ไวน์ – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 29 Mar 2024 15:25:37 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ใจอ่อนแล้ว! ‘จีน’ ยอมยกเลิกภาษีนำเข้า ‘ไวน์ออสเตรเลีย’ เพื่อยุติความขัดแย้ง https://positioningmag.com/1468373 Fri, 29 Mar 2024 09:14:01 +0000 https://positioningmag.com/?p=1468373 ย้อนไปช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ระบุว่า ‘ไวน์’ จาก ‘ออสเตรเลีย’ ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราระหว่าง 107.1- 218.4% เพื่อตอบโต้การที่รัฐบาลใช้มาตรการทุ่มตลาดกับไวน์ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับอุตสาหกรรมไวน์ของจีน ล่าสุด จีนได้ยกเลิกการเก็บภาษีไวน์จากออสเตรเลียแล้ว

ในตอนแรก กระทรวงพาณิชย์จีน ได้ประกาศมาตรการเก็บภาษีนำเข้าไวน์ออสเตรเลียสูงสุด 218.4% เป็นระยะเวลานาน 5 ปี โดยเริ่มเก็บครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2021 ล่าสุด ยุติการจัดเก็บภาษี เนื่องจากความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศเริ่มดีขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ปีที่แล้ว ส่งผลให้ให้จีนได้ยกเลิกมาตรการทางการค้าสําหรับสินค้าของออสเตรเลียอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ข้าวบาร์เลย์ไปจนถึงถ่านหิน

“เนื่องจากสถานการณ์ในตลาดไวน์ของจีนมีการเปลี่ยนแปลง ภาษีต่อต้านการทุ่มตลาดและต่อต้านเงินอุดหนุนที่เรียกเก็บจากไวน์นําเข้าจากออสเตรเลียจึงไม่จําเป็นอีกต่อไป” กระทรวงพาณิชย์กล่าวในแถลงการณ์

ก่อนหน้านี้ ไวน์ของออสเตรเลียที่นําเข้ามาในประเทศจีนไม่ต้องเสียภาษี หลังจากการลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีในปี 2015 ทําให้ออสเตรเลียได้เปรียบด้านภาษี 14% เหนือประเทศผู้ผลิตไวน์อื่น ๆ แต่หลังจากที่จีนกลับลำมาเก็บภาษีไวน์ออสเตรเลีย ทำให้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 การนำเข้าไวน์ออสเตรเลียของจีนคิดเป็นเพียง 0.14% ของการนําเข้าไวน์ทั้งหมด จากปี 2020 การนำเข้าไวน์ออสเตรเลียคิดเป็นสัดส่วนถึง 27.46%

นับตั้งแต่การบังคับเก็บภาษีไวน์ออสเตรเลียในปี 2021 ทําให้ผู้ผลิตในออสเตรเลียไม่สามารถส่งออกไวน์บรรจุขวดไปยังตลาดจีนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น เมื่อจีนยกเลิกมาตรการดังกล่าว บรรดาผู้ผลิตไวน์ชั้นนําของออสเตรเลียต่างเตรียมเริ่มร่วมมือกับลูกค้าในประเทศจีนเพื่อขยายการขายและการตลาด ตลอดจนการจัดการแบรนด์

“การประกาศในวันนี้เป็นแง่บวกที่สําคัญกับอุตสาหกรรมไวน์ของออสเตรเลียและผู้บริโภคไวน์ในประเทศจีนด้วย” ทิม ฟอร์ด ซีอีโอ Treasury Wine Estates กล่าว

นอกจากนี้ การยกเลิกภาษีจะเป็นการเคลื่อนไหวที่น่ายินดีสําหรับผู้ปลูกองุ่นในออสเตรเลีย เนื่องจากต้นองุ่นหลายล้านต้นกําลังถูกทําลายเพื่อควบคุมการผลิตที่มากเกินไป เนื่องจากการบริโภคไวน์ทั่วโลกที่ลดลง

Source

]]>
1468373
ภาวะ “โลกเดือด” สร้างโอกาสในวิกฤตให้กับผู้ผลิต “ไวน์” ในสวีเดน รัสเซีย และอังกฤษ https://positioningmag.com/1442236 Fri, 25 Aug 2023 02:21:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1442236 2023 คือปีแห่งความท้าทายทางธรรมชาติ ภาวะ “โลกเดือด” ทำให้อากาศป่วน แต่ในวิกฤตยังมีโอกาสของกลุ่มผู้ผลิต “ไวน์” ในเขตหนาวอย่างสวีเดน รัสเซีย และอังกฤษ ซึ่งพบว่าฤดูเพาะปลูกในประเทศยาวขึ้นจากอากาศที่อุ่นผิดปกติ

ในปีแห่งภาวะโลกเดือด นักทำ “ไวน์” ในสวีเดนซึ่งปกติไม่ใช่แหล่งไวน์ที่มีชื่อเสียงแถวหน้าของโลก แต่ปีนี้จะเป็นปีที่พวกเขาคว้าโอกาส

“ผมเห็นการเติบโตของสิ่งต่างๆ ที่ไม่อาจฝันถึงได้เมื่อ 30-40 ปีก่อน” Göran Amnegård นักทำไวน์ที่เริ่มต้นธุรกิจในสวีเดนเมื่อ 20 ปีก่อน กล่าวกับสำนักข่าว AP

ขณะที่แหล่งผลิตไวน์แถวหน้าของโลก เช่น ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี ต่างได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ขาดแคลนน้ำและอุณหภูมิในฤดูหนาวร้อนผิดปกติ แต่กลับกัน ในสวีเดนที่ปกติอากาศหนาวจัด ปีนี้อากาศจึงอุ่นขึ้นเหมาะแก่การผลิตไวน์คุณภาพดี

AP รายงานว่า อากาศที่อุ่นขึ้นในสวีเดนทำให้ฤดูเพาะปลูกยาวขึ้นอีกประมาณ 20 วัน ทำให้ปกติที่เพาะปลูกได้ 4 เดือนครึ่งถึง 5 เดือนต่อปี กลายเป็น 6 เดือนถึง 6 เดือนครึ่งต่อปี

จากปี 1961 มาจนถึงปี 2016 อากาศในสวีเดนมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส และคาดการณ์กันว่าภายในศตวรรษนี้ อากาศจะอุ่นขึ้นอีก 2-7 องศาเซลเซียส

ไม่ใช่แค่สวีเดนที่รับอานิสงส์จากภาวะโลกร้อน ตั้งแต่ปี 2016 ก็เคยมีรายงานแล้วว่า ทั้งรัสเซียและอังกฤษต่างมีแหล่งผลิตไวน์ที่คุณภาพดีขึ้นเพราะอากาศอุ่น

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมไวน์สวีเดนก็ยังโตช้า โดยในปี 2021 ไวน์สวีเดนมีการส่งออกมูลค่ารวม 26.3 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่ในปีเดียวกันประเทศผู้ผลิตไวน์ดั้งเดิมอย่างฝรั่งเศสและอิตาลีสามารถส่งออกไวน์ด้วยมูลค่าสูงถึง 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 7,700 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ

ส่วนหนึ่งที่ยังมีการส่งออกน้อย เพราะอุตสาหกรรมไวน์สวีเดนเติบโตช้า ซัพพลายการผลิตมีการเติบโตเพียง 10% ต่อปี

อย่างไรก็ตาม ภาวะโลกร้อนอาจจะดีกับผู้ผลิต “ไวน์” แต่ไม่ได้ดีกับภาพรวมของประเทศแถบสแกนดิเนเวียเท่าไหร่นัก เมื่อต้นเดือนนี้เอง นอร์เวย์และสวีเดนประกาศแจ้งเตือนภัยพิบัติเพราะมีฝนตกหนักจนทำให้รถไฟตกราง มีผลกระทบต่อผู้โดยสารมากกว่า 100 คน และอุทกภัยยังมีผลต่อเส้นทางสัญจรบนถนนทั่วประเทศทั้งสอง

โลกร้อนไม่ได้ทำให้แหล่งผลิตไวน์เท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป ความร้อนยังทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลาย และขั้วโลกเหนือนั้นอุดมไปด้วยน้ำมัน แร่ และปลา ทำให้หลายประเทศจับจ้องที่จะเข้าครองพื้นที่ โดยเฉพาะรัสเซียที่เริ่มเข้าไปยึดครองแล้วตั้งแต่ปี 2022

Source

]]>
1442236
ตลาด “ไวน์” ในไทยปี 2563 https://positioningmag.com/1341720 Sun, 11 Jul 2021 11:41:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1341720 1341720 “ไวน์ออสเตรเลีย” ครองตลาดไทย “Penfolds” โตพุ่ง 82% จับกลุ่มผู้บริโภค “ดื่มในบ้าน” https://positioningmag.com/1338813 Thu, 24 Jun 2021 10:01:46 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338813
  • “Penfolds” เปิดข้อมูลตลาดไวน์ในไทยมูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 9,570 ล้านบาท) “ไวน์ออสเตรเลีย” เป็นเจ้าตลาดด้วยสัดส่วน 23%
  • เศรษฐกิจที่ซบเซาและมาตรการห้ามดื่มสุราในร้านอาหารสร้างความผันผวน ผู้บริโภคหันไปดื่มไวน์ในบ้านมากขึ้น ปี 2564 ผู้บริโภคมีแนวโน้มใช้จ่ายกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง 21%
    • อย่างไรก็ตาม เมื่อปี 2563 แม้จะเผชิญ COVID-19 แต่แบรนด์ Penfolds ยังเติบโตถึง 82% YoY ช่วงเทศกาล จากการสร้างแบรนด์ให้เป็นแบรนด์พรีเมียมที่มีคุณภาพแต่เข้าถึงง่าย เหมาะกับคนกลุ่มมิลเลนเนียล

    เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หนึ่งในเซคเตอร์ที่ถูกกระทบมากจากการระบาดของ COVID-19 ในไทย เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการสั่งปิดการนั่งรับประทานในร้านอาหารมาแล้ว 2 ครั้ง และสั่งห้ามจำหน่ายสุราภายในร้านอาหารหากพื้นที่มีการระบาดสูง รวมถึงผลทางเศรษฐกิจยังทำให้คนไทยมีกำลังซื้อน้อยลงด้วย นั่นทำให้ปี 2563-64 เป็นความท้าทายของธุรกิจนี้อย่างยิ่ง

    กลยุทธ์เพื่อเอาชนะสภาวะตลาดของ “Penfolds” ไวน์ชื่อดังจากออสเตรเลีย จึงเป็นการสร้างแบรนด์ให้แข็งแรง โดยวางตำแหน่งทางการตลาดตัวเองในฐานะ “ไวน์พรีเมียม” ที่มีคุณภาพแต่ราคาเข้าถึงได้ง่าย ร่วมกับการทำการตลาดส่งข้อมูลให้คนไทย “เข้าใจ” ไวน์มากขึ้น และเลือกที่จะใช้จ่ายกับไวน์พรีเมียมสูงขึ้น

     

    “ไวน์ออสเตรเลีย” ครองตลาด

    “โยดีเซน มูตูซามี่” ผู้จัดการทั่วไปด้านฝ่ายขายระหว่างประเทศ Penfolds แบรนด์ไวน์ในเครือ Treasury Wine Estate (TWE) กล่าวถึงตลาดไวน์ไทยก่อนว่า ข้อมูลจาก IWSR พบว่า ตลาดไวน์ไทยปี 2563 มีมูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 9,570 ล้านบาท) แบ่งเซ็กเมนต์เป็นกลุ่มไวน์พรีเมียม 22% ไวน์มาตรฐาน 65% และไวน์ราคาประหยัด 13%

    ปัจจุบันไวน์ออสเตรเลียเป็นเจ้าตลาดไทย มีส่วนแบ่งตลาด 23%

    หากแบ่งตามประเทศต้นทาง ไวน์ที่เป็นที่นิยมที่สุดได้แก่ 1) ออสเตรเลีย 2) อิตาลี 3) ชิลี 4) ฝรั่งเศส และ 5) สหรัฐอเมริกา โดยไวน์จากออสเตรเลียครองส่วนแบ่งได้ถึง 23% ของตลาด และมีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 12% ช่วงปี 2558-62 เทียบกับตลาดไวน์รวมของไทยโตปีละ 6% ในช่วงเดียวกัน เห็นได้ว่าไวน์ออสเตรเลียเป็นตัวเลือกของคนไทยมากขึ้น

    โยดีเซนกล่าวว่า แม้จะเผชิญการระบาดแต่ตลาดไทยยังถือเป็นตลาดไวน์ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน เมื่อปี 2563 มีการบริโภคถึง 103.3 ล้านลิตร

    “โยดีเซน มูตูซามี่” ผู้จัดการทั่วไปด้านฝ่ายขายระหว่างประเทศ Penfolds

    จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ไวน์ในไทย คือการเป็นเครื่องดื่ม “แสดงฐานะ” ทำให้การทำราคาเพื่อแข่งขันในไทยยังไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่สิ่งที่แบรนด์ต้องทำตลาดเพื่อสร้างฐานนักดื่มไวน์ให้มากขึ้น คือการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับไวน์ เพราะคนไทยยังมีมุมมองเชิงลบกับไวน์อยู่บ้างว่า เป็นเครื่องดื่มที่ดื่มยากและเข้าใจยาก ซึ่งจะกลายเป็นกำแพงกั้นไม่ให้นักดื่มใหม่ๆ ทดลองชิม

     

    COVID-19 สร้างความผันผวน

    ด้านสภาวะตลาดตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งเริ่มเกิดโรคระบาด COVID-19 มีผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจไวน์ เพราะรัฐบาลไทยมีคำสั่งปิดนั่งทานในร้านอาหารเป็นบางช่วง และห้ามจำหน่ายสุราในร้านเป็นบางพื้นที่เพื่อควบคุมการระบาด

    นอกจากนี้ ยังมีผลทางอ้อมจากเศรษฐกิจที่ซบเซาลง TWE พบว่าคนไทยถึง 71% มีรายได้ลดลง ทำให้คนส่วนใหญ่ระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น

    คนไทยมีแนวโน้มใช้จ่ายกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง (Source: Penfolds/TWE)

    โยดีเซนกล่าวว่าสภาวะตลาดเช่นนี้ทำให้เกิดความผันผวนมาก ข้อมูลเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ที่เห็นได้ชัดคือ ผู้บริโภคเปลี่ยนไปจิบไวน์ “ในบ้าน” มากขึ้น โดยอาจจะเลือกซื้อไวน์เพื่อฉลองให้กับตนเอง หรือจัดปาร์ตี้ดื่มกับคนในครอบครัว/เพื่อนๆ แทนการไปร้านอาหาร

    ผลวิจัยของ TWE ยังพบด้วยว่าคนไทยมีแนวโน้มใช้จ่ายกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง 21% โดยเฉลี่ย (ผู้บริโภคตอบว่าจะใช้จ่ายกับแอลกอฮอล์เท่าเดิม 49% ใช้น้อยลง 36% และใช้มากขึ้น 15%) ยิ่งทำให้ปีนี้จะยังคงเป็นปีที่ท้าทาย

     

    Penfolds ทะยาน 82% ไวน์พรีเมียมเจาะมิลเลนเนียล

    จากข้อมูลทั้งหมด โยดีเซนกล่าวว่าปีที่ผ่านมาจนถึงขณะนี้ ทีมงาน Penfolds ทำงานอย่างหนักทางการตลาดเพื่อตามให้ทันสถานการณ์ โดยมีกลยุทธ์การตลาดคือการตอกย้ำแบรนด์ Penfolds ว่าเป็น “ไวน์พรีเมียม” มีคุณภาพแต่ราคาเข้าถึงได้ง่าย (พอร์ตโฟลิโอของ Penfolds ในไทยมีไวน์สนนราคาตั้งแต่ขวดละ 799 บาทจนถึงกลุ่ม “Penfolds Grange” ราคาเฉียด 70,000 บาท)

    รวมถึงการให้ข้อมูลเกี่ยวกับไวน์ สร้างความรู้เรื่องไวน์ในหลายแง่มุม เช่น แหล่งผลิต รสชาติ ธรรมเนียมการดื่ม ฯลฯ เพื่อทำให้คนไทยสนใจไวน์มากขึ้น และความรู้เรื่องราวเบื้องหลังยังจะทำให้ผู้บริโภคเลือกไวน์ที่พรีเมียมมากขึ้นด้วย

    Penfolds แบรนด์ก่อตั้งในออสเตรเลีย ปี 1884

    ผลจากการทำตลาดอย่างต่อเนื่อง ทำให้แบรนด์ Penfolds มีการรับรู้แบรนด์ในไทยอยู่ที่ 32% (เก็บข้อมูลเดือนพ.ค. 2562-ก.ค. 2563)

    ข้อมูลจาก TWE ระบุด้วยว่าแบรนด์ Penfolds เป็นผู้นำตลาดไวน์ในไทยอยู่ ณ ปี 2562 แบรนด์มีส่วนแบ่งตลาด 14.4% เป็นอันดับ 1 ทิ้งไกลจากอันดับ 2 ที่มีส่วนแบ่ง 4.7% นอกจากนี้ เมื่อปี 2563 แบรนด์ยังเติบโตสูงถึง 82% ในช่วงเทศกาล เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งที่อยู่ท่ามกลางความผันผวนของตลาด

    โยดีเซนกล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มลูกค้าหลักของไวน์จะเป็น “กลุ่มมิลเลนเนียล” ซึ่งมีทัศนคติพร้อมจะจ่ายมากขึ้นให้กับแบรนด์หรือสินค้าที่มีคุณภาพมากกว่า ทำให้กลุ่มนี้เป็นเป้าหมายหลักของ Penfolds และเมื่อประเทศไทยเปิดประเทศได้ มีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามา ก็จะช่วยดันให้ตลาดกลับมาสดใสอีกครั้ง

    ]]>
    1338813
    จีนอนุมัติแผนพัฒนา “ดินแดนไวน์” ในประเทศภายใน 15 ปี แข่งขันกับฝรั่งเศส https://positioningmag.com/1337914 Mon, 21 Jun 2021 05:59:40 +0000 https://positioningmag.com/?p=1337914 รัฐบาลกลางของจีนอนุมัติแผนการพัฒนา “เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย” เป็นแหล่งผลิตไวน์หลักของโลกภายใน 15 ปี มุ่งเป้าแข่งขันกับ “บอร์โด” ของฝรั่งเศส โดยปัจจุบัน จีนยังอยู่ในลำดับ 10 ผู้ส่งออกไวน์มากที่สุดในโลก แต่เป็นกำลังซื้อสำคัญ ชาวจีนบริโภคไวน์เป็นอันดับ 6 ของโลก

    เป้าหมายปี 2035 ของเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ต้องการที่จะผลิตไวน์ให้ได้ปีละ 600 ล้านขวด คิดเป็นมูลค่า 2 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 9.76 หมื่นล้านบาท) ตามแผนของรัฐบาลกลางที่อนุมัติไปเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2021

    หนิงเซี่ยหุยนั้นเป็นพื้นที่เขตเทือกเขาเหอหลานและมีแม่น้ำหวงเหอไหลผ่าน ตั้งอยู่ทางตะวันตกของกรุงปักกิ่ง โดยใช้เวลาเดินทางด้วยเครื่องบินจากปักกิ่งประมาณ 2 ชั่วโมงเท่านั้น สภาพภูมิประเทศและอากาศของที่นี่ใกล้เคียงกับบอร์โด แหล่งไวน์ชั้นเลิศของฝรั่งเศส

    โรงกลั่นไวน์ Ningxia Changyu Moser XV

    “หากเป้าหมายนี้สำเร็จ พื้นที่ตีนเขาทางตะวันออกของเขาเหอหลานจะได้เป็นแหล่งผลิตสำคัญระดับสากล ด้วยขนาดพื้นที่ที่ใหญ่เทียบเท่ากับบอร์โด” สุ่ยเผิงเฟย ผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงเกษตรแห่งประเทศจีนกล่าว รายงานโดยสำนักข่าว CNBC

    หนิงเซี่ยเป็นเพียงหนึ่งในแหล่งผลิตไวน์ที่มีอยู่หลายแห่งทั่วประเทศจีน แต่พื้นที่ตีนเขาทางตะวันออกของเขาเหอหลานนั้นเป็นจุดสำคัญ เพราะมีพันธุ์องุ่นที่ปลูกได้หลากหลายเทียบเท่ากับบอร์โด ฝรั่งเศส หรือนาปา วัลเลย์ ในสหรัฐฯ จนได้เป็นแหล่งผลิตหลักของไวน์จากแดนมังกร

    เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย ทางตะวันตกของปักกิ่ง ทางใต้ของมองโกเลีย

    อย่างไรก็ตาม เป้าหมายที่จะเทียบชั้นฝรั่งเศสก็ยังห่างไกลนัก เพราะเมื่อปี 2020 บอร์โดสามารถผลิตไวน์ได้ปีละ 522 ล้านขวด คิดเป็นมูลค่า 3,500 ล้านยูโร (ประมาณ 1.31 แสนล้านบาท) นั่นทำให้หนิงเซี่ยจะไล่ตามทันได้ ต้องผลิตไวน์เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่าตัวภายในเวลาเพียง 15 ปี

     

    จีนยังส่งออกไวน์ต่ำมาก

    แผนการพัฒนาไวน์ของจีนนั้นยังไม่ลงรายละเอียดภาคปฏิบัติที่ชัดเจน แต่ได้วางโครงร่างไว้คร่าวๆ ว่าจะมีการพัฒนาองค์ความรู้การทำไวน์ท้องถิ่น และจะดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติของจีนเพื่อคงพื้นที่ให้เหมาะกับการทำไวน์ไปสู่ระดับโลก

    เมื่อปีก่อน เขตหนิงเซี่ยมีการส่งออกไวน์คิดเป็นมูลค่า 2.65 ล้านหยวนเท่านั้น (ประมาณ 13 ล้านบาท) แต่ถือเป็นการเติบโตที่สูง โดยปรับเพิ่มขึ้น 46.4% เทียบกับปีก่อนหน้า มีฐานรับซื้อหลักคือสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ทั้งนี้ ปีก่อนบริษัท Xige Estate ซึ่งเป็นบริษัทในหนิงเซี่ยระบุว่าเริ่มมีการส่งออกไปแคนาดาแล้ว

    ขณะนี้การส่งออกไวน์ของหนิงเซี่ยยังไม่มาก เพราะส่วนใหญ่ยังผลิตบริโภคภายในประเทศ แม้กระทั่งบริษัท Xige ยังตั้งเป้าว่าจะเจาะตลาดจีนเป็นหลักก่อน คาดว่าในอนาคตจะมีการส่งออกเพียง 10-20% ของที่ผลิตได้

    ไวน์จีนจาก Chateau Mihope ในหนิงเซี่ย

    ปัจจุบัน จีนเป็นตลาดผู้บริโภคไวน์อันดับ 6 ของโลก แต่ยังไม่ติดในลิสต์ Top 10 ผู้ส่งออกไวน์ แม้ว่าจะมีการผลิตมากเป็นอันดับ 10 ของโลก อ้างอิงข้อมูลจาก องค์กรองุ่นและไวน์นานาชาติ ที่ออกรายงานมาเมื่อเดือนเมษายน 2021

    รายงานดังกล่าวยังระบุด้วยว่า ทั้งการบริโภคและการผลิตไวน์ของจีนกำลังลดลงในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าเกิดจากภาวะโลกร้อนที่ทำให้การผลิตลดลง จนอุตสาหกรรมไวน์จีนแข่งขันได้ต่ำลงเมื่อเทียบกับไวน์นำเข้า และในแง่การบริโภคเกิดจากการล็อกดาวน์ในช่วง COVID-19 ระบาด ยิ่งทำให้การบริโภคต่ำ

     

    ต้องสู้กับ “เหล้าไป่จิ๋ว” ที่นิยมสูง

    ไวน์ที่จีนนำเข้ามากที่สุดเมื่อปี 2020 นั้นมาจาก ออสเตรเลีย โดยมากกว่าการนำเข้าไวน์ฝรั่งเศสเพียงเล็กน้อย แต่หลังจากจีนตั้งกำแพงภาษีกับออสเตรเลียเมื่อเดือนมีนาคม 2021 คาดว่าจะทำให้ไวน์ออสเตรเลียเข้ามาในตลาดลดลง

    ผลกระทบนี้จะตกกับผู้ส่งออกไวน์นับพันรายของออสเตรเลียที่มีตลาดหลักคือประเทศจีน พวกเขาต่างเบนเข็มไปหาผู้ซื้อรายใหม่ในอังกฤษ สหรัฐฯ และกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่คาดว่าไม่ใช่ทุกรายที่จะพยุงตัวเองได้ไหวระหว่างปรับตัว ส่วนผู้ที่ได้ประโยชน์จะเป็นผู้ส่งออกไวน์ฝรั่งเศสและชิลีที่จะได้ตีตลาดจีนมากขึ้น

    นอกจากไวน์นำเข้าแล้ว ผู้ผลิตไวน์จีนสำหรับตลาดในประเทศยังมีคู่แข่งสำคัญอีกรายคือ “เหล้าไป่จิ๋ว” เหล้าท้องถิ่นที่นิยมสูงมากในแดนมังกร ถึงขนาดถูกเรียกขานว่าเป็นเสมือนไวน์แห่งประเทศจีน เพราะเหล้าไป่จิ๋วจะถูกตั้งไว้ตามโต๊ะจัดเลี้ยงมื้อสำคัญ โดยผู้ผลิตไป่จิ๋วที่ดังที่สุดคือ “เหมาไถ”

    สุ่ยเผิงเฟยแห่งกระทรวงเกษตรจีนมองว่า ไวน์จีนจะเป็นที่นิยมในประเทศมากกว่านี้ได้ ก็ต่อเมื่อสามารถทำราคาได้ถูกใกล้เคียงกับเหล้าไป่จิ๋วทั่วๆ ไปที่สามารถหาซื้อได้ในราคาขวดละ 40 หยวน (ประมาณ 195 บาท) จะทำให้ผู้บริโภคสนใจมากขึ้น

    Source

    ]]>
    1337914
    ‘จีน’ ยืดเวลาขึ้นภาษี ‘ไวน์’ จากออสเตรเลีย 218% ไปอีก 5 ปี https://positioningmag.com/1325405 Mon, 29 Mar 2021 07:22:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1325405 ย้อนไปช่วงเดือนพฤศจิกายน 2020 กระทรวงพาณิชย์ของจีนได้ระบุว่า ‘ไวน์’ จาก ‘ออสเตรเลีย’ ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตราระหว่าง 107.1% ถึง 212.1% เป็นการชั่วคราวเพื่อตอบโต้การที่รัฐบาลแคนเบอร์ราใช้มาตรการทุ่มตลาดกับไวน์ที่ส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับอุตสาหกรรมไวน์ของจีน โดยล่าสุดจีนก็ประกาศว่าจะขึ้นอัตราภาษีเป็น 218% และจะใช้ไปอีก 5 ปี

    อุตสาหกรรมไวน์ของออสเตรเลียกำลังเผชิญกับปัญหาใหญ่ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์จีนเรียกเก็บภาษีชั่วคราวในการนำเข้าไวน์ของออสเตรเลียสูงถึง 212% ในเดือนพฤศจิกายนหลังจากการสอบสวนการทุ่มตลาด ล่าสุด รัฐบาลจีนได้ออกมาประกาศว่าจะขึ้นภาษีนำเข้าไวน์จากออสเตรเลียในอัตรา 116% ถึง 218% ไปอีก 5 ปี

    Tony Battaglene ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านผลิตภัณฑ์องุ่นและไวน์ของออสเตรเลีย กล่าวกับ Bloomberg ว่า จากมาตรการของจีนที่ออกมา ทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่จะร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อขอความช่วยเหลือจากมาตรการคว่ำบาตรทางการค้า ซึ่งจีนถือเป็นตลาดส่งออกไวน์ของออสเตรเลียที่ใหญ่ที่สุด โดยมูลค่าการส่งออกไวน์ไปยังประเทศจีนลดลงเกือบเป็น ‘ศูนย์’ ในเดือนธันวาคมตามสถิติของกลุ่มอุตสาหกรรมไวน์ออสเตรเลีย

    (Photo by Xu Congjun/VCG via Getty Images)

    ที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและจีนเริ่มย่ำแย่ โดยเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาหลังจากนายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสันเรียกร้องให้มีการสอบสวนระหว่างประเทศเกี่ยวกับต้นกำเนิดของไวรัส COVID-19 ทำให้สินค้าส่งออกหลายชนิดของออสเตรเลีย อาทิ ไม้, เนื้อวัว ข้าวบาร์เลย์, กุ้งก้ามกราม และถ่านหินบางประเภทเริ่มประสบปัญหาในการเข้าสู่ตลาดจีน

    ไม่ใช่แค่การส่งออกที่ทำได้ยากขึ้น แต่ในปี 2020 การลงทุนของจีนในออสเตรเลียลดลงเหลือเพียง 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 2.4 หมื่นล้านบาท) หรือลดลงถึง 62% เมื่อเทียบกับปี 2019

    Source

    ]]>
    1325405
    Haidilao เสิร์ฟไวน์! ต่อยอดเปิดร้านหม้อไฟเพิ่ม 74% ทะลุ 593 สาขาทั่วโลก https://positioningmag.com/1246124 Thu, 12 Sep 2019 04:28:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1246124 จับเทรนด์ Haidilao แบรนด์หม้อไฟหม่าล่าจากจีนที่กำลังเป็นกระแสกรุ่นในเมืองใหญ่ทั้งไต้หวัน นิวยอร์ก รวมถึงกรุงเทพฯ วันนี้ Haidilao ทำสถิติเปิดร้านหม้อร้อนทะลุ 593 สาขา เพิ่มขึ้น 74% เมื่อเทียบกับปี 2018 ส่งให้มีบทความและวิดีโอที่รีวิวร้าน Haidilao เพิ่มขึ้นบนโซเชียลมากขึ้น 535% หรือ 5 เท่าตัว ล่าสุด Haidilao ไม่หยุดสร้างสรรค์ก้าวใหม่ ผ่าจับมือกับโรงกลั่นไวน์ ผุดไวน์ตัวแรกที่ปรับสูตรมาเพื่อจำหน่ายที่ Haidilao โดยเฉพาะ

    อย่างไรก็ตาม Haidilao นาทีนี้ยังมีกระแสต้านในจีนแผ่นดินใหญ่ ชาวเน็ตแดนมังกรหลายคนลุกขึ้นมารณรงค์ให้คว่ำบาตร Haidilao เพราะผู้ก่อตั้งย้ายสัญชาติไปเป็นคนสิงคโปร์ โดยผู้ก่อตั้ง Haidilao อย่าง Zhang Yong สามารถขึ้นครองแชมป์คนสิงคโปร์ที่ร่ำรวยที่สุดในประเทศ มูลค่าทรัยพ์สินเบาๆ 19,200 ล้านเหรียญสหรัฐ

    เฉพาะครึ่งปีแรก Haidilao เปิดร้านใหม่ราว 130 สาขาทั่วโลก ทำให้จำนวนสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 593 จากที่เคยมี 466 สาขาในปี 2018 (สถิติมิถุนายน 2019) ในจำนวนนี้มี 43 แห่งในไต้หวัน ฮ่องกง และประเทศเอเชีย คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ย 5 ร้านใหม่ต่อสัปดาห์ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ส่งให้รายได้รวมปีที่ผ่านมาพุ่งกระฉูด 11,695 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 59.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

    ภาพจาก haidilao singapore

    กำไรพุ่ง 41%

    ตัวเลขกำไรไตรมาสล่าสุดที่เพิ่งประกาศเมื่อสิงหาคม 2019 ของ Haidilao คือ 911 ล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้น 41% จำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นทำให้ Haidilao ถูกขนานนามว่าเป็น “hotpot king” ราชาหม้อไฟหม่าล่าที่เป็นกำลังสำคัญให้ Zhang Yong กลายเป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในสิงคโปร์ด้านอสังหาฯ

    แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวเนื่องจากสงครามการค้าสหรัฐฯจีน รวมถึงมีวิกฤติการประท้วงในฮ่องกง Haidilao ก็ไม่ได้รับผลกระทบทั้งที่บริษัทก็จดทะเบียนในฮ่องกง โดยช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ราคาหุ้นของ Haidilao เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทำสถิติ 35.45 ดอลลาร์ฮ่องกง จากราคาเสนอขาย IPO ครั้งแรก 17.8 ดอลลาร์ฮ่องกง

    ภาพจาก haidilao singapore

    คาดว่าหุ้นของ Haidilao จะร้อนแรงขึ้นอีก เพราะนักวิเคราะห์ประเมินว่า Haidilao จะมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 40% ในปีนี้

    หนึ่งในสิ่งที่ทำให้ Haidilao ประสบความสำเร็จคือการคิดใหม่ทำใหม่ Haidilao ถือเป็นบริษัทกลุ่มแรก ที่ใช้เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติในธุรกิจร้านอาหาร ขณะนี้มีพนักงานเสิร์ฟหุ่นยนต์ในร้านมากกว่า 179 แห่ง แถมยังมีแขนกลสำหรับการเตรียมส่วนผสมในห้องครัวทั้งส่วนหมักและส่วนซุป

    ยังมีอีกหลายลูกเล่นที่ทำให้ Haidilao ไม่ได้ขายเฉพาะหม้อไฟอย่างเดียว แต่สามารถขายประสบการณ์ในร้านได้แบบแหวกประเพณีร้านอาหารทุกชาติ การเพิ่มกิจกรรมฟรีที่ทำให้การรอคิวเป็นเรื่องสนุกทั้งการทำเล็บ พื้นที่เล่นเด็ก และอื่นๆ ทำให้ Haidilao ได้รับความสนใจจากชาวโซเชียล เห็นได้ชัดจากสถิติที่พบว่าเรื่องราวของ Haidilao ปรากฏในฐานข้อมูลรีวิวร้านอาหารของ Yelp มากขึ้น 5 เท่าตัว

    บทความรีวิวชิ้นใหม่บน Yelp ที่กล่าวถึง Haidilao เพิ่มมากขึ้นกว่า 535.3% ทำให้คะแนนของร้านหม้อไฟจีนลดลงเหลือ 4.5 จากที่ได้ 5 ดาว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกาเปิร้านหม่ที่นิวยอร์กเมื่อเดือนกรกฎาคม 2019 ส่ห้รีวิ Haidilao บน Yelp ได้รับความสนใจากขึ้น

    เสิร์ฟไวน์รุ่นเฉพาะ

    โรงกลั่นไวน์ China Tontine Wines คือพันธมิตรรายล่าสุดที่ร่วมมือกับ Haidilao International Holding เปิดตัวไวน์องุ่นรุ่นแรกที่ปรับความหวานมาเฉพาะเพื่อเสริมรสให้อาหารหม้อไฟเสฉวนสดชื่นขึ้น

    ไวน์รุ่นพิเศษจะมีวางจำหน่ายเฉพาะที่ร้าน Haidilao หลายสาขา ซึ่ง Wang Guangyuan ประธาน Tontine กล่าวว่าไวน์นี้ไม่เพียงแต่สามารถสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับบริษัท แต่ยังสามารถเพิ่มการรับรู้ของผู้บริโภคจีนให้รู้จักไวน์องุ่นมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างแบรนด์ Tontine ได้อีกทาง

    สำหรับประเทศไทย Haidilao มีกำหนดเปิดตัวที่ชั้น 7 เซ็นทรัลเวิลด์ ยังไม่มีการยืนยันกำหนดการ แต่ข้อมูลวงในย้ำว่าจะเป็นร้านขนาด 84 โต๊ะ สะท้อนความยิ่งใหญ่ไม่ธรรมดาของ Haidilao.

    ]]>
    1246124