ไต้หวัน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 09 Apr 2024 04:58:16 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 รัฐบาลสหรัฐฯ ทุ่ม 6.6 พันล้าน ดึง ‘TSMC’ ผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของโลก ขยายโรงงานในอเมริกา https://positioningmag.com/1469461 Tue, 09 Apr 2024 03:29:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1469461 ไม่ใช่แค่สกัดกั้น จีน ในการเข้าถึงชิประดับสูง แต่ สหรัฐฯ ยังเดินเกมดึงพันธมิตรเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยรัฐบาลสหรัฐฯ วางแผนที่จะมอบเงิน 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดของโลกอย่าง TSMC เพื่อขยายโรงงานในรัฐแอริโซนา

รัฐบาลสหรัฐฯ ประกาศว่า ได้ลงนามในข้อตกลงที่ไม่มีผลผูกพันกับ TSMC (Taiwan Semiconductor Manufacturing Co.) บริษัทผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์อันดับ 1 ของโลกสัญชาติไต้หวัน เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับลงทุนเปิดโรงงานผลิตในเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา โดยกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ จะให้เงินอุดหนุนมูลค่า 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกเหนือจากเงินกู้รัฐบาลประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์ จากกฎหมาย Chips and Science Act

ขณะที่ TSMC เองก็ตกลงจะเพิ่มวงเงินลงทุนในสหรัฐฯ อีก 25,000 ล้านดอลลาร์ รวมเป็น 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยเตรียมที่จะสร้างโรงงานแห่งที่ 3 ภายในปี 2030 โดยการลงทุนดังกล่าว ถือเป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐแอริโซนา  

“อเมริกาคิดค้นชิปเหล่านี้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป เราเปลี่ยนจากการผลิตเกือบ 40% ของกำลังการผลิตของโลก เหลือเพียง 10% และไม่มีชิปที่ทันสมัยที่สุดเลย นั่นทำให้เราเผชิญกับความเปราะบางทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของชาติอย่างมีนัยสำคัญ” โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กล่าว

ปัจจุบัน TSMC ครองสัดส่วนถึง 90% ของชิปที่ทันสมัยที่สุดในโลก โดย Mark Liu ประธาน TSMC กล่าวว่า การจัดตั้งโรงงานในสหรัฐฯ จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงชิปภายในประเทศ ที่สามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนไปจนถึงดาวเทียม รวมถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ด้วย

ทั้งนี้ โรงงานทั้ง 3 แห่งคาดว่าจะสร้างงานด้านเทคโนโลยีประมาณ 6,000 ตำแหน่ง และงานทางอ้อมมากกว่า 20,000 ตำแหน่ง เช่น ในการก่อสร้างการรักษาความปลอดภัย และซัพพลายเชน รวมถึงจะดึงดูดซัพพลายเออร์เซมิคอนดักเตอร์ 14 ราย ให้กับรัฐ

การที่สหรัฐฯ สามารถดึง TSMC มาลงทุนในประเทศได้นั้น ถือว่า Win-Win ทั้ง 2 ฝ่าย เพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องนำการผลิตชิปมาใช้ในประเทศมากขึ้น เพื่อลดการพึ่งพาการผลิตชิปจากประเทศอื่น หลังจากที่เจอปัญหาชิปขาดแคลนไปในช่วงการระบาดของ COVID-19 จนส่งผลให้ราคาสูงขึ้น

ขณะที่ประเทศไต้หวันก็อยู่ในตำแหน่งที่อ่อนแอเช่นกัน เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านซับพลายเชนและเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กังวลว่า ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน อาจทำให้เกิดการรุกรานทางทหารกับไต้หวัน อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิปที่สำคัญของประเทศ นอกจากนี้ ไต้หวันเพิ่งเจอกับแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ซึ่งย้ำให้เห็นถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมต่อภัยพิบัติทางธรรมชาติ

สำหรับกฎหมาย Chips and Science Act ได้ผ่านการรับรองในเดือนสิงหาคม 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศของสหรัฐฯ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งได้ดีขึ้น เช่น จีน โดยรัฐบาลได้ วางงบอุดหนุนด้านการวิจัยและการผลิตสูงถึง 52,700 ล้านดอลลาร์ นอกจากนี้สมาชิกสภาคองเกรสยังได้อนุมัติวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำอีก 75,000 ล้านดอลลาร์ด้วย

Source

]]>
1469461
‘ไต้หวัน’ เร่งตรวจสอบ 4 บริษัทเทคโนโลยีในประเทศที่ช่วย ‘หัวเว่ย’ สร้างโรงงานผลิตชิป https://positioningmag.com/1447016 Thu, 05 Oct 2023 12:15:52 +0000 https://positioningmag.com/?p=1447016 หลังจากที่เคยมีข่าวว่า ทางรัฐบาลจีนให้เงินสนับสนุน หัวเว่ย (Huawei Technologies) ในการสร้าง โรงงานลับ สำหรับ ผลิตชิป ทั่วประเทศจีน เพื่อหลีกเลี่ยงการคว่ำบาตรจากสหรัฐฯ แต่ดูเหมือนว่าจะมี บริษัทเทคโนโลยีจาก ไต้หวัน เป็นตัวช่วยด้วย

ล่าสุด ไต้หวัน กำลังจะตรวจสอบว่าหาบริษัทเทคโนโลยีในประเทศที่ช่วยบริษัท หัวเว่ย ในการสร้างโรงงานผลิตชิปในจีน เบื้องต้น พบว่ามีบริษัทเทคโนโลยีไต้หวันอย่างน้อย 4 บริษัท ที่มีส่วนร่วมในการสร้างโรงงานชิปที่หัวเว่ยเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ได้แก่ 

  • บริษัท United Integrated Services 
  • บริษัท Topco Scientific 
  • บริษัท L&K Engineering Co
  • บริษัท Cica-Huntek Chemical Technology Taiwan Co

นอกจากนี้ ยังพบว่ามีบริษัท Cica-Huntek Chemical Technology Taiwan Co. ของไต้หวัน ได้ทำสัญญาสร้างระบบซัพพลายเคมีให้กับผู้ผลิตชิปจีน 2 แห่งที่ถูกสหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ ได้แก่ Shenzhen Pensun Technology Co. และ Pengxinwei IC Manufacturing Co. โดยจุดที่น่าสนใจคือ ทั้งสองบริษัททำงานกับหัวเว่ย

ทั้งนี้ กระทรวงเศรษฐกิจของไต้หวัน ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการควบคุมการส่งออก ระบุว่า จะเร่งตรวจสอบความสัมพันธ์ของบริษัทไต้หวันทั้ง 4 แห่งกับหัวเว่ย เนื่องจากสถานการณ์ดังกล่าวอาจยิ่งให้เกิดความตึงเครียดระหว่างไต้หวันกับรัฐบาลจีน

ย้อนไปช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา หัวเว่ยได้เปิดตัวสมาร์ทโฟนเรือธง Mate 60 Pro โดยใช้ชิปเซ็ต Kirin 9000s ซึ่งเป็นชิปเซ็ตที่ใช้เทคโนโลยี 7 นาโนเมตร ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดของ Semiconductor Manufacturing International Corp (SMIC) บริษัทผู้ผลิตชิปสัญชาติจีน โดยชิปเซ็ตดังกล่าวรองรับการเชื่อมต่อ 5G

Source

]]>
1447016
TSMC ติดโผ 10 บริษัทใหญ่ที่สุดในโลกเป็นที่เรียบร้อย หลังมูลค่าหุ้นแตะ 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐ https://positioningmag.com/1433961 Wed, 14 Jun 2023 05:03:56 +0000 https://positioningmag.com/?p=1433961 TSMC ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตชิปจากไต้หวัน ล่าสุดบริษัทสามารถติด 1 ใน 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้แล้ว โดยเขี่ยยักษ์ใหญ่อีกรายอย่าง Visa ลงจากตำแหน่ง นอกจากนี้บริษัทยังเป็นบริษัทที่มีมูลค่าใหญ่สุดในเอเชีย แซงหน้า Tencent แล้วอีกด้วย

โดยมูลค่าของบริษัทจากไต้หวันรายนี้อยู่ที่ 553,900 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยมากกว่า 17 ล้านล้านบาท หลังจากที่ราคาหุ้นของ TSMC มีราคาเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2023 จนถึงวันนี้ถึง 32.22% ทำให้บริษัทติดอันดับ 10 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกทันที

สำหรับจุดเด่นของ TSMC คือเทคโนโลยีการผลิตชิปที่นำหน้าคู่แข่งรายอื่น ไม่ว่าจะเป็น Samsung ที่เป็นคู่แข่งที่มีความสูสีมากสุด และทิ้งห่าง Intel ไปไม่เห็นฝุ่น ทำให้บริษัทอื่นอย่าง Apple หรือ Nvidia ได้จ้างให้ผู้ผลิตชิปจากไต้หวันรายนี้ผลิตชิปให้

นอกจากนี้การเข้ามาของเทคโนโลยี AI ยังทำให้ความต้องการผลิตชิปที่มีประสิทธิภาพสูงเพิ่มมากขึ้น เพื่อที่จะใช้ในการฝึกฝน AI และเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้ TSMC ถือเป็นอีกหนึ่งบริษัทที่ได้ประโยชน์จากเรื่องดังกล่าว ซึ่งก่อนหน้านี้นักลงทุนได้

มูลค่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกล่าสุดนั้นมี 8 บริษัทที่มาจากสหรัฐอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น Apple ที่ยังครองแชมป์บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก รองลงมาคือ Microsoft มีเพียง 2 บริษัทที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกานั่นก็คือ Saudi Aramco ผู้ผลิตน้ำมันจากซาอุดีอาระเบีย และ TSMC จากไต้หวัน

 

]]>
1433961
‘ไต้หวัน’ คาดยอดการผลิต ‘ชิป’ ปีนี้จะลดลง 5.6% ทำ GDP ร่วงเหลือ 2% https://positioningmag.com/1419803 Fri, 17 Feb 2023 14:46:24 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419803 ไต้หวัน ถือเป็นประเทศ ผู้ผลิตชิปอันดับ 1 ของโลก แค่เฉพาะการผลิตของบริษัท TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปเบอร์ 1 ของประเทศก็ครองสัดส่วนถึง 54% ของชิปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม จากความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าเทคโนโลยีที่ลดลง ทำให้ยอดผลิตชิปในปีนี้จะลดลงตาม

ตามรายงานของหน่วยงานวิจัยของรัฐบาลไต้หวัน คาดว่า ยอดการผลิตชิปขั้นสูงจะลดลง 5.6% ในปีนี้ ส่งผลให้มูลค่าลดลงเหลือประมาณ 150,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งการลดลงดังกล่าวจะส่งกระทบกับภาพรวมการเติบโตของประเทศ โดยคาดว่าการเติบโตของ GDP จะลดลงจาก 2.43% ในปีที่ผ่านมาเหลือ 2%

“รัฐบาลคาดการณ์ว่า GDP จะเติบโตได้ 2.75% เติบโตขึ้นจาก 2.43% ในปีที่แล้ว แต่จากการคาดการณ์ของสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ไต้หวันว่า การผลิตจะลดลง ซึ่งนั่นจะส่งผลกระทบต่อการเติบโตของ GDP” Darson Chiu นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจไต้หวัน กล่าว

ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 30% ของเศรษฐกิจไต้หวัน และไต้หวันครองส่วนแบ่งการส่งออกชิปที่ 60% ทั่วโลก ซึ่งการลดการผลิตของไต้หวัน จะส่งผลให้มูลค่าชิปทั่วโลกลดลงไปด้วย โดยคาดว่าจะลดลงประมาณ  4.1%

สำหรับสาเหตุที่ในปี 2566 เป็นปีที่ชะลอตัวสำหรับผู้ผลิตชิป เนื่องจากอุปสงค์สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกเริ่มไม่ได้มากเหมือนในช่วงที่เกิดการระบาด ส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตชิปต้องชะลอการลงทุนไปด้วย

“หลังจากความเฟื่องฟูด้านอิเล็กทรอนิกส์ครั้งใหญ่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาคส่วนนี้กำลังผ่านการปรับตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” Frederic Neumann หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียของ HSBC กล่าว

]]>
1419803
‘ไต้หวัน’ ตั้งเป้าดึงแรงงานต่างชาติกว่า ‘4 แสนคน’ เข้าประเทศภายในปี 2573 หลังเจอปัญหาอัตราเกิดต่ำ https://positioningmag.com/1419136 Tue, 14 Feb 2023 03:16:36 +0000 https://positioningmag.com/?p=1419136 ไต้หวัน ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่น่าสนใจสำหรับตลาดแรงงานต่างชาติเนื่องจากปัจจุบัน ไต้หวันมีรายได้เฉลี่ยที่สูงกว่าเกาหลี เนื่อจากเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ทำให้เศรษฐกิจไต้หวันจะเติบโตดี ในขณะที่ประชากรประมาณ 23.4 ล้านคน ก็มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอัตราการเกิดที่ชะลอตัวลง ส่งผลให้รัฐบาลพยายามจะดึงดูดแรงงานต่างชาติเข้ามามากขึ้น

เมื่อช่วงเดือนกันยายน 2022 ที่ผ่านมา ไต้หวัน ได้เปิดเผยว่า ต้องการดึงดูดแรงงานต่างชาติ 400,000 คนภายในปี 2573 โดยไต้หวันมองหาแรงงานสำหรับทำงานในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ บล็อกเชน การเงิน และพลังงานลมนอกชายฝั่ง โดยไต้หวันต้องการดึงดูดแรงงานที่มีทักษะในหลายระดับ ตั้งแต่ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษระดับสูง, คนงานด้านเทคนิค รวมถึง นักศึกษามหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ 

“การดึงดูดผู้มีความสามารถระดับสูงให้มีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมของไต้หวันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม”

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการเปิดเผยถึงมาตรการดึงดูดว่าจะออกมาในลักษณะใด แต่เมื่อเดือนที่แล้วคณะรัฐมนตรีของไต้หวันได้ อนุมัติร่างแก้ไขกฎหมายคนเข้าเมือง 52 ฉบับ เพื่อให้แรงงานต่างชาติสามารถพำนักอาศัยได้ง่ายขึ้น ที่ผ่านมา ไต้หวันค่อนข้าง เข้มงวดกับแรงงานต่างชาติเป็นพิเศษ ขณะที่เหล่านักกศึกษาต่างชาติก็หวังว่าจะทำงานในไต้หวันหลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยในไต้หวัน

ปัจจุบัน ไต้หวันมีชาวต่างชาติมากกว่า 5,300 คน ที่จัดอยู่ในประเภทผู้มีความสามารถระดับมืออาชีพมีคุณสมบัติภายใต้วีซ่า 3 ปีและโครงการใบอนุญาตทำงานแบบเปิดที่สร้างขึ้นในปี 2561

หนึ่งในสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ไต้หวัน พยายามจะดึงดูดแรงงานต่างชาตินั้นมาจาก จำนวนประชากรของประเทศลดลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้แรงงานในประเทศจะเริ่มหดตัว โดยจำนวนประชากรโดยรวมของเกาะ ลดลง 110,674 คนในปีที่ผ่านมา เนื่องจากจำนวนการเกิดที่ต่ำเป็นประวัติการณ์และการเสียชีวิตมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา

ขณะที่วัยเจริญพันธุ์ของไต้หวันคาดว่าจะ ลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในโลกภายในปี 2578 ตามที่สภาพัฒนาแห่งชาติระบุเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าจะเห็นการฟื้นตัวที่ภายในปี 2588 ก็ตาม

ไม่ใช่แค่ไต้หวันที่เจอปัญหาด้านแรงงาน แต่ยังมี ฮ่องกง จีนแผ่นดินใหญ่ สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ ซึ่งต่างก็ประสบปัญหาแรงงานในท้องถิ่นหดตัวเนื่องจากอัตราการเกิดต่ำ โดยฮ่องกงเองเพิ่งจะขยายเวลาการพำนักสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศเป็น 2 ปี พร้อมเสนอวีซ่าใหม่ 2 ปีแก่ผู้ที่มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 2.5 ล้านเหรียญฮ่องกง (318,000 เหรียญสหรัฐ) ต่อปี

“ฉันคิดว่าทุกคนกำลังแข่งขันเพื่อสิ่งเดียวกัน” อลิเซีย การ์เซีย-เฮอร์เรโร หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Natixis Corporate & Investment Banking ในฮ่องกง กล่าว

]]>
1419136
จับตาอุตสาหกรรม ‘ชิป’ สงครามครั้งใหม่ของ ‘สหรัฐฯ-จีน’ ศึกตัดสิน ‘ผู้ชนะ’ ในเศรษฐกิจโลก https://positioningmag.com/1396346 Tue, 16 Aug 2022 11:56:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1396346 ดูเหมือนสงครามด้านเทคโนโลยีของ สหรัฐอเมริกา และ จีน จะไม่ได้มีแค่ สมาร์ทโฟน, แกดเจ็ต, แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียหรือการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ แต่สมรภูมิใหม่กำลังเกิดขึ้นซึ่งลึกลงไปอีกขั้นหรือก็คือ ส่วนประกอบ ที่ขับเคลื่อนเทคโนโลยีตั้งแต่สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ รถยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน

อย่างที่หลายคนรู้ว่า จีน เป็นแหล่ง ผลิตอุปกรณ์ไอทีอันดับ 1 ของโลก ถือเป็นกำลังสำคัญในการผลิตเทคโนโลยีมาเป็นเวลานาน อย่าง Apple, Google และ Microsoft แบรนด์สัญชาติอเมริกาก็พึ่งพาจีนอย่างมากในการผลิตอุปกรณ์และประกอบชิ้นส่วน

โดยจีนก็รู้ถึงจุดแข็งตรงนี้ดี ก็ยิ่งให้ความสำคัญกับการผลิตในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ของจีนเติบโตมากกว่า 30% ในปี 2020 โดยมีมูลค่าถึง 4 หมื่นล้านดอลลาร์ ตามตัวเลขจากสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (SIA)

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทำให้อุปทานชิปทั่วโลกขาดแคลน ขณะที่ปีนี้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงจากการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดของจีน ซึ่งทำให้โรงงานหยุดชะงักและส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชน ขณะนี้ หลายภูมิภาคกำลังคิดทบทวนแนวทางของตนต่ออุตสาหกรรมนี้ เพื่อที่จะสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นและลดความเสี่ยงต่อการผลิตของจีน

แน่นอนว่าสหรัฐฯ ก็คิดถึงเรื่องนี้ รวมถึงเพื่อจะได้สามารถแข่งขันกับจีนได้ ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ล่าสุดได้ลงนามในกฎหมายฉบับใหม่ที่มีเป้าหมายเพื่อ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนชิปในระยะยาว รวมถึงเพื่อลดการพึ่งพาประเทศอื่น ๆ แน่นอนว่าโดยเฉพาะกับจีน

“อีกสิ่งสำคัญที่จะป้องกันไม่ให้จีนขยายอำนาจในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีคือ การผูกมิตรหรือการย้ายซัพพลายเชนผ่านพันธมิตรของสหรัฐฯ เช่น เกาหลีใต้และญี่ปุ่น” เจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังสหรัฐ กล่าว

ภายใต้กฎหมาย CHIPS and Science Act รัฐบาลจะให้สิ่งจูงใจสำหรับการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ รวมถึงการวิจัยและพัฒนา รวมถึงการระดมทุนมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ และการลงทุนเพิ่มเติมในมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์ และสถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ

หรือในฝั่งของยุโรปเอง สมาชิกสภานิติบัญญัติของยุโรป ก็ได้เสนอการลงทุนมูลค่าหลาย หมื่นล้านดอลลาร์ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของทวีป อย่างไรก็ตาม จีนยังคงพยายามขยายอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต่อไป โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผน 5 ปีที่ประกาศเมื่อปีที่แล้ว

“ที่ทุกประเทศต่างทุ่มกับเรื่องเซมิคอนดักเตอร์ เป็นเพราะว่าเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ตัดสินว่าใคร ‘ชนะ’ ในเศรษฐกิจโลกในอนาคต และการพึ่งพาตนเองในการผลิตชิปนั้นพูดง่ายแต่ทำยาก เนื่องจากชั้นของเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญเฉพาะที่เกี่ยวข้องที่เกี่ยวข้อง” Kenton Thibaut, Resident China Fellow แห่ง Digital Forensic Research Lab ของ Atlantic Council ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. กล่าว

อย่างไรก็ตาม Kenton กล่าวเสริมว่า เรื่องที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นไปอีกคือ ไต้หวัน เกาะปกครองตนเองนอกชายฝั่งของจีน ซึ่งกลายเป็นตัวจุดชนวนความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ เข้าไปอีก เนื่องจากการไปเยือนของ แนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ซึ่งทำให้จีนไม่พอใจ เนื่องจากจีนมองว่า ไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีน ภายใต้นโยบาย จีนเดียว

อย่างที่หลายคนรู้ว่า ไต้หวันมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก เนื่องจากมีผู้ผลิตชั้นนำของโลกหลายรายตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ที่นั่น และเป็นซัพพลายเออร์ของ Apple Foxconn และ Pegatron ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของไต้หวันคือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company หรือ TSMC คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90% ของชิปคอมพิวเตอร์ขั้นสูงสุดในโลก

“ไม่มีใครสามารถควบคุม TSMC ได้ด้วยการบังคับ หากคุณใช้กำลังทหารหรือการบุกรุก คุณจะทำให้โรงงาน TSMC ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะนี่เป็นโรงงานผลิตที่ซับซ้อน และขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อแบบเรียลไทม์กับโลกภายนอก — กับยุโรป กับญี่ปุ่นด้วย สหรัฐอเมริกา” Mark Liu ประธานบริษัทกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ CNN

Photo : shutterstock

ที่ผ่านมา TSMC ได้ลงนามไปแล้วว่า บริษัทได้ลงทุนอย่างน้อย 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในรัฐแอริโซนา โดยคาดว่าจะเริ่มการผลิตในปี 2567 ขณะที่ GlobalWafers ผู้ผลิตชาวไต้หวันอีกรายเพิ่งลงนามว่าจะลงทุน 5 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานแผ่นเวเฟอร์ซิลิคอนในเท็กซัส และกลุ่มบริษัทซัมซุงและเกาหลีใต้ เมื่อต้นปีนี้ SK Group มีแผนที่จะใช้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์เพื่อขยายฐานการผลิตเทคโนโลยีในสหรัฐฯ

Zachary Collier ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการจัดการของมหาวิทยาลัย Radford แห่งเวอร์จิเนีย ให้ความเห็นว่า แม้ว่าการลงทุนของ TSMC เกิดขึ้นก่อนกฎหมาย CHIPS AND Science Act แต่กฎหมายดังกล่าวมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ ย้ายไปตั้งโรงงานที่สหรัฐฯ มากขึ้น

และนอกเหนือไปจากการสนับสนุนระยะสั้นของสหรัฐฯ แล้ว บริษัทต่าง ๆ ยังมองว่าสหรัฐฯ เป็นประเทศที่มีเสถียรภาพ ความปลอดภัย และแรงงานที่มีการศึกษาสูง และที่สำคัญที่สุด คือ ดีมานด์ที่มหาศาล โดยคิดเป็น 1 ใน 4 ของความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก โดย TSMC เคยเปิดเผยว่า ตลาดอเมริกาเหนือคิดเป็น 65% ของรายได้ โดยจีนและญี่ปุ่นคิดเป็น 10% และ 5% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันจีนยังมีข้อได้เปรียบตรงที่จีนมีกลยุทธ์ร่วมกันในการนำเสนอเทคโนโลยีและจัดหาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญให้กับประเทศต่าง ๆ ที่ต้องการเทคโนโลยีเหล่านี้ ขณะที่สหรัฐฯ และประเทศประชาธิปไตยอื่น ๆ จำเป็นต้องพัฒนากลยุทธ์เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นการแข่งขันกับจีนเท่านั้น แต่ยังต้องดำเนินการในเชิงรุกในการจัดหาโซลูชันที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริง

สุกท้าย Zachary Collier ย้ำว่า แม้ว่าแต่ละประเทศมีเป้าหมายในพัฒนาอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพื่อลดการพึ่งพาประเทศอื่น แต่สุดท้ายแล้วความต้องการใช้งานมันอยู่ในระดับโลก ดังนั้น การพึ่งพาอาศัยกันย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

Source

]]>
1396346
งานงอก! ‘จีน’ ระงับส่งออก ‘ทราย’ วัตถุดิบสำคัญในการผลิต ‘ชิป’ ให้ไต้หวัน https://positioningmag.com/1394847 Wed, 03 Aug 2022 12:28:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1394847 หลังจากที่ แนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้เดินทางเยือนไต้หวัน ทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ และไต้หวัน ยิ่งทวีความตึงเครียด โดยทางจีนก็ได้ออกมาตอบโต้ด้วยการ ประกาศซ้อมรบด้วยอาวุธจริงรอบอาณาเขตไต้หวัน รวมถึงระงับการนำเข้าและส่งออกสินค้า และหนึ่งในนั้นก็คือ ทราย

กระทรวงพาณิชย์ของจีน ได้ออกมา ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์อาหารจากไต้หวัน เพื่อพุ่งเป้าโจมตีไปยังอุตสาหกรรมเกษตรของไต้หวัน โดยข้อมูลศุลกากรของจีนแสดงให้เห็นว่า รวม ๆ แล้วสินค้าที่ถูกระงับการนำเข้ามี 2,000 รายการ จากที่เคยนำเข้ามาประมาณ 3,200 รายการ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ชา บิสกิต ไปจนถึงปลา

นอกจากนี้ยังได้ระงับการส่งออกทราย ของประเทศไปยังไต้หวันอีกด้วย ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่าทรายนั้นเป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในการผลิต ชิป ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจไต้หวัน โดยตัวเลขยอดส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเดือนมิถุนายนของไต้หวันอยู่ที่ 1.73 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็น 41% ของยอดส่งออกทั้งหมด ขณะที่ไต้หวันนำเข้าทรายและกรวด 5.67 ล้านตัน ในปี 2020 โดยกว่า 90% เป็นการนำเข้าจากจีน

“สิ่งที่ต้องจับตาคือ รัฐบาลจีนจะขยายการห้ามการค้าในภาคการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซมิคอนดักเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในอนาคตหรือไม่” หม่า เทียหยิง ​​นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ DBS กล่าว

ทั้งนี้ จีนเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไต้หวัน โดยการค้าทวิภาคีเพิ่มขึ้น 26% เมื่อเทียบเป็นรายปีสู่ระดับ 328.3 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว แม้ว่ารัฐบาลจีนจะใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบดังกล่าวได้จากการคว่ำบาตรผู้ส่งออก แต่จีนยังพึ่งพาไต้หวันในการจัดหาเซมิคอนดักเตอร์ด้วย

bloomberg / focustaiwan

]]>
1394847
รู้จัก “บอกบุญ เดลิเวอรี่” สายมูออนไลน์ ขอพรวัดในฮ่องกงได้แบบ Virtual https://positioningmag.com/1353828 Sun, 03 Oct 2021 08:51:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353828 ทำความรู้จัก “บอกบุญ เดลิเวอรี่” สะพานบุญออนไลน์ อีกหนึ่งที่พึ่งทางจิตใจในยุด COVID-19 แพลตฟอร์มสำหรับสายมูโดยเฉพาะ ไหว้ขอพรวัดดังในฮ่องกง, มาเก๊า และไต้หวันได้แบบ Virtual แพ็คเกจเริ่มต้นที่ 288 บาท

บอกบุญ เดลิเวอรี่ คือใคร

บอกบุญ เดลิเวอรี่ (BokBoon Delivery) คือ แพลตฟอร์มสำหรับสายมูเตลู ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 เป็นช่วงที่ทั่วโลกประสบปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เกิดพฤติกรรม New Normal ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการสั่งอาหาร ซื้อของ จ่ายเงิน ล้วนทำผ่านออนไลน์ทั้งสิ้น

แม้แต่การทำบุญ ขอพร เพื่อหาที่พึ่งพาทางใจ ก็ทำผ่านออนไลน์ จึงเกิดเป็นโอกาสครั้งใหญ่ของตลาดนี้ ที่ยังมีคนสายมูเตลูพร้อมที่จะใช้บริการ

บอกบุญ เดลิเวอรี่ก่อตั้งโดย พสิษฐ์ เธียรนภาพรโชค แต่เดิมได้ทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการตลาด แพลตฟอร์มขนส่งสินค้ารายใหญ่อย่าง LALAMOVE จากนั้นได้ผันตัวสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจ Start-up สำหรับสายมูเตลูบนโลกออนไลน์อย่างเต็มตัว พร้อมกับผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง นันทิกานต์ สุวรรณโชติ เป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นผู้มีความเชี่ยวชาญ ทำให้การไหว้พระขอพรสมบูรณ์มากขึ้น

แพลตฟอร์มนี้มีจุดกำเนิดที่ฮ่องกง เมืองขึ้นชื่อในเรื่องการไหว้พระ ขอพร อีกทั้งคนไทยยังนิยมไปไหว้พระที่ฮ่องกงกันมากด้วย

พสิษฐ์ เล่าว่า ปิ๊งไอเดียการสร้างบอกบุญ เดลิเวอรี่ให้เป็นแพลตฟอร์ม Virtual Temple Experience จากการเห็นกลุ่มแม่บ้านวิดีโอคอลคุยกับครอบครัว บนรถไฟใต้ดินขณะเดินทางกลับบ้าน ทำให้เกิดคำถามว่าจะสามารถวิดีโอคอลในขณะที่พระกำลังสวดมนต์ หรือทำบุญได้หรือไม่

บวกกับในช่วงวิกฤต COVID-19 ที่ประชาชนไม่สามารถเดินทางได้ บอกบุญ เดลิเวอรี่จึงก่อตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นสะพานบุญออนไลน์เชื่อมระหว่างวัดกับสายมูเตลูเข้าด้วยกัน และไม่ว่าจะก่อน หรือหลังวิกฤต COVID-19 ก็ตาม เรายังอยากให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าที่เคยมาไหว้พระที่ฮ่องกง หรืออาจจะยังไม่เคยมา เพราะไม่มีเวลา หรือไม่มีต้นทุน เพื่อให้ลูกค้าใช้โอกาสนี้ ไหว้พระ ทำบุญ ขอพรเสริมสิริมงคลให้กับชีวิต ด้วยวิธีง่ายๆ ก็พบกับบริการที่สะดวกสบาย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องควักเงินหลักหมื่น เหมาะสำหรับช่วงเวลาที่เราต่างต้องการที่พึ่งทางใจ เพราะความเชื่อและความศรัทธารอกันไม่ได้

มูวัดดังที่ไหนได้บ้าง

บอกบุญ เดลิเวอรี่ เป็นเจ้าแรกที่เริ่มทำ และได้เป็นตัวแทนของวัดที่ได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีแพ็กเกจไหว้พระ เสริมดวงออนไลน์ให้เลือกหลากหลายตามความต้องการของลูกค้า โดยเน้นวัดเก่าแก่ และวัดที่ศรัทธาของคนพื้นที่เป็นหลัก

ทั้งเรื่องเสริมดวงชะตา หน้าที่การงาน ขอพรด้านสุขภาพ เสริมด้านความรัก ทั้งคนโสดและคนมีคู่ให้ลูกค้าได้เลือก ครบจบในที่เดียว ในราคาสมเหตุสมผลซึ่งทุกคนจับต้องได้ อาทิ

  • วัดแชกงหมิว (วัดกังหัน) ช่วยให้เงินทองไหลมาไม่ขาดสายเหมาะสำหรับคนทำมาค้าขาย
  • วัดฮ่องฮำ พิธีขอยืมเงินเจ้าแม่กวนอิม ทรัพย์สินเงินทอง
  • วัดหวังต้าเซียน เหมาะสำหรับคนโสดที่ต้องการขอคู่ผ่านด้ายแดงศักดิ์สิทธิ์
  • วัดเทพเจ้ากวนอู ช่วยเสริมอำนาจบารมีการเป็นเจ้าคนนายคน เหมาะสำหรับงานข้าราชการ ฯลฯ

ปัจจุบันมีบริการครอบคลุมทั้งฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และพม่า ทำให้มั่นใจได้ว่าพิธีกรรมเหล่านั้นถูกต้องตามหลักแบบครบถ้วนสมบูรณ์ สามารถขอพร สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์แบบออนไลน์ง่ายแค่ปลายนิ้วสัมผัสโดยไม่ต้องบินไปไกลถึงต่างประเทศ

ราคาเริ่มต้น 288 บาท ลูกค้าหลักพัน/เดือน

อีกหนึ่งบริการที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบอกบุญ เดลิเวอรี่ รับประกันว่ามีการทำพิธีในสถานที่จริง คือการขอพรแบบตัวต่อตัวสุดเอ็กซ์คลูซีฟอย่าง แพ็กเกจ Video Call ผ่าน LINE ลูกค้าจะสามารถพูด ขอพร สวดมนต์ ต่อหน้าองค์เทพ ได้เห็นทุกขั้นตอนการไหว้ที่ถูกต้องหลักตามประเพณี เป็นการสร้างประสบการณ์ผ่านภาพและเสียงที่สมจริงแบบ  Virtual Temple Experience รู้สึกเหมือนไปไหว้พระด้วยตัวเอง เมื่อเสร็จพิธีลูกค้าที่เมืองไทยยังจะได้รับวัตถุมงคลในซองแดงจากการไหว้องค์เทพ เสมือนได้บินลัดฟ้ามาไหว้เทพเจ้าด้วยตนเอง

วิดีโอคอลตอนไหว้

หลังจากได้ทดลองด้วยตนเอง เมื่อได้คิวตามตารางที่ทางบอกบุญฯ จะไปไหว้ที่วัดแล้ว เมื่อใกล้ถึงคิวจะมีทางไกด์ท้องถิ่น Video Call หา เพื่อทำพิธีไหว้พระ พร้อมกับของเซ่นไหว้ต่างๆ เหมือนกับเราไปทำด้วยตนเอง ทางไกด์จะนำสวดมนต์ให้เรา และให้ขอพรตามใจ ลูกค้าที่อยู่เมืองไทยเพียงแค่เตรียมธูป และน้ำสำหรับกรวดน้ำหลังจากเสร็จพิธี

พสิษฐ์ เล่าว่าหลังจากเปิดให้บริการอย่างเต็มตัวช่วง 6 เดือนแรก เป็นการค่อยๆ ให้ลูกค้าทำความเข้าใจกับวิธีการไหว้พระออนไลน์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลังจากนั้นมีคนใช้บริการมากขึ้นเรื่อยๆ จากเริ่มสัปดาห์ละ 2 วันเป็น 5 วันทำให้ปัจจุบันมีลูกค้าใช้บริการเฉลี่ยมากกว่า 1,000 รายต่อเดือน

ลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนักธุรกิจ พ่อค้า แม่ค้า เพราะฉะนั้นจะขอเรื่องเงินที่วัดเจ้าแม่กวนอิม (ยืมเงิน) มากที่สุด รองลงมาก็จะเป็นเกี่ยวกับความรักที่วัดหวังต้าเซียน

ขอพรแบบ New Normal

บอกบุญ เดลิเวอรี่ เปรียบเหมือนแพลตฟอร์มที่เสิร์ฟบุญให้กับลูกค้าที่อยากเดินทางมาไหว้พระด้วยตัวเองแต่ยังทำไม่ได้ถึงหน้าบ้าน ถึงแม้ว่าจะมีวิกฤต COVID-19 เข้ามา แต่ก็ชื่อว่าความเชื่อ และพลังศรัทธาที่ลูกค้ามีต่อวัด และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในฮ่องกงก็จะยังคงอยู่

แม้หลังผ่านพ้นวิกฤตนี้แล้วในอนาคต ก็จะยังมีการไหว้พระทำบุญในรูปแบบนี้อยู่ นอกจากการไหว้พระในฮ่องกงแล้ว ตอนนี้ได้ขยายการให้บริการมาที่มาเก๊าด้วย เช่น วัดอาม่า วัดเจ้าแม่กวนอิมที่มาเก๊า รวมไปถึงไต้หวัน ในอนาคตมีแผนที่จะเพิ่มวัดที่เกาหลีใต้, ญี่ปุ่น และไทยอีกด้วย

นอกจากแพ็กเกจทำบุญไหว้พระออนไลน์ บอกบุญ เดลิเวอรี่ยังมีบริการเช่าวัตถุเสริมสิริมงคล อาทิ กังหันรูปแบบต่างๆ, แผ่นทอง, ปี่เซี๊ยะ, ธนบัตรมงคล, เทียนหอม, ก้อนทอง, องค์เทพจำลอง, น้ำเต้าเก็บทรัพย์ ฯลฯ ให้ลูกค้าที่สนใจได้เลือกสรรผ่านทางช่องทางออนไลน์

“ในช่วงแรกที่ทดลองก็กลัวว่าจะไม่เฮงเหมือนมาเอง แต่ที่ผ่านมาด้วยรีวิวลูกค้าแล้วเฮงไม่น้อยกว่ามาด้วยตัวเองเลย นั่นคือสาเหตุที่ทำให้บอกบุญยังมีลูกค้าใช้บริการซ้ำอยู่บ่อยครั้ง หรือบางรอบไหว้ชุดแก้บนขายดีกว่าชุดไหว้ขอพรด้วยซ้ำนั่นหมายความว่าไหว้แล้วได้ผล”

]]>
1353828
งานงอกเสียวหมี่! หลัง ‘ลิทัวเนีย’ เตือนประชาชนให้เลิกใช้ เพราะพบระบบตรวจจับ ‘ข้อความ’ https://positioningmag.com/1353049 Wed, 22 Sep 2021 09:24:38 +0000 https://positioningmag.com/?p=1353049 กระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้ออกมาแนะนำให้ประชาชนหลีกเลี่ยงการซื้อสมาร์ทโฟนของจีน หรือถ้าใช้งานอยู่ก็ให้ทิ้ง หลังพบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีความสามารถในการตรวจจับข้อความในตัว

กระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้เปิดเผยว่า โทรศัพท์รุ่น Mi 10T 5G แฟล็กชิปของ ‘เสียวหมี่’ (Xiaomi) ยักษ์ใหญ่ด้านสมาร์ทโฟนของจีนที่จำหน่ายในยุโรป มีความสามารถในตัวในการตรวจจับและเซ็นเซอร์ข้อความต่าง ๆ เช่น “Free Tibet”, “Long live Taiwan independence” ซึ่งเป็นการสนับสนุนอิสรภาพของทิเบตและไต้หวัน ตลอดจนคำว่า “democracy movement” หรือขบวนการประชาธิปไตย

โดย Margiris Abukevicius รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้ให้คำแนะนำว่า อย่าซื้อโทรศัพท์จีนเครื่องใหม่ และ กำจัดโทรศัพท์ที่ซื้อไปแล้วโดยเร็วที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างลิทัวเนียและจีนเริ่มเสื่อมลงเมื่อเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากเมื่อเดือนที่ผ่านมา จีนเรียกร้องให้ลิทัวเนียถอนเอกอัครราชทูตในกรุงปักกิ่ง และกล่าวว่าจะ เรียกคืนทูตของตนไปยังวิลนีอุส และจะเรียกคืนทูตจีนประจำกรุงวิลนีอุสด้วย หลังจากที่ไต้หวันประกาศว่าจะเปิดสำนักงานผู้แทนในลิทัวเนีย โดยใช้ชื่อว่า ‘สำนักงานผู้แทนไต้หวัน’ ซึ่งตามปกติแล้วการตั้งสำนักงานของไต้หวันในยุโรปและสหรัฐฯ จะใช้ชื่อว่า ‘ไทเป’

เจค ซัลลิแวน ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีอิงกริดา ซิโมนีเต ของลิทัวเนียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเน้นย้ำถึงการสนับสนุนประเทศลิทัวเนียหากโดนจีนกดดัน

รายงานของ National Cyber ​​Center ยังระบุด้วยว่าโทรศัพท์ Xiaomi กำลังส่งข้อมูลการใช้งานโทรศัพท์ที่เข้ารหัสไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสิงคโปร์ ส่วน Huawei ของจีนพบข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยในโทรศัพท์ P40 5G แต่ไม่พบในโทรศัพท์ของ OnePlus และผู้ผลิตรายอื่นในจีน

อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของ Huawei ยืนยันกับ BNS News ว่าโทรศัพท์ของแบรนด์ไม่ส่งข้อมูลของผู้ใช้สู่ภายนอก ขณะที่เสียวหมี่ยังปฏิเสธที่จะให้ข้อมูล

“สิ่งนี้สำคัญไม่เพียงแต่ในลิทัวเนียแต่กับทุกประเทศที่ใช้อุปกรณ์ Xiaomi”

Source

]]>
1353049
ดีลสำเร็จ! บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ TSMC – Foxconn ต่อรองซื้อวัคซีน 10 ล้านโดสให้ไต้หวัน เเก้เกมจีน https://positioningmag.com/1342005 Tue, 13 Jul 2021 10:40:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1342005 ต่อรองสำเร็จ! ‘TSMC’ และ ‘Foxconn’ บริษัทชิปยักษ์ใหญ่ของไต้หวัน ผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ป้อนวงการเทคโนโลยีโลก บรรลุข้อตกลงกับ BioNTech จัดซื้อวัคซีนโควิดเเบบ mRNA ที่พัฒนาร่วมกับ Pfizer เพื่อนำมาฉีดฟรีให้ประชาชนชาวไต้หวัน 10 ล้านโดส ‘เเก้เกม’ ข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลไทเปและปักกิ่ง

สำหรับค่าใช้จ่ายการจัดซื้อวัคซีนของ BioNTech รวมไปถึงค่าบริการระบบการขนส่งและค่าประกันภัย จะอยู่ที่ไม่เกิน 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.7 พันล้านบาท) ซึ่งทั้งสองบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด เเละจะนำไปบริจาคให้กระทรวงสาธารณสุขของไต้หวัน

ปกติเเล้ว BioNTech จากเยอรมนี ร่วมมือกับ Shanghai Fosun Pharmaceutical ให้เป็นตัวแทนจัดจำหน่ายวัคซีนชนิด mRNA ที่ได้พัฒนากับ Pfizer ในประเทศจีน

โดยรัฐบาลไต้หวัน อ้างว่าทางการจีนพยายามขัดขวางไม่ให้ไต้หวันจัดหาวัคซีนจาก BioNTech ซึ่งจีนยื่นข้อเสนอว่าจะบริจาควัคซีนป้องกันโควิดให้เอง เเต่ไต้หวันยืนยันปฏิเสธ

ท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูง ไต้หวัน ต้องหาทางออกใหม่ โดยจับมือกับบริษัทเอกชนรายใหญ่ที่มี ‘อำนาจการต่อรองทางธุรกิจสูง’ อย่าง Foxconn และ TSMC ให้ไปติดต่อกับ BioNTech และ Shanghai Fosun Pharmaceutical โดยตรงเพื่อจัดหาวัคซีนเเทนรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อตกลงใหม่ที่ว่า BioNTech และ Fosun ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายวัคซีนให้กับบริษัทเอกชน (มากกว่ารัฐบาลไต้หวัน) นั้น ทางรัฐบาลจีนก็คงยังมองว่า เป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

Terry Gou มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้ง Foxconn โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า ตอนนี้ยังไม่มีการแทรกแซงจากทางการจีน เเละขอบคุณที่การเจรจาทางธุรกิจครั้งนี้ผ่านไปได้ด้วยดี

อย่างที่ทราบกันว่า ‘Foxconn’ เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก มีลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเเบรนด์ดังต่างๆ ทั้ง HP, Dell , Lenovo เเละ Apple ส่วน TSMC เป็นบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ผลิตชิปให้ AMD, Apple และ Nvidia รวมถึงชิ้นส่วนสำคัญของของสมาร์ทโฟนทั่วโลก

โดยฐานการผลิตของ Foxconn ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีนเเละประเทศอื่นๆ แต่ฐานการผลิตของ TSMC ส่วนใหญ่ยังอยู่ในไต้หวัน

ที่ผ่านมา ไต้หวันได้รับการยกย่องว่ามีการควบคุมการระบาดใหญ่ได้ดีเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาระลอกใหม่ที่คร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 700 ราย ซึ่งปัจจุบันไต้หวันกระจายวัคซีนโควิด-19 โดสเเรกไปแล้ว 3.3 ล้านคน คิดเป็น 14% ของประชากรทั้งหมด

โดยทาง TSMC และ Foxconn ระบุว่า วัคซีนจาก ‘BioNTech’ จะถูกจัดส่งมาจากรงงานในเยอรมนี และจะนำเข้าไต้หวันได้เร็วที่สุดในช่วงปลายเดือนกันยายนที่จะถึงนี้

 

ที่มา : The Verge , Financial Times

 

 

 

 

]]>
1342005