ประชากรจีน – Positioning Magazine https://positioningmag.com Thailand's Leading Marketing Magazine Thu, 18 Jan 2024 07:49:44 +0000 en-US hourly 1 https://wordpress.org/?v=5.6 167543101 “ประชากรจีน” หดตัว 2 ปีติดเหลือ 1.409 พันล้านคน อัตราเกิดลดเหลือ 6.39/1,000 คน ทำสถิติต่ำสุดใหม่นับตั้งแต่ปี 1949 https://positioningmag.com/1459151 Wed, 17 Jan 2024 07:11:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1459151 ทั้งปัญหาการเติบโตของเศรษฐกิจที่น้อยสุดในรอบ 30 ปี ขณะที่เยาวชนอายุน้อยก็ตกงานกันเพียบ ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ดูเหมือนจะส่งผลให้คนจีนเลือกที่จะมีลูกน้อยลง ทำให้อัตราการเกิดต่ำลงเรื่อย ๆ ส่งผลให้ประชากรจีนหดตัวซึ่งจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต

สํานักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เปิดเผยว่า ปี 2023 ที่ผ่านมา จำนวนประชากรจีนลดลงเหลือ 1.409 พันล้านคน ลดลงประมาณ 2.08 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2022 โดยถือเป็นการ หดตัวต่อเนื่องสองปีติดต่อกัน ซึ่งยิ่งเกิดความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ที่อาจมีผลกระทบอย่างมีนัยสําคัญต่อเศรษฐกิจของที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก

ขณะที่ อัตราการเกิด ยังลดลงสู่ระดับต่ำสุดใหม่ที่ 6.39 ต่อ 1,000 คน ลดลงจาก 6.77 คน ในปีก่อนหน้า ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การก่อตั้งคอมมิวนิสต์จีนในปี 1949 ที่มีทารกเกิดใหม่ประมาณ 9.02 ล้านคน เทียบกับปี 2022 ที่มีทารกเกิดใหม่ 9.56 ล้านคน

ทั้งนี้ จำนวนประชากรจีนลดลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษในปี 2022 ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า เป็นการลดลงครั้งแรกของประเทศนับตั้งแต่ปี 1961 ที่มีแผน Great Leap Forward หรือแผนห้าปีฉบับที่สอง ของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นการรณรงค์ทางเศรษฐกิจและสังคมซึ่งมีพรรคคอมมิวนิสต์จีนของอดีตผู้นํา เหมา เจ๋อตง ส่งผลให้ปี 2023 จีนได้ถูก อินเดีย แซงหน้าในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก

ที่ผ่านมา แรงงานของประเทศจีนประกอบด้วยคนใน กลุ่มอายุ 16-59 ปี ซึ่งลดลง 10.75 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2022 ในขณะที่จํานวน ผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี เพิ่มขึ้น 16.93 ล้านคน โดยจำนวนผู้สูงอายุที่มากขึ้นสวนทางกับกลุ่มคนหนุ่มสาวที่เป็นแรงงานที่หดตัว ซึ่งอาจทําให้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตกต่ำลงอย่างมาก

ส่งผลให้รัฐบาลจีนได้ยกเลิกนโยบาย ลูกคนเดียว ที่มีมานานหลายหลายทศวรรษ พร้อมทั้งออกนโยบายกระตุ้นให้คู่รักมีลูกกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มาตรการต่าง ๆ ที่ออกมาก็ไม่สามารถช่วยให้อัตราการเกิดเพิ่มขึ้นได้ ปัจจุบัน เศรษฐกิจจีนกำลังเผชิญความท้าทาย ส่งผลให้ปีที่ผ่านมาเติบโต 5.2% ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผลประกอบการทางเศรษฐกิจที่เลวร้ายที่สุดของประเทศในรอบกว่า 30 ปี

Source

]]>
1459151
ประชากรเยอะกว่าแล้วไง! จำนวนแรงงานของ ‘อินเดีย’ ยังตามหลัง ‘จีน’ อีกมาก คาดต้องใช้เวลาเกือบ 20 ปีถึงตามทัน https://positioningmag.com/1446125 Fri, 29 Sep 2023 04:24:41 +0000 https://positioningmag.com/?p=1446125 แม้บริษัทผู้ผลิตหลายรายจะเริ่มทิ้ง จีน ไปหา อินเดีย สำหรับใช้เป็นฐานการผลิตสินค้า เนื่องจากความไม่แน่นอนของนโยบายจากรัฐบาล อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันอินเดียจะเป็นประเทศที่มี ประชากรมากที่สุดในโลก แต่กําลังแรงงานยังคงตามหลังจีนอีกเยอะ

ตามรายงานของ Oxford Economics พบว่า แม้ว่า อินเดียจะขึ้นแท่นเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก แต่สัดส่วนประชากรวัยทํางานของอินเดีย (อายุระหว่าง 15-64 ปี) คิดเป็นเพียง 51% ของประชากร ซึ่งยังน้อยกว่า จีน ที่มีสัดส่วนประชากรวัยทำงานถึง 76% โดยกว่าจำนวนประชากรวัยทำงานของอินเดียจะใกล้เคียงกับจีน อาจต้องใช้เวลาถึงปี 2040

“แม้ว่าจำนวนแรงงานของอินเดียจะเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป แต่การคาดการณ์ในปัจจุบันของเราชี้ให้เห็นว่า กําลังแรงงานของอินเดียจะยังคงน้อยกว่าของจีนจนถึงช่วงปี 2040”

นอกจากนี้ อินเดียยังมีประเด็นเรื่อง การจ้างงานแรงงานหญิง ที่ยังคง ต่ำกว่ากว่าจีน อย่างมีนัยสําคัญ โดยกําลังแรงงานหญิงของจีนอยู่ที่ 71% แต่ในอินเดียมีเพียง 25% เท่านั้น ขณะที่ประเทศกําลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีแรงงานหญิงจํานวนมากขึ้นใน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว ไทย และเวียดนาม ก็มีสัดส่วนมากกว่า 50%

ไม่ใช่แค่อัตราแรงงานที่ต่ำของอินเดียเท่านั้นที่ก่อให้เกิดปัญหา แต่ผลผลิตของแรงงานก็เป็นอีกความท้าทายหนึ่ง โดยอินเดียยังมีปัญหาเรื่องที่ประชากร ขาดการศึกษาที่เหมาะสม และ มาตรฐานการดูแลสุขภาพของประเทศต่ำ โดยข้อมูลจาก World Economic Forum แสดงให้เห็นว่าอัตราการรู้หนังสือของอินเดียในปี 2018 อยู่ที่ 74% ซึ่งตามหลังจีนคิดเป็น 97%

“แม้ว่านั่นจะไม่ใช่ตัวเลขที่น่าตกใจ แต่คุณภาพการศึกษาของประเทศยังคงอ่อนแอ โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด ทำให้การเรียนการสอนของอินเดียในแถบชนบทหยุดชะงักไป ทําให้ความสามารถในการอ่านและการคํานวณของนักเรียนจํานวนมากของอินเดียล่าช้า”

ในส่วนของด้านสุขภาพ ตามรายงานในปี 2019 พบว่าอายุขัยเฉลี่ยของคนอินเดียอยู่ที่ 70.9 ปี ในขณะที่ในประเทศจีนอยู่ที่ 77.7 ปี นอกจากนี้ อินเดียยังมีปริมาณแพทย์เพียง 7.3 คนต่อ 10,000 คน เทียบกับ 23.9 แพทย์ต่อ 10,000 คน ในประเทศจีน

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า ภายในปี 2060 ประชากรของอินเดียจะมีจำนวนราว 1.7 พันล้านคน ส่วนประชากรของจีนจะลดลงเหลือ 1.1 พันล้านคน

Source

]]>
1446125
“จีน” เปิดตัว 20 “เมืองนำร่อง” เพื่อสร้างวัฒนธรรมใหม่ ส่งเสริมให้ประชากร “มีบุตร” https://positioningmag.com/1430587 Mon, 15 May 2023 13:09:06 +0000 https://positioningmag.com/?p=1430587 ปัญหาประชากรมีอัตราการเกิดต่ำยังคงท้าทายใน “จีน” ทำให้รัฐบาลเตรียมเปิดตัว 20 “เมืองนำร่อง” ที่จะสร้างวัฒนธรรมใหม่ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ส่งเสริมให้ประชากร “มีบุตร” เพิ่มมากขึ้น

สมาคมวางแผนการมีบุตรแห่งประเทศจีน ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของรัฐบาลจีนในการสร้างเสริมการเพิ่มจำนวนประชากรและอัตราเจริญพันธุ์ หน่วยงานนี้กำลังจะเปิดตัวโครงการใหม่เพื่อกระตุ้นให้สตรีแต่งงานและมีบุตร รายงานข้อมูลจากสื่อของรัฐ Global Times

โดยจะมีการจัด “เมืองนำร่อง” ทั้งหมด 20 แห่ง เช่น ปักกิ่ง กวางโจว ฮานดัง เพื่อเป็นโครงการทดลองให้รัฐบาลช่วยผลักดันประชากรในการแต่งงานมีลูก สร้างวัฒนธรรมให้พ่อแม่มีหน้าที่ผลัดกันเลี้ยงลูก ลดราคา “สินสอด” ที่สูงมาก รวมถึงธรรมเนียมโบราณต่างๆ ที่ขัดกับเป้าหมายของโครงการนี้

“สังคมจำเป็นต้องนำทางคนหนุ่มสาวให้ไปสู่แนวทางของการแต่งงานและการมีลูกมากกว่านี้” เหอย่าฝู นักประชากรศาสตร์กล่าวกับ Global Times

นอกจากโครงการนี้แล้ว ก่อนหน้านี้รัฐบาลจีนมีนโยบายแรงจูงใจให้คนมีลูกออกมาก่อนแล้วมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการลดหย่อนทางภาษี อุดหนุนด้านที่อยู่อาศัย และสนับสนุนการศึกษาฟรีให้แก่บุตรคนที่ 3 ของครอบครัว และที่ปรึกษาทางการเมืองของรัฐยังแนะนำให้รัฐอนุญาตให้หญิงโสดสามารถทำ IVF ได้ด้วย จากขณะนี้กฎหมายอนุญาตให้เฉพาะหญิงที่แต่งงานแล้วเท่านั้นที่ทำได้

จีนเคยมีนโยบายอันเข้มงวดให้ “มีลูกคนเดียว” ตั้งแต่ปี 1980-2015 แต่ปัจจุบันได้ผ่อนคลายนโยบายนี้ไปแล้ว และคนจีนสามารถมีลูกได้สูงสุดครอบครัวละ 3 คน เพราะจีนเริ่มมีปัญหาประชากรลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ทศวรรษ

ปัจจัยที่ทำให้หญิงจีนมากมายไม่อยากมีลูกเลยหรือไม่อยากมีเพิ่ม เป็นเพราะค่าใช้จ่ายในการดูแลบุตรหลานปัจจุบันนี้สูงมาก และผู้หญิงหลายคนต้องลาออกจากงานเพื่อเลี้ยงลูก เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันทางเพศบีบให้ฝ่ายหญิงต้องเป็นฝ่ายที่เลี้ยงลูกฝ่ายเดียว

Source

]]>
1430587
“จีน” กำลังพิจารณาให้ “หญิงโสด” ทำ IVF ถูกกฎหมาย สนับสนุน “ซิงเกิลมัม” แก้ปัญหาประชากรลด https://positioningmag.com/1429112 Sat, 29 Apr 2023 10:41:10 +0000 https://positioningmag.com/?p=1429112 ประเทศ “จีน” กำลังประสบปัญหาประชากรลดลง เพราะสาวจีนยุคใหม่ไม่นิยมแต่งงาน ทำให้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหา โดยหนึ่งในนโยบายที่กำลังพิจารณาคือ อนุญาตให้ “หญิงโสด” เป็น “ซิงเกิลมัม” ผ่านการทำ IVF (เด็กหลอดแก้ว) กระตุ้นกลุ่มผู้หญิงที่มีรายได้ดี พร้อมมีบุตร แต่ไม่ต้องการมีสามี

ประเทศจีนเผชิญปัญหาประชากรลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ทศวรรษ ซึ่งจะทำให้สังคมกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุ ที่ผ่านมารัฐบาลเริ่มระดมทุกนโยบายมาแก้ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการปลดล็อกให้หนึ่งครอบครัวมีลูกได้ 2-3 คน (จากเดิมจีนเคยมีนโยบาย “ลูกคนเดียว” มาตลอด) หรือให้โควตาซื้ออสังหาริมทรัพย์เพิ่มเมื่อมีบุตรเพิ่ม เป็นต้น

อีกหนึ่งนโยบายที่ที่ปรึกษาทางการเมืองของรัฐบาลให้คำแนะนำไว้เมื่อเดือนมีนาคม 2023 คือพิจารณาอนุญาตให้ “หญิงโสด” สามารถเข้าถึงบริการ IVF (เด็กหลอดแก้ว) และการฝากไข่ได้อย่างถูกกฎหมาย เพราะในปัจจุบัน จีนอนุญาตเฉพาะคู่สมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้นที่จะฝากไข่และทำ IVF ได้

หากนโยบายนี้ได้รับการสนับสนุน ก็จะจูงใจให้กลุ่มผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีสามี ไม่พบสามีที่มองว่าเหมาะสมกับตนเอง หรือหย่าจากสามี แต่พร้อมที่จะมีลูกด้วยสถานะทางการเงินของตนเองสามารถเลี้ยงดูได้ พวกเธออาจใช้วิธีทำ IVF เพื่อเป็น “ซิงเกิลมัม” หรือแม่เลี้ยงเดี่ยว ช่วยแก้ปัญหาประชากรจีนลดลงได้อีกทางหนึ่ง

(Photo : Shutterstock)

ปัญหาประชากรจีนลดลงขณะนี้มาจากหลายปัจจัย ในช่วงที่จีนยังใช้นโยบายลูกคนเดียวนั้นทำให้หลายครอบครัวมี “ลูกสาว” เป็นที่พึ่งหนึ่งเดียว พวกเธอหลายคนเรียนจบสูง หารายได้ได้สูง และเป็นเสาหลักของครอบครัว ทำให้ถ้าไม่พบชายที่มีสถานะเท่าเทียมกันหรือสูงกว่า พวกเธอมักจะไม่ตกลงแต่งงาน

แม้แต่ในคู่ที่แต่งงานกันแล้ว ก็ยังมีปัจจัยลบข้อต่อๆ มาที่ทำให้ไม่พร้อมมีลูก เช่น ค่าเล่าเรียนแพง ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูบุตรสูงขึ้น เมื่อกังวลเรื่องการเงินในครัวเรือน จึงทำให้หลายคู่ชะลอการมีลูกออกไปก่อน จนเมื่อพร้อมจะมีบุตรก็มักจะอยู่ในวัยที่มีบุตรยากเสียแล้ว

แนวคิดการสนับสนุน “ซิงเกิลมัม” ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายในสังคมจีนเช่นกัน เพราะการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวในจีนมักจะถูกตัดสินตีตราจากคนรอบข้าง ทำให้หญิงโสดที่จะเลือกเดินเส้นทางนี้อาจจะมีไม่มาก

แต่ไม่ว่านโยบายนี้จะได้รับการอนุมัติหรือไม่ คลินิก IVF จะเป็นธุรกิจที่เติบโตในจีนอย่างแน่นอน และได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการด้านสุขภาพระดับชาติของจีน (NHC) โดยปัจจุบันคลินิก IVF ทั้งของรัฐและเอกชนมีอยู่ 539 แห่งในจีน ทาง NHC ระบุว่าจะดันให้มีคลินิกเพิ่มขึ้นเป็น 600 แห่งภายในปี 2025 หรืออัตราส่วนเท่ากับ 1 แห่งต่อประชากร 2.3 ล้านคน

นอกจากคลินิกในประเทศแล้ว ชาวจีนยังนิยมเดินทางไปทำ IVF ในต่างประเทศด้วย เพราะสามารถเลือกเพศของลูกและคัดยีนได้ด้วย ต่างจากในจีนที่กฎหมายไม่อนุญาตให้คัดเลือกเพศ

ประเทศที่ชาวจีนนิยมเดินทางไปทำ IVF ก็ไม่ใกล้ไม่ไกล นิยมบินมาที่ประเทศไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์นี่เอง

Source

]]>
1429112
กระตุ้นสร้างทายาท! “จีน” ออกนโยบายมีลูกคนที่ 2-3 ได้สิทธิ “ซื้อบ้าน” เพิ่มอีกหลัง https://positioningmag.com/1385812 Thu, 19 May 2022 05:50:25 +0000 https://positioningmag.com/?p=1385812 หลายเมืองใน “จีน” เริ่มออกนโยบายแก้ปัญหาประชากรลดลง โดยอนุญาตให้ครอบครัวที่มีบุตร 2-3 คน สามารถ “ซื้อบ้าน” เพิ่มได้อีก 1 หลัง และจะได้โควตาลอตเตอรีในโครงการที่สนใจมากกว่าคนทั่วไป บางเมืองยังให้เงินอุดหนุนเพิ่มเติมเมื่อซื้อบ้านด้วย

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 มีอย่างน้อย 13 เมืองในประเทศจีนที่เริ่มนโยบาย กระตุ้นการมีทายาทด้วยสิทธิ “ซื้อบ้าน” เพิ่มอีก 1 หลัง เมื่อมีบุตรเพิ่มเป็น 2 หรือ 3 คน (แล้วแต่ข้อกำหนดในแต่ละเมือง)

ปกติครอบครัวคนจีนจะได้รับอนุญาตให้มีบ้านได้เพียง 1-2 หลังต่อครอบครัว ซึ่งทำให้บางครอบครัวที่ต้องการถือสิทธิในอสังหาริมทรัพย์เพิ่ม ถึงขนาดบางคู่ไปจดทะเบียนหย่าเพื่อให้ได้โควตาซื้อบ้านแยกกันระหว่างสามีและภรรยา ไม่รวมเป็นสิทธิครอบครัวเดียว

เหตุที่ประเทศจีนกำหนดโควตาซื้อบ้าน เพราะจีนมองว่าบ้านควรจะมีฟังก์ชันเป็นที่พักอาศัยเท่านั้น ไม่ควรเป็นสินทรัพย์เพื่อเก็งกำไร ดังนั้น การจะได้มีบ้านเพิ่มถือเป็นสิทธิพิเศษที่น่าจะจูงใจชาวจีนได้มาก

เมืองใหญ่ที่ใช้นโยบายสิทธิซื้อบ้านเพิ่มเมื่อมีบุตรคนที่ 3 เช่น หางโจว, นานจิง, ตงกวน และเสิ่นหยาง นอกจากจะได้สิทธิซื้อเพิ่มแล้ว ยังจะได้โควตาลอตเตอรีเพื่อจองบ้านมากกว่าคนทั่วไป (ในประเทศจีน เมื่อดีมานด์มากกว่าซัพพลาย ทางการจะให้จับลอตเตอรีเสี่ยงโชคว่าผู้ใดจะได้ซื้อบ้าน)

Photo : เมืองหางโจวของจีน (Shutterstock)

ในเมืองขนาดเล็กลงมา เช่น จิ่งเต๋อเจิ้น เมืองเล็กในมณฑลเจียงซี ยังมีเงินอุดหนุนเพิ่มเติมให้กับครอบครัวที่มีบุตร 2-3 คนและจะซื้อบ้านใหม่ด้วย โดยสำหรับครอบครัวมีบุตร 2 คนจะได้เงินอุดหนุน 200 หยวนต่อตารางเมตร (ประมาณ 1,000 บาท) และครอบครัวมีบุตร 3 คนจะได้เงินอุดหนุน 300 หยวนต่อตารางเมตร (ประมาณ 1,500 บาท)

เหตุที่จีนต้องยอมปล่อยโควตาซื้อบ้าน เพราะจีนกำลังเผชิญปัญหาใหญ่ “ประชากรเกิดใหม่” ลดจำนวนลงเหลือเพียง 10.6 ล้านคนเมื่อปี 2021 ซึ่งต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1949

ปีก่อนนี้แดนมังกรจึงปลดล็อกให้คนจีนมีลูกเพิ่มเป็น 3 คนต่อครอบครัวได้ และเริ่มหานโยบายเพื่อกระตุ้นให้คนจีนมีลูก โดยอุปสรรคสำคัญของเรื่องนี้ เช่น คนจีนทำงานหนักจนไม่มีเวลาเลี้ยงดูบุตรหลาน กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ต้องมาดูกันว่าสิทธิจูงใจเรื่องอสังหาฯ จะช่วยได้หรือไม่

Source

]]>
1385812
จากนโยบาย “ลูกคนเดียว” สู่ปีที่ “จีน” กังวลถึงภาวะ “ประชากรเกิดน้อยเกินไป” https://positioningmag.com/1333629 Mon, 24 May 2021 12:49:58 +0000 https://positioningmag.com/?p=1333629 ปี 2020 จีนมีประชากรทั้งสิ้น 1,412 ล้านคน แต่ประชากรที่เพิ่มขึ้นเมื่อปีก่อนมีเพียงแค่ 12 ล้านคน ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 1961 สถิติการเกิดที่น้อยลงเริ่มน่ากังวล เพราะจะทำให้มีประชากรวัยทำงานลดลงในอนาคต และเงินบำนาญหลังเกษียณของผู้สูงวัยจะไม่เพียงพอ อ่านข้อมูลเหล่านี้เพื่อติดตามสถานการณ์ประชากรในจีนที่อาจเปลี่ยนลักษณะสังคม-เศรษฐกิจได้ในทศวรรษหน้า

1) จีนเคยมีนโยบาย “ลูกคนเดียว” คืออนุญาตให้คู่สามีภรรยามีลูกได้แค่คนเดียว เพื่อลดจำนวนประชากรที่มากเกินไป จนกระทั่งปี 2016 จึงผ่อนผันให้มีลูกได้สองคน

2) ณ ปี 2020 จีนมีประชากรทั้งหมด 1,412 ล้านคน แต่ประชากรที่เพิ่มขึ้นในปี 2020 มีเพียง 12 ล้านคน ต่ำที่สุดที่เคยเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1961 ซึ่งเป็นปีที่เกิดภาวะขาดแคลนอาหารในจีนจนประชากรเกิดใหม่ลดฮวบ และเป็นตัวเลขที่ลดลงจากปี 2019 ที่มีเด็กเกิดใหม่ 14.65 ล้านคน

3) ถ้าคิดเป็นอัตราส่วนต่อจำนวนประชากรหญิง เท่ากับค่าเฉลี่ยผู้หญิงจีนวัยเจริญพันธุ์ 1 คนจะมีลูกเพียง 1.3 คนเท่านั้นเมื่อปี 2020 นอกจากนี้ ยังมีรายงานวิจัยความต้องการของผู้หญิงจีนโดยเฉลี่ยแล้วต้องการมีลูกเพียง 1.8 คน น้อยกว่าอัตราที่ควรจะเป็นคือมีลูก 2.1 คน เพื่อจะทำให้อัตราประชากรของจีนเหมาะสม

(Photo : Shutterstock)

4) เมื่อประชากรเกิดน้อยลง ขณะที่ผู้สูงอายุวัย 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 264.02 ล้านคน ทำให้ปี 2020 จีนมีอัตราส่วนผู้สูงวัยเพิ่มเป็น 18.7% เพิ่มขึ้นมา 5.44% เทียบกับปี 2010 ทั้งนี้ สมาคมธุรกิจประกันของจีนประมาณการณ์ว่า ประชากรผู้สูงอายุจะขึ้นแตะ 300 ล้านคนภายในปี 2025

5) ในทำนองเดียวกัน ประชากรวัยทำงานจึงลดลงด้วย โดยปี 2020 จีนมีประชากรวัย 15-59 ปี จำนวน 894.38 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน 63.35% ลดลง 6.79% จากปี 2010

6) จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น แต่คนทำงานน้อยลงเป็นปัญหาสำคัญ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศจีนเคยประมาณการณ์ไว้ตั้งแต่ปี 2019 ว่า กองทุนบำนาญของรัฐจะเริ่มขาดเงินสะสมในปี 2035 หากว่าจำนวนผู้เกษียณอายุยังคงเพิ่มขึ้น และคนทำงานที่จะส่งเงินให้กับกองทุนลดลง

7) รัฐบาลจีนตระหนักถึงปัญหานี้ โดยเคยคำนวณไว้ว่า ภายในปี 2050 เงินบำนาญของผู้สูงวัย 1 คนจะมาจากการทำงานของคนวัยทำงานเพียง 1 คน จากปัจจุบันมาจากคนวัยทำงาน 2 คน ซึ่งนั่นแปลว่า เงินบำนาญจะไม่เพียงพอ

(Photo : Shutterstock)

8) ความกังวลเกี่ยวกับอัตราประชากรนี้นำไปสู่การเปลี่ยนนโยบายให้มีลูกเพิ่มได้เป็น 2 คนเมื่อปี 2016 โดยหวังว่าจะทำให้คนจีนมีลูกเพิ่ม แต่ก็เพิ่มไม่มากเท่าที่รัฐบาลคาดหวัง โดยปี 2016 ซึ่งเป็นปีแรกที่ให้มีลูกได้ 2 คน มีเด็กเกิดใหม่ 17.86 ล้านคน เพิ่มจากปี 2015 ที่มีเด็กเกิดใหม่ 16.55 ล้านคน และในปี 2017 จำนวนเด็กเกิดใหม่ก็ตกลงอีกเหลือ 17.23 ล้านคน จากนั้นก็ยังคงลดลงต่อเนื่องทุกปี แม้ว่ารัฐจะให้นโยบายเงินอุดหนุนสำหรับการมีลูกคนที่สองแล้วก็ตาม

9) การมีลูกน้อยลงของคนจีนมาจากหลายสาเหตุ ทั้งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเลี้ยงลูก แนวคิดทางสังคมของผู้หญิงที่ต้องการเรียนสูง ก้าวหน้าในหน้าที่การงาน จึงไม่ต้องการมีครอบครัว รวมถึงการย้ายจากชนบทมาอยู่ในเมืองใหญ่ก็ทำให้การมีลูกและเลี้ยงลูกยากขึ้น

10) ต้องติดตามต่อว่าจากนี้จีนจะออกนโยบายอย่างไรเพื่อแก้ไขปัญหาด้านประชากร ก่อนที่จำนวนผู้เสียชีวิตจะสูงกว่าเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปี และจะทำให้จีนประสบปัญหาแบบเดียวกับประเทศใกล้เคียงอย่าง ญี่ปุ่น หรือ เกาหลีใต้

Source

]]>
1333629
อัตราการเกิด ‘จีน’ ลดลง 20% โตช้าสุดในรอบ 10 ปี คาดประชากร ‘อินเดีย’ จะแซงใน 5 ปี https://positioningmag.com/1331634 Tue, 11 May 2021 10:43:14 +0000 https://positioningmag.com/?p=1331634 ‘จีน’ ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 และมีประชากรมาสุดที่สุดของโลกกำลังเผชิญกับ ‘อัตราการเกิด’ ที่ต่ำสุดในรอบ 10 ปี โดยลดลงจาก 20% แม้ว่าในปี 2016 จีนจะยกเลิกนโยบาย ‘ลูกคนเดียว’ ที่เคยประกาศใช้เมื่อปี 1979 เพื่อเป็นมาตรการควบคุมการเติบโตของประชากร

เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา จำนวนประชากรของประเทศจีนสูงถึง 1.41 พันล้านคนเพิ่มขึ้นจากเมื่อ 10 ปีก่อนที่มีประชากร 1.33 พันล้านคน โดยอัตราการเติบโตของประชากรเฉลี่ยต่อปี 0.53% ช้ากว่า 0.57% ที่วัดได้ในปี 2010 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของนโยบายที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มอัตราการเกิดของจีน โดยจำนวนทารกแรกเกิดในปี 2020 อยู่ที่ 12 ล้านคนลดลงเกือบ 20% จากปีก่อนหน้า

สัดส่วนของประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 18.7% ซึ่งมากกว่าปี 2010 ที่มีจำนวน 13.26% ในขณะที่ประชากรวัยทำงานของผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-59 ปีลดลงเหลือ 63.35% จาก 70.14% แม้ว่าสัดส่วนของผู้ที่มีอายุ 0-14 ปีจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 16.6% เป็น 17.95%

“อายุเฉลี่ยของประชากรจีนคือ 38.8 ปี ซึ่งร่ำรวยและแข็งแกร่งกว่าเมื่อเทียบกับอายุ 38 ปีของสหรัฐฯ แต่สัดส่วนของประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและผู้สูงวัยจะกลายเป็นพื้นฐานของประเทศเราในอนาคต” Ning Jizhe หัวหน้า NBS กล่าว

(Photo by Miguel Candela/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่ออัตราส่วนการพึ่งพา ซึ่งหมายถึงภาระในการดูแลเด็กและผู้สูงอายุของคนวัยทำงาน และเนื่องจากครัวเรือนที่มีขนาดเล็กลง รวมถึงผู้สูงวัยที่มากขึ้น และกำลังแรงงานในอนาคตที่ลดลงอย่างต่อเนื่องจะจำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน

ทั้งนี้ ประชากรวัยทำงานของจีน คือ คนที่มีอายุ 16-59 ปี แม้ว่าจะลดลงไป 40 ล้านคน เมื่อเทียบกับการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งล่าสุดในปี 2010 แต่ เจิง ยู่ผิง หัวหน้านักระเบียบวิธี กล่าวว่า ขนาดประชากรวัยทำงานทั้งหมด 880 ล้าน ยังมีขนาดใหญ่อยู่ และยังมีกำลังแรงงานมากมาย

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนไม่เห็นว่าการลดลงของประชากรทำให้แผนการเติบโตในระยะยาวของจีนลดลง โดย Fang Hanming ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย มองว่า ระบบอัตโนมัติจะเข้ามาทดแทนแรงงานที่ลดลงได้

“การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากรไม่ควรก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ สำหรับเป้าหมายในการเพิ่มรายได้ต่อคนเป็นสองเท่าภายในปี 2035 หากจีนเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานไปสู่อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้นและใช้ประโยชน์จากโอกาสใหม่ ๆ”

ตามรายงานของ United Nation ในปี 2019 ประชากรของจีนคาดว่าจะถึงจุดสูงสุดภายในปี 2030 ในขณะที่อินเดียปัจจุบันมีประชากรอยู่ที่ 1.36 พันล้านคน โดยคาดว่าอินเดียจะแซงหน้าจีนในฐานะประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกในราวปี 2025

Source

]]>
1331634