ตลาดมั่งคั่ง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 24 Jun 2021 10:37:33 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 5 ล้านคนทั่วโลก ขึ้นแท่น ‘เศรษฐีเงินล้าน’ จากเเรงหนุนตลาดหุ้น ราคาบ้าน-ที่ดิน ‘เเพงขึ้น’ https://positioningmag.com/1338449 Thu, 24 Jun 2021 08:42:28 +0000 https://positioningmag.com/?p=1338449 ผู้คนทั่วโลกกว่า 5 ล้านคน ขึ้นเเท่นเป็นเศรษฐีท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนเเรงที่สุดในรอบศตวรรษ ด้วยเเรงสนับสนุนของตลาดหุ้น บ้านเเละที่ดิน ปรับราคาเเพงขึ้น

งานวิจัยความมั่งคั่งของประชากรโลก หรือGlobal Wealth Reportฉบับล่าสุด โดย Credit Suisse ระบุว่า ปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนเศรษฐีเงินล้าน (Millionaires) เพิ่มขึ้น 5.2 ล้านคน เป็น 56.1 ล้านคนทั่วโลก ขณะที่คนยากจนยิ่งจนลงเรื่อยๆ ในช่วงโรคระบาดโควิด-19

โดยประชากรวัยผู้ใหญ่มากกว่า 1% ก้าวสู่สังคมเศรษฐีเงินล้านเป็นครั้งแรก จากปัจจัยการฟื้นตัวของตลาดหุ้นและราคาบ้านและที่ดินที่ปรับตัวสูงขึ้น ช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินให้คนเหล่านี้

Anthony Shorrocks นักเศรษฐศาสตร์และผู้เขียนรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า การระบาดใหญ่ส่งผลกระทบระยะสั้นต่อตลาดมั่งคั่ง

โดยเห็นได้ว่า ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2020 ตลาดหุ้นตกอยู่ในภาวะขาลงก่อนที่จะพลิกกลับมาเติบโตได้ในช่วงครึ่งปีหลัง นับตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นมา

ไม่ใช่เเค่ทรงตัวได้เมื่อยามเผชิญวิกฤต เเต่ตลาดมั่งคั่งทั่วโลก กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งปีหลัง

อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีเศรษฐีเพิ่มมากขึ้น แต่งานวิจัยก็พบว่า หากตัดปัจจัยด้าน ‘อสังหาริมทรัพย์’ ออกไปความมั่งคั่งของครัวเรือนทั่วโลกก็อาจจะลดลง โดยคนที่รวยเเค่ระดับมีกินมีใช้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับเท่าเดิมเเละหลายรายน้อยลงกว่าเดิม

การกระตุ้นเศรษฐกิจของบรรดาธนาคาร ส่งผลให้ราคาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้น และตลาดหุ้นขยับขึ้น เเต่หากต่อไปมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย มูลค่าสินทรัพย์เหล่านี้ก็จะลดลงตามไปด้วย

จากผลวิจัยโดยรวม พบว่า ในปี 2020 ความมั่งคั่งทั่วโลก เติบโตที่ 7.4% และนับตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 ประชาชนผู้ถือครองทรัพย์สิน ระหว่าง 10,000-100,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าจาก 507 ล้านคนในปี 2000 มาอยู่ที่ 1,700 ล้านคนในช่วงกลางปี 2020

การขยายตัวนี้ สะท้อนให้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะจีน ที่มีการขยายตัวของชนชั้นกลางมากที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

ขณะเดียวกัน นโยบายเเละกฎระเบียบของภาครัฐ เเละการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกในช่วงโรคระบาด ก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการกระจายรายได้ทั่วถึงมากขึ้น

Nannette Hechler-Fayd’herbe หัวหน้าสายงานด้านการลงทุนของ Credit Suisse ให้ความเห็นว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ เเม้จะช่วยพยุงเศรษฐกิจให้เดินหน้าในช่วงวิกฤต เเต่ก็มีราคาที่ต้องจ่ายเเละต้องระมัดระวัง โดยขณะนี้ ระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP ในหลายประเทศทั่วโลก ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 20%

 

ที่มา : BBC , Global Wealth Report

]]>
1338449
ตลาด Wealth โตพุ่ง SCB ปั้น Private Banking สู่เป้าพอร์ต 1 ล้านล้านบาท โอกาสทองจับ ‘เศรษฐีไทย’  https://positioningmag.com/1321958 Fri, 05 Mar 2021 13:10:48 +0000 https://positioningmag.com/?p=1321958 สถาบันการเงิน เร่งเครื่องดันธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง เเย่งลูกค้าเศรษฐีกันดุเดือด ด้วยความที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าการออกสินเชื่อ เเถมยังมีการเติบโตสูง สร้างรายได้ดี เเม้จะเจอวิกฤตเศรษฐกิจ

SCB เป็นอีกหนึ่งเจ้าใหญ่ในไทยที่ประกาศจะขึ้นเป็นผู้นำในตลาด Private Banking โดยตั้งเป้าภายใน 3 ปีจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาทให้ได้

สารัชต์ รัตนาภรณ์ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) กล่าวว่า ธุรกิจ Wealth Management ดูเเลพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าผู้มั่งคั่งเติบโตขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมาท่ามกลางโรคระบาด

ด้วยสภาพคล่องที่ล้นตลาดทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำทั่วโลก การออมเงินฝากหรือพันธบัตร ไม่ได้ให้ผลตอบเเทนที่ดีมากนัก เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นักลงทุนต้องหาทางลงทุนอื่นๆ ที่ได้ผลตอบเเทนมากขึ้น เเม้จะความผันผวนในตลาดสูง

โดยกลุ่มผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ HNWIs (มีสินทรัพย์ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐขึ้นไป) มีความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่จะมาให้คำเเนะนำการดูเเลพอร์ตมากขึ้น ทำให้ธุรกิจ Private Banking ขยายตัวตามไปด้วย

ตลาด Wealth โตพุ่ง โอกาสจับ ‘เศรษฐีไทย’ 

SCB ประเมินว่า ภาพรวม Wealth ทั่วโลกในปี 2024 จะเติบโต 7% เมื่อเทียบกับปี 2018 โดยจะขยายตัวมากที่สุดในจีน เเละเอเชียแปซิฟิก

สำหรับตลาด Wealth ในประเทศไทย คาดว่าจะเติบโต 5% สูงกว่า GDP ไทยถึง 2 เท่า โดยจำนวนลูกค้า Wealth ทั้งหมดในไทย คาดว่าจะอยู่ที่ 8.86 แสนคน เพิ่มขึ้น 5% จากปี 2018 ที่อยู่ราว 7.1 แสนคน

ประชากร 1% ของคนไทย ถือครองทรัพย์สิน 80% ของทั้งประเทศ

ในช่วงการเเพร่ระบาดของ COVID-10 ‘เศรษฐีหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ เพราะการเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงินท้องถิ่นมากขึ้น

ไม่ว่าจะเป็น Credit Suisse ที่เปิดตัวในปี 2016 ต่อมาในปี 2018 กลุ่มธุรกิจบริการ Private Banking รายใหญ่จากสวิตเซอร์แลนด์อย่าง Julius Baer ได้เปิดตัวธุรกิจกับพันธมิตรอย่างธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB ถือหุ้นใหญ่ 60% ส่วน Julius Baer ถือหุ้น 40%) เเละในปี 2019 สถาบันการเงินจากลิกเตนสไตน์อย่าง LGT ก็ได้มาเปิดสำนักงานในไทย เเละล่าสุด HSBC จากอังกฤษ ก็เตรียมตั้งธุรกิจ Private Banking ในไทย

ข้อมูลจาก HSBC ระบุว่า สินทรัพย์ที่นักลงทุนกลุ่ม High Net Worth (HNW) ในเอเชียถือครอง จะเพิ่มขึ้นไปสู่ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้ภายในปี 2025 ถือว่าเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปี 2017

นี่จึงเป็นโอกาสทอง เเละการเเข่งขันที่สูงมากเช่นนี้ ทำให้ธุรกิจ Private Banking ต้องงัดหากลยุทธ์ใหม่ๆ มาเพื่อครองใจลูกค้าให้ได้มากที่สุด

บริหารความมั่งคั่ง คือ New S-Curve 

ปัจจุบันธุรกิจ Wealth ของไทยพาณิชย์ มีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิที่อยู่ภายใต้การบริหาร (AUM) ราว 8.5 แสนล้านบาท เเละในปี 2024 ตั้งเป้าจะมี AUM สู่ระดับ 1 ล้านล้านบาท ภายใต้แนวคิด BEAT THE BENCHMARK

โดยมีฐานลูกค้า Wealth จำนวนกว่า 3 เเสนราย (จากราว 7 เเสนรายทั้งประเทศ) แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • ลูกค้า SCB Prime มีสินทรัพย์ 2-10 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB First มีสินทรัพย์ 10-50 ล้านบาท
  • ลูกค้า SCB Private Banking มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

ธนาคารได้เริ่มแผน Wealth Transformation มาตั้งแต่ปี 2017 ซึ่งปีนั้นสร้างรายได้ให้ธนาคารคิดเป็น 7% ของรายได้รวม และ 31% ของรายได้ค่าธรรมเนียม จากนั้นก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2020 สามารถทำรายได้ถึง 15% ของรายได้รวม และ 56% ของรายได้ค่าธรรมเนียม

ธุรกิจ Wealth Management จึงกลายมาเป็น New S Curve ของไทยพาณิชย์

โดยคาดว่า AUM ลูกค้ากลุ่ม Wealth ของไทยพาณิชย์จะโตเฉลี่ยปีละ 10-12% และปี 2566 คาดว่าจะมี AUM 1 ล้านล้านบาท ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมคาดว่าจะเติบโตได้ในอัตราสองหลัก 

ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมารายได้จากธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของธนาคาร เติบโตกว่า 25% แม้จะเผชิญกับสถานการณ์วิกฤต COVID-19

ณรงค์ ศรีจักรินทร์ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ Wealth ธนาคารไทยพาณิชย์ เล่าว่า เมื่อ 4 ปีก่อน ธนาคารได้เฟ้นหาพนักงานหัวกะทิที่โดดเด่นที่สุดของสาขา 1,100 คน มาร่วมทีม Wealth Management โดยมีการจัดเทรนนิ่งอย่างเข้มข้น จนตอนนี้ธนาคารมี RM (Relationship Manager) ที่มีใบรับรองมากที่สุดในไทย

หลักๆ จะเน้นการสร้างขีดความสามารถในการให้คำปรึกษา (Advisory Capability) ควบคู่ไปกับการปรับ ‘Operating Model’ พัฒนาโซลูชันด้านการลงทุนเเบบ Open Architecture คือการมีผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าเลือกลงทุนจากบริษัทพันธมิตรเเละประกัน (ตอนนี้มีอยู่ 35 แห่ง) ไม่ได้มีเเค่ผลิตภัณฑ์ของ SCB เท่านั้น รวมทั้งมีการนำระบบ AI เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการพอร์ต สร้างเเพลตฟอร์มเฉพาะมาบริการเพื่อช่วยให้ลูกค้าเห็นการลงทุนของตัวเองชัดเจนขึ้น

โดยทิศทางของกลุ่มธุรกิจ SCB Wealth ในปี 2021 จะโฟกัสและมุ่งเน้นการเติบโตของเซ็กเมนต์ Private Banking เพื่อจับลูกค้าใหม่ที่มีสินทรัพย์ 50 ล้านบาทขึ้นไป

เมธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า กลุ่มลูกค้า Wealth ของไทยพาณิชย์ เมื่อดู Investment AUM (ไม่รวมเงินฝาก) จะมีสินทรัพย์อยู่ประมาณ 5.7 แสนล้านบาท จาก AUM ทั้งหมดที่ 8.5 แสนบาท สามารถสร้างผลตอบแทนจากการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ลูกค้าได้ 14.9% ในระยะเวลา 1 ปี (1 .. – 31 .. 2020) 

มธินี จงสฤษดิ์หวัง รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Private Banking ธนาคารไทยพาณิชย์

โดยในปี 2021 นี้ SCB Private Banking จะดำเนินธุรกิจ ผ่าน 3 กลยุทธ์หลัก ดังนี้

  • Investment Solutions for Wealth Preservation ต่อยอดความมั่งคั่งให้ลูกค้า โดยจะมีลงทุนทั้งในและต่างประเทศในสินทรัพย์ที่หลากหลายประเภท กว่า 10,000 หลักทรัพย์และกองทุน ทั้ง Public assets หรือ Private assets
  • Business Solutions for Wealth Creation บริการที่ปรึกษาด้านธุรกิจอย่างรอบด้าน เปิดโอกาสการลงทุนแบบใหม่ๆ เช่น สินเชื่อ SCB Property Backed Loan ที่เปิดตัวเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ให้ลูกค้านำไปเพิ่มกระแสเงินสด
  • SCB Financial Business Group ประสานกับธุรกิจส่วนต่างๆ ทั้งหมดในธนาคารไทยพาณิชย์ให้ครบวงจรเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้า

สำหรับข้อเเนะนำในการลงทุนในปีนี้ ผู้บริหาร SCB บอกว่า ควรจะกระจายความเสี่ยงในต่างประเทศ โดยเน้นธุรกิจที่เติบโตในยุค New Normal อย่าง อีคอมเมิร์ซ การขนส่งเเละธุรกิจคลาวด์

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการลงุทนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม พลังงานหมุนเวียน ตามที่จะเห็นรัฐบาลใหญ่ๆ ของโลกทั้งสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ต่างออกนโนบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งนี้

ขณะเดียวกันภาวะดอกเบี้ยต่ำที่จะดำเนินต่อเนื่องผู้ลงทุนก็ต้องมองหาผลตอบแทนที่มากกว่า เช่น ตราสารหนี้ , หุ้น เป็นต้น

โดยในปีนี้เเนะนำแบ่งพอร์ตการลงทุนเป็น 60% ลงทุนในหุ้น และ 40% ลงทุนในตราสารหนี้ เเละช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง ให้ปรับตราสารหนี้เป็น 50-60% เเละเมื่อการกระจายวัคซีนได้ผลดีจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ได้เเล้ว เเนะให้ถือตราสารหนี้ลดลงเหลือ 30% พร้อมกับการติดตามข่าวสารเเละนโนบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อย่างใกล้ชิด

 

 

]]>
1321958
เปิดความเห็น ‘เศรษฐีเอเชีย’ มองเทค บริหารเงินกงสี ความยั่งยืน ปรับพอร์ตลงทุนในตลาดผันผวน https://positioningmag.com/1320828 Wed, 24 Feb 2021 17:23:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320828 เปิดความเห็นของเหล่า ‘เศรษฐี’ ในเอเชีย กับมุมมองด้านเทคโนโลยี การลงทุน การบริหารทรัพย์สินครอบครัว และความยั่งยืน ท่ามกลางตลาดที่ผันผวนในวิกฤต COVID-19 

Lombard Odier (ลอมบาร์ด โอเดียร์) ร่วมกับ KBank Private Banking สำรวจมุมมองและข้อกังวลของผู้มีความมั่งคั่งสูง (UHNWIs) ในประเด็นสานสัมพันธ์ เปลี่ยนผ่าน และพลิกโฉม : การเข้าถึงผู้มีความมั่งคั่งสูงในภูมิภาคเอเชีย ในยุค New Normal’ 

โดยรวบรวมความคิดเห็นของศรษฐี 150 ราย ใน 7 ประเทศ ได้แก่ ประเทศไทย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และไต้หวัน 

วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier กล่าวว่า ผลกระทบจากโรคระบาดครั้งใหญ่ในศตวรรษ ทำให้เหล่านักธุรกิจชั้นนำเปลี่ยนมุมมองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมไปถึงหันมาเน้นลงทุนไม่หวือหวา แต่ถือได้ยาวนานขึ้น

ผู้มีความมั่งคั่งสูงหลายราย ต้องการพึ่งพาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญในประเทศนั้นๆ เพื่อช่วยให้พวกเขาเข้าถึงตลาดต่างประเทศได้ ในช่วงที่การเดินทางยังลำบาก เราจึงได้เห็นสถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงิน ‘ท้องถิ่น’ มากขึ้น

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ธนาคารกสิกรไทย (ซ้าย) วินเซนต์ มาเนียนาต์ Limited Partner and Chief Executive Officer, Asia, Lombard Odier (ขวา)

เเม้เศรษฐกิจโลกจะตกต่ำ เเต่ธุรกิจ Private Banking ที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่ง กลับมีผลประกอบการดีที่สุดในรอบหลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจสะเทือน ‘รากหญ้า’ มากกว่า ‘คนรวย’

Lombard Odier เเละ KBank Private Banking คาดว่า แนวโน้มการเติบโตของบุคคลผู้มีสินทรัพย์สูง หรือ Ultra High Net Worth Individuals : UHNWIs ในเอเชียจะยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ราว 10-15% ภายหลังวิกฤตโรคระบาด เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว เเละสงครามการค้าคลี่คลายลง

“จำนวนของเศรษฐีใหม่ในเอเชียจะมีเพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามเทรนด์การลงทุนในธุรกิจดิจิทัลใหม่ๆ ที่เเจ้งเกิดเเละเติบโตในช่วง COVID-19”

สำหรับในประเทศไทย มองว่า ธุรกิจที่จะสามารถ ‘ฟื้นตัวได้เร็ว’ จากวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น ธุรกิจด้านพลังงาน ,  ธุรกิจด้านวัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) และธนาคาร

เทคโนโลยี : more digital…เเต่ยังชอบ ‘พบปะพูดคุย’ 

ผลสำรวจนี้ ชี้ให้เห็นพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนของบุคคลผู้มีความมั่งคั่งสูงในการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล

กว่า 81% ของคนรวยในเอเชีย เห็นว่าการติดต่อผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น และลดการพบปะกันลง more digital, less physical จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่

โดยผู้มีความมั่งคั่งสูงในไทยที่คิดเห็นเช่นนี้ มีจำนวนมากเป็นลำดับที่ 3 ในเอเชีย

อย่างไรก็ตาม พวกเขามองว่าไม่ใช่ทุกอย่างที่สามารถขับเคลื่อนบนโลกดิจิทัลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการติดต่อสื่อสาร และการสร้างความไว้วางใจระหว่างลูกค้าและ Private Bank

เพราะการลงทุนครั้งละกว่าร้อยล้านพันล้าน การได้พูดคุยกันต่อหน้ายังมีความจำเป็น

โดย 59% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียและในประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังคงต้องการพบปะพูดคุยที่ธนาคารหรือสถานที่อื่นๆ มากกว่าการติดต่อผ่านทางอีเมล จดหมาย วิดีโอคอล หรือโทรศัพท์

เมื่อสถานการณ์ COVID-19 จบลง ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยจำนวนหนึ่งกล่าวว่า การพบปะกันยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการดำเนินธุรกิจ และไม่คิดว่ากิจกรรมเหล่านี้จะสามารถทดแทนได้ผ่านการติดต่อสื่อสารแบบออนไลน์

การลงทุน : ‘ดอกเบี้ยต่ำ’ จะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย เห็นความผันผวนของตลาดมากขึ้น เเต่กลุ่มนักลงทุนที่เคยผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมากเเล้ว ‘ไม่ได้ตื่นตระหนกต่อวิกฤตครั้งนี้มากนัก”

ผลสำรวจ ระบุว่า70% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย เเละ 81% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียไม่ได้ปรับเปลี่ยนพอร์ตการลงทุน โดยเฉพาะระยะเวลาของการลงทุน

สำหรับด้านการบริหารสินทรัพย์ แม้ว่าจะมีผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียบางส่วน เลือกที่จะบริหารจัดการแบบที่ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ (Conservative) โดยเลือกลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำ เงินฟรังก์สวิส เงินเยน และพันธบัตรรัฐบาล

“แต่ก็ยังมีผู้มีความมั่งคั่งสูงอีกจำนวนหนึ่งที่มองเห็นโอกาสในช่วงเวลานี้ โดยให้ความสนใจกับหุ้น และตราสารหนี้ภาคเอกชน เนื่องจากเล็งเห็นแนวโน้มว่าภาวะดอกเบี้ยต่ำจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวิถีใหม่” 

โดย 78% มองว่าภาวะดอกเบี้ยตํ่าจะเป็นส่วนหนึ่งของโลกยุคหลัง COVID-19 และอาจดําเนินต่อเนื่องไปอีกทศวรรษ

ผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทยกว่า 87% กล่าวว่า การมีบริการพิเศษที่นอกเหนือบริการด้านลงทุนจะส่งผลอย่างมากต่อการตัดสินใจในการเลือกธนาคาร โดยบริการ 3 อันดับแรกที่มีความสำคัญสูงสุด ได้เเก่ 

  • บริการด้านสินเชื่อ
  • ความสามารถในการเข้าถึงเครือข่ายผู้ประกอบการ
  • ความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงิน
  • การเข้าถึงโอกาสการลงทุนในสินทรัพย์จริง เช่น อสังหาริมทรัพย์

บริหารทรัพย์สินครอบครัว : สนใจ ‘ธรรมาภิบาล’ มากขึ้น 

ความผันผวนของตลาด ทำให้ผู้มั่งคั่งในเอเชีย เริ่มกลับมา ‘ทบทวน’ ธรรมาภิบาลในการจัดการทรัพย์สินครอบครัวและการดําเนินธุรกิจในระยะยาว และทําให้เรื่องนี้เร่งด่วนขึ้น

สำหรับประเทศไทย 35% ของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงได้มีการจัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวแล้ว และวิกฤตในครั้งนี้ก็ได้ส่งผลให้อีก 45% ของครอบครัวที่ยังไม่ได้จัดทำธรรมาภิบาลของครอบครัวสนใจที่จะเริ่มวางแผนในอนาคต

นอกจากนี้ บริการที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Advisory Service) ได้กลายเป็นอีกหนึ่งบริการที่เติบโตสูงที่สุด และเข้ามาตอบโจทย์การบริหารจัดการที่ดินของครอบครัวผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย

สำหรับในปี 2020 ที่ผ่านมา KBank Private Banking ได้ทำการศึกษาและดูแลพอร์ตการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ให้แก่กลุ่มลูกค้าผู้มีความมั่งคั่งสูงจำนวน 121 ราย โดยครอบคลุมที่ดินทั้งหมด 940 แปลง

เศรษฐีรุ่นใหม่มองความ ‘ความยั่งยืน’ คืออนาคต 

เหล่ามหาเศรษฐี เริ่มตระหนักถึงสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตหลังวิกฤต COVID-19 ซึ่งเทรนด์ ‘ความยั่งยืน’ เป็นที่สำคัญที่สุดสำหรับการตัดสินใจเลือก Private Bank

69% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในประเทศไทย ได้จัดอันดับให้เทรนด์ด้านความยั่งยืนเป็น 1 ใน 3 ประเด็นที่สำคัญที่สุด โดยไทยคือประเทศที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเป็นที่สอง รองจากญี่ปุ่น

แม้ว่า 89% ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชียกล่าวว่า เทรนด์ความยั่งยืนจะยังคงมีบทบาทสำคัญในระยะยาว แต่กลับมีเพียง 61% ที่วางแผนการลงทุนโดยคำนึงถึงมิติด้าน ESG และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ผู้มีความมั่งคั่งสูงบางส่วน ยังไม่เชื่อมั่นว่าการลงทุนด้านความยั่งยืนจะสร้างผลตอบแทนท่ีดีได้ โดย 1 ใน 3 ของผู้มีความมั่งคั่งสูงในเอเชีย (ส่วนใหญ่จาก ฮ่องกง ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์) ไม่มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนที่คํานึงถึงมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของไพรเวทแบงก์ในการให้คำแนะนำ เพื่อแสดงให้กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงเห็นถึงศักยภาพและแนวทางการสร้างผลกำไรของการลงทุนอย่างยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น

“กลุ่มเศรษฐีรุ่นใหม่ ให้ความสําคัญกับความยั่งยืนเป็นลําดับต้นๆ และต้องการใช้บริการของธนาคารที่มีการลงมือด้านนี้อย่างจริงจัง” 

4 เรื่องที่ Private Bank ต้องพัฒนา 

KBank Private Banking ให้บริการการบริหารความมั่งคั่งแก่ลูกค้าธนาคารกสิกรไทย ที่มีเงินฝากและเงินลงทุนกับธนาคาร ตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไป ส่วน Lombard Odier เป็นบริษัทบริหารจัดการสินทรัพย์และความมั่งคั่งที่มีประสบการณ์กว่า 220 ปี ดูแลสินทรัพย์รวมของลูกค้าทั่วโลกกว่า 290 พันล้านฟรังก์สวิส (ข้อมูล วันที่ 30 มิถุนายน 2563)

จิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Private Banking Group Head ระบุว่า ผลสำรวจนี้สะท้อนให้เห็นความต้องการของกลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูงที่เพิ่มขึ้นและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

KBank Private Banking เเละพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง Lombard Odier มองว่ามี 4 เรื่องที่ผู้ให้บริการต้องทำเพื่อช่วยสร้างความมั่งคั่งที่ยั่งยืนให้แก่ลูกค้า ได้แก่

  1. เร่งพัฒนาคุณภาพของบริการดิจิทัล ทั้งในด้านการสื่อสาร การส่งมอบบริการ การรายงานข้อมูลทางการเงิน และการทำธุรกรรม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อยกระดับการให้บริการของไพรเวทแบงเกอร์
  2. สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการลงทุนที่มีกลไกควบคุมความเสี่ยง ติดตั้งเครื่องมือที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้สะดวกขึ้นในทุกๆ ผลิตภัณฑ์
  3. เสริมความแข็งแกร่งของบริการที่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการลงทุนในตลาดทุน ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนนอกตลาดและลงทุนโดยตรงในบริษัท หรือบริการให้คำแนะนำด้านอสังหาริมทรัพย์และการวางแผนความมั่งคั่ง
  4. เป็นสื่อกลางในการพิสูจน์ให้เห็นถึงผลตอบแทนในระยะกลางและระยะยาวของการลงทุนอย่างยั่งยืน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

 

อ่านรายงานฉบับเต็ม (ที่นี่)

 

]]>
1320828
จับตา “เศรษฐีเอเชีย” ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 40% รอโอกาสลงทุน หลังจบวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1296116 Wed, 09 Sep 2020 11:28:02 +0000 https://positioningmag.com/?p=1296116 สถานการณ์ COVID-19 ทำให้คนรวยในเอเชียถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 40% เพื่อรอโอกาสลงทุนในตลาดเงินและหุ้นนอกตลาด หลังวิกฤตโรคระบาดจบสิ้น

Joseph Poon หัวหน้าฝ่ายไพรเวท แบงกิ้งของ DBS Group สถาบันการเงินที่ดูเเลลูกค้ามั่งคั่งรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้สัมภาษณ์ว่า หลังการเเพร่ระบาดของ COVID-19 กลุ่มลูกค้านักลงทุนรายใหญ่ของธนาคาร ได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองเงินสดเพิ่มขึ้น มาอยู่ที่ราว 40% ของพอร์ต จากเดิมเคยอยู่ที่ราว 30% ก่อนช่วงวิกฤต

การที่ลูกค้าถือเงินสดมากกว่าปกติ ถือเป็นปรากฏการณ์ที่น่าสนใจมาก โดยลูกค้าที่มีพอร์ตลงทุนอย่างน้อย 30 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ขึ้นไป เชื่อว่าตลาดจะมีโอกาสที่ดีในอนาคต หลังจาก COVID-19 หายไป

ผู้บริหารของ DBS เผยอีกว่า ตอนนี้กลุ่มลูกค้าเศรษฐีในเอเชีย กำลังพิจารณาที่จะลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงิน ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ธุรกิจโลจิสติกส์ เเละบางคนเริ่มวางแผนที่จะลงทุนต่อในธุรกิจส่วนตัว หรือขยายธุรกิจร่วมกับพันธมิตร

Photo : Shutterstock

จากข้อมูลที่รวบรวมโดย Bloomberg ระบุว่า หุ้นนอกตลาด (Private Equity Firm) ถือเงินสดอยู่ถึง 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากเกิด COVID-19 ทำให้ต้องหยุดการตกลงซื้อขายหุ้น

อย่างไรก็ตาม การถือเงินสดจำนวนมาก อาจทำให้ลูกค้าพลาดโอกาสที่จะลงทุนในตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา โดยดัชนี MSCI AC Asia Pacific เพิ่มขึ้นประมาณ 43% นับตั้งแต่ระดับต่ำสุดในเดือนมีนาคม

สำหรับธุรกิจของ DBS Private Bank ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีเงินไหลเข้าสุทธิเพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ โดยเงินทุนเหล่านี้ มาจากหลายเเห่ง ทั้งจากธุรกิจครอบครัวในอเมริกา ยุโรปและที่อื่นๆ ที่มองว่าสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายที่แข็งเเกร่ง

เเม้ในช่วงวิกฤต COVID-19 จะเจอมรสุมเศรษฐกิจหนักหนาสาหัส เเต่ตลาดกลุ่ม “ลูกค้ามั่งคั่ง” ยังเนื้อหอมเสมอ เป็นโอกาสของธุรกิจ Wealth Management หรือ Private Banking จะเข้ามาเจาะใจลูกค้ากระเป๋าหนัก

ปัจจุบัน DBS Private Bank ให้บริการลูกค้าที่มีสินทรัพย์อย่างน้อย 5 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 114 ล้านบาท) ณ สิ้นเดือนมิถุนายน มีอัตราการเติบโตจากปีที่แล้ว 7% ขณะเดียวหัน DBS กำลังจะขยายตลาดนอกสิงคโปร์ เเละตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มทรัพย์สิน 2 เท่าตัว โดยในไทยตั้งเป้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 8 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ให้ได้ภายในปี 2023 นอกจากนี้ ธนาคารยังต้องการขยายธุรกิจในฟิลิปปินส์ด้วย 

ทั้งนี้ ภาพรวมธุรกิจบริหารความมั่งคั่งของไทย โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีสินทรัพย์เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป มีการเติบโตในอัตราสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จากรายงานปี 2019 มูลค่าความมั่งคั่งของกลุ่มนี้มีถึง 10 ล้านล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 9.9%

 

ที่มา : SCMP , Bloomberg

 

 

]]>
1296116