คอนเสิร์ต COVID-19 – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 10 Nov 2020 23:12:41 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 กรณีศึกษา : ทำการตลาด CRM เชื่อมใจด้วย Virtual Concert อย่างไร เมื่อลูกค้ากลุ่มใหญ่เป็นวัย 40+ https://positioningmag.com/1304439 Tue, 10 Nov 2020 16:30:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1304439 การสร้างเเละรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) ในช่วงวิกฤต COVID-19 กลายเป็นความท้าทายใหม่” ในการทำตลาดของเเบรนด์ต่างๆ ไปเเล้ว เมื่อโรคระบาดทำให้เกิดการเว้นระยะห่าง” จากกลุ่มผู้บริโภค

ผู้คนใช้ชีวิตประจำวันบนโลกออนไลน์มากขึ้น ทั้งการช้อปปิ้ง สั่งอาหารเดลิเวอรี่ ทำงานเเบบ Work from Home รวมไปถึงการดูหนัง ฟังเพลง ชมคอนเสิร์ตเเบบเสมือนจริง หรือ Virtual Concert

เราได้เห็นหลายเเบรนด์ ปรับรับการตลาดยุคใหม่ด้วย “คอนเสิร์ตออนไลน์สร้างเเคมเปญต่างๆ เพื่อสื่อสารกับลูกค้ามีทั้งเเบบชมฟรีและเสียเงินบ้าง เเต่ก็ได้รับเสียงตอบรับดี เพราะผู้คนต้องการความบันเทิงเพื่อคลายเครียดจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่

การที่เเบรนด์ทำ Virtual Concert กับลูกค้าที่เป็นคนรุ่นใหม่นั้นทำได้ง่ายเเละเข้าถึงไม่ยากนัก เพราะมีความคุ้นชินกับการใช้เทคโนโลยีเเละโซเชียลมีเดียอยู่เเล้ว เเต่ถ้าคุณเป็นเเบรนด์ที่มีฐานลูกค้าส่วนใหญ่เป็นวัย “40+” เเล้วล่ะก็…อาจจะต้องคิดหลายตลบทีเดียว

เมื่อเร็วๆ นี้ “อลิอันซ์ อยุธยา” เพิ่งจัดกิจกรรมคอนเสิร์ตออนไลน์ครั้งเเรกของบริษัท หลังให้บริการในไทยมากว่า 69 ปี (เริ่มปีพ.ศ. 2494) ความน่าสนใจอยู่ที่ว่า ลูกค้าประกันชีวิตมักจะเป็นวัยทำงานเเละชาวสูงวัยทั้งหลาย การที่เเบรนด์อยู่มานานมาก อายุเฉลี่ยของลูกค้าที่เติบโตไปด้วยกันจึงทะลุ 40 อัพ

ความท้าทายในการจัดคอนเสิร์ตออนไลน์ เพื่อเชื่อมใจลูกค้าครั้งนี้ “ไม่ง่าย” อย่างไร…เรามาหาคำตอบกัน

พัชรา ทวีชัยวัฒนะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารงานลูกค้าประจำประเทศไทยของ อลิอันซ์ อยุธยา บอกเล่าถึงประสบการณ์การจัด Virtual Concert ครั้งนี้ให้ฟังว่า

“พอมี COVID-19 ผู้คนต้องทำงานที่บ้านกัน 2-3 เดือน เรารู้สึกว่าเราห่างจากลูกค้าพอสมควร จึงน่าจะมีกิจกรรมที่สร้างความสนุกสนานเเละความใกล้ชิดกับลูกค้า เเม้จะอยู่ที่บ้านกันได้” 

โดยก่อนที่จะมีการจัด Virtual Concert ครั้งนี้ บริษัทก็มีการจัดส่งบัตรกำนัลต่างๆ รวมไปถึงส่วนลดค่าจัดส่งฟู้ดเดลิเวอรี่ให้ลูกค้าเป็นระยะๆ เพื่อให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ในช่วงเวลานั้น โดยสิ่งสำคัญคือทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า…

อยู่กับพวกเขาตลอดเวลา” 

เราเป็นมากกว่าคนขายประกัน ไม่ได้เจอกันเเค่ตอนเก็บเบี้ย

การตัดสินใจจัด Virtual Concert เป็นครั้งเเรกของอลิอันซ์ฯ เกิดขึ้นจากโจทย์ที่ว่า นอกจากจะจัดเเคมเปญทำให้ลูกค้าเรามีความสุขเเล้ว จะทำอย่างไรให้พวกเขามีความสุขกันทั้งบ้านได้

ทางบริษัทจึงได้ไปปรึกษากับพล หุยประเสริฐ นักออกแบบคอนเสิร์ตชื่อดังว่า จะมีการจัดเเสดงเเบบไหนได้บ้างที่เข้าถึงผู้คนได้ทั้งครอบครัว

เหล่านี้นำมาสู่เหตุผลของการเลือกศิลปินที่จะมาเล่นในคอนเสิร์ตออนไลน์ Together Sunday โดยจะต้องเป็นไลน์อัพที่ดึงดูดคน “หลากหลายเจเนอเรชั่นที่มีทั้งพ่อเเม่ ลูกเเละญาติผู้ใหญ่ในบ้านไว้ได้

ในที่สุดก็ได้ 5 ศิลปินที่มีฐานเเฟนคลับของเเต่ละช่วงวัยมารวมกันในคอนเสิร์ตเดียว ได้แก่ แสตมป์ อภิวัชร์
นนท์ ธนนท์ , ปาล์มมี่ , เจ เจตรินและเจ้านาย โดยมีการคุยรายละเอียดเเละเตรียมงานกันถึง 2 เดือน

กลุ่มลูกค้าหลักๆ ของอลิอันซ์ อยุธยา มีอายุระหว่าง 35-44 ปี จะอยู่ที่ราว 25% เเละกลุ่มอายุ 45-54 ปีจะอยู่ที่ราว 24% รวมกันเเล้วจะเห็นว่ากว่าครึ่งหนึ่งของลูกค้าทั้งหมดมีอายุอยู่ในช่วง 35-54 ปี เพราะบริษัทดำเนินกิจการมากว่า 60 ปี มีลูกค้าราว 1 ล้านกว่ารายลูกค้าส่วนใหญ่จึงเป็นกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมๆ กับบริษัทนั่นเอง

ความท้าทายจึงเกิดขึ้นในกระบวนการกิจกรรมการตลาดเนื่องจากกลุ่มคนอายุ 40+ อาจจะไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีการชมคอนเสิร์ตแบบ Virtual มากนัก

บริษัทจึงต้องงัดกลเม็ดต่างๆ มาใช้ในการเชิญชวนให้เกิดการลงทะเบียน และการเข้าชมในวันจริง โดยมีการชวนทำ Challenge ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าชมช่วยเหลือ เเละอธิบายขั้นตอนอย่างละเอียด เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกอยากเข้าร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ

การสื่อสารกับลูกค้าสำคัญมาก ในช่วง 2 สัปดาห์ก่อนวันจริง ต้องตั้งทีมไว้ดูเเลโดยเฉพาะ หากลูกค้าไม่เข้าใจระบบต่างๆ สามารถส่งคำถามเข้ามาได้ทันที ทั้งช่องทางคอลเซ็นเตอร์ อีเมลเเละ Facebook ซึ่งทีมจะได้รับการเทรนนิ่งอย่างดีให้อธิบายกับลูกค้าได้ สอนวิธีการใช้ได้ รวมถึงมีการให้ตัวเเทนมาลองเทสต์การใช้ก่อนเเล้วนำไปบอกต่อกับลูกค้าในเครือข่ายของเขา

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ชมกับศิลปินใน Virtual Concert ยังเป็นหัวใจสำคัญ ที่นำมาสู่การตัดสินใจเลือกเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ทั้งเเอปพลิเคชันในการถ่ายทอด เเละการเลือก AR, VR ที่เหมาะสม เพื่อการมีส่วนร่วมของคนดูมากที่สุด

สิ่งที่เรากังวลคือ ทำอย่างไรคนจะนั่งดูผ่านหน้าจอได้ยาวถึง 3 ชั่วโมง โดยที่ไม่เบื่อไปเสียก่อน จึงการมีคิดกิมมิกเป็นคอนเสิร์ตแบบ Interactive ให้นักร้องกับแฟนเพลงโต้ตอบกันได้ เสมือนอยู่ในคอนเสิร์ตจริงๆ การได้เห็นท่าทางสีหน้าระหว่างกันจึงสำคัญมาก เราจึงเลือกการจัดผ่าน Zoom มากกว่า Facebook Live”

โดยใน Together Sunday Live Online Concert มีการเเสดงสดผ่านแอปพลิเคชัน ZOOM เป็นหลัก (เเต่ก็มีช่องทาง Facebook Live ในกรุ๊ป Private รองรับกรณีที่ลูกค้ามีปัญหาเข้าไม่ได้) นำเสนอการทำงานของเทคโนโลยี AR สร้างกราฟิกคอนเสิร์ตในรูปแบบ 3 มิติสุดล้ำ มาพร้อมใส่ลูกเล่นการชูป้ายไฟแบบเวอร์ชวล การพูดคุย ร่วมร้องเพลงด้วยกัน มีกิจกรรมเเจกเสื้อของขวัญส่งกำลังใจให้กันเเละกันในทุกช่วงศิลปิน

ศิลปินเเต่ละคนก็จะมีลูกเล่นของตัวเอง อย่างเช่นคุณแสตมป์ ก็จะมีการแปลงเนื้อเพลงสร้างเสียงฮา เเละให้ผู้ชมร่วมวาดรูปครอบครัวตัวเองมาโชว์ให้ดู เเม้คอนเสิร์ตจะยาวเกือบ 3 ชั่วโมง เเต่เราไม่รู้สึกว่ามันมีช่วงเบื่อเลย เพราะศิลปินทั้ง 5 คนก็จัดโชว์ได้หลากสไตล์ มีการดึงดูดใจคนดูได้เเตกต่างกัน

สำหรับการจัดคอนเสิร์ตครั้งนี้ มีการใช้เครื่องมือดิจิทัลความบันเทิงอย่างเต็มที่ เพื่อทำให้ระหว่างศิลปินและผู้ชมมี “Engagement” รู้สึกใกล้ชิดกันมากขึ้น ทั้งการใส่ลูกเล่นหรือ Gadget ต่าง ๆ เช่น การแพนกล้องเข้าหาศิลปินหลายหลายมุม การสร้างฉากด้วยกราฟิกภาพสามมิติ เน้นให้ผู้ชมได้พูดคุยกับศิลปินที่ชื่นชอบ

ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ชมสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันเฉพาะงาน อย่าง Together Sunday เพื่อร่วมส่งสติกเกอร์รูปหัวใจ ส่งกำลังใจผ่านป้ายไฟชื่อศิลปินหรือส่งข้อความไปให้ศิลปิน ที่กำลังแสดงอยู่ผ่านหน้าจอแบบเรียลไทม์

โดยจะมีทีมงานคอยเชียร์และไกด์ผู้ชมให้ร่วมสนุกอยู่เรื่อยๆ ให้คำแนะนำปรึกษาการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าสู่เครื่องมือในการชมคอนเสิร์ต โดยไม่สะดุดเตรียมพร้อมรับคำถามที่จะเกิดขึ้นระหว่างการรับชม

แสตมป์อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุขเล่าถึงการเตรียมตัวเพื่อมาโชว์ใน Together Sunday Live Online Concert ครั้งนี้ว่า มีการเตรียมตัวเป็นพิเศษทั้งการจับจังหวะการเคลื่อนตัวบนเวทีเพื่อให้รองรับกับมุมกล้องและลูกเล่นต่าง ๆ ที่ออกแบบไว้ การเล่นกับ Gadget ต่าง ๆ เพื่อมีสมาธิกับการโชว์เพิ่มมากขึ้น ได้ใช้จินตนาการในการคาดการณ์ปฏิกิริยาของผู้ชม และถึงแม้จะไม่ได้เห็นคนดูแบบคอนเสิร์ตปกติ แต่การมีเทคโนโลยี AR ก็ทำให้ศิลปินเห็นปฏิกิริยาคนดูผ่านจอได้ เกิดความรู้สึกอบอุ่นไม่ต่างกัน กลับเป็นความรู้สึกสนุกและท้าทายที่ได้ทำสิ่งใหม่

นับเป็นการเปิดประสบการณ์เเละเรียนรู้สิ่งใหม่ๆในการชมคอนเสิร์ตยุค New Normal ไปด้วยกันทั้งผู้จัดผู้ชมทีมงานเเละศิลปิน

อีกหนึ่งสิ่งที่นับว่าเป็นบทเรียน ที่ได้จากการจัด Virtual Concert ครั้งเเรกของอลิอันซ์ฯ คือ ยอดผู้ลงทะเบียนก่อนเข้างานมีสูงถึง 7 พันคน เเต่วันจริงมีผู้เข้าร่วมราว  2 พันกว่าคน

“Virtual Concert ใช้เวลาเตรียมการเยอะกว่าที่คิด เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้เรียนรู้เหมือนกันว่า การคอนเสิร์ตเเบบเสมือนจัดในวันอาทิตย์ตอนบ่ายมีผู้คนส่วนหนึ่งต้องเดินทาง ไม่ได้อยู่บ้าน หรือเลือกไปทำกิจกรรมพักผ่อนอย่างอื่นเเทน บางส่วนมีความตั้งใจอยากดูจึงลงทะเบียนไว้ก่อน เเต่พอไม่ใช่คอนเสิร์ตเเบบปกติที่ต้องตั้งใจดูมากๆ ก็ถือเป็นเรื่องที่ท้าทายของเรา

อลิอันซ์ฯ มองว่าการจัด Virtual Concert ได้ผลลัพธ์ที่เกินคาดในด้านการสร้าง Awareness การขยายการรับรู้ไปยังครอบครัวเเละคนใกล้ชิดของกลุ่มลูกค้า ส่วนคนดูมีส่วนร่วมเเละพึงพอใจ โดยมีการให้คะเเนนถึง 4.8 จากเต็ม 5 คะเเนนเเละส่วนใหญ่มีข้อเสนอเเนะให้มีการจัดกิจกรรมเช่นนี้อีก

โดยกลยุทธ์ CRM ต่อไป เมื่อสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยคลี่คลายลงเเล้ว ผู้บริหารอลิอันซ์ฯ บอกว่า จะเป็นในรูปแบบผสมออฟไลน์ออนไลน์เเบ่งไปตามกลุ่มเป้าหมายที่เเตกต่างกัน หากเป็นการจัดเเสดงคอนเสิร์ตก็ต้องมีทั้ง 2 อย่างคือ ให้ผู้คนได้ดูในโชว์จริงเเต่ต้องมีการจัดการที่ดีเเละเว้นระยะห่าง ส่วนใครที่สะดวกทาง Virtual Concert ก็ดูได้ทันทีไปพร้อมๆ กัน

การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้คนตื่นตัวมาซื้อประกันสุขภาพกันมากขึ้น ตัวเเทนฯ ก็ต้องมีการปรับตัวเข้าสู่เทคโนโลยีเร็วขึ้นเช่นกัน ทั้งการขายผ่านวิดีโอคอล ใช้เเอปพลิเคชัน กรอกใบสมัครออนไลน์ โดยกว่า 85% ของตัวเเทนผู้ขายประกันทั้งหมดของอลิอันซ์ฯ ใช้ iPad เเละเเท็บเล็ตในการนำเสนอขายกับลูกค้า

พฤติกรรมของผู้ซื้อประกันก็เปลี่ยนไป หันมาชอบการทำกิจกรรมโดยผ่านเเอปพลิเคชันมากขึ้น ไม่อยากมาที่สำนักงานเเล้ว

เมื่อผู้บริโภคปรับ…เเบรนด์ต้องเปลี่ยน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งกรณีศึกษาของการตลาดเเบบ CRM เพื่อเข้าหาลูกค้าทางออนไลน์ ไม่ให้รู้สึก “ห่างกัน” เเม้ในยามที่เราต้อง “เว้นระยะห่าง” ได้ดีทีเดียว 

 

 

]]>
1304439
ZAAP Party พลิกเกม! เมื่อ “อีเวนต์” จัดใหญ่เหมือนเดิมไม่ได้ เตรียมขยายรับงาน “ทุกรูปแบบ” https://positioningmag.com/1295320 Thu, 03 Sep 2020 08:29:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1295320 “อีเวนต์” หนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดช่วงสถานการณ์ COVID-19 เพราะไม่สามารถจัดงานได้เลยในช่วงล็อกดาวน์ และปัจจุบันก็ยังต้องรักษาระยะห่างภายในงานอย่างเคร่งครัด กลายเป็นโจทย์ใหญ่ให้ ZAAP Party มือออร์กาไนซ์งานคอนเสิร์ตต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ทั้งรูปแบบงาน แหล่งรายได้ ไปจนถึงขั้นตอนทำงาน แม้ครึ่งปีแรกรายได้จะลดแรง 70-80% แต่เชื่อว่าทั้งปีจะฟื้นกลับมาเติบโต 29% จากปี 2562

“เทพวรรณ คณินวรพันธุ์” ซีอีโอ บริษัท ZAAP Party จำกัด ผู้จัดงานคอนเสิร์ตและปาร์ตี้ดังๆ ที่เรารู้จักกันดี เช่น S2O, Single Fest หรือเชียงใหญ่เฟส กล่าวถึงสถานการณ์บริษัทช่วงครึ่งปีแรก หลังเผชิญสถานการณ์ COVID-19 รายได้บริษัทลดลง 70-80% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่ามีการล็อกดาวน์งดการพบปะของผู้คนจำนวนมาก จึงไม่น่าแปลกใจที่อีเวนต์ต้องยกเลิกหรือเลื่อนทั้งหมด

แต่ขณะนี้หลังภาครัฐคลายล็อกดาวน์อนุญาตให้จัดอีเวนต์ได้ โดยต้องมีการเว้นระยะห่าง ลดความหนาแน่นของคนภายในงาน ทำให้ ZAAP เริ่มกลับมาจัดงานได้ แถมมองว่ารายได้รวมปี 2563 น่าจะยังเติบโตได้ 29% เทียบปี 2562 ที่มีรายได้เกือบ 500 ล้านบาท

ขณะที่ผู้จัดงานอีเวนต์หลายแห่งต้องรัดเข็มขัดอย่างหนัก และยังคงอยู่ในสถานการณ์วิกฤต ทำไม ZAAP ถึงยังเติบโต? ต้องฟังจากปากเทพวรรณ ซีอีโอของบริษัท

“เทพวรรณ คณินวรพันธุ์” ซีอีโอ บริษัท ZAAP Party จำกัด

 

รูปแบบงานต้องเปลี่ยน เล็กลง ถี่ขึ้น และสร้างสรรค์

ซีอีโอ ZAAP กล่าวว่า ข้อสรุปการทำงานหลังช่วง COVID-19 ของทีมงานประกอบด้วย 3C คือ Creativity – ความคิดสร้างสรรค์ , Collaboration – ความร่วมมือกับองค์กรอื่น และ Consumer Needs – ตอบความต้องการของลูกค้า

เริ่มจากโจทย์แรกที่ต้องปรับตัวคือ “รูปแบบงาน” แน่นอนว่าข้อกำหนดด้านสุขอนามัยทำให้การจัดอีเวนต์ไม่สามารถให้คนเข้างานได้หนาแน่นเท่าเดิม งานจึงต้องจัดเล็กกว่าเดิม แต่จัดให้ถี่ขึ้น และมีไอเดียสร้างสรรค์ มองความต้องการที่เป็นกระแสในหมู่ผู้บริโภคซึ่งจะเป็น “นิชมาร์เก็ต” ยิ่งกว่าที่เคย

“พฤติกรรมคนตอนนี้จะเลือกไปในแบบที่ตัวเองชอบจริงๆ ซึ่งมันจะแยกย่อยมากขึ้น จากเมื่อก่อนงานงานหนึ่งเพื่อนทั้งกลุ่มอาจจะชวนกันไปหมดทุกคน แต่ตอนนี้จะแยกกันไปกลุ่มเล็กๆ ไปเฉพาะที่อยากไปจริงๆ แล้วไปรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชอบแบบเดียวกันในงาน” เทพวรรณกล่าว ดังนั้น งานที่จัดจะเล็กลงโดยปริยายเพราะเป็นนิชมาร์เก็ต บริษัทจึงต้องจัดงานให้บ่อยขึ้น และทำงานให้เร็วขึ้น

คอนเสิร์ตผสานการจัดแคมป์ปิ้ง Social This Camping Event ที่ จ.เชียงราย

ยกตัวอย่างงาน Social This Camping Event ที่ The Green-Chayana Resort จ.เชียงราย เป็นคอนเสิร์ตผสมกับการแคมป์ปิ้งท่ามกลางธรรมชาติ มีผู้ร่วมงานหลักร้อยคนเท่านั้น ไอเดียนี้มาจากการมอง Consumer Needs ที่บริษัทเล็งเห็นว่าคนยุคนี้กำลังสนใจแคมป์ปิ้ง ป่าเขา ธรรมชาติ ทำให้นำมาผสานกับอีเวนต์ดนตรี

มุมที่มอง “งานอดิเรก” หรือความสนใจของผู้เข้าร่วมงานยังต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะจากเดิมงานอีเวนต์อาจจะมีงานที่ใช้ดึงดูดลูกค้าชาวต่างชาติ เช่น S2O แต่เมื่อลูกค้ากลุ่มนี้ถูกตัดออก จะเหลือเฉพาะลูกค้าคนไทย ทำให้ต้องคิดบนฐานว่าลูกค้าคนไทยชอบอะไร และจะดึงคนไทยให้ยอมลงทุนเดินทางไปงานได้อย่างไร

 

พึ่งรายได้จาก “สปอนเซอร์” มากขึ้น

เมื่อรูปแบบงานเปลี่ยน คอนเสิร์ตต้องเว้นระยะห่าง จำนวนคนเข้างานมีน้อยลง แต่หากจะขายบัตรแพงขึ้นนั้น ซีอีโอ ZAAP บอกว่า “ทำไม่ได้” เพราะกำลังซื้อคนมีน้อยลงด้วยซ้ำ ดังนั้น ถ้าเป็นงานประเภทที่บริษัทเป็นโปรโมเตอร์คือร่วมลงทุนในงานด้วย โมเดลแหล่งรายได้จะเปลี่ยนไป

จากปกติรายได้งานแบบที่บริษัทเป็นโปรโมเตอร์มักจะมาจากค่าบัตร 40% และจากสปอนเซอร์ 60% ตอนนี้ต้องมีสัดส่วนรายได้จากสปอนเซอร์มากกว่าเดิม เพื่อให้ค่าบัตรยังเท่าเดิม หรือบางงานเป็นรายได้จากสปอนเซอร์ “ล้วนๆ” ทำให้บัตรเข้างานแจกฟรีผ่านกิจกรรมของสปอนเซอร์

Amazing Thailand TUK TUK Festival by Chang Music Connection งานคอนเสิร์ตแบบไดรฟ์อิน ไอเดียดัดแปลงจากต่างประเทศโดยใช้รถตุ๊กตุ๊กแทนรถยนต์

ยกตัวอย่างงานแรกที่บริษัทจัดหลังคลายล็อกดาวน์คือ Amazing Thailand TUK TUK Festival by Chang Music Connection ผู้เข้าร่วมงาน 600 คนจะเข้างานได้ต้องร่วมกิจกรรมกับน้ำดื่มตราช้าง

เทพวรรณกล่าวว่า ส่วนนี้คือการ Collaboration กับองค์กรอื่นๆ เพราะต้องคิดแพ็กเกจจูงใจสปอนเซอร์ แน่นอนว่าเศรษฐกิจเช่นนี้ สปอนเซอร์ไม่ได้ออกงบประมาณให้ง่ายๆ บริษัทต้องนำเสนอว่าทำอย่างไรการจัดงานนี้จะคุ้มค่าสำหรับลูกค้า และต้องเข้าให้ถูกอุตสาหกรรมที่ยังต้องการใช้งบประมาณกับธุรกิจอีเวนต์ สำหรับกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทขณะนี้จะเป็นสินค้าเครื่องดื่ม ธุรกิจโทรคมนาคม และหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่ต้องการใช้อีเวนต์ฟื้นเศรษฐกิจท้องถิ่น

 

ลดต้นทุน เปลี่ยนขั้นตอนการทำงานเป็นเชิงรุก

รายรับลดแล้ว รายจ่ายต้องลดด้วย ส่วนนี้เทพวรรณมองว่าเป็นโชคดีที่ทุกคนในอุตสาหกรรมร่วมมือกันลดราคา ยกตัวอย่างเจ้าของสถานที่แทบทุกแห่งยินดีลดราคาเกิน 50% เพื่อให้ได้จัดงาน หรือซัพพลายเออร์สนับสนุนงานต่างมีส่วนลดให้ ซึ่งทำให้อีเวนต์ตัดต้นทุนไปได้มาก การจัดงานจึงยังคงมีกำไรเหมือนเดิม

Hotel Fest คอนเสิร์ตริมระเบียงที่พัทยา จะจัดขึ้นวันที่ 5-6 ก.ย. 63 ไอเดียจากคลิปนักร้องชาวอิตาลีที่ร้องเพลงริมระเบียงบ้านในช่วงล็อกดาวน์

นอกจากนี้ COVID-19 ยังทำให้บริษัทเปลี่ยนมาทำงานเชิงรุกมากกว่าเดิม โดยให้ครีเอทีฟคิดรูปแบบงานไว้เป็นแคตตาล็อก ถ้ามีคอนเซ็ปต์ไหนเหมาะสมกับลูกค้าสามารถดึงมาใช้ได้ทันที ทำให้การทำงานเร็วขึ้น

“ผมให้ครีเอทีฟคิดงานรอไว้เป็นสิบๆ งานเลย ปกติเราไม่ทำขั้นตอนแบบนี้ เมื่อก่อนเราจะไปรับบรีฟจากลูกค้าก่อน แล้วมาคิดงานอีก 2-3 อาทิตย์ค่อยกลับไปเสนอ ตอนนี้เรามีแบบงานพร้อมใช้ได้เลย” เทพวรรณกล่าว

 

ขยายไปจัดงานที่ไม่เคยทำมาก่อน

ปีนี้ ZAAP ยังพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วย คือโอกาสที่จะทำงานใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน จากจุดแข็งเดิมจะเน้นการจัดปาร์ตี้และคอนเสิร์ต ปีนี้สถานการณ์บีบให้ต้องรับงานทุกรูปแบบ ทำให้จะได้เห็นบริษัทออร์กาไนซ์งานวิ่ง ลานเบียร์ เทศกาลอาหาร ไปจนถึงงานเกมมิ่ง โดยอาศัยจ้างฟรีแลนซ์หรือบริษัทที่ถนัดงานรูปแบบนั้นๆ เข้ามาช่วยจัดอีเวนต์ร่วมกัน

“เราอยู่นิ่งไม่ได้แล้ว” เทพวรรณกล่าว “หลายคนบอกว่าต้องรอจนกว่าสถานการณ์จะเป็นปกติ แต่ผมว่ามันรอไม่ได้ เราต้องทำให้เห็นว่าอีเวนต์มันจัดได้และไปได้”

จากสถานการณ์ทั้งหมด ดูเหมือนกับว่า ZAAP จะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ที่จริงบริษัทได้ผ่านจุดที่ “เหมือนเริ่มนับหนึ่งใหม่” มาแล้ว โดยช่วงที่ไม่มีงานเลยทำให้บริษัทต้องลดขนาดองค์กรลงครึ่งหนึ่ง โชคดีที่พนักงานส่วนใหญ่เป็นฟรีแลนซ์อยู่แล้ว ทำให้การลดและกลับมาเพิ่มคนทำงานยังง่ายกว่าบริษัทที่จ้างพนักงานประจำจำนวนมาก

เมื่อถามว่าถ้าสถานการณ์การจัดอีเวนต์ยังต้อง New Normal แบบนี้ไปจนถึงปีหน้า บริษัทจะยังไหวหรือไม่ เทพวรรณตอบว่า “ถ้าถามผมเมื่อเดือนที่แล้วผมอาจจะยังไม่แน่ใจ แต่ถ้าเป็นตอนนี้เราคิดว่าเรารับมือไหว”

]]>
1295320
ตามมาดู! การจัดคอนเสิร์ตเเบบ New Normal ช่วง COVID-19 ครั้งเเรกในอังกฤษ ผู้ชมกว่า 2,500 คน https://positioningmag.com/1292804 Sat, 15 Aug 2020 12:41:45 +0000 https://positioningmag.com/?p=1292804 COVID-19 ทำให้การใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป การสังสรรค์เเละคอนเสิร์ตที่หลายคนรอคอย ต้องถูกยกเลิกไปก่อน เเละเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เราจึงได้เห็นวิธีการจัดคอนเสิร์ตยุค New Normal ในหลายรูปแบบ

เมืองไทยเพิ่งจัดงาน TUK TUK Festival คอนเสิร์ตเเบบรักษาระยะห่าง ให้ผู้ชมได้ดูดนตรีอย่างปลอดภัยและสนุกสนาน โดยมีกิมมิกการดูคอนเสิร์ตบน รถตุ๊กต๊ก ไปเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ล่าสุดทางฝั่งยุโรปก็มีการจัดคอนเสิร์ตยุค New Normal เช่นกัน โดยเทศกาลดนตรีครั้งนี้ จัดขึ้นที่ Virgin Money Unity Arena บริเวณ Gosforth Park เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมประมาณ 2,500 คน เเละมี Sam Fender ศิลปินอินดี้ร็อกชื่อดังมาเป็นวงเฮดไลน์ในงาน

Photo : Virgin Money Unity Arena

สำหรับมาตรการดูเเลความปลอดภัย กำหนดให้ผู้ชมแต่ละกลุ่มต้องอยู่ในแผงเหล็กที่กั้นเอาไว้ 500 บูธ จำกัดให้มีผู้ชมไม่เกินบูธละ 5 คน ซึ่งทั้ง 5 คนต้องโดยสารมาในรถส่วนตัวคันเดียวกัน โดยแต่ละบูธจะมีระยะห่างกันราว 2 เมตร สำหรับอาหารและเครื่องดื่มนั้น ผู้เข้าชมจะต้องทำการสั่งเอาไว้ก่อนล่วงหน้า เพื่อความปลอดภัยด้านสุขอนามัย

หลังจากได้รับเสียงตอบรับที่ดีในครั้งนี้ ทางผู้จัดจะลุยตามแผนการต่อไปที่วางไว้ในโปรแกรมของเดือนสิงหาคมและกันยายน ซึ่งจะมีวงดังอย่าง The Libertines, Supergrass, Two Door Cinema Club และศิลปินรุ่นเก่าอย่าง Van Morrison มาขึ้นโชว์บนคอนเสิร์ตนี้ด้วย

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 ยังยืดเยื้อต่อไป การจัดคอนเสิร์ตเเบบ Social Distancing คงจะกลายเป็นเทรนด์ฮิตมาเเรงในช่วงนี้อย่างเเน่นอน…

Photo : Virgin Money Unity Arena
Photo : Virgin Money Unity Arena
Photo : Virgin Money Unity Arena

 

ที่มา : designboom

 

 

]]>
1292804