นักธุรกิจไทย – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Wed, 28 Apr 2021 05:48:07 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “นักธุรกิจไทย” กว่า 5,000 ราย เตรียมทริป “วัคซีนทัวร์” หลัง “เซอร์เบีย” ฉีดวัคซีนนทท.ฟรี! https://positioningmag.com/1329611 Wed, 28 Apr 2021 05:12:27 +0000 https://positioningmag.com/?p=1329611 บริษัททัวร์เตรียมจัดทริป “วัคซีนทัวร์” พานักธุรกิจไทยไป “เซอร์เบีย” หลังเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติฉีดวัคซีนฟรี สามารถเลือกชนิดวัคซีนได้ ใช้เวลาแค่ 2 สัปดาห์ เผยนักธุรกิจ-สายบันเทิงพร้อมเช่าเหมาลำ พบกลุ่มที่ต้องการมีกว่า 5 พันราย ขอรัฐบาลเร่งสนับสนุน ด้าน “ผู้ว่าฯ ททท.” ชี้ สามารถทำได้ ไม่ขัด พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยว ขณะที่ “ผอ.กองควบคุมโรค” ระบุกลับเข้าประเทศต้องกักตัว 14 วัน ผู้ประกอบการ ยัน “ดูไบ” ไม่ฉีดให้คนต่างชาติ

จากปัญหาการขาดแคลนวัคซีนต้าน COVID-19 ซึ่งรัฐบาลไทยไม่สามารถจัดหาได้ทันและเพียงพอต่อความต้องการ ขณะที่ไวรัสกลับมาระบาดระลอกที่ 3 อีกทั้งยังเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ได้รวดเร็ว และมีอาการรุนแรงกว่าเดิม ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยพยายามดิ้นรนเพื่อให้ได้ฉีดวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองและคนในครอบครัว

ล่าสุด ได้มีบางประเทศออกมาประกาศนโยบายให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไปสามารถฉีดวัคซีน COVID-19 ได้ฟรี เพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว จึงมีนักธุรกิจไทยส่วนหนึ่งที่เรียกร้องให้บริษัททัวร์จัดทริป “วัคซีนทัวร์” เพื่อไปฉีดวัคซีนในประเทศดังกล่าว ซึ่งหากฟังข้อมูลจากผู้ประกอบการทัวร์แล้วก็มีความเป็นไปได้อยู่ไม่น้อย

Photo : Shutterstock

เนตรนภา แก้วแสงธรรม ผู้บริหารบริษัท ซียูอะเกน จำกัด แอนด์ โอเปอร์เรเตอร์ ยุโรป บริษัทที่เชี่ยวชาญในการจัดทัวร์แบบส่วนตัว เปิดเผยว่า

“เนื่องจากตอนนี้ตอนนี้ไทยเผชิญกับ COVID-19 ระลอก 3 ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์อังกฤษที่เชื้อมีความรุนแรง และแพร่ระบาดรวดเร็ว ขณะที่โรงพยาบาลประสบปัญหาเตียงขาดแคลน และความล่าช้าในการฉีดวัคซีนเนื่องจากภาครัฐไม่สามารถจัดหาวัคซีนได้เพียงพอต่อความต้องการ จึงมีลูกค้าแสดงความจำนงเข้ามาจำนวนมากว่าต้องการให้บริษัททัวร์ของเราจัดทริปพาไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศ ที่เรียกว่า วัคซีนทัวร์ เพราะเขามองว่าเขาเป็นกลุ่มอาชีพเสี่ยงเนื่องจากต้องพบปะผู้คนจำนวนมาก เช่น นักธุรกิจ กลุ่มที่ทำธุรกิจด้านบันเทิง เช่น จัดงานอีเวนต์ นักร้องนักแสดง ผู้ที่ทำงานในสถานบันเทิง ซึ่งมีกำลังที่สามารถจะเดินทางไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศได้ หากคนกลุ่มนี้ได้ฉีดวัคซีนและมีภูมิคุ้มกันเขาก็สามารถรับงานหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้”

ทางบริษัทจึงประสานงานไปยังพาร์ตเนอร์ในประเทศต่างๆ ซึ่งมีวัคซีน COVID-19 ที่มีประสิทธิภาพ และมีนโยบายฉีดวัคซีนให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้าไปในประเทศของเขาเพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น ประเทศในแถบยุโรป และนครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ซึ่งมีข่าวออกมาก่อนหน้านี้

Photo : Shutterstock

ผู้บริหารบริษัท ซียูอะเกน กล่าวต่อว่า แต่เมื่อตรวจสอบไปทางประเทศในแถบยุโรปพบว่ามีความน่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากบางประเทศ เช่น รัสเซีย และประเทศเซอร์เบียซึ่งอยู่ในยุโรปตะวันออก มีปริมาณวัคซีนเหลือเป็นจำนวนมากเนื่องจากประชาชนของเขาไม่ต้องการฉีด

รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะนำวัคซีนดังกล่าวมาฉีดในนักท่องเที่ยวต่างชาติฟรีเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว โดยประเทศที่น่าสนใจมากคือ เซอร์เบีย เนื่องจากสามารถเดินเข้าประเทศโดยไม่ต้องมีการกักตัว เพียงแต่มีผลการตรวจจากประเทศต้นทางยืนยันว่าไม่ติดเชื้อ COVID-19

ที่สำคัญสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อเลือกชนิดของวัคซีนที่ต้องการฉีดได้ (ปัจจุบันเซอร์เบีย มีวัคซีนให้ประชาชนเลือกฉีดได้ถึง 4 ยี่ห้อ ได้แก่ ไฟเซอร์ ของสหรัฐฯ, แอสตร้าเซนเนก้า ของอังกฤษ, สปุตนิกไฟว์ ของรัสเซีย และซิโนฟาร์ม ของจีน

Photo : Shutterstock

หรือหากไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้านักท่องเที่ยวก็สามารถไปฉีดวัคซีน COVID-19 ที่โรงพยาบาลของรัฐได้เลยเพียงแต่ไม่สามารถเลือกชนิดวัคซีนได้ อีกทั้งข้อดีของเซอร์เบียคือ หากใครมีวีซ่าสหรัฐเมริกา หรืออังกฤษ ก็เข้าประเทศเซอร์เบียได้เลยโดยไม่ต้องทำวีซ่า

และตอนนี้ยังมีเที่ยวบินที่บินไปเซอร์เบียอยู่ ส่วนประเทศรัสเซียนั้นคนไทยไม่ค่อยให้ความสนใจ เนื่องจากรัสเซียใช้วัคซีนสปุตนิก ซึ่งเป็นวัคซีนที่คนไทยไม่มั่นใจในประสิทธิภาพ แม้ปัจุบันรัฐบาลรัสเซียจะอนุญาตให้ชาวต่างชาติฉีดได้อย่างกว้างขวางก็ตาม

“กลุ่มสถานบันเทิงเป็นกลุ่มที่ประสบปัญหาหนักมากเพราะเป็นธุรกิจกลุ่มแรก ที่ถูกปิดก่อนเป็นอันดับแรกทุกครั้งที่มีการแพร่ระบาดหนัก เขาจึงพยายามดิ้นรนหาวัคซีน ถ้าเจ้าของธุรกิจ และทีมงานได้ฉีดวัคซีนเขาก็จะมีโอกาสที่จะเปิดทำธุรกิจได้ ซึ่งประเทศที่น่าสนใจคือ เซอร์เบีย เนื่องจากวัคซีนไฟเซอร์ซึ่งเป็นหนึ่งในวัคซีนที่เซอร์เบียฉีดให้ประชาชนอยู่นั้นฉีดแค่เข็มเดียว โดยใช้เวลาแค่ 14 วัน นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปฉีดวัคซีนที่เซอร์เบีย จึงไม่ต้องเสียเวลานานเป็นเดือนเหมือนการฉีดวัคซีนชนิดอื่น หลังฉีดแล้วอยู่ที่เซอร์เบีย 7 วัน อีก 7 วันสามารถเดินทางท่องเที่ยวในประเทศใกล้เคียงอย่างแอลเบเนียซึ่งฟรีวีซ่าให้แก่คนไทย และอัตราการติดเชื้อ COVID-19 ต่ำ หรือประเทศตุรกีที่คนไทยสามารถถือหนังสือเดินทางเข้าประเทศได้เลย ไม่ต้องขอวีซ่าเช่นกัน หากพำนักอยู่ไม่เกิน 30 วัน”

Photo : Shutterstock

สำหรับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปฉีดวัคซีนที่ประเทศเซอร์เบียนั้น ผู้บริหารบริษัท ซียูอะเกน อธิบายว่า หากอยู่ที่เซอร์เบีย 14 วัน ค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนของค่าทัวร์ อาหารและค่าที่พัก (ไม่รวมตั๋วเครื่องบิน) จะอยู่ที่หลักหมื่นปลายๆ สำหรับอีโคโนมีทัวร์ ส่วนบิสิเนสทัวร์จะสูงกว่านั้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่ากลุ่มที่ต้องการเดินทางไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศนั้นมีจำนวนไม่น้อยทีเดียว ทั้งที่เป็นกลุ่มธุรกิจและกลุ่มครอบครัว ซึ่งจากการประเมินน่าจะไม่ต่ำกว่า 5,000 คน

“หากรัฐบาลอนุญาตให้ทำทัวร์พาคนไทยไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศได้ น่าจะมีคนที่จองทริปไม่ต่ำกว่า 5,000 คน หรือประมาณ 20 เที่ยวบิน ในส่วนของบริษัททัวร์ของเราซึ่งพาคนไทยไปฉีดวัคซีนที่เซอร์เบีย จะทำเป็น 2 แพ็กเกจ คือ อีโคโนมีกับบิสิเนส โดยอีโคโนมีจะไม่ถึงแสน ส่วนบิสิเนสจะสูงหน่อยเพราะอาหาร ที่พัก และทริปท่องเที่ยวจะหรูหรากว่า ตอนนี้มีลูกค้าจำนวนมากที่ต้องการให้เราจัดทริปให้ มีกลุ่มหนึ่งเขาแจ้งว่าถ้าจองวัคซีนได้เขาพร้อมบิน โดยจะเช่าเหมาลำเพื่อพาทีมงานไปฉีดวัคซีน ซึ่งเรามองว่ากลุ่มนี้น่าจะเป็นผู้ประกอบการสถานบันเทิงซึ่งเป็นกลุ่มที่รายได้ดีแต่มีความเสี่ยงสูง” ผู้บริหารบริษัท ซียูอะเกน ระบุ

นางเนตรนภา กล่าวต่อว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการธุรกิจทัวร์ต้องการคือความชัดเจนจากรัฐบาล ว่ามีนโยบายในเรื่องดังกล่าวอย่างไร การนำนักท่องเที่ยวไทยไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศสามารถทำได้หรือไม่ รัฐบาลจะสนับสนุนในส่วนใดได้บ้าง และผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วเดินทางกลับเข้าประเทศจำเป็นต้องกักตัวหรือไม่ ใช้เวลาเท่าไหร่ในการกักตัว โดยอยากให้รัฐบาลวางแนวทางให้ชัดเจนเพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

Photo : Shutterstock

“ผู้ประกอบการบริษัททัวร์มองว่าการนำคนไทยไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ ช่วยลดภาระในการจัดหาวัคซีนของรัฐบาล ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วสามารถทำมาหากินได้ ทำให้เศรษฐกิจเกิดการหมุนเวียน ช่วยกระตุ้นธุรกิจทัวร์ที่ประสบปัญหาอย่างหนักจากผลกระทบของ COVID-19 ที่สำคัญจะช่วยป้องกันการติดเชื้อหรือการแพร่ระบาดไปยังเด็กและผู้สูงอายุของแต่ละครอบครัวด้วย” ผู้บริหารบริษัท ซียูอะเกน กล่าว

ขณะที่ นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ชี้แจงประเด็นข้อสงสัยในเรื่องดังกล่าวว่า การที่บริษัททัวร์จะพาคนไทยออกไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศนั้น ในส่วนของกฎระเบียบเกี่ยวกับธุรกิจท่องเที่ยวไม่ได้มีปัญหาอะไร ไม่ได้ขัดกับ พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยว จึงคิดว่าสามารถทำได้ เช่นเดียวกับการพาทัวร์ไปศัลยกรรมที่ประเทศเกาหลี อย่างไรก็ดี ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะอนุญาตให้เดินทางไปยังประเทศนั้นๆ ได้หรือไม่

ด้าน นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การที่คนไทยจะเดินทางไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศนั้นสามารถทำได้ ในทางสาธารณสุขไม่ได้มีข้อห้าม แต่เมื่อเดินทางกลับเข้ามาก็ต้องกักตัวในสเตทควอรันทีน ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) กำหนด

Photo : Shutterstock

โดยปัจจุบันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงและมีเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ใหม่เข้ามา ศบค. จึงกำหนดให้ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศต้องกักตัวเป็นเวลา 14 วันเท่ากันทุกเคส ทั้งนี้ การฉีดวัคซีนในต่างประเทศนั้น ปกติหลังจากฉีดแล้วแพทย์จะให้รอเชื้อฟักตัวเป็นเวลา 14 วันจึงจะให้เดินทางกลับได้ แปลว่าผู้ที่เดินทางไปฉีดวัคซีนในต่างประเทศจะใช้เวลาอย่างน้อย 1 เดือนจึงจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ประเทศเซอร์เบียมีประชาชนที่มีสิทธิได้รับวัคซีน COVID-19 แต่ไม่มาฉีดถึงเกือบ 3 ใน 4 ของจำนวนฉีดวัคซีนที่ทางรัฐบาลจัดเตรียมเอาไว้ให้ ขณะที่รัฐบาลเซอร์เบียใช้ประโยชน์จากการที่มหาอำนาจฝั่งตะวันออก และตะวันตกพยายามใช้วัคซีนเป็นเครื่องมือทางการทูต

ทำให้รัฐบาลเซอร์เบียสามารถสั่งจองวัคซีนไปได้ถึง 15 ล้านโดส ซึ่งเกินความต้องการของประเทศที่มีประชากรเพียง 7 ล้านคน ดังนั้น รัฐบาลเซอร์เบียจึงตัดสินใจนำวัคซีนดังกล่าวไปฉีดให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปเซอร์เบีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกระตุ้นการท่องเที่ยวได้ไม่น้อย และจากนโยบายดังกล่าวส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวจากประเทศใกล้เคียง เดินทางมายังเซอร์เบียเพื่อฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก

Photo : Shutterstock

ขณะที่บางรัฐของสหรัฐอเมริกาก็มีนโยบายฉีดวัคซีน COVID-19 ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวเช่นกัน โดยล่าสุด Mike Dunleavy ผู้ว่าการรัฐอะแลสกาได้แถลงข่าวเปิดตัว “ทัวร์ฉีดวัคซีน” เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอะแลสกา โดยวัคซีนที่รัฐอะแลสกาฉีดให้ฟรีเป็นวัคซีนของ “ไฟเซอร์” และ “โมเดอร์นา”

ซึ่งสหรัฐฯ เชื่อว่าเป็นวัคซีนที่ดีที่สุดในขณะนี้ ซึ่งนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ จะได้รับการฉีดตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้ ที่สนามบินใหญ่ 4 แห่ง คือ อังคอเรจ จูนัว เคทชิกัน แฟร์แบงก์ และจะเริ่มทดลองฉีดในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ ที่สนามบินอังคอเรจ ก่อน

ทั้งนี้ นักท่องเที่ยวที่ได้รับการฉีดวัคซีนเข็มแรกที่สนามบินแล้ว สามารถไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 ได้ทุกรัฐในสหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่พำนักในสหรัฐฯ โดยหากเป็นวัคซีนของ “ไฟเซอร์” เมื่อฉีดเข็มแรกแล้ว ต้องรอ 21 วันจึงจะฉีดเข็มที่ 2 ได้ ส่วนวัคซีนของ “โมเดอร์นา” เมื่อฉีดเข็มแรกแล้ว ต้องรอ 28 วัน จึงจะฉีดเข็มที่ 2 ได้ ดังนั้น ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็มจึงต้องพำนักหรือท่องเที่ยวในสหรัฐฯ ให้ครบ 21-28 วัน

Source

]]>
1329611
ส่องโอกาส ‘นักลงทุนจีน’ เเห่ขนเงินบุกตลาดไทย หลังวิกฤต COVID-19 https://positioningmag.com/1313268 Thu, 07 Jan 2021 11:49:16 +0000 https://positioningmag.com/?p=1313268 ความไม่เเน่นอนของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางโรคระบาด COVID-19 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน

โดยนักลงทุนจากประเทศจีน ถือเป็นกลุ่มใหญ่ลำดับต้นๆ ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย ท่ามกลางสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงเหล่านี้ มาดูกันว่าทิศทางของเม็ดเงินการลงทุนของจีนจะเป็นอย่างไร ธุรกิจที่น่าสนใจ ผู้ประกอบการชาวไทยต้องเตรียมตัว เเละมีข้อควรระวังอย่างไรบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อมรับโอกาสการลงทุนในปี 2021 นี้

คาดจีน ‘ขนเงิน’ ลงทุนไทย หลัง COVID-19 

สำหรับภาพรวมการลงทุนของนักลงทุนจีนในประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจ SMEs ที่ปรับกลยุทธ์หันมาใช้ไทยเป็นฐานการผลิต เพื่อขยายตลาดในอาเซียน

หากย้อนไปในช่วง 5 ปีก่อน จะเห็นว่าสัดส่วนการลงทุนของจีนในไทยไม่ได้อยู่ในอันดับ 5 แต่ในปี 2561 ประเทศจีนขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 เเทนที่ประเทศญี่ปุ่นที่เคยเป็นอันดับ 1 ในการลงทุนในตลาดไทย

มาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มงานการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ให้ข้อมูลว่า สัดส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของจีนในปี 2562 มีมูลค่าการลงทุนสะสมรวมอยู่ที่
1.4
แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการลงทุนในอาเซียนสัดส่วนประมาณ 11% และไทยมีสัดส่วนประมาณ 1% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากในปี 2558 ที่มีสัดส่วนการลงทุนสะสมเพียง 0.3% เท่านั้น

แม้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น แต่ถือว่ายังค่อนข้างน้อย หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น CLMV ที่มีสัดส่วนการลงทุนถึง 4% โดยเฉพาะการลงทุนในเวียดนามที่ค่อนข้างโดดเด่น สะท้อนว่าการลงทุนในไทยยังค่อนต่ำเมื่อเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีน เเต่ก็มองว่าส่วนนี้ยังสามารถขยายเพิ่มได้อีก

โดย SCB ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารบริษัทจีนขนาดกลางและขนาดใหญ่จำนวน 170 รายที่มีการลงทุนหรือเกี่ยวข้องกับไทย พบว่า นักลงทุนกว่า 2 ใน 3 ให้ความสนใจที่จะขยายการลงทุนมายังไทยในช่วง 2 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ราว 60% ยังเป็นกลุ่มที่ไม่เคยลงทุนหรือทำธุรกิจในประเทศไทยมาก่อน ถือว่าเป็นโอกาสใหม่ที่สำคัญ

เหตุผลหลักๆ คือ มองว่าไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพ มีความพร้อมและตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่จะสามารถก้าวเป็นศูนย์กลางอาเซียนเพื่อเชื่อมโยงตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านได้มากขึ้น ต่างจากในอดีตที่นักลงทุนจีนเคยมองว่า ประเทศไทยเป็นเพียงฐานการผลิตเพื่อส่งออกเท่านั้น

อีกทั้ง ยังมีปัจจัยที่เอื้อให้การลงทุนไทยยังเติบโต จากนโยบายการลงทุนต่างประเทศของจีนที่น่าจะเปลี่ยนไปเพราะภัยโรคระบาด จากเดิมที่เคยมองการลงทุนในสหรัฐฯ เเละยุโรป ก็มีเเนวโน้มจะนำเงินทุนเหล่านั้นมาลงในประเทศ
เเถบอาเซียนเเละไทย ที่มีความรุนเเรงในการเเพร่ระบาดน้อยกว่า

จีนลุยเจาะธุรกิจ ‘บริการ’ ในไทย 

อุตสาหกรรมที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเริ่มกระจายตัวมากขึ้น จากเดิมที่กระจุกตัวในอุตสาหกรรมผลิตเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมหนัก อย่าง การลงทุนในระบบรางขนส่ง รถไฟ ฯลฯ

แต่ในระยะหลังนักธุรกิจจีนเริ่มหันมาบุกตลาดไทยมากขึ้น ทั้งในภาคบริการ เทคโนโลยี สาธาณูปโภค โลจิสติกส์ ร้านอาหาร รวมไปถึงการตั้งสำนักงานทนายความรองรับนักธุรกิจจีนในไทย

จากเดิมเม็ดเงินลงทุนจากจีนจะมีขนาดใหญ่ราว 1,000 ล้านบาท เเละจำกัดอยู่ในอุตสาหกรรมหลัก อย่าง ยางรถยนต์ ต่างจากตอนนี้ที่มีการกระจายการลงทุนมากขึ้น ทำให้เม็ดเงินลงทุนมีขนาดเล็กลง อาจเหลือเพียง 500 ล้านบาท แต่เราจะได้เห็นปริมาณโครงการลงทุนว่ามีมากขึ้นเกินความคาดหมาย

โดยพฤติกรรมของนักลงทุนจีน โดยเฉพาะ SMEs (ที่มีขนาดใหญ่กว่าในไทย) ที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ เพื่อเลี่ยงผลกระทบจากสงครามการค้า จะใช้เงินลงทุนในช่วงแรกน้อยลง เพื่อเรียนรู้ตลาดก่อนขยายธุรกิจในอนาคตตามโอกาสและทิศทางการเติบโต โดยธุรกิจบริการและเทคโนโลยี จะเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายของนักธุรกิจจีนที่มีแนวโน้มจะขยายการลงทุนในประเทศไทยต่อไป

ร้านอาหารจีน
Photo : Shutterstock

เเซงญี่ปุ่น จีนขึ้นเบอร์ 1 ดันเม็ดเงิน FDI ในไทย 5 หมื่นล้าน

ยรรยง ไทยเจริญ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ วิเคราะห์ว่า ในปี 2564 GDP ทั่วโลกน่าจะอยู่ที่ 5.4% ฟื้นตัวเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ติดลบ 4.1%

โดยเศรษฐกิจสหรัฐฯ เเละยุโรปจะฟื้นตัว แต่ยังไม่เท่ากับช่วงก่อนวิกฤต COVID-19 ขณะที่จีนยังเป็นมหาอำนาจใหญ่ชาติเดียวที่ยังเติบโตได้ แม้จะชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าก็ตาม

คาดว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวได้ 8.3% เมื่อเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโลกปีนี้จะอยู่ที่ 5.4% ถือว่าเป็นโอกาสดีในการทำธุรกิจกับจีน

หากดูข้อมูลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของโลก จากการประเมินของ UNCTAD ในปี 2564 พบว่า ยังมีแนวโน้มหดตัว -10% จากปี 2563 ที่หดตัวสูงถึง -30-40% หรือคิดเป็นเม็ดเงินลงทุนอยู่ที่ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2558 ที่มีเม็ดเงินลงทุน 2.04 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นผลมาจาก COVID-19 และมาตรการล็อกดาวน์

เเต่จะเห็นว่าภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบน้อยสุด โดยเม็ดเงิน FDI หดตัว -12% เมื่อเทียบกับภูมิภาคยุโรปที่หดตัว -100% สะท้อนการควบคุม COVID-19 ได้ค่อนข้างดี

เมื่อเจาะลึกถึงการลงทุนในไทยของนักลงทุนจากจีน พบว่า ในช่วง 9 เดือนของปี 2563 เทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน เเม้การยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) จะมีอัตราการหดตัว -19% แต่จะเห็นว่าการอนุมัติโครงการมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งมาจากการยื่นขอในช่วง 2-3 ปีก่อนทำให้มีเม็ดเงินการลงทุนเข้ามาในไทยต่อเนื่อง

ปัจจุบันการขอส่งเสริมการลงทุนของจีน ขึ้นแซงหน้าประเทศญี่ปุ่นมาเป็นอันดับ 1 แล้ว โดยมูลค่าเงินทุนที่ได้รับอนุมัติของจีนอยู่ที่ 5.15 หมื่นล้านบาท จากมูลค่าเงินลงทุนที่ยื่นขอรับการส่งเสริมอยู่ที่ 2.21 หมื่นล้านบาท

“ในปี 2563 จะเห็นว่าญี่ปุ่นยื่นขอส่งเสริมการลงทุน BOI มากที่สุด แต่จีนได้รับการอนุมัติการลงทุนมากที่สุด”

โดยต่อไป ไทยต้องเร่งในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อดึงดูดนักลงทุนเข้ามา ไปพร้อมๆ กับปัจจัยสนับสนุน อย่าง การลงนามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภูมิภาค (The Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) และต้องจับตาความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยการที่สหรัฐฯ มีผู้นำคนใหม่เป็น “โจ ไบเดน” ก็จะเห็นทั้งนโยบายส่งเสริมและกีดกันทางการค้ามากขึ้น เเละโลกจะแบ่งเป็น 3 ขั้วอำนาจได้แก่ จีน สหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวที่น่าจับตา

โอกาสเเละความเสี่ยงที่ควรระวัง

มาณพ ระบุว่า การที่โครงสร้างพื้นฐานในประเทศ CLMV นั้นต้องพึ่งพาจีนมากกว่าไทย เเละมีชายเเดนใกล้กัน ทำให้มีความสัมพันธ์กับนักลงทุนจีนมากกว่า เเต่ไทยก็ยังสามารถวาง ‘จุดเเข็ง’ ของตัวเองได้ ด้วยการเป็นจุดยุทธศาสตร์ ที่มีโครงสร้างพื้นฐานเเละเทคโนโลยีที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงความพร้อมเรื่องของบุคลากร ที่จะเป็นตัวต่อยอดกับนักธุรกิจจีนต่อไปได้

“เหตุผลนักลงทุนจีนเลือกมาที่ประเทศไทย เขาไม่ได้มองไปที่การประหยัดต้นทุนเป็นอันดับเเรก ซึ่งต่างกับการไปลงทุนที่ใน CLMV ที่มักจะพิจารณาถึงต้นทุนที่ต่ำกว่า”

สำหรับข้อดีที่เป็นโอกาสต่อไป คือ นักธุรกิจจีนกำลังจะเข้ามาในลงทุนในไทยมากกว่าทุกวันนี้ เเละกระจายตัวไปในหลายภาคอุตสาหกรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อตีตลาดไทย หาช่องทางการตลาดโดยตรงเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องการเข้าเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจไทย

เหล่านี้เป็นโอกาสของนักธุรกิจไทย ที่จะเข้าไปเป็น “พันธมิตรร่วมทุน” หรือจับมือการค้าต่างๆ รวมไปถึงการให้บริการหรือขายบริการให้กับนักธุรกิจจีนที่มาลงทุนในประเทศไทย ซึ่งจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ

ดังนั้น จึงต้องเตรียมการทำเข้าใจนักธุรกิจจีนมากขึ้น เพราะคนจีนจากเเต่ละภูมิภาค เเต่ละมณฑลก็มีลักษณะการทำธุรกิจที่เเตกต่างกัน นักธุรกิจจากบริษัทขนาดใหญ่เเละขนาดเล็กก็เเตกต่างกัน เป็นช่องทางที่เราจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านกฎระเบียบของไทย ตลอดจนการบริหารความเสี่ยงของตลาดไทยมากขึ้น

Photo : Shutterstock

ด้าน “ความเสี่ยง” ที่ต้องระมัดระวังนั้น ต้องเข้าใจก่อนว่าเเต่เดิมจีนวางว่าไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก จึงไม่ค่อยเข้ามาเกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ธุรกิจบ้านเราเท่าไหร่ ไม่ค่อยมีผลกระทบต่อดีมานด์-ซัพพลาย เเต่ปัจจุบันเมื่อนักธุรกิจจีนเลือกที่จะเข้ามาตีตลาดไทยเอง ก็ทำให้สมการการเเข่งขันเปลี่ยนเเปลงไป

อีกทั้งนักธุรกิจจีนยังมาพร้อมกับเงินทุน ต้นทุนที่ต่ำกว่า เเละเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่า ตลอดจนวิธีการทำงานของนักธุรกิจจีนบางรายก็มีความก้าวร้าวมากกว่านักธุรกิจชาติอื่นๆ เป็นอีกหนึ่งความเสี่ยงที่ต้องทำความเข้าใจให้รอบคอบ

“ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีเเบรนด์จีนขยับขึ้นมามีชื่อเสียงระดับโลกเพิ่มขึ้นมาก สินค้ามีคุณภาพ มีการดีไซน์สินค้า นำไปสู่การเเข่งขันในตลาดที่ดุเดือดมากขึ้น ดังนั้นนักธุรกิจไทยต้องเตรียมพร้อมรับมือ รวมถึงการหาแนวทางเป็นคู่ค้ากับนักธุรกิจจีนเพื่อรับกระเเสเม็ดเงินที่จะเข้ามาลงทุนต่อไป” 

 

]]>
1313268