คอนเทนต์ไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Fri, 25 Oct 2024 02:57:13 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 CEA เปิดตลาดกลาง “Content Project Market” จับคู่นายทุนช้อปคอนเทนต์จากคนสร้างหนัง https://positioningmag.com/1495293 Thu, 24 Oct 2024 09:21:15 +0000 https://positioningmag.com/?p=1495293 CEA ผุดตลาดกลาง “Content Project Market” เปิดโอกาสจับคู่ระหว่างนายทุนกับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ภาพยนตร์ ซีรีส์ แอนิเมชัน เพื่อดีลลงทุนพัฒนาเชิงพาณิชย์ส่งคอนเทนต์เข้าโรงภาพยนตร์-สตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม ปีนี้มีคอนเทนต์ผ่านการคัดเลือก 59 เรื่อง ดึงนักลงทุนเข้าร่วมได้ 64 บริษัททั้งจากในไทย เวียดนาม สิงคโปร์ และเกาหลีใต้

2567 เป็นปีที่ 2 ที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) เปิดโครงการ “Content Lab” ขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ชาวไทย จัดแคมป์บ่มเพาะบุคลากรในสายวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตภาพยนตร์ ซีรีส์ และแอนิเมชัน เช่น ผู้กำกับ โปรดิวเซอร์ นักเขียนบท

แคมป์ Content Lab จะแบ่งตามระดับความเชี่ยวชาญของนักสร้างสรรค์ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น (Newcomers), ระดับกลาง (Mid-Career) และขั้นสูง (Advanced) โดยแคมป์เหล่านี้มีการจัดอบรมกันมาตลอดทั้งปี 2567 จนมาถึงโค้งสุดท้ายคือขั้นตอนการนำเสนอไอเดีย เนื้อหา และคอนเซ็ปต์ของคอนเทนต์เพื่อการซื้อขาย (Pitch Deck)

Content Project Market

“ดร.ชาคริต พิชญางกูร” ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) กล่าวว่า CEA มีการจัดงาน “Content Project Market” ขึ้นเพื่อต่อยอดผลักดันให้คอนเทนต์ของไทยมีโอกาสได้รับการลงทุนสร้างเป็นสื่อเชิงพาณิชย์ได้จริง เป็นพื้นที่การพบปะพูดคุยและนำเสนอระหว่างนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ (sellers) และกลุ่มนักลงทุน (buyers)

ในปีนี้กลุ่มนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการให้เข้าสู่ตลาดกลาง Content Project Market มีทั้งหมด 59 โปรเจ็กต์ โดยแบ่งเป็นโปรเจ็กต์ที่เกิดจากบ่มเพาะใน Content Lab 2024 ทั้งหมด 37 โปรเจ็กต์ และมาจากการเปิดรับสมัครเพิ่ม (Open Call) อีก 22 โปรเจ็กต์

ฟากฝั่งนักลงทุนที่ตอบรับคำเชิญมารับฟังเวที Pitch Deck และการจับคู่ทางธุรกิจแบบตัวต่อตัวมีทั้งหมด 64 บริษัท มีทั้งค่ายผู้ผลิตภาพยนตร์/ซีรีส์และกลุ่มสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มที่ต้องการลงทุนออริจินอลคอนเทนต์ เช่น บริษัท เนรมิตหนัง ฟิล์ม จำกัด, บริษัท ทรู ซีเจ ครีเอชั่นส์ จำกัด, บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จำกัด, บริษัท ไอ-ฉีอี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ฯลฯ ในจำนวนนี้มี 3 บริษัทที่เป็นนักลงทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาร่วมงานด้วย ได้แก่ Skyline Media Group จากเวียดนาม, Mocha Chai Laboratories จากสิงคโปร์ และ Barunson E&A จากเกาหลีใต้

ดร.ชาคริตกล่าวต่อว่า งานครั้งนี้มีการจัดนัดจับคู่ทางธุรกิจล่วงหน้า (Pre-matching) มาแล้วกว่า 300 คู่ ซึ่งทาง CEA คาดหวังว่าจะมีคู่ที่สามารถตกลงทางธุรกิจได้สำเร็จไม่ต่ำกว่า 10-20% ของทั้งหมด นำไปสู่การสร้างคอนเทนต์จริงเพื่อจัดฉายต่อไปไม่ว่าจะในโรงภาพยนตร์หรือสตรีมมิ่งแพลตฟอร์ม

ด้าน “หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล” ประธานอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านภาพยนตร์ กล่าวว่า การจัด Content Project Market จับคู่ระหว่างนักลงทุนคอนเทนต์กับนักสร้างสรรค์ในลักษณะนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีในอุตสาหกรรมคอนเทนต์เมืองไทย จากที่ผ่านมานักสร้างสรรค์คอนเทนต์จะต้องหาทางเข้าหานักลงทุนด้วยตนเองหากต้องการ Pitch ไอเดีย

“Content Project Market จะเป็นต้นน้ำในการเชื่อมโปรเจ็กต์เข้ากับเงินทุนที่มีในตลาด และวางเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนมากขึ้น” หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรีกล่าว “ต่อไปเราควรจะผลักดันให้เป็นตลาดประจำปีที่มีนักลงทุนจากทั่วโลกบินเข้ามาช้อปคอนเทนต์ เหมือนอย่างงาน FILMART ของฮ่องกง หรืองาน ATF สิงคโปร์”

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี กล่าวด้วยว่า โครงการ Content Project Market มองอนาคตจะต่อยอดเป็นตัวกลางในการสร้างดาต้าเบสเก็บข้อมูลคอนเทนต์ทุกเรื่องที่เข้ามาในตลาดไว้ เพราะถึงแม้โปรเจ็กต์นั้นๆ อาจจะยังไม่ได้นักลงทุนในปีแรกที่เข้าสู่ตลาด แต่ในปีต่อๆ ไปอาจจะมีนักลงทุนมาเลือกช้อปและนำไปผลิตได้

 

อุตฯ คอนเทนต์ไทยยังติดเรื่องการ “Pitch” ให้ถึงเครื่อง

ในแง่ความต้องการคอนเทนต์ไทยในตลาดนั้น หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรีมองว่าในรอบหลายปีที่ผ่านมาคอนเทนต์ไทยถือว่ากำลังเข้าสู่ยุคทอง เพราะพิสูจน์แล้วว่าได้รับเสียงตอบรับในตลาดสากลสูงขึ้นเรื่อยๆ ภาพยนตร์มีโอกาสได้ฉายโรงต่างประเทศเพิ่มขึ้น เช่น “หลานม่า” ที่ได้ฉายในหลายประเทศจนกวาดรายได้รวมไปมากกว่า 1,500 ล้านบาท หรือ “สัปเหร่อ” ที่ได้จัดจำหน่ายฉายในประเทศญี่ปุ่นสำเร็จ บนสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มเองคอนเทนต์ไทยก็ได้รับการยอมรับ เช่น “สืบสันดาน” ขึ้นสู่ Top 10 ซีรีส์ภาษาต่างประเทศที่มียอดเข้าชมบน Netflix สูงที่สุดทั่วโลก

บรรยากาศอุตสาหกรรมคอนเทนต์ในประเทศไทยเองก็มีการปรับตัวจากเดิมที่เดินในแนวทางของตนเอง มาเป็นการร่วมมือกันทำงานและพัฒนาด้วยกันมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรร่วมกันในวงการ

หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรีกล่าวว่า ในแง่บุคลากรในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ไทยยังมีหลายตำแหน่งที่ขาดแคลนมาก เช่น โปรดิวเซอร์ ผู้ช่วยผู้กำกับ ทีมอาร์ต และหนึ่งในบุคลากรที่ขาดรุนแรงในอุตสาหกรรมนี้คือ “Pitch Team” ในประเทศไทยมีบุคลากรที่เชี่ยวชาญในด้านนี้ไม่เกิน 40 คน ซึ่งทำให้เกิดคอขวดในการนำเสนอไอเดียเรียกความสนใจจากนายทุน ยิ่งเป็นนายทุนจากต่างประเทศยิ่งยากลำบากมากขึ้นเพราะเพิ่มอุปสรรคด้านภาษาทับซ้อนเข้าไปอีก

งาน Content Project Market จึงน่าจะช่วยยกระดับทักษะการ Pitching ของคนทำคอนเทนต์ไทยไปอีกระดับ สร้างบุคลากรกลุ่มที่จะเปิดโอกาสให้นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ดึงเม็ดเงินทุนสร้างเข้ามาได้มากขึ้น

]]>
1495293
10 อันดับคอนเทนต์ไทยบน “Netflix” ที่มีชั่วโมงการรับชมสูงสุด ครึ่งปีแรก 2023 https://positioningmag.com/1460742 Mon, 29 Jan 2024 09:02:57 +0000 https://positioningmag.com/?p=1460742 สำหรับคนที่อยากรู้ว่าคอนเทนต์บน “Netflix” แต่ละเรื่องมีคนดูมากแค่ไหน ความปรารถนาของคุณเป็นจริงแล้ว เพราะสตรีมมิ่งเจ้านี้จะเริ่มเปิดเผยข้อมูลยอดรับชมของคอนเทนต์ทั้งหมดบนแพลตฟอร์ม!

ข้อมูลนี้ออกมาในรูปแบบรายงานชื่อ What We Watched: A Netflix Engagement Report โดยจะประกาศข้อมูลทุกๆ ครึ่งปี ครั้งแรกที่มีการประกาศคือเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2023 เป็นข้อมูลรอบวันที่ 1 มกราคม 2023 – 30 มิถุนายน 2023

รายงานนี้เปิดข้อมูลแบบละเอียดจริงๆ เพราะสามารถดาวน์โหลดตาราง Excel มาอ่านเองได้เลย ภายในแสดงข้อมูลคอนเทนต์ทั่วโลกรวมทั้งหมดกว่า 18,000 เรื่อง! ครอบคลุมคอนเทนต์ 99% ที่มีอยู่บน Netflix ไม่ว่าจะเป็นออริจินอลหรือเป็นการซื้อลิขสิทธิ์มาฉาย

การรายงานนี้จะไม่นับเป็นจำนวนครั้งหรือจำนวนบัญชีที่เข้าไปดู แต่คิดเป็น ‘จำนวนชั่วโมง’

สะท้อนให้เห็นว่า Netflix ต้องการวัดคุณภาพของคอนเทนต์ คนดูต้องชื่นชอบจริงๆ ถึงจะเปิดดูจนจบเรื่อง หรือกดดู EP. ต่อไปและต่อไปเรื่อยๆ รวมถึงถ้าแฟนคลับบัญชีเดิมกดดูวนไปซ้ำๆ ก็ถือว่าเป็นคอนเทนต์ที่ดีเช่นกัน

10 อันดับแรกคอนเทนต์ที่มีชั่วโมงการรับชมสูงสุดบน Netflix ทั่วโลก รอบครึ่งปีแรก 2023
  1. The Night Agent SS1
    ซีรีส์แอคชั่น ภาษาอังกฤษ
    812 ล้านชั่วโมง
  2. Ginny & Georgia SS2
    ซีรีส์คอมเมดี้ ภาษาอังกฤษ
    665 ล้านชั่วโมง
  3. The Glory SS1
    ซีรีส์ดราม่า ภาษาเกาหลี
    623 ล้านชั่วโมง
  4. Wednesday SS1
    ซีรีส์แฟนตาซีสยองขวัญ ภาษาอังกฤษ
    508 ล้านชั่วโมง
  5. Queen Charlotte: A Bridgerton Story
    ซีรีส์โรแมนติกคอมเมดี้ ภาษาอังกฤษ
    503 ล้านชั่วโมง
  6. You SS4
    ซีรีส์เขย่าขวัญ ภาษาอังกฤษ
    441 ล้านชั่วโมง
  7. La Reina del Sur SS3
    ซีรีส์ดราม่าระทึกขวัญ ภาษาสเปน
    430 ล้านชั่วโมง
  8. Outer Banks SS3
    ซีรีส์แอคชั่นผจญภัย ภาษาอังกฤษ
    403 ล้านชั่วโมง
  9. Ginny & Georgia SS1
    ซีรีส์คอมเมดี้ ภาษาอังกฤษ
    302 ล้านชั่วโมง
  10. FUBAR SS1
    ซีรีส์แอคชั่นคอมเมดี้ ภาษาอังกฤษ
    266 ล้านชั่วโมง

จากข้อมูลคอนเทนต์ยอดนิยม Netflix เล็งเห็นข้อมูลที่น่าสนใจหลายอย่าง เช่น 30% ของการรับชมคอนเทนต์บน Netflix เป็นการชมคอนเทนต์ที่ ‘ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ’ ตัวอย่างใน Top 10 มีคอนเทนต์ถึง 2 เรื่องที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษ คือ The Glory (เกาหลี) และ La Reina del Sur (สเปน)

ฝั่งอุตสาหกรรมบันเทิงไทยก็มีความร่วมมือกับ Netflix ในการผลิตหรือลงสตรีมคอนเทนต์ที่ใช้ภาษาไทยดำเนินเรื่องเช่นกัน โดย Positioning เจาะตาราง Excel ของ Netflix และจัดลำดับข้อมูลดังนี้

10 อันดับคอนเทนต์ไทยบน “Netflix” ที่มีชั่วโมงการรับชมสูงสุด ครึ่งปีแรก 2023
  1. Hunger คนหิวเกมกระหาย
    ภาพยนตร์ดราม่า
    92.3 ล้านชั่วโมง
  2. Royal Doctor หมอหลวง ซีซัน 1
    ซีรีส์ย้อนยุคคอมเมดี้
    24.3 ล้านชั่วโมง
  3. Girl from Nowhere เด็กใหม่ ซีซัน 1
    ซีรีส์ดราม่าระทึกขวัญ
    14.2 ล้านชั่วโมง
  4. DELETE ซีซัน 1 (*)
    ซีรีส์ดราม่าระทึกขวัญ
    8.0 ล้านชั่วโมง
  5. Nak นางนาค สะใภ้พระโขนง
    ซีรีส์ย้อนยุคโรแมนติก
    8.0 ล้านชั่วโมง
  6. Moo 2 หมู่ 2
    ภาพยนตร์ตลกเดี่ยวไมโครโฟน
    4.9 ล้านชั่วโมง
  7. To the Moon and Back มาตาลดา ซีซัน 1
    ซีรีส์โรแมนติก
    3.9 ล้านชั่วโมง
  8. Bad Romeo คือเธอ ซีซัน 1
    ซีรีส์โรแมนติก
    3.8 ล้านชั่วโมง
  9. Oh My Girl รักจังวะ..ผิดจังหวะ
    ภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้
    3.6 ล้านชั่วโมง
  10. Love Destiny the Movie บุพเพสันนิวาส ๒
    ภาพยนตร์ย้อนยุคโรแมนติก
    3.4 ล้านชั่วโมง

(*) ซีรีส์เรื่อง DELETE เข้าสตรีมมิ่งวันที่ 28 มิถุนายน 2023 ทำให้มีเวลาเพียง 3 วันในการจัดอันดับรอบนี้

คอนเทนต์ภาษาไทยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในรอบนี้คือ “Hunger คนหิวเกมกระหาย” มีชั่วโมงรับชมที่สูงเป็นอันดับ 110 ของโลก และยิ่งน่าประทับใจหากมองว่านี่คือชั่วโมงรับชมของ “ภาพยนตร์” เรื่องหนึ่งที่มีความยาวประมาณ 2 ชั่วโมงกว่า แปลว่าถ้ามีการรับชมคนละหนึ่งครั้ง จะเท่ากับมีผู้ชมหนังไทยเรื่องนี้ประมาณ 46 ล้านคนทั่วโลก

สิ่งที่น่าสนใจอีกประเด็นจาก 10 อันดับแรก คือดูเหมือนว่าคอนเทนต์ไทยจะได้รับความนิยมในกลุ่ม “ย้อนยุค” และ “โรแมนติก” มีถึง 3 คอนเทนต์ในการจัดอันดับที่เป็นเรื่องราวย้อนยุคในอดีต และมีถึง 5 เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวความรักเป็นหลัก

น่าติดตามต่อว่าคอนเทนต์ไทยบน Netflix ในรอบครึ่งปีหลัง 2023 จะมีเรื่องใดที่ประสบความสำเร็จ เอาชนะใจคนดูบนแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งได้อีกบ้าง!

]]>
1460742