ธนาคารกลาง – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Sun, 19 Nov 2023 12:59:06 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 สิงคโปร์จับมืออินโดนีเซีย รวมถึงมาเลเซีย เปิดตัวระบบโอนเงินข้ามประเทศผ่าน QR Code รับเงินได้ทันที https://positioningmag.com/1452362 Sun, 19 Nov 2023 10:20:08 +0000 https://positioningmag.com/?p=1452362 ธนาคารกลางสิงคโปร์และธนาคารกลางอินโดนีเซีย รวมถึงธนาคารกลางมาเลเซีย ได้จับมือเชื่อมต่อระบบระบบโอนเงินข้ามประเทศผ่าน QR Code ระหว่างกัน ทำให้ประชาชนสามารถรับเงินได้ทันที ส่งเสริมการทำธุรกิจระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น

ธนาคารกลางสิงคโปร์และธนาคารกลางอินโดนีเซีย รวมถึงธนาคารกลางมาเลเซีย ได้ระบุในแถลงการณ์ร่วมว่า ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศจะสามารถโอนเงินระหว่างประเทศผ่าน QR Code และสามารถรับเงินได้ทันที ซึ่งส่งเสริมเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น

ธนาคารกลางสิงคโปร์ ได้ประกาศว่านับตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน เป็นต้นไป ประชาชนของมาเลเซีย รวมถึงอินโดนีเซียสามารถโอนเงินผ่านระบบ QR Code ของแต่ละประเทศ

โดยผู้ใช้ระบบ PayNow ของสิงคโปร์สามารถโอนเงินไปยังผู้ใช้งานระบบ DuitNow ของมาเลเซียทั้งไปและกลับ อย่างไรก็ดีจะมีจำกัดการโอนเงินวันละ 1,000 เหรียญสิงคโปร์ หรือ 3,000 ริงกิตมาเลเซีย แถลงการณ์ของธนาคารกลางสิงคโปร์และมาเลเซีย ชี้ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะช่วยให้การโอนเงินและการโอนเงินระหว่างบุคคลระหว่างทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปลอดภัย และคุ้มค่า

ทางด้านฝั่งของชาวสิงคโปร์และอินโดนีเซียจะโอนเงินหากันผ่านระบบ QRIS ของอินโดนีเซียไปยัง NETS QR ของสิงคโปร์ได้ทั้งไปและกลับได้เช่นกัน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นหลังจากธนาคารกลางอินโดนีเซีย และ ธนาคารกลางสิงคโปร์ประกาศถึงการเชื่อมโยงระบบดังกล่าว

ในแถลงการแยกระหว่างสิงคโปร์และอินโดนีเซีย ชี้ว่าการเชื่อมโยงการชำระเงินผ่าน QR ข้ามพรมแดนถือเป็นก้าวสำคัญในความพยายามของทั้ง 2 ฝ่ายเพื่อส่งเสริมการบูรณาการเศรษฐกิจดิจิทัลและระบบนิเวศทางการเงินให้มากขึ้น ตลอดจนส่งเสริมการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว

ในปี 2022 ผู้ว่าการธนาคารกลาง 5 ประเทศ ประกอบด้วยอินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ได้เซ็นหนังสือบันทึกข้อตกลงที่จะทำให้การโอนเงินไม่ว่าจะเป็นภาคธุรกิจ สถาบันการเงิน ไปจนถึงประชาชนทั่วไปของ 5 ประเทศนั้นทำได้ง่ายขึ้นในการประชุม G20 ที่อินโดนีเซีย

การเชื่อมโยงระบบการชำระเงินล่าสุดครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระแสในหลายประเทศในเอเชียที่มีการโอนเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความนิยมในการใช้ QR Code ที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งลดเวลาการแลกเงินของประชาชนของ 3 ประเทศดังกล่าว และยังเพิ่มความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจซึ่งกันและกัน

ที่มา – MAS [1], [2]

]]>
1452362
ธนาคารกลางญี่ปุ่นส่งสัญญาณยกเลิกนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย ดอกเบี้ยต่ำ หลังมองเงินเฟ้อสูงขึ้น https://positioningmag.com/1450043 Tue, 31 Oct 2023 06:54:11 +0000 https://positioningmag.com/?p=1450043 ธนาคารกลางญี่ปุ่นส่งสัญญาณยกเลิกนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย ดอกเบี้ยต่ำ และคาดการณ์ว่าตัวเลขเงินเฟ้อสูงขึ้น 2% หลังจากนี้ สาเหตุสำคัญในการปรับนโยบายครั้งนี้คือส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นที่ห่างกันมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อค่าเงินเยนด้วย

ในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันนี้ (31 ตุลาคม) ได้มีการส่งสัญญาณที่จะค่อยๆ ยกเลิกนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย หลังจากที่ใช้นโยบายดังกล่าวมาเป็นระยะเวลานานนับสิบปี เพื่อที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศออกจากปัญหาเงินฝืด

นโยบายที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) เตรียมนำมาใช้หลังจากนี้คือจะปล่อยให้อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นระยะ 10 ปีแต่เดิมมีอัตราผลตอบแทนที่ 0% จะปรับให้มีการเคลื่อนไหวสูงสุดที่ 1% แม้ว่าสภาวะภายนอกจะมีความไม่แน่นอนสูง BoJ จะเพิ่มความยืดหยุ่นในการควบคุมผลตอบแทนของอัตราดอกเบี้ย

BoJ ยังได้ปรับคาดการณ์ตัวเลขเงินเฟ้อมาอยู่ในระดับ 2% เนื่องจากต้นทุนด้านพลังงานที่มีราคาสูงขึ้น รวมถึงต้นทุนการนำเข้าสินค้าที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และมองว่าหลังจากนี้ตัวเลขเงินเฟ้อจะปรับเข้ามาสู่ตัวเลขเป้าหมายที่วางไว้ได้

นอกจากนี้ BoJ ยังประกาศว่าจะยังมีการซื้อสินทรัพย์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ETF หุ้นญี่ปุ่น พันธบัตรรัฐบาล หรือกองทรัสต์ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่อไป แต่มีลดปริมาณการซื้อลง โดยให้เหตุผลว่าเพื่อสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจทำให้เกิดสภาวะการขึ้นอัตราค่าจ้างในช่วงหลังจากนี้ รวมถึงจะตรวจสอบพัฒนาการทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าว

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ BoJ ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินก็คือส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐอเมริกา ขณะที่ญี่ปุ่นยังใช้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 1% ทำให้ช่องว่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างมากกว่า 5% เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา ปัจจัยดังกล่าวยังทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมาจนต้องมีการเข้าแทรกแซงหลายครั้ง

ในช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ประสบปัญหาเงินฝืดมาโดยตลอด จนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากประชาชนไม่จับจ่ายใช้สอย

ปัญหาเงินฝืดที่เกิดขึ้นทำให้ ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในช่วงเวลาดังกล่าว ได้ออกมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และมีการใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากปัญหาเงินฝืดเป็นระยะเวลานับ 10 ปี ก่อนที่นโยบายดังกล่าว BoJ เตรียมจะยกเลิกหลังจากนี้

ที่มา – Reuters, NHK

]]>
1450043
ผู้ว่าแบงก์ชาติบราซิล มอง “อนาคตมนุษย์จะทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน แทนที่การใช้เงินสด หรือบัตรเครดิต” https://positioningmag.com/1448988 Mon, 23 Oct 2023 06:28:13 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448988 ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิล ได้กล่าวว่า อนาคตมนุษย์จะทำธุรกรรมผ่านแอปพลิเคชัน แทนที่การใช้เงินสด หรือบัตรเครดิต และมองว่าแพลตฟอร์มเหล่านี้ทำหน้าที่ได้ไวกว่า ง่ายกว่า และยังสามารถเพิ่มความสามารถใหม่ ๆ เพิ่มได้ด้วย

Roberto Campos Neto ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิล ได้กล่าวว่า แพลตฟอร์มสกุลเงินดิจิทัล เช่น แอปพลิเคชันชำระเงิน จะเข้ามาแทนที่บัตรเครดิตและเครื่องมือทางการเงินแบบเดิม ๆ ในที่สุด และมองว่าแพลตฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้จะทำหน้าที่ได้ไวกว่า และง่ายกว่า

ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิลได้กล่าวในงานที่จัดขึ้นโดย Americas Society/Council of the America ในเมืองไมอามีว่า บัตรเดรดิตในอนาคตจะเป็นเงินที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ ซึ่งจะไม่ต้องการบัตรเครดิตอีกต่อไป และเขายังมองว่าในอนาคตเราไม่ต้องจ่ายเงินให้กับบริษัทบัตรเครดิตตามจำนวนที่คุณจ่ายเงินในวันนี้ เพราะจะสามารถทำธุรกรรมดังกล่าวได้ง่ายและไวมากกว่า

นอกจากนี้ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิลยังมองว่า ควรจะมีกระเป๋าเงินออฟไลน์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถโอนเงินจำนวนเล็กน้อยได้ถ้าหากอยู่บนพื้นที่ที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือ แต่กลับกลายเป็นว่าธนาคารไม่ได้ทำสิ่งนั้นไม่ได้ไวตามที่เขาคาดหวังด้วยซ้ำ

ในปี 2020 ธนาคารกลางของบราซิลเองได้เปิดตัว Pix ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับชำระเงิน และมีผู้ใช้งานในประเทศบราซิลมากกว่า 110 ล้านคนในช่วงที่ผ่านมา โดยในไตรมาส 1 ของปี 2023 นี้ Pix มีจำนวนธุรกรรมมากกว่า 8,000 ล้านรายการ และเคยมีสถิติทำธุรกรรมมากสุด 163 ล้านธุรกรรมภายใน 1 วัน

ความนิยมของ Pix ในบราซิลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความสะดวกในการใช้งานและความได้เปรียบเหนือบัตรเครดิตสำหรับทั้งผู้บริโภคและผู้ประกอบการ

หลังจากนี้ธนาคารกลางบราซิลเตรียมเพิ่มความสามารถในการผ่อนจ่ายชำระ ซึ่งเหมือนกับบริการของบัตรเครดิต ซึ่ง Roberto มองว่า Pix นั้นเป็นแอปพลิเคชันสำหรับชำระเงินที่สามารถเขียนโปรแกรมเพิ่มได้ ดังนั้นโอกาสของแอปฯ ตัวนี้มีไม่สิ้นสุด

ผู้ว่าธนาคารกลางของบราซิลยังได้กล่าวว่า เขาอยากเห็นอุตสาหกรรมการชำระเงินดิจิทัลก้าวหน้าด้วยกระเป๋าเงินแบบออฟไลน์ กระเป๋าเงินดิจิทัล และความสามารถในการเข้าถึง Pix ด้วยขั้นตอนการใช้งานที่ลดลง และสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปหลังจากนี้คือการยกระดับการศึกษาทางการเงิน

]]>
1448988
ผู้บริหารฝ่ายบริหารเงินตราต่างประเทศของจีนมอง “เงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการเงินได้” https://positioningmag.com/1448053 Mon, 16 Oct 2023 03:34:17 +0000 https://positioningmag.com/?p=1448053 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของฝ่ายบริหารเงินตราต่างประเทศของจีนได้กล่าวในงานสัมมนางานหนึ่งว่าเงินสกุลดิจิทัลของธนาคารกลาง หรือ CBDC นั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการเงินได้ เนื่องจากความสามารถในการกำหนดการทำงานของมันได้

สำนักข่าว Reuters ได้รายงานข่าวว่า Lu Lei รองผู้บริหารฝ่ายบริหารเงินตราต่างประเทศของจีน (SAFE) ได้กล่าวกับสื่อในประเทศจีนอย่าง Shanghai Securities News ว่าสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ที่สามารถตั้งการทำงานได้นั้นช่วยเพิ่มประสิทธิภาพนโยบายการเงินได้

Lu ได้กล่าวในงานสัมมนาในประเทศจีนว่า คุณสมบัติของ CBDC คือการตั้งค่าสกุลเงินที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ตัวอย่างเช่น สามารถตั้งโปรแกรมให้มีวันหมดอายุหรือจำกัดการใช้งานบางอย่างได้ หรือแม้แต่สร้าง CBDC ที่สามารถใช้เป็นเงินฝากหรือออมทรัพย์ได้ด้วย

การตั้งค่าการทำงานของ CBDC ทำให้นโยบายการเงินนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ผู้บริหารของ SAFE คาดหวังว่าธนาคารประชาชนจีน (PBoC) จะสามารถสำรวจฟีเจอร์ต่างๆ เพื่อปรับการใช้งานของ CBDC ซึ่งสามารถนำมาใช้ในจัดการในเศรษฐกิจมหภาคของจีนได้เช่นกัน

จีนถือเป็นอีก 1 ประเทศที่กำลังพัฒนา CBDC เป็นของตัวเองอยู่ในขณะนี้ ในชื่อที่เรารู้จักกันดีคือ “หยวนดิจิทัล” (e-CNY) และมีการทดสอบใช้งานจริง ไม่ว่าจะเป็นในปี 2022 ที่มีการทดสอบให้สามารถชำระเงินโครงการอสังหาริมทรัพย์ด้วย CBDC อย่างหยวนดิจิทัล

นอกจากนี้ Lu ยังกล่าวอีกว่าการชำระเงินข้ามประเทศโดยใช้ CBDC สามารถทำให้การทำธุรกรรมปลอดภัย สะดวก และครอบคลุมได้

ข้อมูลล่าสุดในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ธุรกรรมที่ใช้ CBDC ของจีน หรือดิจิทัลหยวน มีมูลค่าแตะ 1.8 ล้านล้านหยวน คิดเป็นปริมาณเงินหมุนเวียนเพียง 0.16% ของปริมาณเงินในระบบทั้งหมดของจีนเท่านั้น

]]>
1448053
‘เเบงก์ชาติ’ เตรียมขยายใช้สกุลเงินดิจิทัล ‘CBDC’ ในภาคประชาชน https://positioningmag.com/1322476 Mon, 08 Mar 2021 11:54:09 +0000 https://positioningmag.com/?p=1322476 เเบงก์ชาติพอใจผลทดสอบระบบต้นเเบบการชำระเงินด้วย CBDC สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางในภาคธุรกิจไทย พบช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดี เตรียมต่อยอดปี 2564-65 ขยายใช้ในภาคประชาชน

วชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงผลการพัฒนา ‘ระบบต้นแบบ’ การชำระเงินในภาคธุรกิจ โดยใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency: CBDC) จากความร่วมมือระหว่าง ธปท.เอสซีจีและบริษัทดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด โดยมีบริษัท ConsenSys เป็นผู้สนับสนุนด้านเทคโนโลยี

โดยผลการพัฒนาและทดสอบสรุปได้ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) การชำระเงินให้แก่ภาคธุรกิจได้เป็นอย่างดี

สำหรับโครงการ CBDC ที่ทดสอบการใช้กับภาคธุรกิจนั้น ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นของการชำระเงินในการรองรับการสร้างนวัตกรรมทางการเงินใหม่ ๆ ให้กับภาคธุรกิจ

ทั้งนี้ การพัฒนาระบบต้นแบบดังกล่าว ได้ใช้เทคโนโลยีประมวลผลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology: DLT) เชื่อมต่อกับระบบบริหารการจัดซื้อ การวางบิล และการชำระเงินระหว่างเอสซีจีกับคู่ธุรกิจ (Suppliers)

อ่านเพิ่มเติม : CBDC ต่างกับคริปโตเคอร์เรนซีอื่นอย่างไร ? 

โดยผลการทดสอบพบว่าผู้ใช้สามารถกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ใน CBDC (Programmable Money) ให้สอดรับกับกิจกรรมทางธุรกิจได้ดี เช่น การกำหนดเงื่อนไขให้มีการชำระเงินตามข้อมูลที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ (Invoices) ในธุรกิจ Supply Chain Financing และการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการเท่านั้น เพื่อลดปัญหาการบริหารเงินสด เป็นต้น

อย่างไรก็ดี ระบบต้นแบบที่พัฒนาโดยใช้ DLT ยังมีข้อจำกัดบางประการ เช่น ความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมจำนวนมาก และการปกปิดความเป็นส่วนตัวของธุรกรรมทางการเงิน ที่ยังคงต้องหาแนวทางจัดการทั้งในเชิงเทคโนโลยี หรือการออกแบบระบบต่อไป (รายละเอียดผลทดสอบของโครงการฯ สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่)

“การพัฒนาระบบต้นแบบนี้ นับเป็นครั้งแรกของ ธปท. ที่ขยายขอบเขต CBDC ไปสู่ผู้ใช้งานในภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นก้าวสำคัญในการเตรียมความพร้อม เพื่อให้เท่าทันพัฒนาการของสกุลเงินดิจิทัล ทั้งในและต่างประเทศที่อาจเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเงินในอนาคต” 

ขยายใช้ Retail CBDC ในภาคประชาชน

สำหรับในปี 2564 – 2565 ธปท.จะเน้นการศึกษาและพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับภาคประชาชน (Retail CBDC) ซึ่งการพัฒนา CBDC ให้สามารถใช้ได้ในวงกว้าง จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบด้านต่างๆ ทั้งด้านการดำเนินนโยบายทางการเงิน เสถียรภาพระบบการเงิน และบทบาทของสถาบันการเงินและธนาคารกลาง

“จะเปิดให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบ CBDC ซึ่งจะส่งเสริมให้การทำธุรกรรมทางการเงินสามารถรองรับการพัฒนานวัตกรรมท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล”

ทั้งนี้ ธปท. จะเผยแพร่รายละเอียดผลการศึกษาการออก Retail CBDC ในระยะต่อไป

 

]]>
1322476