คนไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 14 Nov 2024 08:40:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “คนไทย” รักงาน! กว่า 68% พร้อมเที่ยวไปด้วยหอบงานไปทำด้วย สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก  https://positioningmag.com/1498597 Tue, 12 Nov 2024 10:19:00 +0000 https://positioningmag.com/?p=1498597 หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านพ้นไป ภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้น โดยเฉพาะ “ธุรกิจการท่องเที่ยว” ที่แม้จะเผชิญกับปัจจัยพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รูปแบบการทำงานที่สามารถทำจากที่ไหนก็ได้ รวมถึงปัจจัยทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ถือเป็นความท้าทายใหม่ ในการปรับตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมเป็นอย่างมาก 

ท่องเที่ยวต้องยืดหยุ่น เพราะเทรนด์ “เที่ยวไปทำงานไป” ของคนไทยกำลังมา

SiteMinder ผู้ให้แพลตฟอร์มการจัดการที่พักแบบครบวงจร เปิดรายงาน SiteMinder’s Changing Traveller Report 2025 การสำรวจด้านที่พักและพฤติกรรมการเดินทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก โดยเผยว่า การท่องเที่ยวไทยในปัจจุบันมีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้น 10.1% โดยคาดการณ์ว่าในปี 2029 อุตสาหกรรมโรงแรมของประเทศไทยจะมีมูลค่าการเติบโตกว่า 1.87 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ 

จากการสำรวจยังพบว่า นักเดินทางยุคใหม่มีแนวคิดการเดินทางแบบ ‘Everything Travellerʼ คือ นักท่องเที่ยวต้องการประสบการณ์การท่องเที่ยวใหม่ ๆ และต้องการความยืดหยุ่นมากขึ้น มีการอ่านรีวิวจากโซเชียลแล้วมาลองเที่ยวเอง อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับเรื่องงบประมาณ

โดยนักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 97% ยินดีจ่ายเพิ่มสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น อาหารเช้า (67%) ห้องชมวิว (44%) หรือการเช็คอินก่อนเวลา หรือการเช็คเอาต์ล่าช้า (33%) นอกจากนี้ 94% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้น สำหรับการเข้าพักที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น รวมถึงมีแนวโน้มจะต้องการความยืดหยุ่นในเรื่องการท่องเที่ยวมากขึ้น เช่น การท่องเที่ยวแบบไม่ต้องคิดหรือวางแผนการท่องเที่ยวล่วงหน้า 

นอกจากนั้นกว่า 68% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย กลายเป็นผู้นำเทรนด์ในด้านการทำงานไปด้วยขณะเดินทางท่องเที่ยว ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย 66%, นักท่องเที่ยวชาวอินเดีย 61% ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่อยู่ที่ 41% รวมถึงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอเมริกาเหนือ (34%) และยุโรป (31%) และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2025 นักท่องเที่ยวชาวไทยกว่า 65% มีพฤติกรรมการใช้เวลาส่วนใหญ่ (30%) หรือ มีการใช้เวลาค่อนข้างมาก (35%) ไปกับการอยู่ในโรงแรมที่พักอีกด้วย

นักท่องเที่ยวไทยใช้เครื่องมือค้นหาที่พักสูงกว่าค่าเฉลี่ยถึง 39%

อัตราการจองที่พักในประเทศของนักท่องเที่ยวไทยมีการเติบโตขึ้น 9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 13% รวมถึงยังมากเป็นอันดับสาม รองจากนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย (62%) และนักท่องเที่ยวชาวจีน (56%) สืบเนื่องมาจากกการที่รัฐบาลมีมาตรการต่าง ๆ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมถึงภาคจังหวัดได้มีการปรับตัวเพิ่มกิจกรรมในแต่ละจังหวัดมากขึ้นเพื่อดึงดูดให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางไปเยี่ยมชม

ซึ่งช่องทางการจองผ่าน OTA (การจองทริปท่องเที่ยวผ่านทาง Website/Application) มีการขยายตัวกว่า 55% เนื่องจากนักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมที่พักเพื่อวางแผนท่องเที่ยวเอง และราคาส่วนลดหรือโปรโมชั่นที่เป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวไทยเลือกจองผ่าน OTA เป็นหลัก โดยสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 13% รวมถึงยังมากเป็นอันดับ 3 รองจากนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย (62%) และนักท่องเที่ยวชาวจีน (56%) 

อีกทั้ง 36% ของนักท่องเที่ยวทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะเริ่มต้นการค้นหาโรงแรมผ่านเครื่องมือค้นหาเพิ่มขึ้น 10% จากปี 2567 ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มสูงถึง 39% เพิ่มขึ้น 14% จากปีที่ผ่านมา ตามด้วยนักท่องเที่ยวชาวสิงคโปร์ 36% (ไม่ได้เข้าร่วมการสำรวจในปี 2023) นักท่องเที่ยวอินเดีย 33% เพิ่มขึ้น 6% และนักท่องเที่ยวจีน 22% เพิ่มขึ้น 13% จากปีที่แล้ว

นอกจากนั้นการสำรวจยังเผยอีกว่า 65% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย พร้อมที่จะยกเลิกการจองที่พักออนไลน์กลางคันหากได้รับประสบการณ์ที่ไม่ราบรื่น ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 52% โดยปัญหาเรื่องความปลอดภัยเป็นสาเหตุหลักอันดับต้น ๆ ที่ทําให้นักท่องเที่ยวกลุ่ม Millennials ชาวไทยกว่า 37% ทําการยกเลิกการจองออนไลน์กลางคัน ในขณะที่ กลุ่ม Baby Boomers จำนวน 36% จะยกเลิกการจอง เนื่องจากเว็บไซต์ไม่เป็นมิตรกับการใช้งานบนมือถือ

‘สุภกฤษฎิ์ แผนสมบูรณ์’ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท SiteMinder

คนไทย-อินโด เปิดใจใช้ AI วางแผนเที่ยวมากที่สุดในโลก

‘สุภกฤษฎิ์ แผนสมบูรณ์’ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท SiteMinder กล่าวว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยและอินโดนีเซีย มีการเปิดใจใช้ AI ในการประยุกต์เข้ากับการวางแผนจองที่พักและสัมผัสประสบการณ์การเข้าพักสูงถึง 98% ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวจีนที่เปิดรับการใช้ AI กับการวางแผนท่องเที่ยวสูง 96% และอินเดียที่ 94% ในขณะที่ 62% ของนักท่องเที่ยวจากทั้งแคนาดา และออสเตรเลีย รวมไปถึง 63% ของนักท่องเที่ยวจากเยอรมนี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร ยังคงไตร่ตรองถึงข้อดีของการใช้ AI มาช่วยวางแผนการท่องเที่ยวอยู่

และความชอบในการเดินทางจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงอายุ อาทิ กลุ่ม Gen Z และ Millennial ชาวไทย นิยมพักในเครือโรงแรมและรีสอร์ทขนาดใหญ่ ในขณะที่กลุ่ม Gen X นิยมที่พัก B&B และ Baby Boomers เลือกมองหาที่พักโฮสเทล โมเทล หรือโรงแรมราคาประหยัด เป็นต้น

ส่งผลให้พฤติกรรมการเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในปี 2025 มีแนวโน้มเลือกห้องพักแบบ Standard (ห้องพักมาตรฐาน) กว่า 54% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่อยู่ที่ 46% และสูงเป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจากนักท่องเที่ยวสเปน (59%) แคนาดา (55%) และอิตาลี (55%) ในทางกลับกัน มีเพียง 19% ของนักท่องเที่ยวชาวจีนเท่านั้นที่จะเลือกห้องพักแบบ Standard ในการเข้าพักครั้งถัดไป การที่นักท่องเที่ยวชาวจีนหันมาวางแผนการท่องเที่ยวด้วยตัวเองมากกว่าเลือกจองกับกรุ๊ปทัวร์ เพราะต้องการการท่องเที่ยวแบบใหม่ ลองทานอาหารรสชาติใหม่ ๆ รวมถึงอิทธิพลของโซเชียลมีเดีย ทำให้ให้ความสำคัญกับที่พักที่สวยงามและมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันมากขึ้น 

ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวเลือกให้ความสำคัญกับความสะดวกสบาย และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับสัตว์เลี้ยงมากขึ้นเมื่อทำการเลือกโรงแรมในแต่ละครั้ง โดย 76% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยให้ความสำคัญกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรกับสัตว์เลี้ยงเป็นอันดับ 1 ของโลก ตามมาด้วยนักท่องเที่ยวชาวอินโดนีเซีย (70%) อินเดีย (66%) และจีน (62%) อีกทั้งยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 30% เลยทีเดียว

]]>
1498597
มูฟออนจากโควิด! “ฮาคูโฮโด” วิจัยพบคนไทยอยากฉลอง มู้ดการจับจ่ายพุ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี https://positioningmag.com/1411615 Thu, 08 Dec 2022 14:53:55 +0000 https://positioningmag.com/?p=1411615 ข่าวดีรับสิ้นปีสำหรับผู้ประกอบการ “ฮาคูโฮโด” วิจัยพบคนไทยมูฟออนจากความกังวลเรื่องโควิด-19 ได้แล้ว บรรยากาศสิ้นปีส่งเสริมให้เกิดการเฉลิมฉลอง ความต้องการจับจ่ายซื้อสินค้าพุ่งสูงสุดในรอบ 2 ปี ‘Gen X’ นำโด่งซื้อของมากที่สุด

สถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมกับ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ทำการสำรวจรอบเดือนธันวาคม 2565 พบว่า ความรู้สึกของคนไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น และความต้องการซื้ออยู่ในจุดที่ดีที่สุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากเป็นช่วงปลายปีซึ่งทำให้คนไทยต้องการเฉลิมฉลอง จับจ่ายซื้อของเพื่อตัวเองหรือครอบครัว จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ หรือเตรียมเดินทางไปท่องเที่ยว/กลับภูมิลำเนา

ในภาพรวมความสนใจข่าวสารของคนไทยจะสะท้อนได้ว่า คนไทยกำลังรู้สึกอย่างไรและสนใจเรื่องใดเป็นพิเศษ ซึ่งในช่วงปลายปีนี้ Top 10 ข่าวสารที่คนไทยสนใจ ‘ไม่มีเรื่องโควิด-19’ ส่วนกลุ่มเรื่องที่คนไทยสนใจช่วงนี้ เช่น น้ำท่วม พายุ เศรษฐกิจ ข่าวอาชญากรรม และเรื่องที่เกี่ยวพันกับการเมือง เห็นได้ว่าจะแตกต่างจากการสำรวจเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งข่าวไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้รับความสนใจอันดับ 1

ข่าว 10 อันดับแรกที่คนไทยสนใจ รอบเดือนธันวาคม 2565

มู้ดจับจ่ายพุ่ง เสื้อผ้าขายดี คนอยากทานอาหารนอกบ้าน

ด้านอินไซต์ความต้องการซื้อสินค้าของคนไทย พบว่า แนวโน้มความต้องการซื้อ “สูงที่สุดในรอบ 2 ปี” โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 69 คะแนน จาก 100 คะแนน (เทียบกับเมื่อเดือนเมษายนเฉลี่ยอยู่ที่ 63 คะแนน) และถ้าแยกเป็นกลุ่มเพศ “ผู้หญิง” จะมีคะแนนความต้องการจับจ่ายมากกว่าค่าเฉลี่ย อยู่ที่ 70 คะแนน ซึ่งคาดว่าเกิดจากผู้หญิงมักจะนิยมซื้อของขวัญให้คนรอบข้างในช่วงสิ้นปี รวมถึงมี ‘emotional drive’ ซื้อด้วยอารมณ์อยากซื้อมากกว่า

ฮาคูโฮโดประเมินว่า ภาพรวมความต้องการซื้อที่มากขึ้นสัมพันธ์กับช่วงเทศกาลปลายปีซึ่งแบรนด์ต่างๆ จะจัดโปรโมชันสูง และบรรยากาศที่ทำให้คนไทยต้องการปลดล็อกออกมาจับจ่ายซื้อสินค้า ไม่ว่าจะให้กับตัวเองหรือเป็นของขวัญ

ในแง่สินค้าที่ผู้บริโภคต้องการจะซื้อสูงสุดในช่วงสิ้นปี 5 อันดับแรก ได้แก่ อาหาร, โทรศัพท์มือถือ, ของใช้ในชีวิตประจำวัน, เสื้อผ้า และการท่องเที่ยว

แต่ถ้ามองในกลุ่มสินค้าที่มีความต้องการซื้อ “เติบโตสูงสุด” ในช่วงสิ้นปี ได้แก่ เสื้อผ้า, โทรศัพท์มือถือ, การท่องเที่ยว, การทานอาหารนอกบ้าน และรถจักรยานยนต์

กลุ่มที่น่าสนใจคือการซื้อ ‘เสื้อผ้า’ ที่กลับมาเติบโตเพราะการออกนอกบ้านมากขึ้น รวมถึงการทานอาหารนอกบ้านก็กลับมาคึกคัก ทั้งหมดเพราะคนไทยไม่กังวลกับโควิด-19 แล้ว

 

Gen X ใช้จ่ายสูง ซื้อของขวัญให้คนรอบตัว

หากแยกความต้องการซื้อเป็นแต่ละช่วงวัย ผลปรากฏว่า คน Gen X คือวัยที่สนใจซื้อสินค้าเพิ่มมากที่สุดในช่วงปลายปี โดยคนวัย 40-49 ปี มีความต้องการซื้อ 72 คะแนน และวัย 50-59 ปี มีความต้องการซื้อ 74 คะแนน เห็นได้ว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาก

ฮาคูโฮโดพบจากการวิจัยว่า คนในวัยนี้ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีเพราะต้องการซื้อ “ของขวัญ” ให้คนรอบตัว สำหรับสานสัมพันธ์กับญาติสนิทมิตรสหายหรือให้ลูกหลาน รวมถึงเป็นกลุ่มที่นิยมหาโปรโมชันดีๆ เพื่อกักตุนสินค้าจำเป็น

อินไซต์นี้จะต่างจากคนวัย 20-29 ปี และวัย 30-39 ปี หรือกลุ่ม Gen Y จนถึง Gen Z ซึ่งจะใช้จ่ายไปกับการซื้อสินค้าเพื่อสร้าง ‘self-branding’ เช่น เสื้อผ้า ทานอาหารนอกบ้าน ไปร่วมงานอีเวนต์ เป็นสินค้าหรือกิจกรรมที่สามารถถ่ายรูปทำคอนเทนต์ลงโซเชียลได้

 

การตลาดควรเจาะมู้ด ‘เปิด’ รับสิ่งดีๆ สู่ปีใหม่ และการ ‘ให้’ ผู้อื่น

จากข้อมูลอินไซต์ข้างต้น “ธีรเมศร์ นิติจรรยาวงศ์” ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ บริษัท ฮาคูโฮโด อินเตอร์เนชั่นแนล (จำกัด) ให้แนวทางการตลาดที่ควรมีในช่วงปลายปีดังนี้

  1. คำว่า ‘เปิด’ เป็นกิมมิคที่ใช้ช่วงนี้แล้วปัง!

การจับจ่ายในช่วงท้ายปี คนไทยกำลังอินกับการเปิดรับสิ่งใหม่ ไม่ใช่แค่ให้รางวัลกับตัวเองแต่ซื้อเพื่อเติมเต็มความรู้สึกของผู้อื่นด้วย เช่น การแสดงความขอบคุณ ความรัก หรือ reconnect กับครอบครัว เพื่อก้าวสู่ปีใหม่ที่ดีกว่าเดิม ดังนั้น แบรนด์ควรกระตุ้นให้คนออกมาเปิดหูเปิดตา ด้วยกิจกรรมใหม่ๆ โดยใช้ keyword ‘การเปิด’ เพื่อสร้างอารมณ์การมีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้งในด้านการสื่อสาร (communication) และการสร้างประสบการณ์ร่วม (engagement) เช่น เปิดตู้เสื้อผ้าอัพลุคใหม่ เปิดประตูออกเดินทางไปเที่ยว

  1. ‘ผสมผสาน’ คือกลยุทธ์การตลาดที่ต้องทำ

โควิด-19 ทำให้วิถีชิวิตคนไทยเปลี่ยนอย่างถาวร ช่องทางจับจ่ายเปลี่ยนไป แบรนด์จึงต้องประเมินช่องทางสร้างประสบการณ์กับลูกค้า (touchpoint) ทุกมิติทั้งออนไลน์หรือออฟไลน์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางจำหน่าย การสื่อสาร หรือการจัดกิจกรรมกับลูกค้า จะต้องมีการผสมผสานกันไป เพราะลูกค้าจะเริ่มกลับมาหน้าร้านทางกายภาพ (physical) มากขึ้นในช่วงปลายปี ทำให้แบรนด์ที่เน้นออนไลน์มาก อาจจะต้องกลับมาพิจารณาออฟไลน์ด้วยเช่นกัน

 

ให้ข้อมูลโดย

]]>
1411615
คนไทยมองบวก ‘พร้อมเที่ยว’ ในประเทศ เน้นสถานที่ใหม่ หนุนธุรกิจท้องถิ่น ชอบเเพ็กเกจรวม https://positioningmag.com/1358033 Sun, 24 Oct 2021 12:34:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1358033 ส่องเทรนด์การท่องเที่ยวหลังโควิด คนไทย ‘มองบวก’ พร้อมออกเดินทางเที่ยวในประเทศ กว่า 1 ใน 3 มีแผนออกเที่ยวภายใน 2 เดือนแรกหลังปลดล็อก เน้นตามหาสถานที่ใหม่ๆ สนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น ชอบเเพ็กเกจรวมหลายกิจกรรมสุดคุ้ม 

Agoda (อโกด้า) แพลตฟอร์มดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยถึงผลการสำรวจในหัวข้อ เทรนด์การท่องเที่ยวเมื่อการเดินทางกลับมาอีกครั้ง ปี 2021

โดยทำการสำรวจใน 4 ประเทศคือ กลุ่มคนไทย 2,072 คน ระหว่าง 26-30 สิงหาคม 2564 คน ประเทศฟิลิปปินส์ 1,102 คน ระหว่าง 10-14 มิถุนายน 2564 คนมาเลเซีย 1,107 คน ระหว่าง 20-24 พฤษภาคม 2564 และเวียดนาม 1,103 คน ระหว่าง 15-19 กรกฎาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์

คนไทยพร้อมเที่ยว 

ผลสำรวจ ระบุว่า คนไทยส่วนใหญ่ (20%) พร้อมที่จะไปท่องเที่ยวในประเทศอีกครั้ง เมื่อข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยวถูกยกเลิก และเมื่อปลอดภัยที่จะเดินทาง รองลงมา คือ คนมาเลเซีย (12%) คนฟิลิปปินส์ (8%) และคนเวียดนาม (5%)

“คนไทยเพศชาย (50%) มีแนวโน้มที่จะท่องเที่ยวภายในประเทศภายใน 6 เดือนข้างหน้า มากกว่าคนไทยเพศหญิง (45%) เล็กน้อย” 

โดยผู้ตอบแบบสำรวจเพศชาย (22%) มีความคิดอยากออกเดินทางทันทีเมื่อข้อจำกัดด้านการท่องเที่ยวถูกยกเลิก มากกว่าผู้ตอบแบบสำรวจเพศหญิง (19%)

Gen X อยากเที่ยวมากสุด 

ภายในกรอบระยะเวลาเดียวกัน พบว่า คนไทย Gen X (1965-1980) มีความอยากท่องเที่ยวมากที่สุด 51% ตามมาด้วย millennial หรือ Gen Y (1981-1996) มีสัดส่วน 49%, baby boomer (1946-1964) สัดส่วน 47% และ Gen Z (1997-2009) สัดส่วน 41%

คนไทยส่วนใหญ่ มองว่า สถานการณ์การท่องเที่ยวภายในประเทศในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเป็นไปในแง่ดี โดย 3 ใน 5 คาดหวังว่าจะสามารถท่องเที่ยวได้อีกครั้ง ซึ่ง 38% ของคนกลุ่มนี้คาดหวังว่าจะท่องเที่ยวแบบไม่มีข้อจำกัดได้

ส่วนอีก 23% คาดหวังว่าจะท่องเที่ยวได้ แต่คงยังมีข้อจำกัด หรือต้องท่องเที่ยวผ่านแทรเวลบับเบิล (travel bubble) หรือแทรเวลคอริดอร์ (travel corridor) เท่านั้น

Happy female traveling on boat, Krabi Thailand

ตามหาสถานที่ใหม่ ๆ เช่าโรงเเรมท้องถิ่น 

ด้านพฤติกรรมนั้นพบว่า ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด-19 คนไทยไปท่องเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักมากขึ้น โดยผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ บอกว่า การไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ รองลงมาคือ การไปเที่ยวสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จักแทนสถานที่ท่องเที่ยวหลัก และการไปเที่ยวสถานที่ที่เคยไปแล้ว โดยมองในมุมใหม่

นอกจากประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยวใหม่ ๆ แล้ว ยังมองเรื่องการสนับสนุนโรงแรมอิสระ รวมถึงธุรกิจในท้องถิ่น และการจองแพ็กเกจท่องเที่ยวพิเศษ ที่มีอาหารและเครื่องดื่ม โปรโมชันสปา หรือการอัพเกรดห้องพักรวมอยู่ด้วย

ผลการสำรวจดังกล่าว ยังแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงด้านประเภทของสถานที่ท่องเที่ยวด้วย โดยอาการเบื่อบ้าน รวมถึงการต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ทำให้คนไทยหันไปสนใจการไปท่องเที่ยวชมทิวทัศน์ป่าไม้/ภูเขาและชนบท มากกว่าการไปท่องเที่ยวในเมือง/ชานเมือง

 

]]>
1358033
เจอกันหลัง COVID-19 เปิดลิสต์ “เมืองท่องเที่ยว” ที่คนไทยอยากไปมากที่สุด เมื่อพ้นวิกฤต https://positioningmag.com/1279449 Tue, 19 May 2020 11:52:21 +0000 https://positioningmag.com/?p=1279449 เชื่อว่าหลายคนกำลังเฝ้ารอคอยจะได้ไปท่องเที่ยว จดลิสต์สถานที่ต่าง ๆ เก็บไว้ เมื่อผ่านพ้นวิกฤตการเเพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เเล้วก็หวังจะเดินทางไปเยี่ยมชมให้ได้

เจาะลึกลงในอันดับ Wish-list หรือรายการที่พักโปรดนับล้านแห่งบนจุดหมายปลายทางกว่า 100,000 แห่ง ที่รวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวที่หวังจะได้ท่องเที่ยวอีกครั้งบนแพลตฟอร์มของ Booking.com ตลอดช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเริ่มตั้งแต่เดือน มี.ค. เผยให้เห็นจุดหมายปลายทางและที่พักที่ผู้คนตั้งตาคอยเมื่อสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้อีกครั้ง

ที่เห็นได้ชัดคือ การท่องเที่ยวในฝันของคนทั่วโลก เปลี่ยนมาเน้นที่การเดินทาง “ภายในประเทศ” มากขึ้น เมื่อเทียบกับ Wish-list ของที่พักในประเทศที่เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

แหล่งท่องเที่ยวในเมืองและติดชายหาด อย่างกรุงเทพฯ, หัวหิน, เชียงใหม่, เกาะช้าง และหาดจอมเทียนติดอันดับ Wish-list จุดหมายปลายทางของชาวไทยระหว่างช่วงกักตัว

โดยคนไทยอยากจะพัก “โรงเเรม” มากที่สุดบน Wish-list สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเล็กน้อย ขณะที่ 1 ใน 5 นักท่องเที่ยวชาวไทยหรือราว 21% ที่ใช้ Booking.com ต้องการเข้าพักในรีสอร์ต สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ต้องการเข้าพักในรีสอร์ตเพียง 6%

-หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ Photo : Booking.com

“อยากไปทะเล” คนไทยเลือกเที่ยวในประเทศเพิ่มขึ้น

จุดหมายปลายยอดนิยมในต่างประเทศ เช่น บาหลี, อันดาลูเซีย, ลอนดอน, ฟลอริดา และปารีส ยังคงเป็นเป้าหมายการเดินทางหลักที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้คนทั่วโลก

ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวภายในประเทศก็ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยมีสัดส่วนมากกว่าครึ่ง หรือ 51 % ของ Wish-list ทั่วโลกระหว่างช่วงสถานการณ์ครั้งนี้ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 1 ใน 3 (หรือ 33 %)
สำหรับ Wish-list ของประเทศไทย นักท่องเที่ยวนิยมจุดหมายปลายทางในประเทศสูงถึง 72% ในขณะที่ปี 2562 อยู่ที่เพียง 54 %

โดยตั้งแต่เริ่มเดือน มี.ค. อันดับ Wish-list สำหรับจุดหมายปลายทางยอดนิยมในประเทศของคนไทย ได้แก่ กรุงเทพฯ, หัวหิน, เชียงใหม่, เกาะช้าง และหาดจอมเทียน บ่งชี้ให้เห็นว่าเมืองที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและวัฒนธรรม ตลอดจนเมืองติดชายหาด เป็นสิ่งแรกที่นักท่องเที่ยวชาวไทยจินตนาการถึงเมื่อต้องกักตัวเป็นเวลาหลายสัปดาห์

Booking.com เผยว่าสิ่งที่อาจทำให้จุดหมายปลายทางเหล่านี้เป็นที่นิยมและดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยคือประสบการณ์ความตื่นเต้นต่างๆ ที่ได้จากจุดหมายปลายทางเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น ตลาดกลางคืน อาหารหลากหลายประเภท ตลอดจนกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ ทั้งการดำน้ำหรือขี่ม้า

10 อันดับ จุดหมายปลายทางยอดนิยมในประเทศไทย

1.กรุงเทพฯ
2.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์
3.เชียงใหม่
4.เกาะช้าง จ.ตราด
5.หาดจอมเทียน จ.ชลบุรี
6.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี
7.หาดป่าตอง จ.ภูเก็ต
8.ชะอำ จ.เพชรบุรี
9.พัทยาใต้ จ.ชลบุรี
10.อ่าวนาง จ.กระบี่

10 อันดับ จุดหมายปลายทางต่างประเทศยอดนิยมสำหรับคนไทย

1.โตเกียว (ญี่ปุ่น)
2.โซล (เกาหลีใต้)
3.โอซาก้า (ญี่ปุ่น)
4.สิงคโปร์
5.อูบุด-บาหลี (อินโดนีเซีย)
6.ลอนดอน (สหราชอาณาจักร)
7.กัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย)
8.ไทเป (ไต้หวัน)
9.ปารีส (ฝรั่งเศส)
10.ดานัง (เวียดนาม)

 

ข้อมูลจาก Booking.com ระบุว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยเฝ้าใฝ่ฝันที่จะเปลี่ยนบรรยากาศและมีโอกาสที่จะเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การพักผ่อนนอกบ้าน โดยประเภทของห้องพักที่ชาวไทยต้องการเข้าพักมากที่สุดคือ โรงแรมรีสอร์ต อพาร์ตเมนต์ เกสต์เฮาส์ และโฮสเทล ตามลำดับ

โดยโรงแรมมีอัตราส่วนความต้องการเข้าพักสูงถึง 42% ตลอดช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา มากกว่าค่าเฉลี่ยนทั่วโลกที่ 40% เล็กน้อย

สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือนักท่องเที่ยวชาวไทยชอบเข้าพักในรีสอร์ตมากกว่าค่าเฉลี่ยนักเดินทางทั่วโลก โดยมีนักท่องเที่ยวทั่วโลกเพียง 6% เลือกรีสอร์ตเป็นพักใน Wish-list ในขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยมากถึง 21% เลือกรีสอร์ตเป็น Wish-list สำหรับ 3 ที่พักได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทยบน Wish-list ได้แก่

1.The Quarter Ari by UHG
2.Coral Tree Villa Huahin
3.The Yana Villas Hua Hin

ทั้งนี้ ระเบียบวิธีเก็บข้อมูล อ้างอิงจากการเปรียบเทียบข้อมูลใน Booking.com ระหว่างเดือน มี.ค. ถึง เม.ย. 2563 กับเดือนเดียวกันในปี 2562 โดยลูกค้าใน Booking.com เพิ่มที่พักเป็น Wish-list ได้ด้วยการคลิกที่ปุ่ม “หัวใจ” (Heart) ที่มีอยู่บนทุกรายชื่อที่พักบนแพลตฟอร์มของ Booking.com

COVID-19 ฉุด RevPAR ธุรกิจโรงแรมไทยปีนี้ ลดลง 55-65%

จากรายงานของ ศูนย์วิจัย EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ คาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยในปี 2563 จะหดตัวลง 67% จาก 39.8 ล้านคนในปี 2562 เหลือเพียง 13.1 ล้านคน จากการที่รัฐบาลของหลายประเทศดำเนินมาตรการห้ามประชาชนของตนเองเดินทางออกนอกประเทศ การยกเลิกเที่ยวบินจำนวนมากของสายการบินทั่วโลก

ประกอบกับความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของ COVID-19 และด้วยสภาวะเศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอย จนส่งผลกระทบต่อรายได้ของชาวต่างชาติและส่งผลกระทบต่อเนื่องถึงการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยว และในที่สุดแล้วอาจจะเลือกเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของตนเองหรือในประเทศละแวกใกล้เคียงภายในภูมิภาคของตนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

จำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงดังกล่าว ทำให้ EIC คาดว่า ค่าห้องพักเฉลี่ยต่อห้องพักที่ขายได้ (RevPAR) ของธุรกิจโรงแรมไทยจะลดลง 55-65% ในปี 2563 โดยคาดว่าอัตราการเข้าพัก เฉลี่ยทั่วประเทศของปีนี้ จะลดลงประมาณ 35-40% ในขณะที่ค่าห้องพักเฉลี่ยจะลดลง 20-25% ดังนั้นจึงทำให้โรงแรมเกือบทุกแห่งประสบกับสภาวะขาดทุนจากการดำเนินงานและอาจมีโรงแรมบางแห่งจำเป็นต้องปิดกิจการ โดยเฉพาะโรงแรมขนาดกลางเเละเล็กที่มีเงินทุนไม่มากนัก และไม่สามารถทนต่อสภาวะขาดสภาพคล่องติดต่อกันได้ยาวนานหลายเดือน

 

]]>
1279449
ตามติด “วิถีคนรวย” เอเชียแปซิฟิก ซื้อของหรู ช้อปจิวเวลรี ติดโซเชียล จ่ายเพื่อรักษ์โลก https://positioningmag.com/1258870 Sun, 29 Dec 2019 18:00:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1258870 จากสถิติในเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนคนมั่งคั่งสูงถึง 18% ของประชากรทั้งหมด นับเป็น 20.64 ล้านคน หรือมีรายได้เฉลี่ยร่วม 20 ล้านล้านบาทต่อเดือน สำหรับคนเอเชีย และ 1 แสนล้านบาทสำหรับคนไทย  

Ipsos Thailand เปิดเผยผลสำรวจ “วิถีชีวิตกลุ่มคนมั่งคั่งในเอเชีย” โดยคนรวยชาวไทยกว่า 62% เต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่าสำหรับสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และ 53% ยินดีที่จะอุดหนุนสินค้าของไทย นับเป็นอัตราที่สูงกว่าคนมั่งคั่งชาวเอเชีย โดยผลวิจัยจากชุดนี้นับเป็นการศึกษากลุ่มคนมั่งคั่งขนาดใหญ่และทำต่อเนื่องมาร่วม 2 ทศวรรษ

สำหรับข้อมูลวิจัย “วิถีชีวิตกลุ่มคนมั่งคั่งในเอเชีย” เป็นการศึกษาพฤติกรรมของกลุ่มคนมีฐานะ หรือบุคคลที่มีความร่ำรวยในหลากหลายมุม เช่น การใช้สื่อ การใช้จ่าย การท่องเที่ยว รวมถึงความสนใจต่อสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ตลอดจนทัศนคติ และความสนใจส่วนตัวของพวกเขา

โดยรายงานชุดนี้ได้มีการริเริ่ม และเปิดเผยต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในปี 2540 เบื้องต้นทำการศึกษาเพียง 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียเท่านั้น ปัจจุบันการศึกษานี้ได้มีการขยายขอบเขตการสำรวจครอบคลุมถึง 11 ประเทศทั่วเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย 

วิถีชีวิตที่หรูหราแบบใหม่

ผลการศึกษาชุดนี้นับเป็นข้อมูลชุดสำคัญที่สามารถช่วยให้บริษัทที่เกี่ยวข้องเข้าใจ ปรับตัว และสามารถก้าวขึ้นมาเป็น Game Changers ให้ทันยุคที่แนวโน้มของความหรูหราได้กลายเป็น Truly Luxury หรือความหรูหราที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่สิ่งของภายนอก แต่เป็นความหรูหราที่สะท้อนมาจากความคิดและคุณค่าที่มีอยู่ของแต่ละบุคคล เรียกได้ว่าเป็น “วิถีชีวิตที่หรูหราแบบใหม่” 

ลักษณะของกลุ่มคนมั่งคั่งนี้เป็นกลุ่มคนที่มักจะคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด รักในการท่องเที่ยว และเต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่าสำหรับสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ โดยคนรวยชาวไทยกว่า 62% เต็มใจที่จะจ่ายแพงกว่าสำหรับสินค้าที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และ 53% ยินดีที่จะอุดหนุนสินค้าของไทย นับเป็นอัตราที่สูงกว่าคนมั่งคั่งชาวเอเชีย

อ่านเพิ่มเติม : The 1 Insight 2020 : เจาะลึกการใช้จ่ายของ “คนรวยยุคใหม่” ไลฟ์สไตล์ต้องมาก่อน

คนมั่งคั่งในไทยมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย

จากสถิติพบว่าในเอเชียแปซิฟิกมีจำนวนคนมั่งคั่งสูงถึง 18% ของประชากรทั้งหมด นับเป็น 20.64 ล้านคน โดยมีสัดส่วนระหว่างชายกับหญิงในจำนวนเท่าๆ กัน และหากพิจารณาถึงระดับรายได้ต่อครัวเรือนของคนกลุ่มนี้พบว่าโดยเฉลี่ยชาวเอเชียมีรายได้ครัวเรือนต่อเดือนอยู่ที่ 5,477 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.6 แสนบาท

อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนมั่งคั่งที่ไทยมีรายได้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย โดยคนไทยมีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่เพียง 4,826 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.4 แสนบาทเท่านั้น ทั้งนี้ กว่า 87% ของกลุ่มดังกล่าวนี้จะมีการศึกษาอย่างต่ำในระดับปริญญาตรี หรือสูงกว่า

ที่มา : mgronline

ช้อปปิ้งของหรู จ่ายหนักจิวเวลรี นาฬิกาเเละไวน์ 

กลุ่มคนร่ำรวยในเอเชียแปซิฟิกนิยมซื้อของดี ชอบจิวเวลรี นาฬิกาหรู เครื่องแต่งกายที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชื่อดัง รองเท้า และเครื่องประดับต่างๆ ในแง่ของพฤติกรรมการช้อปปิ้งของกลุ่มคนที่มีรายได้สูง พวกเขามักจะเลือกคัดสรรผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดที่สามารถตอบสนองความต้องการและรูปแบบไลฟ์สไตล์ของตนเอง 

จากสถิติพบว่าภายใน 12 เดือนที่ผ่านมากลุ่มคนมั่งคั่งทั้งในเอเชียและประเทศไทยมีการใช้จ่ายกับ

  • จิวเวลรี มีมูลค่าถึง 9,999 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3 แสนบาท 
  • นาฬิกาหรู มีราคาถึง 1,999 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 6 หมื่นบาท 
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ มีมูลค่าสูงถึง 4,999 ดอลลาร์สหรัฐ ราว 1.5 แสนบาท

โดยเเบ่งเป็น 

สินค้าจิวเวลรี – คนรวยในเอเชีย 55% คนรวยไทย 47%
นาฬิกาหรู – คนรวยในเอเชีย 35% คนรวยไทย 46%
ไวน์ – คนรวยในเอเชีย 53% คนรวยไทย 44%
เครื่องดื่มเเอลกอฮอล์ – คนรวยในเอเชีย 47% คนรวยไทย 46% 

จากการศึกษาที่พิจารณาถึงเปอร์เซ็นต์ของการครอบครองสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 3 หมื่นบาท ในกลุ่มของคนมีฐานะทั้งในเอเชียแปซิฟิก และประเทศไทยจะพบว่า กลุ่มคนมั่งคั่งในไทยมีเปอร์เซ็นต์การเป็นเจ้าของเสื้อผ้าหรือเครื่องหนังที่มีดีไซน์เฉพาะ ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยในแถบเอเชียแปซิฟิก แต่สำหรับสินค้าประเภทเครื่องประดับและรองเท้านั้นจะมีสัดส่วนในอัตราที่ใกล้เคียงกัน

เที่ยวต่างประเทศอย่างน้อย 4 ทริปต่อปี ญี่ปุ่นฮิตสุด 

ญี่ปุ่นถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวเป้าหมายอันดับหนึ่งของกลุ่มคนรวยในทวีปเอเชีย ตามด้วยฮ่องกง และเดินทางปีละอย่างต่ำ 4 ทริป

การท่องเที่ยวถือเป็นหนึ่งในไลฟ์สไตล์ที่กลุ่มคนมีฐานะชาวเอเชียชื่นชอบมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความจำเป็นในการเดินทางเพื่อธุรกิจ และผู้ที่ชอบเดินทางเพื่อการพักผ่อน 

จากสถิติพบว่าคนเหล่านี้จะมีการเดินทางไปต่างประเทศอย่างน้อย 4 ครั้งต่อปี โดยกว่า 33% ของกลุ่มคนรวยในไทย และ 22% ของคนในเอเชียแปซิฟิกเลือกที่จะไปประเทศญี่ปุ่น ตามด้วยฮ่องกงในอัตรา 19% และ 14% ตามลำดับ 

โดยรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงมากในกลุ่มคนมั่งคั่งในประเทศไทยคือ การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ หรือเพื่อสุขภาพ ตามด้วยการท่องเที่ยวภายในประเทศ ที่มีค่าชี้วัดมากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเกิน 1 เท่าตัว และ 50% ตามลำดับ

คนรวยในเอเชียเสพสื่อทุกแพลตฟอร์ม  

“คนมั่งคั่งในเอเชียเสพสื่อทุกแพลตฟอร์ม รวมถึงทีวี และแมกกาซีนต่างประเทศ และยึดสื่อโซเชียล เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของชีวิตเลยทีเดียว” 

สำหรับรูปแบบสื่อที่กลุ่มเป้าหมายที่มั่งคั่งในเอเชียชื่นชอบนั้นเรียกได้ว่าครอบคลุมแทบทุกแพลตฟอร์ม แต่มีการใช้เวลากับเว็บไซต์ และแอปต่างๆ สูงสุด ตามมาด้วย ทีวี หนังสือพิมพ์ และแมกกาซีน สำหรับกลุ่มคนมีรายได้สูงชาวไทยจะใช้เวลากับแอปและเว็บไซต์มากกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชีย โดยชอบทั้ง 2 แพลตฟอร์มทั้งสื่อรูปแบบดั้งเดิม และสื่อใหม่ดิจิทัล

คนมั่งคั่งในเอเชียแปซิฟิก และคนมีรายได้สูงชาวไทยต่างมีความนิยมในการเสพสื่อทีวี และนิตยสารต่างประเทศเหมือนๆ กัน เพียงแต่มีสัดส่วนที่แตกต่างกัน โดย 44% เป็นอัตราสำหรับคนมีรายได้สูงในเอเชียแปซิฟิก และ 50% ของคนมีรายได้สูงชาวไทย

ส่วนสื่อโซเชียล นับได้ว่าเป็นสื่อที่แทบจะถือเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของกลุ่มคนมั่งคั่งทั้งหลาย สำหรับกลุ่มคนมั่งคั่งชาวเอเชียแปซิฟิกนั้นมีความนิยมใช้ช่องทางต่างๆ ดังนี้

  • Facebook  69% 
  • YouTube 63% 
  • Instagram 42% 
  • LinkedIn 21% 

คนรวยไทยใช้โซเชียลนานสุด 

ด้านคนรวยชาวไทยนิยมใช้ช่องทาง 

  • Facebook 94%
  • YouTube 90% 
  • Instagram 61% 
  • LinkedIn 18%

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มคนมีฐานะในประเทศไทยใช้เวลากับโซเชียลมีเดียต่างๆ สูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มคนมั่งคั่งในเอเชีย คนไทยใช้เวลากับแพลตฟอร์มเหล่านี้มากกว่า 500 นาทีภายในระยะเวลา 7 วันที่ผ่านมา หรือราวๆ 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่เพียง 6 ชั่วโมงเท่านั้น

ยอมจ่ายเพื่อรักษ์โลก

มากกว่า 1 ใน 3 ของกลุ่มคนมีฐานะในภูมิภาคเอเชียให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมของโลกมากกว่าการใช้จ่ายเพื่อเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และยินดีที่จะสนับสนุนสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ

โดย 53% ของกลุ่มคนมั่งคั่งชาวเอเชียในยุคปัจจุบันเปิดเผยว่า พวกเขาพร้อมและยินดีที่จะจ่ายมากกว่าสำหรับสินค้าหรือบริการที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และอีก 47% ยังยินดีที่จะซื้อหรืออุดหนุนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ 

เป็นที่น่าสนใจว่ากลุ่มคนมีฐานะในประเทศไทยถึง 63% ยินดีที่จะจ่ายมากกว่าสำหรับสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ 53% ระบุว่ามีความยินดีที่จะอุดหนุนสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่ากลุ่มคนมั่งคั่งชาวเอเชียอย่างมีนัยสำคัญ

 

Source

]]>
1258870