ธนาคารดิจิทัล – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Mon, 17 May 2021 09:53:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 ก้าวต่อไปของทีเอ็มบีและธนชาต เมื่อรวมกันเป็น ‘ttb’กับเป้าหมายสร้างชีวิตการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย https://positioningmag.com/1331937 Mon, 17 May 2021 11:30:20 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331937

เหลือเวลาอีกเเค่หนึ่งเดือนกว่าๆ ดีลประวัติศาสตร์เเห่งวงการเเบงก์เมืองไทยที่หลายคนจับตามอง อย่างการรวมกิจการของ 2 ธนาคารใหญ่ ‘ทีเอ็มบี’ และ ‘ธนชาต’ สู่การเป็น

‘ทีเอ็มบีธนชาต’ หรือ ttb กำลังจะเสร็จสมบูรณ์เเบบ 100% ครบสูตร ‘One Dream, One Team, One Goal’ ในต้นเดือนกรกฎาคมนี้

การเดินทางครั้งสำคัญของ ttb กับเป้าหมายใหญ่ที่หวังจะช่วยให้คนไทยมี ‘Financial Well-being’ ชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น จะมีทิศทางต่อไปอย่างไร เเผนธุรกิจเเละกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้าในทุกช่วงชีวิต ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เเละการเปลี่ยนเเปลงที่จะเกิดขึ้น ลูกค้าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง วันนี้ Positioning จะพามาหาคำตอบกัน

ภารกิจใหญ่ของการรวมธนาคารครั้งนี้ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562 เป็นการรวมจุดแข็งของสองธนาคารมาไว้ที่เดียว

เมื่อรวมกันแล้วจะทำให้ธนาคารใหม่ มีขนาดธุรกิจเพิ่มขึ้น ‘เท่าตัว’ โดยมีสินทรัพย์รวมกันเกือบ 2 ล้านล้านบาท ขึ้นเเท่นเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่ อันดับ 6 ของไทย มีพนักงานรวมกันมากกว่า 15,000 คน

“เราไม่ต้องการเป็นเเค่ธนาคารใหม่ เเต่จะสร้างรากฐานองค์กรใหม่ให้มีความเป็นหนึ่งเดียว สู่เป้าหมายเดียวกันคือ การช่วยให้คนไทยมีสุขภาพการเงินที่เเข็งเเรงในระยะยาว นำเสนอโซลูชั่นต่างๆ เพื่อตอบโจทย์คนไทยในทุกช่วงชีวิต” ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) กล่าว

รีเเบรนด์ให้ทันสมัย การ ‘เชื่อมต่อ’ คือหัวใจสำคัญ

ไม่กี่วันที่ผ่านมาเราคงได้เห็น ‘ภาพลักษณ์ใหม่’ ของ ttb ออกมาให้ตื่นตาตื่นใจกันเเล้ว ทั้งช่องทางการสื่อสารทางออฟไลน์เเละออนไลน์

จุดเล็กๆ เเต่น่าสนใจคือ เป็นครั้งเเรกของสถาบันการเงินไทยที่เลือกใช้ ชื่อโลโก้ใหม่ เป็นอักษรพิมพ์เล็ก ประกอบด้วยอักษร t ตัวแรกคือ TMB (ทีเอ็มบี) t ตัวที่สองคือ Thanachart (ธนชาต) และอักษร b มาจากคำว่า Bank (ธนาคาร)

ความหมายของโลโก้ของ ttb สื่อให้เห็นความตั้งใจของธนาคารที่จะใกล้ชิดและเข้าใจผู้คน ซึ่งการเชื่อมประสานกันของตัวอักษรทั้งสามตัว ยังมีความหมายถึง ‘การเชื่อมต่อ’ ของสองธนาคารเพื่อส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่จะช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทย


ส่วนโทนสีของเเบรนด์ จะมี ‘สีฟ้าเเละสีส้ม’ ซึ่งเป็นสีเดิมของทีเอ็มบีและธนชาต ที่สะท้อนถึงการทำงานร่วมกันเป็นหนึ่งเดียว เป็นธนาคารที่ทุกคนเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องยากหรือเป็นเรื่องที่ไกลตัว

พร้อมมีการเฉดสีใหม่ อย่างสีฟ้าเฉดใหม่ ‘Confident Blue’ ที่หมายถึงการเปี่ยมไปด้วยพลัง ความคิดสร้างสรรค์ เเละสีส้ม ‘Refreshing Orange’ หมายถึง ความสดใส มีชีวิตชีวา โดยสะท้อนให้เห็นถึง ความก้าวหน้า ความอบอุ่น และความกระตือรือร้นที่จะบริการลูกค้า

รวมไปถึงเพิ่มสีน้ำเงิน ‘Trusted Navy’ สื่อถึงความมั่นคง น่าเชื่อถือและเป็นมืออาชีพ สามารถเป็นที่พึ่งพาให้แก่ทุกคน เหมือนที่เป็นตลอดมา และเพิ่มสีขาว ‘Honest White’ คือ การเป็นตัวแทนของความโปร่งใส การเปิดเผยและซื่อสัตย์ ที่เป็นหลักการที่ธนาคารยึดมั่นอยู่เสมอ โดยจะทยอยเปลี่ยนโฉมสาขา และ ATM เป็นแบรนด์ ttb ทั่วประเทศไทย

กลยุทธ์สู่ Main Bank : ขยายฐานลูกค้า – รุกดิจิทัล – เสริม

สกิลพนักงาน

ในปีนี้ ทีเอ็มบีธนชาต (ttb) ได้ลำดับความสำคัญทางธุรกิจที่จะเร่งดำเนินการไว้ 3 เรื่อง ได้เเก่

1) ขยายฐานลูกค้า ที่เลือกใช้ ttb เป็น ’ธนาคารหลัก’ (Main Bank) ผ่านกลยุทธ์ Financial Well-being solution พัฒนาโซลูชั่นเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในทุกช่วงชีวิต ผ่าน 4 เสาหลัก คือ

  • ฉลาดออมฉลาดใช้ (Mindful spending & start saving)
  • รอบรู้เรื่องกู้ยืม (Healthy borrowing)
  • ลงทุนเพื่ออนาคต (Investing for future)
  • มีความคุ้มครองที่อุ่นใจ (Sufficient protection)

2) สร้างศักยภาพด้าน ‘Digital-first operating model’ บนโมบายแบงก์กิ้งแพลตฟอร์ม ที่เป็นมิตรและรู้ใจตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละคน แต่ละช่วงชีวิต มอบประสบการณ์ที่ดีกว่า สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้า และมีความคล่องตัวที่สูงขึ้นในการขับเคลื่อนนวัตกรรม

3) สร้างศักยภาพบุคลากร (People development) ให้สอดรับกับยุคดิจิทัล

“ธนาคารไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะเทคโนโลยี แต่จะให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์และให้ความช่วยเหลือเป็นที่ปรึกษาทางการเงินผ่านพนักงานของธนาคาร โดยใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่มาช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า”

โดยพนักงานทั้งหมด จะได้รับการพัฒนายกระดับทักษะเดิมให้ดีขึ้น (Up-skill) และสร้างทักษะใหม่ที่จำเป็นในการทำงาน (Re-skill) ที่เหมาะสม เพื่อสนับสนุนทิศทางของธนาคารที่จะสร้าง Humanized digital หรือ รูปแบบการให้บริการผ่านช่องทางดิจิทัลที่เป็นมิตรและรู้ใจ

สำหรับการ ออกแบบ ‘โซลูชันทางการเงิน’ นั้นจะเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงชีวิต โดยยกตัวอย่างโซลูชันที่เหมาะสมกับลูกค้า 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มลูกค้าที่เพิ่งเริ่มทำงาน

เป็นวัยที่ต้องการก่อร่างสร้างตัว เพื่อหา ‘ล้านแรก’ ในชีวิต ttb จะเสนอโซลูชันด้านฉลาดออม ฉลาดใช้ เพื่อให้ลูกค้าได้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง พร้อมรับสิทธิประโยชน์รอบด้าน รวมถึงประกันอุบัติเหตุฟรี ที่ช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึงหากเกิดอุบัติเหตุผ่านบัญชี all free และ ออมอย่างมีวินัยเพื่อใช้ในยามฉุกเฉินผ่านบัญชี no fixed

กลุ่มลูกค้าที่เริ่มสร้างครอบครัว

วัยนี้จะเป็นเสาหลักของบ้าน ที่ต้องการชีวิตอิสระในวันข้างหน้า ธนาคารจะเสนอโซลูชันเกี่ยวกับสินเชื่อสำหรับลูกค้าที่ต้องการมีบ้าน มีรถ ที่ใหญ่ขึ้นสำหรับการสร้างครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น พร้อมทั้งเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้คนกลุ่มนี้มีระเบียบวินัยในการผ่อนชำระ พร้อมโซลูชันการรวบหนี้ด้วยทรัพย์สินที่มีอยู่ เพื่อให้ จัดการปลอดหนี้ได้เร็วที่สุด สามารถเริ่มต้นเก็บออม และลงทุนเพื่ออนาคตได้ต่อไป      

กลุ่มลูกค้าที่ประสบความสำเร็จจากหน้าที่การงาน

กลุ่มนี้ต้องการมีชีวิตที่มั่นคงและเกษียณอย่างไร้กังวล ธนาคารจึงจะเน้นการให้ความรู้ด้านการลงทุน จัดทัพตามความเสี่ยง ต่อยอดความมั่งคั่ง ผ่านผลิตภัณฑ์การลงทุนที่หลากหลาย และ ttb smart port พอร์ตการลงทุน ที่ตอบทุกโจทย์การลงทุนครบวงจร โดยมืออาชีพ

กลุ่มลูกค้าที่มีความมั่งคั่ง

วัยนี้กำลังจะเตรียมเข้าสู่วัยเกษียณ เเละอยากใช้ชีวิตได้ตามใจ ‘สุขภาพเป็นหนึ่ง ลูกหลานสบาย’ ธนาคารพร้อมส่งมอบโซลูชันด้านประกันชีวิตและการลงทุนที่มอบความอุ่นใจ ในการรักษาความมั่งคั่ง พร้อมดูแลสุขภาพ และวางแผนส่งต่อมรดกให้กับทายาท


ttb DRIVE ต้องเป็นให้ได้มากกว่า ‘สินเชื่อรถยนต์’

วิกฤตโควิด-19 สะเทือนทุกหย่อมหญ้า ในปีที่ผ่านมา ttb ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม ทั้งรายย่อยและธุรกิจไปกว่า 750,000 ราย และในช่วงเวลานี้ ได้เตรียมมาตรการอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้

‘สินเชื่อรถยนต์’ ก็เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวชูโรงของ ttb โดยธนาคารได้ช่วยเหลือลูกค้าและคู่ค้าผ่านโครงการ “ตั้งหลัก” ซึ่งช่วยลูกค้าผ่อนหนักเป็นเบาได้กว่า 600,000 ราย และมอบประกันคุ้มครองโควิด-19 ให้แก่บริษัทคู่ค้าทั้งรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้วกว่า 3,000 รายทั่วประเทศตลอดปีที่ผ่านมา

ส่วนความเคลื่อนไหวต่อไปในปีนี้ ธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ของธนาคาร จะนำเสนอออกมาภายใต้แบรนด์ ‘ttb DRIVE’ ด้วยความตั้งใจที่จะเป็น “มากกว่าสินเชื่อรถ… เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น”

โดย ttb DRIVE พร้อมช่วยลูกค้าเคลียร์ทุกอุปสรรคทางการเงิน รวมหนี้ ลดภาระ เพิ่มสภาพคล่องด้วย “รถแลกเงินเคลียร์หนี้” และมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าที่รักษาวินัยทางการเงินเป็นอย่างดีผ่านโครงการ “จ่ายดีมีคืน” อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าเข้าถึงสินเชื่อได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยโปรแกรม auto-approve ผนวกกับ scoring model พร้อมเจ้าหน้าที่ ttb DRIVE agent ให้บริการครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ได้เปิดตัว “DRIVE Connect Platform” ทำตลาดออนไลน์ผ่านทาง Facebook ให้กับกลุ่ม ดีลเลอร์รถมือสอง และยังมีระบบ “Cross-area Booking” สามารถรองรับการซื้อขายรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้แล้วผ่านช่องทางออนไลน์ ลดข้อจำกัดด้านพื้นที่ให้แก่คู่ค้า

พร้อมยกระดับศักยภาพทีมงาน ttb DRIVE เพื่อการทำงานในยุคดิจิทัล ผ่าน DRIVE Academy  เพื่อสร้างบริการที่ดีให้กับลูกค้าและคู่ค้าทุกราย

หนุนเงินทุน เสริมดิจิทัลขับเคลื่อน SMEs – ธุรกิจใหญ่

การเติบโตของธุรกิจรายย่อยไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ เป็นหัวใจหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ttb จึงวางเเผนออกสร้างโซลูชันการเงิน เพื่อชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นของลูกค้าธุรกิจ ดังต่อไปนี้

มอบแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมและเพียงพอ

เน้นการสนับสนุน SMEs ที่อยู่ในซัพพลายเชนของธุรกิจขนาดใหญ่ให้ได้รับวงเงินที่เพียงพอบนเงื่อนไขที่เหมาะสมผ่าน “สินเชื่อเพื่อเครือข่ายธุรกิจ ทีทีบี (ttb supply chain solutions)” และช่วยเสริมสภาพคล่องในภาวะวิกฤตด้วยโครงการช่วยเหลือลูกค้าเอสเอ็มอี (Special Loan) และมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset warehousing) ที่สอดคล้องนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย

ช่วยบริหารธุรกิจ ด้วย ttb business one

มอบโซลูชันและบริการที่ช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารธุรกิจ ด้วย “ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ทีทีบี บิสซิเนสวัน (ttb business one)” ที่เป็นมากกว่าเครื่องมือการทำธุรกรรมออนไลน์

ช่วยให้ทำธุรกรรมได้ครบตั้งแต่เรื่องสินเชื่อ จนถึงธุรกรรมต่างประเทศ มีรายงานครบถ้วน เรียกดูง่าย และนำไปต่อยอดทำรายงานเชิงวิเคราะห์ได้ สามารถเชื่อมต่อกับระบบของพันธมิตรและลูกค้า เช่น ERP POS และอีกหนึ่งดิจิทัลโซลูชันที่ช่วยลดเรื่องการใช้เงินสดและเอกสารอย่างเต็มรูปแบบก็คือ “ระบบบริหารการเรียกเก็บเงิน ทีทีบี (ttb digital invoice management)”

“เป็นการนำโซลูชันของธนาคารมาเชื่อมต่อกับระบบการเรียกเก็บเงินของลูกค้าธุรกิจ ลดการใช้เงินสดและเอกสาร ลดเวลาดำเนินการ และค่าใช้จ่ายเรื่องคน”

มอบชีวิตทางการเงินที่ดีให้แก่พนักงานและคู่ค้า

มีบริการที่น่าสนใจอย่าง “การจ่ายเงินเดือนและสวัสดิการพนักงาน ทีทีบี เพย์โรลพลัส (ttb payroll plus)” รวมไปถึงบริการและผลิตภัณฑ์ด้านการบริหารความเสี่ยงและด้านประกัน อย่างเช่น “ประกันสินเชื่อธุรกิจ ทีทีบี วันไลฟ์ (ttb one life business insurance)” เป็นต้น


ttb ยุคใหม่…ลูกค้าต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง ?

สำหรับในช่วงเวลานี้ลูกค้าทีเอ็มบีเเละธนชาต สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการต่าง ๆ ได้ ‘เช่นเดิม’ และยังสามารถใช้ช่องทางของ ttb ได้อีกด้วย

ลูกค้าทีเอ็มบีเดิม สามารถใช้ผลิตภัณฑ์และบริการได้เหมือนเดิมภายใต้แบรนด์ใหม่ โดยธนาคารกำลังอยู่ระหว่างการทยอยเปลี่ยนช่องทางบริการจาก ทีเอ็มบี เป็น ttb

ลูกค้าธนชาตเดิม หลังการรวมระบบในเดือนก.ค.สำเร็จ ผลิตภัณฑ์และบริการเดิมจะมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด รวมไปถึง ‘สิทธิประโยชน์’ ที่เพิ่มขึ้น

โดยลูกค้าธนชาตจะได้รับจดหมายแจ้งรายละเอียด ซึ่งจะมี ‘QR Code’ ให้สแกนเข้าไปดูข้อมูลเฉพาะของแต่ละบุคคล อย่างเลขที่บัญชีเงินฝากและเลขที่สัญญาสินเชื่อ เพื่อไว้ใช้ทำธุรกรรมตั้งเเต่วันจันทร์ที่ 5 ก.ค. เป็นต้นไป

“จดหมายนี้จะทยอยส่งออกไปหาลูกค้าตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม เป็นต้นไป เพื่อให้ลูกค้าเตรียมตัวล่วงหน้า”

หากได้รับจดหมายเรียบร้อยเเล้ว ลูกค้าสามารถสเเกน ‘ดาวน์โหลดไฟล์ pdf’  เพื่อเก็บรายละเอียดผลิตภัณฑ์เเละบริการของตัวเองไว้ใช้อ้างอิงได้ หรือสามารถตรวจสอบข้อมูล หรือสิทธิประโยชน์ต่างๆ ได้ผ่านแอป touch ตั้งแต่วันที่ 5 ก.ค. เป็นต้นไป

กรณีที่ผ่านไปซักพักเเต่ยังไม่ได้รับจดหมาย ลูกค้าธนชาตสามารถติดต่อไปยัง ttb contact center โทร.1428 หรือติดต่อที่สาขา ttb ได้ทั่วประเทศ

 “ธนาคารขอให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ จะนำไปสู่การยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ดียิ่งขึ้นอย่างแน่นอน”

การเดินทางของ 2 ธนาคารใหญ่ที่มีอายุยาวนานหลายทศวรรษ สู่การรวมพลังกันเป็น ‘หนึ่งเดียว’ ก้าวไปพร้อมๆ กับฐานลูกค้ามากกว่า 10 ล้านรายในครั้งนี้ จะสร้างปรากฎการณ์ใหม่ เข้ามาช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยได้อย่างไรอีกบ้าง…ต้องติดตาม

]]>
1331937
‘Shopee’ รุกธุรกิจ ‘เเบงก์’ เข้าซื้อธนาคาร Bank BKE ในอินโดนีเซีย ปรับเป็น Digital Banking  https://positioningmag.com/1320256 Fri, 19 Feb 2021 10:22:12 +0000 https://positioningmag.com/?p=1320256 มูฟใหม่ของบรรดาบริษัทเทคโนโลยี ขยับเข้าหาธุรกิจเเบงก์ล่าสุด ‘Shopee’  อีคอมเมิร์ซเจ้าใหญ่ในเครือ Sea Group เข้าซื้อกิจการธนาคารท้องถิ่นในอินโดนีเซียอย่าง Kesejahteraan Ekonomi หรือ Bank BKE วางเป้าหมายเปลี่ยนให้เป็นธนาคารดิจิทัล

หลังมีกระเเสข่าวมาตั้งเเต่ต้นปี ตอนนี้ก็ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานกำกับดูแลบริการทางการเงินของอินโดนีเซีย (OJK) เป็นที่เรียบร้อย

Bank BKE เป็นธนาคารท้องถิ่นที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1992 มีเป้าหมายหลักในการสนับสนุนด้านสวัสดิการของข้าราชการ

รายงานระบุว่า Shopee มีแผนจะปรับปรุงให้ Bank BKE เป็นธนาคารดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่มีบริหารทางการเงินที่ทันสมัยเชื่อมต่อกับอีคอมเมิร์ซ

โดยหน่วยงานกำกับฯ จะเร่งจัดทำข้อบังคับเเละเตรียมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ ธนาคารดิจิทัลใหม่ ซึ่งคาดว่าจะออกมาได้ในช่วงกลางปี ​​2021 เเละ Bank BKE อาจจะต้องเตรียมเงินทุนไว้ราว 3 ล้านล้านรูเปียห์ (ราว 6.4 พันล้านบาท)

สำหรับดีลนี้ Sea Group จะได้รับสิทธิ์ในการบริหารธนาคารเต็มรูปแบบ หลังเข้าซื้อกิจการจากผู้ถือหุ้นเดิมอย่าง PT Danadipa Artha Indonesia และ PT Koin Investama Nusantara ผ่านทางบริษัทในเครือของ Turbo Cash Hongkong

การเข้าซื้อกิจการ Bank BKE ในครั้งนี้ เป็นความเคลื่อนไหวใหม่ของ Sea Group ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ต้องการคว้าส่วนแบ่งในธุรกิจ Digital Banking ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

คาดว่าจะเป็นการเเข่งขันกับซูเปอร์เเอปฯ อย่าง Gojek ที่เข้าถือหุ้น 22% ใน Jago ธนาคารดิจิทัลรายใหญ่ของอินโดนีเซีย

บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ กำลังรุกเข้าซื้อธุรกิจธนาคารในอาเซียนมากขึ้น ท่ามกลางการดิ้นรนของเเบงก์ดั้งเดิมที่พยายามจะเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Digital Banking 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงปลายเดือน ธ.. 2020 ที่ผ่านมา Sea Group เพิ่งได้รับการจดทะเบียนอนุญาตประกอบธุรกิจธนาคารดิจิทัล (Digital Banking Licenses) จากธนาคารกลางของสิงคโปร์ เพื่อให้สามารถเปิดบริการด้านการเงินได้อย่างเต็มที่ พร้อมกับอีก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Grab-Singtel , Ant Group และ และ Greenland Financial Holdings ของจีน

 

ที่มา : Reuters , techinasia 

 

 

]]>
1320256
รู้จัก MAKE เเอปฯ โมบายเเบงกิ้งจาก KBank เจาะใจ “คนรุ่นใหม่” กลยุทธ์ปูทางสู่ธนาคาร 5.0 https://positioningmag.com/1289276 Thu, 23 Jul 2020 11:33:43 +0000 https://positioningmag.com/?p=1289276 ในยุคนี้เเอปพลิเคชันโมบายเเบงกิ้งถือเป็นเเอปฯ จำเป็นที่ต้องมีไว้ในสมาร์ทโฟนไปเเล้ว ทำให้ธนาคารต่างๆ กำลังเปิดศึกเเย่งฐานผู้ใช้กันอย่างดุเดือด ไม่ใช่เเค่ในไทยเเต่มีเป้าหมายจะขยายไปทั่วอาเซียน โดยเน้นไปที่การเจาะใจคนรุ่นใหม่

ล่าสุดธนาคารใหญ่ในไทยอย่างกสิกรไทย” (KBank) เปิดตัวแอปพลิเคชัน MAKE by KBank เพื่อมาตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภคในยุค New Normal ที่ใช้ชีวิตเชื่อมโยงกันผ่านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ คาดว่าจะเปิดตัวเป็นทางการได้ในช่วงไตรมาส 4 เเละตั้งเป้าจะมียอดเปิดใช้แสนบัญชีภายในสิ้นปีนี้

เเม้ว่ากสิกรไทยจะมี K PLUS เป็นโมบายแบงกิ้งที่มีลูกค้าใช้บริการ 13 ล้านราย (อันดับ 1 ในไทย) อยู่แล้ว เเต่การมาของ MAKE ครั้งนี้ ทางทีมงานบอกว่าจะเป็นการ Re-imagining ครั้งใหญ่เเละเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การยกระดับเป็นธนาคาร 5.0 เลยทีเดียว

เรืองโรจน์ พูนผล ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวถึงท่ีมาของ MAKE ว่า ต้องการตอบโจทย์การบริหารเงินของคนรุ่นใหม่อย่างดีที่สุด ทำให้ธนาคารต้องคิด ไม่ยึดติดขนบเดิม จึงมีการทดลองสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆ อยู่เสมอ เพื่อให้ธนาคารไปอยู่ทุกที่ในช่วงเวลาของชีวิตของทุกคน

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา KBank เริ่มทยอยเปิดตัวนวัตกรรมทางการเงินยุคดิจิทัล เช่น 6 เทคโนโลยีใหม่แบบไร้สัมผัส เเละ “ขุนทอง” เป็นแชทบอทเหรัญญิกช่วยคิดการแชร์ค่าอาหาร รวมถึง Eatable แพลตฟอร์มจัดการร้านอาหารที่มีทั้งส่วนบริการในร้าน รับออเดอร์ เรียกพนักงานหรือรับชำระเงิน เเละมีบริการจัดส่งเดลิเวอรี่ด้วย 

สำหรับ MAKE by KBank จะเน้นให้ลูกค้ารู้สึก “สะดวก-สบาย-สนุก” เข้ากับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ สามารถทำกิจกรรมทางการเงินโดยที่ไม่ต้องจำเลขบัญชี ไม่ต้องมีเบอร์โทร ผ่าน 3 พฤติกรรมหลักอย่าง ได้เเก่ บริการโอนเงินผ่านบลูทูธ บันทึกประวัติการทำธุรกรรมในรูปแบบแชท และช่องทางจัดเก็บเงินตามความต้องการของเเต่ละบุคคล

MAKE อ่านพ้องเสียงไปกับคำในภาษาไทยว่า “เมฆ” ดังนั้นโลโก้จึงเป็นรูปก้อนเมฆที่มีความโค้งมน ไม่สมมาตรเเต่มีไดนามิก มีการดีไซน์เเอปพลิเคชันโดยเเบ่งโหมดค่าใช้จ่ายตามสีของท้องฟ้าในช่วงเวลาต่างๆ” 

โดยการออกแบบฟีเจอร์ต่างๆ ของ MAKE มีแนวคิดหลักจาก

  • MAKE it Social ตอบรับกับไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มีชีวิตกับเทคโนโลยี ให้ผู้ใช้สามารถบริหารจัดการเงินด้วยตัวเอง และสามารถแชร์ร่วมกันระหว่างเพื่อนหรือบุคคลที่ต้องการได้
  • MAKE it Fast พัฒนาเทคโนโลยีและออกแบบฟีเจอร์ที่ทำให้การจัดการการเงินสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
  • MAKE it Scalable สามารถรองรับปริมาณการทำธุรกรรมจำนวนมาก โดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ที่มีแนวโน้มการใช้โมบายแบงกิ้งมากขึ้น

ในเฟสเเรก MAKE by KBank จะประกอบด้วย 3 ฟีเจอร์หลัก ที่เหมาะกับชีวิตประจำวันยุค New Normal ที่ต้องการจัดการทุกอย่างผ่านบัญชีธนาคารเดียว

Pop Pay บริการโอนเงินที่สะดวกและรวดเร็ว เพราะสามารถโอนเงินผ่านบลูทูธ ให้คนที่อยู่ในระยะ 10 เมตรได้เลยโดยไม่ต้องขอเลขบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ หรือ QR Code จากอีกฝ่าย ยกระดับวิธีโอนเงินแบบ Contactless เพียงแค่กดเลือกไอคอนเพื่อนที่มีบัญชี MAKE by KBank เหมือนกันและอยู่ในรัศมีที่กำหนด ก็กดส่งเงินได้เลย (ซึ่งจะมีชื่อจริงของเพื่อนให้เราเช็กก่อนกดโอน)

Chat Banking บันทึกรายการการทำธุรกรรมสไตล์ใหม่ที่ผู้ใช้สามารถเก็บบันทึกประวัติการโอนเงินระหว่างเพื่อนเป็นรูปแบบของโซเชียลแชท (Social Chat) คล้ายคลึงกับบริการส่งข้อความหรือแอปแชทที่ใช้กันทั่วไป โดยผู้โอนเงินสามารถแนบรูปภาพหรือเขียนบันทึกของการโอนนั้นๆ ได้เพื่อให้ง่ายต่อการย้อนดูภายหลัง

Cloud Pocket  สามารถสร้างกระเป๋าเงินย่อยไว้แยกเก็บเงินในบัญชีได้ไม่จำกัดจำนวน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแบ่งเงินออกเป็นส่วนๆ ได้ สร้างเป็น Cloud Pocket ส่วนตัว เพื่อจัดสรรเงินสำหรับการใช้ส่วนบุคคล เช่น เงินออม ค่าใช้จ่ายรายเดือนของบริการต่างๆ ค่าของขวัญสำหรับคนพิเศษ ค่าช้อปปิ้ง หรือจะชวนเพื่อนมาร่วม Cloud Pocket ของเรา เพื่อเก็บเงินเป็นกองกลางเพื่อใช้ทำกิจกรรม ไปทริป หรือซื้อของร่วมกัน สร้างความเป็น Community-Based มากขึ้นก็ได้เช่นกัน สามารถย้ายเงินข้าม Pocket ได้อย่างสะดวก ไม่จำกัดจำนวนครั้ง รวมทั้งมีการแจ้งเตือนเวลามีเงินโอนเข้า และยังสามารถตั้งค่าโอนอัตโนมัติได้อีกด้วย

 

สำหรับการเปิดบัญชีเพื่อใช้งาน ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MAKE by KBank ก่อน จากนั้นระบบจะให้ยืนยันตัตนผ่าน KPLUS เหมือนการเปิดบัญชีออมทรัพย์ปกติ โดยผู้ใช้สามารถทำการถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มโดยไม่ใช้บัตรได้ (กดไอคอน MAKE ที่หน้าจอตู้เอทีเอ็ม) หากต้องการโอนเงินก็สามารถทำได้ปกติเพียงมีเลขบัญชีผู้รับปลายทาง

ทั้งนี้ แอปฯ MAKE ยังต้องยืนยันตัวตนผู้ใช้ผ่าน KPLUS ไปก่อนในช่วงนี้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ต้องติดตั้งทั้ง 2 แอปฯ แต่ในอนาคต ทีมงานเตรียมจะพัฒนาให้เป็นแอปฯ ที่สมบูรณ์ในตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาเเอปฯ หลักของธนาคาร

โดยตอนนี้ MAKE ยังอยู่ในช่วงที่ให้พนักงานธนาคารกสิกรไทยและ KBTG (ราว 2 หมื่นคน) ได้ทดลองใช้งานก่อน สำหรับลูกค้าหรือบุคคลที่สนใจร่วมทดลองใช้งานเป็นกลุ่มแรก สามารถลงทะเบียนได้ (ที่นี่) เพื่อช่วยให้ทางทีมพัฒนาสามารถรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาการบริการ ก่อนที่จะเปิดให้ลูกค้าทั่วไปได้ใช้งานเต็มรูปแบบในช่วงปลายปี 2563 ในระหว่างนี้ทางธนาคารยังเปิดประกวดไอเดียการสร้างฟีเจอร์ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ชิงเงินรางวัลรวม 60,000 บาทด้วย (อ่านรายละเอียด ที่นี่)

การเปิดตัว MAKE by KBank ในปีนี้ นับเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ของธนาคารที่ต้องการจะเพิ่มยอดการ “เปิดบัญชีใหม่” ในช่วงสถานการณ์การเเพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้ผู้คนหันมา “ออมเงิน” มากขึ้น เพราะความไม่เเน่นอนของชีวิตเเละหน้าที่การงาน

ส่วนข้อสงสัยที่ว่า MAKE จะมาทับซ้อนหรือเเย่งฐานลูกค้าของเเอปฯ หลักอย่าง KPLUS หรือไม่นั้น ผู้บริหาร KBTG ตอบว่า เป็นการเชื่อมโยงกันมากกว่า เพราะทั้งสองมีเป้าหมายลูกค้าที่เเตกต่างกันเเน่ชัด โดย KPLUS จะเป็นเเอปฯ ที่ทำเพื่อผู้ใช้ทุกคน ครอบคลุมเเละมีบริการครบวงจรของธนาคาร ส่วน MAKE จะเน้นไปที่คนรุ่นใหม่ Gen Y-Z ที่นิยมเปิดบัญชีหลายบัญชี มีไลฟ์สไตล์เเละกิจกรรมที่หลากหลาย ชื่นชอบการใช้เทคโนโลยี

“ในอนาคตอาจจะมีการนำฟีเจอร์ของ MAKE ไปอยู่ใน KPLUS หรือเเอปฯ ขุนทอง หรือนำฟีเจอร์ของ KPLUS มาใส่ใน MAKE ด้วยก็ได้ เป็นการเชื่อมต่อระหว่างกัน ซึ่งเราจะมีการพัฒนาฟังก์ชั่นใหม่ๆ มาให้ใช้ตลอด นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น KBank ยังจะมีนวัตกรรมใหม่มาเปิดตัวอีก อย่างเร็วก็ในช่วงเดือนหน้านี้” 

 

]]>
1289276