ทีเอ็มบีธนชาต – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Tue, 05 Mar 2024 06:32:18 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ‘ทีทีบี’ ชูคอนเซ็ปต์ Humanized Digital Banking เจาะ 4 กลุ่มลูกค้าของธนาคารผ่านแอป ttb touch https://positioningmag.com/1465083 Tue, 05 Mar 2024 06:20:44 +0000 https://positioningmag.com/?p=1465083 ทีเอ็มบีธนชาต ประกาศกลยุทธ์ในปี 2024 โดยชูคอนเซ็ปต์ Humanized Digital Banking เจาะ 4 กลุ่มลูกค้าของธนาคาร โดยผู้บริหารสูงสุดมองว่ามนุษย์และเทคโนโลยีสามารถที่จะเดินทางร่วมกันได้ ขณะเดียวกันธนาคารไม่สนใจที่จะขอใบอนุญาต Virtual Banking แต่อย่างใด

ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ได้กล่าวถึง แผนการของธนาคารเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นแล้ว แม้ว่าตอนนี้จะเจอสิ่งที่ท้าทาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาหนี้ในครัวเรือน หรือแม้แต่ความต้องการลูกค้าที่เปลี่ยนไปตลอดเวลาของคนไทย คำถามคือแบงก์จะไปทางไหนต่อ

เขาได้กล่าวว่าถ้าหากหันมามองดูการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ธนาคารได้เร่งทรานส์ฟอร์ม (Transform) องค์กรในหลายมิติ และได้นำเทคโนโลยีมาดูแลลูกค้าโดยเฉพาะ 4 กลุ่มลูกค้าหลักที่ธนาคารมีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ กลุ่มคนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth 

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ttb ยังได้กล่าวถึงคอนเซ็ปต์ Humanised Digital Banking ทำยังไงให้แต่ละลูกค้าแต่ละคนได้รับบริการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งความต้องการของลูกค้าแต่ละคนต่างกัน ขณะเดียวกันเขายังมองว่าการอยากมีความสามรถด้านดิจิทัลไม่ใช่แค่ไปจ้างคน แต่ต้องเกิดจาก DNA ขององค์กรด้วย

กลยุทธ์ในการ Transform ธนาคารในปี 2024

  1. Digital Transformation โดย ttb ได้จัดตั้งทีมดิจิทัลขึ้นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อเดินหน้าพัฒนาแอป ttb touch และ ttb business one เพื่อยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นให้กับลูกค้าทั้งรายย่อยและธุรกิจ และยังสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลขององค์กรเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ๆ
  2. Revenue Model Transformation เริ่มต้นจากการนำผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ของธนาคารขึ้นมาอยู่บนแอป ttb touch และปัจจุบันธนาคารได้นำ Personalized AI Engine มาใช้เพื่อสร้างประสบการณ์พิเศษแบบเฉพาะบุคคล
  3. Channel & Process Transformation ธนาคารต้องการยกระดับความสะดวกสบายของลูกค้าในการใช้บริการมากยิ่งขึ้น โดยให้ความสำคัญกับการส่งมอบ Digital-First Experience ซึ่งวันนี้ 94% ของธุรกรรมที่สาขา ลูกค้าสามารถเปลี่ยนมาทำธุรกรรมได้ผ่านแอป ttb touch และที่ผ่านมาธนาคารมุ่งเน้นให้พนักงานสาขาเป็น Digital Ambassador แนะนำให้ลูกค้าทำธุรกรรมผ่านแอปฯ เพื่อความสะดวก ลดเวลาการเดินทางไปสาขา และปรับเปลี่ยนบทบาทพนักงานให้เป็นที่ปรึกษาและให้บริการในธุรกรรมที่ซับซ้อนมากขึ้น
  4. Organizational Transformation โดย ttb ได้ปรับเปลี่ยนองค์กรในช่วงที่ผ่านมา โดยสร้างทีมดิจิทัลที่แข็งแกร่ง หรือ ttb spark เพื่อเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพทางด้านดิจิทัลอย่างเต็มที่ รวมถึงการพัฒนาและยกระดับทักษะให้กับบุคลากรทั้งองค์กรให้มีความเชี่ยวชาญในทักษะใหม่ๆ ที่จำเป็นต่อการทำงาน
ปิติ ตัณฑเกษม – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต / ภาพจากบริษัท

สำหรับบริการที่เจาะกลุ่ม คนมีรถ คนมีบ้าน พนักงานเงินเดือน และลูกค้า Wealth นั้นจะมีฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์การใช้งานของลูกค้าแต่ละกลุ่ม หรือแม้แต่สิทธิประโยชน์รวมถึงความร่วมมือจากพันธมิตรหลายองค์กร เช่น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เต้นท์รถ ประกันภัย เป็นต้น ซึ่งทุกอย่างจะอยู่บนแอป ttb touch

ปิติ ยังได้กล่าวถึงการนำเทคโนโลยีมาใช้นั้นองค์กรจะต้องยึดเรื่อง Data เป็นของลูกค้าไม่ใช่ของแบงก์ ทำให้ธนาคารต้องยึดหลักความปลอดภัยเป็นเรื่องหลัก ขณะที่งบลงทุนด้านไอทีถือว่าเยอะพอสมควร โดยเม็ดเงินมาจากการลดละเลิกต่างๆ มาลงทุนเรื่องเหล่านี้ รวมถึงประโยชน์จากการควบรวมกิจการ เขายังชี้ว่าหลังจากลงทุนด้านเทคโนโลยีต้นทุน (Cost To Income Ratio) ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ในขณะที่การชวนพันธมิตรมาร่วมในแอป ttb touch ปิติได้กล่าวว่า ต้องค่อยๆ ทำให้เห็น และชวนมาสร้างความแตกต่าง และเขาชี้ว่าการการชวนพันธมิตรมาร่วมทำสิ่งเหล่านี้ได้สร้างความแตกต่าง ขณะเดียวกันเขาอยากเชิญชวนพันธมิตรหรือองค์กรหลายแห่งมาร่วมมือกันในปีนี้คือการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนของไทยที่มีสัดส่วนสูง ซึ่งเขามองว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต ยังกล่าวว่า ธนาคารไม่สนใจที่จะขอใบอนุญาต Virtual Banking จากธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมองว่า Virtual Bank ไม่ใช่คำตอบของทุกเรื่อง แต่มองว่าอยากอยู่โลกทั้ง 2 ใบไม่ว่าจะเป็นโลกดิจิทัลและโลกมนุษย์ เพราะมีความสำคัญเท่าๆ กัน

]]>
1465083
“ttb” กับการขึ้นเป็นธนาคารขนาดใหญ่ วางแบรนด์ให้ต่างด้วยกลยุทธ์ The Bank of Financial Well-being https://positioningmag.com/1378308 Mon, 21 Mar 2022 12:30:03 +0000 https://positioningmag.com/?p=1378308

การรวมกิจการของ “ทีเอ็มบี” และ “ธนชาต” เกิดเป็นธนาคารขนาดใหญ่แห่งใหม่ คือ “ttb” หรือ   ทีเอ็มบีธนชาต ขึ้นมาเบียด Top 6 กับธนาคารใหญ่แห่งอื่นๆ เมื่อเป็นธนาคารสเกลใหญ่ขึ้น ทำให้การวางตัวตนของ “แบรนด์” ต้องมีความแตกต่าง โดยทีเอ็มบีธนชาตเลือกที่จะวางคอนเซ็ปต์ธนาคารให้เป็น The Bank of Financial Well-being เพื่อฉีกแนวออกไป

ในบรรดาธนาคารขนาดใหญ่ของไทยแต่ละแห่งมีการวางแบรนด์และทิศทางธุรกิจแตกต่างกัน แต่ละค่ายมี     คาแรกเตอร์และฐานลูกค้าของตนเองในตลาด ทำให้การรวมกิจการของ “ttb” ถูกจับตามองว่าจะขึ้นมาวางตนเองในทิศทางไหนเพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ถึงแบรนด์ใหม่ และเกิดความน่าสนใจขึ้น

เกริ่นย้อนไปถึงก่อนการรวมกิจการว่า แต่ละธนาคารที่จะมารวมกันนี้ต่างก็มีจุดแข็งของตัวเองอยู่ก่อนแล้ว อย่าง “ทีเอ็มบี” มีความโดดเด่นเรื่องบัญชีเงินฝาก และภาพลักษณ์ดิจิทัลที่ทันสมัย ส่วน “ธนชาต” นั้นเป็นแบงก์ที่เด่นด้านการให้สินเชื่อรถยนต์ และมีความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าเชิงลึกจากการปล่อยสินเชื่อรายย่อย

เมื่อมารวมกัน จึงต้องไม่ทิ้งจุดแข็งของทั้งสองแบรนด์ และหาจุดร่วมใหม่ที่จะสร้างความ ‘ว้าว’ ขึ้นมาได้

ก่อนหน้านี้ ทีมทีเอ็มบีธนชาตได้ทำการศึกษาตลาด และค้นพบว่ายังมีช่องว่าง ทำให้ธนาคารเลือกวางตนเองเป็น “ผู้นำการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น” หรือ The Bank of Financial Well-being โดยได้รับเสียงตอบรับจากลูกค้าว่าเป็นแนวคิดที่แตกต่างจากธนาคารอื่น และนี่จะเป็นคอนเซ็ปต์หลักที่ทำให้ธนาคารแข่งขันได้


ไม่ได้เป็นแค่สโลแกน แต่เป็นแกนหลักของการพัฒนาโซลูชันทางการเงิน

ผ่านไปมากกว่าครึ่งปี ttb ได้วางรากฐานให้เราเห็นว่า คอนเซ็ปต์ “The Bank of Financial Well-being” ของธนาคาร ไม่ได้ต้องการให้เป็นแค่สโลแกน แต่เป็นแกนกลางในการพัฒนาโซลูชันทางการเงินต่าง ๆ ทั้งหมด ttb ต้องการให้คุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ออกมา มีคุณค่าหลักคือต้องทำให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้น

ยกตัวอย่าง บัญชีเงินฝากของธนาคาร ttb all free เป็นบัญชีที่ให้ฟรีรอบด้าน ฝาก ถอน โอน จ่ายแล้ว ยังให้ฟรีประกันชีวิตและอุบัติเหตุ ลูกค้าจะได้การคุ้มครองพื้นฐานฟรีทันที เมื่อลูกค้าได้ประโยชน์มากขึ้น จึงทำให้ยอดเงินฝากของบัญชี ttb all free เพิ่มขึ้น 15%

หรือกลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่งสูง ttb ก็ออกบัตรเครดิต ttb reserve ภายใต้คอนเซ็ปต์ “ความสำเร็จต่อยอดได้ไม่มีที่สิ้นสุด” มาต่อยอดด้านการเงิน การลงทุนด้วยการให้คะแนนสะสม ตั้งแต่ยังไม่ได้ใช้จ่าย และสามารถนำไปแลกเป็นส่วนลดในการลงทุนหรือซื้อประกันได้ การพัฒนาโปรดักส์นี้ได้ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นอย่างดี ทำให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของธนาคารให้การตอบรับถือบัตรนี้กว่า 60% ภายในเวลา 6 เดือน

รวมไปถึง “วิธีคิด” ของธนาคารที่ต้องการให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ส่งผลรุนแรงต่อเศรษฐกิจ ttb ได้ช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบไปกว่า 750,000 ราย ทั้งลูกค้าบุคคลและลูกค้าธุรกิจผ่านมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ผ่านวิกฤตเศรษฐกิจไปได้


ขยับโครงสร้างองค์กรเพื่อตอบโจทย์

ตัวอย่างข้างต้นเป็นโปรดักส์ปลายทางที่เราได้เห็น แต่จะออกโปรดักส์ที่ตอบโจทย์ได้ ต้องย้อนกลับขึ้นไปจัดโครงสร้างองค์กร เพื่อที่อนาคตจะพัฒนาโซลูชันทางการเงินให้ลูกค้าได้ครบและคล่องตัวตามเป้าหมาย ซึ่ง ttb ได้ดำเนินการจัดโครงสร้างองค์กรไปแล้ว เช่น การซื้อหุ้น 10% ใน บริษัท ธนชาตประกันภัย และ บริษัทหลักทรัพย์ธนชาต เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านประกันและการลงทุน สร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับลูกค้า รวมไปถึงการที่ ttb broker ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรบริษัทประกันภัยรวมกว่า 20 บริษัท

ขณะที่ผลิตภัณฑ์ด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล มีแผนการจัดตั้งบริษัทลูกแยกออกมาในชื่อ ttb consumer พร้อมลุยตลาดนี้โดยเฉพาะ ตั้งเป้าขึ้นเป็น Top 4 ของตลาดบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล

ที่สำคัญที่สุด คือ ttb ได้จัดตั้งทีม ‘ttb spark’ แยกออกมาดูแลด้านดิจิทัลโซลูชัน เป็นการปรับโครงสร้างสำคัญของ ttb เพราะการแยกทีมทำงานด้านดิจิทัล จะเพิ่มความคล่องตัวในการทำงาน ทีมนี้มี Digital DNA ที่กล้าที่จะคิดนอกกรอบและไม่กลัวที่จะทดลองวิธีการใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาดิจิทัลโซลูชันที่จะช่วยแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งถือเป็น Way of working ที่แข็งแรง อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในช่วงที่ผ่านมา


ttb spark รับภารกิจดิจิทัลแบงก์กิ้งที่รู้ใจ

หลายปีที่ผ่านมา ทุกธนาคารเริ่มมุ่งสู่ถนนสายเดียวกัน คือ ถนนแห่งการปรับเปลี่ยนเป็น “ดิจิทัลแบงก์กิ้ง” บางธนาคารอาจแตกแยกสายออกไปอีกเส้นทางด้วยการสร้างบริษัทลูกด้านเทคโนโลยีในด้านอื่น ๆ แต่สำหรับ ttb แล้ว จุดโฟกัสจะยังอยู่กับการสร้าง ‘Humanized Digital Banking’ หรือ ดิจิทัลแบงก์กิ้งที่เป็นมิตรและรู้ใจ เน้นเรื่องการส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นตามคอนเซ็ปต์หลักของธนาคาร

ความหมายคือ สิ่งที่ ttb spark พัฒนานั้นจะไม่ใช่การวิ่งตามเทรนด์ดิจิทัลใด ๆ ก็ได้ แต่โซลูชันนั้นต้องมา แก้ปัญหา’ ให้กับลูกค้า แก้ปัญหาได้ทั้ง Ecosystem และทำให้ลูกค้าได้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ตัวอย่างผลงานที่ผ่านมาของทีม ttb spark มีการปั้นแพลตฟอร์ม “ปันบุญ” www.panboon.org ขึ้นมาแก้ปัญหาโมเดลธุรกิจการรับบริจาคของมูลนิธิ เมื่อมารวมศูนย์กันทำให้ผู้บริจาคทำบุญออนไลน์ง่ายขึ้น มูลนิธิเองก็ลดค่าใช้จ่ายการดำเนินการลง เพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้บริจาคมากขึ้น ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย ทำให้มีมูลนิธิเข้าร่วมแพลตฟอร์มแล้วกว่า 180 แห่ง และมีการบริจาคผ่านแพลตฟอร์มมากกว่า 200 ล้านบาท ใน 1 ปี

ทีมนี้ยังสร้างโซลูชัน ttb business one มาแก้ปัญหาให้ลูกค้าธุรกิจ ทำให้ลูกค้าบริหารจัดการธุรกิจทางดิจิทัลได้ง่ายขึ้น ความสะดวกในการใช้งานส่งผลทำให้รายการธุรกรรมที่ทำผ่านช่องทางนี้เติบโต 160% นับตั้งแต่เปิดตัว

ล่าสุดทีมยังปรับโฉมใหม่ให้กับ แอปพลิเคชัน ttb touch ต่อจากนี้จะไม่ใช่แค่แอปฯ โอนเงิน แต่มีการใช้ระบบ Data Analytics วิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าและนำเสนอแต่สิ่งที่คาดว่าจะตรงใจลูกค้ามากที่สุด ทำให้แอปฯ เป็นเหมือนผู้ช่วยส่วนตัวทางการเงินให้ชีวิตลูกค้าดีขึ้นรอบด้าน พร้อมนำเสนอข้อมูล แนะนำ ช่วยเหลือ และส่งมอบสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงแจ้งเตือนธุรกรรมให้กับลูกค้าได้ในระดับบุคคล (Personalization)

เพียงระยะเวลา 7 เดือนหลังการรวมกิจการ ttb สามารถวางฐานการเป็นแบรนด์ใหม่ในใจผู้บริโภคได้สำเร็จ วัดจากการสำรวจ Brand Survey ของธนาคารเองพบว่า มากกว่า 50% ของผู้ถูกสำรวจมองว่า ttb เป็นธนาคารที่มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นว่าธนาคารกำลังเดินมาถูกทางแล้ว

ถือเป็นการเริ่มต้นที่น่าสนใจของธนาคารแบรนด์ใหม่ในสนามแข่งขันของกลุ่มแบงก์ยักษ์ และต้องติดตามต่อจากนี้ว่า ttb จะเดินหน้าคอนเซ็ปต์ The Bank of Financial Well-being ด้วยการส่งต่อโซลูชันอะไร เพื่อครองใจลูกค้า และทำให้ชีวิตทางการเงินของคนไทยดีขึ้นได้ทั้งในวันนี้ และอนาคต

]]>
1378308
เปิดแผน ‘ttb’ บุกดิจิทัลแบงก์กิ้ง ปรับโฉมแอปฯ ใหม่ ตั้งบริษัทลูกจับตลาดบัตรเครดิต-สินเชื่อ https://positioningmag.com/1375908 Tue, 01 Mar 2022 11:55:31 +0000 https://positioningmag.com/?p=1375908 เปิดเเผนกลยุทธ์ปี 65 ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ ปรับโครงสร้างธุรกิจ ตั้งหน่วยงาน “ttb spark” บุกดิจิทัลแบงก์กิ้งเต็มสูบ เปิดตัวบริษัทลูก “ttb consumer” เพื่อความคล่องตัว หวังดันขึ้น TOP 4 ในตลาดบัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล พร้อมปล่อยแอปพลิเคชัน ‘ttb touch’ โฉมใหม่ เม.ย.นี้ 

หลังการรวมกิจการของ 2 ธนาคารใหญ่ในไทยทั้งทีเอ็มบีและธนชาตสู่การเป็น ทีเอ็มบีธนชาตหรือ ttb เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อเดือนก..ปีที่ผ่านมา วันนี้ปิติ ตัณฑเกษมประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) มาอัปเดตถึงความเคลื่อนไหวต่างๆ พร้อมกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจ ปี 2565

ทีเอ็มบีธนชาตแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือลูกค้าได้รอบด้านขึ้น ผ่านการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินหลากหลายรูปแบบกระแสตอบรับจากลูกค้าและสังคมที่มีต่อธนาคาร เริ่มเด่นชัดมากขึ้นเรื่อยๆ

ที่ผ่านมา ธนาคารได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ เช่น บัญชี ttb all free ที่เพิ่มความคุ้มครองด้านการประกันชีวิตและอุบัติเหตุฟรี ช่วยให้ลูกค้ากว่า 1.9 ล้านราย มีความคุ้มครองพื้นฐานโดยไม่เสียเงิน และส่งผลให้ธนาคารมียอดเงินฝากจากผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เติบโตสูงถึง 15%

บัญชีเงินฝากประจำ ttb up and up ที่ถอนได้ก่อนกำหนด โดยไม่ถูกลดดอกเบี้ย ตอบโจทย์การออมของลูกค้าที่ต้องการดอกเบี้ยสูง มีลูกค้าเปิดใช้บัญชีเพิ่มขึ้นถึง 120,000 ราย ผลิตภัณฑ์การลงทุน ttb smart port สามารถทำยอด IPO สูงสุดในประวัติศาสตร์ ด้วยยอดขายในสัปดาห์แรกกว่า 1 หมื่นล้านบาท และเติบโตเป็น 2 เท่า ภายในเวลา 6 เดือน

รวมถึงบัตรเครดิต ttb reserve มีผลตอบรับการถือบัตรจากลูกค้ากลุ่มที่มีความมั่งคั่งสูงของธนาคารกว่า 60% ภายในเวลาเพียง 6 เดือน ตลอดจนการเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมกว่า 750,000 ราย 

นอกจากนี้ ธนาคารได้ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยผลักดันโครงการพักทรัพย์พักหนี้ และการรวมหนี้ (Debt Consolidation) เพื่อให้กลุ่มธุรกิจ เช่น โรงแรม และภาคประชน สามารถผ่านวิกฤตไปได้

ด้วยสถานการณ์โควิด เเละสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ธนาคารต้องปรับตัว คิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า สนับสนุนลูกค้าทุกด้าน โดยช่วงนี้ลูกค้ารายใหญ่กำลังเผชิญกับความผันผวนจากสงครามที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนลูกค้า SMEs ดีขึ้นกว่าปีก่อน เเต่ก็ยังมีความไม่เเน่นอนอยู่ ส่วนลูกค้าบุคคลทั่วไปยังเจอปัญหาหนี้ครัวเรือนไทยที่อยู่ในระดับสูง เราก็ต้องเข้าไปดูแลลูกค้ากลุ่มต่างๆ ให้ตรงจุด

ส่ง ttb consumer ลุยตลาดบัตรเครดิต-สินเชื่อ 

เมื่อปลายปี 2564 ttb ได้เข้าซื้อหุ้น 10% ในบริษัทธนชาตประกันภัยและบริษัทหลักทรัพย์ธนชาตสร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้านประกันและการลงทุนสร้างทางเลือกที่หลากหลายให้กับลูกค้า

รวมไปถึงการที่ ttb broker ซึ่งเป็นบริษัทลูกของธนาคารได้ขยายเครือข่ายพันธมิตรบริษัทประกันภัยรวมกว่า 20 บริษัท เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและคุ้มครองความเสี่ยงให้กับลูกค้าของธนาคารได้ครบทุกรูปแบบในราคาที่เหมาะสม

ล่าสุด ธนาคารได้วางแผนจัดตั้งบริษัทใหม่ คือ ‘ttb consumer’ เพื่อเพิ่มศักยภาพการนำเสนอบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคลที่ครบวงจรและการเข้าถึงลูกค้าได้ในวงกว้าง พร้อมนำเสนอและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

“เราวางเป้าหมายว่า ttb consumer จะสามารถก้าวขึ้นติดอันดับ 1 ใน 4 ของธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล” 

โดย ttb consumer จะทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวแทนจำหน่ายที่กระจายผลิตภัณฑ์ต่างๆของ ttb ออกไปให้เข้าถึงผู้คนกลุ่มที่กว้างขึ้น เช่นเดียวกันหลายธนาคารที่มักจะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นเพื่อความยืดหยุ่นในการทำธุรกิจ 

ส่วนแนวโน้มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ในปีนี้ ttb มองว่าความต้องการซื้อรถยนต์เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามภาวะของเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว แต่ยังมีความท้าทายในเรื่องซัพพลายเชนการผลิตและส่งมอบรถยนต์ที่เกิดความล่าช้า

ปั้นทีม ttb spark พัฒนาดิจิทัลโดยเฉพาะ

ttb มีการปรับโครงสร้างภายใน เพื่อพัฒนาด้านดิจิทัล ภายใต้แนวคิด ‘Humanized Digital Banking’ โดยได้จัดตั้ง ‘ttb spark’ ทีมงานที่มีเป้าหมายในการสร้างสรรค์ไอเดียและพัฒนาดิจิทัลโซลูชันโดยเฉพาะขึ้นมา แยกโครงสร้างการทำงานออกมาอย่างชัดเจนเพื่อเพิ่มความคล่องตัว 

รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ทีทีบี สปาร์ค เล่าว่า หน่วยงานใหม่นี้จะที่ทำงานรูปแบบ Agile คิดนอกกรอบและทดลองวิธีการใหม่ๆ พัฒนา Ecosystem ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มปันบุญ หรือ www.punboon.org ที่ช่วยให้มูลนิธิปรับ Business Model เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริจาคใหม่ๆ ได้

รวมไปถึงโซลูชัน ttb business one ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้กับลูกค้าธุรกิจ “มีจำนวนการทำรายการผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้นกว่า 160% ตั้งแต่เปิดตัว

เปิดตัว ‘ttb touch’ โฉมใหม่ 

จากกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจ ภายใต้แนวคิด ‘The Bank of Financial Well-being’ ปีนี้ธนาคารเตรียมที่จะพลิกโฉมแอปพลิเคชัน ‘ttb touch’ ให้กลายเป็นผู้ช่วยส่วนตัวและ ที่ปรึกษาที่รู้ใจ ช่วยให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้นได้อย่างรอบด้าน สำหรับ 4 ฟีเจอร์เด่นของ ttb touch ได้เเก่

  •  ผู้ช่วยส่วนตัว

ให้ข้อมูลและแจ้งเตือนเรื่องสำคัญที่เกี่ยวกับลูกค้าโดยเฉพาะ ด้วยการใช้ Data Analytics วิเคราะห์พฤติกรรม นำเสนอ และ ช่วยแจ้งเตือนในธุรกรรมสำคัญต่าง ๆ

  • ให้คำแนะนำและทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย

เช่น บริการด้านประกันที่จะช่วยรวบรวมข้อมูล และแสดงผลภาพรวมความคุ้มครองทั้ง 3 ด้าน คือ ดูแลสุขภาพ ออมเพื่อเกษียณ และ ดูแลคนข้างหลัง โดยแสดงให้เห็นว่าประกันที่มีครอบคลุมและเพียงพอกับ Lifestyle และ Life Stage ของลูกค้าหรือไม่ ทำให้เรื่องประกันที่ซับซ้อนกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย

  • รวบรวมและจัดระเบียบเอกสารทางการเงินไว้บน ttb touch

สะดวกในการค้นหา เรียกดูง่าย และ ขอเอกสารได้ ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปสาขาอีกต่อไป เช่น เอกสารรับรองสถานะทางการเงิน และเอกสารข้อมูลเครดิตบูโร

  • รวบรวมสิทธิประโยชน์ไว้ในที่เดียว

พร้อมเลือกสรรแคมเปญโปรโมชันที่เหมาะสำหรับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าไม่พลาดทุกความคุ้มค่าที่ธนาคารมอบให้

ในอนาคต ‘ttb touch’ จะเป็นมากกว่าผู้ช่วยและที่ปรึกษาเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการธนาคารโดยจะเข้ามาช่วยจัดการด้านอื่นๆ เช่นการบริหารจัดการเรื่องการจ่ายค่างวดสินเชื่อรถต่อประกัน รวมไปถึงการขายรถและการหาซื้อรถคันใหม่มาทดแทน

ธนาคารหวังจะผลักดันให้  ttb touch เป็น Mobile Banking ที่มีฐานผู้ใช้งานระดับ Top 3 ของอุตสาหกรรม จากปัจจุบันที่มีฐานลูกค้าใช้งาน ttb touch อยู่ราว 4 ล้านราย โดยคาดว่าแอปพลิเคชันโฉมใหม่ จะเปิดตัวได้ภายในเดือนเม.. นี้นริศ อารักษ์สกุลวงศ์ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ทีทีบีสปาร์ค กล่าว

เมื่อถามถึงกระแสที่ตอนนี้หลายธนาคารในไทยเริ่มจับมือกับแพลตฟอร์มคริปโตเคอร์เรนซี ทาง ttb มีแผนจะรุกกลุ่มนี้หรือไม่ และมีความเห็นเกี่ยวกับการลงทุนด้านนี้อย่างไรนั้น ซีอีโอ ttb ตอบว่า

สูตรของ ttb ง่ายมาก เวลาจะทำอะไร เราจะถามคำถามเดียวว่า ลูกค้าจะได้อะไร เพราะแบงก์มีอยู่ก็เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า ถ้าการจับมือนั้นจะนำไปสู่โซลูชันหรือโปรดักต์ที่ทำให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้น ไม่ว่าจะลูกค้ารายใหญ่ ลูกค้า SMEs หรือรายย่อย เราก็มีความสนใจ 

แต่ถ้าการจับมือไม่ได้นำไปสู่จุดนั้น เราก็คงไม่ได้ทำไปตามกระแสที่ว่าเมื่อทุกคนทำเราต้องทำบ้าง เพราะถ้าเกิดว่า สิ่งนั้นทำแล้วไม่ได้ตอบรับกับกลยุทธ์ของเราที่จะได้เครื่องมือใหม่ ผลิตภัณฑ์ใหม่ แนวคิดใหม่ หรือพาร์ทเนอร์ใหม่ๆ ที่จะมาช่วยเราพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับชีวิตทางการเงินของลูกค้า เราก็คงจะไม่สนใจ เพราะว่าแค่โปรดักต์ไลน์อัพที่เราจะต้องพัฒนากันอยู่ตอนนี้ ก็ทำกันแทบไม่ทันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเราคงไม่ไปทำอะไรที่ทำให้สูญเสียโฟกัสตรงนี้ออกไป” 

]]>
1375908
มูฟใหม่ ‘ทีเอ็มบีธนชาต’ เเข่งตลาด Wealth ส่ง ‘ttb reserve’ เจาะลูกค้ารายได้สูง 3 เเสน/เดือน https://positioningmag.com/1335743 Mon, 07 Jun 2021 12:07:04 +0000 https://positioningmag.com/?p=1335743 ทีเอ็มบีธนชาต ขยับมูฟใหม่หลังรวมกิจการ เปิดตัว ‘ttb reserve’ (ทีทีบี รีเซิร์ฟ) ลงสนามตลาด Wealth เจาะลูกค้ามั่งคั่ง รายได้สูง 3 เเสนบาทต่อเดือน ด้วยคอนเซ็ปต์ Earn Fast – Burn Smart ตั้งเป้าสิ้นปีมีลูกค้าบัตร 3 หมื่นใบ เเนะจัดพอร์ตเน้นตราสารทุนหุ้น มุ่งกระจายลงทุนไปต่างประเทศ

อนุวัติร์ เหลืองทวีกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) เล่าว่า ภายหลังการรวมกิจการของทั้ง 2 ธนาคารอย่างทีเอ็มบีเเละธนชาต สำเร็จลุล่วง ทำให้ ttb มีฐานลูกค้ารายย่อยรวมกว่า 10 ล้านราย และมีจำนวนสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) อยู่ที่ 1.3 ล้านล้านบาท 

ในจำนวนนี้ น่าสนใจว่าเป็นกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งกว่า 80,000 ราย เเม้จะคิดเป็นเพียง 1% ของลูกค้ารายย่อยทั้งหมด เเต่กลับมี AUM สูงถึง 7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 55% ของ AUM ในภาพรวมเลยทีเดียว

นับเป็นโอกาสธุรกิจสำคัญ ที่ธนาคารจะพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาฐานลูกค้ากลุ่มนี้เอาไว้ โดยกว่า 36% ของกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง มีอายุราว 35-55 ปี เเละอีก 57% อยู่ในช่วงอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป จากข้อมูลยังพบว่า 60% อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งมีผู้ถือบัตรเครดิตธนาคารถึง 40% 

ดังนั้น ttb reserve จึงจะมุ่งให้บริการโซลูชันทางการเงิน ที่จะมาช่วยตอบโจทย์ลูกค้าตามช่วงชีวิต เเบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ ได้เเก่

ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ

เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการสะสมความมั่งคั่งอยากให้เงินทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เเละอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี เผื่ออนาคตวัยเกษียณ จึงยอมรับความเสี่ยงในการลงทุนได้มากกว่า อย่าง ตราสารทุนและกองทุนรวม ที่มีการปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันตลอดเวลา

วัยใกล้เกษียณเกษียณเเล้ว

เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีความต้องการรักษาความมั่งคั่งและส่งต่อความสำเร็จไปให้ลูกหลาน มีไลฟ์สไตล์เฉพาะตัว อยากมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่อยากอยู่เเบบมีความกังวล จึงจะเน้นลงทุนเเบบปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อรักษาเงินต้นและมองหาผลิตภัณฑ์ประกันประเภทต่างๆ 

Earn Fast – Burn Smart

โดยบริการเเรกที่ออกจะมาเจาะกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง (Wealth) คือ บัตรเครดิต ‘ttb reserve’ ตอบสนองความต้องการของลูกค้า มีให้เลือก 2 ประเภทคือ

  • บัตรเครดิต ttb reserve Signature สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝาก เงินลงทุน ประกันชีวิตรวม 5 ล้านบาทขึ้นไป
  • บัตรเครดิต ttb reserve Infinite สำหรับลูกค้าที่มียอดเงินฝาก เงินลงทุน ประกันชีวิตรวม 30 ล้านบาทขึ้นไป

ลูกค้ากลุ่มมั่งคั่งของ ttb มีรายได้รวมที่ประมาณ 300,000 บาทต่อเดือน

นันทพร ตั้งเจริญศิริ หัวหน้าบริหารการตลาดลูกค้าบุคคลและประสบการณ์ลูกค้า ทีเอ็มบีธนชาต ระบุว่า บัตรเครดิต ttb reserve มีจุดเด่นเรื่องความเร็วของคะแนนสะสม และการนำคะแนนสะสมที่ได้รับไปต่อยอด ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Earn Fast-Burn Smart’ เช่น รับคะแนนพิเศษรายปีสูงสุด 180,000 คะแนน โดยไม่ต้องมีการใช้จ่ายผ่านบัตร และสะสมคะแนนเพิ่มจากทุกการใช้จ่าย 10 บาท รับ 1 คะแนนทุกหมวด 

ส่วนการใช้จ่ายในหมวดโรงพยาบาลและช็อปออนไลน์ ลูกค้าจะได้รับคะแนน 2 เท่า หรือเทียบเท่า 5 บาทเท่ากับ 1 คะแนน และเมื่อใช้จ่ายหมวดประกันชีวิตที่ร่วมรายการ จะได้รับคะแนนสูงสุด 10 เท่า หรือเทียบเท่า 1 บาทเท่ากับ 1 คะแนน

ขณะเดียวกัน ลูกค้ายังสามารถแลกรับเครดิตเงินคืนเป็นมูลค่าหน่วยลงทุนได้ถึง 1,200 บาท สำหรับการซื้อกอง
ทุนทุกๆ 100,000 บาท 

สำหรับเป้าหมายการขยายฐานลูกค้า ในช่วงเเรกธนาคารจะมุ่งให้บริการกลุ่มลูกค้ามั่งคั่ง ที่มีอยู่เเล้ว 8 หมื่นรายก่อน จากนั้นจะค่อยๆ ขยายฐานลูกค้าใหม่ต่อไป โดยคาดว่าจะมีลูกค้าบัตรเครดิต ttb reserve จำนวน 30,000 รายภายในสิ้นปี 2564

ในช่วงที่การเดินทางระหว่างประเทศยังลำบาก สถาบันการเงินระดับโลกหลายแห่งเริ่มมาเปิดธุรกิจบริหารความมั่งคั่งร่วมกับสถาบันการเงินท้องถิ่นมากขึ้น เมื่อตลาด Wealth โตพุ่ง ธุรกิจ Private Banking ก็เติบโตตามไปด้วย

ท่ามกลางหลายธนาคารที่ลงสนามมาบุกตลาดนี้ อะไรคือจุดเเข็งของ ttb reserve ?

ในตลาดส่วนใหญ่ จะเน้นไปที่การให้สิทธิพิเศษหรือพรีวิลเลจที่เกี่ยวกับด้านไลฟ์สไตล์เป็นหลัก ในขณะที่ tbb จะเน้นเรื่องให้สิทธิพิเศษที่สามารถต่อยอดความมั่งคั่งทางการเงินผ่านคะแนนสะสมรายปีที่ให้ความคุ้มค่าเป็นหลัก

เน้นตราสารทุนหุ้น มุ่งกระจายไปต่างประเทศ

เเนวโน้มการลงทุนของกลุ่มลูกค้าระดับเศรษฐีเติบโตขึ้นมาก’ ในช่วงที่ผ่านมา ท่ามกลางโรคระบาดเมื่อสภาพคล่องล้นตลาดเเละอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ การออมเงินฝากหรือพันธบัตรไม่ได้ให้ผลตอบเเทนที่ดีมากนัก เหล่านักลงทุนจึงต้องหาทางลงทุนอื่นๆ เพื่อให้ได้ผลตอบเเทนมากขึ้น เเม้จะต้องรับความเสี่ยงจากตลาดที่ผันผวน

โดย ttb แนะนำการจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงนี้ว่า

เรายังคงมีมุมมองบวกต่อตลาดทุน โดยให้น้ำหนักการลงทุนในตราสารทุน หรือหุ้นมากกว่าตราสารหนี้ และจะเน้นกระจายการลงทุนไปยังตลาดต่างประเทศมากกว่าในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นตลาดสหรัฐฯ หรือตลาดเอเซียอย่างจีน และญี่ปุ่นเนื่องจากเรายังมองว่าเศรษฐกิจในหลายประเทศ น่าจะเริ่มฟื้นตัวได้อย่างมีนัยสำคัญ จากปัจจัยเรื่องกระจายวัคซีน การทยอยเปิดเมือง หลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มดีขึ้น

โดยลูกค้า Wealth ของ ttb มีพอร์ตการลงทุนประมาณ 2 แสนล้านบาท เทียบกับภาพรวมของทั้งธนาคารที่ 2.5 แสนล้านบาท

 

]]>
1335743