ทักษะดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 26 Jun 2023 08:17:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “SKILLKAMP” โปรเจ็กต์จาก KBank ปลุกปั้น Tech Talent สู่โอกาสเป็นตัวท็อปในโลกดิจิทัล https://positioningmag.com/1435050 Tue, 27 Jun 2023 10:00:37 +0000 https://positioningmag.com/?p=1435050

KBank” เปิดโครงการ “SKILLKAMP” มุ่งเป้าที่จะช่วยพัฒนาทักษะให้คนทำงานรุ่นใหม่ให้กับเมืองไทย อุดช่องว่างการขาดแคลนแรงงานดิจิทัลที่เป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ของประเทศ ผ่านกิจกรรมเข้มข้นทั้งเวิร์กช็อปสร้างประสบการณ์ เป็นแต้มต่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการในการสมัครงานและการทำงานจริงในองค์กรต่างๆ พร้อมต่อยอดโครงการนี้ผ่านเว็บไซต์ WWW.SKILLKAMP.COM รวบรวมหลักสูตรด้านดิจิทัลกว่า 250 คอร์ส เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พัฒนาทักษะดิจิทัลของตนเอง

“ดิจิทัล ทรานสฟอร์ม” ที่เกิดขึ้นในองค์กรส่วนใหญ่ของไทย ทำให้แรงงานทักษะดิจิทัลหรือกลุ่ม Tech Talent” เป็นที่ต้องการตัว โดยข้อมูลจาก Amazon Web Service ระบุชัดเจนว่า 90% ขององค์กรในไทยต้องการบุคลากรที่มีทักษะดิจิทัล

ด้วยความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในระยะหลัง ประกอบกับโอกาสสร้างรายได้และเลื่อนตำแหน่งที่ดีกว่า ทำให้นักศึกษาไทยหันมาเลือกเรียนสายงานดิจิทัล รวมถึงคนทำงานรุ่นใหม่บางส่วนได้ ‘Reskill’ พัฒนาเปลี่ยนทักษะให้ตนเองเพื่อก้าวเข้าสู่ตลาดงานดิจิทัล

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักศึกษาจบใหม่หรือคนทำงานที่ต้องการเปลี่ยนสายงานเหล่านี้ยังขาดคือ “ประสบการณ์” การทำงานจริงซึ่งองค์กรทุกแห่งต่างมองหาในตัว Tech Talent จึงเป็นจุดตั้งต้นให้ธนาคารกสิกรไทยสร้างโครงการที่จะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างความต้องการและการจัดหาบุคลากรในตลาดงาน  ช่วยเจียระไนเพชรในกลุ่มคนที่มีทักษะให้ได้เข้าสู่ตลาดงาน

“พิพิธ เอนกนิธิ” กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึงการริเริ่มดำเนินโครงการ SKILLKAMP (สกิลแคมป์) ว่าเกิดขึ้นเพื่อสนับสนุนโอกาสการเติบโตในวิชาชีพให้กับทั้งนักศึกษา/คนทำงานที่เรียนจบในสายดิจิทัลโดยตรง และผู้ที่ไม่ได้จบมาโดยตรงแต่มีความสนใจจะพัฒนาตนเองในสายงานดิจิทัล ธนาคารกสิกรไทยจึงร่วมมือกับ SEEN จาก BASE Playhouse สตาร์ทอัพผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สร้างเป็นโครงการเวิร์กช็อปเพื่อคนทำงานสายดิจิทัลขึ้น

“พิพิธ เอนกนิธิ” กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย

ภารกิจของโครงการนี้คือการยกระดับการเรียนรู้และเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมได้แสดงความสามารถผ่านการพัฒนา Business Case ผู้ที่ผ่านเข้ารอบจนถึงรอบสุดท้ายและเข้าร่วมจนจบโครงการ จะได้รับเกียรติบัตรรับรองประสบการณ์การผ่านโครงการ SKILLKAMP เป็นแต้มต่อในการเข้าสู่องค์กรต่างๆ ในอนาคต

“เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์” CEO & Co-founder BASE Playhouse กล่าวว่า ทาง BASE Playhouse และทางธนาคารกสิกรไทยได้ใช้จุดแข็งของทั้งสองฝ่ายในการพัฒนาโครงการนี้ให้เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่มากที่่สุด

ฝั่ง KBank นั้นมีจุดแข็งในเรื่องพันธมิตร มีเครือข่ายบริษัทชั้นนำที่สามารถกระจายข้อมูลให้เป็นประโยชน์แก่คนรุ่นใหม่ ขณะที่ BASE Playhouse เองมีแพลตฟอร์ม SEEN ที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้คนรู้ว่าตนเองโดดเด่นในด้านใดและต้องการเสริมทักษะอะไรเพิ่มเติม นำไปสู่การสร้างเส้นทางเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง โดย SEEN จะวัดระดับความสามารถได้อย่างตรงจุด แม่นยำ จากการวิจัยที่ครอบคลุมทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ของสายอาชีพนั้นๆ พร้อมระบบป้องกันการทุจริต ทำให้โครงการ SKILLKAMP เป็นพื้นที่แสดงศักยภาพของคนรุ่นใหม่ในสายงานได้อย่างเต็มที่

“เมธวิน ปิติพรวิวัฒน์” CEO & Co-founder BASE Playhouse

โครงการ SKILLKAMP เริ่มเปิดรับสมัครไปเมื่อเดือนมีนาคม 2566 และเปิดรับผู้ที่สนใจแบ่งออกเป็น 5 สายวิชาชีพดิจิทัลที่ตลาดต้องการตัวมากที่สุด ได้แก่

1) Business Analyst
2) Data Analytics and Visualization
3) Front-End Developer
4) Performance Marketing
5) Web Developer

ในรอบแรกที่เปิดรับสมัคร มีผู้สมัครเข้ามาล้นหลามถึง 2,800 คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 3-4 จนถึงนักศึกษาจบใหม่ และคนทำงานในกลุ่ม first jobbers

รอบต่อมาจะเป็นการคัดเลือกด้วยข้อสอบ Pre-Assessment Test ที่แยกแบบทดสอบตามแต่ละสายวิชาชีพที่สมัคร ซึ่งผู้ที่ผ่านเข้ารอบจะได้เข้าสู่รอบการทำ Business Case

ในรอบ Business Case นี้ทาง SKILLKAMP จะมีการเชิญ “เมนเทอร์” ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากในสายวิชาชีพนั้นๆ มาเป็นที่ปรึกษาการพัฒนา Business Case ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการด้วย โดยผู้เข้าร่วมสามารถติดต่อเมนเทอร์ผ่านข้อความ (text) ได้ตลอดเวลา และนัดจองเวลาเพื่อขอคำปรึกษาจากเมนเทอร์ผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ สามารถปรึกษาได้ทุกประเด็น เช่น การวางกลยุทธ์ธุรกิจ การทำแคมเปญอีคอมเมิร์ซ การศึกษาตลาดเชิงประสิทธิภาพ การพัฒนาแอปพลิเคชั่น ขอเทคนิคพร้อมใช้จากเมนเทอร์เพื่อปฏิบัติจริงได้ดีขึ้น

รอบสุดท้ายของโครงการ SKILLKAMP คือรอบ Final Pitch ซึ่งโครงการจะคัดเลือกผู้เข้าร่วมที่พัฒนา Business Case ได้ดีที่สุดไม่เกิน 10 คนต่อสายวิชาชีพเข้าสู่รอบสุดท้ายนี้ เพื่อมานำเสนอผลงานต่อหน้าคณะกรรมการจากองค์กรธุรกิจชั้นนำทั้งหมด 5 องค์กร ได้แก่ แอสเซนด์ (Ascend) กสิกร ไลน์ (KASIKORN Line) ไรส์ (Rise) สตอรี่ล็อก (Storylog) และ  ไทยเบฟเวอเรจ (ThaiBev)

เสวนากับผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรธุรกิจชั้นนำ

ในการประกวดงานขั้นสุดท้ายจะไม่มีการประกาศผลรางวัล แต่ผู้ที่เข้าสู่รอบ Final Pitch ทั้งหมดจะได้รับประกาศนียบัตรการผ่านโครงการ SKILLKAMP ซึ่งในปี 2566 นี้มีผู้ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 45 คน


SKILLKAMP โครงการที่ได้ทำจริงกับตัวจริง

หลังสิ้นสุดรอบ Final Pitch ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทาง SKILLKAMP ได้รวบรวมความเห็นของผู้ที่ผ่านโครงการ และพบว่าโครงการนี้ได้ช่วยให้บุคลากรดิจิทัลเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์จริง

ยกตัวอย่างความเห็นจากกลุ่มนักศึกษาที่ยังอยู่ระหว่างเรียนและได้เข้าร่วมโครงการนี้ “ณัฐณิชา ธนปุณยนันท์” นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาตร์ มองว่าโครงการนี้เป็นการเปิดประสบการณ์การพัฒนา Business Case ครั้งแรกของตนเองซึ่งเป็นเรื่องที่ยากและท้าทาย แต่ทำให้ได้ทำอะไรใหม่ๆ ในขณะที่  “ปวีณ์นุช ฐานานุศักดิ์” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าร่วมโครงการในสายวิชาชีพ Performance Marketing มองว่า โครงการนี้มีจุดเด่นที่เมนเทอร์ที่ช่วยให้คำแนะนำเพื่อปรับปรุงใช้ในงานต่อไปและได้พัฒนาทักษะของตนเอง

ในกลุ่มนักศึกษาสายอาชีพก็สามารถสมัครได้เช่นกัน “กัณติกรณ์ สรสุริยวงษ์” นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปวส. สาขานักพัฒนาซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ มองว่าโครงการ SKILLKAMP เป็นพื้นที่ที่เปิดกว้าง ไม่จำกัดประสบการณ์หรือความรู้ก่อนเข้าโครงการ และบริษัทที่เข้าร่วมในโครงการล้วนน่าสนใจ เป็นโอกาสให้ได้ทดลองทำจริง ได้พัฒนาตัวเอง และอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ที่สนใจสายงานเทคโนโลยีเข้ามาสมัคร

ขณะที่ผู้ที่เรียนจบแล้วก็มีการสมัครเข้าโครงการ “ธรรพ์ณธร จักคำบาง” ซึ่งเพิ่งสำเร็จการศึกษาจากคณะการจัดการ ธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กล่าวว่าตนเองมีความสนใจงานด้านการตลาด (Marketing) แต่ไม่เคยมีประสบการณ์หรือความรู้มาก่อน การเข้าร่วมโครงการนี้จึงเป็นการเปิดมุมมองงานด้านการตลาดได้มากยิ่งขึ้น และได้คำแนะนำ คำชี้แนะที่ดีที่นึกไม่ถึงจากคณะกรรมการ ช่วยเติมเต็มความรู้ในสายงานนี้ได้เป็นอย่างดี


เปิดประตูแห่งโอกาส

โครงการ SKILLKAMP ยังเป็นแรงบันดาลใจให้ธนาคารกสิกรไทยต่อยอดไปสู่โครงการที่จะเปิดประตูแห่งโอกาส โดยคุณพิพิธกล่าวว่า ล่าสุด KBank ได้เปิดเว็บไซต์ WWW.SKILLKAMP.COM เพื่อรวบรวมหลักสูตรด้านดิจิทัลกว่า 250 หลักสูตร จากผู้พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ชั้นนำทั้งหมด 14 แห่ง ได้แก่  9Expert, BorntoDev, ConicleX, DataRockie, FutureSkill, HACKaTHAILAND, Klasssi, LINE Developers Thailand, PrasertCBS, SkillLane, Thai MOOC, ThaiWinner, WeStride และ Zinglecode

จุดประสงค์ของเว็บไซต์นี้ คือการคัดกรองคอร์สเรียนที่มีคุณภาพมานำเสนอกับผู้ที่สนใจต้องการฝึกทักษะดิจิทัลของตนเอง ด้วย 4 ไฮไลท์ฟีเจอร์พิเศษที่สำคัญ ที่จะช่วยประหยัดเวลา และทำให้การค้นหาตรงตามความต้องการ คือ 

  1. Curated Course Aggregator รวบรวมและคัดเลือกหลักสูตรคุณภาพด้านดิจิทัลและเทคโนโลยี เป็นที่ต้องการของตลาด
  2. Suggestion Learning Path แนะนำคอร์สเรียนจากหลากหลายแพลตฟอร์ม เพื่อเสนอหลักสูตรการเรียนรู้ (Learning path) สู่การเริ่มต้นในสายอาชีพ Data analyst, Database admin, Front-End Web Developer และ Digital Marketer ที่ถูกต้อง เหมาะสม รวดเร็ว และดีที่สุด เพื่อการเตรียมตัวให้บรรลุเป้าหมายอาชีพที่ต้องการ
  3. Blog Review บทความพิเศษจากผู้มีประสบการณ์ในสายงานจริง ที่จะมาแชร์ประสบการณ์การทำงาน การย้ายสายงาน เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษา และค้นหาความสนใจของตัวเองได้อย่างตรงความต้องการ
  4. Mentor Feature เมนเทอร์ที่คอยให้คำปรึกษาเจาะลึกของแต่ละหลักสูตร ไขข้อสงสัย และให้คำแนะนำกับผู้เรียน

โดยอนาคต KBank จะมีการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้เรียนเพื่อเฟ้นหาบุคลากรคุณภาพมาร่วมงานกับธนาคารกสิกรไทยและบริษัทในเครือ

พิพิธกล่าวด้วยว่า ธนาคารเชื่อมั่นว่าผู้เรียนในหลักสูตร SKILLKAMP จะได้ความรู้และประสบการณ์ไปต่อยอดในการทำงานจริง และในอีกมุมหนึ่ง โครงการจะช่วยให้มี “Tech Talent” เข้าสู่ตลาดงานมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กมีบุคลากรด้านเทคโนโลยีเพื่อช่วยให้เกิด “ดิจิทัล ทรานสฟอร์ม” ในองค์กรเช่นกัน เป็นกำลังสำคัญเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยในโลกธุรกิจแห่งอนาคต

พิเศษ! เมื่อลงทะเบียนแคมเปญหลักสูตรการเรียนรู้จาก SKILLKAMP ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายทั้ง Front-End Developer,  Data Analyst,  Database Admin และ Digital Marketer โดยเรียนจบภายในวันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคมนี้ สามารถเลือกรับ Voucher เรียนออนไลน์แบบบุฟเฟ่ต์บนเว็บไซต์ FutureSkill หรือ e-voucher starbucks มูลค่าสูงสุดถึง 750 บาท อ่านรายละเอียดแล้วสมัครเลยที่ https://www.skillkamp.com/campaign

 

 

]]>
1435050
FutureSkill ผนึกคอร์ส RE-CU เปิดหลักสูตรผู้บริหาร ใช้เทคโนโลยีพัฒนา “อสังหาฯ” ให้ล้ำสมัย https://positioningmag.com/1432692 Wed, 31 May 2023 13:20:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1432692 FutureSkill เปิดตัวหลักสูตรใหม่ “RECU The New Frontier” ที่พัฒนาร่วมกับ RE-CU ดึงผู้บริหาร “อสังหาฯ” เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีพลิกมุมมองการทำธุรกิจ สร้างโครงการและการตลาดที่ล้ำสมัย

ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ ไม่มีใครไม่รู้จักหลักสูตร RE-CU จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเปิดอบรมผู้ประกอบการอสังหาฯ มานาน 40 ปี มีศิษย์เก่าของหลักสูตรมากกว่า 7,000 คน

ขณะที่ FutureSkill เป็นธุรกิจการศึกษายุคใหม่ นอกจากแพลตฟอร์มเรียนออนไลน์สำหรับบุคคลทั่วไปแล้ว ยังมีการเปิดหลักสูตรผู้บริหารด้วยเช่นกัน

ล่าสุดทั้งสองหันมาจับมือกันเพื่อพัฒนาหลักสูตรใหม่ “RECU The New Frontier” นำความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝั่งมาผนึกกำลังกันเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้บริหารในธุรกิจอสังหาฯ

“รศ.มานพ พงศทัต” ประธานหลักสูตร RE-CU กล่าวว่า ในอดีตธุรกิจอสังหาฯ เป็นการผลิตสิ่งที่เป็นปัจจัยสี่ของชีวิต ทำให้การตลาดไม่ได้ปรับให้ซับซ้อนมากนัก แต่วันนี้แม้แต่ธุรกิจอสังหาฯ เองก็ต้องตามโลกให้ทันและเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ เป็นที่มาของหลักสูตร RECU The New Frontier

หลักสูตรนี้มีผู้ร่วมออกแบบหลักสูตรคือ “จิตติพงศ์ เลิศประดิษฐ์” ผู้ก่อตั้งและนายกสมาคม Martech Association – Thailand และ “ดิศรา อุดมเดช” ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Yell Advertising โดยโปรแกรมการเรียนต้องการพัฒนาให้ผู้บริหารอสังหาฯ เล็งเห็นอนาคตที่ล้ำสมัยกว่าเดิมของธุรกิจอสังหาฯ และการใช้เทคโนโลยีช่วยลดต้นทุน จนถึงการสร้างสรรค์การตลาดด้วยเครื่องมือใหม่ๆ

ดิศราอธิบายภาพธุรกิจอสังหาฯ ในไทยว่า ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่เก่งกาจในด้านการออกแบบทางวิศวกรรม แต่ปัจจุบันวิธีขายและทำการตลาดเปลี่ยนไป จากสมัยก่อนที่ออกแบบ ก่อสร้าง และขาย ปัจจุบันอสังหาฯ ยุคใหม่เกิดแนวคิดแบบ ‘Product-Led Growth’ คือ การออกแบบโครงการที่เป็นการตลาดในตัวเองมาตั้งแต่วันแรก ยกตัวอย่างในต่างประเทศ มักจะมีการพัฒนาโครงการที่ล้ำสมัย เป็นนวัตกรรมที่เปลี่ยนวิถีการอยู่อาศัย ใช้จินตนาการผลักดันการสร้างสรรค์นวัตกรรม

ขณะที่จิตติพงศ์เสริมว่า ในแง่การทำการตลาดในยุคแห่งดาต้าก็ท้าทายมากกว่าเดิม โดยเฉพาะธุรกิจอสังหาฯ​ มีความซับซ้อนในการเก็บดาต้า เพราะเป็นสินค้าที่ผู้ตัดสินใจซื้อไม่ได้มีคนเดียว บ้านหนึ่งหลังอาจมีคนร่วมตัดสินใจทั้งคุณพ่อ คุณแม่ และลูกๆ เป็นความท้าทายในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำความเข้าใจ

โปรแกรมการเรียน RECU The New Frontier

นอกจาก RECU The New Frontier แล้ว ปีนี้ FutureSkill ยังเปิดหลักสูตร CMT-Chief Marketing Technologists ต่อเนื่องเป็นรุ่นที่ 3 ด้วย โดยหลักสูตรนี้ต้องการจะสร้างผู้บริหารด้านการตลาดที่มีความรู้ในการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือ MarTech ทำงาน เพื่อวางกลยุทธ์หรือวิสัยทัศน์บริษัทให้ทันสมัยในโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว

“โอชวิน จิรโสตติกุล” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง FutureSkill แนะนำความสำคัญของการตามให้ทันนวัตกรรม อ้างอิงข้อมูลจาก McKinsey บริษัทที่ปรึกษาที่ได้ศึกษากลุ่มบริษัท S&P 500 และพบว่า บริษัทในกลุ่มนี้ที่ลงทุนด้านนวัตกรรม จะเติบโตได้สูงกว่าตลาด 30%

อีกทั้งในแง่การตลาดยุคใหม่ที่ต้องใช้เครื่องมือ MarTech แต่ปรากฏว่าเครื่องมือประเภทนี้ปัจจุบันมีมากถึง 9,900 ตัวในโลก ทำให้การเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์จึงสำคัญ โดยรุ่น 3 ของหลักสูตร CMT จะได้อบรมกับตัวจริงในวงการ เช่น “ณัฐพล ม่วงทำ” เจ้าของเพจการตลาดวันละตอน “แซม ตันสกุล” กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต, “สุธีรพันธุ์ สักรวัตร” ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานการตลาด ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ฯลฯ

สำหรับผู้ที่สนใจ หลักสูตร CMT จะเริ่มเรียนวันที่ 17 มิถุนายนนี้ ส่วนหลักสูตร RECU The New Frontier จะเริ่มเรียนวันที่ 1 กันยายน 2566 ติดตามรายละเอียดได้ที่ FutureSkill

 

อ่านบทความอื่นๆ 

]]>
1432692
‘Digital Literacy’ ไม่ใช่แค่ “ข้อได้เปรียบ” แต่เป็นสิ่งที่ “ต้องมี” สำหรับพนักงานทุกตำแหน่ง https://positioningmag.com/1402897 Mon, 03 Oct 2022 10:18:32 +0000 https://positioningmag.com/?p=1402897 ทักษะความเข้าใจและใช้งานดิจิทัลได้ หรือ Digital Literacy กลายเป็นสิ่งที่ “ต้องมี” สำหรับพนักงานทุกตำแหน่ง ทุกอุตสาหกรรมไปแล้ว ไม่ใช่แค่ “ข้อได้เปรียบ” ในการสมัครงานอีกต่อไป เพราะไม่ว่าจะทำงานอะไรก็หนีไม่พ้นความเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ดิจิทัลไม่มากก็น้อย

Digital Literacy ในสมัยก่อนหมายถึงต้องการพนักงานที่ส่งอีเมลเป็น พิมพ์งานบนคอมพิวเตอร์ได้ และมักจะเป็นแค่บางตำแหน่งที่ต้องใช้ให้เป็นและใช้คล่อง

แต่โลกทพัฒนาไปอย่างก้าวกระโดด ปัจจุบัน Digital Literacy คือการมีทักษะที่จะตามโลกดิจิทัลให้ทันในวันที่การสื่อสารและการเข้าถึงข้อมูลต้องใช้เทคโนโลยีมากขึ้นเรื่อยๆ

คอนเซ็ปต์ของทักษะนี้จึงเป็นความสามารถที่จะเข้าใจเครื่องมือดิจิทัลทั้งหมดที่มีในออฟฟิศ ไฮบริดออฟฟิศ หรือการทำงานทางไกลทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ทำงานออนไลน์ร่วมกันแบบเรียลไทม์ ระบบแอปฯ แชทในที่ทำงาน หรือเครื่องมือทำงานดิจิทัลใดๆ ที่ออฟฟิศใช้งานอยู่

การมี Digital Literacy วันนี้จึงไม่ใช่ความสามารถว่าใช้งานโปรแกรมอะไรเป็นบ้าง แต่กลายเป็น ‘mindset’ หรือทัศนคติที่จะเรียนรู้เครื่องมือใหม่ได้ตลอด ไม่ว่าจะเจอกับเทคโนโลยีอะไรที่มาพร้อมกับตำแหน่งงานนั้นๆ ก็ต้องสามารถปรับตัวให้ใช้งานมันเป็น และปรับตัวได้ต่อเนื่องถ้าบริษัทมีการเปลี่ยนอุปกรณ์หรือวิธีการทำงาน

Photo : Shutterstock

“ทักษะนี้กลายเป็นทักษะสากลที่ต้องมีกันเกือบทุกคน” Ying Zhou ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยด้านอนาคตการทำงานที่ University of Surrey ประเทศอังกฤษ กล่าว

รายงานจากรัฐบาลอังกฤษเมื่อปี 2019 พบด้วยว่า 82% ของประกาศรับสมัครงานออนไลน์ ต้องการคนที่มีทักษะดิจิทัลเป็นคุณสมบัติที่ต้องมี

Zhou กล่าวว่า พนักงานที่หยุดการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล มีความเสี่ยงที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง “ทุกครั้งที่เทคโนโลยีถูกพัฒนา ก็จะยิ่งผลักดันให้แรงงานต้องพัฒนาทักษะตาม กลายเป็นเหมือนการแข่งขันกันระหว่างการเรียนรู้ทักษะดิจิทัลและเทคโนโลยีใหม่ ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนาไปเร็วเท่าใด เราก็ยิ่งต้องพัฒนาทักษะตัวเองให้เร็วเท่านั้น การแข่งขันนี้จึงดันขีดจำกัดให้สูงขึ้นตลอดเวลา”

 

ทำไมทุกคนต้องมี Digital Literacy

“Digital Literacy เป็นคอนเซ็ปต์แบบกว้างๆ สิ่งนี้หมายถึงคุณสามารถทำงานกับอุปกรณ์ดิจิทัลได้ตั้งแต่งานง่ายๆ ไปถึงงานที่ซับซ้อนก็ทำได้” Zhou กล่าว “มันอาจจะเป็นไปได้ตั้งแต่ปรินท์เอกสารใบวางบิล ใช้งาน Word และ Excel เป็น หรืองานที่ซับซ้อนกว่านั้นอย่างการดีไซน์เว็บไซต์ วิเคราะห์ดาต้า และโค้ดดิ้งโปรแกรม”

งานวิจัยในศูนย์ฯ ของ Zhou พบว่า ตำแหน่งงานที่บอกว่าต้องการคนที่มีทักษะดิจิทัลนั้นเพิ่มสัดส่วนมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะแม้แต่งานที่ไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีโดยตรง ก็ยังต้องใช้งานดิจิทัลให้เป็นแล้ว เช่น พนักงานในโกดังสินค้า ต้องเข้าใจระบบการจัดการบนคลาวด์, แพทย์ต้องใช้ระบบพบหมอทางไกลกับคนไข้ผ่านวิดีโอคอล, ผู้รับเหมาต้องก่อสร้างโครงการและประสานงานกับคนอื่นผ่านแอปพลิเคชันเฉพาะทางด้านก่อสร้าง เทคโนโลยีจึงไม่ใช่เรื่องเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเท่านั้น

อาชีพแพทย์ก็ต้องปรับตัวมาใช้เครื่องมือดิจิทัลใหม่ๆ

“สิ่งที่เคยเป็นเหมือน ‘โบนัส’ ในการสมัครงาน ขณะนี้เป็นคุณสมบัติสำคัญของทุกตำแหน่งงานแล้ว” Danny Stacy หัวหน้าฝ่ายทาเลนต์อัจฉริยะของ Indeed แพลตฟอร์มจ้างงานในลอนดอน กล่าว

ยิ่งนายจ้างเริ่มหันมาทำงานแบบไฮบริดหรือทำงานทางไกลได้มากขึ้นเท่าไหร่ ความต้องการพนักงานที่มีทักษะดิจิทัลก็ยิ่งมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของ Digital Literacy ไม่ได้แปลว่าพนักงานจะต้องใช้ซอฟต์แวร์เป็นทุกอย่างมาก่อนจะได้ทำงาน แต่ต้องมีความมั่นใจในทักษะดิจิทัลของตนเอง พร้อมที่จะ “อัปเกรด” กระตือรือร้น ยืดหยุ่น ปรับตัวที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ (และต้องทำให้ได้เร็วๆ ด้วย) รวมถึงมีทัศนคติที่ยอมรับว่าการมีอุปกรณ์ที่ถูกต้องจะทำให้การทำงานราบรื่นและพนักงานทำงานร่วมกันได้คล่องตัวกว่า

Zhou กล่าวด้วยว่า วิธีการที่พนักงานจะเรียนรู้ Digital Literacy ได้เร็วที่สุด ก็คือการเรียนรู้จากการทดลองทำและผิดพลาด การเรียนรู้จากเพื่อนพนักงานด้วยกันคือวิธีที่ดีที่สุด

Source

]]>
1402897