจีน เพื่อให้ธุรกิจทำตามหลักการ และเติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้องได้ในอนาคต

การหายตัวไปจากพื้นที่สาธารณะของเเจ็ค หม่าถูกจุดประเด็นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม หลังเขาไม่ได้ไปเข้าร่วมรายการธุรกิจที่เป็นหนึ่งในกรรมการตัดสิน ตามกำหนดออกอากาศเดิม

โดยโฆษกของ Alibaba ชี้แจ้งกับสำนักข่าว Reuters ถึงกรณีที่ไม่ได้มาออกรายการนั้นว่า เป็นเพราะมีปัญหาด้านตารางงานที่ไม่ตรงกัน

หลายคนมองว่า การหายไปของมหาเศรษฐีจีนผู้นี้ อาจเป็นการเก็บตัวเงียบเพื่อต่อรองอะไรบางอย่างกับรัฐบาลจีน หรืออาจจะมีอะไรที่พูดไม่ได้ หรืออาจไม่ได้มีอะไรมากกว่านั้น

และนี่คือคืออัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับมหาเศรษฐีเเจ็ค หม่าที่กำลังเป็นปริศนาอยู่ตอนนี้

 

 

ที่มา : Aljazeeranytimes , Reuters , ibtimes 

 

]]>
1312991
ตลาดสีเมืองไทยเล็กไปแล้ว “ทีโอเอ” ขอโก AEC https://positioningmag.com/1219423 Tue, 12 Mar 2019 14:16:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1219423 แม้ว่า “กลุ่มทีโอเอ” จะแตกไลน์ จับมือกลุ่มดองกิโฮเต้ (Don Quijote) นำอาคารสำนักงานในซอยทองหล่อ มาเปิดเป็นศูนย์การค้าดองกิ มอลล์ ทองหล่อ และดิสเคาท์สโตร์ ดองกิ จากญี่ปุ่นมาเปิดสาขาในไทย ให้ชาวไทยได้ช้อปกระจายกันไปแล้ว

แต่ในด้านธุรกิจ “สี” ของกลุ่มทีโอเอเวลานี้ ไม่ได้มองแค่ “ตลาดไทย” แต่ขอขยับขยายไปที่ประเทศเพื่อนบ้าน CLMV

หากเปรียบเทียบ “จีดีพี” กลุ่มประเทศอาเซียน หลายประเทศมีแนวโน้มเติบโต “สูง” กว่าประเทศไทยที่ปี 2562 คาดการณ์อยู่ที่ 4% โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV เติบโตระดับ 7-8% อีกทั้งมีอัตราการขยายตัวของเมืองสูง ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนอุตสาหกรรมก่อสร้างและตลาดสีทาอาคาร ส่งผลให้ “ทีโอเอ” ผู้เล่นจากไทยเข้าไปช่วงชิงโอกาสจากตลาดอาเซียนที่มีประชากร 600 ล้านคน

จตุภัทร์ ตั้งคารวคุณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบัน ทีโอเอ เป็นผู้นำในตลาดสีทาอาคาร ในไทย มีส่วนแบ่งการตลาด 48.7% ปีที่ผ่านมามีรายได้ 16,347 ล้านบาท เติบโต 4% ต่ำกว่าเป้าหมายที่คาดว่าจะโต 7% จากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อชะลอตัว

“ตลาดไทยเราเป็นเบอร์หนึ่งและเข้าถึงลูกค้าทั่วประเทศอยู่แล้ว ปกติภาพรวมตลาดสีทาอาคารจะเติบโตในอัตราเดียวกับจีดีพี ช่วงที่ผ่านมามีตัวเลขไม่สูง ทีโอเอจึงเดินหน้านโยบายขยายตลาดอาเซียน ที่หลายประเทศจีดีพีเติบโตในอัตรา 7-8% ทำให้ตลาดสีขยายตัวในอัตราสูง และเป็นโอกาสสร้างการเติบโตของทีโอเอ”

สำหรับการทำตลาดไทยปีนี้ จะพัฒนาสินค้าที่ตอบโจทย์กลุ่มแมส และกระตุ้นให้เกิดการทาสีซ้ำ ด้วยบริการครบวงจร เพราะตลาดหลัก 70% เป็นลูกค้าทั่วไป และอีก 30% เป็นลูกค้าโครงการ ปีนี้วางเป้าหมายรายได้เติบโต 7%

เปิด 3 โรงงานใหม่อาเซียน

ที่ผ่านมาทีโอเอได้เข้าไปตั้งโรงงานผลิตสีในกลุ่มอาเซียน ตั้งแต่ปี 2538 เริ่มที่ประเทศเวียดนาม ลาว มาเลเซีย  อินโดนีเซีย เมียนมา และกัมพูชา รวม 7 แห่ง ส่วนในประเทศไทยมีโรงงาน 3 แห่ง รวมเป็น 10 แห่ง

ปีนี้จะเปิดโรงงานผลิตสีเพิ่มอีก 3 แห่งในกลุ่มอาเซียน ไตรมาส 2 เปิดโรงงานแห่งใหม่ที่อินโดนีเซีย มีกำลังการผลิต 7.8 ล้านแกลลอน ใช้เงินลงทุน 670 ล้านบาท ไตรมาส 3 เปิดโรงงานแห่งใหม่ที่เมียนมา กำลังการผลิต 3.4 ล้านแกลลอน ใช้เงินลงทุน 312 ล้านบาท และ ไตรมาส 4 เปิดโรงงานแห่งใหม่ที่กัมพูชา กำลังการผลิต 3.3 ล้านแกลลอน ใช้เงินลงทุน 254 ล้านบาท

หลังจากโรงงานทั้ง 3 แห่งใหม่เปิดดำเนินการในปีนี้ จะทำให้กำลังการผลิตทุกโรงงานในปี 2562 เพิ่มจาก 88 ล้านแกลลอน เพิ่มเป็น 102 ล้านแกลลอน หรือเพิ่มขึ้น 16% จากปีก่อน ปัจจุบันรายได้จากตลาดอาเซียนคิดเป็นสัดส่วน 14% วางเป้าหมาย 5 ปี จะเพิ่มเป็น 20-25%

อาเซียนเป็นตลาดที่อุตสาหกรรมสีทาอาคารยังเติบโตได้สูง จากการขยายตัวของพื้นที่เมืองและธุรกิจก่อสร้างและที่อยู่อาศัย

โรดแมปผู้นำตลาดสีอาเซียน

ประกรณ์ เมฆจำเริญ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา ทีโอเอ มุ่งขยายธุรกิจ สร้างการเติบโตในตลาด AEC ด้วยการรุกขยายช่องทางการจำหน่ายตลาดค้าปลีกในประเทศอาเซียน ปัจจุบันมีร้านจำหน่าย 2,484 แห่ง รวมทั้งการสร้างฐานผลิตสีในประเทศอินโดนีเซีย เมียนมา และกัมพูชา เพื่อเร่งกาลังการผลิต รองรับตลาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์การทำตลาดอาเซียน คือ การสร้างฐานผลิตใหม่ในตลาดที่มีโอกาสเติบโต เนื่องจากอุตสาหกรรมสีทาอาคาร เป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก หากต้องนำเข้าจะมีต้นทุนค่าขนส่งสูง และไม่สามารถแข่งขันกลไกการตลาดและราคากับผู้ประกอบการที่มีฐานผลิตในประเทศได้ จะเห็นได้ว่าในอุตสาหกรรมผลิตสี แบรนด์ต่างๆ มักจะตั้งโรงงานผลิตในประเทศที่เข้าไปทำตลาด

พร้อมทั้งเร่งขยายช่องทางการจัดจาหน่ายเพิ่มขึ้น โดยการใช้จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มสีทาอาคาร ควบคู่กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ รวมถึงการกระจายเครื่องผสมสีอัตโนมัติในประเทศต่างๆ

นอกจากนี้จะเน้น “สร้างแบรนด์” ในตลาดต่างประเทศ โดยใช้ประโยชน์จากตราสินค้า “ทีโอเอ” ที่แข็งแกร่ง ไปปรับใช้ในการขยายธุรกิจ

จากข้อมูลของ Frost & Sullivan ปี 2559 ทีโอเอมีส่วนแบ่งการตลาดผลิตภัณฑ์สีและสารเคลือบผิวในอาเซียน 13%

ทีโอเอวางโรดแมปก้าวสู่การเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์สีตลาดอาเซียนภายใน 5 ปีจากนี้

]]>
1219423